วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Mental stimulation



มีคำกล่าวประโยคหนึ่งว่า...
“เมื่อเรามีสตางค์  แต่ไม่ยอมใช้มัน...
มันก็ไม่แตกต่างกับdkiไม่มีสตางค์แต่ประการใด”



ถ้าจะยกประเด็นนี้ขึ้นมาถก...เราคงต้องเถียงกันอีกนาน
เอาเป็นว่าขอเปลี่ยนเป็น “อวัยวะ” ของเราดีกว่า
เช่น หากไม่ยอมออกกำลังกายเลย ไม่ช้าไม่นานกล้ามเนื้อแขนขา
ก็จะเหี่ยวลงเป็นธรรมดา

แต่ถ้าเป็นสมองของคนเราละ! 
หากเราไม่ใช้มัน  ไม่ช้าไม่นานมันก็จะฟ่อไป  และที่น่ากลัวที่สุดก็คือ
การเกิดเป็นโรคสมองเสื่อมไปในที่สุดได้

ความคิดหรือความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพลังสำรองของสมอง
และพลังเกี่ยวกับด้านความคิด  ในประเด็นที่ว่า
การมีพลังสำรองดังกล่าวเพิ่มขึ้น  สามารถชดเชยสมองที่ถูกทำลาย 
และกลับคืนสามารถชะลอการเกิดอาการของโรคสมองเสื่อม
“อัลไซเมอร์” ได้

พลังสำรองของสมอง:
ความคิดเกี่ยวกับพลังสำรองของสมอง...
เริ่มต้นจากการสังเกตุความสัมพันธ์ระหว่างอาการต่างๆ 
และพยาธิสภาพของสมอง  ปรากฏว่ามันไม่สัมพันธ์กันเสมอไป
 
ยกตัวอย่าง  นาย Katzman และเพื่อน (1989) ได้รายงานคนสูงอายุ
จำนวน 10 ราย  ซึ่งมีความนึกคิดเป็นปกติ  ไม่มีอาการของโรคสมองเสื่อม
เมื่อคนเหล่านั้นตายไปได้ทำตรวจสมองของศพของคนแก่เหล่านั้น
พบว่าสมองของคนเหล่านั้นเป็นโรค “อัลไซเมอร์” ขั้นสุดท้าย

จากข้อมูลที่พบเห็น...
ทำให้นักวิจัยทั้งหลายลงความเห็นว่า
คนเหล่านี้ไม่แสดงอาการของโรคอัลไซเมอร์ เป็นเพราะสมองของพวก
เขาโตขึ้น  มีเซลล์สมองมากขึ้น และการเชื่อมติดต่อเพิ่มมากขึ้น



การมีพลังสำรองเพิ่มมากขึ้นด้วยการมีเซลล์ประสาทสมองเพิ่มขึ้น 
สามารถชดเชยความสามารถส่วนของสมองที่ถูกทำลายโดย
โรคอัลไซเมอร์ได้

จากความจริงที่ปรากฏ  ทำให้พวกเขานิยามคำ “พลังสำรองของ
สมอง และความคิด” เอาไว้ว่า...

“มันหมายถึงความยืดหยุ่นของสมองที่มีต่อส่วนของสมองที่ถูกทำลายไป
ซึ่งปรากฏในโรคสมองเสื่อม  โดยไม่แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฏ...
ความรู้สึกนึกคิดของเขายังคงเป็นเหมือนคนปกติทุกประการ

ผลจากการค้นคว้าในเวลาต่อมาพบว่า...
การที่สมองของคนเราถูกกระตุ้นให้ทำงานอยู่เสมอ ๆ  สามารถลดความ
เสี่ยงจากการเกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้
จึงสรุปเป็นความเห็นว่าการที่สมองได้มีกิจกรรมด้วยการคิดอยู่เสมอ 
ย่อมมีโอกาสเพิ่มพลังสำรองของสมองได้
 
ในการพัฒนาสมอง (brain training)…
คงมีความหมายกว้างกว่าการกระตุ้นสมองด้วยการนึกคิดต่อสิ่งท้าทาย
ในชีวิตประจำวันเท่านั้น   แต่หมายถึงการบริหารสติปัญญาอย่างมีแบบ
แผน  เพื่อทำให้การทำงานของสมองดีขึ้น

การพัฒนาสมองถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง 
หรือสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) 
หรือโรคทางระบบประสาทมาเป็นเวลานาน 
ซึ่งสามารถทำให้ความจำ,  ความสนใจ,  ความเชื้อมั่น,  การตัดสินปัญหา,
ตลอดรวมถึงการลดความวิตกกังวลลงได้

เราเคยเชื่อผิดๆ มาแล้วว่า  เราไม่สามารถฝึกในคนสูงอายุได้
แต่จากผลจากการศึกษาแสดงให้เรารู้ว่า  การฝึกสมองสามารถฝึกได้ทุกอายุ
โดยเฉพาะคนที่มีอายุล่วงเข้าวัยกลางคน  และคนแก่...
สามารถทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น


ในการพัฒนาสมอง จำเป็นต้องใช้ความหลากหลาย (Variety), ความท้า
ทาย(challenges) และ ความแปลกใหม่ (novelty)…

เมื่อคนเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  หรือหาวิธีการใหม่ๆ ให้ลุล่วง
สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ (neurons)สมอง และตัวเชื่อม
เซลล์ประสาท (synapse) ให้เกิดเพิ่มมากขึ้น
 

การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดขึ้นเราเรียกว่า neuroplasticity  
ซึ่งทำให้เพิ่มพลังสำรองของสมอง  และทำให้สุขภาพของสมองโดยรวมดีขึ้น



ในการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง... เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็พูดได้ 
แต่ไม่ใช้เรื่องง่ายเลย  เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ความพยายามอย่างหนักจึงจะประ
สบผล

DR. James Zull กล่าวว่า การเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง จำเป็นอย่างยิ่ง
ที่เราจะต้องทำให้ตัวเราหลุดพ้นออกจากห้วงแห่งความสุข  ความสบายทั้ง
มวลที่เราเคยมี  และอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้เราบรรลุเป้าหมายมีเพียงสิ่ง
เดียวเท่านั้น  นั่นคือ  ความกลัว !
หัวใจของการพัฒนา หรือการบริหารสมองได้แก่:
§  ความหลากหลาย (variety): อะไรที่สลับซับซ้อนไปไม่ใช้กลยุทธิ
ทีดีสำหรับสุขภาพของสมองในระยะยาวเลย 
แต่ควรเป็นวิธีที่ประกอบด้วยกิจกรรม (หน้าที่)หลายอย่างทีสมองพึงมี
ซึ่งเหมือนกับการบริหารร่างกาย 
§  ท้าทาย (challenge): เป้าหมายของการพัฒนา คือ ให้สมองของเราได้
สัมผัสกับระดับของความท้าทายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  
§  ความแปลกใหม่ (Novelty): ให้พยายามทำสิ่งใหม่ ๆ 
    เพราะสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) จะมีการพัฒนาได้ดีเมื่อมีการ
    เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
โดยสรุปการพัฒนาพลังสำรองของสมอง
เป็นเสมือนเป็นเสมือนหยอดเงินใส่กระปุกออมสิน
ซึ่งสามารถนำเงินมาใช้เมื่อคราวต้องการ 
พลังสำรองของสมองก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน...
สามารถชดเชยส่วนของสมองที่ถูกทำลายไปได้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น