วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

About Parkinson's disease dementia 1



สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน...
เราจะพบความเปลี่ยนแปลงในสมอง 
โดยมีการเริ่มต้นในส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การเคลื่อนไหวของร่างกาย

ในขณะที่สมองมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมลงไป นั้น
เราจะพบการเปลี่ยนแปลงของสมอง  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ
ความจำ (memory), ความใส่ใจ (attention), การตัดสิน
ปัญหาได้เหมาะสม และสามารถในการวางแผนเพื่อให้งาน
สำเร็จได้

การเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ทางกล้องจุลทรรศน์ของสมอง
ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโรคพาร์กินสัน  และภาวะ
สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน  คือ  มีสารโปรตีนชื่อ
alpha-synuclein กระจายในสมอง
โดยที่ไม่ทราบว่าการมันทำงานตามปกติอย่างไร ?
สารโปรตีนที่ว่านั้น  มีชื่อเรียก Lewy bodies

Lewy bodies นอกจากจะพบในสมองของคนเป็นโรคพาร์กินสันแล้ว
เรายังพบเห็นในคนที่เป็นโรคสมองชนิดอื่น ๆ
รวมถึงคนเป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาร Lewy bodies
(dementia with Lewy body)

จากหลักฐานชี้ให้เห็นว่า 
ในคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาร Lewy bodies,
ในคนที่สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน, และโรคพาร์กินสันอาจมีส่วนสัมพันธ์
กับความผิดปกติต่าง ๆ จากกระบวนการเกิดสาร alpha-synuclein ก็ได้

โรคพาร์กินสัน เป็นความผิดปกติของระบบประสาทของคนสูงอายุ
โดยมีการประมาณการณ์ตัวเลขเอาไว้ว่า
จะมีคนเป็นโรคดังกล่าวได้ประมาณ 2 % ของคนมีอายุมากกว่า 65

The National Parkinson Foundation ได้ประเมินเอาไว้ว่า
มีชนชาวอเมริกันประมาณ 1 ล้านคนเป็นโรคพาร์กินสันกัน และใน
จำนวนดังกล่าว  ประมาณ 50 – 80 % จะลงเอยด้วยการกลายเป็น
โรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน (Parkinson’s disease dementia)
ซึ่งระยะเวลาจากการเปลี่ยนแปลงของโรคพาร์กินสัน  สู่การเกิด
ภาวะสมองเสื่อมจะกินเวลาประมาณ 10

อาการ (Symptoms)


ภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease
Dementia) จะพบความเสื่อมเกิดในด้านการคิด (thinking)
และการคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning)
ซึ่งเกิดขึ้นในบางคนที่ได้รบการวินิจฉัยว่า เป็นโรคพาร์กินสัน
โดยเราจะพบได้ในหนึ่งปีในช่วงแรก ๆ ของการเกิดโรค

อาการของโรค (PD) ที่พบบ่อย:

§  มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความจำ, สมาธิ และการตัดสินใจ
§  มีความลำบากในการแปลผลของข้อมูลที่ได้ทางภาพ
§  พูดเสียงอู้อี
§  ภาพหลอน
§  เข้าใจผิด มีความคิดวาดระแวง
§  ภาวะซึมเศร้า
§  ความวิตกกังวล  และหงุดหงิด
§  มีปัญหาในด้านการนอนหลับ  โดยเฉพาะหลับในช่วงกลางวัน 
  และชอบง่วงนอน

การวินิจฉัย (Diagnosis)
เราไม่มีการตรวจ (test) อย่างเดี่ยว  หรือการตรวจ (tests)ร่วมอย่างอื่น
เพื่อวินิจฉัยโรคเหมือนกับโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ
เพื่อระบุว่า  เขาหรือใครเป็นโรค “สมองเสื่อมพาร์กินสัน”
(Parkinson’s disease dementia) ได้
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า...
โรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน  และ โรคสมองเสื่อม Lewy dodies
(dementia with lewy body)....

ข้อแนะนำ (guidelines) สำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน
และสมองเสื่อม Lewy มีดังนี้:

§  คนเป็นโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน  จะถูกวินิจฉัยเมื่อเขาเริ่มต้นถูกวินิจฉัยว่า 
เป็นโรคพาร์กินสัน  เมื่อมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ  
โดยไม่มีอาการของสมองเสื่อมเลย  
จนกว่าเวลาจะผ่านไปเป็นเวลาหนึ่งปี หรือหลายปีให้หลัง

§  เราจะวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคสมองเสื่อม Lewy bodies เมื่อ:

o   คนไข้จะมีอาการสมองเสื่อม ซึ่งสอดคล้องกับโรค
สมองเสื่อม lewy bodies ตั้งแต่แรก
o   เมื่อคนไข้มีอาการสมองเสื่อมร่วมกับการเคลื่อนไหว
ทีผิดปกติเกิดพร้อมกัน  และ
o   เมื่อคนไข้เกิดมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติภายในหนึ่งปี
    เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า มีสมองเสื่อมร่วมกับการมี Lewy bodies

Brain  Imaging:
เนื่องจากคนเป็นโรคพาร์กินสันจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมได้สูง 
ด้วยเหตุผลดังกล่าว  จะพบว่าแพทย์ที่ให้การดูแล
รักษาคนไข้จะสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงในความคิดอ่าน (thinking)
ของคนไข้อย่างใกล้ชิด

และในขณะที่คนไข้ดังกล่าวเกิดมีอาการเปลี่ยนแปลงทางความ
คิดเมื่อใด  แพทย์มักจะสั่งให้ทำการตรวจดูภาพของสมองด้วย
เพื่อพิจารณาตรวจหาโรคชนิดอื่น    ทีอยู่ในสมอง
เช่น  มะเร็ง (tumors) และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่บ่งชี้ให้ทราบว่า 
คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด(vascular disease)



NEXT >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น