เป็นที่ทราบกันว่า....
โรค “อัลไซเมอร์” เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สมองจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ...อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่
การเกิดอาการหลงลืม และเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม...
ส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจก และพฤติกรรม
จะเกิดขึ้นในบริเวณหลายๆ ส่วน ซึ่งมีการทำลายไป
โดยทั่วไป โรค “อัลไซเมอน์” จะเริ่มต้นที่สมองส่วนที่มีชชื่อว่า medial temporal
แล้วรุกลามไปทางส่วนหน้าของสมอง (frontal lobe)
ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ “การตัดสินใจ”, “ พฤติกรรมทางสังคม”,
และ “ส่วนที่ทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้แสดงออกทางพฤติกรรม”
โรคอัลไฆซเมอร์ และสมอง
(AD and the Brain)
§ พยาธิสภาพของโรค AD มันจะกระจายไปทั่วสมอง
โดยสวนที่เป็น cerebral cortex จะเริ่มเหี่ยว หรือฟ่อ (shrink) พร้อมๆ การหยุดการทำงาน
ของเซลล์สมอง และตายไป
§ ในกรณีทีเป็นไม่มาก (Mild AD) คนไข้จะมีอาการหลงลืม, สับสน, ไม่สามารถจัดการเรื่อง
เงินทองได้, อารมณ์แปรเปลี่ยน, ไม่สามารถตัดสินใจ และเกิดความกังวล และเครียด
§ ในกรณีที่เปฌนเยอะพอประมาณ (Moderate AD) คนไข้จะมีอาการหลงลืมมากขึ้น, สับสนมากขึ้น,
จำคนที่อยุรอบข้างไม่ได้, มีปัญหาในการพูด หรือคิด, กระวนกระวาย,หงุดหงิด,
เดินไปโดยไม่รู้เป้าหมาย และย้ำคิดย้ำทำ
โรค “อัลไซเมอร์” ถูกตั้งชื่อตามคนที่ค้นพบ...Alois Alzheimer (1864–1915)
ผู้ซึ่งได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับพยาธิสาพของโรคในปี 1906 โดยพบว่า:
คนเป็นโรค AD ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่า เขาจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เด่น และความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคภายในประชาชนมีเพียง 1 % ถึง 4 % ที่สามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูก
และจะที่ได้รับการวินิจฉัยพบว่าเปนโรคดังกล่าว โดยมีมีพื้นฐานทางพันธุกรรมถึง 80 %
นอกจากนั้น ยังเชื่อว่า ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอาจมีส่วนทำให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์”ได้ทั้งชนิดถ่ายทอด
ทางพันธุกรรม (familial) และชนิดที่เกิดขึ้นประปราย
โรคเกิดขึ้นเร็ว vs โรคเกิดขึ้นช้า (Early Versus Late Onset):
โรคอัลไซเมอร์ (AD) ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกเกิดขึ้นในคนอายุน้อย (early) กลุ่มที่เกิดในคนอายุมาก (late)
ในกลุ่มที่เกิดขึ้นเร็ว (early onset) โรคจะเกิดก่อนที่อายุจะครบ 65
จัดเป็นชนิดที่พบได้ไม่บ่อยนัก โรคจะพัฒนาไปเร็วมาก
ซึ่งพบได้ประมาณ 10 % ของจำนวนคนเป็นโรคอัลไซเมอร์
ในกลุ่มที่เกิดช้า (late onset) คนที่เป็นโรค AD จะเกิดขึ้นหลังอายุ 65
ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด (ส่วนที่เหลือ 90 %)
ความชุกของโรค (Prevalence):
โรค “อัลไซเมอร์” เป็นต้นเหตุให้เกิดความตาย (สหรัฐฯ) จัดเป็นอันดับที่สี่
และเชื่อว่า เป็นโรคเกิดขึ้นกับประชากรทั่วโลกได้ประมาณ 1 – 2 %
และมีการประมาณการณ์ว่า เมื่อคนมีอายุมากขึ้น โอกาสจะพบโรดังกล่าวเพิ่มขึ้น
เขาเชื่อว่า...
บุตรของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากกว่าคนทั่วไป
ในปัจจุบัน เรายังไม่มีวีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายได้เลย
จากรายงาน (1998) ของนาย Brookmeyer และพวก ได้รายงานว่า
มีคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ 360,000 คน เมื่อแบ่งตามอายุ จะพบว่า
o คนอายุระหว่าง 60 – 64 พบ 1 %
o คนอายุระหว่าง 65 – 69 พบ 2 %
o คนอายุระหว่าง 70 – 74 พบ 4 %
o คนอายุระหว่าง 75 - 79 พบ 8 %
o คนอายุระหว่าง 80 – 84 พบ 16 %
จากรายงาน ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ทุก 5 ปีที่คนเรามีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป
พวกเขาจะทำให้คนเรามีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เท่าตัว
พอคนไข้มีอายุมากกว่า 85 โอกาสเกิดเป็นโรค “อัลไซเมอ” มีถึง 35 – 40 %
กล่าวโดยรวม หลังคนมีอายุมากกว่า 65 โอกาสเป็นโรค 10 %
จากตัวเลขที่กล่าว โอกาสของการเกิดโรคอัลไซเมอร์...ดูแล้วนับเป็นโรคที่น่ากลัว
แต่เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เป็นสถิติของคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ปรากฏว่ามีได้พอ ๆ กัน
NEXT >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น