Neuroplasticity หมายความว่าอย่างไร ?
มันมีความสำคัญต่อการศึกษา และสุขภาพอย่างไร?
เคยมีคนกล่าวว่า...
สมองของคนเราเป็นพลาสติกนะ
ได้ฟังแล้วทำให้เกิดสงสัยว่า มันเป็นพลาสติกได้อย่างไร ?
ลองติดตามบทความต่อไปดู จะได้เข้าใจว่าทำไมเขาพูดเช่นนั้น...
Brain plasticity หรือ Neurplasticity หมายถึงความสามารถของสมอง
ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต โดยการปฏิรูปตัวเอง
ด้วยการสร้างส่วนเชื่อมต่อ หรือ “connections” ระหว่างเซลล์ประสาท
(neurons)
มีปัจจัยอะไรบ้างละที่สามารถทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ?
นอกเหนือจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว เรายังพบว่า
มีปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของคนเราต่างมี
บทบาทต่อการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองได้ทั้งนั้น
เราสามารถพบการเปลี่ยนแปลงในสมองของมนุษย์ (neuroplasticity) เช่น:
o ในตอนเริ่มต้นของการมีชีวิต: สมองของคนเราก็เริ่มมีการพัฒนา
หรือเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองตามธรรมชาติ
o ในตอนที่สมองได้รับบาดเจ็บ: จะมีการชดเชยสมองส่วนที่เสียไป โดย
สมองส่วนที่ดี หรือสมองส่วนที่ดีทำงานมากขึ้น
o ในระหว่างที่เป็นผู้ใหญ่: เมื่อคนเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือมีการจดจำ
สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงตาม
กล่าว(neuroplasticity)
หลายคนไม่ทราบว่า สมองของคนเรา มีความสามารถอย่างหนึ่ง
จะกล่าวว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สมองขงคนเราพึงมี นั่นคือ...
สมองของคนเรามีหน้าที่...แต่พอสมองถูกทำลายจากบาดเจ็บ จะพบว่า
สมองส่วนที่ยังอยู่ในสภาพดีจะทำหน้าที่แทนสมองส่วนที่ทำลายไปได้
นั่นคือสิ่งที่เกิดจาก neuroplasticity ดังตัวอย่างต่อไปนี้:
มีศัลยแพทย์ท่านหนึ่งอายุราว 50s ประสบกับภาวะสมองขาดเลือด
ทำให้เกิดอัมพาติซีกซ้าย...แขนซ้ายอ่อนแรง
ในระหว่างที่เขาได้รับการรักษาด้วย “กายภาพบำบัด”....
แขนด้านดีไม่ให้มีการเคลื่อนไหว...แต่นักกายภาพบำบัดสั่งให้คนไข้ใช้
แขนด้านอัมพาติทำความสะอาดโต๊ะ...
เป็นไปตามคาด...
ในระยะแรกๆ คนไข้ไม่สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแขนด้านซ้ายได้เลย
แต่หลังจากนั้นไม่นาน แขนข้างที่อัมพาติเริ่มขยับเขยื่อนได้ สามารถ
เขียนหนังสือได้ และกลับไปเล่นเทนนิสได้ตามปกติ
ที่เกิดขึ้นเช่นนั้นได้ เป็นเพราะ....
การทำงานของสมองส่วนที่ถูกทำลายไปนั้น ถูกสมองส่วนที่ดีทำงาน
แทนนั่นเอง
สมองของมนุษย์เราเมื่อถูกทำลายไป สามารถชดเชยได้ด้วยสมองส่วนที่ดีด้วย
การสร้างส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท (connections)
และในการที่จะทำให้เซลล์ประสาทมีการติดต่อได้ใหม่ (reconnect)
จำเป็นต้องให้เซลล์ประสาทได้รับการกระตุ้นตลอดชีวิต
แต่ก่อนมา...
เราเคยเชื่อว่า เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้นจะพบว่า
การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทจะมีจำนวนคงที่ ไม่สามารถทำให้เพิ่มได้
แต่ผลจากการวิจัยพบว่า....นั่นเป็นความเข้าใจผิด !
ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าเซลล์ประสาทไม่เคยหยุดนิ่งมีการสร้างเพิ่มได้
ซึ่งได้รับการยืนยันจากการศึกษา สามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเราเรียกว่า “plasticity”
Plasticity มีความหมายว่า สมองของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการ
เรียนรู้ (learning) และการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น จะเกิดขึ้นตรงบริเวณเชื่อม
ต่อระหว่างเซลล์ประสาทสมองนั่นเอง
และเมื่อส่วนเชื่อมต่อถูกสร้างขึ้นใหม่ โครงสร้างภายใน เช่นบริเวณจุดประสาน
ประสาท ( synapse) ก็มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันไปด้วย
ท่านเคยทราบเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ ?
ถ้าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง...
จะพบว่า สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานที่ท่านมีความถนัด ความเชี่ยวชาญ
จะเจริญงอกงามขึ้น
จากการศึกษาในคนขับแทกซี่ในลอนดอนจำนวนหนึ่ง พบว่า
พวกเขามีสมองส่วน hippocampus ส่วนหลังมีขนาดโตขึ้น โดยส่วนสมองดังกล่าว
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเกี่ยวสถานที่ต่าง ๆ
โดยที่คนขับแทกซี่ต้องศึกษาการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพาผู้โดยสารไปถึงสู่ที่เป้าหมาย
ส่วนคนขับรถเมล์ ซึ่งจำเป็นแค่พาผู้โดยสารไปตามทิศทางที่กำหนดไว้เท่านั้น....
ไม่มีการแก้ปัญหา ไม่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางแต่อย่างใด
เกือบไม่ต้องคิดเสียด้วยซ้ำ เป็นเหตุให้สมองไม่ได้การกระตุ้น
จึงเป็นเหตุให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสมอง
การเปลี่ยนแปลของสมอง (plasticity)
ยังสามารถพบเห็นในคนที่พูดได้ถึงสองภาษา
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะการใช้ภาษาที่สองจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยผ่านการ
เปลี่ยนแปลงในสมอง โดยทำให้ส่วนที่เป็น left inferior parietal cortex
มีขนาดโตมากกว่าคนที่ใช้ภาษาเดียว
นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงของสมองยังพบเห็นในนักดนตรี
โดยพบว่า สมองส่วนที่เป็นสีเทา (grey mater) จะมีปริมาณมากกว่า
คนที่ไม่ใช่นักดนตรี ซึ่งเป็นส่วนทีเรียกว่า motor regions,
anterior superior parietal areas และ inferiors temporal areas
สุดท้าย นาย Draganski และผู้ร่วมงาน ได้ทำการศึกษาในกลุ่มนักเรียนแพทย์
ในระยะ 3 เดือน ก่อนทำการสอบ และหลังการสอบไล่ โดยทำการเปรียบเทียบ
กับคนที่ไม่ต้องทำการเตรียมตัวสอบ...
ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่มีการเตรียมตัวสอบ (อ่านหนังสืออย่างนัก)
พบสมองส่วน Posterior hippocampus และ parietal cortex มีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งสมองทั้งสองส่วนทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการระลึกรู้...
ซึ่งสมองทั้งสองส่วนทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการระลึกรู้...
โดยสรุป สมองของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลง (neuroplasticity) ได้ด้วย
การศึกษาหาความรู้ และการแก้ปัญหาอยู่เสมอ โดยมีการสร้างส่วนเชื่อมต่อ
การศึกษาหาความรู้ และการแก้ปัญหาอยู่เสมอ โดยมีการสร้างส่วนเชื่อมต่อ
ระหว่างเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญ
มันสามารถชดเชยสมองส่วนที่เสียได้...
มันสามารถชดเชยสมองส่วนที่เสียได้...
น่าสนใจมาก ติดตามนะคะ หมออพ ช่างคิดค่ะ
ตอบลบ