วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

Management of Alzheimer’s Disease 2

การรักษา (Treatment)

ในการรักษาโรค “อัลไซเมอร์” ถือเป็นเรื่องท้าทาย….
โดยเฉพาะการเกิดพยาธิสภาพของโรคดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเลย
มีกลไกในการเกิดโรคอย่างไรก็ไม่ทราบอีกเ่นกัน
เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้

นอกเหนือไปจากนั้น  ยังพบว่า  เมื่อโรคได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว 
เราไม่มีทางเปลี่ยนทิศทางการดำเนินของโรคได้
มันจะเปลียนแปลงไปเรื่อย ๆ

ดังนั้น  เป้าหมายของการรักษาโรค “อัลไซเมอร์” คือการชะลอการดำเนิน
ของโรค  และอีกเป้าหมายหนึ่ง  คือลดผลกระทบของอาการของโรค

การรักษาจะประสบผลดีนั้น  ยาจะต้องผ่านเข้าสู่สมองในปริมาณเพียงพอ
ที่จะทำให้อาการดีขึ้น  โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง

เป้าหมายของการรักษาในอนาคต  คือการชะลอไม่ให้โรคแย่ลง
นอกจากนั้น  การรักษาด้วยยาควรให้ออกกฤทธิ์ยาวนานที่สุด  โดยไม่ต้องให้บ่อย
และการรักษาที่ได้ผลดี  คนไข้ต้องได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ 

โดยทั่วไป  อาการของคนเป็นโรคมักเกิดก่อนที่แพทย์จะตรวจพบ
ดังนั้น  คนไข้ควรได้รับการบอกกล่าวให้ทราบถึงอาการ และอาการแสดงของโรค “อัลไซเมอร์”  
เช่น  อาการหลงลืม, ไม่สามารถไปยังสถานที่เคยไป,
เกิดอาการสับสนในสิ่งที่เคยทำ เช่น  เขียนเช็คไม่ได้, หมดความสนใจในด้านความคิด,
การปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป....
ซึ่งเขาควรได้รับการรักษาให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้


ในการรักษาด้วยยา มีแนวทางเลือก 
ตลอดรวมถึงขนาดของยาที่กำหนดให้  ดังนี้ :
  
ในรายที่ไม่รุนแรง (Mild to Moderate Alzheimer’s Disease):
ยาที่ได้รับการยินรับจาก FDA  คือ Cholinesterase inhibitors ให้นำมาใช้รักษา
โรคอัลไซเมอร์ ในระยะที่มีความรุนแรงเล็กน้อย (mild)ถึงพอประมาณ (moderate)
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่  Tacrine, donepezil, rivastigmine  และ galantamine

ยา Tacrine, donepezil และ rivastigmine  
เป็นพวก non-competitive inhibitor of cholinesterase 
ซึ่งหมายความว่า  ยาพวกนี้ออกฤทธิ์....  เป็นพวกยับยั้งแบบไม่แข่งขัน) 

ส่วน Galantamine จะออกฤทธิ์แบบยับยั้งแบบแข่งขัน (competitive agent) 
โดยออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ cholinesterase  
ซึ่งอาจได้รับผลประโยชน์เมื่อมีตัวรับ (receptors) เป็นจำนวนมากเท่านั้น

เพื่อหลีกเลี่ยงจากผลข้างเคียง  ควรเริ่มยาด้วยขนาดจากน้อยไปหามาก
ด้วยการเพิ่มขนาดทุก 2- 4 อาทิตย์จนกว่าได้ขนาดยาตามที่กำหนดให้
อย่างไรก็ตาม  มีคนไข้จำนวนไม่น้อยจะตอบสนองต่อยาที่ขนาดต่ำกว่ากำหนด

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา  ได้แก่อาการคลื่นไส้,  น้ำหนักลด
เพราะฉะนั้นเราควรตรวจเรื่องน้ำหนัก และความต้องการอาหารของคนไข้อย่างใกล้ชิด

สำหรับยา Tacrine ในปัจจุบันไม่ค่อยจะมีคนนิยมใช้  เพราะความไม่สะดวก
ต่อคนไข้  ซึ่งต้องรับประทานวันละ 4 ครั้ง (โดยเริ่มต้น 10 mg วันละ 4 ครั้ง
ค่อยๆ เพิ่มขนาดขนถึง 40 mg 4 ครั้งต่อวัน)
ผลเสียของ Tacrine  คือ ทำให้เกิด hepatotoxicity ได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว  เขาจึงหันมาใช้ยาที่สะดวกกว่า
นั้นคือยา  donepezil โดยรับประทานวันละครั้ง

การใช้ยา donepezil…
เขาเริ่มให้ด้วยขนาด 5 mg /day
เมื่อให้ยาไปประมาณหนึ่งเดือน  สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 10 mg/day

Donepezil เป็นยาที่มีชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavailable) ได้ 100 %
และเป็น cholinesterase inhibitor ที่ใช้ง่ายที่สุดในแง่ขนาด และความถี่
ของการใช้ (frequency & dose)  และเป็นยาที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับยากลุ่ม
NMDA receptor antagonist memantine มากที่สุด

Rivastigmine therapy ...
ยาตัวนี้ควรเริ่มต้นด้วยขนาด 1.5 mg วันละสองครั้ง
เราควรเพิ่มยาเป็นเท่าตัวทุกเดือน  จนกว่าจะได้ขนาดยาสูงสุดเท่าที่คนไข้
สามารถทนทานต่อการใช้ยา....แต่ไม่ควรให้ยาเกิด 6 mg ต่อวัน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Rivastigmine ได้แก่อาการคลื่นไส้ และอาเจียน
เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้ยาได้ขนาดสูงได้

เนื่องจากยาตัวนี้จะถูกขับออกทางไต...
ดังนั้นจึงเหมาะที่จะให้กับคนไข้ที่เป็นโรคตับ

เคยมีการทดลองใช้ยาผสมระหว่าง rivastimine กับ donepezil 
ปรากฏว่าไม่มีประโยชน์ต่อการรักษา 
โดยแพทย์พบว่า  การใช้ยา donepezil วันละครั้งจะง่ายกว่าเยอะ....

Galantamine...
การใช้ยายา galantamine  เริ่มต้นให้ 5 mg วันละสองครั้ง
เพิ่มขนาดยาทุกเดือน  โดยเพิ่มเป็น 12 mg วันละสองครั้ง

เนื่องจากยา galantamine  เป็น selective agent 
และมีคนไข้บางรายอาจทนต่อการใช้ยาตัวนี้ได้ดีกว่า
แต่ผลเสีย  คือก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้มากกว่ายา donepezil

ยา galantamine จะถูกขับออกทางไต และทางตับได้เท่าๆ กัน

ในการใช้ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors…
พบว่า  เมื่อมีการใช้ยาไปประมาณ 6 เดือน ประสิทธิภาพของยาจะเสียไป
ผลทางคลินิกยืนยันให้เราทราบว่า  ยาทั้งสี่ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว
จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อเราใช้ยาในขนาดสูงเท่านั้น

ในการรักษาด้วยยาควรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  จนกว่าจะไม่ปรากฏผล
ในระดับการปฏิบัติภารกิจ (functional level)

ในรายที่มีความรุนแรง (Moderate to Severe Alzheimer's Disease):
คนไข้ที่อยู่ในระยะพอประมาณ (moderate) ถึงระยะรุนแรง (severe)…
ยาที่ได้รับการยอมรับจาก FDA ให้นำมาใช้รักษา  มีตัวเดียวเท่านั้น
นั่นคือ Memantine โดยยาตัวนี้ทำงาน แข่งกับสาร glutamine ด้วยการ
จับกับ NMDA receptor ทำให้เซลล์ประสาทลดความไวต่อการกระตุ้นลง
ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่รักษาเซลล์ประสาทให้ทำงานได้ตามปกติ

ขนาดของยา Memantine…
เริ่มต้นด้วย 5 mg ต่อวัน  จากนั้นให้ค่อย ๆ เพิ่มขนาดเป็น 10 mg วันละ
สองครั้ง  ยาตัวนี้เป็นยาที่คนไข้สามารถทนได้
เป็นยาที่ถูกขับออกทางไตเป็นส่วนใหญ่

ในการใช้ยาสองกลุ่มร่วมกัน (cholinesterase inhibitos และ NMDA
Receptor antagonist  ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจ
ทำให้คนไข้สามารถปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น (แต่งตัว,
เตรียมอาหารเอง...)

โดยสรุป  ในคนไข้ที่เป็นโรค AD ซึ่งมีอาการพอประมาณถึงขั้นรุนแรง
เขาแนะนำให้ใช้ยาทั้งสองกลุ่ม cholinesterase inhibitor
(เช่น donepezil) ร่วมกับ NMDA receptor antagonis (memantine)

การรักษาร่วม (Adjunct treatment):

ในระยะแรกๆ ของการเกิดโรค “อัลไซเมอร์” ...
การสูญเสียสมรรถภาพทางกาย และจิต  มักจะนำไปสู่การเกิดอาการซึมเศร้า  
และความโกรธแค้นขึ้น

ยาที่ถูกนำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้า... 
ควรเริ่มด้วยขนาดน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นอย่างช้า ๆ
ยาที่เขาแนะนำ  คือยา Mirtazapine เป็นยาที่ทำให้อยากรับประทานอาหาร  
และช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น

ยารักษาภาวะจิตประสาทผิดปกติ (antipsychotics) ...
มักถูกนำมาใช้ควบคุมอาการ “sundown syndrome”
ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นในตอนเย็นช่วงต้นๆ  โดยการมีอาการ “ก้าวร้าว”  และ “อาการสับสน” 
ซึ่งอาการดังกล่าว  มักจะเกิดในระยะสุดท้ายของโรค “อัลไซเมอร์”

ทั้งๆ ที่ FDA ได้เตือนให้ทราบว่า  การใช้ยา antipsychotics จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดภาวะสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke)
แต่ก็ยังมีการนำยาตัวนี้ใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการดังกล่าวอีก

ยาที่เขานิยมใช้กัน  คือ risperidone…
โดยเริ่มด้วยขนาด 0.25 mg หลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน
คนสูงอายุสามารถทนต่อการใช้ยาตัวนี้ได้ดี  ซึ่งเป็นยาที่สามารถควบคุม
พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนได้ดี

ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ยาที่มีขนาดสูงกว่าที่กล่าว...
คนไข้ส่วนใหญ่สามารถทนต่อการใช้ยา  โดยไม่มีผลข้างเคียง
ถ้าเราไม่ใช้ยาเกิน 1 mg risperidone, 5 mg olanzapine หรือ 50 mg quetiapine

สำหรับคนสูงอายุ  ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม Benzodiazepines
ยกเว้นเฉพาะผลประโยชน์ที่พึงได้รับมีมากกว่าอันตราย
คนแก่มีแนวโน้มที่จะมียา benzodiazepine สะสมในร่างกายสูง 


http://www.uspharmacist.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น