ส่วนใหญ่คนเป็นโรค “อัลไซเมอร์” มักจะไม่รู้ว่าเขามีปัญหา
ซึ่งสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทมักจะเป็นผู้สังเกตพบเห็นความ
ผิดปกติในคนไข้ เช่น “ขี้ลืม” และ “มีการปรับเปลี่ยนในพฤติกรรม”
ในกรณีดังกล่าว แทนที่จะพยายามทำให้เขาเชื่อว่าเขามีปัญหา
ควรจัดการให้เขาพบแพทย์ และควรมีสมาชิกในครอบ
หรือเพื่อนใกล้ชิดควรอยู่กับเขาด้วย
เราไม่มีการตรวจเฉพาะโรค “อัลไซเมอร์ (AD)”…
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติการเกิดโรค (medical history)
และการตรวจร่างกาย (physical examination)
ซึ่งประกอบด้วยการตรวจทางระบบประสาท และสภาพทางจิตใจ
แพทย์ต้องการรู้สิ่งต่อไปนี้:
§ สูญเสียความจำ
§ ใช้ภาษาด้วยความยากลำบาก
§ มีปัญหาในการเรียนรู้ และรักษาข้อมูลที่เพิ่งเรียนรู้มา
§ มีปัญหาในการเดินตามทิศทางตามที่กำหนด
หรือปฏิบัติกิจที่มีความซับซ้อนไม่ได้
§ มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือมีพฤติกรรมที่มีอันตราย
นอกจากนั้น สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทอาจเป็น
ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้เพิ่มเติมได้
แพทย์จะทำการตรวจระบบประสาท...
ตรวจสมอง และเส้นประสาท มีการตรวจสภาพของจิตประสาท
ซึ่งประกอบด้วยสายตา(visual), การเขียน (writing)
และการตรวจเกี่ยวกับความจำ (memory test)
แพทย์จะทำการตรวจหาโรคอื่นๆ
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับโรค “อัลไซเมอร์” เช่น:
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับโรค “อัลไซเมอร์” เช่น:
การตรวจเลือด วัดระดับ Vitamin B12, thyroid hormone
ในรายที่ตรวจพบ Vitamin B12 และ thyroid hormone ต่ำๆ
สามารถทกให้เกิดปัญหาด้านความคิด (thinking)
และด้านความจำ(memory) ได้
ซึ่งสามารถทำให้หายได้เมื่อได้รับการรักษา
ถ้าแพทย์ตรวจความคิด (thinking) และความจำ (memory)
แล้วพบว่า คนไข้อาจมีปัญหาได้ ในกรณีดังกล่าว แพทย์อาจ
ทำการตรวจการทำงานของสมอง ซึ่งเราเรียกว่า
neuropsychological testing
มีคนไข้บางราย แพทย์อาจสั่งให้ตรวจภาพของสมอง
(brain imaging study) ซึ่งสามารถแยกโรคบางอย่างที่ทำให้เกิด
อาการออกไปได้ และที่สำคัญ การตรวจ Brain imaging study
ไม่สมารถวินิจฉัยโรค “อัลไซเมอร์” ได้ก็จริง
แต่ข้อมูลที่ได้จากการตรวจของแพทย์, ผลการตรวจเลือดทางห้อง
ปฏิบัติการณ์ และการตรวจ neuropsychological testing
สามารถช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้
นอกจากนั้น เพื่อเป็นการยืนยันคำวินิจฉัยโรค...
แพทย์ของท่านอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น แพทย์เฉพาะ
ทางระบบประสาทสมอง (neurologist) แพทย์ผู้รักษาผู้สูงอายุ
(geriatricians) และ แพทย์ทางระบบจิต-ประสาทคนสูงอายุ
(geriatric psychiatrists)
ระยะเวลาที่คาด...(Expected Duration)
ใครก็ตามที่เกิดเป็นโรค “อัลไซเมอร์” แล้ว...
เขาไม่มีทางที่จะหวนกลับสู่สภาพก่อนเกิดโรคได้...เป็นเล้ว...เป็นเลย!
เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรค การทำงานของสมอง (mental function)
จะเสื่อมลง...จนกระทั้งเขาเสียชีวิตไป
<< BACK NEXT >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น