ระบบการทรงตัวของคนเราจะขึ้นตรงต่อข้อมูลซึ่งสมองได้รับจากลูกตาทั้งสองข้าง,
กล้ามเนื้อและข้อต่อ และที่สำคัญสุดคืออวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว
ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกบูรณาการโดยสมองอย่างรวดเร็ว
กล้ามเนื้อและข้อต่อ และที่สำคัญสุดคืออวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว
ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกบูรณาการโดยสมองอย่างรวดเร็ว
ต่อจากนั้นมันจะส่งคำสั่ง (motor out put) ไปยัง:
1. ส่งไปยังตาเพื่อให้มันตรึงเป้าหมายเอาไว้ให้มั่นคง
2. ส่งไปยังกล้ามเนื้อของร่างกาย เพื่อให้รักษาตำแหน่งท่าทางที่ถูกต้อง
พร้อมกับการเคลื่อนไหวอันละเอียดอ่อน และ
3. ส่งไปยังสมองส่วนที่อยู่สูงขึ้นไปเพื่อบอกให้ระวังในตำแหน่งของศีรษะ, ลำตัวว่ามันอยู่ในตำแหน่งที่อยู่กับที่ หรือกำลังมีการเคลื่อนไหว
ถ้าหากหูชั้นในถูกทำลายด้วยบาดเจ็บ (injury) หรือจากโรค (disease)
สมองจะได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และขัดแย้งกัน
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ “วิงเวียน”, มีปัญหาด้านการทรงตัว,
หรือมีความรู้สึกว่าร่างกายหรือสิ่งแวดล้อมหมุน (vertigo)
หูชั้นในของคนเรามีสองส่วน ส่วนหนึ่งทำหน้าที่ในการได้ยินเสียง (hearing)
อีกส่วนทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว (balance system)
ดังนั้น เมื่อเกิดมีปัญหาเรื่องการได้ยินเสียง (หูหนวก)
จึงอาจมีปัญหาด้านการทรงตัว (balance disorder)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อมีการตรวจดูเรื่องการทรงตัว (nystagmography)
จึงจำเป็นต้องตรวจเรื่องการฟังเสียง (audiogram) ด้วย
เมื่อได้ข้อวินิจฉัยโรคเป็นที่เรียบร้อย...
คนไข้ได้รับการรักษา, มีการปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน และได้รับการ
บริหารด้วยวิธีที่เรียกว่า vestibular rehabilitation therapy (VRT)
ย่อมช่วยให้คนไข้ฟื้นตัว และหายจากโรคได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น