วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Do You Have Arthritis ? ( 3 ) : Fibromyalgia & Gout

Aug. 27,2013

Fibromyalgia
เป็นอีกโรคหนึ่ง...ที่ไม่เหมือนกับโรคชนิดอื่นซึ่งมีการทำลายข้อ
แต่มันจะเป็นโรคของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissues)
เช่น กล้ามเนื้อมากกว่าที่จะเป็นกระดูก และข้อ

ในตอนเริ่มต้น โรค fibromyalgia ได้สร้างความสับสนให้แก่แพทย์เป็นอย่างมาก
เพราะพวกเขาไม่สามารถพบเห็นความผิดปกติทางร่างกาย 
หรือมีบาดเจ็บใดปรากฏให้เห็นได้  

แต่สุดท้ายผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า โรค fibromyalgia อาจเป็นผลมา
จากการเสียดุลย์ของสารเคมีบางอย่างภายในร่างกาย เช่น serotonin โดยสารดัง
กล่าวอาจทำให้สมองรับทราบความเจ็บปวดได้มากกว่าปกติ  หรืออาจกระทบกับ
การหลับลึก เป็นเหตุให้ไม่สามารถฟื้นตัวสู่สภาพที่พร้อมจะทำงานได้ตามปกติ
และเป็นการเพิ่มความไว (sensitive) ต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น

คนที่เป็นโรค fibromyalgia...
จะรู้สึกความเจ็บปวดใoบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เราเรียกว่า “จุดกดเจ็บ”
(tender points) และจุดกดเจ็บดังกล่าว มักจะอยู่ในตำแหน่งใกล้ข้อต่างๆ
มีการเพิ่มความไวต่อสิ่งกระตุ้น...
ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างมาก


The location of the nine paired tender points that comprise 
the 1990 American College of Rheumatology criteria for fibromyalgia.
Go to link.:http://www.news-medical.net/health/Fibromyalgia-Diagnosis.aspx

ในการรักษาอาการปวดจากโรค fibromyalgia...
ส่วนมากแพทย์จะสั่งยา เพื่อจัดการกับการเสียดุลของสาร serotonin และ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) ตัวอื่น ๆ

ยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ antidepressants เช่น selective serotonin
Rep-uptake inhibitors (SSRIs) และ anticonvulsant drugs
เช่น pregabalin (Lyrica) ซึ่งเป็นยาตัวแรกที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ใน
การรักษาโรค fibromyalgia pain

สวนใหญ่ โรคข้ออักเสบทั้งหลาย จะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ ตามเวลาที่ผ่านไป  แต่สำหรับคนเป็นโรคเก้า (gout) ไม่เป็นเช่นนั้น
ท่านอาจรู้สึกสบายเป็นปกติ แต่พอตื่นในตอนเช้าเท่านั้นแหละ  
ท่านจะมีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสถูก

โรคเก้ามักจะโจมตีข้อใหญ่  เช่น ข้อหัวแม่เท้า (great toe)  แต่สามารถเกิดขึ้น
กับข้ออื่น ๆ เช่น เท้า, ข้อเท้า, หัวเข่า, ข้อศอก, มือ, ขือมือ 
และบางครั้งอาจเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ หรือเอ็นต่างๆ ได้

โรคเก้า เป็นผลมาจากภาวะที่เราเรียกว่า hyperuricemia
ซึ่งเป็นภาวะที่มีระดับของกรด uric ในกระแสเลือดสูง...โดยกรดดังกล่าว
จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลง (break down) ของสาร purines ซึ่งได้จากการรับ
ประทานอาหารประเภทพืช ( หน่อไม้) และเนื้อสัตว์

ในบางคน สามารถสร้างกรด uric ได้มากเกินปกติ แต่บางคนสร่างได้น้อย
แต่ไตกลับไม่สามารถขับกรด uric ออกทิ้งได้ เป็นเหตุให้มีระดับกรด
ดังกล่าวในกระแสเลือดสูง

เมื่อร่างกายไม่สามารถขจัด uric acid ที่สูงเกินปกติออกจากร่างกายได้...
มันจะตกตะกิอน เป็นคริสตอลในน้ำของไขข้อได้ เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบ, ข้อบวม 
และมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น

และหากโรคเก้าไม่ได้รับการรักษา..คริสตอลของกรด uric จะสร้างเป็น
ก้อน (tophi-lumps) ในข้อต่าง ๆ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อ

ในการรักษาโรคเก้า มีเป้าหมายสองประการ:
ประการแรก คือการควบคุมอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน 
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยยากลุ่ม NSAIDs, corticosteroids,
และยาที่สกัดจากพืช เรียก colchicine

ภายหลังจากควบคุมอาการปวด และการอักเสบได้แล้ว
ซี่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่กี่วัน  ต่อจากนั้น แพทย์จะสั่งยาเพื่อควบคุมระดับของ uric 
ในกระแสเลือด พร้อมกับแนะนำให้คนไข้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ดื่มน้ำให้มาก, 
งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล และหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มี purine สูง 
( เช่น หน่อไม้, เครื่องในสัตว์ และของทะเล)...
ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้โรคเก้ากำเริบขึ้นได้
Other Arthritis-Related Diseases:
มีโรคข้ออักเสบอีกหลายอย่าง และโรคที่มีส่วนสัมพันธ์อย่างอื่น ซึ่งสามารถทำให้
เกิดอาการเจ็บปวดข้อขึ้นได้  
ในคนเป็นโรคเก้า...เราจะพบคริสตอลในกระแสเลือด และเข้าไปอยู่ในข้อต่างๆ 
เช่น ข้อนิ้วเท้าหัวแม่เท้า ทำให่เกิดการอักเสบ และมีอาการปวด

โรคเก้าเกิดขึ้นเมื่อระดับของสารที่เรียกว่า uric acid มีมากเกินกว่าไต
จะจัดการได้ และยาต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคเก้า จะจัดการกับการ
สร้างกรด Uric acid ไม่ให้มันสร้างมากไป และช่วยให้ไตทำการขับถ่าย
กรด uric ได้อย่างมีประสิทิภาพ...สามารถลอาการเจ็บปวดลงได้

โรคไขข้ออักเสบชนิดอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเรื่อรัง
ได้แก่ ankylosing spondylitis ซึ่งจะเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง และข้อ
ของกระดูกเชิงกราน, โรค polymyalgia rhuematica จะถูกระตุ้น
โดยการอักเสบของเส้นเลือด ซึ่งจะนำไปสู่อาการปวด และบวมเกิดขึ้น

นอกจากนั้น ยังมีโรคอย่างอื่นที่ทำให้เกิดมีอาการปวด ได้แก่ เอ็นอักเสบ
(tendinitis) และถุงน้ำกันการเสียดสี (bursa) เกิดการอักเสบ (bursitis)
สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างรุนแรงได้เช่นกัน

ในคนไข้เหล่านี้...
แพทย์อาจทำการยุติสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบด้วยการใช้ยา DMARDs
หรือควบคุมการอักเสบด้วยการใช้ยากลุ่ม NSAIDs
และในคนไข้ทุกราย เนีะ
ซึ่งเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์ กับข้ออักเสบ อาจได้รับยา
แก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
<<Prev

http://www.arthritistoday.org

Do You Have Arthritis ? Overview ( 2 ) : Osteroarthritis & Rheumatoid...

Do I Have Arthritis ?
Aug. 27,2013

เป็นที่ทราบกันว่า...
โรคข้ออักเสบ และภาวะต่างๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคไขข้อ 
ต่างเป็นสาเหตุหลัก  ซึ่งทำให้คนเรามีสุขภาพทรุดโทรม อ่อนเพลีย 
และมีอาการเจ็บปวด

จากสถิติซึ่งรายงานโดย Centers for Disease Control and Prevention
(ปี 2010) ว่า   ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีเป็นโรคข้ออักเสบ จะทำให้เขาไม่สามารถ
เคลือนไหวได้เท่าปกติถึง  37.7 %, ไม่สามารถทำงานได้เท่าเดิม 31.2 %
และทำให้เขามีอาการปวดอย่างรุนแรงถึง 25.6 %

เรายังพบต่อไปอีกว่า  มีโรคไขข้อ และโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่า 100 รูปแบบ
แต่ที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคข้ออักเสบจากการเสื่อมสภาพ (osteoarthritis),
โรครูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), ไฟโบรไมแอลเกีย (fibromyalgia),
และโรคเก้า (gout)  ซึ่งโรคเหล่านี้ต่างทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
ในลักษณะที่แตกต่างกัน

จากข้อมูลต่อไปนี้ เป็นการอธิบายความสั้นๆ เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบดังกล่าว
หากท่านเป็นโรคใดโรหนึ่งตามที่กล่าว ท่านจะได้ทราบว่า
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคดังกล่าว มีอะไรบ้าง ?

Osteoarthritis
osteoarthritis


ข้อของคนปกติ...
เราจะพบว่าส่วนประกอบของข้อ เช่น กระดูกอ่อน (cartilage) ที่คลุมกระดูกข้อ
จะมีลักษณะนุ่มเหมือนยาง (rubber-like) ทำหน้าที่เป็นกันชน (cushions) กระดูก-ข้อ
ไม่ให้เสียดสีกัน  มีน้ำไขข้อ (synovial fluid) สร้างจากเยื่อบุข้อ (synovium)
ทำหน้าที่หล่อลื่นให้ข้อเคลื่อนไหวได้สดวก 
Go to....http://www.healthable.org/osteoarthritis-treatment-and-genetics/

เมื่อส่วนประกอบของข้อ ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องข้องเสื่อมสภาพไป...
จะทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยลำบาก และถูกทำลายไป ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น
บางครั้งกระดูกของข้อ ซึ่งไม่มีกระดูกอ่อนปกคลุมจะเสียดสีกัน ทำให้เกิด
อาการปวดที่มีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนั้นการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในข้อ จะทำให้อาการเจ็บปวดมีความต่อเนื่อง 
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาลดการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาอาการ
เจ็บปวดที่เกิดขึ้น

นอกจาก NSAIDs แล้ว คนไข้อาจจำเป็นต้องกินยาแก้ปวด (analgesics)
เช่น acetaminophen หรือในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาที่แรงขึ้น
เช่น ยาแก้ปวด (analgesic) ผสมกับยาประเภท opioid เช่น codeine
หรือ hydrocodone.

โรคข้อเสื่อม (OA) มักจะเกิดขึ้นกับข้อเข่า (knee), ข้อสะโพก (hips), เท้า (feet), มือ (hands) 
และนิ้วมือ (fingers), ข้อมือ (wrists), คอ (neck) และกระสันหลัง (spine)
โดยทั่วไป ข้ออักเสบเสื่อมสภาพ  ( OA ) ทั้งสองข้างจะไม่เกิดขึ้นเหมือนกัน
เช่น ข้อเข่า (knee joint) เป็นต้น

อาการปวดที่เกิดโรค OA มีระดับที่แตกต่างกันไป จากน้อยไปถึงระดับปวดพอประมาณ 
ซึ่งสามารถทำให้บรรเทาได้ด้วยการใช้ยา แก้ปวด, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
ส่วนที่รุนแรง  ข้อถูกทำลายลงมาก จนทำให้่คนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าเปลี่ยนข้อในที่สุด

Rheumatoid Arthritis

อาการเจ็บปวดจากโรครูมาตอยด์ (RA) มักเป็นผลมาจากการอักเสบของข้อเป็นเบื้องแรก 
โดยที่การอักเสบดังกล่าว ไม่ได้เป็นผลมาจากส่วนประกอบของข้อเสียดสีซึงกันกัน
เหมือนโรค OA... แต่เป็นผลมาจากความผิดปกติในระบบภูมคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยนไป

ตามปกติ ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อบาดเจ็บที่คนเราได้รับ หรือโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยการ
กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในระยะสั้นๆ  และการอักเสบทที่เกิดขึ้น บอกให้ท่านได้ทราบว่า 
ท่านมีปัญหา ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

ในโรครูมาตอยด์...
ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยนไป และหันอาวุธเข้าทำลายตนเอง
จนเป็นเหตุให้มีการอักเสบเกิดขึ้นนั้น  จะพบว่า การอักเสบที่เกิดขึ้น เป็นการอักเสบเรื้อรัง
มากกว่าที่จะเป็นการอักเสบระยะสั้น

เมื่อเวลาผ่านไป...
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) ไม่เพียงต่ทำให้เกิดมีอาการปวดเท่านั้น แต่มันยังทำลายข้อ 
และทำให้ข้อถูกแปรสภาพเป็นข้อที่ถูกทำลายอย่างถาวรได้
นอกจากทำลายข้อแล้ว โรคดังกล่าว ยังสามารถทำลายอวัยวะภายในได้อีกด้วย 
เช่น  ตับ (liver), ตับอ่อน (pancreas), หัวใจ (heart), และตา (eyes)

เมื่อโรค RA เกิดขึ้นกับเด็ก เราเรียกว่า juvenile idiopathic arthritis
เป็นโรคที่สามารถทำลายข้อของเด็ก และมีความรุนแรงได้สูงมาก

ในคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ มักจะมีอาการปวดเกิดซ้ำขึ้นมาใหม่อีก หรือ
มีอาการอักเสบอย่างรุนแรงประมาณสองสามวัน หรือหลายอาทิตย์
แล้วอาการก็หายไป

ในการรักษาโรครูมาตอยด์...
แพทย์จะสั่งยายับยั้งการอักเสบ ซึ่งเกิดจากกระบวนการของภูมิคุ้มกัน
โดยยาที่ใช้ได้แก่ยา กลุ่ม disease-modifying antirheumatic drugs
(DMARDs) ...โดยชื่อของมันแล้ว มันจะทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการที่
ก่อให้เกิดการอักเสบ 

นอกจากนั้น ยังมียาอีกกลุ่ม...ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนการตอบสนองทางชีวภาพ  
เป็นการทำหน้าทีระดับเซลล์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Biologics
(biologic response modifiers )

นอกจากการใช้ยากลุ่ม DMARDs เพื่อจัดการกับปัญหาด้านภูมิคุ้ม
กันแล้ว ท่านอาจจำเป็นต้องใช้ยา NSAIDs หรือ analgesics (ยาแก้ปวด)
ร่วมด้วยก็ได้

<< Prev.    >> Next

Do You Have Arthritis ? ( 1 ) Overview

Aug. 27,2013

คนสูงอายุจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่า...
อาการปวดที่เกิดขึ้นที่บริเวณข้อ  ถือเป็นส่วนหนึ่งของคนที่อายุย่างเข้าสู่วัยชรา
โดยไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้...พวกเขาจะไม่พูดให้แพทย์ของเขาได้รับทราบ
เพราะคิดว่า  คงไม่จำเป็นต้องทำอะไร...
ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด ๆ มาเป็นเวลานาน...จากรุ่น...สู่รุ่น

ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเป็นความเข้าใจผิด คนเราก็ยังเชื่อเช่นนั้น...
โดยมีคนหนุ่มจำนวนไม่น้อยพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อ, ข้อบวม หรือข้อแข็ง 
ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ  อาจไม่คิดว่า
ข้ออักเสบได้เกิดขึ้นกับเขาแล้ว  และเขาอาจแปลกใจที่ได้เรียนรู้ว่า
ข้ออักเสบสามารถเกิดขึ้นกับคนเราได้ทุกอายุ แม้กระทั้งเด็กเล็ก

การป้องกัน:
การรักษาข้อของตนเองให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดไป
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตของทุกคน เพื่อสุขภาพที่ดี, มีคุณภาพชีวิตที่ดี
สามารถปฏิบัติภาระกิจได้ตามปกติ  และที่สำคัญ ไม่ต้องพึงพาคนอื่น

ดังนั้น ถ้าหากท่านเกิดมีข้ออักเสบขึ้น...
สิ่งที่ท่านต้องทำ คือ ต้องตรวจให้ทราบตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมกับเริ่มขั้นตอนการ
ปกป้องข้อของท่านจากความเจ็บปวด และำไม่ให้ถูกทำลายจากการอักเสบ 
ซึ่งเป็นภาวะทีเกิดจากการอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ และให้การรักษาได้แต่เนิ่น ไม่เพียงแต่จะ
ป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายเท่านั้น เพราะมีโรคข้ออักเสบบางชนิดยังสามารถ
ทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจ และอวัยวะภายในอื่นๆ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิด
ข้ออักเสบแล้ว  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และเหมาะสม

การวินิจฉัยโรค:
โรคไขข้ออาจเป็นเรื่องง่าย ๆ, หมู ๆ...แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
ทั้งนี้เพราะ ปราฏว่ามีโรคไขข้อมากกว่า 100 ชนิด รวมถึงภาวะต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กับข้ออักเสบ ซึ่งทำให้คนเรามองข้ามไป

ข้ออักเสบ สามารถเริ่มต้นได้หลายรูปแบบ และสามารถทำให้ยากต่อการรับรู้ 
โดยอาจเริ่มต้นด้วยอาการไม่รุนแรง (mild) ค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ...หรือเกิด
ขึ้นอย่างเฉียบพลัน และก่อให้เกิดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง 
ด้วยอาการที่รุนแรง

อาการ และอาการแสดงของข้ออักเสบอาจมาในรูปแบบ...
ปรากฏขึ้น  แล้วก็หายไปตามเวลาที่ผ่านไป มันอาจมาด้วยอาการตามแบบฉบับ
ของข้ออักเสบ (classic) เช่น ปวดข้อ, ข้อบวม, ไม่สามารถขยับเขยื่อนข้อได้ 
หรืออาจปรากฏเป็นครั้งแรก  ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับ
ข้ออักเสบ เช่น  มีอาการเหนื่อยล้า หรือมีผื่นตามผิวหนัง

อาการข้ออักเสบในตอนแรก อาจทำให้เข้าใจผิดว่า เป็นอาการ
ของบาดเจ็บ ที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป

แน่นอน...
อาการเจ็บ หรือปวดที่ข้อ...ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกรายไป
แต่มีอาการ และอาการแสดงบางอย่าง ซึ่งสามารถบ่อกให้เราได้ทราบว่า มันอาจ
มีอะไรบางอย่างมีความรุนแรงมากกว่าที่เราคิดก็ได้  ดังนั้น การที่ท่านจะทราบ
ได้ว่า ท่านเป็นโรคไขข้ออักเสบหรือไม่ ? จึงมีความสำคัญ

สำหรับคนส่วนใหญ่...แพทย์ทั่วไปสามารถบอกท่านได้ แต่มีบางกรณี
ท่านอาจถูกส่งไปพบแพทย์เฉพาะทาง (ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ-กระดู) 
ซึ่งมีประสบการณ์ในการดูแลรักษาโรคดังกล่าว  รวมถึงโรคที่มีความสัมพันธ์ด้วย

>> Next

http://www.arthritistoday.org

อาการเจ็บปวดจากความผิดปกติทางจิต (Psychogenic pain)

Aug. 26,2013



ตามคำจำกัดความ...Psychogenic pain เป็นคำอธิบายความสำหรับ
อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางจิต (psychological factors)
เช่น ความเครียด (anxiety), ภาวะซึมเศร้า (depression) ซึ่งเป็น
อาการปวดเรื้อรัง

Psychogenic pain ส่วนมากจะรักษาได้ยากกว่า nocieptive pain
หรือ neurogenic pain

Nociceptive pain เป็นอาการปวดที่รับได้โดยเส้นประสาทรับความรู้สึก
ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เรียก nociceptors ซึ่งมีอยู่ในผิวหนัง, กล้ามเนื้อ และ
อวัยวะภายใน โดยแบ่งออกเป็นสองชนิด: somatic pain จะเป็นความ
รู้เจ้บปวดที่มาจากข้อ, กระดูกกล้ามเนื้อ, และเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ความเจ็บปวดชนิดที่สอง คือ visceral pain เป็นอาการปวดที่มาจาก
อวัยวะภายในร่างกาย

ส่วน neuropathic pain เป็นคำที่บอกถึงความเจ็บปวดที่เกิดจาก
เส้นประสาทถูกระคาย, เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หรือถูกทำลาย

ยาแก้ปวดที่เคยใช้เพื่อรักษาอาการปวด ซึ่งมีต้นเหตุมาจากปัญหา
ทางร่างกาย  เช่น การอักเสบ หรือเส้นประสาททำงานผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม  อาการปวดจากความผิดปกติทางจิตใจ 
ซึ่งไม่มีความผิดปกติทางกายนั้น จะตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา 
 เช่น รักษาด้วย TENS และ Distraction

TENS หมายถึง transcutaneous electrical nerve stimulation
ซึ่งแค่ดูชื่อน่ากลัวกว่าที่เป็นจริง เป็นการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
โดยการวาง electrode ไว้ในตำแหน่งที่มีความเจ็บปวด เมื่อ
ปล่อยกระแสไฟฟ้าระดับอ่อน ๆ ให้วิ่งผ่านผิวหนังไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่
ใต้ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกซ่า รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มแทงเอา...

เราเชื่อว่า TENS ทำงานโดยไปทำลายคลื่นความเจ็บปวด
โดยคลื่นกระแสไฟฟ้าที่แตกต่างจากสัญญาณความเจ็บปวด โดยทำ
ให้คลื่นของความเจ็บปวดลง...ซึ่งบางท่านกล่าวว่า
การรักษาด้วย TENS เป็นการปิดประตู ไม่ให้คลื่นความเจ็บปวดส่ง
ไปยังสมองได้ (close pain gate)

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาจากหลายสำนักกล่าวว่า...
ผลของการรักษาโดย TENS จะไม่ดีไปกว่าการรักษาแบบหลอก ๆ

ท่านอาจคิดว่า...
ไม่มีอะไรสามารถทำให้ท่านเบี่ยงเบนไปจากความปวดเรื้อรัง ซึง
กำลังรบกวนท่านอยู่...แต่ความจริงมีว่า เมื่อท่านกำลังปวดศีรษะ ใน
ขระเดียวกัน ท่านดูโปรแกรมโทรทัศน์ที่น่าสนใจ ท่านอาจลืมความ
เจ็บปวดลงได้

จากความจริงดังกล่าว ได้ปรากฏว่า มีเทคนิคในการรักษาความปวดเรื้อรัง
ด้วยกลวิธีที่เรียกว่า distraction technuques ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งปัน
ความสนใจไปให้สิ่งอื่นที่น่าภิรมณย์กว่านั้นเอง

ในบางครั้ง ท่านอาจคิดว่า ความเจ็บปวดจะอยู่ภายในศีรษะของท่าน
ตามเป็นจริง...ท่านคิดถูกเพียงส่วนเดียว
ความเจ็บปวดที่ท่านได้รับจะอยู่ทางด้านนอกของร่างกาย 
โดยส่งผ่านเซลล์ประสาทชื่อ nociceptors ไปยังสมอง...
จากนั้น...สมองเองจะทำหน้าที่แปลผลว่า มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น

คำถามมีว่า...ในการแปรผลสัญญาณที่ส่งมาจาก nociceptors...
บางครังยังต้องขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น ในขณะที่ท่านมีอาการเจ็บปวด...
ท่านถูกห้อมล้อมด้วยเหตุการณ์หลายอย่าง ซึ่งท่านต้องให้ความใสใจ
เช่น ท่านกำลังอยู่ที่สนามบิน จะทำให้ท่านรู้สึกเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดแตกต่าง
ไปจากความรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ท่านอยู่ในห้องมืด 
โดยไม่ต้องมีอะไรดึงดูดความสนใจของท่านเลย

สมองของคนเรายังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นๆ อีกมากมาย...
โดยสัญญาณความรู้สึกเจ็บปวด  จะต้องแข่งขันกับสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวของท่าน...
และสมองเองจะให้ความสนใจกับสัญาณความเจ็บปวดได้มากน้อยแค่ใหน 
ย่อมขึ้นกับระยะเวลาที่ท่านได้รับการบาดเจ็บ
รวมถึงอารมณ์ของท่านในระยะนั้น...

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น...
ถ้าท่านมีความเจ็บปวดเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
แต่ท่านอาจใช้กรรมวิธีอย่างอื่น  เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดให้ดีขึ้นด้วยการเบี่ยงเบน
ความสนใจจากความเจ็บปวด สู่สิ่งอื่นที่ให้ความเพลิดเพลินกว่า (distraction)

ทุกคนต่างมีกรรมวิธีทำให้หายจากความเจ็บปวดได้ต่างกัน 
ซึ่งคล้ายกับการใช้ยารักษาอาการเจ็บปวด....
โดยแต่ละคน  ต่างมีวิะีการที่เหมาะสมจัดการกับอาการเจ็บปวด
ที่ท่านกำลังประสบอยู่  เช่น:

• ดูรายการโทรทัศน์ที่ท่านสนใจ
• ชวนเพื่อน...และคุยเริ่องที่น่าสนใจ
• อ่านหนังสือ
• มีส่วนร่วมกับงานอดิเรก
• ทำงานที่ ท้าทาย
• ฟังเพลง
• เล่นเกม และ
• อื่น ๆ

โดยสรป...
แม่ว่ากลวิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งที่เพลิดเพลินกว่า จะไม่ทำ
ให้ความเจ็บปวดหายได้ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม แต่มันสามารถทำให้ท่าน
ทำงานอย่างอื่นได้ และบางที มันอาจทำให้การรักษาอาการปวดได้ง่ายขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อท่านต้องมีชีวิตร่วมกับความเจ็บปวดเรื้อรัง


http://pain.about.com/

ปวดส้นเท้า (HEEL PAIN)

Aug. 26,2013

ทุกก้าวย่างที่ท่านเดิน...
เมื่อท่านลงน้ำหนักไปที่เท้าแต่ละข้าง 
เท้าทั้งสองของท่านสามารถจัดการกับน้ำหนักที่ลงไปบนเท้าแต่ละข้างได้...
แต่หากมีน้ำหนักที่ลงนั้นมีมากเกินกว่าที่มันจะจัดการได้  ย่อมก่อให้เกิด
ความเสียหายให้เกิดขึ้นกับเท้าของท่านได้

เมื่อท่านลงน้ำหนักเหยียบลงไปบนพื้นแข็งกระด้างขณะเล่นกีฬา หรือ
สรวมรองเท้าที่สึกหรอ มันอาจระคายเนื้อเยื่อของเท้าที่มีความไวผิดปกติได้ 
และสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เท้าได้
ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดที่เกิดขึ้นกับเท้า และข้อเท้า

อาการเจ็บปวดที่ส้นเท้า...
ส่วนมากมันจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องพึงพาศัลยกรรมรักษาเลย
แต่มีข้อแม้ว่า ท่านต้องให้เวลา ให้เท้าได้พักจากการใช้งานได้เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยละเลยต่ออาการปวด 
ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นที่บริเวณส้นเท้าไป และยังเดินต่อไป
โดยไม่ได้ให้ความสนใจแม้แต่น้อย

จากการปล่อยปละละเลย ไม่ได้ให้การดูแลรักษาส้นเท้าตามที่ควรจะเป็น
จากภาวะเจ็บปวดส้นเท้าชนิดเฉียบพลัน แม้ว่าจะมีอาการไม่มาก มันอาจ
กลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาได้มากมายได้

การวินิจฉัย และการรักษา
อาการปวดส้นเท้าสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ...
ถ้าท่านเกิดมีอาการปวดส้นเท้า แล้วไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจดูว่า
มันเกิดอะไรขึ้น และได้รับการรักษาตามความเหมาะสม...

เมื่อท่านไปพบแพทย์ ท่านจะต้องบอกให้เขาได้ทราบว่า อาการปวดอยู่
ที่ตำแหน่งใด, เกิดขึ้นนานเท่าใด...จากนั้น ท่านจะได้รับการตรวจ
ที่บริเวณเท้า และบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด ดูโครงร่างของเท้า ดูจุดที่มี
ความเจ็บปวด แพทย์อาจบอกให้ท่านยืน...ลงน้ำหนักทีละข้าง 
และให้ท่านเดิน ในขณะเดิน  แพทย์จะสังเกตุดูลักษณะการเดินของท่าน...

โรคต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า จะถูกแบ่งเป็นสอง
กลุ่ม: กลุ่มที่ต่ำกว่าส้นเท้า (pain beneath the Heel) และกลุ่มที่อยู่
ด้านหลังของส้นเท้า (pain behind the Heel)

Pain Beneath the Heel
ถ้าอาการเจ็บปวดเกิดในบริเวณต่ำกว่าส้นเท้า...
ท่านอาจมีโรคหนึ่ง หรือมากว่าหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของ
เนื้อเยื่อที่อยู่ที่ด้านล่างของเท้าของท่าน

Stone Bruise: เมื่อท่านเหยียบบนของแข็ง เช่น ก้อนหิน
มันสามารถทำให้เกิดรอบฟอกซ้ำ (bruise) ที่ไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง
ซึ่งในกรณีดังกล่าว เราจะไม่พบรอยฟกช้ำ และเมื่อได้พัก
อาการเจ็บปวดจะค่อยๆ หายไป

Plantar Fasciitis (Subcalcaneal Pain): ถ้าท่านวิ่ง หรือ
กระโดด ท่านสามารถทำให้แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างกระดูกส้นเท้า กับ
ฐานของนิ้วเท้าเกิดการอักเสบ และอาการเจ็บปวดจะอยู่ตรงกึ่งกลาง
ของส้นเท้า ซึ่งในระยะแรกอาจมีอาการไม่มาก แต่อาการอาจเลวลง
เมื่อท่านเหยียบลงบนพื้น

ทานอาจจำเป็นต้องทำการบริหารเท้าเป็นการเฉพาะ และรับประทาน
ยาลดการอักเสบ เพื่อลดอาการบวม และใช้อุปกรณ์เสริมที่อ่อนนุ่ม
รองส้นเท้าเอาไว้

Heel Spur: หากการอักเสบของแผ่นพังผืดของฝ่าเท้ายังคง
ดำเนินต่อไปเป็นเวลานาน อาจมีหินปูนสะสมตรวบริเวณแผ่น
พังผืดยึด ที่เกาะกับกระดูกส้นเท้า ซึ่งท่านสามารถมองเห็นได้
จากภาพเอกซเรย์ว่า มีกระดูกงอกออกมา โดยมีขนาดแตกต่างกัน

ในการรักษาโรคดังกล่าว เป็นเช่นเดียวกับการรักษาโรค plantar
Fasciitis ทุกประการ: นั่นคือพักผ่อนจนกว่าอาการปวดจะหายไป,
ทำการยืดเส้น (stretching exercise) และสรวมรองเท้าที่เสริมด้วย
ยางฟองน้ำ...

การมีหินปูนที่ส้นเท้า (heel spur) ไม่ได้หมายความว่า มันเป็นต้นเหตุของ
อาการเจ็บปวด และไม่ควรทำการผ่าตัด...
ยกเว้นเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดเรื้อรังเท่านั้น ?

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendonitis)
เอ็นร้อยหวายอักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณด้านหลังของ
กระดูกส้นเท้า โดยจะมีอาการปวดมากในตอนเช้าเมื่อลุกจากเตียง
และภายหลังจากนั่งเป็นเวลานาน

คนที่เป็นโรคดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นกับนักวิ่งแข่ง หรือคนที่ชอบเดิน
ในบางคนจะเกิดการอักเสบของถุงน้ำกันการสะเทือน (Heel bursa)
ซึ่งอยู่ระหว่างเอ็นร้อยหวายกับกระดูกส้นเท้า...

การอักเสบของถุงดังกล่าว (Heel bursitis) จะทำให้มีอาการคล้าย
กับอาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ

การเกิด Heel Bursitis มักเกิดจากกระดูกซ่นเท้านูนมากผิดปกติ
ซึ่งมีชื่อเรียก Haglunds deformity

ไม่ว่าจะเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบ (Acheles tendinitis) หรือ Heel Bursitis 
จะมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อของน่อง (calf muscle) มีความตึงมากเกินไปนั้นเอง

การรักษา (Treatment)

ท่านสามารถ รักษาภาวะดังกล่าวได้ด้วยการยึดกล้ามเนื้อน่อง
(calf stretch), ยกส้นเท้าให้สูงด้วยการเสริมส้นรองเท้า, ประคบ
ด้วยนำ้แข็ง, ในเฝือกในตอนกลางคืน, และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม...
นอกจากนั้น การใช้ยานวด และยาลดการอักเสบ (ibuprofen )
สามารถลดอาการปวดได้
Go to....http://arunshanbhag.com

มีบางรายเอ็นร้อยหวายมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเสื่อมสภาพ และ
พบว่า การรักษาจะยากขึ้น ซึ่งในรายดังกล่าวอาจจำเป็นต้องให้พัก รวม
กับกายภาพบำบัดนานหน่อย
Go to.. http://heelpaininfo.net

สำหรับในรายที่ด้านต่อการรักษา (resistant)...
อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาส่วนที่เสื่อมสลายออกทิ้งไป

นาน ๆ ที...เราจะพบคนไข้ที่เป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดการฉีกขาด
โดยเราจะพบในผู้ชายช่วงวัยกลางคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเล่นกิฬา
ในวันหยุดสัปดาห์ (soccer, basketball)

http://www.houstonfootandanklesurgeon.com

เมื่อท่านมีความสงสัย ? : Piriformis Syndrome or Sciatica ?

Aug. 25,2013

เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่บริเวณสะโพก มีอาการร้าวไปยังขา
นอกจากท่านได้รับความทรมานจากอาการปวดดังกล่าว  ท่านอาจเกิดความสับสน
ได้ ตอคำวินิจฉัยที่ท่านได้รับ  เมื่อท่านได้รับข้อมูลจากแพทย์หลายนาย 
ซึ่งแพทย์บางท่านบอกท่านว่า  ท่านเป็นโรคทับเส้นประสาทจากหมอนกระดูก....
ส่วนอีกท่านหนึ่งบอกว่า  ท่านเป็นโรคทับเส้นประสาทจริง 
แต่ไม่ใช้จากหมอนกระดูกหรอก...

ผู้เขียนได้รับคำถามจากเพื่อนผู้เคราะห์ร้ายว่า...
อาการของเขา (อาการปวดหลัง และร้าวไปยังขานั้น) เป็นโรคอะไรกันแน่ ?

ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่า...เขาเป็นโรคอะไรกันแน่
เพราะมีอะไรหลายอย่าง ที่เราคิดว่าถูกต้อง  แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง
สิ่งที่เราเคยคิดว่า ถูกต้องนั้น...มันกลายเป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว
Go to link... http://www.eorthopod.com

อย่างไรก็ตาม  คนที่เป็นโรคหมอนกระดูกระดับล่างแตก และกดรากประสาท
จะมีอาการปวดหลังระดับล่าง พร้อมกับมีอาการปวดร้าวไปยังขา
จากการตรวจร่างกาย พบว่า การตรวจ Straight leg raising จะได้ผลเป็นบวกเสมอ
ซึ่งยืนยันว่า หมอนกระดูกแตกจริง โดยการตรวจพิเศษ MRI scans
สามารถบอกได้ว่า หมอนกระดูกแตกจริงหรือไม่?
ภาวะดังกล่าว เป็นภาวะที่เส้นประสาทถูกกดทับที่ระดับเอว 
และถูกเรียกว่า  Sciatica
Go to...http://www.clinicalexams.co.uk/piriformis-syndrome.asp

ในนักกีฬา เมื่อกล้ามเนื้อ piriformis ได้รับบาดเจ็บ...
จะทำให้กล้ามเนื้อักเสบเกิดการอักเสบ  และเกิดการระคายต่อเส้นประสาทไซเอติก
เป็นเหตุให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท  ซึ่งเรียกว่า siatica เช่นเดียวกัน 
เรียกภาวะดังกล่าวว่่า piriformis syndrome

ในการตรวจวินิจฉัยภาวะ piriformis syndrome...
ปรากฏว่า  เราไม่มีการตรวจเป็นการเฉพาะ เหมือนภาวะหมอนกระดูกแตก

อาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท “ไซ-เอ-ติก” จากกล้ามเนื้อ piriformis
จะถูกเรียกว่า “ไซ-เอ-ติ-ก้า” เช่นเดียวกัน โดยที่อาการปวดร้าวไปยังด้าน
หลังของต้นขา สู้เท้า และ หรือ มีอาการปวดร้าวขึ้นสู่ด้านบนสู่หลังส่วนล่างด้วย 
ซึ่งอาการจะเลวลงเมื่อคนไข้นั่งลง,หรือนั่งยอง ๆ หรือเดินขึ้นบันไดหลายขั้น 

กล้ามเนื้อ piriformis จะทำหน้าที่ช่วยถ่างต้นขาออกนอกลำตัว
และหมุนต้นขาออกทางด้านนอก (adduction & laterally rotating the thigh)

เมื่อมีการยืด (stretching)กล้ามเนื้อ piriformis มักจะทำให้คนไข้ที่เป็นโรค
 piriformis syndrome  จะทำให้เกิดมีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทไซเอติค
ซึ่งกระทำได้ด้วยการตรวจ FAIR  test  (hip flexion = F, Adduction = A, 
Internal = I, Rotation = R):

ซึ่งท่่านสามารถทำการตรวจได้ด้วยตัวของท่านเอง  เป็นการตรวจง่ายๆ ดังนี้:
ให้ท่านนอนหงาย งอสะโพก และข้อเข่าได้ด้านขวาประมาณ 60 องศา
ให้่ใช้มื่อด้านซ้ายจับเข่าด้านขวา...ดึงเข้าหาไหล่ซ้ายของท่าน

ในขณะที่มือด้านซ้ายถึงหัวเข่าด้านขวาสู่ไหล่ด้านซ้าย...
ให้ใช้มือด้านขวาของท่าน จับที่ข้อเท้า แล้วถึงออกทางด้านนอกของแกน
กลางของร่างกาย...เป็นการบิดหมุนข้อสะโพกเข้าด้านใน (internal rotation)
จากการกระทำดังกล่าว...จะทำให้กล้ามเนื้อ piriformis ด้านขวา
ถูกดึงให้ยืดออก

การวินิจฉัย (Diagnosis)
ในการวินิจฉัยภาวะ piriformis syndrome กระทำได้โดยอาศัยข้อมูล
จากประวัติของอาการ และการตรวจร่างกาย โดยไม่มีการตรวจใดเพื่อยืนยัน
คำวินิจฉัยได้เลบ  ส่วนการตรวจ X-rays, MRI scans และการตรวจประเมิน
การทำงานของเส้นประสาท (nerve conduction tests) อาจมีความจำเป็น
เพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกไป...

สาเหตุอย่างอื่น ซึ่งทำให้เกิดมีอาการ “ไซ-เอ-ติ-ก้า” ได้แก่:
โรคของกระดุกสันหลังเอง เช่น หมอนกระดูกแตก (herniated disc),
ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อ “แฮมสตริง” (chronic Hamstring
Tendinitis), และเส้นประสาท “ไซ-เอ-ติก” ถูกยึดติดด้วยพังผืด...

การรักษา (Treatment)
เมื่อได้รั้บการวินิจฉัยได้ถูกต้อง...
การรักษาที่คนไข้จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (stepwise)
เริ่มต้นด้วยการยีดกล้ามเนื้อ piriformis จากน้อยไปหามาก
โดยเริ่มทำการยืดกล้ามเนื้อเพียง 5 วินาทีก่อน จากนั้น ค่อยเพิ่มเวลา
จนกระทั้งถึง 60 วินาที...จากนั้นให้ทำซ้ำกันวันละหลายครั้ง
หากมีปัญหาด้านชีวะกลศาสตร์ เช่น overpronation ของเท้าก็ให้แก้ไขเสีย

ในการยืด (stretching) กล้ามเนื้อ piriformis...
สามารถใช้ร่วมกับกายภาพบำบัดอย่างอื่น เช่น การรักษาด้วยอัลตร้าซาวนด์
ถ้าผลของการรักษาตามที่กล่าวมาไม่ประสบผล...การรักษาขั้นที่สองจะกระ
ทำด้วยการฉีด corticosteroids เข้าไปในกล้ามเนื้อ piriformis

ส่วนขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการผ่าตัดจะสงวนเอาไว้เมื่อการรักษาที่กล่าวมา
ไม่ประสบผล

http://www.coreconcepts.com

เมื่อท่านมีอาการปวดฝ่าเท้า: Treating And Preventing Plantar Fasciitis

Aug. 25,2013

สำหรับท่านที่ใช้เท้าทำงานหนักเป็นประจำ...
เช่น เล่นกอล์ฟ, วิงจ๊อกกิ่ง, หรือยืนทำงานทั้งวัน ท่านอาจมีอาการปวดที่บริเวณฝ่าเท้า 
โดยเฉพาะเวลาวิ่ง หรือแม้กระทั้งเริ่มต้นก้าวเท้าจากเตียงนอนในตอนเช้า

Go to link:   http://www.sdri.net

เมื่อท่านไปพบแพทย์...
คำถามที่ท่านต้องการคำตอบ คือ อะไรเกิดขึ้นกับเท้าของท่าน

“What ‘s Going On In There ?”

เอ็นพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis)... 
เป็นการอักเสบของเยื่อพังผืด ซึ่งมีลักณะเป็นแผ่นตรึงระหว่างกระดูกซ่นเท้า กับ
ทางปลายเท้า โดยทำหน้าที่พยุง (support) โครงกระดูกเท้าให้คงสภาพ 
และช่วยให้เท้ามีความั่นคงทั้งในขณะยืนลงน้ำหนัก  และยันน้ำหนักตัว
ให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้า

การอักเสบ และอาการปวด เป็นผลมาจากการที่เอ็นพังผืดของฝ่าเท้า
มีความตรึงมากเกินไป (ทำงานมาก)  ซึ่งมักเกิดจากกล้ามเนื้อที่บริเวณน่อง
(calf muscle) ที่ยึดกับกระดูกซ่นเท้า (heel bone) ด้วยเอ็น ชื่อ Achilles tendon

เมื่อกล้ามเนื้อของน่อง (calf muscle) มีความตึงมากเกินไป...
มันจะดึงกระดูกซ่นเท้าจากด้านบน ทำให้แผ่นพังผืดที่อยู่บริเวณ
ฝ่าเท้าให้ยืดออก  หากแรงที่ดึงมีมากเกินไป สามารถทำให้แผ่นพังผืดฉีกขาด 
เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดที่บริเวณฝ่าเท้าได้

คนที่มีโครงกระดูกเท้า  ซึ่งมีอุ้งเท้าสูง (high arch)...
มีแนวโน้มที่จะเกิดพังผืดฝาเท้าอักเสบ (plantar fasciitis)
ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะตัวโครงกระดูกเท้าเอง มีส่วนสำคัญในการกระ
จายน้ำหนักตัวไปยังแผ่นพังผืดของเท้าได้สูง  เหมือนการน้าวสายคันทนู...
เป็นเหตุให้มีการฉีดขาด และการอักเสบของแผ่นพังผืดดังกล่าวได้

ในรายที่แผ่นพังผืดของฝ่าเท้า ได้รับบาดเจ็บน้อย (mild case) ...
อาจเปลี่ยนเป็นรายที่มีการอักเสบรุนแรงในเวลาต่อไปมา 
ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น  จนถึงขั้นทำให้คนไข้ไร้ประสิทธิภาพในการ
เดินเหิน  ต้องเสียเวลารักษานานเป็นเดือน

คำถามถัดไปที่ท่านต้องการทราบ...
เราจะแก้ไขภาวะดังกล่าวอย่างไร ?

การรักษาภาวะพังฟืดของฝาเท้าอักเสบกระทำได้ดังต่อไปนี้:

• Employ dynamic rest.
ให้งดเว้นพฤติกรรม หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด 
ยิ่งท่านสามารถแก้ไขภาวะพังผืดอักเสบได้ไว โอกาสที่จะหายยิ่งมีมาก

คำถามที่ท่านสงสัย คือจะต้องใช้เวลาในการพักรักษานานเท่าใด ?
คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้  อยู่ที่ความรุนแรงของโรค...
แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 อาทิตย์
ซึ่งท่านจะต้องยึดมั่นกับกิจกรรมของท่านอย่าเคร่งคัดที่สุด ไม่ให้มีแรงจาก
ร่างกายส่วนบนกดลงบนฝ่าเท้ามากเกินไป...

• Stretching. (ดูเรื่อง Prevent it)

• Try an NSAIDS

การใช้ยาลดการอักเสบ เช่น ibuprofens หรือ naproxen สามารถลด
อาการปวดและการอักเสบของแผ่นพังผืดฝ่าเท้าลงได้

• Consider night splints.
การใส่เฝือกเท้า (foot splints) ในตอนกลางคืน สามารถช่วยได้้มาก
ให้งดเว้นการออกกำลังกาย ซึ่งมีแรงกดบนเท้าเอาไว้ก่อน จนกว่า
อาการปวดจะหาย
   
• Prevent it.
ท่านสามารถป้องกันไม่ให้แผ่นพังผืดเเกิดการอักเสบขึ้นได้อีก
ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการทำให้แผ่นพังผืด
มีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ...
โดยการใช้ปลายเท้าทั้งสองเหยียบที่สันประตู ยืนปล่อยให้น้ำหนัก
ตัวลงที่ซ่นเท้าอย่างช้าๆ  จะทำให้พังผืดฝ่าเท้าค่อยๆ เหยียดออก
นับ 10 ให้ทำวันละหลายครั้ง ถ้าจะให้ดี ควรบริหารทาดังกล่าวก่อน
ออกกำลังกาย (เล่นกอล์ฟ์, หรือวิ่ง...)

หรืออาจยืดแผ่นพังผืดที่ฝ่าเท้าด้วยการดึงปลายเท้า....ตามรูปภาพ นับ 10
วัีนหนึ่งๆ ให้ทำหลาย ๆ ครั้ง


• Roll it.
ใช้ลูกเทนนิส หรือลูกกอลฟ์กลิ้งตามฝ่าเท้าไปมา วันลหลายครั้ง สามารถทำให้
ให้เยื่อดังกล่าวผ่อนคลายลงได้


• Try Arch Support.

 http://triathlon.competitor.com/

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

What is Piriformis Syndrome?


Aug. 25,2013

ท่านเคยมีอาการปวดที่บริเวณด้านข้างของแก้มก้นหรือเปล่า ?
อาการปวดมีลักษณะเหมือนมีอะไรกัดแทะ, ปวดตุบๆ ทีบริเวณแก้มก้น
โดยที่อาการดังกล่าว  อาจเป็นภาวะที่เราเรียกว่า piriformis sydrome ก็ได้นะ ...

Go to link...
http://www.methodistorthopedics.com

Piriformis syndrome เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาท sciatic ได้รัผลกระทบใน
บริเวณของกล้ามเนื้อที่มีชือ่ว่า  piriformis ทำให้เกิดอาการทางประสาท...
โดยมีอาการปวดวิ่งลงไปยังขา  พร้อมกับการทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการดังกล่าวสามารถมีลักษณะเหมือนกับภาวะหมอนกระดูกสันหลังแตก
(disc herniation) หรือเส้นประสาทถูกกดในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง  
ซึ่งเป็นเหตุให้ยากต่อการวินิจฉัย  จึงทำให้ piriformis เป็นภาวะ
ที่ไม่ค่อยได้ยินคนกล่าวถึงเท่าใด

Anatomy of the piriformis:
Piriformis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในบริเวณสะโพก หรือแก้มก้น
มันเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ  อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่อยู่ลึกลงไป โดยมีกล้ามเนื้อ
มัดใหญ่ชื่อ gluteus maximus คลุมเอาไว้

Go to link...  http://si-instability.com/

กล้ามเนื้อ piriformis จะเกาะตัวทางด้านหน้ากระดูกส้นหลังส่วนที่
เรียก sacrum และไปยึดเกาะที่  greater trochanter ซึ่งเป็นส่วนบนของกระดูกต้นขา (femur)

กล้ามเนื้อ piriformis ทำหน้าที่เป็นตวบิดต้นขาออกทางด้านนอกแกนของลำตัว
( external rotator) พร้อมๆ ช่วยขอข้อสะโพก (flexion)
และเนื่องจากมันยึดเกาะใกล้กับกระดูกสันหลัง และมีเส้นประสาท และเส้นเลือดแดง   
ซึ่งมีทั้งวิ่งลอด และวิ่งข้ามกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว

มีรายงานว่า...
เส้นประสาท Sciึ่atic เป็้ี่นเส้นป่ี่ิ่ีี่ีีระสาทที่มีขนาดใหญ่  พบว่ามันทอดผ่านกล้ามเนื้อ  
 piriformis   ถึง  22 % ของประชาชนทั่วไป   ดังนั้น 
จึงทำให้เส้นประสาท sciatic มีความเสี่ยงต่อการถูกหนีบหรือถูกกดได้สูง

Mechanism of injury:
กลไกการเกิดโรค  piriformis syndrome ยังไม่เป็นที่ทราบชัดแจ้ง
แต่มีบ่อยครั้งที่พบว่า ภายหลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณแก้มก้น  
เป็นเหตุให้มีการอักเสบ มีพังผืดเกิดขึ้น  และยังผลให้เส้นประสาท Sciatic
ถูกหนีบทับตรงบริเวณดังกล่าว 
Go to link...
http://www.eorthopod.com/content/piriformis-syndrome

เส้นประสาท sciatic อาจถูกกดได้ง่ายเมื่อมันลอดผ่านตัวกล้ามเนือ  piriformis
ทำให้เส้นประสาทมีโอกาสได้รับบาดเจ็บได้ง่าย

สาเหตุอย่างอื่นทีทำให้เกิด กลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่ การนั่งนาน,
กล้ามเนื้อ piriformis มีขนาดสั้น และมีความตึงตัวมากผิดปกติ, , ตั้งครรภ์,
ขาสั้นยาวต่างกัน, มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ  piriformis, 
และมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทำหน้าที่ถ่างต้นขา (abductor)

What does piriformis syndrome feel like?
คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็น piriformis syndrome มักจะมาด้วยอาการปวดหลัง
ระดับเอว และ/หรือปวดบริเวณสะโพก หรือแก้มก้น
นอกจากนั้น อาจมีอาการปวดแบบเส้นประสาทได้รับบดาเจ็บ (nervd damage)
โดยมีอาการปวดร้าวไปยังดานข้างของต้นขา หรือน่อง

Test and Diagnosis (การตรวจวินิจฉัย)
ในการวินิจฉัยกลุ่มอาการ ไพริฟอร์มิส”...
แม้ว่าเราไม่มีวิธีตรวจเป็นการเฉพาะ  เพื่อวินิจฉัยโรคดังกล่าวก็ตาม
แต่เรามีวิธีตรวจให้เห็นต้นตอ  ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวดประสาท...
Sciatic pain ได้:

ถ้าการตรวจ Straight leg raising ได้ผลเป็นบวก 9positive)
อาการปวดประสาท ไซเอติคนั้น บอกให้ทราบว่า มีต้นตอ
มาจากกระดูกสันหลังมากกว่าที่จะเป็นกลุ่มอาการไพริฟอร์มิส
(piriformis syndrome)

ในการตรวจ straignt leg raisnig...ทำได้โดยให้คนไข้นอนหงาย
เหยียดขาตรง...จากนั้น ผู้ตรวจจะทำการยกขาด้านที่ปวดขึ้น
ถ้าคนไข้มีอาการปวด...แสดง่ว่า การตรวจ SLR ได้ผลเป็นบวก
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า อาการปวดที่เกขึ้นนั้นเป็นปวด
จากเส้นประสาท ไซเอติก

อย่างไรก็ตาม...ขอให้ทราบไว้ว่า...ผลจากการศึกษาของกลุ่ม
California Study รายงานเอาไว้ว่า ในคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัย
ว่าเป็น piriformis syndrome นั้น มีถึง 41 % ท่ตรวจพบว่า
การตรวจ SLR ได้ผลเป็นบวกจากการตรวจครั้งแรก

ถ้าผลการตรวจด้วยด้วยวิธี FAIR test ทำให้คนไข้มีมีความเจ็บ
ปวดเกิดขึ้น...ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีต้นเหตัมาจากภาวะ
Piriformis sydrome\

FAIR test เป็นการตรวจด้วการทำให้ข้อสะโพกเคลื่อนในท่า...
Hip flexion (F), adduction (A), internal (I), rotation (R)

ในการตรวจ...
ให้คนป่วย ซ่งส่วนใหญ่เป็นนักกีฬา  นอนเกือบตะแคงบนข้างที่
ไม่อาการเจ็บปวด  ให้ข้อเข่า และข้อสะโพกอยู่ในท่างอ 60 องศา
(hip & knee flexion), ข้อสะโพกหนีบเข้าหาแกนลำตัว (adduction) 
พร้อมกับหมุนสะโพกเข้าด้านใน (internal rotation)

ผู้ทำการตรวจพยายามกดหัวเข่าลง เป็นการทำให้กล้ามเนื้อ ไพริฟอร์มิส
เหยียดออก...ซึ่งมันจะไปกดบนเส้นประสาทไซเอติค...
ถ้าคนไข้เป็นโรคกลุ่ม ไพริฟอร์มิสคนไข้ก็จะมีอาการตามที่เขาเป็น...
Go to link...http://www.netterimages.com/image/11059.ht

และเนื่องจากเส้นประสาทมีส่วนเกี่ยวข้องในภาวะ piriformis syndrome
ดังนั้น จึงพบว่า มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป...
โดยอาการอาจเพิ่มขึ้นเมื่อมีการนั่งนาน หรือมีการทำให้กล้ามเนื้อ
ในบริเวณแก้มก้น (Gluteal area) ถูกทำให้ยืด (stretching)

What treatment is available for piriformis syndrome
เมื่อเราสามารถวินิจฉัยโรค piriformis syndrome ได้ถูกต้อง...
เรามีวิธีการรักษาให้เลือกหลายอย่าง เพื่อทำให้เส้นประสาทหลุดพ้นจากการถูก
กดรัดโดยพังผืดที่อยู่ในกล้ามเนื้อ "ไพ-ริ-ฟอร-มิส"
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการยืด (stretching) กล้ามเนื้อ "ไพ-ริ-ฟอร-มิส"

Go to link...
http://www.sportsmd.com/GolferMD_ArticleList/id/68.aspx#sthash.iIRhxgl1.dpbs


นอกจากนั้น การแก้ไขกลไกการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
ซึ่งเกิดจากความยาวของขาไม่เท่ากัน (leg length discrepancy)
หรือกระดูกเชิงกรานบิด เมื่อได้รับการแก้ไข ย่อมสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้

การรักษาด้วย "อัลตร้าซาวด์" และ  "เลเซอร"...
ได้ถูกนำมาใช้ลดการอักเสบ และช่วยทำให้กล้ามเนื้อ "ไพริฟอร์มิส" และ "กลุูเตียล"
 กลับสู่สภาพเดิม หายจากการหดสั้นได้

จากการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง และได้รับการรักษาที่เหมาะสม...
ย่อมทำให้อาการที่เกิดจาก "กลุ่มอาการไพริฟอร์มิส" 
หายเป็นปกติ เป็นอิสระจากความเจ็บปวด...


http://onionriverchiro.wordpress.com

เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก (3): What's Causing My Chest Pain?


Aug. 24, 2013

(continued)

Chest Pain Causes: Gastrointestinal Problems
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับระบบย่อยอาหาร (GI problems) ยังสามารถ
ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น

Go to link: http://www.chestpainaftereating.net/

Gastroesophageal reflux disease (GERD).
บางครั้งเราเรียก “กรดไหลย้อน” (acid reflux) หรือ GERD
มันเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่อยู่ในกระเพาะ (กรด) ไหลย้อนกลับไปยังคอ
ทำให้ท่านได้รับรสเปรี้ยวที่ปาก พร้อมกับมีความรู้สึกแสบร้อนในบริเวณทรวงอก 
และคอ คนทางภาคอีสานเรียกว่า “แสบบักโหก” 

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนกลับ 
เป็นต้นว่า อ้วน, สูบบุหรี่, สตรีตั้งครรภ์, และกินของรสจัด หรืออาหารที่เป็นมัน

อาการเจ็บหัวใจ (heat pain) หรืออาการแสบหัวใจ (heart pain) จากกรดไหลย้อน
จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ทั้งนี้เพราะตำแหน่งของหัวใจและท่ออาหาร
ต่างอยู่ใกล้กัน และใช้ประสาท (nerve network) เส้นเดียวกัน...

• Esophageal contraction disorders.
ในบางครั้ง กล้ามเนื้อของท่ออาหาร (esophagus)..
ทำงานไม่ประสานกัน หรือเกิดการหดเกร็ง (spasms) อย่างมาก 
เป็นปัญหาหนึ่งของท่ออาหาร  ซึ่งสามารถทำใหเกิดมีอาการเจ็บหน้าอกได้...

Esophageal hypersensitivity.
เป็นภาวะที่ท่ออาหาร ที่มีความไวต่อความดันภายในท่อที่เปลี่ยนแปลงไป
หรือต่อกรดจากกระเพาะอาหาร เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดย่างมาก
โดยไม่ทราบสาเหตุ

• Esophageal rupture.
มีบางครั้ง จากการอาเจียนอย่างหนัก หรือเกิดจากการตรวจท่ออาหาร...
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ ซึ่งอาจเป็นอาการบ่งบอก
ให้ทราบว่า  อาจมีการแตกของท่ออาหาร ได้

• Peptic Ulcers.
เมื่อมีแผลเกิดในกระเพาะอาหาร มันสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ 
ซึ่งมักพบเห็นในคนที่สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล หรือ
กินยาปแอสไพริน หรือยากลุ่ม NSAIDs...
อาการปวดที่เกิดส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อได้กินยาลดกรด

• Hiatus hernia.
เมื่อคนเป็นโรคดังกล่าว สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่ส่วนบนของ
กระเพาะอาหาร ซึ่งถูกดันเข้าไปอยู่ในส่วนล่างของช่องปอด
ซึ่งทุกครั้งที่รับประทานอาหารจะทำให้เกิดมีอาการปวดเกิดขึ้น
และอาการจะหายไปเมื่อท่านนอนลง

• Pancreatitis.
ถ้าตับอ่อน (pancreas) ของท่านเกิดการอักเสบขึ้นมา
มันอาจทำให้ท่านเกิดอาการเจ็บปวดที่ทรวงอกส่วนล่าง
ซึ่งมักจะมีอาการเลวลงเมื่อท่านนอนลาบ และอาการจะดีขึ้นเมื่อ
ท่านโน้มตัวไปทางด้านหน้า

• Gallbladder problems
เมื่อท่านมีนิ่วในถุงน้ำดี หลังรับประทานอาหารที่เป็นพวกไขมัน  
จะทำให้ท่านมีความรู้สีกแน่นท้อง หรือปวดที่บริเวณทรวงอกด้านขวาส่วนล่าง 
หรือบริเวณท้องส่วนบนด้านขวา ?
ท่านอาจมีปัญหาเรื่องถุงน้ำดีได้

Chest Pain Causes: Bone, Muscle, or Nerve Problems
ในบางครั้งอาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นผลมาจากการใช้งานมากเกิน
หรือได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกจากหกล้ม หรือประสบอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นการอักเสบติดเชื้อไวรัส ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บ
หน้าอกได้เช่นกัน
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บอกได้แก่:

• Rib problems.
ที่พบเสมอๆ ได้แก่กระดูกสีข้างหัก...เมื่อหายใจ หรือไอจะทำ
ให้อาการปวดเลวลง หรือปวดมากขึ้น เมื่อกดตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น นอกจากนั้น ในปริเวณรอยต่อระหว่างกรูกสีข้าง
และกระดูกกสันอกเกิดการอักเสบสามารถทำให้
เกิดมีอาการเจ็บอกได้

• Muscle strain.
กล้ามเนื้อในบริเวณกระดูกสีข้า เกิดการอักเสบ หรือฉีดขาด
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ อาการมักจะเลวลงเมื่อ
มีการออกแรง

• Shingles.
เมื่อร่างกายเกิดมีการอักเสบจากเชื้อ vaiicella zoster virus จะ
ทำให้เกิดโรคงูสวัส ซึ่งอาจทำให้เกิดมีอาการปวดบริเวณหน้า
อกได้อย่างมาก โดยมีอาการปวดหลายวันก่อนที่จะมีผื่นเกิด
ที่บริเวณทรวงอก

Other Potential Causes of Chest Pain
 
นอกจากสาเหตุทางกายตามที่กล่าวมา ยังมีสาเหตุอย่างอื่น ๆ 
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น ความวิตกกังวล และ
ภาวะตื่นตกใจ (anxiety & panic attacks) 

นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว มันยังก่อให้เกิดอาการวิงเวียน, หายใจลำบาก,
ใจสั่น, รู้สึกเสียวซ่า และหนาวสท้านได้

สิ่งที่ท่านควรกระทำเมื่อเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก:
เมื่อไหร่ก็ตาม ท่านเกิดมีความสงสัย ในอาการเจ็บหน้าอก...
ท่านต้องเรียกรถฉุกเฉิน หรือรีบไปพบแพทย์พบแพทย์ 
โดยเฉพาะเมื่อท่านมีอาการเจ็บแปลบที่บริเวณหน้าอก หรือไม่สามารถทำให้
บรรเทาลงด้วยยาลดการอักเสบ (NSAIDs) หรือภายหลังการช่วยเหลือตนเอง
ด้วยขั้นตอนอื่น ๆเป็นต้นว่า ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน

การเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน (ambulance) จะกระทำเมื่อ:

• ท่านเกิดมีอาการเจ็บเแน่นหนาอก หรืออาการอัดแน่นภายใต้กระดูกสัน
อก (breastbone)

• อาการเจ็บหน้าอก แพร่กระจายไปยังกระดูกกราม, ต้นแขนซ้าย หรือหลัง

• มีอาการเจ็บปน้าอกอย่างเฉียบพลันร่วมกับหายใจลำบาก
โดยเฉพาะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ทำอะไร (inactivity) เป็นเวลานาน

• มีอาการคลื่นไส้, วิงเวียน, หัวใจเต้นเร็ว หรือหายใจเร็ว, สับสน, ซีดเผือด,
หรือมีเหงือออกมาก

• มีความดันลดต่ำมาก ๆ หรืออัตราการเต้นหัวใจต่ำมาก ๆ


<< Prev.
http://www.webmd.com/

เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก (2): What's Causing My Chest Pain?

Aug. 23, 2013

แม้ว่า หนึ่งในสี่ของคนที่มีอาการเจ็บที่หน้าอก จะไม่ใช้มีต้นเหตุจากโรค
หัวใจก็ตาม แต่ก็อย่างได้ชะล่าใจเป็นอันขาด...

สาเหตุที่ทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมีต้นเหตุนอกเหนือจากโรคหัวใจ 
ที่เราควรทราบ และทำความความเข้าใจ มีดังนี้:
     
Chest Pain causes: Lung Problems

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับปอด สามารถทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก
ในรูปแบบต่างๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่:

• Pleuritis.

ท่านอาจได้ยินชื่อในนาม pleurisy...มันเป็นภาวะของเยื่อที่ห่อหุ้มปอด
เกิดการอักเสบ หรือถูกระคาย ซึ่งจะทำให้ท่านรู้สึกเจ็บ/ปวดแปลบเมื่อหายใจ, 
ไอ, หรือจาม โดยมีสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่:
การอักเสบติดเชื้อจาก ไวรัส, แบคทีเรีย, ลี่มเลือดอุดตันในเส้นเส้นเลือดปอด
(pulmonary embolism), ปอดแฟบ (pheumothrorax)

นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีก ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
เช่น โรครูมาตอยด์ (rheumatoid aarthritis), และมะเร็ง (cancer)

• Pneumonia or Lung abscess.

เมื่อปอดมีการอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดของ
เยื้อหุ้มปอด (pleuritic pain) และอาการปวดอย่างอื่น ๆ
เช่น ปวดลึกๆ ในบริเวณหน้าอก

ส่วนโรค pneumonia มักจะมีอาการปวดปวดอย่างเฉียบพลัน, มีไข้, หนาวสั่น, 
ไอ, และมีเสมหะ (pus) จากทางเดินของลมหายใจ

• Pulmonary embolism.

เมื่อก้อนเลือดเดินทางไปตามเส้นเลือด เข้าไปอุดในบริเวณปอด
สามารถทำให้เกิดการระคายเยื่อหุ้มปอดอย่างเฉียบพลัน (acute
Pleutist), ทำให้หายใจลำบาก, และหัวใจเต้นเร็ว, 
ทำให้เกิดมีไข้, และอาจช๊อคได้

โรคดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเกิดจากมีก้อนเลือดเกิดในเส้นเลือดดำ
 (Deep vein thrombosis) หรือเกิดในรายที่ไม่ค่อยขยับตัวหลังการผ่าตัด

• Pneumothorax.

เป็นภาวะของเนื้อปอดบางส่วนเกิดแฟบ เพราะมีลมเข้าไปในช่องปอด
ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากบาดเจ็บของทรวงอก
มันสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก  โดยอาการจะเลวลงเมื่อมี
การหายใจ ร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่น ความดันลดต่ำลง

Pulmonary hypertension.

เป็นภาวะความดันภายในเส้นเลือดแดงในปอดสูงกว่าปกติ 
เป็นเหตุให้หัวใจซีกขวาต้องทำงานมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการคล้ายๆ
กับภาวะ angina ได้

• Asthma.

นอกจากเป็นโรคที่ทำให้คนไข้หายใจลำบาก, หายใจมีเสียง, และไอแล้ว 
บางครั้งยังทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอกด้วยเช่นกัน

<< Prev >>Next

,เมื่อท่านมีอาการปวดหน้าอก (1 ) : What causes Chest Pain ?

Aug. 24,2013

เมื่อท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก...
ท่านไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการดังกล่าวเป็นอันขาด ที่สำคัญท่านควรรู้ด้วยว่า 
มีสาเหตุหลายมากมาย ซึ่งทำให้ท่านเกิดอาการเจ็บหน้าอก                   

แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะทำให้เราเข้าใจว่า...
มันเป็นภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด – heart attack
แต่ตามเป็นจริง มีการประมาณการณ์เอาไว้ว่า
ประมาณหนึ่งในสี่ของประชาชนชาวอเมริกัน จะมีอาการเจ็บหน้าอก 
โดยมีสาเหตุมาจากที่อื่น ซึ่งไม่ใช้โรคหัวใจเลย

อาการเจ็บหน้าอก อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาต่างๆ  เช่น โรคปอด,
ท่ออาหาร, กล้ามเนื้อ, กระดูกสีข้าง, หรือเส้นประสาท 
โดยมีโรคบางอย่างในกลุ่มดังกล่าว มีความรุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ถ้าท่านไม่สามารถอธิบายได้ว่า อาการเจ็บหน้าอกมีสาเหตุจากอะไร ?
ท่านมีทางเดียวที่สามารถกระทำได้ นั้นคือ 
ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น

อาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดที่บริเวณตั้งแต่ระดับคอของท่านจนกระทั้ง
ถึงระดับท้องส่วนบน

แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะมีสาเหตุจากอย่างอื่นก็ตาม 
แต่ปัญหาของโรคหัวใจก็เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ซึ่งเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ
กับเรื่องดังกล่าวให้ดี

Chest Pain Causes: Heart Problems
Angina.

เมื่อเส้นเลือดสู่หัวใจถูกอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนสู่หัวใจและปริมาณออกซิเจนลดลง 
เป็นเหตุให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกชั่วระยะสั้นเท่านั้น 
แต่ไม่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายอย่างถาวร

อาการปวดเจ็บหน้าอก อาจร้าวไปยังแขน, ไหล่, กราม, หรือกระดูกสันหลัง
มันอาจทำให้ท่านรู้สึกว่า หน้าอกถูกบีบรัด หรือแน่นในบริเวณหน้าอก
ซึ่งส่วนมากแล้ว  อาการดังกล่าว อาจถูกกระตุ้นด้วยการออกกำลังกาย, ตื่นเต้น, 
หรือเกิดในขณะมีความเครียด และ อาการลดลงเมื่อได้รับการพัก

Myocardial infarction (heart attack).

Go to link...
www.medicinenet.com/heart_attack/page2.htm

ภาวะเซลล์กล้ามเนื้อตาย...
จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเส้นเลือดหัวใจถูกอุดตัน เป็นเหตุให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 
และเซลล์เล้ามเนื่อตายไป และทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
ซึ่งมีอาการเหมือนกับภาวะ Angina ได้ แต่อาการจะรุนแรงกว่า ทำให้คนไข้มีอาการ
แน่นหน้าอก ไม่สามารถทำให้บรรเทาลงด้วยการพักผ่อน.

นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว คนไข้ยังมีอาการเหงื่อออก, คลื่นไส้,
อาจมีอาการอ่อนแรงร่วมกับอาการเจ็บหน้าได้อีกด้วย

Myocarditis.
นอกเหนือไปจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว...
การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (inflammation) อาจทำให้เกิดมีอาการไข้,
อ่อนเพลีย, และมีปัญหาเรื่องการหายใจ
แม้ว่าจะไม่มีการอุดตันของสันเลือดเกิดขึ้นก็ตาม อาการของกล้ามเนื้ออัก
เสบ สามารถทำให้มีลักษระเหมือนกับภาวะ heart attack ได้

Pericarditis.
การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericadial sac)...
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เหมือนกับ angina
อย่างไรก็ตาม มันจะมีอาการเจ็บเสียบที่หน้าอก ปวดร้าวไปตามต้นคอ
มีการปวดอย่างคงที่ในบริเวณกล้ามเนื้อของไหล่ 
และบางครั้งอาการจะเลวลวเมื่อหายใจ, กลืนอาหาร, หรือเวลานอนบนแผ่นหลัง

Hypertrophic cardiomyopathy.

ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจมีความหนาตัว...
จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนัก เพื่อทำหน้าที่ปั้มเลือดออกจากหัวใจ 
นอกจากอาการเจ็บหน้าอก  เรายังพบว่า ภายใต้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต
คนไข้อาจมีอาการวิงเวียน, หายใจลำบาก, และอาจมีอาการอย่างอื่นได้

Mitral valve prolapse.

โรคลิ้นหัวใจ mitral valve prolapse...
เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจ mitral valve ไม่สามารถปิดได้สนิท
คนไข้ดังกล่าวจะมีอาการต่างๆ ที่เกิดร่วมกับ mitral valve prolapse
ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก, ใจสั่น, และวิงเวียน นอกจากนั้น คนไข้ที่เป็น
โรคดังกล่าว อาจไม่มีอาการ โดยเฉพาะรายที่เป็นไม่รุนแรง

Coronary artery dissection.
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าว...
โดยเป็นผลมาจากการฉีกขาดของเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery)
ซึ่งมันอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงอย่างเฉียบพลัน และมีอาการ
ปวดร้าวไปยังคอ, หลัง หรือบริเวณท้อง

>> Next

Neuropathic Pain: อาการปวดประสาท (1)


Aug. 23, 2013

อาการปวดประสาท หรือ neuropathic pain.... 
เป็นภาวะที่เกิดจากรอยโรคที่เกิดกับระบบประสาทของคนเรา  
โดยอาจเป็นชนิดเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง

ในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลัน (acute neuropathic  pain) สามารถรักษา
ให้หายได้  ส่วนในรายเรื้อรังมีความซับซ้อน  ยากต่อการรักษา 
จำเป็นต้องใช้เวลาซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี ๆ

ในคนที่มีอาการปวดประสาทอย่างเฉียบพลัน  จะเริ่มต้นอย่างฉับพลัน
โดยมีลักษณะปวดแปลบ (sharp pain)   ซึ่งมักเป็นอาการเตือนให้คนเรา
ได้รู้ถึงอันตราย หรือโรคทีเกิดขึ้น  โดยมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง
เป็นต้นว่า กระดูกแตกหัก, แผลจากของมีคม, จากการผ่าตัด  หรือ
จากฟันผุ เป็นต้น

อาการปวดที่เกิดอย่างเฉียพลัน อาจไม่รุนแรงนัก  เกิดขึ้นไม่นานก็หายไป
หรืออาจมีความรุนแรง และกินเวลานานเป็นอาทิตย์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ
อาการปวดชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะกินเวลาไม่นานเกิด 6 เดือน (บางคนให้ 3 เดือน)  
เมื่อสาเหตุได้รับการรักษาจนหาย  อาการปวดจะหายไปเอง

ในกรณีที่มีอาการปวด... ไม่สามารถทำให้ทุเลาลงได้
อาจแปรสภาพไปเป็นปวดประสาทแบบเรื้อรัง (chronic neuropathic Pain)  
ไม่ยอมหายไปไหนทั้งๆ ที่รอยบาดแผลได้หายสนิทแล้ว  
โดยปรากฏว่า  คลื่นของความเจ็บปวดยังคงทำงานในระบบประสาท (active) 
นานเป็นอาทิตย์ ๆ, เดือน ๆ, หรือเป็นปี ๆ

ผลกระทบของความเจ็บปวดที่มีต่อกาย มีได้หลายอย่าง  เป็นต้นว่า 
ทำให้กล้ามเนื้อทั่วกายมีอาการตึงตัว, ไร้เรี่ยวแรง, ทำให้เบื่ออาหาร
ส่วนผลที่กระทบทางจิตใจ ได้แก่  เกิดความโกรธ, วิตกกังวล, เกิดาวะซึมเศร้า, 
และเกิดมีความกลัวต่อการได้รับบาดเจ็บขึ้นได้อีก  
ซึ่งความกลัวดังกล่าว  อาจเป็นต้นเหตุทำให้คนเราไม่สามารถ
ฟื้นสู่สภาพเดิมๆ ได้