วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease: Frequently asked questions 1

เนื่องจากโรค "อัลไซเมอร์" เป็นโรคที่น่ากลัว...
และสามารถเกิดกับคนเราได้ทุกคน  ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวโรคดังกล่าว
น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ไม่มากก็น้อย
ที่สำคัญ  มีโรคความจำเสื่อมบางอย่าง  สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้
.........

การสูญเสียความทรงจำ (memory loss)...
เป็นส่วนหนึ่งของคนแก่ใช่หรือไม่ ?

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น  สมองของเรา และส่วนอื่นของร่างกายก็แก่ลงด้วยเช่นกัน
และนั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์  ซึ่งไม่เพียงกายเท่านั้นที่เสื่อมลงไป
สมรรถภาพของสมอง หรือทางจิตก็เสื่อมลงไปด้วย

เนื่องจากความเสื่อมตามธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่าง
ช้า ๆ  จนเราไม่สามารถชี้ลงไปให้ชัดแจ้งได้ว่า
ความเสื่อมของสมอง หรือจิต (mental decline) มันเริ่มเมื่อใด
แต่นักวิจัยทั้งหลายต่างลงความเห็นว่า
หลังจากอายุ 50 จะพบว่าความจำเสื่อมจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม  การเสื่อมทางจิตที่เกิดตามธรรมชาตินั้น
จะไม่กระทบต่อการทำงานในชีวิตประจำวันของคนเราหรอก
แต่สำหรับคนที่มีความจำเสื่อมอย่างรวดฉับพลัน 
อาจเป็นบ่งชี้ให้ทราบว่า  มีโรคอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ภายในร่างกายก็ได้
ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่าน และแพทย์ประจำตัวของท่านต้องค้นหากันต่อไป

หากท่านมีความจำเสื่อมเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน...
แพทย์จะทำการตรวจด้วยการ ประเมินการเปลี่ยนทางความจำ (memory),
บุคลิกภาพ (personality), คำพูด และภาษา (Language),
หรือทำการตรวจทักษะ (Skills) ของท่าน

เมื่อความจำลดลง...
มันหมายถึงเกิดเป็นโรคสมองเสื่อมใช่หรือไม่ ?

คำว่า dementia เป็นคำที่ที่มีความหมายกว้าง 
ใช้อธิบายสมรรถภาพการ
ทำงานของสมองหลาย ๆ อย่างที่ลดลง 
ซึ่งรวมถึงความจำที่เสือมลงไปด้วย

ความจำเสื่อม หรืออาการ "ขี้ลืม" ในคนสูงอายุ  ในระดับหนึ่งถือว่าปกติ
แต่ในคนที่เป็นโรค dementia อาการขี้ลืมของเขาจะต้องมีความรุนแรง
ถึงขั้นกระทบกับการทำงานในชีวิตประจำวัน 
ถ้าไม่กระทบ...ถือว่าไม่ใช่!

นอกจากนั้น  อาการขี้ลืมของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม
จะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ
และพฤติกรรมด้วย

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม ...?

มีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้  เช่น:

·         ภาวะซึมเศร้า (depression)
·         การแพ้ยา (adverse reaction to medications)
·         อักเสบติดเชื้อ เช่น  syphilis หรือ เยื้อหุ้มสมองติดเชื้อรา (fungal  meningitis)
·         โรคทางเมตาบอลิซึม  เช่น โรคขาด vitamin B12 หรือขาดสาร folat
        หรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

ในคนไข้เหล่านี้  หากได้รับการวินิจฉัยเร็ว  และให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม 
 ย่อมทำให้เขาหายได้

อย่างไรก็ตาม  สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกดโรคสมองเสื่อม 
ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

โรคสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้
เป็นผลมาจากสมองเสื่อมสมรรถภาพลง  หรือเป็นเพราะทางเชื่อมต่อ (connections)
ระหว่างเซลล์ประสาทสมองเสียไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมมีได้แก่:

·         Alzheimer's disease (in 40 percent to 45 percent of cases)
·         Multi-infarct or vascular dementia (in 20 percent of cases)
·         Lewy body disease (in 20 percent of cases)
·         Creutzfeldt-Jakob disease
·         Traumatic head injury
·         AIDS
·         Alcohol in high amounts over many years
·         Huntington's disease
·         Pick's disease (a degenerative disease of the brain)
·         Brain abscess
·         Multiple sclerosis
·         More than 50 other rare degenerative conditions

โรค“อัลไซเมอร์” มันเป็นโรรอะไรกัน...?

โรค “อัลไซเมอร์” เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพของสมอง 
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง  (progressive) 
โดยในระแรกจะมีความจำเสื่อม  และตามด้วยการทำงานสอง...หรือมากกว่าเสียไป
สุดท้ายจะนำไปสู่โรคทางกาย  และเสียชีวิตในที่สุด

การเปลี่ยนแปลงในสมองของคนเป็นโรค AD จะมีลักษณะเฉพาะของโรค 
ซึ่งไม่สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ในขณะนี้ได้ 
แต่คาดว่าคงไม่นานเราอาจมีวิธีตรวจ (test) ดูการเปลี่ยนแปลงในสมองของคน
ที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” ได้


โรค “อัลไซเมอร์” สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่ ?

เป็นที่ทราบว่า...
โรค “อัลไซเมอร์” สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
แต่มีได้น้อย (ประมาณ 3 %) ที่คนที่เป็นโรคดังกล่าว
จะแสดงให้เห้นถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม

ความผิดปกติในพันธุกรรม (genetic abnormality)
ที่อยู่ใน chromosomes เป็นผลมาจาก การถ่ายทอด “ยีน” จากพ่อ-แม่สู่ผู้เป็นบุตร  
โดยความผิดปกติเฉพาะ  ซึ่งอยู่ใน “ยีน” หนึ่งตัว สามารถทำให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์”ได้
(autosomal-dominant inheritance) นั้น  และมักจะเป็นคนหนุ่ม (young patient)
ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปได้...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น