วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Program Vestibular Rehabilitation Exercises

Home Program Vestibular Rehabilitation Exercises

การทรงตัวที่เสียไป...
อาจมีสาเหตุมาจากการสูญเสียการประสานงานระหว่างหูชั้นใน (inner ears) 
และตาทั้งสอง (eyes) ได้ เช่น  ในกรณีที่เราไม่สามารถทำให้ลูกตาตรึงอยู่กับ
วัตถุทีมองในขณะที่ศีรษะเคลื่อนไหว  ย่อมทำให้การทรงตัวของเราเสียไป

What is Vestibular Rehabilitation?
ในการฟื้นฟูการทรงตัวที่เสียไป  เราเรียกว่า vestibular rehabilitation
ซึ่งมีแนวคิดอยู่สามประการด้วยกัน:


แนวคิดอันแรก:  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการเคลื่อนไหวของ
ลูกตากับการเคลื่อนไหวของศีรษะ (head-eye coordination exercise)
ซึ่งช่วย eye-ear reflex ให้สามารถทำงานประสานงานกันได้ 
นอกจากนั้น  มันยังทำหน้าที่กระตุ้นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การทรงตัวของอวัยวะทรงในหูชั้นในอีกด้วย



ในการเคลื่อนไหวของศีรษะในขณะที่ร่างกายส่วนที่เหลือยังอยู่นิ่ง 
จะทำให้หูได้รับข้อมูล(sensory inputs) ที่เหมาะสม

แนวคิดที่สอง:

จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เรื่องการทรงตัว โดยใช้ข้อมูลที่ได้
จากสายตา (vision),  ข้อมูลจากกล้ามเนื้อ และกระดูก (proprioceptive) 
และข้อมูลระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในให้ดีขึ้น 
สามารถช่วยลดความไม่มั่นคง (unsteadiness) และช่วยการทรงตัวให้ดีขึ้น

แนวคิดที่สาม: Habilitation


เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำให้เกิดความเคยชิน (habituation)
โดยอาศัยความจริงที่ว่า การปฏิบัติกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอาการ “วิงเวียน” หรือ 
vertigo   หากระทำซ้ำๆ กัน  สุดท้ายจะทำไห้ร่างกายเคยที่ชินกับการเคลื่อนไหวนั้นได้

การบริหารร่างกายต่อไปนี้  เป็นกิจกรรมที่มอบให้คนไข้ไปปฏิบัติที่บ้าน
และในกรณีที่มีโอกาสเกิดหกล้ม  ควรบริหารในที่มีที่ยึดเหนี่ยวที่แข็งแรง 
เพื่อป้องกันการหกล้มเอาไว้ใกล้ตัว

มีคนไข้จำนวนหนึ่ง  ภายหลังเริ่มทำการบริหารร้างกาย  จะรู้สึกว่าอาการวิงเวียน
กลับเพิ่มมากขึ้นในระยะสั้น ๆ ได้....ไม่ต้องตกใจ
เพราะมันอาจเป็นได้ว่าสมองมีการตอบสนองต่อการบริหารร่างกาย
ซึ่งเกิดได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น

หมายเหตุ:
การบริหารทุกชนิด  ให้ปฏิบัติวันละ 2 – 3  ครั้ง

1.Focusing with Head Turns (Repeat 15-20 times)

 เป้าหมายของการปฏิบัติ  คือต้องการช่วยเพิ่มความเข็มแข็งให้การใช้ตาด้วย
 การจ้องมอง (gaze) อย่างรวดเร็ว และมีการเคลื่อนไหวศีรษะในระยะสั้น ๆ
 ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว  จะเกิดได้บ่อยในขณะขับรถยนต์

  ขั้นตอนการปฏิบัติ:
·         ให้นั่งตัวตรงบนเก้าอี้  ถือแผ่นกระดาษเขียนตัวอักษร “E” ขนาดนิ้วไว้
ตรงกลางแผ่นกระดาษ  ยื่นออกไปทางด้านหน้าประมาณ 10  นิ้ว ฟุต
ในระดับจมูก

·         ในขณะทีหมุนศีรษะไปทางด้านข้าง (ซ้าย & ขวา) ประมาณ 30 องศา 
ให้จ้องมองที่ตัวอักษร “E”  ตลอดเวลา  ต้องมองให้เห็นอักษร “E” ชัด
เจนโดยตลอด  จากนั้นให้เคลื่อนศีรษะด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้แก่ eye-ear relflex  ทำงานได้ดีขึ้น


2.   Horizontal and Diagonal Head Movements (Repeat 15-20 times)
เป้าหมาย:  การบริหารด้วยวิธีนี้ จะช่วยทำให้การมองภาพในขณะศีรษะมีการเคลื่อนไหว
มีความเสถียรมากขึ้น...ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการมองไฟจราจร

§  นั่งตัวตรงบนเก้าอี้  เท้าทั้งสองวางบนพื้นอย่างสบาย  มือทั้งสองวาง
บนหน้าตักทั้งสอง

§  ให้มองไปที่เป้า...สามเป้าด้วยกัน: ซ้าย  กลาง  และขวา
ให้ทำการหมุนศีรษะ และตา  ดูเป้าหมายทางด้านขวาเป็น
เวลา 2 -3  วินาที

§  จากนั้นให้หันไปมองเป้าอันที่สองที่อยู่ตรงกลาง  จ้องมองนาน
2 - 3 วินาที

§  จงแน่ใจว่า...ในแต่ละเป้าที่ท่านมองดู  ให้หันศีรษะอย่างเร็วให้เหมือน
กับดูไฟจราจร

§  ภายหลังจากการปฏิบัติเช่นนั้น  โดยการทำซ้ำ 15 – 20  ครั้งให้เปลี่ยน
   เป็นการมองเป้าทางด้านซ้าย และเป้าตรงกลาง (Left and center)
ปฏิบัติเหมือนกับ มองเป้าขวา และเป้าตรงกลาง (Right and center) ทุกประการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น