วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ALZHEIMER’S DISEASE (AD): Frequently asked questions


ยา (medications) ที่มีใช้รักษาคนไข้โรคอัลๆซเมอร์

โรค “อัลไซเมอร์”  เป็นโรค ซึ่งจะกระทบกับการทำงานของระบบ
cholinergic ของสมอง 

cholinergic system เป็นระบบหนึ่งของสมอง  ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้
ความเข้าใจ, พฤติกรรม, และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ดังนั้น เมื่อคนเกิดเป็นโรคดังกล่าว (AD) ขึ้น
ย่อมทำให้คนแสดงอาการของความบกพร่องของระบบดังกล่าว...

เนื่องจากในปัจจุบัน  เราไม่สมารถรักษาโรค AD ให้หายได้
และการรักษาที่มีได้ในขณะนี้  จึงเป็นเพียงการรักษาอาการเท่านั้น
ยาที่นำมาใช้รักษาโรค AD  ได้รับการยอมรับจาก U.S. Food and Drug
Administration (FDA)  ได้แก่ยา  cholinesterase inhibitors  
ซึ่งออกฤทธิ์ด้วยการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ ต่อเซลล์ดีในสมองขึ้น
ซึ่งมี 4 ตัวด้วยกัน:

§  Donepezil  (Aricept)
§  Galantamine (Reminyl)
§  Rivastigmine (Exelon)
§  Tacrine (Cognex)

แม้ว่ายาทั้งสี่ตัวไม่สามารถทำให้โรคหายได้ก็ตาม
แต่มันสามารถทำให้อาการของคนไข้โรด AD  ที่มีอาการไม่รุนแรงนัก
 (mild to moderate) ดีขึ้นได้

นอกจากยาทั้งสี่ตัว  ยังมียาอีกตัว ชื่อ memantine (Namenda)
โดยมีการรออกฤทธิ์ต่างจากยาทั้งสี่ตัว  
ซึ่งได้รับการยอมรับว่า  สามารถใชรักษาคนไข้ที่อยู่ในระยะ
ปานกลาง (moderate) ถึงระยะรุนแรง (severe)


ในการศึกษาคนไข้ (AD) ที่อยู่ในระยะปานกลาง ถึงระยะรุนแรง
ด้วยการใช้ยา Namenda จะพบว่า ยาดังกล่าวสามารถชะลอความเสื่อม
สมรรถภาพของสมองได้มากกว่าคนที่ไม่ได้รับยา

มีการศึกษาที่ต่างออกไป...
ได้ศึกษาเปรียบเทียบคนไข้ AD ซึ่งได้รับยา Namenda ร่วมกับ donepezil
Vs  Donepezil (Aricept) อย่างเดียว
พบว่า  การให้ยาสองตัว สามารถชะลอความเสื่อมสมรรถนะของสมองได้

การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค AD
ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง, อาการซึมเศร้า 
และปัญหาในการนอนพักพักผ่อน (sleep disorders)
จำเป็นต้องได้รับการประเมินผลทางด้านสังคม,  ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  
และปัญหาในการใช้ยารักษา...

การรักษาควรเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียก่อน
ถ้าไม่ได้ผลจึงเริ่มด้วยการใช้ยาต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น