วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Fat Maldistribution In HIV

ก่อนเขียนบทความเรื่องนี้ บังเอิญได้ยินผู้คนเขากล่าวถึงการหาลูกเขย
ปรากฏว่า นอกจากความเหมาะสมต่าง ๆ ที่คนชอบพูดถึงแล้ว
มีสิ่งหนึ่ง ที่คไม่ค่อยจะกล่าวถึงนัก
นั่นคือ หากเจ้าหนุ่ม มันมีโรคเอดส์ซ่อนอยู่ภายในละ...?
ไม่ต้องกล่าวหรอกว่า จะทำอย่างไร ?
จากบทความเรื่องที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้...
ถ้าท่านเจอหน้าใคร ท่านอาจได้เลยว่า เจ้าหนุ่มคนนี้ อาจเป็นโรคอย่างว่า ก้ได้นะ ?

Fat Maldistribution In HIV

ในคนไข้ที่เกิดเป็นโรค HIV ที่ได้รับการรักษาด้วย antiretroviral drugs
จะพบความผิดปกติในการกระจายตัวของมวลไขมัน
ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ปรากฏให้เห็น โดยมีภาวะไขมันฝ่อตัว (lipoatrophy)
เกิดขึ้นในคนไข้เป็นโรค HIV ในระยะสุดท้าย
ในระยะต้น ๆ จะไม่เห็น...(นี้แหละคือปัญหาในการดูตัวผู้จะมาเป็นลูกเขย)

มีรายงานว่า คนเป็นโรค HIV ที่ได้รับการรักษาด้วย NRTI monotherapy
จะปรากโว่า มีมวลของไขมันรวมตัวกันเป็นกระจุก
อย่างไรก็ตาม การกระจายตัวของไขมันที่ผิดปกติ (maldistribution)
พบมากขึ้นในยุคที่คนไข้ HIV ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหลายตัวร่วมกัน
นอกจาก จะพบไขมันรวมตัวกันเป็นกระจุก (hyperadiposity)แล้ว
เรายังจะพบเห็น “มวลของไขมัน” ฝ่อตัว (lipoatrophy)อีกด้วย

การกระจายตัวของมวลไขมัน (muldistribtion) หรือจะเรียกว่า lipodystrophy
เมื่อร่วมกับความผิดปกติทาง "เมทตาบอลิซึม" ของร่างกาย
เช่น การไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน,และการมีไขมันในเลือดสูง(hyperlipidemia)
ซึ่ง ถูกเรียก lipodystrophy syndrome

ภาวะ lipodystrophy อาจมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติหลายอย่างเกิดขึ้น
เช่น ภาวะไขมันมันในเลือดที่มีปริมาณผิดปกติ (dyslipidemia), glucose intolerance,
หรือ lactic acidosis.

ในกรณีของมวลไขมันรวมตัวเป็นกระจุก เราสามารถพบเห็น ในบริเวณช่วงของท้อง
ใครปล่อยให้มีไขมันรอบบั้นเอว...ถูกใครพบเห็น
ระวัง ! จะมีคนเข้าใจผิด คิดว่าเป็นเจ้าของโรค HIV ?
นอกจากนั้น จะพบไขมันกระจุกตัวที่บริเวณโหนกคอ (dorso-cervical fat pad)
และ บริเวนเต้านม (ทั้งหญิง และชาย)
ไม่ว่า มันจะกระจุกอยู่ที่ใหน ก็เป็นตราบาป ให้คนเข้าใจผิดอยู่ดี...ฉนั้น อย่าให้มันปรากฏบนตัวเราน่าจะดีกว่า

อย่างไกรก็ตาม เมื่อคนไข้ ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส จะพบภาวะมวลไขมันรวมตัวเป็น
กระจุกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่สามารบอกได้ว่า เป็นเพราะยาบางตัว
หรือเป็นเพราะพิษของยากันแน่ ?

สวนบริเวณที่มวลไขมันฝ่อตัว (fat atrophy)ละ จะพบได้ที่บริเวรใหนของร่างกาย ?
ครับ...จะพบได้ที่บริเวณใบหน้า
ซึ่งแต่ก่อนที่เราจะรู้เรื่อง "เอดส์" พวกหนุ่มหรือแก่ ที่เป็นสิงห์ ขี้ยาทั้งหลาย มีใบหน้าที่มีหนังติดกระดูกเหมือนโรค
ที่เรากำลังกล่าวถึงทุกประการ (หรือมันเป็นโรคเอดส์ ?)
นอกจากนั้น เรายังพบเห้นตอไปอีกว่า มวลไขมันตรงบริเวณต้นแขนก็หายไปด้วย

ในกรณีของการเกิดการรวมตัวของมวลไขมันเป็นกระจุก มักพบเห็นในรายที่ได้รับ NRTI ในระยะยาว
ส่วนที่มีมวลไขมันฝ่อตัว (lipoatrophy) จะพบในรายที่ได้รับ stavudine
ซึ่ง อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบว่า คนไข้ได้รับการรักษามาเป็นเวลานานก็ได้

ในปัจจุบัน ไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ที่จะต่อการกับมวลไขมันที่รวมตัว (fat accumulation)
หรือ มวลไขมันฝ่อตัว (lipoatrophy)
ซึ่งถ้าทำได้ คงปกปิดไม่ให้ใครรู้ว่า...ตัวเองเป็นสิงห์อมควัน หรือเป็นโรคอย่างว่าได้

การหยุดยารักษา (antiretroviral medications) หรือสับเปลี่ยนยา
ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ท่านที่มีปัญหาดังกล่าว...คงต้องรอต่อไป จนกว่าเขาจะพบวิธีรักษา

http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr5107a1.htm

Lipid Management in Diabetes Type 2

คนที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 มักจะมีส่วนร่วมกับความเสี่ยงให้เกิดโรคสูงขึ้น
โดยเฉพาะ "โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดง" (CVD)
และ มีส่วนร่วมกับ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก
ในการป้องกัน และรักษาคนที่เป็นที่โรคเบาหวานชนิดดังกล่าว

เบาหวานประเภท 2 มีส่วนร่วมกับการทำให้มีความเสี่ยงต่อของการเกิดหัวใจและหลอดเลือด
ซึ่งมีลักษณะเหมือนกบคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน
นอกเหนือไปจากนั้น ภายหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจขึ้นแล้ว
คนไข้ที่เป็นเบาหวาน พร้อมกับโรคหลอดเลือด และหัวใจ
จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ได้มากกว่าคนไม่เป็นเบาหวาน
ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า คนเป็นเบาหวานมีปัจจัยเสียงมากมายต่อการเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
โดย มีระดับไขมันในกระแสเลือดทีผิดปกติ (dyslipidemia) เป็นปัจจัย

LIPOPROTEIN PATTERN IN DIABETES

ในคนเป็นโรคเบาหวาน มีไขมันที่ทำหน้าที่ให้เกิดเส้นเลือดแดงตีบตันได้นั้น
มีชื่อว่า diabetic dyslipidemia หรือ artherogenic dyslipidemia
ซึ่ง ประกอบด้วยไขมันที่มีระดับสูง เช่น triglyceride , low HDL cholesterol,
และ small dense LDL particles
ไขมันเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่า lipoprotein โดยจะมีส่วนร่วมกับ การทำให้ร่างกาย
ไม่ตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลิน

ระดับของไขมันอีกชนิดหนึ่ง LDL cholesterol ที่ปรากฏในคนเป็นเบาหวาน
จะมีลักษณะเช่นเดียวกับคนไมเป็นเบาหวานทุกประการ
ส่วน small dense LDL particles นี้ซิ มีนมีความน่ากลัว
เพราะมันทำให้ผนังของเส้นเลือดแดง เพิ่มความไว ต่อการรับเอาออกซิเจนเพิ่มขึ้น

ในคนไข้ที่มีระดับ triglyceride มากกว่า 130 mg/dL จะพบว่า
ในกระแสเลือดของคนเราจะมี small LDL particles กลายเป็นเรื่องธรรมดาได้

กล่าวโดยรวม คนไข้ที่เป็นเบาหวานทั้งหลาย พบว่าประมาณ 30-40%
จะมีระดับ triglyceride อยู่ในระดับมากกว่า 200 mg / dL
และอีก 10 % พบระดับ triglyceride มากกว่า 400 mg / dL

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาจากอังกฤษ คนไข้ที่มีระดับ TG ประมาณ 159 mg / dL
ไม่สามารถนำมาพยากรณ์เกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ และหลดเลือด (CVD)ได้เลย
ส่วน LDL cholesterol เคยเป็นตัวพยากรณ์อิสระของการเกิดโรคหลอดเลือด
ตีบ และรองลงไปเป็น HDL cholesterol
ซึ่ง National guideline ได้สนับสนุนให้ใช้ LDL cholesterol
เป็นเป้าหมายหลัก ในการลดระดับไขมันที่สูงเกิน ลงสู่ระดับปกติ

LIPID TARGETS
National Cholesterol Education Panel Guidelines


โรคเบาหวาน จะถูกพิจารณาให้มีค่าเทียบเท่ากับโรคหัวใจ และหลอดเลือด(CVD)
ดังนั้น เป้าหมายของไขมัน (lipid target) ในคนเป็น
โรคเบาหวาน จึงมีค่าเท่ากับคนที่เป็นโรคหัวจหลอดเลือดแดง (CVD)แล้ว
และเป้าหมายหลักของ LDL cholesterol ต้องมีค่าต่ำกว่า 100 mg/dL


เมื่อไม่นานมานี้ the National Cholesterol Education Panel
(NCEP) ADULT Treatment Panel III (ATP III)
ได้ลดระดับ cut-point เพื่อการรักษาด้วยยา จากระดับ
130 mg/dL สู่ระดับ 100 mg / dL

และในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคทุกราย เช่น คนเป็นเบาหวาน และมีโรคหัวใจ
เป้าหมายที่ดีที่สุด คือ 70 mg / dL


สำหรับรายที่มีระดับ triglycerides > 200 mg / dL
ซึ่งถือเป็นเป้าหมายรอง (secondary lipid target)
เป็นค่าที่ได้จาก:
nonpHDL-C = (total cholesterol) minus (HDL-C)
เป็นค่าทีรวบรวมสาร( หรืออนภาค)ทุกตัว ที่เป็นตัวเหตุให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด (CVD)
เช่น apolipoprotein (apo) B, เช่น LDL, lipoproteins (a),
intermediate-density lipoprotein, และ VLDL

เป้าหมายของ non-HDL-Cholesterol
จะมีค่า = 30 mg / dL plus LDL target (<130 mg / dL
สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน)

ในกรณีคนไข้มีระดับ triglycerides มากกว่า 500 mg/dL
เป้าหมายของการรักษา คือ ต้องลดระดับ triglycerides ลงอย่างรีบด่วน....ต้องทำทันที
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะตับอ่อน อักเสบ (pancreatitis)

HDL cholesterol เป็นเป้าหมายที่สาม (third lipid target):
การเพิ่มระดับ HDL cholesterol ในด้านทฤษฏีถือว่าใช่เลย...
ต้องทำให้คนไข้ ที่มีระดับ HDL-C ต่ำกว่า 40 mg/dL มีระดับสูงขึ้น

American Diabetes Association Guidelines

The American Diabetes Association (ADA) ได้ตั้งเป้า
สำหรับไขมันต่าง ๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดเอาไว้ ดังนี้:

 LDL cholesterol < 100 mg / dL
 HDL cholesterol > 40 mg / dL(ชาย), 50 mg/dL (หญิง)
 Triglycerides < 150 mg/ dL

เป้าหมายหลักในการรักษา (primary treatment strategy)
ตามแนวทางของ NCEP แนะนำให้ตั้งเป้าเอาไว้ดังนี้:

 LDL cholesterol < 100 mg /dL โดยแนะให้ทำการ
รักษาด้วยยา (pharmacological therapy) เมื่อไขมันตังกล่าว
สูงกว่า 100 mg/ dL ซึ่งกระทำในคนไข้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบแข็งแล้ว
และเริ่มรักษาด้วยยา เมื่อคนธรรมดา ไม่เป็นโรค มีค่า LDL-C สูงกว่า 130 mg/ dL

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำที่ให้ไว้ในปี 2005 ยังกล่าวว่า การรักษาด้วยสาร statin (statin therapy)
สามารถลด LDL-C ลงได้ประมาณ 30 % โดยไม่คำนึงว่า ฐานของไขมันดังกล่าวจะอยู่ที่ใด

ไขมัน HDL-cholesterol เป็นตัวที่สอง ที่ต้องจัดการเพื่อทำให้มันเพิ่มระดับขึ้น และ
ไขมันตัวที่สาม ที่ต้องจัดการทำให้ลดลดลงสุ่เป้าหมาย คือ triglycerides
อย่างไรก็ตาม เรายังไม่พบว่า มีการรักษาเป็นการเฉพาะถูกกำหนดขึ้น

CLINICAL TRIAL EVIDENCE

จากการวิเคราะห์การรักษาด้วยสาร statins ในการรักษา
ชี้ให้เห็นว่า เป็นผลดีทั้งในกลุ่มเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคเบาหวาน
และ ในคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน
ส่วนการใช้สาร fibrates หรือ niacin นั้น มีการศึกษาน้อยมาก

Continue > Treatment: Lifestyle

Managing Non-HDL Cholesterol

Heart attack และ Brain attack (stroke)
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนทุกอายุ ทั้งหนุ่ม และสูงวัย
ซึ่ง ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวของเรา ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า "เราจะต้องทำอย่างไรละ ?"

เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของเส้นเสือด และหัวใจนั้น
สามารถกระทำได้โดยไม่ยากนัก นั้นคือ การลดระดับของไขมัน LDL-cholesterol
ที่มีอยู่ในกระแสเลือสูง โดยการกำหนดให้ LDL-C เป็นเป้าหมายหลักของการรักษา
ทำการลดระดับไขมัน LDL-C ที่มีระดับสูงเกิน ให้ลงต่ำกว่าเป้าที่ำหนดเอาไว้
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้เอาไว้ คือ คนที่เป็นโรคของหัวใ และเส้นเลือด
ใช่ว่า จะต้องมีระดับไขมัน LDL-C สูงทุกรายไป
คนที่มีระดับไขมัน LDL-C ไม่สูง ก็สามารถเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดได้

"แล้วเราจะทำอย่างไร? "
นั้นคือประเด็นของเรา จะต้องพูดถึงกันต่อไป

ในปัจจุบันนี้ เริ่มมีความเข้าใจ-รับรู้กันแล้วว่า Non-HDL cholesterol มี
ความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและ เส้นเลือดกันอย่างชัดแจ้ง
ซึ่งบางคน ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับมันเท่าใดนัก

การหาค่าของ non-HDL cholesterol สามารถกระทำได้ง่าย ๆ
โดยไม่ต้องตรวจเลือดเพิ่มจากที่เราเคยทำตรวจ lid profile ตามปกติ
เพราะสามารถหาค่า non-HDL cholestrol ได้จากสูตรคณิตศาสตร์:

(Total Cholesterol) minus (HDL cholesterol = non-HDL-C

คำถาม: non-HDL-C มันสำคัญอย่างไรหรือ ?

ตามความเป็นจริง ค่าที่ได้จากสูตรดังกล่าว
มันเป็นค่าของไขมัน cholesterol ทุกตัว ที่สามารถทำให้เกิดเส้นเลือดตีบแข็ง
ซึ่งเรียกว่า artherogenic lipoprotein particles
ได้แก่: (very low density lipoprotein (VLDL), remnant,
intermediate density lipoproteind (IDL), LDL, และ lipoprotein (a)

นอกจากนั้น non-HDL-C อาจเป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับวัดผลในกลุ่มคน ที่มีความผิดปกติของร่างกาย
เช่น คนเป็นโรคเบาหวาน (diabees)
ซึ่งมีระดับไขมันผิดปกติ (dyslipidemia) เช่น มีระดับไขมันดี HDL-C ต่ำ และ ไขมัน TG สูง

non-HDL-C ยังมีความสัมพันธ์กับความรุนแรง ของโรคเส้นเลือดหัวใจ (coronary artery severity)
และยังสามารถใช้เป็นตัวคาดการ (prdictor) ความเจ็บป่วย (morbidity)
และ อัตราการเสียชีวิต (mortality)ของคนไข้ได้อีกด้วย

มีผู้คนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่เป็นโรคหัวใจจากเส้นเลือด (coronary heart disease)
พบว่า คนไข้เหล่านั้น มีระดับของไขมัน "เลว" ที่มีขื่ว่า LDL-C อยู่ในระดับปกติ หรือสูงเพียงล็กน้อย
แต่ไขมันที่ดี ที่มีชื่อว่า HDL-C มีค่าต่ำกว่าระดับปกติ
และมีระดับไขมัน Triglycerides สูงกว่าระดับปกติ

ตามที่กล่าวมา คนที่มีระดับ LDL-C ต่ำ สามารถเกิดเป็นโรคหัวใจจากเส้นเลือดตีบแข็งเพราะไขมันเป็นต้นเหตุ
การกำหนดให้ และเน้นเฉพาะไขมัน LDL-C ว่ามันเป็นตัวทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
อาจไมถูกต้องเสียแล้ว เพราะยังมีปัจจัยตัวอื่น ๆ อีกหลายตัว ที่เราหลายคนไม่ค่อยจะเอ่ยถึง

The National Education Program (NCEP)
ได้แนะให้แพทย์ผู้ทำการรักษาคนไข้ กำหนดให้ non-HDL-C เป็นเป้าหมายรอง
เพื่อลดระดับไขมันที่หลงเหลือในกระแสเลือด ให้ลดลงสู่เป้าหมาย
ซึ่ง มีส่วนหลงเหลือจากการลดระดับ ไขมัน triglycerides ที่สูง
โดยเฉพาะรายที่มีระดับ triglyceride มีค่าสูงกว่า 200 mg/dL

ความรู้พื้นฐานดังกล่าว ได้มาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลองในคนไข้
ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่า non-HDL cholesterol มีความสัมพันธ์กับการเป็นตัวบ่งชี้ (marker)
ให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดของหัวใจ (CHD)
โดยไม่เกี่ยวข้องกับระดับ Low-Density Lipoprotein (LDL)-cholesterol เลย

นอกเหนือจากนั้น non-HDL cholesterol มีส่วนสัมพันธ์ กับ อาการเจ็บอก (angina pectoris)
และ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (non-fatal myocardial infarction) ในคนไข้
ซึ่งเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจหลายเส้น (multivessel CHD)

อย่างไรก็ตาม non-HDL cholesterol ไม่ได้ถูกนำมาใช้วัดผลในด้านการแพทย์เท่าที่ควร
ด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ประการที่สอง เป็นเพราะห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ได้รายงานผลของ non-HDL cholesterol
ทำให้แพทย์ไม่ชิน และไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ประเมินผล
เป็นเหตุให้ไม่เห็นคุณค่าที่พึงได้รับจากค่ำดังกล่าว

ในปัจจุบันได้เริ่มมีการเพิ่มค่าของ non-HDL cholesterol ในผลของการตรวจทางห้องปฏิบัติการในบางแห่ง
เพื่อให้แพทย์ได้นำไปใช้ ประเมินผลของการใช้ยาลดระดับไขมันว่า
บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่

จากการใช้ non-HDL cholesterol ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของมันว่า
มันเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ชิ้นหนึ่ง ที่มีต่อการประเมินความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ (CHD)
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะ Non-HDL cholesterol ครอบคลุมสารLipoproteins ทุกตัว
ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดของเรา เช่น: LDL cholesterol, very low-density lipoprotein (VLDL)
Cholesterol, intermediate-density lipoprotein (IDL) และ Lipoprotein (a) (LP (a) )

(นอกจาการคำนวณหาค่าของ non-HDL-C ยังมีสูตรคำนวณหาค่า LDL-C ตามสูตรของ
Friedewald equation: TC – HDL-C-TG/5 = LDL-C)

เราสามารถหาค่าของปริมาณไขมัน veryl low density lipoprotein (VLDL)
ที่ไหลเวียนอยุ่ในกระแสเลือดของเราได้ โดยการใช้สูตรคำนวน:
TGs หารด้วย 5 จะได้ค่าโดยประมาณของไขมัน VLDL
และค่านี้จะไกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อทำการตรวจในขณะท้องว่าง
และค่าของ TG จะต้องน้อยกว่า 400 mg / dL

ในคนไข้ที่มีระดับไขมัน TG สูง < 400 mg /dL ซึ่งถูกกำหนดเป็นเป้าหมายรองเพื่อการรักษา
และ ค่าของ Non-HDL cholesterol คือค่าที่ได้จาก (Total cholesterol) - (HDL-C)
แลค่าที่เรากำหนดเป็นเป้าหมายรอง ซึ่ง เราจำต้องลดระดับ non-HDL-C ลงต่ำกว่าเป้า

เป้าที่ NCEP คือค่าที่จะต้องลดลงให้ต่ำกว่า...
ซ่งสามารถคำนณได้จาก การเพิ่มค่าค่าของ LDL-C ที่ถูกกำหนดเป็นเป้าของการักษาด้วย 30 mg/dL

ยกตัวอย่าง:

ในคนไข้ที่เป็นโรค stable CHD หรือเป็นโรคเบาหวาน (DM)
เขากำหนดเป้าของ LDL-C จำต้องต่ำหว่า 100 mg/dL
ฉนั้น คนไข้รายนี้ มีค่า non-HDL-C = 30 + 100 mg/dL
นั้นคือเป้าหมายของการรักษา ว่า เราจะต้องลด non-HDL-C ให้ลงสู่เป้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

มีเหตุการณ์หลายอย่าง ซึ่ง คนไข้มีระดับไขมัน LDL-C อยู่ในเกณฑ์ระดับปกติ
หรือใกล้กับระดับปกติ แต่ปรากฏว่า non-HDl cholesterol ยังมีค่าสูง
ในสถานการณ์ดังกล่าว อาจรวมถึงคนไขเพศหญิง อายุกลางคน เป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือด (CHD)
มีระดับ LDL cholesterol 90 mg / dL ได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม Statins
แต่ปรากฏว่า non-HDL cholesterol อยู่ในระดับ 240 mg/dL

แม้ว่า เป้าหมายของ LDL cholesterol ต่ำกว่า 100 mg/dL
ตามแนวทางของ NCEP เป้าหมายของรักษาระดับ non-HDl cholesterol
ที่ยังสูง ได้กลายเป็นเป้าหมายรองของการรักษา ซึ่งมันมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งเอาไว้ (130 mg / dL)

ในกรณีเช่นนี้ การรักษาที่คนไข้พึงได้รับควรเป็นอย่างไร ?

สำหรับคนไข้รายดังกล่าว ซึ่งมี non-HDL-C สูง 240 mg/dL ซึ่งสูงกว่าค่าที่กำหนด 130 mg/dL
การรักษาส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วย การรักษาทางด้านพฤติกรรม(lifestyle therapy)
เพราะ จากการรักษาระดับ TG levels ที่สูงนั้น สามารกระทำได้ด้วยการ
รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม-อาหารการกิน กับ การออกกำลังกาย

นอกเหนือจาก การรักษาด้วยพฤติกรรม(lifestyle therapy)
การลดรับ non-HDL cholesterol ที่สูง
สามารถกระทำได้ด้วยการผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วย การใช้ statin ซึ่งเป็นยาหลักเพื่อลด LDL cholesterol
ร่วมกบการใช้ยาในสามกลุ่ม เช่น omega-3 fatty acid, fibrates หรือ niacin

การผลการศึกษาของญีปุ่น รายงานว่า การใช้ omega-3 fatty acids
ร่วมกับ statin สามารถลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ และ MI ลงได้ถึง 19 %

ในกรณีที่ TG levels มีค่าสูงถึง 500 mg/dL แทนที่จะรอให้เป็นเป้าหมายรอง
ใหทำการรักษา ทำการลดระดับ TG levels เป็นเป้าหมายหลัก
เพื่อหลีกการเกิดการอักเสบของตัวอ่อนทันที

ในรายที่มี TG มีระดับสูงเช่นนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาร่วมกน เพื่อลดระดับไขมันที่มีระดับสูงลง
ซึ่ง จะเริ่มต้นด้วยการกำจัดปัจจัยทุกตัว ที่เป็นต้นตอทำให้ระดับ TG สูงขึ้น
เช่น จำกัดไขมัน saturated fats และ trans fats และ ถ้าเป็นสภาพสตรี
ที่รับยาคลุม จะต้องมีการปรับเปลี่ยนยาดังกล่าวด้วย

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีระดับ TG สูง ประกอบด้วย fenofibrate
145 mg/day; nicotinic acid 1-2 gm/day หรือ omega-3 fatty acid 4
capsules /day

ผลจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ บอกให้ทราบว่า
การใช้ simvastatin plus omega-3 fatty acids
สามารถลดระดับ non-HDL-C ได้ดีกว่า simvastatin เพียงอย่างเดียว
นอกเหนือจากนั้น การใช้ยาสองตัวนี้ร่วมกัน
สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด myopathy ได้ดีกว่าการใช้ยาตัวอื่น

นอกจากที่กล่าว ยังมียาตัวอื่น เช่น fenofibrate สามารถลด non-HDl-C ลงไดถึง 7.5 %
ในคนไข้ที่เป็น metabolic syndrome การใช้ simvastatin + fenofibrated
สามารถลดระดับ non-HDL-C ลงได้อีก 5 %
การเพิ่ม niacin สามารถลดระดับ non-HDL -C ลงได้อีกถึง 10 %

คนไข้ส่วนใหญ่ ที่พบว่า ภายหลังการรักษาด้วยการลดระดับ LDL cholesterol ลงแล้ว
แต่ยังปรากฏว่า ระดับของ non-HDL-C ยังสูง ให้ถือว่าเป็นเป้าหมายรอง จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยยา
ซึ่ง ใช้ยา statin ลดไขมัน LDL-C
โดยให้ร่วมกับ omega-3 fatty acid หรือ fibrate หรือ niacin

ส่วนรายที่มี TG สูง ๆ จะถูกระบุว่า ต้องได้รับการรักษาด้วยการลดระดับของ triglyceride
ลดลงสู่เป้าหมาย โดยกำหนดให้เป็นเป้าหมายหลัก
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย การรักษาด้วยพฤติกรรม (lifestle therapy)
ร่วมกับวิธีการที่ปลอดภัย เช่น omega-3 fatty acids และ fibrates
การทำเช่นนั้น ถือว่า เป็นวิธีการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้เกิดการอักเสบของตับอ่อนได้
ตลอดรวมถึงผลแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ด้วย

โดยสรุป การลดระดับของ non-HDL cholesterol เป็นเรื่องที่มี
ความสำคัญ เพราะ non-HDL-C ถือเป็นเป้าหมายของการรักษา
ด้วยการลดระดับ non-HDL-C สู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle therapy): เรื่องอาหาร และ การออกกำลังกาย

คนไข้ส่วนใหญ่ ที่มีไขมันหลงเหลือใน non-HDL-C สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยารักษายา statin
ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ลด LDL-C ในคนไข้
ซึ่งยังมีไขมันส่วนที่หลงเหลือใน non-HDL-cholesterol

นอกจากนั้น ยังมีการนำเอา omega-3 faty acid , fibrates
และ niacin เข้าร่วมในการรักษา สามารถทำให้คนไข้บรรลุเป้าหมายได้

ในกรณีที่คนไข้ มี TG ในระดับสูงมาก (>500 mg / dL)
คนไข้ควรได้รับการรักษาคนไข้ เป็นเป้าหมายหลัก เพื่อปัองกันไม่ให้เกิดตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)
การรกษา ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรักษา (lifestyle therapy)
ร่วมกับ omega- 3 fatty acid และยา fibrate หรือ niacinโดยเริ่มต้นตั้งแต่แรก

http://www.medscape.org/viewarticle/561713

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Should We Treat Moderately Elevated Triglycerides?

ระดับความเข็มข้นทางสรีร...ของ triglycerides ของคนเรา
ระดับปกติจะมีค่าระหว่าง 10 – 70 mg/dL, ถ้าค่ามากกว่า 150 mg/dL
ถือว่าผิดปกติ, ถ้ามีค่าระหว่าง 200 – 500 mg/ dL ถือว่ามีค่าสูง
(พิจารณาตาม The National Cholesterol Education Program หรือ NCEP )

คำถามที่แพทย์มักจะถูกถามเสมอ คือ เมื่อมัน (Triglycerides) สูง
ควรได้รับการรักษาหรือไม่... มีหลักในการปฏิบัติกันอย่างไร ?

ถ้าค่าของ triglycerides มาก(สูง) กว่า 500 mg / dL
มันอาจก่อให้เกิดการอักเสบของตับอ่อนได้ (pancreatitis)
ค่า TG อยู่ระหว่าง 200 – 500 mg / dL ร่วมกับอนุภาคตัวอื่น ๆ
(normal lipid subfractions) นั้น เราไม่ทราบชัดว่า มันมีส่วนร่วมกับ
การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือไม่...
แม้กระทั้งคนไข้ที่เป็น familial hypertriglyceidemia (Fredrickson type IV)
ไม่ปรากกว่า มีความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหลอดเลือด ของหัวใจ

อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่มีระดับ triglycerides สูง มักจะมีความผิดปกติใน
ระดับไขมันตัวอื่น ๆ ด้วย เช่น LDL cholesterol มีค่าสูง
และ HDL cholesterol มีค่าต่ำ

นอกจากนั้น คนที่มี triglycerides สูง มักจะมีกลุ่มอาการของ metabolic syndrome
เช่น ความอ้วนหน้าท้องหนาด้วยไขมัน, ความดันโลหิตสูง, ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน,
HDL cholesterol ต่ำ และ triglyceride มีระดับสูง
ซึ่ง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจเป็นอย่างดี

หรือจะกล่าวว่า ระดับของ triglycerides ถูกทำให้เราคิดว่า เป็น ตัวที่บ่งบอกให้รู้
ถึงสภาพของเจ้าของว่า เป็นคนไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำงานนั่งโต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่
ชอบรับประทานของหวานเป็นประจำ มีน้ำหนักตัวสูง และ อ้วน โดยเฉพาะบริเวณรอบบั้นเอว

มีผลของการศึกษามากมาย ระบุว่า triglyceride ที่สูงนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยง
อิสระสำหรับทำให้เกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจ (CAD)
ความเสี่ยงดังกล่าว มันจะพบในสตรีเพศ และ ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน หรือ ในคนที่เป็น CHD

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจ มักจะเกิดในคนไข้ที่มีระดับ LDL-C สูง และ ระดับ HDL-C ต่ำ
ความเสี่ยงที่เกิดจาก Triglycerides สามารถทำให้เบาบางลงได้บ้าง
เมื่อเราทำการควบคุมระดับของ HDL-C แต่ก็ยังมีความเสี่ยงหลงเหลืออยู่

จากการศึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการมีระดับ triglycerides สูง
พบว่า ทุก 88 mg / dL ของจำนวน triglycerides ที่สูงขึ้นเกินระดับปกติ
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจในชาย 14 % และ
ในหญิง 37 %

สาเหตุของการมีความเสี่ยงที่หลงเหลือต่อการทำให้เกิดโรคเส้นเลือดตีบแข็ง
เป็นเพราะไขมัน triglyceride ทำหน้าที่แทน (surrogate marker)
อนุภาคของสาร ที่เป็นตัวทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบแข็ง

จากการตรวจดูระดับไขมันตามปกติ (lipid profile)
สามารถคำนวณหาค่าของสารที่ทำให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือด
(atherogenic load) ได้ ด้วยการประเมินหาค่าของ non-HDL-Cholesterol
ซึ่งมีค่า = (Totol cholesterol) minus (HDL-C)

The NCEP Adult Treatment Panel III (ATP III) ได้แนะนำ ให้หาค่าของ
non-HDL-C ในคนไข้ทุกรายที่มีระดับ triglyceride มากกว่า 200 mg / dL
บางคนมีความเห็นว่า ควรตรวจหาค่าของ non-HDL-C ในคนไข้ทุกราย
ที่มีความสัมพันธ์กับโรค CHD มากว่าที่จะใช้ LDL-C

 ในการรักษาคนไข้ที่มีระดับ triglyceride มากกว่า 500 mg / dL
ควรดำเนินการทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ
(pancreatitis) โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาในกลุ่ม fibrate เป็นตัวแรก
ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรักษา (therapeutic lifestyle changes)

 สำหรับรายที่มีระดับ TG 200 – 500 mg / dL ควรเริ่มการรักษาด้วย
พฤติกรรมรักษาก่อน พร้อม ๆ กับการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดมีระดับ TG
ขึ้นสูง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ (hypothyroidism) เบาหวาน (DM) และ
ความอ้วน (obesity) แล้วจัดการรักษาภาวะดังกล่าวซะ

 หาก ระดับ triglyceride ยังคงสูง NCEP-ATP III guideline
แนะนำให้ทำการรักษา ด้วยการควบคุม (รักษา) LDL cholesterol ก่อน
จากนั้น จึงหันมาจัดการกับระดับ non-HDL-C ให้ลงสู่ระดับเป้าหมาย

ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ คือ statins ซึ่งจะต้องค่อย ๆ เพิ่มจากน้อยไปหมาก
เราอาจให้ยาร่วมกัน ระหว่าง statin และ fibrate (ถ้าจำเป็น)
ยาที่แนะนำ เพื่อความปลอดภัยจากควรใช้ Fenofibrate เพราะยา
gemfibrozil (lopid) มีโอกาสทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อได(rhabdomyolysis)

Omega-3 fatty acid ได้รับการยอมรับว่า ให้ใช้รักษาคนไข้ที่มีระดับ
Triglycerides สูง โดยให้ร่วมกับยา statin
นอกเหนือจากนั้น niacin ก็เป็นยาอีกตัว ที่นำมาใช้ร่วมกับยา
simvastatin (Simcor)

 ในรายที่มีระดับ triglycerides สูงพอประมาณ (isolate
Moderate hypertriglyceriemia) ตาม NCEP-ATP III guideline
เขาไม่มีคำแนะนำเฉพาะเพื่อการรักษาคนไข้ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในคนไข้ที่มี triglyceride สูง แต่ LDL-C และ
HDL-C มีค่าปกติ อาจเป็นการดีสำหรับคนไข้ ด้วยการให้ยา
ลดระดับ triglyceride ที่มีระดับสูง โดยเฉพาะคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรค CHD และ Type 2 diabetes

คนไข้ทุกรายที่มีระดับ triglycerides สูง ควรหยุดการสูบบุหรี่ ออกกำลัง
กายอยางสม่ำเสมอ รับประทานอาหารสุขภาพ

www.aafp.org/afp/2011/0201/p242.html

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

When normal isn’t healthy: Triglycerides (cont.)

(continue...

Triglycerides
Triglycerides เป็นสารเคมี เป็นรูปแบบหนึ่งของไขมัน (fats)
ที่พบมากทีสุดในร่างกายของมนุษย์เรา
เมื่อท่านพบใคร ที่หน้าท้องโต (ผู้ชายนะ)บอกได้ทันทีว่า
เขาคนนั้นจะมีระดับ triglycerides ในเลือดสูงเสมอ
ซึ่ง ถือเป็นเป้านิ่ง ให้โรคเกี่ยวก้นเลือด และหัวใจโจมตีได้ง่าย ๆ

คำถาม:
ค่าปกติของ triglycerides:
ตาม AHA ได้ระบุเอาไว้ ระดับปกติของ triglycerides ในกระแสเลือด
จะต้องต่ำกว่า 200 mg/dL

ค่าที่ดีที่สุด (optimal):
เหมือนกับค่าของความดันโลหิต และ ค่าของ cholesterol มันควรอยู่ที่ตรงหใน?
คำตอบก็คือ ยิ่งมีค่าต่ำ...ยิ่งดี

จากการศึกษาในคนจำนวน 350 คน ในคนที่เป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ
โดยทำการศึกษาใน University of Maryland School of Medicine…
พบว่า คนที่มีระดับ triglyceride มากกว่า 100 mg/dL
ซึ่ง เป็นระดับที่ถูกตั้งเอาไว้ว่า เป็นระดับที่ปลอดภัย
ปราฏว่า มีคนเกิดเป็นโรคหัวใจจากการขาดเลือด และ ตายจากโรคหัวใจได้มากกว่า
คนที่มีระดับ triglyceride ต่ำกว่า

สถาบัน FCI ได้แนะนำเอาไว้ว่า คนที่ไม่มีปัญหาของโรคหัวใจ
ควรให้ระดับ triglycerides ต่ำกว่า 120 mg/dL
ส่วนคนที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน จะต้องมีค่าต่ำกว่า 90 mg/dL

ให้มั่นสั่งเกตุดูรอบเอว:
Jean-Pierre Despes,PhD., Prof. of med., Laval University,St.Foy
ให้ความเห็นว่า ใครก็ตามที่ปล่อยให้ร่างกายมีระดับไขมัน triglyceride สูงถึง 175 mg/dL
หรือสูงกว่า เมื่อนำไปร่วมกับการมีไขมันรอบเอวแล้ว จะเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึง “ความเสี่ยงสูง”
ต่อการเป็นโรคหัวใจ หรือ ได้เป็นเป้าให้โรคหัวใจวิ่งเข้าหาเสียแล้ว

เพื่อความไม่ประมาท หรือจะพูดว่า เพื่อควาปลอดภัย Dr. Despes
แนะให้ทำการวัดรอบเอวทุกเดือน

โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่า ท่านควรให้รอบเอวของท่านอยู่ในระดับทีปลอดภัย
นั้นคือ:

สำหรับท่าน ที่อายุต่ำกว่า 40 ชายมีรอบเอว < 40 นิ้ว, หญิง <35 นิ้ว
ถ้าท่านมีอายุระหว่าง 40 - 65 รอบเอวจะต้องต่ำกว่า 35 นิ้ว

เมื่อเรามีระดับ triglyceride สูง, ระดับ HDls ต่ำ
ละมีไขมันรอบเอวในปริมาณสูง สามารถเป็นกลุ่มอาการของ Syndrome X
ซึ่งตามความจริงแล้ว มันหมายถึงผลรวมของกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง,
น้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่ง เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (heart attack)
ได้ถึงหนึ่งในสาม (จากการศึกษาของ Framingham)

กลุ่มอาการ Syndrome-X อาจเป็นจุดเริ่มต้น (precursor) ของการเป็นทั้งโรคหัวใจ
และ โรคเบาหวาน

Glucose

การตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดในช่วงอดอาหาร จะถูกนำมาใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน
โดยปกติ จะให้อดอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วเจาะเลือดตรวจหาน้ำตาล
ซึ่ง สวนใหญ่จะให้เจาเลือดในตอนเช้า ของคืนที่มีการอดการอาการหลังเที่ยงคืน
ถ้าผลการตรวจมีค่าเท่ากับ 126 mg/dl สอง หรือ สามครั้ง โดยทำการตรวจต่างวันกัน
จะวินิจฉัยได้ทันทีว่า คุณเป็นโรคเบาหวาน

ถ้าผลการตรวจได้ 110 และ 125 บ่งบอกให้ทราบว่า
กำลังจะเป็นโรคเบาหวาน

ผู้ใหญ่ เป็นโรคเบาหวาน มีโรคหัวใจ มีอัตราเสี่ยงต่อความเสียชีวิตได้ถึง 2- 4 เท่า
ของคน ที่ไม่เป็นโรคทั้งสอง
เบาหวาน สามารถทำให้เกิดตาบอด โรคไต ประสาทถูกทำลาย
และสามารถถูกตัดขาได้

เบาหวาน Type 1 มักจะเกิดในคนรูปร่างผอมอายุต่ำกว่า 30
ซึ่ง สามารถควบคุมด้วย insulin

ส่วนเบาหวาน Type 2 จะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ (adult-onset)
ซึ่งมักจะมีความสัมพันธ์สัมพันธ์กับความอ้วน (obesity)
สามารถให้ดีขึ้นได้ด้วยการควบคุมอาหาร, ออกกำลังกาย, และ บางทีให้ insulin

คนเป็นเบาหวาน type 2 สามารถพบได้ 90-95 %
ของคนที่เป็นเบาหวานทั้งหมด

What's Normal:
ค่าของน้ำตาลในเลือด 110 mg/dL หรือต่ำกว่า
จะถูกพิจารณาว่า เป็นค่าปกติ

What's Optimal:
สถาบัน FCI แนะนำไว้ว่า ระดับของน้ำตาลระหว่างอดอาหาร
ควรให้อยู่ที่ 100 mt/dL หรือ ต่ำกว่า
โดยเลือดจุด 110 mg/dL เป็นจุดตัด cutoff
มีหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่า ตนเองเป็นเบาหวาน เพียงเพราะการขาดการใส่ใจในสุขภาพของตนเอง
เช่น ปล่อยให้ตนเองอ้วน น้ำหนักเกิน..

Further Testing:
ถ้าผลการตรวจเลือด พบว่า ระดับน้ำตาลสูง แพทย์อาจตรวจหาค่า A1C test
การตรวจหาระดับน้ำตาลในขณะอดอาหาร สามารถบอกระดับน้ำตาลในเลือดได้ทันที
ส่วนการการตรวจ A1C เราสามารถบอกได้ว่า
ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่ำแค่ใด

Weight

ในปัจจุบัน แพทย์ได้ทำการวัดองค์ประกอบของร่างกาย กับ ปริมาณของไขมันในร่างกาย
โดยการใช้ Body Mass Index (BMI) ว่า ควรอยู่ที่จุดใด ?

เราสามารถหาคา BMI ได้จากสูตร:
Metric formula for BMI
BMI = (Weight in Kilograms / Height in meters x Height in meters)

เพื่อขจัดปัญหาในอนาคต
วัดความยาวรอบท้องตรงตำแหน่งสะดือ (W) หารด้วยความยาวรอบข้อสะโพก(H)
เราจะได้ค่า WHR

ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ต่างพิจารณา “ความอ้วน” (obesity) มันเป็นโรค
มีความรุนแรงเทียบเท่าการสูบบุหรี่

ใครมี BMI สูง หรือ มีรอบเอวสูง หรือ WHR สูง
ทั้งสามถือเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือด และหัวใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งหญิง และชาย

มาในระยะหลัง จาก AHA ได้จัดความอ้วน เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
นอกจากนั้น มันยังเป็นตัวทำให้เกิดโรคเบาหวาน, เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
และทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย

What is normal: ค่า BMI ที่มีค่าต่ำกว่า 25 ถือว่าปกติ

ค่า WHR สำหรับหญิงต้องน้อยกว่า 0.80 สำหรับชาย 0.95 สหรับชาย
ถือว่าเป็นค่าปกติ

AHA และ WHO ให้ค่า BMI ระหว่าง 25-29 เป็นค่าทีีบอกให้ทราบว่า มีน้ำหนักเกิน (overweight)
และถ้า ค่ามากกว่า มากกว่า 30 ถือว่าเป็นค่าของความอ้วน (obesity)
จะเห็นว่า ความอ้วนจะแย่กว่าคนที่มีน้ำหนักเกิน

What's Optimal: ค่าที่ดีที่สุด คือ BMI คือ 21 – 23

วัดรอบเอว 35 นิ้ว สำหรับหญิง, 40 นิ้ว สำหรับชาย ให้ถือว่าเป็นค่าที่ควรกังวล
เพราะมันสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน ในผู้ชาย
จำนวน 28,643 อายุระหว่าง 40-75 โดยแพทย์จาก Harvard School ofืPublic
พบว่า:
ชาย ถ้า WHR มีค่ามากกว่า 0.98 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้สูง
สำหรับตัวเลขนี้ สามารถใช้กับผู้หญิงได้เช่นกัน

Testing Frequency: สุขภาพของคนเราจะต้องดีเสมอ และ ตลอดไป
การที่เราจะทำเช่นนั้นได้ เราจะต้องควบคุม น้ำหนัก, BMI, รอบเอว และ WHR ให้อยูในเกณฑ์ที่กำหนด
ซึ่งเราจะต้องตรวจวัดทุกเดือน พร้อมกับป้องกันไม่ให้มันมีค่าเพิ่มขึ้น
โดยระมัดระวังเรืองอาหาร และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสมำเสมอ

Further Testing: อาจมีบางท่านที่มีระดับ BMI สูง แต่ยังมีสุขภาพดี
ถ้าคุณสามารถออกกำลังกายใด้อย่างดี....เป็น muscular man
แม้ว่า คุณจะมีค่าของ BMI สูง มันก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด
แต่ข้อที่คุณควรระวัง คือ อย่าบอกตนเองว่า การที่มีค่า BMI สูงนั้น
เป็นเพราะกล้ามเนื้อของคุณเป็นอันขาด คุณต้องทำการตรวจให้แน่ใจว่า
มันไม่ใชไขมัน....

IMPROVING YOUR SCORES

ความจริงมีว่า การตรวจที่เกี่ยวกับสภาพของหัวใจทุกชนิด จะมีความสัมพันธ์กัน
และ ปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายจะดีขึ้นจากวิธีการดำเนินชีวิต ที่ทำให้เกิดมีสุขภาพดี

อาหารที่ทำให้หัวใจมีสุขภาพดี (heart-health diet) และการออกกำลังกาย
ร่วมกับการลด Body mass index ลง จะทำให้มีการลดในระดับของ LDLs,triglycerides,
glucose, blood pressure และ สามารถเพิ่มระดับ HDLs

แผนการสำหรับการทำให้ "ดีกว่า" คำว่า "ปกติ"
(Better Than Normal Plan) มีดังต่อไปนี้:

Diet and exercise:

การควบคุมเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย สามารถลด cholesterol ลงได้
20 – 30 %
และ การลดน้ำหนักตัว แม้เพียงลดลง 5 – 10 ปอนด์ สามารถทำให้ระดับความดันเป็นปกติได้ และ
การลดน้ำหนัก สามารถทำให้เบาหวานดีขึ้น

อาหาร: ตัดอาการประเภทไขมันอิ่มตัวออก และเริ่มรับประทานผลไม้ และผักให้มากขึ้น
ผลจากการศึกษา พบความสัมพันระหว่างอาหารที่มีผัก และผลไม้สูง
จะทำให้เกิดโรคหลายอย่างลดลง
เช่น หัวใจน้อย เบาหวาน และ กระดูกพรุน และ ยังช่วยน้ำหนักตัวได้อีกด้วย

Other diet tips:

เพื่อประโยชน์ในด้านสุขภาพ ยังมีคำแนะนำที่ไม่ควรมองข้าม ดังนี้:

o ลดอาหารเค็มลง วันหนึ่งไมกิน 2,400 mg (sodium aslt)
ซึ่งมีค่าเทียบกับเกลือ 1 ซ้อนชา
o เพิ่มอาหารมีสารใยสูง ซึ่งสามารถช่วยลดระดับไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือดลงได้
o รับประทาน omega-3 fatty acids ซึ่งสามารถได้จากน้ำมันปลาแซลมอน,ซาร์ดีน
หรืออาหารเสริมที่เป็นแคบซูล
o รับประทานอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรตแต่พอประมาณ พร้อมกับไขมันไม่อิ่มตัว และ ไขมันทรานซ์
สามารถลดปริมาณ triglycerides ลงได้บ้าง
o ท่านสามารถรับประทานอาหารเสริม ที่ทำจาก red yeast ซึ่งมีส่วนผสมของ statins
หรือ พวก niacin ซึ่งสามารถลดไขมันทั้ง cholesterol และ Triglycerides ได้
o รับประทาน vitamin E 100-400 IU อาจช่วยป้องกันไม่ให้มีไขมันสะสมในผนังหน้าท้อง
และป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะต้านสารอินซูลินได้
o หลีกเลี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะมันอาจทำให้ความดันของท่านสูงขึ้น
หรือทำให้เกิดมีการสะสมไขมันรอบบั้นเอวได้
o ออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อย ๆ วันละ 3 ไมล์ อาทิตย์ละ 5 วัน
สามารถทำให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง เช่น ควบควบระดับน้ำตาล,Cholesterol, triglycerides
และ โรคความดันโลหิต

นอกจากนั้น การออกกำลังกาย ยังช่วยทำให้ระดับ HDLs cholesterol(เป็นไขมันดี)เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน การออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความเครียดลง
ซึ่ง ความเครียด เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดมีไขมันสะสมในบริเวณรอบบั้นเอว
การออกกำลังกายแบบต้านน้ำหนัก วันละ 20 – 30 นาที
อาทิตย์ 2 – 3 ครั้ง ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ...

http://www.michaeltennesen.com/articles/prevention_heart_tests.htm
by Michael Tennesen

All About Triglycerides: บทสัมภาษณ์ของ Dr. Michael Miller

การให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป ใครว่าเป็นเรื่องง่าย
เพราะมันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น และ ศรัทธา
ถ้าคนเขาไม่เชื่อเสียอย่าง...ใครจะช่วยเหลืออะไรได้ ?

จากหมายเหตุของบรรณาธิการ:
ในวารสาร Jounal of The American Heart Assoication
พบว่า การบริโภคอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดระดับของ
Triglyceride ได้อย่างมีนัยสำคัญ ที่น่าสนใจก็คือ
มันมีส่วนสัมพันธ์กับโรคของหัวใจ เส้นเลือด และโรคอื่น ๆ

จากบทสัมภาษณ์ของ Dr. Michael Miller, Cardiologist
จากมหาวิทยาลัย MarylandMedical Center...
น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงสุขภาพ และทำให้ระดับไขมัน triglyceride
อยู่ในระดับ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย:


As compared to lowering cholesterol,
it sounds like lifestyle changes can go a long way
toward lowering cholesterol levels.
ผลจากการศึกษา พบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle changes)
อาจทำให้ระดับของไขมัน cholesterol ลดลงได้เพียง 5 – 10 % เท่านั้น
แต่ในขณะที่ทำให้ไขมัน triglycerides ลดลงได้ถึง 30 – 50 %
ในบางรายอาจลดลงได้มากกว่านั้น

How significant are these findings,
and why should people care and take action?
ข้อความที่ครอบคลุมเรื่องสำคัญ ที่เกี่ยวกับ triglycerides เห็นจะได้แก่ บทบาทของ
Triglycerides ซึ่งทำหน้าทีเสมือนก้บเป็น “ตัวบ่งชี้” ให้ทราบกับกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร
ที่ก่อให้เกิดสุขภาพของร่างกาย (metabolic health):

 การที่ใครก็ตาม สามารถทำให้ระดับ triglycerides อยู่ในระดับที่ดี (ปกติ)
ย่อมบอกให้ทราบว่า ร่างกายของเขามีการเผาผลาญที่ดี ไขมันถูกทำให้แตกสลายไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ส่วนในรายที่มีระดับ triglycerides สูง บอกให้ทราบว่า ภายในร่างกายของเขา
มีความบพร่องในการเผาผลาญไขมันไป ซึ่ง จะนำไปสู่การสะสมไขมันในร่างกายในปริมาณที่มากเกิน
ยกตัวอย่าง ไขมันที่มากเกินถูกสะสมในกล้ามเนื้อ อาจนำไปสู่การทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองสารอินซูลิน
และทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานได้ , ทำให้มีไขมันสะสมในบริเวณรอบบั้นเอว อาจทำให้เกิดการอักเสบ ,
ทำให้เกิดมีไขมันสะสมในตับ (fatty liever) และ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ความเป็นจริง การที่ท่านมีระดับไขมัน triglyceride ในกระแสเลือดสูง
ท่านอาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า โอกาสของการเป็นโรคเบาหวานกำลังเดินทางมาสู่ท่านในไม่กี่ปีข้างหน้า
ดังนั้น จะเป็นการดี ถ้า ท่านสามารถดูแลตนเอง ด้วยการตรวจเช็คดูระดับ triglycerides อย่างใกล้ชิด
ถ้าพบว่า ปริมาณสูง ท่านสามารถช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของท่านเองได้

What are triglycerides, and why are they important?
Triglycerides คือไขมันที่อยู่ในร่างกายของคนเรา
ในกรณีทีมันมีระดับสูงกว่าปกติ มันหมายความว่า ร่างกายของเรากำลังบรรทุกไขมันเกินความจำเป็น
ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลย เพราะการที่ร่างกายของเรามีไขมันที่ไร้ประโยชน์ตัวนี้
มันบอกให้เราได้ทราบว่า ร่างกายของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และ โรคหัวใจแล้ว

Talk about the work your committee did, as well as the key findings.
ผลของคณะทำงานวิจัย ประกอบด้วยแพทย์ และนักวิทยาศาตร์
ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์บทความเกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง triglycerides จำนวน 500 เรื่อง
จากหลายประเทศ พบว่า:

ตัว triglycerides จะทำหน้าที่สำคัญ ในการบอกให้ทราบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
โดยพบว่า การมีระดับ triglyceride สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ถึง 20 – 50 %
และหากคนไข้รายนั้น (triglyceride สูง) และมี LDL cholesterol สูงด้วย
โอกาสที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว

การมีระดับ triglycerides สูง ยังมีส่วนร่วมในการเพิ่มปริมาณไขมันรอบเอว,
ความดันโลหิตสูงขึ้น, และทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองต่อ “อินซูลิน”

สำหรับการตรวจเลือด เพื่อดูระดับ triglyceride เพื่อหวังผลในการครัดกรอง
สามารกระทำได้โดยไม่ต้องอดอาหาร (non-fasting)
ถ้าผลพบว่า triglyceride น้อยกว่า 200 การตรวจอาจยุติลงแค่นั้น
ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งภายในหนึ่งปี

ถ้าผลที่ได้มากกว่า 200 หรือมากกว่า ควรทำการตรวจในขณะอดอาหาร (fasting)
ภายใน 2- 4 อาทิตย์

It sounds like triglycerides are somewhat similar to cholesterol.
Can you talk about that, as well as why the public is so familiar
with lowering its cholesterol levels but not its triglycerides?

คนส่วนใหญ่จะให้ความสนในจต่อระดับ cholesterol มากกว่า triglyceride
Cholesterol เป็นสารที่มีลักษณะเหมือนขี้ผึ้ง ส่วนสาร triglycerides มีลักษณะเหมือนไขมัน
แต่ทั้งคู่เมื่ออยู่ในร่างกาย มันจะจับตัวกับสาร lipoproteins
ซึ่ง จะมีการ transport ให้กระจายไปในที่ต่าง ๆ ของร่างกาย
ยกตัวอย่าง triglyceride-rich lipopreteins ซึ่งประกอบด้วย chylomicrons
(ซึ่งทำหน้าที่นำพาไขมัน triglycerides ทีได้หลังจากรับประทานอาหารไขมัน)
และ VLDL (สารที่มีอนุภาคที่มีความเข็มข้นต่ำมาก ๆ)
โดยมันจะนำ triglycerides มาจากตับ

Triglycerides ที่อยู่ในร่างกาย จะถูกทำให้เกิดการแยกสลายตัว และถูกสะสมไว้ใน
กล้ามเนื้อ เป็นพลังสำรองเพื่อใช้ในโอกาสที่ร่างกายต้องการต่อไป

ส่วนcholesterol rich lipoproteins ซึ่งประกอบด้วย LDL และ HDL
มันจะถูกส่งไปยังเนื้อเยื้อต่าง ๆ ของร่างกาย
(ทั้งไป และ และถูกส่งออกมาจากเนื้อเยื้อ)

What are the current guidelines for triglyceride levels,
and what is the optimal level?

ในสมันก่อน ระดับไขมัน triglycerides ถูกจัดให้มี 4 ระดับด้วยกัน
แต่ในปัจจุบันมี 5 ระดับ:
 ระดับที่ดีที่สุด (optimal level) ซึ่งมีค่าต่ำว่า 100
 ระดับที่พอใจ (desirable level) ต่ำกว่า 150
 ระดับปกติสูง (borderline-high) มีค่าระหว่าง 150 – 199
 ระดับสูง (high level) มีค่าระหว่าง 200 – 499
 ระดับสูงมาก (very high) มีค่า 500 ขึ้นไป

What can people do to lower their triglyceride levels?

เป็นที่ยอมรับกันว่า ระดับ triglyceride สูง
ตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีมาก ๆ
ซึ่ง ประกอบด้วย การลดน้ำหนักตัว (หากพบว่าร่างกายมีน้ำหนักเกิน )
ลดปริมาณอาหารในแต่ละวันลง, จำกัดพวกของหวาน เช่น ของหวาน และพวก fructose,
ลดพวกไขมันอิ่มตัว และกำจัดไขมันทรานซ์

การออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง...
สามารถลดระดับ triglycerides ได้เป็นอย่างดี

Are there specific foods people should eat more of and avoid,
and forms of exercise that are better than others?

สำหรับคนที่มีสตางค์ สาร Omega-3 fatty acid ประกอบด้วย EPA และ/
หรือ DHA จัดเป็นสารที่มีประโยชน์ สามารถลดระดับไขมัน triglycerides
ลงได้ เป็นสารที่สามารพบได้จากมันที่ได้จากปลา เช่น ปลาซาร์ดิน เทร้า และ ปลาทูนา
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ น้ำตาลเชิงเดียว (simple sugar)
เช่น น้ำตาลในขนมหวาน, น้ำหวาน...), ไขมันอิ่มตัว (saturated fats)
และไขมันทรานซ์ ( transfats)

การออกกำลังกายแบบ “แอโรบิก” สามารถลดระดับขัน triglyceride
ที่มีระดับสูงได้

http://medcenterblog.org/2011/04/all-about-triglycerides-an-interview-with-dr-michael-miller/

Feb. 18,55

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Triglycerides

Triglycerides เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกาย
ตามความเป็นจริงปริมาณของอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นจำนวนมาก ๆ
ไม่ว่าจะเป็นไขมัน (fat) หรือพวก carbohydrates มันจะถูกเปลี่ยนไปเป็น triglycerides
และสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน (fatty tissues)

ความสัมพันธ์ระหว่าง triglycerides และ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ของระบบ เส้นเลือดและหัวใจ

ภาวะที่มีไขมัน triglycerides ในกระแสเลือดสูง ถูกเรียกว่า Hypertriglyceridemia
ซึ่งมักจะปรากฏร่วมกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
ที่เกิดในผู้ชาย และหญิง นอกจากนั้น ยังปรากฏอีกว่า
คนที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจรวมกับมีระดับ triglycerides สูง จะมีอัตราเสี่ยงต่อความตายได้สูงกว่า
ส่วนพวกที่มีระดับ triglyceride ปกติ จะมีอัตราเสี่ยงต่อความตายต่ำกว่า

คำถาม:
เมื่อใดเราถึงจะบอกว่า ระดับไขมัน triglyceride สูง?

Triglyceride ในกระแสเลือดถูกแบ่งเป็นสามระดับ ดังนี้:
o Desirable: triglyceride มีค่าต่ำกว่า 150 mg/dL
o Borderline high: triglyceride มีค่าระหว่าง 150 – 199 mg/dL
o High: triglyceride มีค่าระหว่าง 200- 499 mg/dL
o Very high: triglyceride มีค่า 500 mg/dL หรือมากกว่า

โดยทั่วไป ระดับ triglyceride ของท่านยิ่งสูง อัตราเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจ
ของท่านย่อมมีได้สูง นอกเหนือจากนั้น ในกรณีที่ระดับ triglycerides สูงมาก 500 mg/dL ขึ้นไป
โอกาสที่จะเกิดการอักเสบของตับอ่อนย่อมมีได้สูง (pancreatitis)
เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างมาก

คำถาม:
อะไร คือสาเหตุทำให้ ระดับ triglycerides ในเลือดสูง ?

คนที่มีระดับ triglycerides สูง สามารถเกิดจากอาหารที่ท่านรับประทาน
และความผิดปกติทางด้าสนพันธุกรรมเป็นหลัก
นอกจากนั้น ระดับที่สูงขึ้นยังเกิดจากภาวะผิดปกติทางกายหลายอย่าง เช่น:

o ความอ้วน (Obesity)
o โรคเบาหวาน และ กลุ่ม เมทตาบอลิค
o โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (hypothyrodism)
o โรคไตวายเรื้อรัง
o ยาบางชนิด เช่น estrogen replacement, beta blocker
และยารักษามะเร็งเต้านม (tamoxifen)

คนส่วนใหญ่ ที่มีระดับ triglyceride ในเลือดสูง จะมีกลุ่มของ metabolic syndrome เสมอ
ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เป็นเหตุใหเกิดโรคเส้นเลือด (coronary artery disease)
เช่น HDL cholesterol ต่ำ, LDL cholesterol สูง, อ้วน (obesity),
ความดันสูง (hypertension), โรคเบาหวานที่ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน(Insulin resistance)
และ มีแนวโน้มเกิดการจับตัวของเกล็ดเลือด (clotting)

การรักษารายที่มีระดับ triglyceride สูง:

ในปัจจุบัน เราไม่มีแนวทางเฉาะต่อการรักษาภาวะ triglycerides สูง
ไม่เหมือนกับแนวทางการรักษา cholesterol
ซึ่งมีแนวทางเฉพาะ ให้เรานำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีระดับ cholesterol ที่สูงผิดปกติ

ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพบคนไข้ที่มระดับ triglyceride สูง
การรักษา จะมุ่งตรงไปที่ "ลดปัจจัยเสี่ยง" ทั้งหลายที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดแดงของหัวใจ
และมีการเน้นไปที่ LDL cholesterol เป็นพิเศษ
โดยไม่ค่อยจะให้ความใส่ใจต่อระดับ triglyceride เท่าใดนัก

แนวทางทั่วไปในการรักษา hypertriglyceridemia มีดังนี้:

 สำหรับ Boderderline high range (150-199 mg/dL)
แนะนำให้รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(lifestyle modification)
ซึงประกอบด้วย อาหาร (ปราศจากไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์, รับประทานอาการประเภท
ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์) , ลดน้ำหนักตัว, ออกกำลังกาย, งดสูบบุหรี่,
ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด, และ ควบคุมความดันโลหิตสูง

 สำหรับ High range (200-499 mg/dL)
แนะนำให้รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนกับที่กล่าวใน borerline high range
ร่วมกับการลดระดับไขมัน LDL cholesterol ลง

 สำหรับราย Very high range ( 500 mg/dL หรือมากกว่า)
เป้าหมายสำคัญของการรักษา คือ ป้องกันไมให้เกิดการอักเสบของตับอ่อน (pancreatitis)
โดยลดระดับของ triglyceride ให้ต่ำกว่า 500 mg/dL ก่อน
โดยใช้ยากลุ่ม fibrates หรือ niacin
หลังจากนั้น จึงหันเป้าหมายไปลดระดับ LDL cholesterol

ถ้าหากท่านมีไขมัน triglyceride ในกระแสเลือดสูง
สิ่งที่ควรจะต้องกระทำ ให้มุ่งประเด็นไปที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
ซึ่งแน่นอน ท่านมีงานจะต้องทำหลายอย่าง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจลง

Continue > triglycerides: What about medication ?

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Triglycerides : What about medication? (cont.)

(cont.)
ความจริง:

ถ้าผลจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถควบคุมระดับ triglycerides ได้
แพทย์อาจแนะนำให้ท่านใช้ยา (medication)ร่วม
ซึ่งสามารถช่วยลดระดับ triglycerides ลงได้

โดยทั่วไป เป้าหมายของการรักษา จะมุ่งตรงไปที่ลดระดับไขมัน LDL (low cholesterol)
ต่อจากนั้น จึงไปแก้ไปแก้ไขเรื่อง triglyceride ที่มีระดับสูงต่อไป
ยาที่ใช้ในการลดระดับไขมัน cholesterol ได้แก่:

o Niacin. บางทีเรียกว่า nicotinic acid
เป็นยาที่สามารถลดระดับ triglycerides และ LDL ได้
ข้อควรระวัง อย่าซื้อยากินเองจากร้านขายยา เพราะ มันสามารถทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่น
ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

o Fibrates. ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ fenofibrate เป็นยาที่สามารถลด triglycerides ได้

o Statins. ถ้าท่านมีระดับ HDL ต่ำ, LDL สูง
แพทย์อาจแนะนำให้แนะนำให้ท่านรับประทานยากลุ่ม statins แก่ท่าน
หรือ แพทย์อาจให้ยาร่วมกันระหว่าง Statins กับ niacin
หรือ statins กับ fibrates แก่ท่าน

ในการให้ยา statins หากเกิดมีอาการผลข้างเคียงขึ้น เช่น ปวดกล้ามเนื้อ, คลื่นไส้, ท้องร่วง หรือ ท้องผูก...
ท่านต้องรายงานให้แพทย์ได้ทราบทันที

o Omega-3 fatty acid supplements.
Omega 3 fatty acid supplements เป็นสารที่สามารถลดระดับ cholesterol ลงได้
แพทย์อาจสั่งให้ท่านกินยา ลดสาร cholesterol ด้วย statins โดยให้ร่วมกับ omega-3 fatty acid

ข้อระมัดระวัง omega -3 fatty acid อาจทำเกิดผลข้างเคียงได้
เช่น เป็นไข้ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ...
เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ท่านต้องบอกแพทย์ทันที

อาการข้างเคียงที่ไม่ค่อยรุนแรงของ omega-3 fatty acid ได้แก่ ปวดหลัง
มีรสประหลาดเกิดขึ้น และอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia)

ขนาดของยา omega-3 fatty acid
แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้ 1000 mg (DHA and EPA) ต่อวัน สำหรับคนเป็นโรคหัวใจ

ในกรณีที่จำเป็นต้องให้ในขนาดสูง ๆ เช่น 3 grams หรือสูงกว่านั้น สามารถทำให้เกิดการตกเลือด
ในกรณีที่มีโรคเลือด หรือกำลังได้รับยายาประเภท coumadin , plavix
และยาแก้ปวด บางตัว สามารถทำให้เกิดตกเลือดได้

สุดท้าย เมื่อแพทย์สั่งยาลด triglycerides ท่านจะต้องกินยาตามสั่ง
ในขณะที่ท่านใช้ยาตามแพทย์สั่ง รวมกับการควบคุมเรื่ออาหารการกิน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความสำคัญต่อการลดระดับ triglyceride ได้เป็นอย่างดี

http://www.mayoclinic.com/health/triglycerides/CL00015
http//www.webmed.com/healthy-aging/omega-3-fact-sheet?page=3
http://www.healthdisease.about.com/od/cholesteroltriglyceride1/a/Triglycerides.htm

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Mild Heart Attack & Unstable Angina (cont.)

จำเป็นอะไรนักหรือ ทำไมจึงต้องวินิจฉัยให้ได้ว่า คนไข้เป็น unstable angina
ไม่ใช้เป็น mild heart attack ?

คนที่มีอาการ unstable angina หรือ mild heart attack
อาจปรากฏในรูปของคนเป็น stable angina
ทั้ง ๆ ที่ ความเป็นจริงแล้ว มันเป็นภาวะที่ไม่มีความรุนแรงเลย
หรือ มันอาจเป็นภาวะที่มีอันตรายสูง (high risk heart attack)
หากให้การรักษาไม่ถูกต้อง อันตรายย่อมเกิดแก่คนไข้ถึงตายได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นยิ่ง ที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยให้ถูกต้องว่า
ท่านเป็นโรคอะไร?

Unstable angina และ mild heart attack
แตกต่างจาก stable angina อย่างไร ?

ส่วนใหญ่แล้ว คนเป็น unstable angina จะมีความแตกต่าง
จากคนเป็น stable angina ด้วยอาการเพาะทางเจ็บหน้าอก ดังนี้:

 ในรายที่เป็น stable angina อาการเจ็บหน้าอก มักจะเกิด
ในขณะที่มีการออกแรง หรือ ภายใต้ความเครียด
ซึ่งจะบรรเทาลงหลังจากได้พัก การเกิดแต่ละครั้ง จะกินเวลาประมาณ 1 – 15 นาที
และสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด

 ส่วนในรายที่เป็น unstable angina เป็นอาการเจ็บอกที่เกิด
ในขณะพักผ่อน ไม่มีรูปแบบปรากฏให้เห็น เกิดได้บ่อยกว่าคนเป็น stable angina
มีอาการรุนแรงกว่า เป็นได้นานกว่า 15 นาที

Unstable angina หรือ mild heart attack จะมีความ
แตกต่างจาก stable anginaอย่างไร ?

คนไข้เจ็บหน้าอกนั้น จากภาวะขาดเลือดและออกซิเจนนั้น เป็นชนิดใด?
เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า EKG ทำการตรวจ สามารถบอกให้ทราบว่า ภาวะขาดเลือด
ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นชนิดใด?

จากกราพที่r[ได้ใน EKG:
ถ้าพบ ST-segment elevation จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น heart Attack
ถ้าตรวจพบ non-ST-elevation จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น unstable angina
หรือ เป็น mild heart attack อย่างใดอย่างหนึ่ง

ถ้าเราสามารถแยกภาวะ stable angina และ typical heart attack ออกไปได้แล้ว
ภาวะที่เหลือ คือ unstable และ mild heart attack

ระหว่าง unstable angina และ mild heart attack
ซึ่งทั้งสองกรณี สมารถแยกออกจากกันได้ด้วยการตรวจเลือด ดูสาร “โปรตีน”
ที่ถูกปล่อยออกมาโดยกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายไป

เมื่อเราสามารถวินิจฉัยได้ว่า คนไข้เป็น unstable angina หรือ เป็น
Mild heart attack เราจำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อไป
เพื่อดูตำแหน่งที่มีการอุดตันของการไหลเวียนของเลือด และดูความรุนแรงของโรค
เช่น stress EKG, echocardiogram (ultrasound ของหัวใจ)
หรือทำ nuclear imagine
หรือ ทำการตรวจเส้นเลือด (coronary)ด้วยเอกซเรย์-angiogram

การรักษาภาวะ unstable angina และ mild heart attack:

ป้าหมายในการรักษาคนไข้ที่เป็น unstable angina
ประกอบด้วย ลดความเจ็บหน้าอก และป้องกันไม่ให้ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ตลอดรวมถึงการป้องกันปัญหาอย่างอื่น ที่จะเกิดขึ้นกับหัวใจ
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย ลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ที่พึงจะเกิดขึ้นกับหัวใจ
โดยการใช้ยารักษา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(ABCDE):

 Aspirin and anti-angina medication
 Beta blocker and blood pressure
 Cholesterol and cigarettes
 Diets and diabetes
 Education and exercise

มียาอะไรบ้าง ที่ถูกนำมาใช้รักษาภาวะ unstable angina/ mild hart attack?

มียาหลายชนิดถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่อยู่ในภาวะ unstable angina
ส่วนใหญ่ คนไข้จะได้รับ Nitroglycerin (...ให้พ่นเข้าปาก)
เขาจะใช้ยาดังกล่าว เมื่อเกิดมีอาการเจ็บอกขึ้น และไม่ทุเลาลงในเวลา 2 – 3 นาที

Nitroglycerin ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เส้นเลือดขยายตัว
ทำให้เลือด และออกซิเจน ไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้น คนไข้อาจได้รับยาต้านการขาดเลือดตัวอื่น (anti-ischemiฟ drugs)
เช่น Beta blocker หรือ calcium channel blockers

นอกจากนั้น คนไข้จะได้รับ aspirin วันละครั้ง เป็นยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
เป็นการป้องกันไม่ให้มีการสร้างก้อนเลือดเกิดขึ้น
นอกจาก aspirin แล้ว คนไข้อาจได้รับยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือดอีกตัว
คือ clopidogrel(Plavix)....

What if I also have heart disease risk factors?

คนส่วนใหญ่ที่มี unstable angina เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ
ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำการควบปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ
เช่น ถ้าท่านสูบบุหรี่ ท่านจะต้องงด ท่านจะต้องออกกำลังกายให้สมำสมอ(4 – 5 วัน ในหนึ่งอาทิตย์)
อย่าให้น้ำหนักตัวเกิน และรับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ

ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้ให้คำแนะนำว่า ท่านควรออกกำลังชนิดจึงจะเหมาะสมกับสุขภาพของท่าน
ถ้าท่านมีระดับไขมันในกระแสเลือดสูง แพทย์จะให้ยาลด (lipid-lowering medication)
เช่น ยาในกลุ่ม stains เช่น lipitor

ท่านจำเป็นต้องได้รับการควบคุมความดันให้เป็นปกติ ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยด้วยยาในกลุ่ม beta-blocker
หรือ calcium channel blockers

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ท่านควรควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ
การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
ซึ่งเป็นทางเดียว ที่ท่านสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวตั้งแต่แรก

Will I need stents or bypass surgery?

บางคนที่มาพบแพทย์ด้วย unstable angina หรือเป็น Mild heart attack
สามารถรักษาด้วยยาเพียงอย่าง เดียว ส่วนบางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการทำ angioplasty

เมื่อแพทย์เห็นตำแหน่งที่การตีบตันของหลอดเลือดแล้วว่าอยู่ตรงตำแหน่งใด
จะมีการใช้ balloon ถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบ ให้ขยายออก
หรือการทำการผ่าตัด bypass surgery ซึ่งเป็นการผ่าตัด แก้ปัญหาการอุดตันของหลอดเลือด
โดยหาทางนำเลือดลัดผ่านจากบริเวณเหนือต่อจุดอุดตันไปตามท่อ ไปสู่บริเวณใต้ต่อจุดอุดตัน

ไม่ว่าท่านจะได้รับการรักษาแบบใด มันขึ้นกับความรุนแรงของโรคหัวใจเป็นหลัก
และยาที่ให้นั้นสามารถลดอาการเจ็บหน้าอกหรือไม่

เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้มีการเปรียบเทียบการรักษาสองรูปแบบ:
o Conservative strategy:
เป็นการรักษาแบบอนุรักษ์ หรือหารักษาด้วยวิธีการประคับประคอง ด้วยการใช้ยารักษาก่อน
หากคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์จะเปล่ียนเป็นการผ่าตัดใส่stents หรือทำ bypass surgery

o Aggressive strategy:
เป็นกลยุทธเชิงรุก ถุกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่หัวใจขาดเลือด ด้วยการวิธีการสวนภายในหัวใจ และเส้นเลือด
(Catheterization) ภายหลังการขยายหลอดเลือดเสร็จ
จะมีการใส่ขดลวดเล็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดตีบซ้ำ ขดลวดเรียก stent หรือทำ bypass surgery
ซึ่ง เป็นวีธีการที่ลดความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดต่อความตาย หรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
โดยเฉพาะในรายที่ความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในคนไข้ที่เป็นผู้หญิง

ในรายที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่รายที่มีอาการแสดงของกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
ซึ่งพวกนี้ จะมีระดับของโปรตีนที่ถูกปล่อยเกิดจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บ เช่น
Troponin และ CKMB

สำหรับคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เขาจะได้รับประโยชน์จากวิธีการดังกล่าวหรือไม่ ?

มีรายงานว่า คนไข้ชาย จะได้รับผลดีจากกลวิธีเชิงรุก(aggressive strategy)
ดีกว่าคนไข้เพศหญิง
แต่บางรายงานบอกว่า ทั้งชาย และหญิงจะได้รับผลประโยชน์จากการทำการรักษา
ด้วยวิธี aggressive strategy เท่ากัน ?

ในรายที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk) และอาการเจ็บหน้าอกไม่ตอบสนองต่อ
การรักษาด้วยการทำ stents และ ทำ bypass จะเป็นวิธีทีดีที่สุด
ที่สามารถทำให้คนไข้หายจากความเจ็บหน้าอก และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

http://www.hearthealthywomen.org/cardiovascular-disease/unstable-angina-mild-heart-attack/mha4.html

Mild Heart Attack & Unstable Angina

What is unstable angina?

เมื่อเราได้ยินแพทย์เขาพูดคำว่า unstable angina
เขาหมายถึงภาวะอย่างหนึ่งของหัวใจ เกิดมีอาการเขาดเลือด และออกซิเจนเข้า
ทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
ซึ่ง เป็นอาการที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด
เพราะ มันไม่มีเหตุไปกระตุ้นให้เกิดซะด้วยซิ...
เช่น ออกแรง หรือ มีความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรามักพบเห็นในคนที่เป็น stable angina
ซึ่งเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจนเช่นกัน
แต่ทว่า...ไม่มีความผิดปกติใด ในกล้ามเนื้อของหัว

คนไข้ที่หัวใจของเขาเกิดขาดเลือด และออกซิเจน ที่จัดอยุ่ในกลุ่ม unstable angina
จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสภาพรุนแรง เพราะมันสามารถนำความตาย
หรือทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack) ได้
เมื่อนำมันไปเปรียบกับพวก stable angina แล้ว จะพบว่า
จะพบว่า คนที่เป็น unstable จะรู้สึกว่าเกิดอาการเจ็บหน้าอกได้บ่อย
รุนแรงกว่า และสามารถเกอิดขึ้นได้แม้แต่ในขณะที่มีการพักผ่อน

ดังนั้น หากท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นเวลานาน ไม่ยอมหายไปในเวลา 15 นาที
มันอาจเป็นสัญญาณเตือนให้ท่านทราบว่า...
มันน่าจะเป็น unstable angina ซะแล้วละ

What is a mild heart attack?

ในระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน (heart attack)
ก้อนเลือดที่อยู่ในเส้นเลือดแดงขนาดเล็ก ๆ ของหัวใจ
สามารถทำให้เกิดการอุดตันกระแสเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
ภายใต้ภาวะดังกล่าว เราสามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลงในคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (EKG)
ซึ่งเราเรียกว่า ST-segment elevation

อย่างไรก็ตาม บางคนที่เส้นเลือดไม่อุดตัน 100 % ยังมีเลือดไหลผ่านไปได้บ้าง เป็นพัก ๆ
ในกรณีดังกล่าว จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “mild heart attack”
ซึ่งในคนไข้พวกนี้ เมื่อตรวจดู EKG เราจะพบลักษณะที่เรียกว่า non-ST-segment elevation
ทางศัพท์แพทย์เรียกภาวะหัวใจเลือดชนิดนี้ว่า
non-St-segment myocardial infarction หรือ NSTEMI

What is the difference between unstable angina and a mild heart attack?

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจของท่านเกิดการขาดเลือด แลออกซิเจนเข้า
เราจะบอกได้อย่างไรว่า หัวใจของท่าน ตกอยู่ในภายใต้ภาวะใด ระหว่าง
unstable Angina หรือ Mild heart attack?

เรามีเครื่องมือสำหรับช่วยแยกภาวะทั้งสอง ซึ่งต่างเป็นโรคหัวใจที่มีอาการ
และสาเหตุเหมือนกัน นั่นคือ ต่างขาดเลือด และออกซิเจนด้วยกันทั้งคู่
เครื่องมือในการช่วยแยกภาวะทั้งสอง คือ การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัตการนั่นเอง

ในรายที่เป็น mild heart attack เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจะลดลงมากพอ
จนเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อของหัวใจถูกทำลายลงได้
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายลง มันจะปล่อยโปรตีนหลายตัวออกสู่กระแสเลือด
ที่สามารถตรวจพบทางห้องปฏิบัติการ คือ troponins และ creatine kinase-MB(CK_MB)

ถ้าทตรวจพบสารโปรตีนดังกล่าว ท่านบอกได้เลยว่า เป็นโรค mild heart attack หรือ NSTEMI
ถ้าท่านมีอาการเจ็บหน้าอก และตรวจเลือดแล้วไม่พบสารโปรตีนทั้งสองตัวตาทีกล่าวถึง
ท่านน่าจะเป็น unstable angina
...ง่ายนิดเดียว

Mild Heart Attack - Symptoms & Causes

What are the symptoms of unstable angina and mild heart attack?

มีผู้คนจำนวนไม่น้อย มาพบแพทย์ด้วยอาการของ unstable angina
หรือ mild heart attack โดยที่เขาเหล่านั้นมีอาการแจ็บหน้าอก
ซึ่งบางท่านจะบอกว่า อาการที่เกิดมีลักษณะเหมือนหน้าอกถูกบีบรัด
(squeezing) แน่นหน้าอก (tightness)
และปวดที่บริเวณต้นแขนทั้งสองข้าง

อย่างไรก็ตาม มีคนไข้จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะสุภาพสตรี ที่มีอายุ เกิน 65
มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการที่ผิดแปลกออกไป เช่น:

o หายใจลำบาก (shortness of reath)
o คลื่นไส้ (nausea)
o เหงื่อออก (sweating)
o เป็นลม (fainting)
o ปวดในบริเวณกราม ในคอ (throat) ไหล่ และ คือ

Who gets unstable angina or mild heart attack?

จากสถิติของสหรัฐฯ
ในแต่ละปี จะมีคนถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ด้วยอาการ unstable angina ถึง 1.4 ล้านคน
ในจำนวนดังกล่าว ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่มีอาการ unstable angina จะเป็นผู้หญิง
และในจำนวนผู้หญิงเหล่านั้น พบว่าอายุมากกว่า 65 จะมีถึง 60%
ในคนไข้เหล่านี้ มักจะเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ หรือ เป็นโรคหัวใจ
โดยพบว่า ผนังเส้นเลือดมันหนาตัวขึ้น จากคราบไขมัน (fatty plague)เกาะตามผนังเส้นเลือดแดง
ทำให้เส้นเลือดตีบแคบ หรืออุดตัน เกิดการขัดขวางกระแสไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจ
เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ละออกซิเจน

สำหรับสตรีผู้ตกอยู่ภายใต้ภาวะ unstable angina หรือ Mild heart attack
มีแนวโน้มที่จะเกิดในคนหญิง ที่มีอายุมากกว่าชาย ถึง 5 ปี
และเธอมักจะมีโรคความดันสูง เป็นเบาหวาน หรือ เป็นโรคหัวใจวายมาก่อน

สำหรับชาย ที่มาด้วย unstable angina หรือ heart attack นั้น
มักจะเป็นโรคที่รุนแรงกว่าสตรี โดยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
หรือได้รับการผ่าตัด bypass มาก่อน

นอกเหนือไปจากนั้น จากการศึกษายังพบอีกว่า สตรีส่วนใหญ่ (85%)
ที่เป็นโรคทั้งสองอย่าง (unstable angina & mild heart attack)
มักจะเกิดขึ้นในชวงของหมดประจำเดือน
และ สตรี มีแนวโน้มที่จะเป็น unstable angina ได้มากว่า mild heart attack

What causes unstable angina or mild heart attack?

มีปัจจัยหลัก ๆ 5 อย่าง ที่เป็นต้นเหตุของ unstable angina
และ Mild heart attack ซึ่งหมายความว่า ในคน ๆ เดียวอาจมีมากว่าหนึงปัจจัยขึ้นไป

ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ ที่พบได้บ่อยสุด คือ การเกิดมีก้อนเลือดขึ้นภายในเส้นเลือดแดง
โดยเกิดขึ้นภายหลังจากคราบไขมัน (plauge) ที่เกาะตัวตามผวอภายในของเส้นเลือดแดง

ปกติคราบไขมันที่เกาะตัวบนผิวของเส้นเลือดแดง มันจะแข็ง เมื่อถุูกพลังจากกระแสเลือดกระแทก
อาจทำให้คราบดังกล่าวเกิดแตกขึ้น เมื่อมันแตก จะมีเลือดออกจากเส้นเลือด ไหลเข้าสู่กระแสเลือด
ในขณะเดียวกัน ร่างกายของคนเรา พยายามที่จะหยุดเลือดที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยการจับตัวของเกล็ดเลือด
สร้างเป็นก้อนเลือด (clot) ตรงบริเวณที่เกิดการแตกของคราบไขมัน

ถ้าก้อนไขมันที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่พอ สามารถอุดตัน และสกัดกั้นเลือด และออกซิเจน
ไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นในที่สุด
นั้นเป็นภาวะที่กล้ามเน้ือหัวใจต้องการเลือด และออกซิเจน

สาเหตุที่พบน้อยลงมา คือ เส้นเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery)
เกิดการหดเกร็ง (spasm) ทำให้เส้นเลือดตีบแคบลง เกิดภาวะที่เรียกว่า
Prinzmetal’s angina หรือ variant angina
ซึ่งพบใน "ชาย" ได้มากว่า "หญิง" เป็นภาวะที่พบได้น้อย

ถ้าใครก็ตามที่มีอาการของ unstable angina โดยไม่มีการอุดตัน
หรือ เส้นเลือดแดงของหัวใจตีบแคบ กรณีดังกล่าวเรียก
“Syndrome X” ซึ่งพบได้ในหญิงมากกว่าชาย

ในคนไข้บางราย เกิดภาวะ unstable angina จากเส้นเลือดแดงเกิดการอักเสบขึ้น
และ การอักเสบที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บ หรือ การอักเสบ

การตอบสนองดังกล่าว อาจถูกระตุน้ด้วยเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสบางชนิด
รวมถึงเชื้อ Chlamydia pneumoniae
ซึ่ง เป็นเชื่อโรค ที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบหายใจ,
Helicobacter pylori (H. pylori) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
และ cytomegalovirus (CMV) ซึ่ง เป็นกลุ่ม viruses ในตระกูล Herpes
ถือว่าเป็นโชคไม่ค่อยดีสำหรับคนเรา เพราะเราไม่สามารถที่จะป้องกันตัวของเราจากเชื้อดังกล่าว

มีคนไข้จำนวนหนึ่ง มีสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกจากสาเหตุอื่น นอกเหนือไปจากโรคหัวใจ
ซึ่งเราเรียกว่าเป็น secondary unstable angina
เจ็บหน้าอก (angina) ชนิดนี้ เป็นผลปริมาณของออกซิเจนลดน้อยลง
โดยไม่มีโรคของหัวใจแม้แต่น้อย

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เกิด secondary angina ได้แก่:
o เป็นไข้ (fever)
o หัวใจเต้นเร็วมาก (excessively fast heart rated)
o ได้รับ thyroid hormone มากไป
o ความดันโลหิตลดต่ำ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง
o โรคเลือดจาง (anemia)
o ความเข็มข้นของออกซิเจนในเลือดลดลง

Continue> Mild Heart Attack & Unstable Angina

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Anxiety Attack Symptoms

สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างหนึ่ง สำหรับแพทย์ทั่วไป
เมื่อ มีโอกาสสัมผัสกับคนที่มีอาการทางความเครียด และกังวลเข้า
แล้ว "บังอาจ" ไปบอกคนไข้ว่า สิ่งทีเขาเป็นนั้น เป็นอาการทางประสาทนะ!
ถ้าคนไข้เชื่อก็ดีไป ถ้าไม่เชื่อละ...?
ที่น่ากลัวที่สุด คือ คนไข้เขาจะโกรธเอา โดยไม่รู้ตัว

มีโรคหลายชนิด ที่สามารถทำให้เกิดกลุ่มอาการทางประสาท
ซึ่งได้แก่ อาการเครียด วิตกกังวล หรือ ความกลัว
ถ้าแพทย์ตรวจร่างกายท่านแล้ว และบอกให้ท่านทราบว่า
อาการที่เกิดนั้น เป็นผลจากความเครียด และความกดดัน ที่ทำให้เกิดมีอาการเช่นนั้น
และเนืองจาก คนเราทุกคนมีโอกาสเกิดความเครียด และวิตกกังวลได้ทุกคน
การได้มีโอกาสรับรู้ว่า เมื่อเราตกอยู่ในภาวะดังกล่าวเข้า
จะมีอาการอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง อาจทำให้เราได้รู้ และเข้าใจว่า
คนที่เราบังเอิญไปสัมผัสเข้า มีอาการทางความเครียด ก้ไม่น่าจะเสียหายตกใหน ?

ความเครียด ความกังวล และความกลัว ที่เกิดขึ้นโดยไร้สาเหตุ
สามารถทำให้เกิดอาการทางร่างกายได้หลายอย่าง
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำให้เกิดอาการที่น่ากลัว น่าตกใจ
เช่น ทำให้ ท่านสูญเสียการควบคุมตนเอง หรือคิดว่า มีโรคหัวใจ
หรือแม้กระทั้งคิดว่า ตนเองกำลังจะตายไปก็ได้

ในช่วงชีวิตของคนเรา อาจมีครั้ง หรือสองครั้ง
ที่เราอาจมีอาการแสดง ที่เกิดจากความเครียด และ ความกลัวได้
ถ้าหามันเกิดบ่อย มันอาจกลายเป็นโรคเครียดเรื้อรังได้

ในสมัยก่อน อาการจากความเครียด เคยถูกวินิจฉัยผิด เป็นโรคทางระบบประสาท
แต่ในปัจจุบัน เราทราบว่า เป็นอาการทางร่างกาย
และแม้ว่า อาการดังกล่าว สามารถกระทบต่อวิถีชีวิตของท่านได้ก็ตาม
ปรากฏว่า การรักษาที่มีในปัจจุบันนี้ มีประสิทธิภาพมาก

โดยทั่วไปแล้ว อาการที่เกิดจากความเครียด ง่ายต่อการวินิจฉัยมาก
ไม่ก่อให้เกิดความสับสนกับอาการที่เกิดจากโรคที่มีความรุนแรงเลย

อาการของความเครียด ไม่ใช้ข้อชี้บอกว่า เป็นอาการของโรคที่มีความรุนแรง
แต่ มันเป็นเพียงการตอบสนองของร่างกาย ที่มีต่อความกลัวเท่านั้นเอง
ความกลัว และความกังวล จะกระตุ้นสารความเครียด (stress hormone)เข้า
ซึ่ง มันเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมเพื่อการต่อสู้ หรือปฏิบัติงาน

ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนดังกล่าว จะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น
ขอย้ำอีกครั้งว่า อาการที่เกิดขึ้นมันไม่มีอันตรายได ๆ !
แต่มันเพียงบอกให้ท่านได้ทราบว่า
ระดับของ“สารแห่งความเครียด” ในร่างกายของท่าน มันเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง

อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียด ได้แก่:
อาการที่เกิดจากความกลัว (panic attacks) อาจมีอาการเพียงบางอย่าง
หรือ หลายอย่างร่วมกันเกิด เช่น:

• มีความรู้สึกเหมือน...ความตายกำลังคืบคลานเข้ามา โดยไม่สามาระหลีกลี่ยงได้
• หัวใจเต้นเร็ว
• เหงื่อออก
• สั่นทั้งตัว
• หายใจถี่
• หายใจแรง เร็ว เป็นเหตุให้มีออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น
• หนาว
• ร้อนวูบวาบ
• คลื่นไส้
• อาการปวดเกร็งท้อง
• เจ็บหน้าอก
• ปวดศีรษะ
• วิงเวียน
• เป็นลม
• แน่นในลำคอ
• กลืนลำบาก

อาการที่เสนอมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในจำนวนร้อย ที่ไม่สามารถนำเสนอได้หมด

อาการแสดงต่าง ๆ อันเกิดจากความกลัว และ ความกังวล มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
โดยไม่มีอาการ "เตือน" แต่อย่างใด มันสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้
เช่น เกิดในขณะขับรถไปทีทำงาน , เกิดในขณะนอนหลับ
หรือ เกิดในขณะที่มีการประชุม
อาการสูงสุดจะเกิดประมาณ 10 นาที และจะสิ้นสุดประมาณ ครึ่งชั่วโมง
หลังจากนั้น อาการจะตามด้วยอาการเมื่อยล้า

ในแต่ละคน ต่างมีสารเคมีในร่างกาย ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน
จึงเป็นเหตุให้มีการตอบสนองต่อความเครียด ความวิกตกังวล ของแต่ละคนแตกต่างกัน
เป็นผลให้อาการแสดงที่แสดงออก มีความแตกต่างกัน
ทั้งชนิด จำนวนครั้งที่เกิดอาการ ความถี่บ่อย หรือ ความรุนแรง

ถ้าบังเอิญอาการของท่าน ไม่ตรงกับรายกายที่เสนอมา
มันไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่ได้มีอาการเครียด
มันเพียงแต่ตอบสนองต่อต่อความเครียด ที่แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้น

ยกตัวอย่าง คนหนึ่งอาจมีความรู้สึกว่า อาการที่เกิดไม่ค่อยรุนแรง
ส่วนอีกคนกลับมีอาการตรงกันข้าม มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้น
และ มีความรุนแรงอีกต่างหาก

การเกิดอาการจากความเครียด สามารถพบได้ตั้งแต่ขนาดน้อย ถึงมาก
อาจมีเพียงอาการชนิดเดียว อาจเกิดไม่บ่อย นาน ๆ จะเกิดที
หรือ เกิดขึ้นบ่อย หรือ เกิดอยู่ตลอดเวลา

อาการของความเครียด สามารถทำให้หายได้

โดยสรุป อาการที่เกิดจากความเครียด สามารถทำให้เกิดความตกใจ และน่ากลัว
แต่มันไม่มีอันตราย ส่วนใหญ่อาการจะหายเมื่อรางกายได้ผ่อนคลาย
อย่างที่กล่าว อาการที่เกิดมีแตกต่างกันทั้งจำนวนครั้ง ความรุนแรง



http://www.anxietycentre.com/anxiety-attack-symptoms.shtml.

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Metabolic equivalent (MET): ทำไมเราต้องสนใจด้วยเล่า ?

ได้พบข้อความหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว
นานจนกระทั้งจำไม่ได้ว่า ใครเป็นคนพูด ?
รู้แต่ว่า เป็นนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ระดับโลกท่านหนึ่ง ซึ่งได้พูดในทำนองว่า
“การที่จะครองโลก...ให้อยู่ภายใต้อำนาจของเขา-
เพียงความร่ำรวย และ ความฉลาด เท่านั้นไม่พอที่จะทำเช่นนั้นได้
ประชาชนทุกคนในประเทศ... จะต้องมีสุขภาพดีด้วย”

เป็นคำพูดที่ไม่ใครสามารถแย้งได้เลย
และ บังเอิญมันตรงกับประเด็น ที่กำลังจะนำเสนอพอดี
ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับร่างกายของเราทุกคน ถ้าหากเราเข้าใจ และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
อาจทำให้เราสามารถครองโลก (ร่างกายของเรา) ได้อย่างมีความสุข
โดยไม่ให้โรคมารุกรานเราได้

การทำให้เรามีสุขภาพดีนั้น สามารถกระทำได้โดย รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ ,
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
นั่นเป็นสิ่งที่เขาแนะนำให้ประชาชนของเขาปฏิบัติกัน
ผู้เขียนขออนุญาติเพิ่มเข้าไปอีกตัว นั่นคือ ทำจิตใจของเราให้เข็มแข็ง ด้วยการปฏิบัติธรรม

ประเด็นที่จะนำเสนอ เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้น
นั้นคือ การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ โดยอาศัย Metabolic equivalent (MET)
เป็นประเด็นให้พิจารณา

เมื่อหลายทศวรรษมาแล้ว ในการออกกำลังกาย ได้มีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า
เราจะต้องออกกำลังกาย ให้การเต้นของหัวใจ เต้นได้ 80 % ของการเต้นของหัวใจในระดับสูงสุด
ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร 220 – อายุเป็นปี x 0.8
สมมุติท่านมีอายุ 50 ปี ท่านจะต้องออกกำลังกาย
ให้หัวใจเต้น (220 – 50) x 0.8 = 136 ครั้งต่อนาที (BPM)

แต่ปัจจุบัน ได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อการออกกำลังกายที่แตกต่างออกไป
โดยมุ่งเน้นไปที่ METs (metabolic equivalent Task)
ให้เป็นเป้าหมายของการออกกำลังกาย
ซึ่งถ้าไม่ขยายความต่อ ก็คงไม่เข้าใจว่า METs คืออะไรกันแน่ ?

MET หรือ standard metabolic equivalent
หมายถึง “หน่วย” ที่เราใช้ในการประมาณค่าของจำนวนออกซิเจน
ที่ถูกร่างกายใช้ในระหว่างการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง จะถูกวัดเป็นค่าเป็นจำนวน
ซึ่งจำนวนจะเพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายต้องทำงานมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังในการเผาผลาญของร่างกาย (METABOLIC RATE)
ในขณะพัก เราเรียกว่า basal metabolic rate
กับ การเผาผลาญของร่างกายในขณะทำงาน

ยกตัวอย่าง, จำนวนค่าของ MET ในขณะนั่งพักผ่อน มีค่าเป็น 1 MET
จำนวนของ MET ในขณะเดินช้า ๆ มีค่าเป็น 2

สำหรับวิ่งเยาะ ๆ (jogging) ด้วยความเร็ว 1.6 กิโลเมตร / 12 นาที
จะได้ค่าของ MET จำนวน 8

1 MET จะมีค่าเท่ากับอัตราการเผาผลาญ (metabolic rate) ซึ่งต้องใช้
ออกซิเจนจำนวน 3.5 mL ต่อน้ำหนักตัวเป็น กิโลกรัม ต่อหนึ่งนาที หรือ
1 MET จะมีค่าเท่ากับ การเผาผลาญ (metabolic rate)
จะใช้พลัง 1 Kilocalorie per kilogram of body weight per hour.

ในการตรวจ exercise stress test เช่น การตรวจโดยให้คนวิ่งบนสายพาน
แล้วทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ในระหว่างการตรวจ ให้มีการหายใจผ่านเครื่อง (mask)
ซึ่งสามารถวัดปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไปได้

อย่างไรก็ตาม การประเมินหาค่า MET มีปัจจัยอย่างอื่นเเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ค่าของ Metabolic equivalent task ที่คำนวณได้จากพลังงานที่ถูกใช้ไป
ในขณะที่มีการออกแรงในลักษณะต่าง ๆ สามารถวัดได้เป็น METs/Hr of activity
ที่น่ารู้มีดังนี้:

o Light activity จะชัพลัง 2 METs/Hr of activey:

เช่น การเดินทอดน่อง (1- 2 ไมล์ต่อชั่วโมง) และการเล่นดนตรี

o Light plus จะใช้พลัง 2.5 – 3 METs/Hr of activity:

เช่น การเดินด้วยความเร็ว 2 – 2.5 ไมล์ ต่อชั่วโมง เต้นรำช้า ๆ
เล่นกอล์ฟ (ไม่ต้องลากถุงกอล์ฟ) เล่นโบลิ่ง และตกปลา

o Moderatly vigorous จะใช้พลังงาน 3.5 METs/Hr of activity:

เช่น การเดินด้วยความเร็ว 1 ไมล์ ทุก 20 นาที ยกน้ำหนัก
เล่นกอล์ฟ ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (no power cart),
เดินขึ้นบันได จะใช้พลังงานถึง 4METs?Hr per activity

o Modertely Vigorous plus จะใช้พลังงาน 4.5 METs/Hr of activity:
เช่น เล่นกอล์ฟ ต้องลากถุงกอล์ฟเอง, วายน้ำช้า ๆ
หรือเดินด้วยความเร็ว 1 ไมล์ (1.6 Km) ใน 15 นาที
หรือประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ ต่อ 30 นาที

o Vigorous: จะใช้พลังงาน 6 – 10 METs/Hr of activity:
เช่น เล่นเทนนิสคู่ ใช้พลังงาน 6 METs/Hr
เล่นเทนนิสเดี่ยว ใช้พลังงาน 7 – 12 METS/Hr
Jogging ใช้พลังาน 8 METs/Hr

ทำไมเราต้องออกกำลังกายให้เสียเวลาด้วยละ ?

มีเหตุผลมากมาย ว่าทำไมเราต้องออกกำลังกายที่สำคัญสุด คือ ให้ความสนุกสนาน
นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเราได้วย เช่น:

o ช่วยลดน้ำหนักตัว
o คลายเครียด และ ลดความกดดัน
o ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
o ลดระดับไขมันในเลือด (ผ่านกระบวนการลดน้ำหนัก)
o ลดระดับความดันโลหิตลงได้เล็กน้อย
o ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น
o ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานในผู้ใหญ่
o สามารถเพิ่มระดับของไขมัน “ดี” ให้แก่รางกาย และที่ว่านั้น
o มันสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดแข็ง (atherosclerois)
และลดการเกิดโรคหัยใจขาดเลือด (heart attack)

ยังมีหลักฐานยืนยันว่า การออกกำลังกาย ยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในลำไส้
และลดขอบเขตของการเป็นโรคกระดูกพรุนได้

ปัยหาที่ชอบถามกันเสมอ เราจะต้องออกกำลังมากแค่ใด ชนิดใด และบ่อยขนาดไหน?

o สำหรับลดน้ำหนัก คลายเครียด หรือลดความกดดัน
พลังงานที่ใช้ (MET) คิดเป็นชั่วโมง ต่ออาทิตย์ ถือเป็นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับตัวท่าน

o สำหรับ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ในขณะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดว่า
เป้าหมายควรเป็นเท่าใด...

แต่ตามความเหมาะสม เป้าหมายควรอยู่ที่ 12MET ต่อชั่วโมง ต่ออาทิตย์
ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการออกกำลังกายหนักพอประมาณ โดยการ
เดินด้วยความเร็ว 3 ไมล์ (4.8 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง
หรือ 1 ไมล์ (1.6 Km ) ต่อ 20 นาที

o สำหรับการออกกำลังระดับพอประมาณ ถึงระดับที่หนักขึ้น (moderately vigorous)
ซึ่งในกรณีดังกล่าว สามารกระทำได้ด้วยการเดินเร็ว (brisk walking) ประมาณ 4 ชั่วโมง
โดยเดินให้ได้ระยะทาง 3 ไมล์ ทุก ๆ 20 นาที

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว 12 MET per hour per week)
คุณสามารถกระทำได้โดยการเดินด้วยความเร็วเฉลี่ยระหว่าง 1 ไมล์ (1.6 Km)
ต่อเวลา 20 – 30 นาที เป็นเวลา 4- 5 ชั่วโมง ต่อหนึ่งอาทิตย์
ถือว่าใช้ได้ อาทิตย์หนึ่งออกกำลังกาย 4 ครั้ง ก็เพียงพอต่อการทำให้สุขภาพของ
ท่านดีขึ้นแล้ว

บางคนกล่าวว่า การออกกำลังกายหนักพอประมาณ 6 – 8 MET-Hour per week
ก็เพียงพอต่อการให้สุขภาพที่ดีแล้ว
ถ้าท่านสามารถทำได้มากกว่านั้น ย่อมเป็นดีต่อท่านอย่างไม่มีปัญหา

ในขณะที่ไม่มีสูตรที่แน่นอน ควรจะใช้จำนวน MET เท่าใด
จึงจะเหมาะกับสุขภาพของเรา มีสูตรที่มีผู้เสนอเอาไว้ให้ท่านลองพิจารณาดูว่า
สูตรใดเหมาะสมกับตัวท่าน ดังนี้

1. >30 METS-hours/week โดยออกแรงปานกลาง ถือว่าดีเยี่ยม
2. 20 – 29 METs-hour/week ถือว่าดีมาก
3. 12 – 19 METS-hour/week ถือว่าอยู่ในขั้นดี
4. 12 METS-hour/week ถือว่าเป็นขั้นระดับต่ำสุด
5. ถ้าหากท่านไม่สามารถออกกำลังกายได้ถึง 12 METs-hour/week
ก็ไม่เป็นไร ให้พยายามออกกำลังกายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

สุดท้าย สิ่งที่เป็นยอกปราถนาสมำหรับทุกคน นั่นคือ
"ความไม่โรค ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ" ซึ่ง เราสามารทำได้โดย

1. รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ (healthy diet)
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 7 ชั่วโมง
3. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ชนิดในดก็ได้ ได้ได้เป้า 12 METS-hr per week และ
4. ทำจิตใหผ่องใสด้วยการปฏิบัติธรรม

Adapted from:
http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/metabolic+equivalent

http://njms2.umdnj.edu/hwmedweb/archives/exercise_health_archive.htm

http://www.fittforlife.com/jacksonville.personal.training.article20.html

http://www.ideafit.com/fitness-library/using-mets-program-design-0

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Lifesaving Answers from Exercise Stress Testing:

ข็อมูลต่อไปนี้ อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ประสบกับภาวะหัวใจขาดเลือด(heart attack)
ตลอดรวมไปถึง บุคคลที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่า เป็นโรคหัวใจ
ซึ่ง ท่านเหล่านั้น มักจะได้รับการตรวจหัวใจด้วยกรรมวิธี ที่เรียกว่า exercise stress test
เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจในขณะที่มีการออกแรง แล้วการดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัว
พร้อมกับบันทึกไว้ให้อ่านแปลผล (electrocardiogram หรือ EKG)ในตอนหลังด้วย

จากการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้า ของหัวใจที่บันทึกไว้
สามารถบ่งบอกให้ทราบถึง ประสิทธิภาพของการปั้มเลือดของหัวใจ
อาจบอกให้ทราบว่า เส้นเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงหัวใจ (coronary artery)นั้น
มีการอุดตันหรือไม่
และจากคลื่นไฟฟ้าที่บันทึกไว้ (EKG)ที่ปรากฏจอคอมพิวเตอรขณะทำการตรวจ
สามารถบอกให้ทราบถึงความปลอดภัย ที่คนไข้กำลังออกแรงได้

ประโยชน์ ที่พึงได้รับจากการตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย จะถุกนำมาประยุกต์ใช้กัตัวเองว่า
เราควรออกแรงมากน้อยแค่ใด จึงจะเหมาะกับสภาพของตน ไม่เป็นอันตราย
ไม่เกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือ ถึงขั้นหัวใจขาดเลือด (heart attack)

ผลจากการศึกษาของ Samia Mora MD, Cardiovascular Fellow จาก
Johns Hopkins Hospital เมื่อไม่นานมานี้ กล่าวว่า:

ผลที่ได้จาก exercise stress test ถูกนำนำไปประกอบการดูแลรักษา
ร่วมกับผลการตรวจอย่างอื่น เช่น Metabolic equivalents (METs)
และ ระดับของความดันโลหิต (blood pressure)
โดย จากขอมูลที่ได้นั้น จะถูกนำมาวิเคราะห์ได้ว่า
คนไข้รายใด มีอัตราเสี่ยงต่อความ “ตาย” ได้

หลายท่านอาจสงสัยว่า Metabolic equivalents คืออะไร ?
Metabolic Equivalent หรือ หรือเขียนให้สั้น ไม่ให้เปลืองแรงงานว่า "MET"
หมายถึงปริมาณของพลังงานทีร่างกายต้องใช้ไป
มันเป็นค่าเฉลี่ยของ "ออกซิเจน" ที่ร่างรายใช้ไป
เช่น ขณะนอนพัก ร่างกายจะใช้ออกซิเจน 3.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที หรือ มีค่าเท่ากับ 1.2 คาลอรี่

ผลที่ได้จาก EKG, METs และ ระดับความดันโลหิต มีประโยชน์ต่อการนำไปทำการตรวจ
ติดตามดูแล และรักษาคนไข้ต่อไป

การตรวจวัด exercise stress test
ด้วยการวัดเป็นหน่วยของพลังงาน ที่มีชื่อ metabolic equivalents หรือ METs นั้น
ปริมาณ 1 MET จะมีค่าเท่ากับปริมาณของออกซิเจน ที่ร่างกายต้องใช้ในขณะพักผ่อน
ซึ่ง จะมีค่าแตกต่างกันตามน้ำหนักตัว (body weight)ของแต่ละคน

สำหรับคนที่มีสุขภาพดี (good shape)สามารถออกกำลังกายได้เหนือกว่าคนที่สุขภาพไม่ดี
ดังนั้น ใครที่สามารถใช้ออกซิเจนได้มากกว่า
หรือ การที่ใครสามารถออกแรงเป็นประจำ ได้ค่า METs ย่อมทำให้ท่านน้้นมีสุขภาพดี

การตรวจวัด METs เป็นการตรวจดูความสามารถในการออกกำลังกาย
ซึง เราทราบในอีกชื่อหนึ่งว่า เป็นความสามารถในการบริหารแบบ "แอรโรบิค"
หรือ ระดับความสมบูรณ์ของร่างกาย (fitness level)

ผลจากการศึกษา และลงพิมพ์ใน The New England Journal of Medicine
ในคน จำนวน 6,000 ราย ซึ่งได้รับการตรวจ exercise stress testing
พบว่า ผลของการตรวจ METs มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่า
ใครสามารถมีอายุได้ยืนนานกว่ากัน

โดยพบว่า ในแต่ละค่าของ 1 MET ที่เพิ่มขึ้น จะสัมพันธ์กับอายุที่ยืนนานขึ้น 12 %

จากการศึกษา ยังพบต่อไปอีกว่า คนที่ใช้ออกซิเจนในขณะออกแรงสูงสุดสำหรับคน ๆ นั้น
และวัดได้ค่า Metablic equivalents น้อยกว่า 5METS
เขาคนนั้น มีแนวโน้มที่จะมีอายุสั้นกว่าคนที่ออกแรงสูงสุด และวัดได้ค่า METs สูงถึง 8 METS
(อายุสั้นกว่า ถึง 6ปี) แสดงว่า ใครก็ตามทีออกแรงสูงสุด แล้วได้ค่าของ METsสง
ย่อมมีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่มี METs ตำ

ผลของการศึกษาโดย Dr. Mora ได้สนับสนุนความเห็นดังกล่าว
โดยยืนยันว่า ในคน (ทั้งหญิง และชาย) ซึ่งมีสุขภาพสมบูรณ์ (good fitness)
โดยพบความสัมพันธ์ระหว่าง METs ของคน ๆ นั้น กับ ความยืนยาวของอายุของเขา (longevity)
นอกจากนั้น เขายังพบต่อไปอีกว่า จากการที่มีค่าของ METs สูง
ยังทำให้เขาไม่เป็นโรคหัวใจ และ สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือด และหัวใจได้ด้วย

จากการวัดค่า METs :
คนที่มีอายุมากกว่า 50 แล้ววัด score ได้ 8 METS ถือว่าเป็นค่าที่บ่งบอกว่า มีสุขภาพดี
ถ้า score ได้ต่ำกว่า 5 METs เป็นค่าบ่งชี้ว่า มีสุขภาพที่น่าเป็นห่วง
ควรให้มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พร้อมกับให้การรักษา เพราะคนเหล่านั้นมักจะมโรคประจำตัว
หลายอย่าง ได้แก่โรคหัวใจ หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
เช่น ความอ้วน (obesity), เบาหวาน (diabetes), ระดับไขมันสูง (high cholesterol),
และ ความดันโลหิตสูง (high blood pressure)

ข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการวัดความดันโลหิต
ซึ่ง วัดได้ในขณะทำการตรวจ Exercise stress testing

เป็นทีทราบว่า ในขณะที่มีการออกแรง จะทำให้ความดันโลหิตของคนเราเพิ่มสูงขึ้นจากปกติ
บางคนพบว่า ระดับความดันตัวบน (systolic pressure) เพิ่มสูงถึง 250 mm Hg
หรือสูงกว่านั้น ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic pressure) เพิ่ม 5 -10 mm Hg เหนือระดับปกติ

Kerry J. Stewart,MD Prof. of Med. Johns Hopkins ,School of Medicine.
ได้ศึกษาถึงกรณี ที่มีการเพิ่มของระดับความดันในขณะออกแรงอย่างสนใจว่า
"เป็นตัวบ่งบอกให้ทราบล่วงหน้าได้ว่า คน ๆ นั้นจะเกิดเป็นโรค ความดันโลหิตสูงในอนาคต"

ข้อมูลดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากการศึกษาจาก Framingham Heart study
โดยทำการออกแบบการศึกษาในคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดของหัวใจ
พบว่า คนที่มีความดันปกติ และมีการตอบสนองต่อการออกกำลังกาย (exercise stress testing)
ด้วยการทีความดันโลหิตสูงขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
จะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงภายใน 8 ปี ให้หลัง
และ สตรี มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคได้มากกว่าชายถึงสองเท่า

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาจากญี่ปุ่น ซึ่งรายงานเอาไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า:
ในชายที่มีการตอบสนองต่อการออกกำลัง ด้วยการทีความดันสูงขึ้นมากผิดปกติ
จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค “ความดันโลหิตสูง” ภายใน 5 ปี ให้หลัง
และ เมื่อมีความดันเกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ สมองขาดเลือด (stroke)ย่อมมีได้สูง

ในทางกลับกัน ในขณะออกกำลังกาย แทนที่ความดันจะเพิ่มสูงขึ้น
แต่ปรากฏว่า ความดันโลหิตลดฮวบลง
ในกรณีดังกล่าว เป็นข้อบ่งบอกให้ทราบว่า คน ๆ นั้นเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ ที่น่ากลัว
โดยมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (heart attack) ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้จากการวิจัยในเรื่องความดันโลหิต ที่สูงขึ้นในขณะทำการตรวจ
Exercise stress testing
ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปประกอบในการรักษาคนไข้...

ถ้าความดันโลหิต (systolic) สูงเหนือ 250 mm Hg
หรือ diastolic เพิ่มขึ้น 5 – 10 mmHg ในระหว่างการตรวจ
ให้ตรวจสอบคนไข้รายนั้นอย่างใกล้ชิด พร้อมกับลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดทุกชนิด

Adapted from:
John Hopkins medical letter
Exercise stress test

exercise stress test เป็นวิธีการตรวจร่างกาย
ที่นำมาใช้ตรวจสภาพของหัวใจในขณะที่มีการออกแรง...

How the Test is Performed ?
คนที่ไม่เคยออกกำลังกาย มัวแต่นั่งโต๊ะ สนใจในการทำงานเพียงอย่างเดียว
หรือคนที่มีประสบการณ์ผ่านภาวะของโรคหัวใจขาดเลือด- Heart attack
มัก จะถูกแนะนำให้ออกกำลังกาย
และเพื่อความปลอดภัยของตัวคนไข้เอง คุณหมอจะแนะนำให้ทำการตรวจหัวใจก่อน
และการตรจ ที่นิยมกณะทำ คือ exercise stress test
เป็นการตรวจสภาพการทำงานของหัวใจ ภายใต้การออกกแรงว่า จะมีความผิดปกติในเกิดขึ้นหรือไม่
ซึ่ง แพทย์สามารถตรวจพบได้ด้วยการดูคลื่นกระแสไฟฟ้า (EKG) ทีบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานให้ตรวจสอบ

ในการตรวจ exercise stress test เขาจะให้ท่านเดินบนสะพานวิ่ง (treadmill)
หรือ ปั่นจักรยานด้วยเท้า โดยเริ่มต้นอย่างช้า ๆ จากช้า...ไปหาเร็ว
ในขณะที่ท่านกำลังออกแรงด้วยการเดิน ...บนสายพาน หรือปั่นจักรยานนั้น
เครื่อง EKG (electrocardiogram)ที่มีสาย electrodes วางแปะยนตัวท่าน
และ วัดความดันโลหิต จะบันทึกข้อมูล และแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ให้แพทย์ หรือผู้ทำการตรวจได้เห็น

การตรวจด้วยวิธีการดังกล่าว จะดำเนินต่อ จนกระทั้ง:

o บรรลุเป้าหมายของระดับการเต้นของหัวใจ
o ท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีการเปลี่ยนแปลงในระดับความดันโลหิต ซึงจะก่อให้เกิด
อันตรายต่อคนไข้
o มีการเปลี่ยนแปลงในคลื่นของหัวใจ ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดเพียงพอ
o คุณเกิดอาการเหนื่อย-หอบ หรือ มีอาการอย่างอื่น เช่น ปวดขาจนไม่สามารถตรวจต่อไปได้

ภายหลังการออกกำลังกาย การตรวจด้วยเครื่องมือยังดำเนินต่ออีกประมาณ 10-15 นาที
หรือ จนกว่าการเต้นของหัวใจกลับสู่ระดับปกติ (basline)

ระยะเวลาที่ท่านจะต้องเสียไปในการตรวจ ประมาณ 60 นาที

ท่านควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนการตรวจ:
ก่อนทำการตรวจ exercise stress test ท่านจะต้องไม่กิน ไม่ดื่มอะไรทั้งสิ้น
เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ

ถ้าท่านรับประทานยา...ควรถามแพทย์ก่อน
เพราะยาบางตัวสามารถกระทบกับผลการตรวจ และอย่าเลิกรับประทานยาโดยไม่บอกแพทย์

หากท่านรับประทาน sildenafil citrate (Viagra), tadalafil (Cialis) หรือ vardenafil
(Levitra) บอกให้แพทย์ได้ทราบ

ในระหว่างการตรวจ exercise stress test ท่านอาจมีความรู้สึก:

o มีความรู้สึกไม่สบายภายในหน้าอก
o รู้สึกวิงเวียน
o รู้สึกใจสั่น
o รู้สึกเหนื่อย หอบ (shortness of breath)

หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องตรวจ...ด้วย?
โดยทั่วไป การตรวจ exercise stress test ส่วนใหญ่เราจะทำการตรวจคนไข้ที่เป็น
โรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery disease)
โดยมีเหตุผลในการตรวจมากมาย เช่น:

o เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้า (chest pain) จะทำการตรวจเพื่อประเมินโรคเส้นเลือด
ของหัวใจว่า มีการตีบแคบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือไม่ ?
o เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก(angina) อาการรุนแรงขึ้น หรือ เกิดขึ้นบ่อย
o ท่านอาจมีอาการของหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
o ท่านอาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด- angioplasty หรือ heart bypass surgery
o ท่าน...ถูกแนะนำให้ออกกำลังกาย และท่านมีโรคหัวใจ
หรือ ท่านอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน
o เพื่อทำการตรวจการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจ
ซึ่งอาจเกิดในระหว่างการออกกำลังกาย
o ท่านได้ทำการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ (aortic &mitral valve stenosis)

นอกจากนั้น แพทย์ผู้ตรวจอาจมเหตุผลอย่างอื่นก้ได้

ผลของการตรวจ:
ความหมาย หรือผลของการตรวจ ขึ้นกับเหตุผลของกาตรวจ, อายุ, ประวัติของโรค (หัวใจ) ,
และ ยาที่กำลังรับประทาน

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
จากการตรวจ exercise stress test ผลที่ได้อาจบ่บอกให้ทราบ:
o ในระหว่างการออกกำลังกาย มีการเต้นของหัวใจผิดปกติไป
o การเปลี่ยนแปลงในคลื่นของหัวใจ อาจหมายถึงมีการอุดตันของ
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary artery disease)

เมื่อผลของการตรวจ พบว่ามีความผิดปกติ ท่านจะได้รับการตรวจที่จำ
เป็นต่อการตรวจสมรรถภาพหัวใจของท่าน เช่น:

o Coronary angiography
o Nuclear stress test
o Stress echocardiography

อันตรายจากการตรวจ exercise stress test:
โดยทั่วไป การตรวจดังกล่าว เป็นวิธีที่ปลอดภัย
คนไข้บางราย อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ อาจเป็นลมล้มพับลงในขณะทำการตรวจ
ส่วนการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจเป็นอันตราย (heart attack)
หรือ การเต้นของหัวใจผิดปกติชนิดร้ายแรงนั้น...พบได้น้อยมาก

คนไข้ ผู้ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
แพทย์เขาจะทราบมาก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเขาจะไม่ให้ทำการตรวจด้วยวิธดังกล่าว

การตรวจ exercise stress test ในคนไข้บางราย
ผลที่ได้อาจยากต่อการแปลผล ในกรณีดังกล่าว อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีพิเศษ
เช่น การตรวจด้วยภาพ เช่น echocardiography หรือ nuclear imaging
หรือการตรวจอย่างอื่น

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003878.htm

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

High Triglycerides: What You Need to Know?

เมื่อท่านตรวจพบว่า-
ท่านมีระดับ triglyceride ในกระแสเลือดสูง
ขอให้คุณทราบด้วยว่า คุณไม่ใช้คนเดียวหรอกที่เป้นเช่นนั้น
สถิติในนสหรัฐฯ พบว่ามีสตรีจำนวน 25 % และ ชาย จำนวน 35 % มี TG ในกระแสแสเลือดสูง
ซึ่งไหลเวียนตามกรแสเลือด

แม้ว่า เรื่องดังกล่าว เป็นปัญหาธรรมดา ที่พบเห็นกันเป็นประจำทุกวัน
แต่ มีหลายคนที่ไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับ triglyceride เท่าใดนัก

จากการศึกษา พบว่า การที่มีไขมัน triglycerides สูงนั้น มีความ
สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (heart attack) และ โรคสมองขาดเลือด (stroke)

จะถือว่าเป็นโชคก็คงไม่ผิด เพราะ สำหรับท่านที่มี triglycerides สูง
ท่านเองสามารถทำให้ระดับไขมันตัวดังกล่าวลดลงได้ด้วยตัวของท่านเอง
และสามารถทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้นด้วย:

ขั้นแรก ตรวจให้รู้เสียก่อนว่า ไขมันตัวดังกล่าว
สูงเพียงพอที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพหรือไม่ จากนั้น หาวิธีที่จะทำให้มันลดต่ำลง

ท่านควรรู้ระดับ TG ของท่านเอง
สิ่งทท่านควรรู้:
• Normal: Less than 150mg/dL
• Borderline: 150 to 199 mg/dL
• High: 200 to 499 mg/dL
• Very High: 500 mg/dL or above

ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 20 ควรทำการตรวจหาค่า cholesterol และ triglycerides
ตามคำแนะนำของ American Heart Association

Why Are High Triglycerides Bad?
ทำไมจึงพูดว่า triglycerides สูงเป็นเรื่องที่ไม่ดี ?
จากการศึกษาพบว่า เมื่อระดับ triglycerides ในเลือดสูง
มันจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery)
ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจตาย(heart attack) และ สมองตาย (stroke)

ในรายที่ระดับ triglycerides ที่สูงมาก ๆ พบว่า
มันมีส่วนร่วมกับการทำให้เกิดโรคตับ (liver)
และโรคตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)

บทบาทของไขมัน triglycerides ที่มีต่อการทำให้เกิดโรคนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบชัด
ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบ ก็ยังปรากฏว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายนาย ลงความเห็นร่วมกันว่า
“Triglycerides เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาของสุขภาพ” อย่างแน่นอน

ระดับ triglycerides ที่สูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาอย่างอื่นเกิดร่วมด้วยเสมอ
เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ความอ้วน, ระดับไขมัน LDLcholesterol สูง,
และระดับไขม้น HDL cholesterol ต่ำ
ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะกล่าวว่า
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลเนื่องมาจาก triglycerides ที่สูงขึ้น ?

จากการวิจัย พบว่า บางคนมีเรื่องทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ซึ่งดูเหมือนจะทำให้เกิดมีระดับ triglycerides สูงขึ้น
แต่ถึงกระนั้น มีหลักฐานยืนยันว่า การมีระดับ triglycerides สูง
ได้เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคด้วยตัวของมันเอง

พวกนักวิทยาศาตร์ ยังมีความหวังต่อไปอีกว่า ยาที่ทำหน้าที่ลดระดับ triglycerides นั้น
จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย...
นั้นเป็นความเชื่อ...แต่ตามเป็นจริง ยังไม่มีรู้ว่ามันเป็นนั้นหรือเปล่า ?

ในด้านปฏิบัติ มีการถกเถียงในเรื่องที่เกี่ยวกับ triglycerides
ซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้เลย แต่การปรับปรุงเรื่องอาหารให้ดีขึ้น และปรับเปลี่ยนวถีชีวิต
สามารถลดระดับ triglyceride และสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคของเส้นเลือด-หัวใจได้

Controlling High Triglycerides: Lifestyle Changes
แม้ว่า เราจะทราบว่า การที่เรามีระดับไขมันtriglycerides สูง
สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้ก็ตาม แต่เราสามารถที่จะทำการช่วยเหลือตัวของเราเองได้
ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างชัดเจน

นี้ คือแนะนำ ที่ท่านควรปฏิบัติ:

o การออกกำลังเพิ่มขึ้น : แค่การออกกำลังกาย พบว่า
มีผลกระทบต่อระดับ triglyceride ได้เป็นอย่างมาก
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ต่างมีความเห็นว่า การออกกำลังกายวันละ 30 นาที ต่อวัน
อย่างน้อย 5 วัน ต่อหน่งอาทิตย์

ถ้าบังเอิญคุณเป็นคนไม่เคยออกกำลังกายเลย ท่านควรเริ่มต้นอย่างช้า ๆ
ทำเพียง 3 วัน ต่อหนึ่งอาทิตย์ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

o ลดน้ำหนัก : ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวสูง ท่านตองกำจัดน้ำหนักที่เกินออกทิ้งไป
และพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
ซึงการออกกำลังกายสามารถช่วยท่านได้ แต่ สิ่งที่ท่านจะต้องสนใจ คือ เรื่องอาหาร
ไม่ว่า อาหารที่ท่านรับประทานจะเป็นอะไร (fats,carbs, protein)
ให้คำนึงถึงปริมาณ “คาลอรี่” เป็นหลัก อย่าให้มากเกินความต้องการของร่างกาย

ให้มุ่งไปที่อาหารประเภทผลไม้ ผัก เนื้ปราศจากมัน อาหารที่ทำจากไขมันต่ำ
ตัดของหวานทั้งหลายออก สามารถช่วยแก้ปัญหาได้เช่นกัน
o เลือกไขมันที่ดี ให้คยามใส่กับอาหารประเพทไขมันให้มาก
โดยพยายามลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว (saturated fats)
ซึ่งพบจากเนื้อติดมัน butter cheese
o และหลีกเลี่ยงไขมันทรานซ์ ซึ่งจะพบในอาการที่ปรุงเสร็จ (processed food)
รวมถึงพวก cholesterol

สิ่งที่ท่านต้องการ คือ monounsaturated และ polyunsaturated fats
ซึ่งท่านสามารถหาได้จากน้ำมันพืชทั้งหลาย เช่น olive oils

นอกเหนือไปจากนี้ พวก Omega 3 ซึ่งเป็นไขมันที่บจากปลา salmon sardines
สามารถลดระดับ triglycerides ได้เป็นอย่างดี
o ตัดเรื่องการดื่มลง การดื่มแอลกอฮอล สามารถทำให้ระดับของ triglycerides
สูงขึ้นได้อย่างมาก

Controlling High Triglycerides: Medical Treatment
ในคนไข้บางราย อาจจำเป็นต้องกินยา เพื่อลดระดับ triglycerides ที่สูง
ซึ่งสามารถกระทำได้โดยใช้ยา:

o Statins: เป็นยามาตรฐานที่ใช้รักษาคขที่มีระดับ LDL สูง
และยาดังกล่าว สามารถลด triglycerides ได้ด้วย
o Fibrates สามารถลดไขมัน triglyxerides ได้ทันที และสามารถลด LDL ได้บางเล้กน้อย
o Niacin (nicotinic acid) สามารถลด triglycereides ได้ถึง 50 %
o Fish oil Omega 3 สามารควบคุม triglycerides ให้อยุ่ภายใต้การควบคุมได้

มียาบางตัว สามารถทำให้ระดับของ triglycrides สูงขึ้นได้ เช่น Beta-blockers,
birth control pills , อาหารเสริม, vitamins และ ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งเป็นผลข้างเคียง (side effects) ของยาต่าง ๆ

โดยสรุป ระดับไข้มัน triglycerides สูง สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพของท่าน
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ดังนั้น เมื่อพบว่าระดับ TG ในกระแสเลือดของท่านสูง
ท่าน สามารถวางแผนในการลดระดับ triglycerides ได้ ด้ววิธีการง่าย ๆที่ง่าย
คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณนั่นเอง

http://www.webmd.com/cholesterol-management/high-triglycerides-

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Thrombolytic therapy – Overview

Definition:
Thromobolytic therapy เป็นการรักษาคนไข้ ด้วยการสลายลิ่มเลือดที่มีอยู่ในเส้นเลือด
โดยการใช้ยา ที่สามารถสลาย หรือละลายก้อนเลือด หรือลี่มเลือด
ซึ่ง ลิ่มเลือดนั้น เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ และสมองเกิดตาย (heart & Brain attack)

ข้อมูลที่ควรรู้:
ยาที่ถูกนำมาใช้ในการสลายลิ่มเลือด ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อการรักษาคนไข้ที่เกิดกล้ามเนื้อของหัวใจ (heart stroke) และสมองขาดเลือดนั้น (brain stroke)
ที่ได้รับการนำมาใช้เป็นประจำ ไดแก่ยาที่มีชื่อว่า “tissue plaminogen activator”

จากรายงานของ The American Association กล่าวว่า
คนไข้ที่มาด้วยภาวะ heart attack เมื่อได้รับสารสลายลิ่มเลือดดังกล่าวได้ภายใน 12 ชั่วโมง
เขามีโอกาสรอดพ้นจาความตาย และ มีการฟื้นตัวจากภาวะหัวใจขาดเลือดดังกล่าวได้

ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด คนไข้ควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายในระยะ 90 นาที
หลังจากเกิดมีอาการ

FOR HEART ATTACKS
เมื่อเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ เกิดมีลิ่มเลือดอุดตัน มันสารถทำให้เกิดภาวะหัวใจ
ขาดเขาเลือด และออกซิเจน
เมื่อส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดออกซิเจน และถูกทำลายไป
เราเรียกว่าภาวะดังกล่าวว่า heart attack

Thrombolytics หรือยาสลายลิ่มเลือด จะทำงานโดยตรง ด้วยการสลายลิ่มเลือดอย่างรวมเร็ว
ทำลายสิ่งอุดตัน ช่วยให้มีเลือดเริ่มไหลกลับสู่หัวใจ และช่วยป้องกันไม่ได้กล้ามเนื้อหัวใจถูทำลาย

ยาสลายลิ่มเลือดสามารถหยุดการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจไม่ให้ตาย (myocardial infarction)
และทำให้คนไข้รอดพ้นจากความตายลงได้

ยาสามารถทำให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้เป็นปกติในคนไข่วนใหญ่ได้ก็จริง
แต่ เลือดที่ไหลกลับสู่ที่เดิมอาจไม่เป็นปกติ 100 %
อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนในปริมาณไม่มาก ที่ถูกทำลายไป
ซึ่งในกรณีดังกล่าว คนไข้จะได้รับการรักษาอย่างอื่น เพิ่มขึ้น เช่น
caedia catheterization และ angioplasty

Cardiac catheterization ซึ่งเป็นการตรวจหัวใจ ด้วยการสวนหัวใจ
และฉีดสีไปที่หลอดเลือด coronary สามารถบอกได้ว่า เส้นเลือดดังกล่าว มีการอุดตันหรือไม่ ?
ซึ่งแพทย์ และญาติผู้ป่วย สามารถตัดสินได้ว่า ควรให้การรักษาอย่างไร
ส่วนการทำ angioplasty เป็นการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบ ด้วยการใช้บอลูน...

ผู้ให้การดูแล รักษา?น จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่า
ท่านควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดหรือไม่ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยหลายอย่าง
เช่น อาการเจ็บหน้าอก (chest pain) และ ผลจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (EKG)
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอย่างอื่น ที่นำมาพิจารณาตัดสินว่า
คนไข้รายนั้น ควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดหรือไม่ ได้แก่:

o อายุ (Age)
o เพศ (Gender)
o ประวัติการเกิดโรค (รวมถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, เบาหวาน, ความดันโลหิต และ
การเต้นของหัวใจทีเต้นเร็ว

โดยทั่วไป เราจะไม่ให้ยาสลายลิ่มเลือดในคน...ต่อไปนี้:

o ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมาม่าน (A recent head injury)
o มีปัญหาเกี่ยวโรคเลือด (bleeding problems
o กระเพาะเป็นแผลตกเลือด (bleeding ulcer)
o กำลังตั้งท้อง(pregnancy)
o ได้รับการผ่าตัด (surgery)
o ได้รับยาปัองกันการทำงานของเกล็ดเลือด (thinning medication) เช่น coumadin
o ได้รับบาดเจ็บ (trauma)
o เป็นโรคความดันที่ไม่สามารถควบุมได้ (uncontrolled hypertension)

FOR STROKES
ลิ่มเลือด ที่อุดตันเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง (ischaemic sroke) ทำให้สมองขาดเลือดจนถูกทำลายไป
นั้น การใช้สารสลายลิ่มเลือด (thrombolytics) ถ้าสามารถให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหังเกิดเหตุ
ยาสามารถสลายลิ่มเลือดได้ทัน และสามารถจำกัดขอบเขตการทำลายสมองลงได้

การตัดสินใจว่า จะให้ยาสลายลิ่มเลือดแกคนไข้หรือไม่ ขึ้นกับ:

o ต้องแน่ใจว่า ไม่มีเลือดตก ซึ่ง สามารถบอกได้โดย Brain CT scans
o จากการตรวจร่างกาย บ่งบอกว่า ส่วนของสมองที่สำคัญถูกทำลาย (significant stroke)
o ประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว

ในคนไข้ที่เป็น heart attack ซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา (bleeding)
จะไม่ให้ยาสลายลิ่มเลือดเป็นอันขาดเช่นกัน

ยาสลายลิ่มเลือดจะไม่ให้ในคนไข้ ทีเป็นโรคสมองตายจากการตกเลือด (hemorrhagic stroke)
เพราะการให้ยาดังกล่าว มีแต่จะทำให้คนไข้เลวลง ด้วยการทำให้เลือดออกมากขึ้น

ความเสี่ยง (RISKS)
ปรากฏว่า มียาหลายตัวถูกนำมาใช้ใน thrombolytic therapy
และ ยา “สลายลิ่มเลือด thrombolytics)” จะถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด
ยาที่ถูกนำมาใช้ได้แก่:

• Lanoteplase
• Reteplase
• Staphylokinase
• Streptokinase (SK)
• Tenecteplase
• Urokinase

การตกเลือด หรือ bleeding ถือเป็นความเสี่ยงที่พบได้บ่อย
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

จากการให้ยาสลายลิ่มเลือดแก่คนไข้ สามารถทำให้มีเลือดออกทางเหงือก หรือทางจมูก
ซึ่งเกิดได้ประมาณ 25 % ของคนได้รับยาสลายลิ่มเลือด
และสามารถทำให้มีการมีเลือดออกในสมอง เกิดขึ้นประมาณ 1 %

ในคนไข้ที่เป็นทั้งหัวใจ หรือ สมองขาดเลือด (heart attack & stroke)
ต่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เท่ากัน

http://www.umm.edu/ency/article/007089.htmOverview

Cardiac Rehabilitation

What is cardiac rehabilitation?

Cardiac rehabilitation หมายถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
ซึ่งเป็นการสอนคนเป็นโรคหัวใจ ให้เป็นคนกระฉับกระเฉง มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้มีคุณภาพ
โดยที่การทำงานของหัวใจ อยู่ในสภาพแข็งแรงเป็นปกติ

การฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ สามารถช่วยให้ท่านมีความรู้สึกดีขึ้น
สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ในอนาคตได้

ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
ท่านมีโอกาสทำงานร่วมกับทีมงาน ที่ทำหน้าทีดูแล-รักษาท่าน
ในทีมดังกล่าว ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลเฉพาะทาง นักโภชนาการ
รวมไปถึงผู้นำการรักษาด้านการออกกำลัง(exercise therapist)
และการบริหารกาย (physical therapist)

ทีมงานจะช่วยกันวางโปรแกรม ที่เหมาะสมกับตัวท่าน หรือ คนที่เคยเป็นโรคหัวใจ
โดยยึดเป้าหมายด้านสุขภาพของท่าน และของแต่ลคนเป็นหลัก

นอกจากนั้น ทีมยังจะทำหน้าที่สงเสริม สนับสนุนให้เป้าหมายตามต้องการ
แน่นอน คนไข้ที่คนที่มีประสบการณ์ เป็นโรคหัวใจขาดเลือดถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
ย่อมมีความกลัว มีความกังวลใจ ต่อสภาพของหัวใจ ว่า
การออกกำลังกาย จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหัวใจของเขาหรือ ?

บางท่านไม่กล้าทำอะไร หรือ บางท่านไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเลย
พอมาเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเข้า แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกาย
นอกจากไม่รู้จะออกอย่างไร แถมยังกลัวอักต่างหาก

ไม่ต้องกลัวครับ...
ท่านอาจไม่ทราบว่า จะเริ่มต้นการออกกำลังกายอย่างไร ?

ในกรณีดงกล่าว ทีมงานของการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
จะช่วยให้ท่านเริ่มบริหารร่างกายอย่างช้า ๆ
และเพิ่มขึ้นถึงระดับที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจของท่าน

ใครควรมีส่วนต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ ?

ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์มักจะสั่งให้คนไข้ต่าง ๆ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางหัวใจ
เช่น คนที่เคยผ่านภาวะหัวใจตายจากการขาดเลือด หรือ ได้รับการผ่าตัด bypass เป็นต้น
นอกจากนั้น มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือด
สามารถได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจได้ โดยไม่ข้อเสียหายแต่อย่างใด
จะกล่าวว่า "ใครทำ (exercise) คนนั้นได้" น่าจะถูกต้อง

การฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจช่วยท่าน ถ้าท่าน:

• เป็นโรคหัวใจวาย (heart failure)
• เป็นโรคเส้นเลือดส่วนปลาย (peripheral artery disease- PAD)
• มีการวางแผนในการเปลี่ยนหัวใจ (Heart transplant)
• ได้เคยทำ angioplasty เพื่อทำการเปิดเส้นเลือดหัวใจ coronary artery
• ได้ทำการผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจ (valve replacement)

นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย ไม่มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจเลย
บางที เขาเหล่านั้น อาจเริ่มโปรแกรมของการฟื้นฟูสมรระถภาพของหัวใจมาแล้ว
แต่เกิดความขี้เกียจ แล้วล้มเลิกไป...
ซึ่งมักจะพบเห็นในสุภาพสตรีที่สูงอายุ

คนสูงอายุบางท่าน ชอบพูดว่า ไม่กี่ปีก็จะตายจากโลกไปแล้ว ทำไปทำไม ?
การคิดเช่นนั้น เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
เพราะอายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น และที่สำคัญ "ท่านจะเป็นอย่างที่ท่านคิดเสมอ"
ถ้าท่านคิดว่า ท่านแก่...ท่านก็แก่
ถ้าท่านคิดว่า ท่านไม่แก่...ท่านก็ไม่แก่

จากความจริงที่พบเห็น คนสูงอายุ สามารถได้รับประโยชน์จากการการฟื้นฟุูสมรรถภาพทางหัวใจ
ให้แข็งแรงได้เหมือนกับคนหนุ่มทั้หลาย
ดังนั้น สิ่งที่ท่านควรทำ ปฏิบัติตามคำแนะนของแพทย์
ซึ่งสิ่งที่ท่านพึงได้รับ คือ ท่านสามารถใช้ชีวิตของท่านทุกวินาทีที่ผ่านไปได้อย่างมีความสุข
โดยไม่ต้องสนใจว่า...ทานจะจากโลกนี้ไปเมื่อใด

ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ...
เขาทำอะไรกันบ้าง ?

ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ ท่านจะได้เรียนรู้:

• เรียนรู้วิธีการรักษาโรคหัวใจของท่านเอง ตลอดรวมถึงการจัดการกับ ความดันโลหิตสูง
และระดับไขมันในเลือดที่สูงขึ้น
• เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
• เรียนรู้การรับประทานอาหารที่มีสุขภาพต่อหัวใจ (heart – healthy diet)
• เลิกสูบบุหรี่
• ลดความเครียด และ ความซึมเศร้า
• กลับไปทำงานตามปกติ และปลอดภัย

การออกกำลังกาย มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะเริ่มต้นการบริหารร่างกาย ท่านจะต้องรึบการตรวจรางกายโดยละเอียด
รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) และ ตรวจคลื่นหัวใจ
ขณะที่ออกกำลังกาย (exercise EKG)

การตรวจดังกล่าว จะบอกให้ท่านได้รับทราบว่า หัวใจของท่านทำงานได้ดีแค่ใด
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทีมงานฟื้นฟูสมรรถภาพฯ สามารถวางโปรแกรมการบริหารร่างกาย
ให้ปลอดภัยสำหรับตัวท่านได้

ในตอนแรกของการฟื้นฟูฯ ทีมงานจะเฝ้ามองดูท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจดูว่า
การออกกำลังกายที่กำหนดนั้น มีผลกระทบต่อหัวใจอย่างไร
เมื่อคุณแข็งแรงขึ้น คุณจะได้เรียนรู้ว่า วิธีตรวจสอบการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายได้
จากนั้น ท่านสามารถที่จะออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องด้วยตัวของท่านเอง

ประโยชน์อันพึงได้รับจากการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ :

เมื่อเริ่มต้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
มันสามารถลดโอกาสตายจากการเป็นโรคหัวใจ และสามารถมีชีวิตนอกโรงพยาบาล
โดยเขาอาจไม่จำเป็นต้องรับยารักษาเลยก็ได้

การฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ อาจช่วยท่าน:

• ทำให้ท่านมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น
• น้ำหนักตัวลด หรือ ทำให้น้ำหนักเกินลดลง
• มีความรู้สึกดีขึ้น มีความซึมเศร้าน้อยลง มีความหวังมากขึ้น
• รู้สึกมีพลังมากขึ้น และรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองดีขึ้น

การเปลี่ยนนิสัยเก่า ๆ เป็นเรื่องยาก แต่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
ท่านจะได้รับการสนับสนุน และช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการฯ ในการสร้างนิสัยใหม ๆ
ที่สามารถช่วยทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้น

การที่ท่านมีโอกาสได้พบคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจรายอื่น ๆ สามารถช่วยให้ท่านได้รู้ว่า
ท่านไม่ได้เดียวดายเลย

โดยสรุป ประโยชน์ ที่พึงได้รับจากการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ:
การฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ สามารถให้ประโยชน์หลายอย่าง
มันสามารถปรับปรุงความสามารถในการทำงานในชีวิตประจำวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
สามารถส่งเสริมภาพลักษณะของคนไข้ให้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น
เพิ่มความรู้ในเรื่องโรคหัวใจของตัวเองดีขึน และสามารถรู้ว่าจะควบคุมมันได้อย่างไร

http://www.webmd.com/heart-disease/tc/cardiac-rehabilitation-topic-overview