เมื่อแพทย์บอกว่า ท่านเป็นโรค “พาร์กินสัน”...
เขาอาจบอกท่านต่อไปอีกว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นในสองสามปีข้างหน้า
และในขณะที่ท่านนั่งฟังแพทย์เขาพูดแต่สิ่งไม่ดีหลายอย่าง...
สิ่งที่ท่านสามารถทำได้ และต้องทำ คือมีสมาธิ ทำใจให้สงบ
อย่าตกใจ เพราะ ....
§ในขณะที่โรค “พาร์กินสัน” เกิดขึ้นกับตัวท่าน มันจะนำมาซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของท่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ละน้อย
และไม่รุนแรงเหมือนกับสมัยก่อน ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านการรักษา..
§ นอกเหนือจากการรักษาตามมาตรฐานด้วยยา levodopa แล้วยังมียาอย่างอื่น
และยังมีการรักษาอย่างอื่นที่ได้ผลดีให้ท่านได้เลือก
ซึ่งท่านสามารถสอบถามจากแพทย์ของท่านได้ว่า
มีวิธีไหนเหมาะกับตัวท่าน
§ ขอให้รู้ไว้ว่า ท่านไม่ใช่คนเดียวที่เป็นโรคดังกล่าว แต่ยังมีคนอื่นๆ ทั่วโลก
ทีเป็นโรคเช่นเดียวกับท่าน จากรายงานของสหรัฐ... ปีหนึ่งจะมีคน
เป็นโรคประมาณ 50,000 ราย ในบ้านเมืองของเราก็มีไม่น้อยเช่นกัน
ซึ่งท่านสามารถติดต่อ และสร้างความสัมพันธ์กับคนทีเป็นโรคเดียวกับท่าน
เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาหาความรู้ร่วมกัน
นั่นคือหนทางที่สามารถอู่ร่วมกับโรคที่ท่านเป็นอย่างมีความสุข...
สิ่งทีท่านควรทำ:
§ อย่าให้โรคเป็นตัวกำหนดชะตาของท่านว่า “ท่านเป็นอะไร”
ท่านเป็นตัวท่าน ไม่ใช่ด้วยโรคสักหน่อย!
โรคเป็นแต่สิ่งแปลกปลอม ที่มาพึ่งพิงอาศัยกายของท่านเท่านั้นเอง
§ ท่านสามารถวางโปรแกรมการออกกำลังกาย, ปฏิบัติตามกรรมวิธีกายภาพบำบัด
ที่แพทย์แนะนำให้ทำ พร้อมๆ กับรับการควบคุมด้าน
พฤติกรรมบำบัด (control cognitive behavioral therapy)
§ เริ่มโปรแกรมชะลอไม่ให้โรคเลวลง ซึ่งมียาหลายตัวที่อาจช่วยชะลอ
การดำเนินโรคได้ ตลอดรวมถึงอาหาร, การออกกำลังกาย
และจัดการควบคุมความเครียดที่เกิดขึ้น...
§ ติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนฝูง
ซึ่งทุกคนจะต้องเข้าใจในตัวโรคดังกล่าว ตลอดรวมถึงรับความช่วยเหลือจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว (ถ้ามี)
§ ท่านสามารถเรียนรู้แง่มุมต่าง ๆ ของโรค “พาร์กินสัน” เท่าที่ท่านต้อง
การ....ความรู้คือพลัง โดยศึกษาเรียนรู้ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
เช่น อินเตอรเนต ตลอดรวมถึงแพทย์ที่ให้การรักษาท่าน
§ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรค “พาร์กินสัน” จะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดี
และเป็นผู้ปรับขนาดของยารักษาให้แก่ท่าน, ให้ยาใหม่, ตรวจสอบ
อาการต่าง ๆ ตลอดรวมถึงการดำเนินของโรค และสุขภาพโดยรวมของท่าน
อย่าปล่อยให้โรค “พาร์กินสัน” ทำลายความสุขของท่าน...
ท่านสามารถอยู่ร่วมกับมันได้อย่างมีความสุข และ
อย่าลืม...ความรู้คือพลัง ท่านสามารถศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
เช่น อินเตอรเนต หรือเรียกหาความช่วยเหลือจากแพทย์
หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกัน
ที่สำคัญท่านต้องหาให้พบ และใช้มันให้เกิดประโยชน์...
http://parkinsons.about.com/od/livingwithpd/a/ReceivingDx.htm
เปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของท่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ละน้อย
และไม่รุนแรงเหมือนกับสมัยก่อน ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านการรักษา..
§ นอกเหนือจากการรักษาตามมาตรฐานด้วยยา levodopa แล้วยังมียาอย่างอื่น
และยังมีการรักษาอย่างอื่นที่ได้ผลดีให้ท่านได้เลือก
ซึ่งท่านสามารถสอบถามจากแพทย์ของท่านได้ว่า
มีวิธีไหนเหมาะกับตัวท่าน
§ ขอให้รู้ไว้ว่า ท่านไม่ใช่คนเดียวที่เป็นโรคดังกล่าว แต่ยังมีคนอื่นๆ ทั่วโลก
ทีเป็นโรคเช่นเดียวกับท่าน จากรายงานของสหรัฐ... ปีหนึ่งจะมีคน
เป็นโรคประมาณ 50,000 ราย ในบ้านเมืองของเราก็มีไม่น้อยเช่นกัน
ซึ่งท่านสามารถติดต่อ และสร้างความสัมพันธ์กับคนทีเป็นโรคเดียวกับท่าน
เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาหาความรู้ร่วมกัน
นั่นคือหนทางที่สามารถอู่ร่วมกับโรคที่ท่านเป็นอย่างมีความสุข...
สิ่งทีท่านควรทำ:
§ อย่าให้โรคเป็นตัวกำหนดชะตาของท่านว่า “ท่านเป็นอะไร”
ท่านเป็นตัวท่าน ไม่ใช่ด้วยโรคสักหน่อย!
โรคเป็นแต่สิ่งแปลกปลอม ที่มาพึ่งพิงอาศัยกายของท่านเท่านั้นเอง
§ ท่านสามารถวางโปรแกรมการออกกำลังกาย, ปฏิบัติตามกรรมวิธีกายภาพบำบัด
ที่แพทย์แนะนำให้ทำ พร้อมๆ กับรับการควบคุมด้าน
พฤติกรรมบำบัด (control cognitive behavioral therapy)
§ เริ่มโปรแกรมชะลอไม่ให้โรคเลวลง ซึ่งมียาหลายตัวที่อาจช่วยชะลอ
การดำเนินโรคได้ ตลอดรวมถึงอาหาร, การออกกำลังกาย
และจัดการควบคุมความเครียดที่เกิดขึ้น...
§ ติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนฝูง
ซึ่งทุกคนจะต้องเข้าใจในตัวโรคดังกล่าว ตลอดรวมถึงรับความช่วยเหลือจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว (ถ้ามี)
§ ท่านสามารถเรียนรู้แง่มุมต่าง ๆ ของโรค “พาร์กินสัน” เท่าที่ท่านต้อง
การ....ความรู้คือพลัง โดยศึกษาเรียนรู้ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
เช่น อินเตอรเนต ตลอดรวมถึงแพทย์ที่ให้การรักษาท่าน
§ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรค “พาร์กินสัน” จะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดี
และเป็นผู้ปรับขนาดของยารักษาให้แก่ท่าน, ให้ยาใหม่, ตรวจสอบ
อาการต่าง ๆ ตลอดรวมถึงการดำเนินของโรค และสุขภาพโดยรวมของท่าน
อย่าปล่อยให้โรค “พาร์กินสัน” ทำลายความสุขของท่าน...
ท่านสามารถอยู่ร่วมกับมันได้อย่างมีความสุข และ
อย่าลืม...ความรู้คือพลัง ท่านสามารถศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
เช่น อินเตอรเนต หรือเรียกหาความช่วยเหลือจากแพทย์
หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกัน
ที่สำคัญท่านต้องหาให้พบ และใช้มันให้เกิดประโยชน์...
http://parkinsons.about.com/od/livingwithpd/a/ReceivingDx.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น