โรค”อัลไซเมอร์” เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด
ในกลุ่มสมอง
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง (personality changes), ไม่ล่วงรู้เวลา สถานที่
และไม่ทราบด้วยว่า ใครเป็นใคร (disorientation),
รวมไปถึงไม่สมารถติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้
(inability to communicate)
รวมไปถึงไม่สมารถติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้
(inability to communicate)
จากสถิติของสหรัฐฯ...
เชื่อว่าในปี 2050 จะมีคนเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ถึง 5 ล้านคน
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะมีคนสูงวัยเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
และหากประเมินคนทั่วโลกจะพบว่าประชาชนมีโอกาสที่เป็นโรคมอง
และหากประเมินคนทั่วโลกจะพบว่าประชาชนมีโอกาสที่เป็นโรคมอง
เสื่อมชนิด Alzheimer’s ถึง 36 ล้านคน นอกจากไม่มีทางรักษาหายแล้ว
ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคดังกล่าวจะต้องสูงเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคดังกล่าวจะต้องสูงเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors):
นักวิทยาศาสตร์สามารถบอกได้ว่า
มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีบทบาทต่อการเกิดโรค “อัลไซเมอร์”
แต่เขาไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น
มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีบทบาทต่อการเกิดโรค “อัลไซเมอร์”
แต่เขาไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค (Known Risk Factors):
§ Age: อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรค Alzheimer’s
จากสถิติของสหรัฐฯ กล่าวว่า ประมาณ 5 % ของคนชาวอเมริกัน
ที่มีอายุระหว่าง 65 – 74 ปี และประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่มีอายุได้ 85
หรือมากกว่า ถูกคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นโรคดังกล่าว
§ Genetics: ส่วนใหญ่ คนเป็นโรค “อัลไซเมอร์” มักจะเกิดในช่วงหลังอายุ 65
(Late-onset) มีบางครอบครัวแสดงให้เราเห็นกลุ่มคนที่เป็นโรคดังกล่าว
มีพันธุกรรมตัวหนึ่งชื่อ Apoliproprotein หรือ ApoE เป็น “ยีน” ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
ต่อการทำให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์” ซึ่งปกติแล้ว “ยีน” ตัวนี้ มีด้วยกันสามรูปแบบ
นั้นคือ Apo E2, Apo E3 และ Apo E4
คนอเมริกันประมาณหนึ่งในสี่ จะเป็นกลุ่มที่มี “ยีน” ApoE 4
และประมาณหนึ่งในยี่สิบ จะเป็นกลุ่มที่มี “ยีน” Apo E2
ในขณะที่การถ่ายทอดพันธุกรรม ApoE4 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
แต่พันธุกรรม ApoE2 กลับทำหน้าที่ตรงข้ามกับพันธุกรรม ApoE4
ส่วนโรค “อัลไซเมอร์” ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้เพียง 10 %
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในคนที่มีอายุต่ำกว่าได้ตั้งแต่อายุ 65
มีบางรายที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” มีอายุน้อยเพียง 35 ปีเท่านั้น
ปัจจัยที่มีผลอาจทำให้เกิดโรค...
§ Cardiovascular disease:
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดร่วมกับการทำให้เกิดโรคหัวใจ
และสมองถูกทำลาย (stroke) เช่น ความดันโลหิตสูง,
ระดับ cholesterol สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิด
โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้
และสมองถูกทำลาย (stroke) เช่น ความดันโลหิตสูง,
ระดับ cholesterol สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิด
โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้
ความดันโลหิตสูง อาจทำลายเส้นเลือดภายในสมองส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญ
ในการตัดสินปัญหา (decision-making), ความจำ (memory)
ในการตัดสินปัญหา (decision-making), ความจำ (memory)
และทักษะการใช้ภาษา (verbal skills)
ซึ่งอาจนำไปสู่ความคืบหน้าของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
ส่วนระดับ cholesterol ที่สูงขึ้น อาจไปขัดขวาง
ไม่ให้มีการกำจัดสารโปรตีนจากสมองได้ตามปกติได้
§ Type 2 Diabetes:
เราพบว่า มีหลักฐานจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
โรคเบาหวานประเภทสอง (DM2) กับโรคอัลไซเมอร์
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ในโรคเบาหวานประเภทสอง...พบว่า insulin
ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่สามารถเปลี่ยน
น้ำตาลกลูโกสให้เป็นพลังงานได้ เป็นเหตุให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง
การมีระดับอินซูลินในเลือดในปริมาณสูง แต่ไร้ประสิทธิภาพ
ร่วมกับการมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินปกติ
อาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสมอง
และนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอรในที่สุด
§ Oxidative Damage:
การมีอนุมูลอิสระในร่างกายของคนเรา (unstable molecule)
เป็นเหตุให้เกิดการแย่งชิง "อีเล็กตรอน" จากเซลล์ตัวอื่น
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อ
และอาจเป็นมีการทำลายเซลล์ของสมอง...
และทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอรได้
§ Inflammation:
การอักเสบเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่มีตามธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่มันอาจเป็นอันตรายได้ในบางเวลา เป็นกระบวนการซ่อมแซม
การทำงานของร่างกาย โดยเซลล์ของระบบคุมกันทำหน้าที่
กำจัดเอาเซลล์ที่ตาย และของเสียออกจากร่างกาย
เมื่อมีคราบของโปรตีนเกิด..จะยังผลให้เกิดมีการอักเสบ (inflammation)
ซึ่งเราไม่ทราบว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถทำอันตรายเซลล์สมอง
และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
§ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสี่ยง...
มีบางรายงานเสนอว่า หลังการเกิดบาดเจ็บของศีรษะ, การไม่ได้รับการศึกษา
และคนที่เป็นเพศหญิงอาจเป็นปัจจัยเสียงต่อการเกิดโรคก็ได้
นอกจากนั้น โรคอัลไซเมอรอาจเกี่ยวข้องกับบทบาทของระบบภูมิคุ้มกัน
ที่มีต่อต่อเชื้อไวรัสก็ได้
NEXT >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น