วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Fibrillation/flutter – Treatment 3

Treatment:

ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจที่เป็น atrial fibrillation…
ในบางครั้ง  คนไข้ที่มีความผิดปกติ (AF) อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ในโรงพยาบาลอย่างรีบด่วน  เพื่อทำให้การเต้นของหัวกลับคืนสู่สภาพปกติ  
โดยการรักษาอาจเป็นกระตุกด้วยไฟฟ้า (electric shock) หรือรักษาด้วยยา (medication)


ยาที่ถูกนำมาใช้รับประทาน  จะถูกใช้ได้สองรูปแบบด้วยกัน:

§  เพื่อชะลอการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ
ยาที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ประกอบด้วย  beta-blcker,
calcium channel blocker และ digitalis

§  เพื่อป้องกันไม่ให้ AF กลับเกิดขึ้นได้อีก 
ยาในกลุ่มดังกล่าว  อาจได้ผลดีในคนไข้บางราย  แต่อาจมีผลข้าง
เคียงที่รุนแรง  ทำให้คนไข้บางรายเกิดมี AF กลับมาอีกทั้งๆ ที่คน
ไข้รับประทานยาอยู่

ยาที่ใช้เพื่อป้องกันไม่เกิดมีก้อนเลือด  บางที่เราเรียก blood thinners
เช่น warfarin (Coumadin) และ dabigatran (Pradaxa)  สามารถลดความเสี่ยง
ไม่ให้ลิ่มเลือดกระจายไปสู่อวัยวะที่สำคัญ  เช่น  สมอง
ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะสมองถูกทำลาย (stroke) ได้

เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ (blood thinners) จะเพิ่มโอกาสให้เกิดมีเลือดตก
ในคนไข้บางคนได้  ดังนั้น  การใช้ยาดังกล่าว  อาจไม่เหมาะกับคน
ไข้บางคน

นอกจากยาต้านการสร้างก้อนลือด (anticoagulant) หรือ blood thinners แล้ว 
เรายังมียาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ถูกนำมาใช้ป้องกันไม่ให้มีจับตัวของเม็ดเลือด... 
เช่น   aspirin หรือ clopidogrel

ในการเลือกใช้ยาดังกล่าว...
แพทย์จะพิจารณาอายุของคนไข้  และปัญหาทางสุขภาพโดยรวมว่า 
จะเลือกยาตัวใดจึงจะเหมาะกับตัวคนไข้

กรรมวิธีการรักษาที่มีชื่อเรียก radiofrequency ablation 
ซึ่งสามารถทำลายบริเวณในหัวใจที่ทำหน้าที่ให้เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
และต้องกระทำภายในโรงพยาบาล  โดยผู้เชี่ยวชาญในงานด้านดงกล่าว

การทำงานปุ่มที่ให้กำเนิดคลื่นผิดปกติในหัวใจ  อาจนำมาใช้เมื่อ:
§  เมื่อยารักษาไม่สามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้ หรือ ทำให้เกิดผลข้างเคียง
§  เมื่อโรคที่เกิดขึ้น  จะเกิดอันตรายเมื่อไม่ทำการรักษา
§  อาจทำให้คนไข้หายจากภาวะ atrial flutter
หลังจากกรรมวิธีรักษาดังกล่าวแล้ว  คนไข้อาจจำเป็นต้องรับ pacemaker

Expectations (prognosis):
คนไข้ที่เป็น AF  สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษา
และมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่เป็น AF  สามารถมีชีวิตอย่างสุขสบายได้


อย่างไรก็ตาม  ภาวะ atrial fibrillation มีแนวโน้มที่จะกลับคืนมา  และ
มีอาการแย่ลงไปอีกได้ทั้ง ๆ ที่ได้รับการรักษา
Complications:
ภาวะ AF  สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้  ดังนี้:
§  ทำให้คนไข้เกิดเป็นลม ( Fainting) ถ้าภาวะดังกล่าว  ทั้ง atrial
§  Fibrillation และ flutter ทำให้ชีพจรเต้นช้า หรือเต้นเร็วเกินไป
§  เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
§  สมองถูกทำลาย (stroke) ถ้าลิ่มเลือดเดินทางสู่สมอง  ซึ่งยาใน
กลุ่ม blood thinners (heparin)  สามารถลดความเสี่ยงลงได้
Prevention:

ท่านจะต้องรับประทานยารักษาภาวะ AF ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งคัด
และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกิน


<< BACK
http://www.umm.edu/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น