วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

VESTIBULAR TREATMENT 4

Medication


การทรงตัวที่สูญเสียไปสามารถแบ่งออกเป็นสองระยะ
 
§  ระยะเฉียบพลัน (acute phase) ซึ่งจะกินเวลาไม่เกิน 5 วัน
§  ระยะเรื้อรัง (chronic phase)  ซึ่งยังมีอาการอย่างต่อเนื่อง

ในระยะเฉียบพลัน (acute phase) เมื่อไม่มีโรคอื่น  ยาที่ถูกนำมาใช้รักษา
โรคระบบในการทรงตัวที่เสียไป  คือยากลุ่ม vestibular suppressants 
ซึ่งสามารถลดอาการเมารถเมาเรือ  หรือลดอาการคลื่นไส้ 
ยาในกลุ่มนี้ (vestibular suppressants) ได้แก่:
anticholinergics, antihistamines   และ benzodiazepines 

ยกตัวอย่าง เช่น  vestibular suppressants ได้แก่
Meclizine  และ demenhydinate (antihistamine-aticholinergics), 
lorazepam  และ diazepam (benzodiazepines)

ยาอย่างอื่นที่ถูกนำมาใช้  อาจเป็นพวก steroids ( prednisone),
Antiviral drugs  (acyclovir) , หรือยาปฏิชีวนะ (amoxicillin)
ซึ่งใช้ในกรณีหูอักเสบติดเชื้อ

ถ้าคนไข้มีอาการอาเจียนรุนแรง  คนไข้อาจขาดน้ำ (dehydration)
อาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ

การรักษาในระยะเรื้อรัง (chronic phase):
ในการรักษาภาวการณ์สูญเสียการทรงตัวในระยะเรื่อรัง  จะต้องพิจารณาให้ดี
อาการจะต้องรุนแรงจริง ๆ  เพราะการรักษาในระยะเรื้อรังมีผลเสียต่อสมองได้
โดยการรักษาดังกล่าวจะไปกระทบกับการปรับตัวของสมอง
ซึ่งสมองสามารถชดเชยภาวะเสียการทรงตัวได้

ตัวอย่าง ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน  ซึ่งประกอบด้วย
Vestibular suppressants.  เป็นยาที่สามารชะลอ  หรือยับยั้งไม่ให้สมองปรับ
ตัวเพื่อชดเชยความสามารถในการชดเฉย (compensation) ได้
ดังนั้น  การใช้ยาดังกล่าว  เขาจะใช้เฉพาะในระยะแรก ๆ เท่านั้น 
ไม่ควรใช้ในระยะยาว

สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถชดเฉยสิ่งที่สูญเสียได้...
คนดังกล่าวควรระมัดระวัง  หลีกเลี่ยงจากการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดอาการ
และใช้ยา vestibular suppressants ทุกวัน หรือทั้งสองอย่าง

 

Home-based exercise

แนะนำ และกำหนดรูปแบบในการรักษาคนไข้ที่สูญเสียการทรงตัว...

พบว่า  การบริหารร่างกายตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด

บบให้  ถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับการรักษาสำหรับ

นำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน

 

วิธีการรักษาด้วยการบริหารกาย (VRT) ที่เหมาะสม  ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้

แนะนำจะเป็นคนออกแบบให้ว่า  จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับคนไข้

ในแต่ละรายไป  นอกจากนั้นการบริหารร่างกายยังช่วยทำให้

 

Vestibular rehabilitation therapy  (VRT) ที่เหมาะสมจะถูกนัก

กายภาพบำบัด หรือนักอาชีวะบำบัดเป็นผู้ออกแบบให้ว่า 

จะปฏิบัติการออกกำลังกายอย่างไร  จึงจะเหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป

รวมถึงการบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง 

และลดความเครียดไปในตัว

 

ความสำเร็จที่พึงได้รับจากการฝึกเรียนตามโปรแกรมการทรงตัว 

จำเป็นต้องอาศัยสุขภาพโดยรวมของคนไข้เป็นหลัก

 

มีการรำมวยจีนชื่อว่า  Tai Chi เป็นวิธีการออกกำลังกาย
ซึ่งถูกนำมาใช้รักษาภาวะสูญเสียการทรงตัวได้เป็นอย่างดี

การบริหารรางกายแบบใดจึงจะเหมาะสม ?
สิ่งที่ท่านจะต้องทำ  คือหาคำตอบจากตัวท่านเองว่า 
อะไรทำให้ท่านเกิดวิงเวียน ?  มีการเคลื่อนไหวอย่างไร  ที่ทำ
ให้ท่านเกิดมีมีอาการวิงเวียนขึ้น ?

บางที...อาจเป็นเพียงการหมุนศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง...
แล้วทำให้เกิดอาการวิงเวียนขึ้น 

เมื่อท่านทราบด้วยตัวท่านเองว่า....
การเคลื่อนไหวอย่างไร  ทำให้เกิดอาการวิงเวียนขึ้น
ท่านสามารถเริ่มต้นการบริหารร่างกายตามโปรแกรมที่กำหนดทันที
โดยการเคลื่อนไหวซ้ำแล้วซ้ำอีก  เพื่อช่วยตัวท่านเองให้ได้รับการ
ชดเชยจากสมอง

ที่สำคัญ  ท่านจะต้องทำซ้ำห้าครั้งติดต่อกัน 
และทำวันละสองครั้งเป็นอย่างน้อย  
ถ้าท่านพบว่า  มีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทำให้เกิดอาการวิงเวียนขึ้น 
ให้ท่านลองเลือกการเคลื่อนไหวมาสักสองอย่าง แล้วนำมาฝึก
การเคลื่อนไหวในท่าที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนด้วยการทำซ้ำ...
จนกระทั้งท่านไม่มีอาการ 

จากนั้นให้เพิ่มการเคลื่อนไหวอย่างอื่นอีก
สักสองอย่าง แต่มีข้อระวัง....แต่อย่าฝึกมากกว่าสองอย่างพร้อม ๆ กัน

ข้อควรระมัดระวัง:

ในระหว่างการบริหารร่างกาย...
ถ้าท่านมีอาการต่อไปนี้  ท่านจะต้องยุติการบริหารร่างกายทันที:

§  เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการฟังเสียงทันที  หรือเป็นชนิดเกิดขึ้น
แล้วก็หายสลับกัน
§  เกิดมีอาการปวดหูถึงจุดที่ไม่สามารถทนทานได้
§  เกิดมีเสียงในหู  หรือมีการเปลี่ยนแปลงในความเข็มข้นของเสียงที่ดัง
§  มีน้ำไหลออกจากหูทั้งสอง
§  มีอาการปวดคอ และหลังในขณะที่มีการออกกำลังกาย

<< BACH  1   2   3   4    NEXT  >>

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น