วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

VESTIBULAR TREATMENT 2

Vestibular rehabilitation therapy…


ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรค BPPV  มีอีกชื่อเรียกว่า “Epley maneurver”

เป็นกรรมวิธีให้ส่วนคอ และลำตัวของคนไข้เคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นชุด (series)

เพื่อทำให้ก้อนคริสตอลขนาดเล็ก ๆ   (otoliths)  ถูกเรียกว่า otoconia

ซึ่งหลุดเข้าไปอยู่ในอวัยวะการทรงตัว (vesticular canal) หลุดกลับเข้าที่...

 

โรค BPPV เป็นผลเนื่องมาจาก้อนคริสตอลของแคลเซี่ยม คาร์บอเนต
ซึ่งมีหลายชื่อเช่น otoconia, otolits หรือ canaliths
ซึ่งปกติจะยึดเกาะที่เยื่อที่อยู่ในอวัยวะที่มีชื่อว่า utricle ในหูชั้นใน
(otolithic membrane)

จากการที่คนไข้ได้รับบาดเจ็บ, เกิดการอักเสบติดเชื้อ หรือแม้กระทั้งเพียง
แค่อายุที่ย่างสู่วัยชะราเท่านั้น  ก็สามารถทำให้ก้อน otoconia หลุดจาก
Utricle และหลุดลอยเข้าไปรวมตัวอยู่ในหลอดครึ่งกลม
และเมื่อใดก็ตามที่คนไข้เคลื่อนไหวศีรษะ  จะทำให้ก้อนคริสตอลดังกล่าว
เคลื่อนตัวไปกระทบถูกปลายประสาท (nerve hair cells)
ทำให้เกิดมีคลื่นประสาทส่งไปยังสมอง  ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการวิงเวียน
และอาการอย่างอื่นๆ ตามมา

เป้าหมายของ CRP (canalith repositioning procedure)...
คือการยุติอาการวิงเวียนที่เกิดโดยจากก้อน canaliths ที่หลุดลอยในท่อครึ่ง
วงกลม  ด้วยกรรมวิธีให้มีการเปลี่ยนแปลตำแหน่งของศีรษะติดต่อกันเป็นชุด
เพื่อให้ก้อน canaliths หลุดกลับเข้าสู่ที่เดิม- utricle 
ซึ่งมันจะถูกทำลายไปในที่สุด

ในการทำ CRT คนไข้อาจได้รับยา diazepam ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
อาการคลื่นไส้  และการกระทำอังกล่าว  จะถูกกระทำโดยผู้ได้รับการฝึกมา
เป็นการเฉพาะ เช่นแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด 
และควรกระทำภายในโรงพยาบาล

ในการรักษาคนไข้ที่เป็น BPPV ด้วยวิธี CRT… 
จะได้ผลดีประมาณ 80 %  โอกาสที่จะเกิดมีอาการซ้ำมีได้น้อยมาก

ในการรักษา BPPV เริ่มต้นมีสองวิธีด้วยกัน
คือ CRT (Epley maneuver) และ Sermont-Liberatory maneuver
การจะเลือกใช้วิธีใดย่อมขึ้นกับผลการตรวจจาก Dix-Hallpike test
ซึ่งเป็นการตรวจว่า เป็นปัญหาของหลอดครึ่งวงกลม และตำแหน่งของเศษ
Otoconia ว่า มันอยู่ในหลอดครึ่งวงกลม (canalithiasis)
หรือว่าอยู่ในส่วนที่เรียกว่า capula (capulotlithiasis)

เราคิดว่า CRT เป็นวิธีที่ดีสำหรับกรณีที่เป็น canalithiasis เพราะมันสามารถ
ทำให้ก้อน otoconia ที่ลอยตัวในท่อครึ่งวงกลมอันที่อยู่ด้านหลัง (posterior)
เคลื่อนตัวไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดอาการได้

สำหรับในรายที่เป็น capulolithiasis (BPPV)…
วิธีที่ควรนำมาใช้รักษา  ควรเป็นวิธี Brandt-Daroff exercises
ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกนำเสนอโดย Drs. Brandt & R.B. Daroff โดยเขาแนะนำให้
ทำหลายครั้ง  เพื่อให้ก้อน otoconia หลุดออกจาก capula ของหลอดครึ่งวง
กลมอันหลัง (posterior semicircular canal)


จัดเป็นวิธีการง่าย ๆ โดยให้คนไข้นั่งหย่อนขาบขอบเตียง....
จากนั้นให้ล้มตัวลงนอนทางด้านข้างจนกระทั้งอาการวิงเวียนหายไป...
ลุกขึ้นนั่งตรงพักชั่วระยะหนึ่ง  จากนั้น  ให้ล้มตัวลงนอนด้านข้างด้านตรงข้าม....
วันหนึ่งให้ทำหลาย ๆ ครั้งตลอดวันเป็นเวลาสองวันหลังอาการได้หายไปแล้ว
  
Dix-Hallpike Test for Vertigo
การตรวจด้วยวิธี Dix-Hallpike test…
จะถูกนำมาใช้เพื่อพิจารณาดูว่า   อาการวิงเวียนแบบหมุนนั้นถูก
กระตุ้นโดยการเคลื่อนไหวของศีรษะในลักษณะเฉพาะหรือไม่  โดยแพทย์
จะเป็นผู้สังเกตดูการเคลื่อนของลูกตาหรือไม่ (nystagmus)
มันอาจเกิดขึ้นในขณะทำการตรวจ  โดยเราจะพบเห็นการเคลื่อนไหว
ของลูกตาในคนที่มีอาการวิงเวียนแบบหมุน  ซึ่งอาจเป็นโรคในสมอง
(central vertigo) หรือเป็นโรคในระบบการทรงตัวที่ส่วนปลาย ซึ่งอยู่
ในหูชั้นใน (peripheral vertigo)

นอกจากนั้น  Dix- Hallpike test ยังสามารถบอกให้เราทราบได้ว่า
หูด้านใดเป็นโรค  วิธีการตรวจกระทำได้ดังนี้:

1.    ให้คนไข้นั่งบนเตียง  ขาเหยียดตรง  แพทย์จะช่วยให้คนไข้หมุน
    ศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง  30 – 45 องศา
        จากนั้นให้คนไข้นอนลงอย่างรวดเร็ว  โดยให้ศีรษะแอ่นไปทางด้าน
หลัง  ซึงสามารถกระทำได้ด้วยการวางหมอนไว้ใต้ไหล่
หรือให้ศีรษะพ้นเตียง (โดยแพทย์จะประคองศีรษะคนไข้ไว้)
2.    สังเกตุดูการเคลื่อนกระตุกของลูกตา (nystagmus)  ระยะเวลา และ
ลักษณะการเกิดการเคลื่อนไหวของลูกตา  จะบ่งบอกให้เราได้ทราบว่า
สาเหตุของการเกิดอาการวิงเวียนแบบหมุนมีต้นเหตุในหูชั้นใน 
หรือในสมอง
3.    ภายหลังจากให้คนไข้ลุกขึ้นสั่งตรง  ให้คนไข้นั่งพักประมาณ 2-3 นาที
ให้คนไข้ฟื้นตัวจากอาการวิงเวียนเสียก่อน  จากนั้นให้ทำการตรวจเหมือน
เดิม  แต่ให้หมุนศีรษะไปด้านตรงข้าม

ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจ 
ในการตรวจด้วยวิธี Dix-Hallpike test สามารถตรวจดูว่า 
ปัญหาที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนแบบหมุน (vertigo)
มีต้นเหตุจากหูชั้นใน หรือว่ามีต้นเหตุจากสมอง

ผลของการตรวจ
เมื่อผลการตรวจเป็นปกติ  หมายความว่า 
ในระหว่างการตรวจคนไข้จะไม่มีอาการวิงเวียนแบบหมุน 
หรือลูกตาไม่มีการเคลื่อนกระตุก (nystagmus)

ผลการตรวจผิดปกติ (abnormal test) หมายความว่า 
ในระหว่างการตรวจคนไข้จะมีอาการวิงเวียน...
หรือการเคลื่อนกระตุกของลูกตาเกิดขึ้น 
ในขณะทำการตรวจ  ผลที่ได้เป็นบวกเมื่อหูด้านที่เสียจะอยู่ทางด้านล่าง
 

 <<BACK  1  2   3    NEXT  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น