เมื่อท่านใดเกิดเป็นโรค “พาร์กินสัน”...
ท่านจะมีอาการหลายอย่างปรากฏให้คนรอบข้างได้เห็น ซึ่งอาจทำให้
ให้คนพบเห็นเกิดความความเข้าใจผิด หรือแปรความหมายผิดไปได้
เมื่อท่านเป็นโรคดังกล่าวขึ้นมา...
ท่านไม่จำเป็นจะต้องสนใจว่า คนรอบข้างเขาจะคิดเช่นใดต่ออาการ
ต่อไปนี้:
§ จ้องมอง (staring),
§ สั่นเทา โดยที่ท่านไม่สามารถควบคุมได้ (trembling),
§ พูดด้วยน้ำเสียงเบาและอู้อี้ ยากต่อการได้ยิน(mumbling),
§ น้ำลายไหลยืดจากปาก (drooling) และอื่น ๆ
นอกจากนั้น ท่านอาจมีอาการอย่างอื่น เช่น
§ เคลื่อนกายได้เชื่องช้า
§ ลายเซ็นของท่านไม่เหมือนเดิม
เมื่อท่านเกิดเป็นโรคดังกล่าว อาการงุ่มง่ามที่เกิดขึ้นจะเป็นสิ่งท้าทาย
สำหรับท่าน ซึ่งมีแนวทางสำหรับท่าน เพื่อจัดการกับเรื่องดังกล่าว
ดังตัวอย่างต่อไปนี้:
“ท่านจ้องหน้าผมทำไม?”
มีคนไข้ที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” จำนวนไม่น้อย จะถูกกล่าวหาว่า....
เสียมารยาติด้วยการจ้องมองหน้าคนอื่นอยู่เสมอ
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะคนเป็นโรคดังกล่าวไม่สามารถแสดงสีหน้าได้
ตามธรรมชาติ (หน้าตาย) ทั้งนี้เพราะการแสดงออกทางสีหน้าจำเป็น
ต้องอาศัยสารสื่อประสาทชื่อ dopamine
นอกจากนั้น ยังทำให้ให้การกระพริบตาลดลงด้วย
การที่คนเป็นโรค “พาร์กินสัน” ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้าม
เนื้อของใบหน้าได้ ยังเป็นเหตุให้พูดอู้อี้ และน้ำลายยืด
และไม่สามารถแสดงออกทางสีหน้า (ไร้อารมณ์)ได้ด้วย
ถ้ามีใครสักคนถามท่านว่า...ท่านจ้องมองเขาทำไม ?
หรือทำไมท่านพูดเสียงอู้อี้...? หรือ...น้ำลายยืด ?
การเผชิญกับปัญหาดังกล่าวที่ดีที่สุด คือบอกความจริงให้ได้ทราบกัน
ยกตัวอย่าง:
“ข้าพเจ้าเป็นโรค “พาร์กินสัน” ครับ...
ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบางอย่าง
ของใบหน้าได้”
หรือ: เสียงพูดอู้อี้...?
ท่านเพียงแต่ตอบว่า...
“ผม/ฉัน เป็นโรค “พาร์กินสัน....”
ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดได้”
“น้ำลายยืด”
ท่านเพียงแต่บอกว่า...
“ผม/ฉันเป็นโรค “พาร์กินสัน...”
ไม่สามารถควยคุมกล้ามเนื้อบางมัดของปาก
และใบหน้า”
ในทำนองเดียวกัน ท่านสามารถตอบสนองต่อคำถามต่างๆ เกี่ยวกับ
อาการของโรค“พาร์กินสัน” ซึ่งสามารถทำให้คนรอบข้างหายจาก
ความเข้าใจผิดได้
“ร่างกายของท่านกำลังสั่น....นะ!”
กายสั่นเทา (tremor) เป็นอาการแรกๆ ของคนเป็นโรค “พาร์กินสัน”
ซึ่งมีต้นเหตุมาจากสมองส่วนกลางขาดสารสื่อประสาท dopamine
ท่านสามารถตอบสนองต่อคำความสงสัย....ด้วยประโยค
“ข้าพเจ้าเป็นโร “พาร์กินสัน”....
สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อบางมัดไป”
ลองพิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้ดู:
เมื่อท่านจำเป็นต้องซื้อของจาก supermarket…
ที่ซูบเปอร์มาร์เกต ท่านที่เป็นโรค “พาร์กินสัน”
ท่านจะมีปัญหาในการเข็นรถบรรจุสิ่งของผ่านช่องระหว่างทางเดิน....
ไปยังจุดชำระเงิน...โดยจะมีผู้คนเรียงกันเป็นแถว เพื่อชำระเงิน
เมื่อท่านเดินช้า....ท่านจะเจอคำถามจากคนที่ต้องการให้ท่านเดินเร็วขึ้น
คำถามมีว่า...แล้วท่านในฐานที่เป็นโรค พาร์กินสัน ควรตอบว่าอย่างไร ?
คำแนะนำสำหรับจัดการกับสถานการณ์ที่น่าอาย (งุ่มง่าม)
เมื่อท่านเป็นโรค PD ไปซื้อของที่ supermarket และท่านไม่จำเป็นต้อง
อธิบายอาการอันน่าอับอายของท่านให้ทุกคนทีไร้ความอดทน
และไม่ให้ความสนใจต่อใคร ด้วยการอธิบายตรงๆ
แต่บางครั้ง การอธิบายอย่างรวดเร็ว อาจช่วยท่านได้บ้างเล็กน้อย
§ ในสถานการณ์ส่วนมาก เพียงประโยคง่ายหนึ่งประโยค
อาจเพียงพอ: “ ข้าพเจ้าเป็นโรคพาร์กินสัน....ไม่สามารถควบคุม
กล้ามเนื้อของฉันได้”
จากประโยคสั้นๆ ดังกล่าวจะตอบสนอง หรืออธิบายปัญหาต่างๆ ได้
หรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สามารถจัดการกับทุกสถานการณ์ได้
และท่านสามารถใช้ทางอื่นเพื่อจัดการกับอาการงุ่มง่ามที่น่าอับอาย
ของท่านด้วย:
§ สร้างอารมณ์ขบขันสำหรับสถานการณ์ขึ้นมา จะทำให้คนที่กำลัง
หงุดหงิดจากอะไรก็ตาม หายจากภาวะดังกล่าวได้
เช่น ในขณะที่กำลังรอ...ใน supermarket
§ เปลี่ยนสถานการณ์ที่งุ่มง่ามไปทางอื่นเสีย เช่น สร้างอารมณ์ขบขัน
ซึ่งสามารถทำให้คนหัวเราะ สามารถทำให้คนรู้สึกดีขึ้น
http://parkinsons.about.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น