วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease : Alternative Treatment 2

Ginkgo biloba (แปะก๊วย)

“ชาวจีนเชื่อว่า แปะก๊วย (เมล็ด)นำมาต้มเป็นของหวาน  ถือว่าเป็นยา

อายุวัฒนะ...”

 

เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า Ginkgo biloba หรือแปะก๊วย...

เป็นพืชนิหนึ่งมีสารหลายตัว 

ซึ่งสกัดออกมาสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ของสมอง และร่างกาย

โดยเชื่อว่า  มันเป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ แลต้านการอักเสบ

สามารถป้องกันเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membranes)

และสามารถควบคุมการทำงานของารสื่อประสาท

(neurotransmitters)

 

จากความเชื่อดังกล่าว...

แปะก๊วยจึงถูกชวจีนนำไปใช้เป็นยามานานหลายศตวรรษ  และ

ในปัจจุบันทาง Europe ได้นำไปใช้รักษาอาการที่เกิดกับโรคทางระบบ

ประสาท เพื่อช่วยบรรเทาอาการทางปัญญา (ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ)

 

อย่างไรก็ตาม ผลจากการทดลองใน Phase III clinical studies

โดย National Institutes of health ปรากฏว่า

Ginkgo  biloba ไม่เหนือกว่า placebo เลย

ไม่มารถป้องกัน หรือชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้เลย

 

 Huperzine A


มีเพื่อนฝูงไปเที่ยวต่างประเทศจีน
ได้ของฝากจากต่างเมืองมา  โดยบอกว่าเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
สารตัวนั้นมีชื่อเรียก  Huperzine A

Huperzine A เป็นสารที่สกัดจากพืชตระกูลมอส (moss)

ซึ่งถูกใช้เป็นยาจีนมาหลายศตวรรษแล้ว

โดยสารดังกล่าวมีฤทธิ์เหมือนกับ cholinesterase inhibitors

ซึ่งมีเป็นยาที่ถูกนำไปใช้รักษาโรค “อัลไซเมอร์”

และสารดังกล่าว  ถูกสนับสนุนให้ใช้รักษาคนไข้โรค “อัลไซเมอร์” กัน

 

แต่ผลที่ได้จาก Alzheimer’s Disease Cooperative Study (ADCS)

ได้ทำการศึกษา (first large scale U.S. clinical trial of Huperzine A)

โดยใช้รักษาคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะ Mild ถึง ขั้น Moderate stage

ปรากฏว่า  สาร huperzine ไม่ได้ดีอย่างที่คิด

ซึ่งหมายความว่า  ไม่แตกต่างจากการใช้ยาหลอก (placebo)

 

เนื่องจากในปัจจุบัน  huperzine A  เป็นอาหารเสริม

ซึ่งไม่มีการควบคุม  และไม่มีรูปแบบมาตรฐานเลย

ที่สำคัญ  การใช้สารดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข่างเคียง

ที่รุนแรงได้  โดยเฉาะเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาอัลไซเมอร์ที่ได้รับการยอม

รับจาก FDA

Omega-3 fatty acids

Omega-3s เป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง polyunsaturated fatty acid

ซึ่งนักวิจับพบว่า  น้ำมันชนิดนี้ (PUFA) สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด

โรคหัวใจ (heart disease) และ ภาวะสมองถูกทำลาย (Stroke) ได้

 

องค์การอาหาร และยาของสหรัฐ (FDA) ได้ยินยอมให้ Omega-3 สอง

ตัวให้เป็นอาหารเสริมที่มีคุณภาพจำนวนสองตัว:

docosahexaneoic acid (DHA) และ eicosapentaenoic acid (EPA)

 

โดย FDA แนะนำให้ใช้สารทั้งสองตัว (DHA & EPA) วันหนึ่งไม่เกิน 3 กรัม

และเป็นอาหารเสริม  ไม่ควรเกิน 2 กรัม

 

ผลจากการวิจัยพบว่า...

การรับประทาน omega-3s สามารถลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อม

Omega ตัวที่สำคัญที่สุดที่อยู่ในสมอง คือ DHA

ซึ่งเป็นสารที่อยู่รอบ ๆ เซลล์สมอง (fatty membranes)

โดยเฉพาะอยู่ในตำแหน่งรอยต่อระหว่างเซลล์กับเซลล์ (synapse)

 

มีทฤษฎีมากมายที่กล่าวถึง omega-3 ว่า...

มันมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม และมีประโยชน์ต่อหัวใจ

และเส้นเลือด; มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effects);

และสามารถป้องกันเยื้อหุ้มเซลล์ประสาทสมอง

 

อย่างไรก็ตาม  ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างยอมรับกันว่า...

ควรมีการวิจัยมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้  เพราะหลักฐานเท่าที่มี
ยังไม่เพียงพอที่จะแนะนำ
ให้ใช้ DHA  หรือ omega-3 fatty acid ตัวอื่น ๆ สามารถรักษา
หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้

Phosphatidylserine

 

Phosphatidylserine เป็นไขมันชนิดหนึ่ง...
ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท

ในคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” และโรคที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน  เราจะพบว่า...
เซลล์ประสาทในสมองจะเกิดการสลายตัวไปด้วยต้นเหตุอะไรไม่มีใครทราบได้แน่ชัด
แต่ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังการใช้สาร phosphatidylserine เพื่อการรักษา
ทำให้เราเชื่อว่า  สารดังกล่าว สามารถทำให้เยื้อหุ้มเซลล์ประสาทดีขึ้น
หรือป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสลายไป

การศึกษาเกี่ยวกับ phospphatidylserine ถูกกระทำจากเซลล์สมองของวัว
ผลที่ได้จากการศึกษาปรากฏว่า  บางรายได้ผลเป็นที่พอใจ
แต่ส่วนใหญ่แล้ว  ผู้เข้าร่วมทำการทดลองต่างมีจำนวนน้อยเกินไป
พอถึงปี 1990s การวิจัยก็ต้องเลิกลมไปเพราะเกิดโรคของวัว
 (mad cow disease)

ในขณะนี้พบว่า  อาหารเสริมที่มี phosphatidylserine สะกัดจากอาหาร
ประเพศถั่ว (soy) และองค์การอาหารและยา (FDA) ได้ยอมรับอาหารเสริม
ที่เป็นพวกถั่วเหลืองที่มีสาร phosphatidylserine ว่ามีคุณสมบัติที่ดี
อาจสามารถลดความเสี่ยงของคนสูงอายุต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

แต่ก็ FDA สรุปผลว่า...จากข้อมูลที่ได้ยังน้อยไป 
ไม่เพียงพอที่จะชีบ่งบอกว่ามีประโยชน์จริง  ต้องมีการวิจัยมากกว่านี้
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างมีความเห็นว่า 
เราไม่ควรใช้สาร phosphatidylserine


<<BACK

http://www.alz.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น