วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

About Parkinson’s disease dementia 2

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง (Causes and risks):
มีปัจจัยบางอย่างเมื่อเกิดขึ้นในขณะที่วินิจฉัยโรคพาร์กินสันแล้ว 
อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
เช่น  อายุมาก, มีอาการทางการเคลื่อนไวที่รุนแรง และมีความ
จำเสื่อมแต่เพียงเล็กน้อย (Mild cognitive impairment)

นอกเหนือจากนั้น  อาจมีปัจจัยอย่างอื่นอีก เป็นต้นว่า:

§  มีอการประสาทหลอน โดยไม่มีอาการของสมองเสื่อม
§  หลับในตอนกลางวันมากเกินไป
§  คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน  ซึ่งมีอาการเป็นในรูปแบบสูญเสียความสมดุล, 
เริ่มออกเดินด้วยความลำบาก และเวลาเดินไม่สามารถยกเท้าให้พ้นจากพื้นได้

การรักษา และผลต่างๆ ที่เกิดจากการรักษา
(Treatment and outcomes)

มันเป็นเช่นเดียวกับการรักษาโรค “อัลไซเมอร์”...
เราไม่มีวิธีการรักษาที่สมารถชะลอ หรือหยุดยั้งเซลล์สมองถูกทำลายได้
ดังนั้น  เราจึงเห็นว่า  กรรมวิธีการรักษาโรคดังกล่าว
จึงโฟกัสไปที่อาการ  เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เกิดให้ลดลง

เมื่อท่านได้วางแผนการรักษาโรคด้วยยาเมื่อใด...
ท่านจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ของท่าน เพื่อให้รู้ว่า 
มียาชนิดใดเหมาะสมกับโรคของท่าน  ตลอดรวมถึงขนาดที่ใช้

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้แก่:

§  Cholinesterase inhibitors:
จัดเป็นยาหลักที่เราใช้รักษาการเปลี่ยนแปลงด้านความคิด
ของคนเป็นโรค “อัลไซเมอร์”  และมักใช้ได้ผลดีในคนที่เป็น
โรคสมองเสื่อมจากพาร์กินสันเช่นเดียวกัน

§  Antipsychotic drugs:
เมื่อนำไปใช้ในคนสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน ควรระวังให้มาก
อย่างไรก็ตาม  แพทย์บางท่านอาจใช้ยากลุ่ม
นี้เพื่อรักษาอาการทางพฤติกรรมในคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ 
แต่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ถึง 50 %

ในคนเป็นโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน, สมองเสื่อมจาก Lewy Bodies
ผลข้างเคียงที่เกิดอาจป็น “การเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกตัว”,  
กลืนอาหารลำบาก, เกิดภาวะสบสนอย่างฉับพลัน , 
เกิดอาการประสาทหลอน หรือทำให้อาการของโรคพาร์กินสันเลวลง

§  L-dopa:
เป็นยาที่อาจใช้รักษาอาการผิดปกติในการเคลื่อนไหวในโรคพาร์กินสัน 
อย่างไรก็ตาม  มันสามารถทำให้เกิดอาการประสาทหลอน
และเกิดอาการสับสนในคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน
หรือคนสมองเสื่อมจากสาร Lewy bodies

§  Antidepressants:
อาจนำมาใช้รักษาภาวะซึมเศร้า
ซึ่งเกิดในคนไข้ที่เป็นทั้งโรค Parkinson's disease dementia และ
โรค dementia with Lewy bodies
ยาที่ใช้บ่อยที่สุดได้แก่ยาในกลุ่ม selective reuptake inhibitors (SSRIs)

§  Clonazepam:
เป็นยาที่อาจใช้รักษาอาการผิดปกติในการนอน (REP sleep)


โดยสรุปโรคพาร์กินสันสมองเสื่อม  มันก็เป็นคล้าย ๆ กับสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ
ซึ่งเซลล์สมองถูกทำลายไป...
คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน (parkinson’s disease) และคนที่เป็นโรค
พาร์กินสันสมองเสื่อม (parkinson’s disease dementia)
ต่างเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป  และมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก

<< BACK



About Parkinson's disease dementia 1



สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน...
เราจะพบความเปลี่ยนแปลงในสมอง 
โดยมีการเริ่มต้นในส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การเคลื่อนไหวของร่างกาย

ในขณะที่สมองมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมลงไป นั้น
เราจะพบการเปลี่ยนแปลงของสมอง  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ
ความจำ (memory), ความใส่ใจ (attention), การตัดสิน
ปัญหาได้เหมาะสม และสามารถในการวางแผนเพื่อให้งาน
สำเร็จได้

การเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ทางกล้องจุลทรรศน์ของสมอง
ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโรคพาร์กินสัน  และภาวะ
สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน  คือ  มีสารโปรตีนชื่อ
alpha-synuclein กระจายในสมอง
โดยที่ไม่ทราบว่าการมันทำงานตามปกติอย่างไร ?
สารโปรตีนที่ว่านั้น  มีชื่อเรียก Lewy bodies

Lewy bodies นอกจากจะพบในสมองของคนเป็นโรคพาร์กินสันแล้ว
เรายังพบเห็นในคนที่เป็นโรคสมองชนิดอื่น ๆ
รวมถึงคนเป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาร Lewy bodies
(dementia with Lewy body)

จากหลักฐานชี้ให้เห็นว่า 
ในคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาร Lewy bodies,
ในคนที่สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน, และโรคพาร์กินสันอาจมีส่วนสัมพันธ์
กับความผิดปกติต่าง ๆ จากกระบวนการเกิดสาร alpha-synuclein ก็ได้

โรคพาร์กินสัน เป็นความผิดปกติของระบบประสาทของคนสูงอายุ
โดยมีการประมาณการณ์ตัวเลขเอาไว้ว่า
จะมีคนเป็นโรคดังกล่าวได้ประมาณ 2 % ของคนมีอายุมากกว่า 65

The National Parkinson Foundation ได้ประเมินเอาไว้ว่า
มีชนชาวอเมริกันประมาณ 1 ล้านคนเป็นโรคพาร์กินสันกัน และใน
จำนวนดังกล่าว  ประมาณ 50 – 80 % จะลงเอยด้วยการกลายเป็น
โรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน (Parkinson’s disease dementia)
ซึ่งระยะเวลาจากการเปลี่ยนแปลงของโรคพาร์กินสัน  สู่การเกิด
ภาวะสมองเสื่อมจะกินเวลาประมาณ 10

อาการ (Symptoms)


ภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease
Dementia) จะพบความเสื่อมเกิดในด้านการคิด (thinking)
และการคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning)
ซึ่งเกิดขึ้นในบางคนที่ได้รบการวินิจฉัยว่า เป็นโรคพาร์กินสัน
โดยเราจะพบได้ในหนึ่งปีในช่วงแรก ๆ ของการเกิดโรค

อาการของโรค (PD) ที่พบบ่อย:

§  มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความจำ, สมาธิ และการตัดสินใจ
§  มีความลำบากในการแปลผลของข้อมูลที่ได้ทางภาพ
§  พูดเสียงอู้อี
§  ภาพหลอน
§  เข้าใจผิด มีความคิดวาดระแวง
§  ภาวะซึมเศร้า
§  ความวิตกกังวล  และหงุดหงิด
§  มีปัญหาในด้านการนอนหลับ  โดยเฉพาะหลับในช่วงกลางวัน 
  และชอบง่วงนอน

การวินิจฉัย (Diagnosis)
เราไม่มีการตรวจ (test) อย่างเดี่ยว  หรือการตรวจ (tests)ร่วมอย่างอื่น
เพื่อวินิจฉัยโรคเหมือนกับโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ
เพื่อระบุว่า  เขาหรือใครเป็นโรค “สมองเสื่อมพาร์กินสัน”
(Parkinson’s disease dementia) ได้
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า...
โรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน  และ โรคสมองเสื่อม Lewy dodies
(dementia with lewy body)....

ข้อแนะนำ (guidelines) สำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน
และสมองเสื่อม Lewy มีดังนี้:

§  คนเป็นโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน  จะถูกวินิจฉัยเมื่อเขาเริ่มต้นถูกวินิจฉัยว่า 
เป็นโรคพาร์กินสัน  เมื่อมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ  
โดยไม่มีอาการของสมองเสื่อมเลย  
จนกว่าเวลาจะผ่านไปเป็นเวลาหนึ่งปี หรือหลายปีให้หลัง

§  เราจะวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคสมองเสื่อม Lewy bodies เมื่อ:

o   คนไข้จะมีอาการสมองเสื่อม ซึ่งสอดคล้องกับโรค
สมองเสื่อม lewy bodies ตั้งแต่แรก
o   เมื่อคนไข้มีอาการสมองเสื่อมร่วมกับการเคลื่อนไหว
ทีผิดปกติเกิดพร้อมกัน  และ
o   เมื่อคนไข้เกิดมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติภายในหนึ่งปี
    เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า มีสมองเสื่อมร่วมกับการมี Lewy bodies

Brain  Imaging:
เนื่องจากคนเป็นโรคพาร์กินสันจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมได้สูง 
ด้วยเหตุผลดังกล่าว  จะพบว่าแพทย์ที่ให้การดูแล
รักษาคนไข้จะสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงในความคิดอ่าน (thinking)
ของคนไข้อย่างใกล้ชิด

และในขณะที่คนไข้ดังกล่าวเกิดมีอาการเปลี่ยนแปลงทางความ
คิดเมื่อใด  แพทย์มักจะสั่งให้ทำการตรวจดูภาพของสมองด้วย
เพื่อพิจารณาตรวจหาโรคชนิดอื่น    ทีอยู่ในสมอง
เช่น  มะเร็ง (tumors) และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่บ่งชี้ให้ทราบว่า 
คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด(vascular disease)



NEXT >>

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease : Alternative Treatment 2

Ginkgo biloba (แปะก๊วย)

“ชาวจีนเชื่อว่า แปะก๊วย (เมล็ด)นำมาต้มเป็นของหวาน  ถือว่าเป็นยา

อายุวัฒนะ...”

 

เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า Ginkgo biloba หรือแปะก๊วย...

เป็นพืชนิหนึ่งมีสารหลายตัว 

ซึ่งสกัดออกมาสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ของสมอง และร่างกาย

โดยเชื่อว่า  มันเป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ แลต้านการอักเสบ

สามารถป้องกันเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membranes)

และสามารถควบคุมการทำงานของารสื่อประสาท

(neurotransmitters)

 

จากความเชื่อดังกล่าว...

แปะก๊วยจึงถูกชวจีนนำไปใช้เป็นยามานานหลายศตวรรษ  และ

ในปัจจุบันทาง Europe ได้นำไปใช้รักษาอาการที่เกิดกับโรคทางระบบ

ประสาท เพื่อช่วยบรรเทาอาการทางปัญญา (ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ)

 

อย่างไรก็ตาม ผลจากการทดลองใน Phase III clinical studies

โดย National Institutes of health ปรากฏว่า

Ginkgo  biloba ไม่เหนือกว่า placebo เลย

ไม่มารถป้องกัน หรือชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้เลย

 

 Huperzine A


มีเพื่อนฝูงไปเที่ยวต่างประเทศจีน
ได้ของฝากจากต่างเมืองมา  โดยบอกว่าเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
สารตัวนั้นมีชื่อเรียก  Huperzine A

Huperzine A เป็นสารที่สกัดจากพืชตระกูลมอส (moss)

ซึ่งถูกใช้เป็นยาจีนมาหลายศตวรรษแล้ว

โดยสารดังกล่าวมีฤทธิ์เหมือนกับ cholinesterase inhibitors

ซึ่งมีเป็นยาที่ถูกนำไปใช้รักษาโรค “อัลไซเมอร์”

และสารดังกล่าว  ถูกสนับสนุนให้ใช้รักษาคนไข้โรค “อัลไซเมอร์” กัน

 

แต่ผลที่ได้จาก Alzheimer’s Disease Cooperative Study (ADCS)

ได้ทำการศึกษา (first large scale U.S. clinical trial of Huperzine A)

โดยใช้รักษาคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะ Mild ถึง ขั้น Moderate stage

ปรากฏว่า  สาร huperzine ไม่ได้ดีอย่างที่คิด

ซึ่งหมายความว่า  ไม่แตกต่างจากการใช้ยาหลอก (placebo)

 

เนื่องจากในปัจจุบัน  huperzine A  เป็นอาหารเสริม

ซึ่งไม่มีการควบคุม  และไม่มีรูปแบบมาตรฐานเลย

ที่สำคัญ  การใช้สารดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข่างเคียง

ที่รุนแรงได้  โดยเฉาะเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาอัลไซเมอร์ที่ได้รับการยอม

รับจาก FDA

Omega-3 fatty acids

Omega-3s เป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง polyunsaturated fatty acid

ซึ่งนักวิจับพบว่า  น้ำมันชนิดนี้ (PUFA) สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด

โรคหัวใจ (heart disease) และ ภาวะสมองถูกทำลาย (Stroke) ได้

 

องค์การอาหาร และยาของสหรัฐ (FDA) ได้ยินยอมให้ Omega-3 สอง

ตัวให้เป็นอาหารเสริมที่มีคุณภาพจำนวนสองตัว:

docosahexaneoic acid (DHA) และ eicosapentaenoic acid (EPA)

 

โดย FDA แนะนำให้ใช้สารทั้งสองตัว (DHA & EPA) วันหนึ่งไม่เกิน 3 กรัม

และเป็นอาหารเสริม  ไม่ควรเกิน 2 กรัม

 

ผลจากการวิจัยพบว่า...

การรับประทาน omega-3s สามารถลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อม

Omega ตัวที่สำคัญที่สุดที่อยู่ในสมอง คือ DHA

ซึ่งเป็นสารที่อยู่รอบ ๆ เซลล์สมอง (fatty membranes)

โดยเฉพาะอยู่ในตำแหน่งรอยต่อระหว่างเซลล์กับเซลล์ (synapse)

 

มีทฤษฎีมากมายที่กล่าวถึง omega-3 ว่า...

มันมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม และมีประโยชน์ต่อหัวใจ

และเส้นเลือด; มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effects);

และสามารถป้องกันเยื้อหุ้มเซลล์ประสาทสมอง

 

อย่างไรก็ตาม  ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างยอมรับกันว่า...

ควรมีการวิจัยมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้  เพราะหลักฐานเท่าที่มี
ยังไม่เพียงพอที่จะแนะนำ
ให้ใช้ DHA  หรือ omega-3 fatty acid ตัวอื่น ๆ สามารถรักษา
หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้

Phosphatidylserine

 

Phosphatidylserine เป็นไขมันชนิดหนึ่ง...
ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท

ในคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” และโรคที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน  เราจะพบว่า...
เซลล์ประสาทในสมองจะเกิดการสลายตัวไปด้วยต้นเหตุอะไรไม่มีใครทราบได้แน่ชัด
แต่ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังการใช้สาร phosphatidylserine เพื่อการรักษา
ทำให้เราเชื่อว่า  สารดังกล่าว สามารถทำให้เยื้อหุ้มเซลล์ประสาทดีขึ้น
หรือป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสลายไป

การศึกษาเกี่ยวกับ phospphatidylserine ถูกกระทำจากเซลล์สมองของวัว
ผลที่ได้จากการศึกษาปรากฏว่า  บางรายได้ผลเป็นที่พอใจ
แต่ส่วนใหญ่แล้ว  ผู้เข้าร่วมทำการทดลองต่างมีจำนวนน้อยเกินไป
พอถึงปี 1990s การวิจัยก็ต้องเลิกลมไปเพราะเกิดโรคของวัว
 (mad cow disease)

ในขณะนี้พบว่า  อาหารเสริมที่มี phosphatidylserine สะกัดจากอาหาร
ประเพศถั่ว (soy) และองค์การอาหารและยา (FDA) ได้ยอมรับอาหารเสริม
ที่เป็นพวกถั่วเหลืองที่มีสาร phosphatidylserine ว่ามีคุณสมบัติที่ดี
อาจสามารถลดความเสี่ยงของคนสูงอายุต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

แต่ก็ FDA สรุปผลว่า...จากข้อมูลที่ได้ยังน้อยไป 
ไม่เพียงพอที่จะชีบ่งบอกว่ามีประโยชน์จริง  ต้องมีการวิจัยมากกว่านี้
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างมีความเห็นว่า 
เราไม่ควรใช้สาร phosphatidylserine


<<BACK

http://www.alz.org

Alzheimer’s Disease: Alternative Treatment 1

เนื่องจากเราไม่สามารถรักษาโรค “อัลไซเมอร์” ให้หาย...
หลายท่านจึงหันไปเลือกใช้วิธีการอย่างอื่นเพื่อรักษาโรคของตนเอง 
ที่เราพบได้บ่อยที่สุด  คือการใช้สมุนไพรและอาหารเสริม

ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้วิธีการใดก็ตามทีเถิด...
แต่ก่อนที่ท่านจะใช้อะไร....ท่านต้องพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ให้ดีเสียก่อน: 

§   Effectiveness and Safety:
ปกติยาทุกชนิดที่แพทย์สั่งให้คนไข้  ยานั้นต้องผ่านการพิสูจน์แล้ว  เป็น
ยาที่มีประสิทธิภาพจริง และปลอดภัยไร้อันตราย....
ซึ่งถ้าเป็นในต่างประเทศ  เช่นในสหรัฐฯ จะต้องได้รับการรับรองจากองค์การ
อาหารและยา (FDA) เสียก่อน
นั่นเป็นเรืองเกี่ยวกับยาที่แพทย์ใช้กับคนไข้...
ส่วนอาหารเสริม (dietary supplement) องค์การณ์อาหารและยา (FDA)
จะไม่เข้าไปมีบทบาทในการควบคุมเลย
ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารเสริมดังกล่าว  ไม่จำเป็นต้องแจ็งข้อมูลให้ FDA
ให้ทราบถึงประสิทธิภาพ หรือความปลอดภัยของอาหารเสริม...
ผู้ใช้ต้องรับผิดชอยตนเอง...
จะกล่าวว่า  ”ตัวใคร...ตัวมัน.” น่าจะถูกต้อง...

§  Purity is unknown:
องค์การอาหาร และยา (FDA ของสหรัฐ) ไม่มีอำนาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวเกี่ยว
กับสารที่ใช้ในคนไข้เช่นกัน
คนรับผิดชอบกับสารที่ใช้กับคน...คือผู้ผลิตยาเอง
แต่เขาจะรับผิดชอบแค่ใหน...ไม่มีใครรบประกัน ?
สุดท้ายจะเข้าอีหรอบเดิม  นั่นคือ 
เมื่อเกิดความผิดพลาดใด ๆ ผู้ใช้ต้องรับไปเต็ม ๆ 100 %

§  Bad reaction:
ยาทุกชนิดเมื่อคนเรารับประทานเข้าไป   สามารถรู้ถึงผลข้างเคียง 
เพราะมีการทดลอง  มีการบันทึกและเตือนให้ผู้ใช้ได้ระมัดระวัง
ส่วนอาหารเสริม หรือสมุนไพร  ไม่มีการบันทึก 
ไม่มีการบอกกล่าวเตือนให้ผู้ใช้ระมัดระวัง...
ข้อสำคัญไม่มีใครรับผิดชอบในกรณีดังกล่าว   

§  Interactions with prescribed medication:
ความจริงมีว่า  ยาที่คนไข้รับประทานเข้าไป จะถูกกำหนดขนาดของยาเอาไว้ว่า
เมื่อรับทานมากไปจะก่อให้เกิดอันตราย
ในทางตรงกันข้าม  หากรับทานน้อยไปจะไร้ประโยชน์

นอกจากยาแต่ละขนานต่างมีผลข้างเคียง  และทำปฏิกิริยาต่อกันและกันได้ 
สามารถทำให้เกิดอันตรายกับคนไข้ได้

ส่วนอาหารเสริม หรือสมุนไพรก็คงเป็นเช่นเดียวกัน 
เราไม่ทราบขนาดที่เป็นประโยชน์ที่แน่ชัดได้เลย
หากรับประทานมากไปอาจก่อให้เกิดอันตราย 
และมันสามารถทำปฏิกิริยากับยาที่เรารับประทานเข้าไปได้
ดังนั้น  ก่อนใช้อาหารเสริม หรือสมุนไพรเมื่อใด...
อย่าลืมบอกให้แพทย์ทราบ

สารที่เป็นอาหารเสริมมีมากมาย  ที่ได้คุ้นตาบ่อย ๆ ได้แก่:

Caprylic acid & Coconut oil:


Caprylic acid (สารสกัดจากน้ำมันมะพร้าว) 

เป็นกรดที่สกัดจากน้ำมันมะพร้าว

ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร  และที่ใช้เป็นอาหารเสริม (medical food)

ชื่อ Axona 

 

Caprylic acid เป็นไขมัน triglyceride (medium chain) ที่สกัดจาก

น้ำมันมะพร้าว  หรือน้ำมันพาล์ม (palm kernel oil)

 

เมื่อคนเรารับประทานสารดังกล่าว...

ร่างกายจะทำให้ caprylic acid แตกตัวเป็น “ketones bodies”

 

ทฤษฎีทีอยู่เบื้องหลังหาอาหารเสริมตัวนี้ (Axona) 

เขาเชื่อว่าสาร ketone bodies ที่ได้จาก caprylic acid 

จะเป็นพลังงานเลือกให้แก่เซลล์ของสมอง

ซึ่งสูญเสียความสามารถในการใช้น้ำตาล(glucose)

อันเป็นผลมาจากการเกิดโรคอัลไซเมอร์

 

ปกติน้ำตาล (glucose) เป็นต้นตอของพลังที่สำคัญของสมอง  ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร 

การตรวจด้วยภาพ (imaging) ของคนเป็นโรคอัลไซเมอร์พบว่า 

การใช้น้ำตาลของสมองของส่วนที่เป็นโรคจะลดน้อยลง

 

อาหารเสริม (Axona) ที่ใช้ในวงการแพทย์นั้น

ปรากฏว่า มีอาหารเสริมที่มีลักษณะคล้ายๆ กันมีชื่อเรียก Ketasyn (AC-1202)

ซึ่งได้รับทางทดลองใน Phase II โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ถูกทดลอง 152 ราย

ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่อยู่ในระยะแรก ๆ ถึงระยะพอประมาณ (moderate)

ปรากฏว่า  เมื่อได้รับอาหารเสริม(ketasyn)  จะมีมีความจำ

และการทำงานโดยรวมดีกว่าผู้ไม่ได้รับอาหารเสริม (placebo)

 

เป้าหมายของการทำลองใน Phase II clinical studies

เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย  และขนาดของสารที่ให้ผลดีที่สุด

และให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่คนไข้ 

FDA ต้องการให้มีการทดลอง  โดยใช้กลุ่มทดลองมากกว่าที่ใช้ใน Phase II clinical studies 

โดยกำหนดให้มีผู้ถูกทดลอง (volunteer) มีจำนวนเพิ่มขึ้นหลายร้อย ถึงหลายพันคน

ซึ่งนั้นถือเป็น Phase III clinical studies

 

แต่บริษัทผู้ผลิตสารอาการ Axona ไมยอมทำการทดลองต่อ

ยุติการทดลองที่ Phase II clinica studiesเท่านั้น 

ไม่ได้ทดลองเพื่อยืนผลประโยชน์ที่พึงได้จากสาร acrylic acid

เพราะไม่มีผลประโยชน์ทาการค้าแต่อย่างใด

 

และจากข้อมูลที่ได้ ทำให้ Alzheimer’s Association Medical and Scientific

Advisory Council  ได้ให้ความเห็นว่า  จากข้อมูลที่ได้รับจาก Phase II ...

ไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่า  มันมีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” เลย

 

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า มีคนเป็นโรค”อัลไซเมอร์” บางคนได้ใช้น้ำมันมะพร้าว

ซึ่งมีขายในท้องตลาด  มีราคาถูก  นำมาใช้รักษาโรคของพวกเขา

โดยมีบางคนบอกว่า น้ำมันมะพร้าวได้ผลดี  

 

 

>> NEXT

 


.