วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

What is New in Parkinson’s Disease? 2

Is there any treatment?



ในปัจจุบัน...
เรายังไม่สามารถรักษาโรค “พาร์กินสัน” ให้หายได้
แต่เรามียาหลายตัวที่สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการของโรคได้

Iดยทั่วไป คนไข้จะได้รับยา levodopa ร่วมกับ carbidopa
โดยยา carbidopa จะทำหน้าที่ชะลอไม่ให้สาร levodopa เปลี่ยนเป็นสาร
dopamine ก่อนที่จะเดินทางถึงสมอง

เซลล์ประสาทของสมอง สามารถใช้สาร Levodopa โดยเปลี่ยนเป็นสาร
dopamine.... เป็นการชดเชยส่วนที่สมองไม่สามารถผลิตได้

ผลจากการใช้ยา Levodopa รักษาคนเป็นโรค “พาร์กินสัน”
พบว่า  มีเพียงสามในสี่ของคนที่เป็นโรคเท่านั้นที่จะตอบสนองต่อยา
ซึ่งแต่ละคนก็ตอบสนองต่อยาได้ไม่เท่ากันอีกต่างหาก
และที่ตอบสนองดีที่สุดคือ  การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ช้าลง (bradykinesia)
และภาวะแข็งเกร็ง (rigidity) ของแขน-ขา และลำตัว

ส่วนอาการสั่น (tremor)  อาจลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
และปัญหาด้านการทรงตัว (balance) และอื่น ๆ อาจไม่ได้ผลเลย

นอกจาก Levodopa …
ยังมียาในกลุ่มอื่นที่นำมาใช้  เช่น anticholinergics
ซึ่งสามารถควบคุมอาการ “สั่น” (tremor)
และอาการแข็งเกร็ง (rigidity) ของแขน-ขา และลำตัวได้

นอกจากนั้น  ยังมียาอย่างอื่นที่ถูกนำมาใช้ โดยมีการออกฤทธิ์คล้าย
ฤทธิ์ของ dopamine ในสมอง เช่น bromocriptine, pramipexole
และ ropirole

ยาต้านไวรัส (antivirus),  amantadine  สามารลดอาการของคน
เป็นโรคพาร์กินสันได้

เมื่อปี 2006   FDA ได้ยอมรับให้ใช้ยา “rasagiline” ร่วมอับ levodopa
ในคนไข้ PD ซึ่งมีอาการรุนแรงถึงขั้นสุดท้าย (advanced PD)
หรืออาจใช้รักษาคนที่เป็นโรคดังกล่าวในช่วงแรก ๆ
โดยการใช้เพียงตัวเดียวโดดเท่านั้น

ในคนไข้ PD บางราย...
ถ้าคนไข้ไม่ตอบสนองต่อยารักษา 
การรักษาทางศัลยกรรมอาจเป็นเรื่องที่เหมาะสมก็ได้....



มีการรักษาอย่างหนึ่งเรียก deep brain stimulation (DBS) 
เป็นวิธีรักษาที่ได้รับการยอมรับจาก FDA(U.S. Food and Drug administration)

ในการรักษาด้วย DBS…
แพทย์จะวางขั้วไฟฟ้า (electrodes)…โดยฝังภายในสมอง  และมีสายติดต่อ
กับเครื่องมือไฟฟ้าเครื่องเล็ก ๆ เรียกว่า pulse generator
ซึ่งสามารถโปรแกรมทางด้านนอกร่างกายได้

เครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า (BBS)…
สามารถลดความต้องการ levodopa และยาในกลุ่มเดียวกันได้
สมารถลดการเคลื่อนไหวชนิดที่เกิดขึ้นเอง (involuntary movement)
เรียก dyskinesias   ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา levodopa

นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า...
DBS  สามารถลดอาการต่าง ๆ อาการสั่น (tremor), การเคลื่อนไหวช้า
และปัญหาการทรงตัว

What is the prognosis?


“พาร์กินสัน” เป็นทั้งโรคเรื้อรัง (chronic)
ซึ่งหมายความว่า  เป็นโรคเป็นนาน  และมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งหมายความว่า  เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะเลวลงเรื่อย ๆ

แม้ว่า มีคนไข้โรค “พาร์กินสัน” บางรายเป็นมากถึงขั้นพิการ
แต่ก็มีบางรายที่มีอาการไม่มากนัก
อาการสั่น (tremor) เป็นอาการสำคัญของคนไข้บางคน
สำหรับรายอื่น ๆ อาการสั่น (tremor) กลับเป็นน้อย
แต่มีอาการอย่างอื่นที่เกิดขึ้นแทน  
ซึ่งรบกวนคนไข้มากกว่าอาการสั่นของร่างกาย

เราพอจะกล่าวได้ว่า...
ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่า  อาการของโรคพาร์กินสันชนิดใด
จะกระทบกับคนไข้ในแต่ละราย  และความรุนแรงของโรคที่เกิด
จะแตกต่างกันไปแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

What research is being done?


The National Institute of Neurological Disorders and Stroke (NINDS)
ได้ทำการวิจัยในห้องปฏิบัติการของ The National Institutes of Health
พร้อมกับสนับสนุนให้มีการวิจัย ให้ทุนทั่วประเทศ

การวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก NINDS…
ซึ่งได้ทำการทดลองในสัตว์ทดลอง  เพื่อศึกษาการพัฒนาการของ
โรค “พาร์กินสัน” พร้อมกับการผลิตยาใหม่เพื่อการรักษา

มีนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค “พารกินสัน”
และมองหาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น
เช่น สารพิษ (toxin), มีการศึกษาปัจจัยทางพันธุกรรมว่า  มีความผิดปกติ
ของพันธุกรรมอย่างใด  ที่อาจมีบทบาทต่อการทำให้เกิดโรค
นอกจากนั้น  ได้มีนักวิจัยคนอื่น ๆ ได้ทำการพัฒนายาตัวใหม่ ๆ  เพื่อนำมา
ใช้ในการป้องกัน (protective) หรือชะลอ หรือทำให้โรคหาย

<<  BACK

http://www.ninds.nih.gov

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น