วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease : Treatment of Sleep Changes 2

Non-drug treatments for sleep changes

คนสูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งมีปัญหาเรื่องการนอน...
เป้าหมายของการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา 
เพื่อช่วยทำให้คนสูงอายุสามารถนอนหลับได้เป็นปกติ 
พร้อมกับช่วยสร้างบรรยากาศให้เขานอนหลับได้ง่ายขึ้น
ถือว่า  เป็นวิธีที่ควรกระทำ (non-drug measures) ก่อนที่จะมีการใช้ยา
เพราะยานอนหลับสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
  
เพื่อสร้างบรรยากาศให้มีการนอนหลับดีขึ้น  พร้อมกับส่งเสริมให้คนเป็น
โรค “อัลไซเมอร์” ได้รับการพักผ่อน มีดังนี้:

§  รักษาเวลาในการรับประทานอาการ,  เวลานอน และเวลาตื่นนอน
ให้เป็นปกติ



§  หาโอกาสสัมผัสแสงแดดในตอนเช้าทุกวัน

§  พยายามออกกำลังกายเป็นประจำ  และควรกระทำก่อนเวลา
นอน 4 ชั่วโมง

§  งดเว้นจากการดื่มแอลกอฮอล, กาแฟ  นิโคตีน

§  อย่าให้มีอาการปวด  ถ้ามีอาการปวด (กาย) ...รักษาให้หาย

§  ถ้าคนไข้รับประทานยากลุ่ม  cholinesterase inhibitors (tacrine,
donepezil, rivastigmnine หรือ  galantamine) ….
อย่ารับทานยากลุ่มดังกล่าวก่อนเวลานอนเป็นอันขาด

§  ถ้าหากมีการตื่นในตอนกลางคืน...อย่านอนบนเตียง
ให้ใช้เตียงนอนเพื่อการนอนหลับเท่านั้น
หลีกเลี่ยงการดูทีวีในระหว่างการตื่น

Medications for sleep changes
ในกรณีทที่ไม่ต้องใช้ยา (non-drug measures) ไม่ประสบผล
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการนอนหลับได้ 
คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ยา
และสิ่งที่ควรยึดเป็นหลักปฏิบัติ คือ  ให้เริ่มขนาดน้อยๆ  และเพิ่มอย่าง ช้า ๆ

อันตรายจากการใช้ยาเพื่อให้หลับในคนสูงอายุที่มีปัญหาการรับรู้  และ
ความเข้าใจปรากฏว่ามีมากพอสมควร
ซึ่งได้แก่:  เพิ่มโอกาสให้เกิดการหกล้ม  กระดูกหัก, เกิดอาการสับสน
และลดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง

ถ้าเกิดมีการใช้ยานอนหลับเมื่อใด  พยายามหยุดยาเมือการนอนหลับ
กลับสู่ปกติแล้ว...อย่ายืดเยื้อกับการใช้ยานอนหลับเป็นอันข่าด

ชนิดของยานอนหลับ...
ในการสั่งยานอนหลับให้คนไข้โรค “อัลไซเมอร์”
แพทย์จะคำนึงถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของคนไข้เป็นหลัก
 
การใช้ยา antipsychotic drug ให้แก่คนไข้จำเป็นต้องระมัดระวังให้มาก 
เพราะผลจากการวิจัยบอกว่า
ยากลุ่มดังกล่าว  ทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองถูกทำลาย (stroke)
และความตาย (death) ในคนแก่ที่มีสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาความผิดปกติในการนอนของคนไข้ AD
ได้แก่:

§  Tricyclic antidepressants เช่น  nortriptyline  และ trazodone
§  Benzodiazepines  เช่น  lorazepam, oxazepam และ temazepam
§  Sleeping pills เช่น zolpidem, zaelplon และ choral hydrate
§  Atypical antpsychotics เช่น risperidone, onlanzapine
§  และ quetiapine

สำหรับท่านที่ชอบใช้ยาใหม่ๆ...โดยเฉพาะจากคำแนะนำของเพื่อนๆ ...
ก่อนใช้ท่านจะต้องแน่ใจก่อนว่า:

§  ประโยชน์ที่พึงได้รับจากยา ?
§  มีความเสียง หรืออันตรายจากการใช้ยา...หรือเปล่า ? และ
§  มีทางเลือกอย่างอื่น ที่ดีกว่าไหม ?
§  ควรปรึกษาแพทย์...น่าจะปลอดภัยกว่า

สุดท้าย แต่คงไม่ใช่ท้ายสุด !
เป้าหมายของการรักษาอัลไซเมอร์...
ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด  มักมีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะที่ทำการรักษา
ดังนั้น  เพื่อความปลอดภัย  และประโยชน์สูงสุด 
การศึกษาทำความเข้าใจกับวิธีการรักษาวิธีการต่างๆ ให้มากที่สุด
น่าจะเป็นการดีสำหรับการต่อสู่กับโรคดังกล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น