หรือเดินจากสนามหญ้าอันอ่อนนุ่มสู่ทางเดินอันแข็งกระด้าง, หรือลุกจากเตียง
นอนในยามค่ำคืนเพื่อเข้าห้องน้ำได้โดยไม่สะดุดหกล้ม...
แต่เมื่อใดที่ระบบการทรงตัวเสียไป....เราไม่สามารถจะเดินเหินได้เช่นนั้นอีกต่อไป
เพราะนอกจากจะก่อความรำคาญและเหนื่อยแรงแล้ว
ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย
อาการต่างๆ ทีมาพร้อมกับการสูญเสียการทรงตัว ได้แก่อาการวิงเวียน (dizziness),
รู้สึกมีอาการหมุน (vertigo) มีปัญหาในด้านฟังเสียง และการมองเห็น
(heatring & vision ) และอาจมีการสูญเสียสมาธิการความทรงจำเพิ่มขึ้น
What is balance?
ความสมดุล หรือการทรงตัว หมายความถึงความสามารถของกายในการคงไว้
ซึ่งจุดศูนย์กลางของมวลกาย โดยให้ร่างกายทรงตัวอยู่บนฐานของร่างกาย
ได้โดยไม่หกล้ม
การที่ระบบการทรงตัวสามารถทำงานได้เป็นปกติ
ย่อมทำให้คนเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดแจ้งแม้ขณะมีการเคลื่อนไหว,
สามารถล่วงรู้ว่าร่างกายของเราอยู่บนฐานของแรงโน้มถ่วง,
รู้ทิศทาง และความเร็วของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหว,
สามารถทำการปรับตัวให้ร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่มีความมั่นคงได้
แม้ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นใด
ความสมดุลจะเกิดขึ้นได้ย่อมอาศัยการทำงานประสานกันของระบบรับรู้จาก
ภาพที่มองเห็น (sight) และการสัมผัสรับรู้ที่ได้จากระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก
(proprioception) และจากระบบของ vestibular system
ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหว, ความสมดุล และรับรู้ถึงทิศทางของการ
เคลื่อนไหวในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง...
ซึ่งนั่น เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ส่งเข้าสู่สมองสวนกลาง
(sensory input)
สมองจะทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ มีการแปล และประเมินข้อมูล
พร้อมกับทำการบูรณาการภายในช่วงเวลาของสายฟ้าแลบ
จากนั้นมันจะส่งคลื่นคำสั่ง (mot output) กลับไปยังลูกตา
และกล้ามเนื้อของร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมดุลต่อไป
เมื่อใดก็ตามที่ส่วนต่างๆ ที่กล่าวมาถูกทำลาย
เช่น เกิดบาดเจ็บ เป็นโรค หรืออายุมากขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อการ
ทำให้ความสมดุล หรือการทรงตัวเสียไป
Sensory input
การที่คนเราสามารถรักษาสภาพความสมดุลเอาไว้ได้ สมองจำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูล
จากสามแหล่งด้วยกัน: นั่นคือ ตา (eyes) กล้ามเนื้อ และข้อต่อ (muscle &joints)
และอวัยวะทรงตัว (vestibular organs)
แหล่งทั้งสาม จะส่งข้อมูลไปยังสมองในรูปแบบของคลื่นจากปลายประสาทพิเศษ
มีชื่อเรียก sensory receptors
Input from the eyes:
Sensory receptors ที่อยู่ในจอประสาทตา (retina) มีชื่อเรียก rods และ
Cones เมื่อแสงกระทบกับปลายประสาทดังกล่าว มันจะส่งคลื่น (impulses)
ไปยังสมอง ซึ่งเป็นเงื่อนงำ (cues) ให้รู้ว่า ร่างกายของเราสัมพันธ์กับสิ่งที่
อยู่รอบกายอย่างไร
ยกตัวอย่าง คนเดินในท้องถนนของเมืองใหญ่ ตึกที่อยู่รอบข้างจะตั้งอยู่ใน
แนวดิ่งตั้งฉากกับพื้น เมื่อเราเดินผ่านห้างร้านไป ครั้งแรกจะผ่านสายตาเรา
ไป เมือเราเดินต่อไป ห้างร้านเหล่านั้นก็จะค่อยหายลับไปจากสายตา
นั่นเป็นข้อมูลที่สมองได้รับจาก sensory receptors
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น