วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Parkinson’s Disease :Deep-Brain Stimulation

โรค “พาร์กินสัน”  มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุระหว่าง 55 – 65
โดยพบว่า เมื่อมีอายุมากกว่า 60 จะเกิดโรคได้ประมาณ  1- 2 % 
หรือเกิดขึ้นประมาณ 0.3 % ในประชาชนทั่วไป
ซึ่งจะเกิดในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง  ในอัตราส่วน 1.6 ต่อ 1.0

เมื่อการรักษโรคด้วยยาตามวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล..
ก็จำเป็นต้องหันไปใช้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ดัน
ซึ่งมีชือเรียก Deep Brain Stimulation
โดยมีแง่มุมให้พิจารณา...

What are classic manifestations of Parkinson’s disease?

คนเป็นโรคพาร์กินสันมักจะไปพบแพทย์ด้วยความผิดปกติในการเคลื่อนไหว
เช่น  อาการสั่นเทาของกายในขณะพัก (resting tremor),
เวลาพูดจาจะมีเสียงอู้อี-เบา (soft voice),  เขียนตัวหนังสือจะมีขนาดเล็ก (micrographia),
มีอาการแข็งเกร็ง (rigidity),  เคลื่อนไหวช้า (bradkinesia),
มีการเดินแบบไม่ยกเท้าจากพื้น (shuffling steps)
แถมด้วยการทรงตัวลำบาก (difficulty with balance)...

อาการของโรคพาร์กินสัน...
ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่ยอมรับกันว่า
พอเราเจอใครมีอาการเช่นนี้....มักจะสงสัยว่า  เขาเป็นโรคพาร์กินสัน ?
อาการที่ว่า  คือ  การมีร่างกายสั่นเทาในขณะไม่ได้ทำอะไร  Resting tremor 
มีบางคนเป็นโรคตดังกล่าวเหมือนกัน  แต่กลับไม่มีอาการสันเทาเลย
ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถพบได้ประมาณ   20 %

นอกจากนั้นยังปรากฏว่า 
คนเป็นโรคพาร์กินสัน  ยังมีอาการไม่เกี่ยวกับความผิดปกติในการเคลื่อนไหว...
ซึ่งมีเป็นจำนวนมากเสียด้วย เช่น:

§  ความผิดปกติด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า,  เครียด และไร้ความรู้สึก);
§  ความผิดปกติในด้านการเรียนรู้ ( เช่น frontal lobe dysfunction,
        memory difficulty และ dementia)
§  ความผิดปกติในด้านการนอน (เช่น  apnea และ sleep disorders)
§  ความผิดปกติในระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น sexual dysfunction,
digestive problems และ orthostasis

What medication-related complications typically develop in patients with Parkinson’s disease?

คนไข้โรคพาร์กินสันจะตอบสนองต่อยาเพียงหนึ่งตัว หรือหลายตัวก็จริง 
แต่หลังจาก 5 ปีผ่านไป  คนไข้มักจะเกิดภาวะผิดปกติจากการใช้ยาเสียเป็นส่วนใหญ่ 
เช่น เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณรอบปาก, คาง, ลิ้นอยู่ตลอดเวลา(dyskinesia)
และจะพบว่า  การตอบสนองต่อยาก็ไม่สมำสมอ (fluctuations)
เป็นเหตุให้ญาติของคนไข้บางคนไม่เข้าใจ....ไม่พอใจผู้ให้การรักษา
และเปลี่ยนหมอเพื่อขอรับการรักษาที่ดีกว่า

มีอาการบางอย่าง  เช่น การเดินลำบาก ,ปัญหาเรื่องการทรงตัว,
ปัญหาด้านการพูด,  การกลืน และความคิดอ่าน...
อาการเหล่านี้อาจไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา carbidopa-levodopa
หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น 

Which patients are candidates for deep-brain stimulation?

Deep brain stimulation หรือ DBS....
เป็นกรรมวิธีรักษาที่ได้รับการยอมรับจาก FDA (2002) ว่า
เป็นวิธีการที่ใช้ร่วมกับยารักษา  เพื่อลดอาการบางอย่าง 
เช่นเมื่อการใช้ยา levodopa-carbidopa ไม่ตอบสนองเท่าที่ควร 

ในรายที่ได้รับการรักษาด้วย levodopa ยังปรากฏว่ามีอาการสั่น (tremor),
มีการตอบสนองบ้างไม่ตอบสนองต่อยาบ้าง  ทำให้เกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ (fluctuations),
และมีอาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณปาก, คาง และลิ้น(dyskinesia)
มักจะได้รับผลดีจากการรักษาด้วย DBS
ส่วนรายที่มีปัญหาด้านการเดินที่ผิดปกติ, ความสมดุล, การพูด...
ปรากฏว่า  การรักษาด้วย DBS จะไม่ได้ผลดี
บางรายอาจมีอาการเลวลงกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป

คนไข้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน...
จะได้รับการพิจารณารักษาด้วย DBS ก็ต่อเมื่อ
เขาได้รับการรักษาด้วยยาตามมาตรฐานอย่างเพียงพอแล้วเท่านั้น
เช่น ได้รับการรักษาด้วย carbidopa-levodopa, dopamine agonists,
Monoamine oxidase inhibitors และ amantadine…

•What adverse events are associated with the use of deep-brain stimulation?

ผลเสียของการใช้วิธี DBS ที่น่ากลัวที่สุด คือ...
การเกิดมีมีเลือดตกในสมอง(intracranial hemorrhage) 
และการอักเสบติดเชื้อ (infection)  ซึ่งมีโอกาสถึง 1.2 – 15.2 %
 
ในรายที่เกิดการอักเสบ  จำเป็นต้องเอา electrode ออก 
พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะรักษาจนกระทั้งหาย...
หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาทำการผ่าตัดใหม่

ผลจากการวิจัยหลังการทำ DBS มีโอกาสเกิดเลือดตกในสมอง 5.0 %
ทำให้สมองถูกทำลายอย่างถาวร หรือตาย 1.1 %
เกิดอาการชักกระตุกประมาณ 2.4 %

ผลข้างเคียงจากการทำ DBS ได้แก่ ความคิดอ่านเสียไป, หลงลืม, พูดลำบาก,
สูญเสียการทรงตัว  มีอารมณ์แปรปรวน 
เช่น ภาวะซึมเศร้า, ไร้ความรู้สึก,  หัวเราะ,ร้องไห้,เครียด  
และเกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

เราจะเห็นว่า  ถนนสายนี้ (การรักษา)ไม่เรียบอย่างที่คิดเท่าใด ?

http://blogs.nejm.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น