วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

Chronic pelvic pain : P5: Treatment of Chroinc pelvic pain(non-gynecological)

April 26,2014

อาการปวดเรื้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโรคของ
อวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิง (non-gynecological conditions) นั้น
มีวืธีการรักษาดังต่อไปนี้ :

 Physical therapy – การรักษาด้วยกายภาพบำบัด เป็นวิธีที่ใช้
รักษาอาการปวดจากภาวะ abdominal myofascial pain และ
อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

การรักษาด้วยวิธี PT จะมุ่งไปยังการทำกล้ามเนื้อที่มีความตีง
ตัวผ่อนคลายลง ซึ่งสามารถกระทำได้โดยนักกายภาพบำบัดที่
ได้รับการฝึกมาเป็นการเฉพาะเท่านั้น

 Pain management clinics – ในกรณีที่ยารักษาไม่สามารถทำ
ให้บรรลุผลลดความเจ็บปวดได้ คนไข้อาจได้รับการรักษาจาก
ผู้เชี่ยวชาญทางรักษาอาการปวดเป็นการเฉพาะ ซึ่งมีด้วยกัน
หลายวิธีดังนี้:

o Acupuncture
o Biofeedback and Relaxation technique
o Nerve stimulation
o Injection tender points with local anesthetics

<  BACK
http://www.uptodate.com/contents/chronic-pelvic-pain-in-women-beyond-the-basics

Chronic pelvic pain : P. 4: Coping for Chroinc pelvic pain

April 26,2014

ในการรักษาอาการเจ็บปวดในบริเวณอุ้งเชิงกราน...
จะพบว่า การได้รับคำแนะนำในเชิงจิตวิทยา หรือจิตวิทยารักษา
อาจช่วยสตรีที่ทรมานจากอาการปวดเร้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

จิตบำบัดที่เรียกว่า การบำบัดด้วยการรับรู้ และพฤติกรรม ซึ่งแพทย์
ชอบเรียกว่า Cognitive behavioral thearapy สามารถช่วยให้ผู้ป่วย
จัดการกับอาการปวดในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้:

o Psychotherapy- เป็นจิดบำบัดด้วยการพบกับจิตแพทย์ หรือ
นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ เป็นวิธีการบำบัดด้วย
การถกปัญหาในด้านอารมณ์ ซึ่งตอบสนองต่อความเจ็บปวด
ที่เกิดขึ้น

ผลของจิตบำบัดด้วยการรับรู้ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นสามารถ
ช่วยให้คนที่ทรมานจากความเจ็บเรื้อรังได้ในกลุ่มคนจำนวน
ไม่น้อย...

o Group Psychotherapy – เป็นวิธีการรักษาด้วยการให้คนที่มี
ปัญหา...ได้แบ่งปันประสบการณ์ความเจ็บปวดที่ตนได้รับ
รวมไปถึงวิธีการเอาชนะอาการปวดดังกล่าว สามารถช่วยทำ
ให้อาการปวดลดลงได้

o Relaxation Technique – วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งหลายวิธี
ด้วยกัน เช่น การนั่งปฏิบัติธรรม (เวทนานุปัสสนาสติดปัฏฐาน),
การสกดจิตตนเอง หรือการทำ biofeedback สามารถช่วยทำ
ให้หายจากอาการปวดได้


<< BACK                                                  NEXT >>

Chronic pelvic pain : P. 3 : Diagnosis of Chronic pelvic pain

April 26,2014

เนื่องจากมีสาเหตุหลายประการ ที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง
ในบริเวณเชิงกดรานได้ จึงเป็นเหตุทำให้ยากต่อการชี้ชัดลงไปว่า
อะไรคือต้นเหตุที่แท้จริงได้


ในการวินิจฉัยโรคก็ไม่พ้นการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย อาจมี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์หลายอย่าง เช่น ตรวจเลือด, ตรวจ
ปัสสาวะ, และอื่น ๆ เพิ่ม โดยขึ้นกับผลของการตรวจร่างกายเป็นตัว
กำหนด

Pelvic Ultrasound:

เป็นการตรวจด้วยภาพ โดยกการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ ซึ่งสามารถ
ค้นพ้นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังในอุ้งเชิงกรานได้ เป็นต้น
ว่า ก้อนเนื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic mass) ซึ่งอาจเป็นถุงน้ำในรังไข่
(ovarian cysts) หรือ อาจตรวจพบ ovarina endometriosis หรือ
ก้อนในมดลูก (uterine fibroid)

การตรวจ pelvic ultrasound ไม่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคลำไส้
แปรปรวน (irritable bowel syndrome), diverticulitis,
หรือ painful bladder Syndrome เลย

Laparoscopy:
การตรวจด้วยกล้องส่องผ่านท้อง โดยผ่านแผลเล็กๆ สามารถตรวจหา
ความผิดปกติที่อยูในช่องท้อง และอวัยวะเพศในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้


ภายหลังการตรวจด้วยกล้องแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีโรคทางระบบส์บ
พันธ์ (non-gynocological conditions) แพทย์จะโปกัสไปยังโรคอื่นๆ
ที่เป็นต้นเหตุของความเจ้บปวด และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป


<< BACK                                                           NEXT >>

Chronic pelvic pain : P. 2 : Causes of chronic pain

April 26,2014

อาการปวดที่บริเวณเชิงกรานมีหลายประการ เป็นต้นว่า โรคใน
ระบบอยวะเพศของสตรี (gynecologic), ทางเดินกระเพาะลำไส้,
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ, ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และระบบอื่น ๆ
ต่างสามารถก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณเชิงกรานได้แทบทั้งน

Gynecologic causes:
โด้มีรายงานเอาว่า อาการปวดเรื้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกรานของสตรี
ประมาณ 20 % เป็นผลเนื่องมาจาก:

o Endometriosis...เยื่อบุมดลูกมีชื่อว่า endometrium การมี
เยื่อมดลูกอยู่นอกมดลูกมีชื่อเรียกว่า endometriosis สามารถ
ทำให้เกิดมีอาการปวดในบริเวณท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกรานได้
และบางรายที่เป็น endometriosis โดยไม่อาการแต่อย่างใดฃ

o Pelvic inflammatory disease... การอักเสบในบริเวณช่องท้อง
จากใส้ติ่งอักเสบ...แตก สามารถทำให้เกิดอักเสบของอวัยวะ
และเนื้อเยื้อในบริเวรอุ้งเชิงกรานได้

มีประมาณหนึ่งในสามของคนไข้อังกล่าว มักจะลงเอยด้วยการ
เกิดอาการปวดเรื้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

o Pelvic adhesion disease... เป็นภาวะที่อวัยวะ และเนื้อเยื่อในอุ้ง
เชิลกรานเกิดติดกัน (adhesion) โดยเป็นผลตามหลังการผ่าตัดใน
บริเวณช่องท้อง, หรือหลังการอักเสบในช่องท้อง
ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

Other causes:
นอกเหนือจากอวัยวะในระบบสืบพันธ์ของสุภาพสตรีแล้ว ยังมีสาเหตุ
อย่างอื่น ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดในอุ้งเชิงกรานได้ เป็นต้นว่า
โรคของระบบกระเพาะ-ลำไส้, ทางเดินปัสสาวะ, รวมถึงปัญหาที่เกิด
จากกล้ามเนื้อ, และเส้นประสาทในบริเวรอุ้งเชิงกราน ที่ควรทราบได้
แก่:

o Irritable bowel syndrome- เป็นโรคของระบบกระเพาะ-ลำไส้
ซึ่งมีลักษณะอาการปวดท้อง และมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
ต่างๆ เช่น มีการถ่ายอุจจาระเหลว, ถ่ายบ่อยร่วมกับอาการปวด
ท้อง ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระเป็นทีเรียบร้อย อาการปวดท้องจะ
หายไป จัดเป็นโรคที่ไม่ทราบต้นเหตุ

o Painful bladder syndrome and interstitial cystitis-
เป็นคำที่ใชเรียกภาวะที่มีอากรปวดกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่มี
สาเหตุจากการอักเสบ โดยอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย,
มีความรู้สึกต้องการถ่ายปัสสาวะทันที

มีสุภาพสตรีบางราย มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย หรือบริเวณ
อุ้งกราน โดยมีการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ

o Diverticulitis – เป็นส่วนของลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนถุงยื่น
ออกนอกผนังลำไส้เกิดอักเสบขึ้น ทำให้เกิดมีอาการปวดท้อง;
คลื่นไส้ และอาเจียน, ท้องผูก, ท้องล่วง, และมีอาการทางระบบ
ขับถ่ายปัสสาวะ

Diverticulitis จะทำให้เกิดอาการปวดท้องอบย่างเฉียบพลัน
ไม่ใช้ปวดท้องเรื้อรัง

o Pelvic floor pain – ความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้ออุ้ง
เชิงกราน ประกอบด้วยอาการปวดบริเวณเชิงกราน, ปวดเวลาถ่าย
ปัสสาวะ, ปัสสาวะลำบาก, ท้องผูก, เจ็บปวดระหว่างร่วมเพศ,
ปัสสาวะบ่อย, อาการปวดปัสสาวะแบบฉับพลัน (urgent urination)

การวินิจฉัยการทำงานอุ้งเชิงกรานผิดปกติ (pelvic floor dysfucntion): 
กระทำได้ด้วยการตรวจกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ซึ่งทำหน้าที่รองรับ หรือ support อวัยวะในบริเวณอุ้งเชิงกราน และ
หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะตรวจพบมีกล้ามเนื้อแข็งตึง, กดเจ็บ
และมีลักษณะเป็นแถบแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด
ที่บริเวณอุ้งเชิงกราน

o Abdominal myofascial pain (trigger points)- เป็นอาการปวด
ในบณเวณกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง มีชื่อเรียกว่า myofascial
Pain ซึ่งมีลักษณะพิเศษ โดยมีบริเวณเจ็บปวดหลายๆ จุดใน
กล้ามเนื้อหน้าท้อง เวลาแพทย์ตรวจเขาจะตรวจพบว่า กล้าม
เนื้อมักจะแน่นตึงกว่าปกติ และมีอาการกดเจ็บ
ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรค

o Fibromyalgia – เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเนื่อเยื่อที่มีพังผืดเป็นส่วน
ประกอบ เช่น กล้ามเนื้อ, และเอ็น ซึ่งมีลักษณะเฉพาะโดยมี
อาการปวด และกดเจ็บกระจายไปตามกล้ามเนื้อของกาย

ในสุภาพสตรีที่เป็นโรคดังกล่าว มักจะมีอาการอย่างอื่น เป็นต้น
ว่า มีอาการปวดศีรษะ, อารมณ์แปรปรวน – มี่วิตกจริต และซีมเศร้า

<< BACK                                             NEXT >>

Chronic Pelvic Pain: ปวดบริเวณเหนือหัวเหน่า

April26,2014

ได้มีโอกาสพบคนไข้สตรีท่านหนึ่ง อายุราว ๆ 50s
มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหัวเหน่าเป็นเวลานาน  ได้รับการ
รักษาจากแพทย์หลายสำนักมาแล้ว  แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ

เพื่อความเข้าใจตรงกัน ผู้เขียนได้ถามว่า
“หัวเหน่ามันยู่ตรงใหน ?”
เธอตอบเป็นภาษากาย ด้วยการชี้นิ้วไปบริวณอวัยเพศ พร้อมกับ
ใช้มือกดลงที่บริเวณท้องน้อย

จากการตรวจร่างกาย ผู้เขียนได้ใช้มือกดลงไปในบริเวณท้องน้อย
เหนือกระดูกหัวเน่า (pubic bone) ซึ่งไม่พบว่ามีตำแหน่งเจ็บปวด
แต่อย่างใด... แต่เธอบอกว่า อาการปวดมันอยู่ในบริเวณนั้นแหละ

จากประว้ติ และอาการตรวจอย่างคร่าวๆ ทำให้นึกถึงโรคชนิหนึ่ง
ภาษาฝรั่งเรียก Chronic pelvic pain” ชึ่งตรงกับคำของไทยเรา
ว่า “ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ?”

เพื่อเป็นการเรียนรู้กับภาวะดังกล่าว อันเป็นหนทางสู่การเยียวยา
หรือจัดการกับอาการปวดในบริเวณดังกล่าวให้ได้  จึงขอถือโอกาส
นำเสนอเรื่อง “chronic Pelvic Pain” มาให้พิจารณาดูว่า มันตรง
กับอาการของท่านหรือไม่ ?

อาการปวดเรื้อรังบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือ chronic pelvic pain
หมายถึงอาการปวดที่เกิดขึ้นกับกาย  ตรงบริเวณที่ต่ำกว่าสะดือลงไป
ซึ่งเราชอบเรียกว่า ปวดบริเวณ “ท้องน้อย” นั้นแหละ โดยมีอาการ
ปวดเป็นยาวนานเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
อาการปวดดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนก้็ได้

อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง อาจเป็นอาการของโรคบาง
อย่างของอวัยวะเพศ....แต่มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่อาการปวดดังกล่าว
 เป็นผลมาจากความผิดปกติในระบบประสาท (neuropathic pain)
และนั้นคือประเดินที่ผู้เขียนอยากเน้นมากกว่าเรื่องอื่น...

                                                                               NEXT >>

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 9: Urinary incontinence- Treatments & Drugs (2)

April 24, 2014

นอกจากพฤติกรรมบำบัด (Behavioral technique) 
และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การภาพบำบัด (Physical therapy) 
ซึ่งท่านที่มีปัญหาดังกล่าวสามารถกระทำได้:

 บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor muscle exercises):

กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ คือ กล้ามเนื้อ
หูรูด (urinary sphincter) และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic
Floor muscles) ซึ่งสามารถใช้ได้ผลกับ stress incontinence
หรือแม้กระทั้ง urge incontinence อาจใช้ได้ผล

การบริหารกล้ามเนื้ออุงเชิงกระทำได้ โดยจินตนาการว่า ท่าน
กำลังหยุดการขับถ่ายปัสสาวะ ด้วยการกลั้นปัสสาวะไม่ให้ไหล
ออก...นับหนึ่งถึงสามช้า ๆ...  แล้วปล่อย...วันหนึ่งๆ กระทำหลายครั้ง
วิธีการเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า Kegel exercise

บางทีเป็นการยากที่จะบอกว่า ท่านได้บริหารกล้ามเนื้อที่ต้องการ
หรือไม่   แต่เรามีวิธีสังเกตุดังนี้ ในระหว่างที่ท่านพยายามจินตนาการ
กลั้นปัสสาวะไม่ให้ไหลออกนั้น  ท่านจะมีความรู้สึกว่า เหมือนกับพยายามดึง
อวัยวะเพศขึ้นสู่ร่างกายส่วนบนของกาย

ในระหว่างกายบริหารกล้ามเนื้อดังกล่าว กล้ามเนื้อท้อง, กล้ามเนื้อ
ขา และกล้ามเนื้อบริเวณแก้มก้นจะต้องผ่อนคลาย (relax)


 กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical stimulation):

เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ
ซึ่งสามารถใช้ได้ผลดีกับรายที่เป็น stress incontinence และ
Urge incontinence แต่ต้องใช้เวลาหน่อยเท่านั้นเอง
วิธีทำก็ไม่ยาก...กระทำโดยสอดใส่ “electrode” เข้าทางช่องคลอด หรือทาง
ทวารหนัก จากนั้นให้กระตุ้นกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ...


<< BACK

Source:
o Patient.com.uk

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 8 : Urinary incontinence- Treatments & Drugs (1)

April 24, 2014

ในการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะขึ้นกับชนิดของความผิดปกติ
ว่า เป็นการกลั้นปัสสาวะชนิดใด,  มีความรุนแรงมากน้อยแค่ใหน   และ
มีสาเหตุจากอะไร  ซึ่งแพทยืเขาจะเป็นผู้แนะนำให้เองว่า 
ท่านควรได้รับการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมกับสภาพของท่าน

ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้รับการรักษา ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความบาด
เจ็บปวด (less invasive) เป็นต้นว่า  ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,  และกายภาพ
บำบัดเป็นเบื้องแรก  หากไม่ประสบผลค่อเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นทีหลัง

พฤติกรรมบำบัด (Behavioral technique):

พฤตกรรมบำบัด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถช่วย
ทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่บางชนิดได้ เช่น:

 Bladder training.

การฝึกการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยมีคนอยาก
จะพูดถึงมากนัก แต่เป็นวิธีการที่สามารถช่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยุู่ได้ 
โดยท่านจะต้องรียนรู้วิธีจะชะลอการถ่ายปัสสาวะเมื่อมีความรู้สึก
อยากจะถ่ายปัสสาวะ   เช่น  ในทุกครั้งที่ท่านรู้สึกอยากถ่าย...  ให้พยายาม
อั้นปัสสาวะเอาไว้นาน 10 นาที  โดยมีเป้าหมายว่า  ท่านสามารถชะลอ
ได้นานเพิ่มขึ้น จนกระทั้งท่านสามารถขับถ่ายปัสสาวะทุกๆ 2 – 4 ชั่วโมง

ในการฝึกการทำงานกระเพาะปัสสาวะ อาจกระทำได้ในอีกลักษณะ
นั้นคือ ในการถ่ายปัสสาวะในละครั้ง ให้ทำการถ่ายเป็นสองช่วง
พอท่านถ่ายปัสสาวะไปได้สักระยะหนึ่งให้หยุดประมาณ 2 – 3 นาที
แล้วถ่ายเป็นช่วงที่สอง...

ในการบริหารกระเพาะปัสสาวะอย่างนี้ สามารถช่วยให้ท่านเรียนรู้ที่
จะทำให้ถ่ายน้ำปัสสาวะออกหมด  สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะไหลลาด
ชนิด overflow incontinence ได้

นอกจากนั้น การฝึกกระเพาะปัสสาวะอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งท่านสามารถท่าน
สามารถกระทำได้....นั้นคือ  ในทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกอยากถ่าย   ให้เรียนรู้
การผ่อนคลายด้วยการหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ และลึก
เป็นการดึงงความสนใจออกไปจากความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ

 Scheduled toilet trips.

เป็นการกำหนดเวลาสำหรับการถ่ายปัสสาวะ โดยใช้นาฬิการเป็นตัวตั้ง
เพื่อบอกว่า  จะไปขับถ่ายปัสสาวะเมื่อใด เป็นการวางแผนว่าจะไปถ่าย
ปัสสาวะทุกๆ 2 – 4 ชั่วโมง

 Fluid and diet management.

ในบางราย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดจำนวนแอลกอฮอล, กาแฟ,
อาหารที่เป็นกรด  สามารถแก้ไขอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ลงได้

นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า  การลดน้ำหนักตัว, ออกกำลังการเพิ่มขึ้น ก็เป็น
อีกทางหนึ่งที่สามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้


<< BACK

NEXT >> Urinary incontinence : Physical therapy

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 7: Causes of incontinence - 3

April 24, 2014

การเกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชนิดเรื้อรังสามารถพบได้ใน
ปัญาหาด้านสุขภาพ หรือมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ดังนี้:

 การตั้งครรภ์ และคลอดบุตร ( Prgnancy & childbirth):

เป็นที่ทราบกันว่า คนท้องจะมีประสบการณ์ด้านกลั้นปัสสาวะ
ไม่อยู่ชนิด stress incontinence โดยมีต้นเหตุจากการ
เปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน และมีน้ำหนักของมดลูกมากขึ้น
นอกเหนือไปจากนั้น จากแรงเบ่งจากการคลอดบุตร สามารถ
ทำให้กล้ามเนื้อควบคุมการปัสสาวะอ่อนแอลงได้

 การเปลี่ยนแปลงจากภาวะย่างสู่วัยชรา ( Changes wiht aging):

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เราจะพบว่ากล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
มีขนาดเล็กลง  สามารถบรรจุน้ำปัสสาวะได้น้อยลง และทำให้เกิดภาวะ
กระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไปได้   โดยเฉพาะคนสูงอายุมี่
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานมากไป
ซึ่งมีต้นเหตุจากโรคเส้นเลือดแดงได้

ดังนั้นการทำให้สุขภาพแข็งแรง...สามารถควบคุมอาการของโรค
กระเพาะปัสสาวะทำงานเกินได้  เป็นต้นว่า  หยุดสูบบุหรี่, ควบคุมความ
ดันเลือดสูง,  และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ

สตรีหลังหมดประจำเดือน จะมีระดับฮอร์โมน estrogen ในปริมาณน้อยลง 
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เซลล์ที่บุภายในกระเพาะปัสสาวะ  และท่อปัสสาวะเสื่อมลง 
และเป็นเหตุให้เกิดภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

 หลังการผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy):

ในการผ่าต้ดมดลูกสามารถทำลายเนื้อเยื่อ ตลอดรวมถึงเส้นประสาท
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะได้   เป็นเหตุให้เกิดการเกิด
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

 กลุ่มอาการปวดของกระเพาะปัสสาวะ (Painful bladder syndrome):

เป็นอีกภาวะหนึ่ง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการปวด และปัสสาวะ
บ่อย รวมถึงการปั้นปัสสาวะไม่อยู่...เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก

 ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis):

แม้ว่าอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (incontinence) ไม่ใช่อาการเฉพาะ
ของโรคต่อมลูกหมากอักเสบ แต่ในบางครั้ง สามารถก่อห้เกิด
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้

 โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarge Porstate):

ในคนสูงอายุ การเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักจะเกิดจากต่อม
ลูกหมากโต ซึ่งมีชื่อเรียกว่า benign prostatic hyperplasia (BPH)

 มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer):

ในคนเพศชาย...
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไม่ว่าจะเป็น stress incontinence หรือ Urge
Incontinence สามารถพบได้ในคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งไม่
ได้รับการรักษา...และที่มากไปกว่านั้น การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มักจะ
เป็นแทรกซ้อนของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น การผ่าตั้ด
หรือหลังการฉายแสง

 มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และนิ้ว(Bladder cancer & bladder stones):

นอกจากอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แล้ว ยังทำให้เกิดอาการปวดใน
บริเวณอุ้งเชิงกราน และปัสสาวะเป็นเลือดได้

 ความผิดปกติทางระบบประสาท (Neurological disorders):

มีโรคหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ที่เราควรรู้ได้แก่ Multiple sclerosis, Parkinson’s disease,
Stroke, มะเร็งของสมอง และไขประสาทสันหลัง

 ภาวะขัดขวางทางออก (Obstruction):

อะไรก็แล้วแต่ เช่น มะเร็ง, นิ้วในทางเดินปัสสาวะสามารถทำ
ให้เกิดดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยูได้ ซึ่งเป็นชนิด overflow Incontinence


<< BACK

NEXT >>

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 6: Causes of incontinence - 2

April 24, 2014

Temporary urinary incontinence:
อาหารบางอย่าง, เครื่องดื่มบางชนิด, และยารักษาโรค สามารถ
ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระยะสั้นๆ ได้
ในกรณีเช่นนี้ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เท่านั้น:

    • ดื่มแอลกอฮอล (Alcohol).

แอลกอฮลล จะออกฤทธ์ด้วยการกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ
และออกฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะอีกด้วย จึงเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในการขับถ่ายปัสสาวะ... ทำให้เกิดการกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะอย่างรีบด่วนได้

• ดื่มน้ำมากเกิน (Overhydration)
การดื่มน้ำในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงสั้น ๆ สามารถ
ทำให้มีน้ำในกระเพาะปัสสาวะในปริมาณมาก...

• ดื่มกาแฟ (Caffeine):
กาแฟ ที่คนเราดื่มกันนั้น เป็นสารขับปัสสาวะ และเป็นสาร
กระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความต้องการ
ขับปัสสาวะอย่างรีบด่วนได้

• การระคายกระเพาะปัสสาวะ (Bladder irritation)

การดื่มน้ำคาร์โบเนท. น้ำชา และกาแฟ---( มีสารกาแฟๆหรือไม่
ไม่สำคัญ), อาหาร หรือน้ำดื่มต่างๆ ซึ่งมีรสจัด สามารถกระตุ้น
กระเพาะปัสสาวะได้

• ยารักษาโรค (Medications):

มียาหลายชนิด เป็นต้นว่า ยารักษาโรคัหวใจ, ความดันเลือดสูง,
ยาผ่อนคลาย และยาคลายกล้ามเนื้อ และอื่น ๆ อาจมีส่วนเกี่ยว
ข้องกับการทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดลาด (incontinence) ได้

• การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)

การอักเสบในระบบทางเดินของปัสสาวะ สามารถระคายกระเพาะ
ปัสสาวะ เป็นเหตุให้เกิดความอยากปัสสาวะอย่างรีบด่วนได้

ความต้องการดังกล่าว สามารถทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดได้
อาการดังกล่าว อาจเป็นอาหารเตือน บอกให้ทราบถึงการอักเสบ
ในระบบขับถ่ายปัสสาวะได้

• ท้องผูก (Constipation):

ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง จะอยู่ไกล้กับกระเพาะปัสสาวะ และมีประสาท
เส้นเดียวกับกระเพาะปัสสาวะ...

การมีอุจจาะถูกกักเก็บในลำไส้ใหญ่ส่วนดังกล่าว สามารถทำให้
เกิดการระคายเส้นประสาทที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ เป็นเหตุให้
กระเพาะปัสสาวะทำงานมาเกิน และทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดชนิดที่
เรียกว่า overflow incontinence โดยมีลักษณะเหมือนน้ำล้นถัง



<< BACK

NEXT >> P. 6 : Causes of incontinence – 3

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 5: Causes of incontinence -1

April 20, 2014

ภายใต้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่...  
จะพบว่า  กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ (detrusor)จะทำงานได้มากเกินปกติ 
โดยที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ  จะบีบตัวทั้งๆ ที่ท่านไม่ต้องการที่
จะถ่ายปัสสาวะ   หรือมีน้ำปัสสาวะไม่มากพอ
                             
ในขณะที่มีน้ำปัสสาวะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ   กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
จะอยู่ในสภาพคลายตัว (relaxation)  และเมื่อน้ำปัสสาวะบรรจุได้ครึ่งหนึ่ง
จะทำให้เรารู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ โดยไม่จำเป็นต้องไปห้องน้ำเพื่อทำการ
ขับถ่ายปัสสาวะ

แต่ในคนที่กระเพาะปัสสาวะทำงานมากผิดปกติ และอยู่
ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  จะมีคลื่นประสาทส่งไปบอกสมองว่า
มีน้ำปัสสาวะมากเกินกว่าปกติแล้วนะ!  เป็นเหตุให้กระเพาะปัสสาวะทำงานเร็วเกิน
ไป   และทำให้ท่านมีความรู้สึกว่า ต้องรีบปล่อยปัสสาวะ ทันที

ในคนส่วนมาก จะไม่ทราบว่า อะไรคือต้นเหตุทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงาน
ได้มากกว่าปกติ ในกรณีเช่นนั้น เราเรียกว่า overactive bladder Syndrome
หรือ idiopathic urge incontinence  และอาการอาจเลวลงเมื่ออยู่ภายใต้ความกังวลใจ 
หรืออาการอาจเลวลงเมื่อดื่มกาแฟ,  ดื่มชา, คาโคร่า, และดื่มแอลกอฮอล

อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ไม่ใช่โรค  มันเป็นเพียงอาการ
ซึ่งสามารถเกิดในชีวิตประจำวัน,  หรือภายใต้โรคบางอย่าง  หรือภายใต้ปัญหาทาง
ด้านกายบางชนิด  ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องตรวจหาสาเหตุให้ได้

<< BACK

NEXT  > Continued: 2 : Temporary urinary incontinence-2

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

Urge incontinence P. 4 : Types of incontinence


April 20, 2014

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มี 3 ชนิดด้วยกัน:
  • Urge incontinence
  • Stress incontinence
  • Overflow incontinence
Urge incontinence ถือเป็นอันดับสองของการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 
ดยเราจะพบได้ 3 ใน 10 ของคนที่เป็นโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุขัย   แต่ที่พบมากที่สุดเห็นจะ
เป็นช่วงต้นๆ ของคนย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่   และ
จะพบในผู้หญิงได้มากกว่า

ส่วน  stress incontinence เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด  
กล่าวโดยสั้น ๆ ภาวะ  stress incontinence จะเกิดขึ้นเมื่อแรงที่เกิดขึ้น
ภายในกระเพาะปัสสาวะมีมากเกินกว่าหูรูด (bladder outlet)จะต้านทานเอาไว้ได้  
โดยมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ 
จึงทำให้มีน้ำปัสสาวะไหลลาด (เล็ด) ในขณะที่มีเกิดอาการไอ, หัวเราะ, จาม, 
หรือออกกำลังกาย

สำหรับ Overflow incontinence  เป็นภาวะปัสสาวะไหลลาดออกมาโดยที่
เจ้าตัวไม่รู้ตัว...เหมือนน้ำล้นถังบรรจุน้ำ  จะรู้อีกทีเมื่อก้นเปียกไปซะเล้ว
ในบางรายอาจมีความรู้สึกว่ามีน้ำปัสสาวะไหลออกมาได้เอง
โดยที่เจ้าตัวไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุของความอ่อนแอของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะเกิด
ภายหลังสตรีคลอดบุตรเสียส่วนใหญ่

มีคนบางคนกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยเป๋็นแบบผสม (mixed incontinence)
ซึ่งมีทั้ง stress incontinence และ urge incontinence

<<BACK
NEXT >>

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 3 : What is urge incontinence ?

April 20, 2014

อาการการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่...มีอาการอยู่สองลักษณะที่เราควรทราบ:

 Urgency เป็นอาการที่คนเราจะเต้องปัสสาวะทันที โดยทีท่าน
ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะเอาไว้ได้ ต้องปล่อยทันที่

 Urge incontinence หมายถึงภาวะที่น้ำปัสสาวะไหลหยดออก
มาก่อนที่เราจะเดินทางถึงห้องน้ำ

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคนเรามีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ ชนิดที่กลั้นไม่ได้
 เป็นต้นว่า ต้องปล่อยปัสสาวะทันทีเพราะกลั้นไม่อยู่ (urgency)
หรือน้ำปัสสาวะไหลเล็ดก่อนเดินทางถึงห้องน้ำ ( urge incontinence)  มักจะเป็นอาการที่
พบได้บ่อยในคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกิน
ซึ่งมีชื่อเรียก overactive bladder หรือ unstable bladder
py'มีอีกชื่อเรียกว่า detrusor instability
 (detrusor = กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ)

ไม่ว่าท่านจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะเป็นแบบ urgency หรือ
Urge incontinence... ท่านมีแนวโน้มที่จะปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
บางครั้งกลางวันมีการถ่ายปัสสาวะหลายครั้ง และในตอนกลางคืน
ต้องตื่นหลายครั้งเพื่อถ่ายปัสสาวะ

ในสุภาพสตรีบางท่าน...
ที่มีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะเกิดอาการปัสสาวะเล็ดระหว่าง
ทำกิจกรรมทางเพศ หรือเกิดในขณะถึงจุดสุดยอด (orgasm)

<< BACK

NEXT >>

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

Urge incontinence P. 2 : Understanding urine and the bladder

April 19,2014

มนุษย์เรามีอยู่สองไตด้วยกัน  ซึ่งจะทำหน้าที่กำจัดเอาของเสียออก
ทางปัสสาวะด้วยการทำงานอยู่ตลอดเวลา  โดยจะมีน้ำปัสสาวะไหลผ่าน
ออกจากไตผ่านท่อไต (ureter)  ลงสู่กระเพาะปัสสาวะ
อย่างต่อเนื่อง  แต่ละท่านจะมีจำนวนปัสสาวะในปริมาณแตกต่างกัน
 โดยขึ้นกับปริมาณของน้ำทีท่านดื่ม, อาหารที่ท่านกิน
 และเหงือที่ถูกขับถ่ายออกทางผิวหนัง

กระเพาะปัสสาวะจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อ และเป็นที่กักขังน้ำปัสสวะเอาไว้
เมื่อมีน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายตัวอย่า
ต่อเนื่อง

จากกระเพาะปัสสาวะจะไหลออกทางออกทางท่อปัสสาวะ ชื่อ  urethra
ซึ่งมันจะเปิดเมื่อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
โดยปกติมันจะปิดตัวอยู่ตลอดเวลา  เหมือนประตูที่ถูกปิด  และจะเปิดเฉพาะ
เมื่อต้องการให้น้ำปัสสาวะผ่านไปเท่านั้น

เมื่อมีปัสสาวะรวมตัวในกระเพาะปัสสาวะจนเต็ม
มันจะส่งสัญญาณให้สมองได้ทราบ  จากนั้นสมองจะส่งสัญญาณให้ทราบ
ถึงเวลาต้องขับถ่ายปัสสาวะ....

ในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ...
จะขึ้นตรงกับคลื่นประสาทที่มีควมสลับซับซ้อน โดยมีการติดต่อสื่อสารระหว่าง
สมอง, กระเพาะปัสสาวะ และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน  ซึ่งจะทำหน้าที่บอก
ให้เราได้ทราบว่า   กระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะเต็มแล้ว  และบอกให้กล้ามเนื้อ
กระเพาะที่เป็นปกติทำการบีบตัว หรือคลายตัวในเวลาที่เหมาะสมต่อไป

นั้นคือบทบาทของกระเพาะปัสสาวะตามปกติ
ส่วนภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มันเกิดขึ้อย่างไร เราจะได้นำเสนอต่อไป

<< BACK

NEXT  >>

Incontinence P. 1 : Urge incontinence

April 18, 2014

เมือเช้าได้มีโอกาสพบกับชายวัย 75...
ในระหว่างซักประวัติ และตรวจร่างกาย คนไข้ก็ลุกพรวดพราด...ทำเอา
พยายาลประจำห้องตรวจตกอกตกใจ...
ไม่เพียงเท่านั้น  เขายังมีสีหน้าบ่งบอกให้ทราบถึงความทุกข์
อย่างแสนสาหัส  พร้อมกับถามว่า
"ห้องน้ำอยู่ทีใหน"... ?

พยาบาลยังไม่ได้เอ่ยสักคำ เพียงแต่ชิ้น้วเท่านั้น
ชายสูงอายุคนนั้นก็วิ่งพรวดพลาดออกห้องไปทันที

สักพักหนึ่งชายคนดังกล่าวก็เดินกลับมายังห้องตรวจพร้อมกับคำขอ
โทษ...และสารภาพว่า
“ผมไม่สามารถอั้นปัสาวะได้....ครับ"

อาการที่ชายสูงอายุมี และแสดงให้เราเห็น คืออาการของภาวะ
ของโรคที่เกิดขึ้นกับกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ  ซึ่งเรียกว่า
"ภาวะกลั้นปัสสาวะไมอยู่" ภาษาฝรั่งเรียกว่า "Urge incontinence"

Urge incontinence เป็นภาวะของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
 ซึ่งเราจะพบได้บ่อย   เป็นภาวะที่คนไข้มีความต้องการอยากปล่อย
ปัสสาวะอย่างรีบด่วน... ซึ่งมีบางราย  ปัสสาวะของเขาจะไหลออกมา
ก่อนที่เขาจะเดินทางถึงห้องน้ำ

โดยทั่วไป ภาวะ urgent incontinence สามารถทำให้หายได้ด้วยการฝึก
การขับถ่ายปัสสาวะ  (bladder training)  ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถช่วยให้
คนไข้หายจากภาวะดังกล่าวได้

ก่อนไปเรียนรู้การฝึกการขับถ่ายปัสสาวะ...
เราควรเข้าใจการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะอย่างย่อๆ...
อาจเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เรื่องการฝึกการขับถ่ายปัสสาวะดี
ได้ไม่มาก็น้อย...


Next >>

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 8 : Guillain-Barre syndrome- Coping and support

April 14, 2014

จะว่าไปแล้ว....
ชีวิตของแพทย์นั้นไม่ใช้ชีวิตที่น่าชื่นชมแม้แต่น้อย แต่จะเต็มไปด้วย
ความวิตกกังวลเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเมื่อใดที่เจอคนไข้ที่รอความ
ตาย หรือเป็นโรคที่ทรมานจากความเจ็บปวด ไม่สามารถเดินเหิน
หรือช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่มีทางรักษาให้หายได้ จัดเป็นเหตุ
การณ์ที่น่าเป็นห่วง

ไม่เพียงแต่แพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น   เพื่อนๆ และญาติพี่น้องทุกคน
ต่างมีส่วนช่วยทำให้คนไข้สบายใจขึ้นได้  โดยเฉพาะในด้านจิตใจ 
ส่วนร่างกายก็ไม่ควรมองข้าม   หรือละเลย  เพราะคนที่เป็นโรคดังกล่าว
จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้

โรค ”กิลแลง-บาร์เร” เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว เราจะพบว่า
มีผลกระทบทางด้านอารมณ์ได้สูงมาก  และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเห็นจะ
เป็น  อาการซึมเศร้า....บางรายถึงขั้นทำร้ายชีวิตตนเอง

ในรายที่มีความรุนแรง มันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน โดยมีการ
เปลี่ยนจากสภาพที่มีสุขภาพดี (healthy) กลายเป็นคนที่ไร้สมรรภภาพทันที่ 
ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่อาการเตือนล่วงหน้าแม้แต่น้อย

แม้ว่า คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค”กิลแลง-บาร์เร” สามารถฟื้นตัวสู่สภาพเดิมได้
ในที่สุดก็ตาม   แต่การวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคดังกล่าว ย่อมหมาย
ความว่า เราสามารถคาดได้ว่า  เขาคนนั้นอาจกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่
ลำบากในระยะยาว  หรืออาจเผชิญกับการเป็นอัมพาต...

คนที่เป็นโรคดังกล่าวมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย
โดยเฉพาะาคนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 
จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ

จิตบำบัดจากจิตแพทย์ก็เป็นเรื่องสำคัญ...
โดยจิตแพทย์มีบทบาทต่อการจัดการกับอารมณ์...ความวิตกกังวล รวมถึง
ภาวะซึมเศร้า อันเกิดจากโรคดังกล่าว

คนไข้อาจได้รับประโยชน์จากการพูดคุยกับคนอื่นๆ
ซึงเคยเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” มาก่อน  ปละจากการพูดคุยสามารถช่วยทำ
ให้คนเป็นโรคสบายใจขึ้น  อย่างน้อยๆ จะทำให้เขาได้รู้สึกกว่า...
ไม่ใช้เขาคนเดี่ยวที่เป็นโรคดังกล่าว

<< BACK

Sources:
o Mayoclinic
o Healthline

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 7 : Guillain-Barre syndrome- Treatments and drugs

April 14,2014

ในคนที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร”...
บางคนจะใช้เวลานานเป็นเดือน หรือหลายปีกว่าโรคจะฟื้นตัว
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ผ่านไปดังนี้:

 เมื่อปรากฏมีอาการแรกเกิดขึ้น อาการมีแนวโน้มจะเลวลงภายใน
    สองอาทิตย์
 อาการจะเลวลงถึงระดับสูงสุดภายใน 4 อาทิตย์
 การฟื้นตัวจากโรคจะกินเวลานานตั้งแต่ 6 – 12 เดือน และอาจมี
   บางคนกินเวลานานถึง 3 ปีก็มี

ก่อนอื่น...เราต้องยอมรับเสียก่อนว่า  เราไม่มีทางรักษาโรค “กิลแลงขบาร์เร”
ให้หายขาดได้   แต่มีวิธีการรักษาอยู่สองอย่าง  ซึ่งสามารถทำให้โรคฟื้นตัว
ได้เร็วขึ้น และลดความรุนแรงของโรคลง:

1. Plasmpheresis:
การรักษาชนิดนี้ ยังถูกเรียกว่า “plasma exchange” หรือการชำระล้าง
เลือดให้สะอาด (blood cleansing)

Plasmapheresis ประกอบด้วยการแยกเอาน้ำเลือด
ซึ่งเป็น plasma ออกจากเม็ดเลือดทั้งหลาย แล้วส่งเม็ดเลือดกลับสู่
กระแสโลหิตพร้อมๆ กับน้ำที่เป็น colloid หรือ albumin
ส่วนที่เหลือ  คือน้ำเลือด (plasma) ต้องกำจัดเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป...

เราไม่ทราบชัดว่า การรักษาด้วยวิธี plasmaphesres มันทำงานอย่าง
ไร  แต่นักวิทยาศาตร์ต่างเชื่อว่า plasmapheresis  เป็นการกำจัดเอาภูมิคุ้มกัน
บางตัวออกจากน้ำเลือด (plasma)  ซึ่งทำหน้าทีทำลายเส้นประสาท
ส่วนปลายออกไป

2. Intravenous immunoglobulin:
ใน immunoglobulin จะมีภูมต้านทานที่ดี (healthy antibodies) ที่ได้จากผู้บริจาค
 และการคนไข้ได้รับ immunoglobulin ในปริมาณสูง ๆ สามารถสะกัดกั้น
ไม่ให้ภูมิคุ้มกันที่ไม่ดี (damaging aniboies) ไม่ให้เกิดโรค “กิลแลง-บาร์เร” ได้

ไม่ว่าท่านจะได้รับการรักษาแบบใด...
ทั้งสองวิธีต่างมีคุณค่าเท่ากัน   และการให้ทั้งสองสลับกัน จะไม่มีค่าเหนือ
กว่าการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพักฟื้นเพื่อรอให้ฟื้นตัวจากโรค...
ผู้ให้การรักษาจะต้องทำการเคลื่อนไหวแขน- ขาบ่อยๆ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมี
ความยืดหยุ่น และหลังจากโรคได้ฟื้นตัว  การบำบัดด้วยกายภาพบำบัด
จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น


<< BACK : P. 6: Guillain-Barre syndrome - Tests & Dignosis

 NEXT >> P. 8:  Guillain-Bare syndrome _ Coping & Support


วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 6 : Guillain-Barre syndrome- Tests and diagnosis

April 12, 2014

ในการวินิจฉัยโรค...
เราจะเห็นว่า  โรค "กิลแลง-เบอร์เร"  จะมีลักษณะคล้าย
กับโรค “มัลติเปิ้ล สเกลอโรซิส"  นั้นคือ ในระยะแรกของการเกิดโรค 
เราจะไม่สามารถวินิจฉัยโรค “กิลแลง-บาร์เร” ได้เลย   เพราะอาการมัน
หมือนกันกับโรคทางระบบประสาททุกชนิด  
ซึ่งแต่ลคนจะมีอาการแตกต่างกันไป

ในการวินิจฉัยโรค...แพทย์จจะทำการซักประวัติการเกิดโรค และทำความ
เข้าใจกับกลุ่มอาการ  และอาการแสดงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับท่าน

การเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจ (lumbar puncture) และ
การตรวจสมรรถภาพการทำงานของประสาท จะถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัย
โรค “กิลแลง-บาร์เร” กัน

การเจาะเอาน้ำไขสันหลัง แพทย์เขาจะทำการเจาะช่องกระดูกสันหลังระดับ
ล่างสุด (lumbar spinal canal)   เพื่อเอาน้ำไขสันหลังไปทำการตรวจดูการ
เปลี่ยนแปลงเฉพาะบางอย่างในน้ำที่ได้จากช่องกระดูกสันหลัง
ซึ่งเกิดในคนทีเป็นโรค “กลแลง-บาร์เร”

สำหรับการตรวจการทำงานของประสาท จะมีการตรวจสองอย่าง  ซึ่งเป็น
การตรวจทำงานของประสาทว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น  electromyography และ
nerve conduction velocity

 Electromyogarphy เป็นการวัดคลื่นกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ
เพื่อนำมาพิจารณาถึงภาวะความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เกิด
จากเส้นประสาทถูกทำลาย

 Nerve conduction studies เป็นการศึกษาถึงการชักนำคลื่นประสาทในสเ้น
ประสาทส่วนปลาย  โดยการตรวจดูความเร็วของการชักนำ  ซึ่งข้อมูลที่ได้
สามารถนำมาพิจารณาแยกโรคระหว่างโรคเปลือกประสาท หรือ
ส่วนที่เปนเส้นประสาทถูกทำลาย (demyelination และ axonal
degeneration


<< BACK P. 5 : Guillain-Barre syndrome-Complications

Next >> Guillain-Barre syndrome - Treatment & Drugs

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 5 : Guillain-Barre syndrome- Complications

April 12, 2014

โรค “กิลแลง-บาร์เร” จะทำลายเส้นประสาท และอาจก่อให้เกิด
ปรากฏการณ์ “โดมิโน” กับระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น การทำงาน
ของของระบบหายใจ และระบบการไหลเวียนของเลือด, และอืน ๆ

ภาวะแทรกซ้อนของ Guillain-Barre syndrome ได้แก่:

 Breathing difficulties:
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวของโรค “กิลแลง-บาร์เร”
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอัมพาติของกล้ามเนื้อการหายใจ
ซึ่งท่านอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องหายใจ และรักษาในโรงพยาบาล

 Residual numbness or other sensations:
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” มักฟื้นตัวสู่สภาพปกติ 
แต่มีส่วนน้อยที่มีอาการบางอย่างหลงเหลือ  เช่น อาการอ่อนแรง
หรือมีความรู้สึกผิดปกติ  เช่น อาการชา, เป็นเหน็บ   อย่างไรก็ตาม
การฟื้นตัวสู่ระดับปกติอาจดำเนินไปได้ช้า   ซึ่งอาจจำเป็นต้องกิน
เวลานานเป็นปี  หรือนานกว่านั้น โดย 20 – 30 % ของคนไข้
จะไม่สามารถฟื้นตัวสู่สภาพปกติ

 Cardiovascular problems:
คนที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” ที่มีผลกระทบต่อระบบหัวใจ และเส้นเลือด
ทำให้ระดับของความดันเลือดขึ้นๆ ลงๆ  ซึ่งควรได้รับการตรวจวัด
ความดันโลหิตกันบ่อยๆ

 Pain:
ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้โรค “กิลแลง-บาร์เร” จะรู้สึกมีอาการปวดเส้น
ประสาท (neuropathic pain)  ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยยาแก้ปวด (analgesics) หรือ
ยาทำลายอาการปวด (painkillers)

 Bowel and bladder function problems:
การทำงานของลำไส้ลดลง และมีปัสสาวะถูกกักขังในประเพาะ
ปัสสาวะ (urine retention)

 Blood clots:
คนไข้ที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร”  ซึ่งอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด จำเป็นต้องได้รับยา
ป้องกันการจัดตัวของเม็ดเลือด (blood thiners)

 Pressure sores:
การนอนนิ่งๆ จากการเป็นอัมพาติ จะเป็นเหตุทำให้เกิดแผลกดทับ(bedsores)
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ อาจช่วยได้ด้วยการพลิกตัวบ่อย ๆ

 Relapse:
ประมาณ 10 % ของคนเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” จะเกิดเป็นอีก  และมีความ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง  และมีเพียงน้อยรายที่ลงเอย
ด้วยการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว  และกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
(Heart attack)

<< BACK  P. 4 : Guillain-Barre syndrome - Symptoms
NEXT >> P.6: Guillain-Barre syndrome-Tests and diagnosis

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 4 : Guillain-Barre syndrome- Risk factors

April 12, 2014

เป็นที่ทราบกันว่า โรค “กิลแลง-บาร์เร” สามารถเกิดขึ้นกับคนได้
.ในคนทุกอายุ   แต่ท่านจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถ้า:       

 ท่านเป็นคนหนุ่ม (young adult) หรือ
 ท่านเป็นคนแก่ (older adult)

โรค “กิลแลง-บาร์เร” อาจถูกกระตุ้นโดย:

  ที่พบได้บ่อย คือ การอักเสบโดยเชื่อแบคทีเรีย- campylobacter
     ซึ่งเราสามารภพบได้โดยอาหารที่ไม่ได้ปรุง เช่นอาหารประเภทสัตว์ปีก 
  Mycoplasma pneumonia
  การผ่าตัด (surgery)
  เชื้อไวรัส- Epstein-Barr virus เป็นเชื่อที่ทำให้เกิดโรค infectious mononucleois...
  เชื้อไข้หวัดใหญ่ – Influenza virus
  โรค Hodgin’s disease
  โรค Mononucleosis
  เชื้อเอดส์ – HIV และ
  วัคซีนของเชื้อ Rabies และ influenza immunization


<< BACK P.3: :  Guillain-Barre syndrome -Causes

NEXT >> P.5: - Guillain-Barre syndrome-Complications

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 3 : Guillain-Barre syndrome- Causes

April 12,2014

เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค “กิลแลง-บาร์เร” ว่า มันคืออะไร...
ประมาณ 60 % ของคนไขโรคดังกล่าว  จะถูกนำด้วยการความผิดปกติใน
ระบบของการหายใจ (respiatory tract infection) และระบบกระย่อย
อาหาร (stomach flu)

การได้รับการผ่าตัดมาไม่นาน, ได้รับการฉีดวัคซีน, และการตั้งครรภ์ มีส่วน
เกี่ยวกบการทำให้เกิดโรค “กิลแลง-บาร์เร” ได่

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาตร์ไม่รู้ว่า ทำไมการเกิดโรค “กิลแลง-บาร์เร” ใน
บางคนจึงถูกนำโดยการอักเสบ   ส่วนรายอื่น ๆ ไม่เกิดเป็นเช่นนั้น
และมีคนไข้จำนวนหนึ่งไม่ถูกกระตุ้นโดยปัจจัยอะไรเลย

สิ่งที่เกิดในระบบภูมิคุ้มกัน...
ซึ่งโดยปกติแล้ว มันจะทำหน้าที่จัดการโจมตีสิ่งแปลกปลอมที่รุกล้ำเข่าสู่
ร่างกาย  เช่นเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส... แต่มันหันกลับมาทำลายตัวเองด้วย
การทำลายเส้นประสาท (nerves)  ซึ่งทำหน้าที่นำคลื่นประสาทไปยังสมอง


รูปแบบของโรค “กิลแลง-บาร์เร” ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเป็นผลจากระบบ
ภูมิคุ้มกัน  จะมีการทำลายเยื่อหัมเส้นประสาท (melin Sheath)  ซึ่งก่อให้เกิดผล
กระทบต่อกระบวนการส่งสัญญาณประสาท...  ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง,
เกิดอาการชา, หรืออัมพาติ

<< BACK  P. 2: Guillain-Barre syndrome - Symptoms

 NEXT >> P. 4: Guillain-Barre syndrome- Risk factors

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 2 : Guillain-Barre syndrome –Symptoms

April 12, 2014

โรคกิลแลง-บาร์เร เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก...
แต่จัดเป็นโรครุนแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยนไป
โดยหันอาวุธเข้าทำลายล้างเซลล์ประสาทส่วนปลาย ก่อให้เกิดอาการ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง, อาการชา, อาการเป็นเหน็บ, และ
สุดท้ายลงเอยด้วยการเป็นสอัมพาต

เราไม่ทราบว่า สาเหตุของโรคคืออะไร ?
แต่มันจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการโดยการอักเสบของหลอดลม และไวรัส
ลงกระเพาะ (stomach flu)

อาการเริ่มแรก มักจะรู้สึกเป็นเหน็บที่บริเวณนิ้วเท้า, เท้า, และขา
อาการเหน็บจะกระจายไปยังต้นแขนทั้งสอง และนิ้วมือ
โดยอาการต่างๆ จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

มีบางราย โรคชองเขาจะเลวลงอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง
อาการของโรค “กิลแลง-บาร์เร” ได้แก่:

o  รู้สึกเหมือนถูกของมีคมิท่มแทง หรือรู้สึกเป็นเหน็บในบริเวณ
    นิ้วมือ และนิ้วเท้า
o  กล้ามเนื้อของขาเกิดอ่อนแรง ซึ่งเคลื่อนสู่ส่วนบนของร่างกาย
    และอาการจะเลวมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
o  เดินได้ไม่มั่นคง (difficulty walking steadily)
o  มีความลำบากในการเคลื่อนไหวลูกตา หรือใบหน้า, มีความลำ
   บากในการเคี้ยวอาหาร, ลำบากในการกลืนอาหาร
o  มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง
o  ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
o  หัวใจเต้นเร็ว
o  หายใจลำบาก และ
o  อัมพาต

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” จะรู้สึกว่ามีอาการอ่อนแรง
ส่วนมากจะเกิดขึ้นภายใน 4 อาทิตย์หลังการเริ่มต้นของการเกิดโรค
ในบางราย  อาการ จะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  โดยเกิดอัพาติ
ของแขน –ขา และกล้ามเนื้อหายใจโดยสิ้นเชิงภายในไม่กี่ชั่วโมง

<< BACK  P.1

 NEXT >> P. 3: Guillain-Barre syndrome- Causes

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 1 : Guillain-Barre syndrome

April 12, 2014

เมื่อคราวที่แล้ว นำเสนอเรื่อง “มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส” 
ซึ่งเป็นโรคในระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยน โดยการหันอาวุธเข้าห้ำหั่น
เยื่อหุ้มใยปนะรสาท (myelin) ในประสาทส่วนกลางอันได้แก่สมอง 
และไขประสาทสันหลัง....

สำหรับวันนี้จะขอนำเสนออีกโรคหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน  โดยเป็น
โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดเพียน เช่นกัน  แต่หันอายุธเข้าทำลาย
ประสาทส่วนปลายแทน  มีชื่อเรียกว่า  "กิลแลง -บาร์เร"
(Guillain - Barre syndrome) 


ประเด็นที่ทำให้หลายท่านเกิดความสงสัย คือ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
จะกล่าวว่า...มันเป็นความแปลกประหลาดเกี่ยวกับโรคภับไข้เจ็บ ซึ่งอยู่รอบ
ตัวของคนเราก็คงได้

กิลแลง-บาร์เร หรือ Guillain-Barre syndrome เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่ง
ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา  หันอาวุธเข้าทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย...
ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง,  รุ้สึกเป็นเหน็บที่แขน-ขาเป็นอันดับแรก
 หลังจากนั้น อาการจะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว
 สุดท้ายทำให้เกิดอัมพาติทั้งร่าง

ในรายที่รุนแรง หรือเป็นมาก ๆ...
อาการของโรคกิลแลง-บาร์เร ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน จำเป็นต้องรับไว้รักษา
ในโรงพยายาบาลอย่างรีบด่วน

ไม่มี่ใครบอกได้ว่า...
สาเหตุมที่แท้จริงของโรค “กิลแลง-บาร์เร” คืออะไรกั้นแน่
แต่ส่วนใหญ่คนที่เกิดโรคดังกล่าว มักจะนำโดยการเกิดโรคติดต่อ
เป็นต้นว่า  เป็นโรคหลอดลมอักเสบ  หรือไวรัสลงกระเพาะ (stomach flu)

โชคดีหน่อยที่โรค Guillain-Barre syndrome พบได้ไม่มากนัก
โดยมีสถิติรายงานเอาไว้ว่า  พบได้เพี่ยง 1 – 2 รายในประชาชนทั่วไป
จำนวน 100,000 ราย เท่านั้น

เช่นเดียวกับโรค “มัลติเปิ้ล สะเกลอโรซิส”....
เราไม่สามารถรักษาโรค “กิลแลง-บาร์เร” ให้หายได้
แต่เรามีวิธีการรักษาหลายอย่าง  ซึ่งสามารถบรรเทาอาการ และลดระยะ
เวลาของการเกิดอาการลง  และคนส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวจาก
โรคดังกล่าวได้ แต่มีบางรายจะทรมานจากอาการอ่อนแรง, อาการชา,
หรือเมื่อยล้าไปเรื่อยๆ

NEXT >> P. 2 Guillain-Barre syndrome – Symptoms

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 8: What is the outlook (Prognosis) ?

April 11,2014

คำถามมีว่า – คนเป็นโรค MS จะมีอนาคตเป็นเช่นใด ?
 
เป็นที่ทราบกันว่า โรค MS เกิดขึ้นกับคนที่แตกต่างกัน และการดำเนิน
โรคในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน   ซึ่งหมายความว่า มันเป็นการยากที่จะทำนาย
ได้ว่าโรคทีเกิดขึ้น....จะลงเอยอย่างไร

 ประเด็นสำคัญมีว่า เราไม่มีวิธีการตรวจ  เพื่อทำนายอนาคตว่า
เมื่อเกิดโรคดังกล่าวขึ้นแล้ว โรคจะดำเนินไปอย่างไร ?

คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรค MS....
ภายหลังการวินิจฉัย เขาสามารถเดินได้ และสามารถปฏิบัติภาระกิจส่วนตัว
ของเขาได้อีกหลายปี  และคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไม่จำเป็นต้องนั่งรถเข็น
 (wheel chair)

อย่างไรก็ตาม มีคนไข้บางรายที่เป็นโรค MS จะกลายเป็นคนไร้สมรรถภาพ
เมื่อเวลาผ่านไป และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่แปรสภาพเป็นคนไข้สมรรถ
ภาพอย่างรุนแรง ซึ่งได้มีการวิจัยเกี่ยวกับการหายาในกลุ่ม disease-
Modifyling drugs เพื่อทำให้การรักาโรคดังกล่าวดีขึ้น

ผลจากการวิจัยพบว่า...
โดยเฉลี่ยคนที่เป็นโรค MS จำนวน ¾ คาดว่าจะกลายเป็นคนไร้สมรรถภาพ
ในเวลา 10 – 15 ปีหลังการเกิดโรค

<< BACK

www.patient.co.uk/health/multiple-sclerosis-leaflet

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 7: Multiple sclerosis treatment

April 14,2014

เคยกล่าวมาแล้วว่า...
ก่อนที่แพทย์จะทำการรักษาโรคใดก็ตาม เขา หรือเธอจะต้องรู้เสียก่อน
ว่า คนไข้เป็นโรคอะไร ? แต่ความจริงมีว่า หากแพทย์ไม่รู้ว่า โรคที่ทำ
ให้เกิดอาการนั้นคืออะไร...การรักษาทีท่านจะได้รับ ก็เป็นเพียงการรักษา
อาการของโรคเท่านั้นเอง

ในปัจจุบัน แม้ว่าโรค "มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส" จะไม่สามารถรักษาให้หาย
ได้ก็ตาม อาการของโรค MS บางอย่างสามารถทำให้ทุเลาลงได้

การรักษาอาการของโรค MS จะแบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้:

1. Medicines that aim to modify the disease process
ยาที่แพทย์นำมาใช้รักษา คือ immunomodulatory agents
ซึ่งมีหลายตัวด้วยกัน ได้แก่:

o  interferon beta – 1a (Avonex® และ Rebif®)
o  interferon beta -1b (Betaferon®)
o  glatiramer (Copaxone®)
o  natalizumab (Tysabri®) และ
o  fingolimod (Gilenya®)


ยาในกลุ่มนี้ ไม่สามารถทำให้โรต MS หายได้ และไม่สามารถใช้
กับคนไข้ทุกราย

Natalizumab เป็นยาใหม่ ใช้รักษาโรค MS ที่เป็นมาก และมีอาการรุนแรง
 ส่วน Fingolimod ก็เป็นยาใหม่ ผลิตออกมาในรูปเม็ดสำหรับกิน
(เป็นยาตัวเดียวในกลุ่ม disease-modifyling RX)
ส่วนนอกนั้น เป็นยาฉีดทั้งนั้น

ยาทั้งหลายที่กล่าวมา ไม่สามารถบอกได้ว่า มันออกฤทธิ์อย่างไร
แต่เชื่อว่า ยาจะออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

2. Steroids (sometimes called corticosteroids)
ยากลุ่มสะเตียรอยด์ (steroid) มักจะถูกนำมาใช้ในรายที่โรคกำเริบขึ้นมาอีก (relapse)
และทำให้คนไข้ไร้สมรรถภาพ โดยให้ยาในขนาดสูงในระยะสั้น ๆ
ด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำหลายเป็นเวลาหลายวัน (บางรายอาจให้เป็นยาเม็ด)

Steroids. จะออกฤทธ็ด้วยการลดการอักเสบ  และสามารถทำให้ระยะของ
การกำเริบของโรคสั้นลง  ซึ่งหมายความว่า  ยาทำให้อาการบรรเทาได้เร็วขึ้น
แต่ไม่สามารถยับยั้งการดำเนินของโรคได้

3. การรักษาอาการอื่น ๆ ได้แก่:

o  ยาต้านการหดเกร็งกล้ามเนื้อ (Anti-spas drugs)
o  ยาทำลายอาการเจ็บปวด (Painkillers) ซึ่งยาบางขนานสามารถทำ
o  ให้อาการปวดเส้นประสาท (neuropathic pain) ดีขึ้นได้
o  ยาช่วยการขับถ่ายปัสสาวะ
o  ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants)
o  ยารักษาปัญหาการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ

4. นอกจากยาแล้ว ยังมีการบำบัด ซึ่งถูกนำมาใช้ช่วยคนไข้ที่เป็นโรค MS
ซึ่งสูญเสียสมรรถภาพไป ได้แก่:

o  กายภาพบำบัด (physiotherapy)
o  อาชี่วะบำยัด (occupatinal therapy)
o  การแก้ไขการพูด (speech therapy)
o  จิตบำบัด (psychological therapy)

<< BACK :  P.6; How is multiple sclerosis diagnosed ?

NEXT >>  P. 8: What is the outlook (prognosis)?

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 6: Multiple sclerosis-How is multiple sclerosis diagnosed?

April 11, 2014

เป็นที่ทราบกันว่า...
อาการต่างๆ ที่เกิดในโรคมัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส สามารถเกิดจากโรค
อย่างอื่นได้  จึงเป็นการยากที่จะบอกได้ในระยะแรก ๆ ว่า อาการที่เห็น
นั้นเป็นอาการของคนเป็นโรค “มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส”



ยกตัวอย่าง... คนไข้อาจมีอาการชาที่ขา, สายตาพล่ามัว มาเป็นเวลา
สองสามอาทิตย์  จากนั้นอาการจะหายไป ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะ
แรกๆ ของคนเป็นโรค MS  หรืออาจเป็นอาการพึ่งหายไปของโรคอย่างอื่น
ซึ่งไม่ใช่โรค MS ก็ได้

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา...
การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องไม่สามารถจะกระทำได้จนกว่า จะมีอาการของโรค
จะเลว (relapses) อีกสองครั้ง หรือมากกว่าเกิดขึ้นอีก
ดังนั้น ท่านอาจจำเป็นต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน หรือหลายปี  ก่อนที่จะ
ได้รับกาารวินิจฉัยว่า  ท่านเป็นโรคมัลิเปิลสะเกลอโรซิสหรือไม่ ?

คำถามมีว่า...มีการตรวจอะไรบ้างที่พอจะนำมาใช้เพื่อช่วยการวินิจฉัย ?

ในคนไข้โรค MS  ส่วนใหญ่แล้ว...
ไม่ปรากฏว่า มีการตรวจใดที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแจ่มชัดว่า
ท่านเป็นโรค MS โดเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของโรค

อย่างไรก็ตาม...
มีการตรวจบางอย่าง  อาจช่วยบ่งบอกว่า ท่านอาจเป็นโรค MS
หรือบ่งบอกให้ทราบสาเหตุของอาการที่ปรากฏได้:

 Magnetic resonance imaging (MRI) scan:
MRI scan เป็นการตรวจที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับการตรวจสมอง โดยสามารถ
ตรวจร่องรอยของการอักเสบ  และรอยแผลเป็น (scarring) ภายในสมอง
 ซึ่งเกิดจากโรค MS

แม้ว่า การตรวจด้วย MRI จะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค MS
แต่ไม่ได้หมายความว่า การตรวจนั้นจะบอกได้ทุกรายไป
โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ของโรค

ดังนั้น ผลจากการตรวจ MRI ควรนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่
ได่จากอาการ และการตรวจร่างกาย

ในเมื่อ MRI scans สามารถนำมาใช้ในการตรวจโรค MS จึงทำให้การตรวจ
อย่างอืนแทบไร้ความหมายไป เช่น การเจาะสันหลัง (lumbar puncture)
และ Evoked potential test

 Lumbar puncture:
เป็นการตรวจหาprotein จากน้ำไขสันหลัง (CSF) ซึ่งในคนที่
เป็นโรค MS จะพบ protein บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป
แต่มันสามารถพบได้ในโรคอื่นเช่นกัน...

 Evoked potential test:
เป็นการตรวจดูร0E39ปแบบการเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสไฟฟ้า
ในเส้นประสาทบางเส้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไป


<< BACK P. 5: : Multiple sclerosis symptoms

 NEXT >>P. 7: Multiple sclerosis treatment

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 5: Multiple sclerosis symptoms

April 11, 2014

คนเป็นมัลติเปิลสะเกลอโรซิส สามารถทำให้เกิดอาการได้แตกต่างกันไป
คนส่วนใหญ่จะมีอาการเพียงบางอย่างเท่านั้น  และมีแนวโน้มที่จะไม่เกิด
อาการทุกอย่าง ประเด็นสำคัญ  อาการของคนเป็นโรค MS ไม่สามารถที่
จะคาดคะแนได้เลย

ในบางคนอาการจะเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป
และที่พบได้บ่อยที่สุด มักออกมาในรูปแบบปรากฏขึ้นแล้วก็หายไปใน
เวลาที่แตกต่างกัน และช่วงเวลาที่อาการที่เกิดเลวลงเรียกว่า Relapses
และช่วงเวลาที่อาการดีขึ้น หรือหายไปเราเรียกว่า remissions

ในช่วงเวลา relapses อาจเกิดเมื่อใดก็ได้ โดยที่อาการจะแตกต่างกันไป
ในแตละครั้ง โดยไม่มีเหตุผล และมีปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิด
relapses คือการอักเสบ, การออกกำลังกาย หรืออากาศร้อน

อาการที่เกิดในระช่วง relapses จะขึ้นกับตำแหน่ง หรือส่วนของสมอง
หรือไขประสาทสันหลังถูกทำลาย ซึ่งหมายความว่า ท่านอาจมีเพียง
อาการเพียงอย่างเดียวในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรืออาจมีอาการ
หลายอย่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก
ใยประสาที่เกี่ยวข้อหยุดการทำงานได้อย่างเหมาะสม

อาการของคนเป็น “มัลติเปิลสะเกลอโรซิส” ที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่:

ปัญหาด้านสายตา (Visual problems):

อาการแรกของคนเป็นโรค MS ซึ่งพบได้ประมาณหนึ่งในสี่คนของ
คนเป็นโรค MS คือ ความผิดปกติทางด้านสายตา โดยเป็นผลจาก
การอักเสบของเส้นประสาทตา-optic nerve (optic neuritis)
ทำให้เกิดมีอาการปวดที่บริเวณหลังลูกตา พร้อมกับการสูญเสีย
การมองเห็น (loss of vision) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับตาเพียงข้างเดียว

นอกจากการสูญเสี่ยการมองเห็นแล้ว อาการอย่างอื่นอาจเกิดขึ้นได้
เช่น สายตาพล่ามัว หรือเห็นภาบซ้อนกัน

กล้ามเนื้อกระตุก (spasms) และหดเกร็ง (spasticity):

กลามเนื้อสั่นระรัว (tremors) หรือกาล้ามเนื้อเกิดการกระตุก
(spasms) ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นประสาที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ
ถูกทำลายไป กล้ามเนื้อบางมัดอาจหดเกร็ง และสั้นเข้า เป็น
เหตุให้ไม่สามารถใช้งานได้ (spasticity)

เจ็บปวด (Pain):

อาการเจ็บปวดที่เกิดในคนเป็นโรค MS มีสองรูปแบบด้วยกัน:

o  เป็นอาการปวดเส้นประสาท Neuropathic pain ซึ่งเกิด
จากใยประสาทถูกทำลาย สามารถทำให้เกิดอาการ
ปวดของมีคมทิ่มตำ หรือออกแสบร้อนของผิวหนัง และอาจ
มีความไวมากกว่าปกติ
o Musculoskeletal pain –เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมี
การหดเกร็งนั้นเอง

อาการเมื่อยล้า (Fatigue):

อาการมื่อยล้าอย่างมากมาย อย่างผิดปกติ เป็นอาการที่พบได้
บ่อยสุดอาการหนึ่งของคนที่เป็นโรค MS โดยเฉพาะอาการ
เหนื่อยเพลียจะเกิดตามหลังการบริหารร่างกาย หรือออกแรง
เป็นอาการอ่อนเพลียเกินความเป็นจริง

อาการทางทางอารมณ์ และ ซึมเศร้า (Emotional problems and depression):

คนที่เป็น MS อาจมีอาการร้องไห้ หรือหัวเราะโดยไม่มี่เหตุผล
ไม่เพียงเท่านั้น เรายังพบว่า คนเป็นโรค MS จะมาด้วยอาการ
ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลในระดับต่าง ๆ ได้

นอกจาอาการตามที่กล่าวมา เรายังสามารถพบอาการอื่น ๆ ได้ เช่น:

o  อาการชา, เป็นเหน็บ ซึ่งมักเป็นอาการในช่วง relapse
o  อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางมัด การเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป
o  สูญเสียการทรงตัว
o  ไม่สามารถตั้งสมาธิ
o  กล้ามเนื้อสั่น หรอหดเกร็ง
o  วิงเวียน
o  มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ
o  อวัยวะเพศไม่แข็งตัวในชาย
o  พูดจาลำบาก

อาการในระยะหลัง (Secondary symptoms)

ในระยะหลังของการเกิดโรค อาการอาจปรากฏยั่งยืน จนกระทั้ง
เกิดมี เนื้อเยื่อหดเกร็ว (contracture),  ปัสสาวะอักเสบ (urine infections),
กระดูกพรุน (osteoporosis),  กล้ามเนื้อลีบ (muscle wasting)
และการเคลื่อนไหวลดลง (reduced mobility)

<< BACK P. 4: Who gets multiple sclerosis?

NEXT >>P 6 : How is multiple sclerosis diagnosed

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 4 : Who gets multiple sclerosis?

April 11,2014

ลองพิจารณาดูสถิติของ UK ...
ประมาณ 1 ใน 1,000 คนของคนใน UK จะเกิดเป็นโรคมัลติเปิลสะเกลอโรซิส
แม้ว่าจะพบในคนหนุ่มได้น้อยก็ตาม  แต่สามารถเกิดกับคนได้ทุกอายุ 
 และที่พบได้มากสุด คือเกิดในคนวัย 30

โรค MS จัดเป็นโรคที่ก่อให้คนหนุ่มไร้สมรรถภาพ (disability) ในประเทศ
อังกฤษ   โดยพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิงถึงสองเท่า

แม้ว่า โรค MS จะไม่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ชัดเจนนักก็ตาม
แต่ ในสมาชิคที่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค MS  เช่น พ่อ แม่ น้องชาย น้องสาว
ซึ่งเป็นมัลติเปิลสะเกลอโรซิส  มีโอกาสที่จะเกิดโรคได้ในอัตรา 1 คน
ต่อประชาชน 100 คน (เมื่อเปรียบกับสถิติโดยทั่วไป นั้นคือ มีคน
เป็นโรค MS 1 คนในประชาชนทุกๆ 1,000 คน


<< BACK P.3: How doe MS progress ?

 NEXT >> P. 5 : Multiple sclerosis symptoms

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 3: Multiple sclerosis : How does multiple Sclerosis progress ?

April 13, 2014

คนเป็นโรคมัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส...
ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อโรคเกิดขึ้น มันมีแนวโน้มที่จะเกิด
ได้ 4 รูปแบบด้วยกัน ดังนี

รูปแบบที่ 1: Relapsing-remitting form of MS
ประมาณ 9 ใน 10 ของคนที่เป็นโรค MS จะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ
(relaspsing-remitting)

ในระหว่างที่มีอาการ (relapsing) อาจกินเวลานานหลายวัน และ
ส่วนมากจะกินเวลา 2 – 6 อาทิตย์ บางครั้งนานถึงหลายเดือนก็มี
ต่อจากนั้น อาการจะบรรเทาลง หรือหายไปเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้
เขาเรียกว่า remission หลังจากนั้น  อาการจะกลับคืนมาอีกเป็นระยะ ๆ

ชนิด และจำนวนของอาการที่เกิดขึ้น จะมีความแตกต่างกันในแต่
ละคน โดยขึ้นกับตำแหน่งของรอยโรคว่าอยู่ตรงตำแหน่งใด
และจำนวนครั้งที่เกิดในช่วงเวลาที่กำหนดก้แตกต่างกันไป 
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นหนึ่งถึงสองครั้งในทุก ๆ สองปี

คนที่เป็น MS รูปแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะเป็นหลายปี...
ในระยะแรก ๆ โรคอาจหายเป็นปกติ ปราศจากอาการ (full recovery)
ในบางครั้ง ไม่เพียงแต่มีการทำลายเยื่อหุ้ม myelin sheath เท่านั้น
แต่ใยประสาทก็ปรากฏว่าถูกทำลายไปด้วย

สุดท้าย...
หลังจากเวลาผ่านไปได้ 5 – 15 ปี อาการบางอย่างจะปรากฏอยูตลอดไป
ทั้งนี้เพราะปรากกว่า เกิดมี่รอยแผลเป็นเป็นหย่อมๆ พร้อมๆ กับการทำ
ลายประสาทขึ้นอย่างช้า ๆ  ซึ่งเรียกว่า secondary progressive MS

รูปแบบที่ 2: Secondary progressive form of MS
คนที่เป็นโรค MS ในกลุ่มนี้จะเลงลงอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมี หรือไม่มี
การเกิดอาการเลวลง (relapsing) และมีคนไข้ที่เป็นโรคในรูปผแบบ
Relapsing-remitting) ซึ่งมาตอนหลังได้กลายเป็น secondary \
Progressive form of MS

รูปแบบที่ 3: Primary progressive form of MS
ประมาณหนึ่งในสิบของคนเป็นโรค “มัลติเปิ้ลสเกลอโรซิส” จะไม่เป็น
รูปแบบเป็นๆ หายๆ (relapsing-remitting course)
แต่อาการจะเลวตั้งแรกเริ่ม และเล็วลงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทางจะ
ฟื้นตัวเป็นปกติ จึงเรียกว่า primary progressive MS

รูปแบที่ 4 : Benign MS
มีเพียง 1 ใน 19 คนที่เป็นโรค MS ที่อยู่ในกลุ่มนี้ โดยมีอาการเกิดขึ้น
มาใหม่ได้น้อยครั้งในชีวิต และไม่มีอาการตลอดไป
เป็นโรค MS ที่มีความรุนแรงเบาที่สุด เขาจึงเรียกว่า benign MS

<< BACK P. 2: Multiple sclerosis - Causes

NEXT >> P. 4 : Who gets multiple sclerosis

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 2 : Multiple sclerosis - Causes

April 11, 2014

เราถูกทำให้เชื่อว่า...
โรคมัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส  เป็นโรคทางระบบภูมิค้มกัน  ซึ่งทำงานผิด
เพี้ยนไปจากปกติ ... หมายความว่า เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงาน
ตามปกติด้วยการทำลายเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, และอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
แต่หันกลับมาทำลายตัวเองแทน
         
เมื่อเกิดโรค  MS
ส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเราหมายถึง T cells จะทำลาย
เปลือกประสาท ชือ myelin sheath ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มใยของประสาท (nerve fibers)
ที่อยู่ในสมอง และไขประสาทสันหลัง  ทำให้เกิดเกิดการอักเสบ
ในอวัยวะดังกล่าวเป็นหย่อม ๆ

อะไรทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดเพี้ยนไปเช่นนั้น ?

มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า มีอะไรบางอย่าง เป็นต้นว่า “เชื้อไวรัส”  หรือปัจจัย
อย่างอื่นที่อยู่รอบตัว  ทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในบางคนที่มีพันธุกรรม
บางขนิด   ซึ่งเป็นเหตุให้ระบดังกล่าวทำงานผิดเพี้ยนไป

การอักเสบที่เกิดรอบๆ เยื่อหุ้มใยเส้นประสาท (myelin sheath) เป้น
ปัจจัยสำคัญทำให้การทำงานของใยประสาทที่อยุ่ในสมอง และ/หรือไข
ประสาทไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม
และก่อให้เกิด อาการขึ้นมา

เมื่อการอักเสบภายในสมอง...หายไป...
เยื้อหุ้มประสาทอาจซ่อมแซมตัวของมันเอง   สามารถฟื้นตัวสู่สภาพเดิม  และ
สามารถทำงานได้เหมือนปกติ   อย่างไรก็ตาม การอักเสบอาจกลับเป็นขึ้นอีก
และทำให้เกิดมีพังผืด (scarring)  ภายในสมอง และไขประสาทสันหลัง
ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวที่ก่อให้เกิดปั้ญหาอย่างยั้งยืนต่อไป

<< BACK

NEXT >> P. 3: How does multiple sclerosis progress?

โรคมัลติเปิลสะเกลอโรซิส....P. 1: Multiple sclerosis (MS)

April 11, 2014

มัลติเปิลสะเกลอโรซิส...
เป็นโรคของสมอง และไขประสาทสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดอาการ
ได้หลายอย่าง โดยคนส่วนใหญ่  ในตอนแรกเริ่มของของโรค  คนไข้จะมี
อาการเป็นๆ หายๆ  เป็นเวลานานหลายปี   แต่บางราย  มีอาการอยู่ตลอด
เวลา  เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานไป

ต้องยอมรับว่า...
แม้เรามัลติเปิลสะเกลอโรซิสเป็นโรค ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
แต่มียาหลายขนานถูกนำมาใช้บรรเทาอาการต่างลงได้

ในโรค "มัลติเปิลสะเกลอโรซิส"  เราจะพบร่องรอยของการอักเสบเกิดขึ้น
ในส่วนของสมองและ  หรือไขประสาทสันหลัง  และการอักเสบที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นต้นเหตุที่ทำให้การทำงานของสมอง  และไขประสาทสันหลังเสียไป
เป็นเหตุให้นำไปสู่การเกิดอาการของโรคขึ้น

เราสามารถเข้าใจในอาการที่เกิดขึ้น...
ด้วยการเรียนรู้...  ทำความเข้าใจการทำงานของสมอง, ไขประสาทสันหลัง 
และเส้นประสาทว่า  ในสภาพปกติมันทำงานกันอย่างไร

ภายในสมอง เราจะพบว่ามีใยเส้นประสาทจำนวนมากมาย  ทำหน้าที่
ในการนำคลื่นสัญญาณประสาทระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมอง  และไข
ประสาทสันหลัง

ใยของเส้นประสาทแต่ละใย จะถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นสารเรียก myelin 
 ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นฉนวนให้กับเส้นใยประสาท เพื่อทำให้คลื่นประสาทเดิน
ทางตามเส้นประสาทได้อย่างถูกต้อง

เส้นประสาท จะประกอบด้วยใยเส้นประสาทจำนวนมาก
แต่ละเส้นประสาทเหล่านี้จะเทำหน้าที่นำคลื่นประสาทระหว่างสมอง  และไข
ประสาท  กับกล้ามเนื้อ, ผิวหนัง, อวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย 

ในคที่เป็นโรคมับติเปิลสะเกลอโรซิส...
จะมีการทำลายสารที่เป็นเยื่อหุ้ม (myelin) ของใยประสาทที่อยู่ในสมอง และ
ไขประสาทสันหลัง  จึงเป็นเหตุให้ใยประสาทไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม
จึงเป็นผลทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น

NEXT >> P. 2 : Multiple sclerosis : Causes

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

อาการปวดประสาท P. 5 : Neuralgia – Treatment

April 10, 2014

ในการรักษาอาการปวดประสาท (neuralgia)...
หากแพทย์ไม่สามารถทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเช่นนั้นได้
แพทย์จะให้การรักษาตามอาการเป็นหลัก   แต่หากทราบต้นเหตุว่า  มันคืออะไร
แพทยจะโฟกัสการรักษาไปยังสาเหตุอันนั้นทันที

การรักษามีดังต่อไปนี้:

 การใช้ยารักษาบรรเทาอาการปวด
ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวด ประกอบด้วย :

 ยาลดอาการปวด เช่น aspirin หรือ ibrprofen
 Antidepressants เช่นamitriptyline หรือ nortriptyline
 Anti-seizure medications เช่น carbamazepine
 Narcotic pain medications สำหรับลดอาการปวดในระยะสั้น
เช่น codeine
 Tropical creams wiht capsaicin


 ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (โรคเบาหวาน) ซึ่งเป็นสา
เหตุทำให้เกิดอาการปวดประสาท (neuralgia)

 กายภาพบำบัด (Physiotherapy)

 ฉีดยาชา (Nerve block) สามารถกำจัดอาการปวดออกไป และ
สามารถลดการอักเสบลงได้


 ทำการผ่าตัดเอาส่วนที่ไปกดเส้นประสาท ซึ่งอาจเป็นเส้นเลือด,
กระดูก, เอ็น, หรือ ก้อนเนื้องอก


<<  BACK

Source:
o Healthline

อาการปวดประสาท P.4: Neuralgia – Diagnosis




April 10, 2014

ในการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท...
สิ่งที่แพทย์จำเป็นต้องกระทำ  คือ การประเมินขอ้มูลทีีได้จากกประวัติเกี่ยว
กับการเกิดอาการปวด   จากการตรวจร่างกาย  ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ  
และการตรวจพิเศษอย่างอื่น เช่น MRI
                                                                                     
เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดเส้นประสาท (neuralgia)
สิ่งที่จะได้พบเห็น   คือ ท่านจะถูกซักประวัติเกี่ยวกับอาการของท่าน
ซึ่งท่านจะต้องอธิบายถึงลักษณะของอาการ  และระยะเวลาของความ
เจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับท่าน

ท่านจะต้องบอกให้แพทย์ได้ทราบว่า ท่านกินยาอะไรบ้าง
บอกให้แพทย์ได้ทราบว่า  ท่านมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่  เช่น โรค
เบาหวาน,  โรคมัลติเปิ้ลสเกลอโรซิส, และโรคงูสวัส (Herpes Zoster)
โรคที่กล่าวมาสามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาทได้

จากการตรวจร่างกาย...แพทย์จะตรวจดูตำแหน่งที่มีความเจ็บปวด และ
อาจตรวจพบต้นเหตุทำให้เกิดอาการปวดประสาทได้

หากท่านมีอาการปวดที่บริเวณใบหน้า...
ท่านอาจจำเป็นต้องทำการตรวจฟัน (dental exam.) เพื่อแยกโรคทางฟัน
ออกไป เช่น รากฟันอักเสบเป็นหนอง (an abscess)

ท่านอาจได้รบการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ...
เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาล   ตรวจดูการทำงานของไต  ซึ่งการเป็นโรค
เบาหวาน  และโรคไต  ต่างสามารถทำให้เกิดโรคปวดประสาทได้

ต่อจากนั้น  ท่านอาจได้รับการตรวจด้วยภาพ  เช่น   MRI  ซึ่งสามารถ
ตรวจวินิจฉัยโรค multiple sclerosis (MS) ได้

การตรวจเส้นประสาท nerve conduction velocity (NCV)  สามารถตรวจ
ดูเส้นประสาทว่า  มีการถูกทำลายหรือไม่

จากข้อมูลที่ได้จากการซกประวัติ และการตรวจทางร่างกาย  และการตรวจ
ต่างๆ ที่กล่าวมา  สามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่า...
อาการปวดประสาทเกิดจากอะไร


<< BACK P. 3: Neuralgia - Causes

NEXT >> P. 5 :Neuralgia- Treatment

อาการปวดเส้นประสาท P. 3 : Neuralgia – Causes

April 10, 2014

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท  คือ เส้นประสาทถูกทำลาย...
เส้นประสาทในแต่ละเส้นของร่างกายจะถูกปกคลุมโดยเยื้อหุ้ม (coating)
หรือเปลือกของเส้นประสาท ซึ่งมีชื่อเรียก myelin sheath

เมื่อเปลือกเส้นประสาท (myelin sheath) ถูกทำลาย หรือเสื่อม
สลายไปจากเส้นประสาท จะก่อให้เกิดอาการเมือนถูกของมีคมทิ่มแทง
(stabbing), มีอาการปวดประสาทคล้ายไฟฟ้าช๊อท

มีปัจจัยอีกหลายอย่าง รวมทั้งอายุที่แก่ตัวขึ้น สามารถทำให้เกิด
มีการทำลายเปลือกเส้นประสาท (myelin sheath)
แต่มีหลายกรณีของการเกิดอาการปวดประสาท ไม่สามารถพบสาเหตุ
ที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท ได้แก่:

Infection:
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอีสุกอีใส (chickenpox virus) เป็นสาเหตุที่ทำ
ให้เกิดอาการปวดเส้นประสาท เรียก postherpetic neuralgia
อาการปวดประสาทชนิดนี้ จะพบมากขึ้นในคนที่มีอายุสูงขึ้น
นอกจากนี้...
เรายังพบอาการปวดประสาทในโรค Lyme disease, HIV และโรค
syphillis เป็นต้น

Multiple Sclerosis:
MS หรือ Multiple sclerosis เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลาย
ตัวของเปลือกหุ้มเส้นประสาท (myelin sheath)

Pressure on the nerve:
เปลือกของเส้นประสาท (myelin sheath) สามารถถูกทำลาย
จากการกด ซึ่งอาจเกิดจากกระดุก, เอ็นพังผืด, เส้นเลือด, หรือ
เนื้องอก ซึ่งกดลงบนเส้นประสาท

อาการปวดจากเส้นประสาท trigeminal nerve ถูกกด ส่วนมาก
จะเกิดจากเส้นเลือดที่ผิดปกติโดยมีอาการปวด (swelling of blood
Vessels)

Diabetes:
มีคนเป็นโรคเบาหวานจำนวนไม่น้อย ทรมานจากอาการปวด
ประสาท เพราะการมีน้ำตาลในกระแสเลือดในระดับสูง ๆ
สามารถนำไปสู่การทำลายเปลื่อกของเส้นประสาทได้

Less Common Causes:
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมา   อาการปวดประสาทอาจมาจาก
ปัจจัยอีกหลายอย่าง  ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก เป็นต้นว่า:

o โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease
o Porphyria (a rare blood disease)
o ยารักษาที่ใช้ในคนเป็นโรคมะเร็งบางอย่าง เช่น cisplatin,
Paclatin หรือ vincristin
o ได้รับบาดเจ็บ เช่น เกิดจากการผ่าตัด
o ถูกระคายจากสารเคมี

<< BACK   P. 2 : Neuralgia - Types

 NEXT >> P. 4 : Neurlgia- Diagnosis

ปวดเส้นประสาท P. 2 : Neuralgia – Types

April 10, 2014

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า...
อาการปวดประสาท สามารถเกิดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมีต้น
เหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าได้ และมีบ่อยครั้ง เราไม่สามารถทราบ
ได้เลยว่า อาการปวดประสาทมีต้นเหตุจากอะไร ?

ส่ำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาท ที่เราทราบได้แก่ :

Postherpetic Neuralgia:

เป็นอาการปวดประสาทที่เกิดตามหลังการเป็นโรคงูสวัส ซึ่งเป็น
เชื้อไวรัสในกลุ่มอีสุกอีใส (shingles)
เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบ โดยเราจะพบผื่นบนผิวหนังที่มี
ความเจ็บปวดอย่างมาก พร้อมกับมีตุ่มเป็นหนอง (blisters)
อาการปวดประสาทสามารถบังเกิดขึ้นเมื่อโรคปรากฏบนผิวหนัง (shingles)
ซึ่งอาการอาจเพียงเล็กน้อย ถึงขั้นรุนแรง โดยอาการจะปรากฏต่อเนื่อง
หรือเป็นๆ หาย ๆ และอาจกินเวลานานเป็นเดือน หรือนานเป็นปีได้

Trigeminal Neuralgia:

เป็นอาการปวดประสาทตามแนวของเส้นประสาทที่....ชือว่า
trigeminal nerve ซึ่งวิ่งออกจากสมองสู่ใบหน้า
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดประสาทชนิดนี้ เชื่อว่าเป็นผลมาจาก
เส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาท (trigeminal nerve) ตรงตำแหน่ง
ที่จะวิ่งเข้าสู่สมอง

อาการปวดของเส้นประสาทชนิดนี้ จะมีอาการปวดในบริเวณใบหน้า
และมักเป็นทางด้านเดียว และส่วนใหญ่จะเกิดในคนสูงอายุ

Glossopharynge  
     
อาการปวดจาดเสนประสาท glossopharyngeal nerve
ซึ่งเป็นประสาทที่ปรากฏในช่องภายในคอ เป็นอาการปวดประ
สาทที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยจะพบอาการปวดในบริเวคอ และ
ภายในคอ


<< BACK P. 1 : What is Neuralgia

NEXT >> P. 3 : Neuralgia – Causes

ปวดเส้นประสาท P. 1 : Neuralgia – What is neuralgia ?

April 10, 2014

ปวดเส้นประสาท  เป็นอาการปวดที่มีลักษณะเหมือนถูกของม่ีคม
ทิ่มแทง,  รู้สึกออกแสบออกร้อน   ส่วนมากจะมีอาการรุนแรงจนทนไม่ไหว
ซึ่งอาการปวดจะปรากฏตามแนวของเส้นประสาทที่ถูกทำลายไป
             
เส้นประสาทอาจถูกทำลายที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏที่บริเวณใบหน้า และบริเวณส่วนคอ

สาเหตุของอาการปวดประสาท อาจเกิดจากโรค เช่น โรคเบาหวาน (diabetes),
โรคมัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส (multiple sclerosis)  และการอักเสบจากโรคหัด
(shingles)  หรือเป็นผลจากการมีอายุย่างสู่วัยชรา(old age) ก็เป็นได้

ส่วนการรักษาอาการปวดประสาท...
ย่อมขึ้นกับต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว


NEXT >> Types of Neuralgia

ปวดต้นคอจากบาดเจ็บ "วิพแลช" P.7 : Whiplash- Alternative Medicine

April 9, 2014

ในการรักษาโรค “วิพแลช” ....
เราจะพบว่า  การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก  ปรากฏว่าได้ผลดี เช่น

o การฝังเข็ม (Acupuncture) สามารถทำให้อาการปวดต้นคอชนิดต่างๆ
ได้ผลดี   แต่ผลจากการวิจัยรายงานว่า ไม่สามารถยืนยันได้ว่า 
การฝังเข็มมีผลดีสำหรับกรณีกล้ามเนื้อคอฉีกขาด

o การนวด (Massage) การนวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ สามารถคลาย
กล้ามเนื้อที่หดเกร็งลงได้หากทำนานเกินหนึ่งอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม   ในระยะแรกๆ การคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งสามารถกระทำ
ได้ด้วยการอาบน้ำอุ่น หรือประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น

o กระตุ้นด้วยคลื่นกระแสไฟฟ้า (Transcutaneous electrical nerve
Stimulation or TENS) เป็นการใช้คลื่นกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ กระตุ้นที่ผิวหนัง 
สามารถลดอาการปวดคอบางชนิดได้ (แต่ไม่เหนือกว่าการรักษาด้วยกายาพบำบัด)

การกระตุ้นด้วยคลื่นกระแสไฟฟ้า เข้าใจว่ามันไปกระทบกับการส่ง
คลื่นของความเจ็บปวด   หรืออาจเป็นเพราะทำให้ร่างกายหลั่งสารEndorphin
ให้ออกมาก็อาจเป็นได้

อย่างไรก็ตาม การใช้ TENs จำเป็นต้องใช้ร่วมกับการการบริหารร่างกายด้วย

<< BACK 

Sources:

o Heathline
o Mayoclinic

ปวดต้นคอจากบาดเจ็บ "วิพแลช" P.6 : Whiplash- Lifestyle and Home remedies


April 9, 2014

เมื่อท่านได้รับบาดเจ็บ “วิฟแลช”
ท่านสามารถควบคุมอาการปวดเล็ก
น้อย  ถึงปวดขนาดปานกลางด้วยการใช้ยาแก่ปวด (pain relievers)
ซึ่งท่านสามารถสามารถหาชื้อได้จากร้านขายยา (over-the –counter)
เช่น  พาราเซทตามอล (acetaminophen) และ ibuprofen


มีผู้คนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้รับบาดเจ็บ “วิพแลช” ได้รับผลดีจากการ
ประคบด้วยน้ำแข็ง  หรือน้ำอุ่นที่บริเวณต้นคอ หรือประคบบริเวณหลังส่วนบน

โดยทั่วไป   การเราจะแนะนำให้ใช้น้ำแข็ง (ice)ประคบต้นคอ
ในระยะแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ เพื่อลดการอักเสบลง
 ส่วนการใช้ความร้อน (Heat) ประคบ  จะชวยทำให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลาย
 ซึ่งกระทำการบริหารกล้ามเนื้อคอกระทำได้ง่ายขึ้น

   
ภายหลังจากท่านสามารถควบคุมอาการปวดได้แล้ว...
แพทย์จะแนะนำให้ท่านทำการบริหารกล้ามเนื้อคอด้วยการยืดกล้ามเนื้อคอ
และทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง (ตามรูป)



<< BACK P. 5: Whiplash - Physiotherapy

NEXT >> P.7 : Whiplash- Alternative medicine


ปวดต้นคอจากบาดเจ็บ "วิพแรช" P. 5 : Whiplash - Physiotherapy

April 8, 2014

กายภาพบำบัด (Physiotherapy)
กายภาพบำบัดถือเป็นการรักษาหลักของคนที่ที่ได้รับบาดเจ็บ "วิพแลช"
(Whiplash Injury)  ซึ่งประกอบด้วย:

o การประคบด้วยน้ำแข็ง (Ice)
o การประคบด้วยความร้อน (heat)
o Ultrasound
o การนวดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ (manual therapy- myofascial
   release)
o บริหารกล้ามเนื้อคอด้วยการยืดกล้ามเนื้อ (stretching) และทำ
   ให้กล้ามเนื้อแข็งแรง


ประคองต้นคอให้นี่งด้วยเวยอุปกรณ์ (soft collar)
ในสมัยก่อนได้มีการแนะนำให้คนที่ได้รับบาดเจ็บ “วิพแลช” ด้วยการใช้
soft collar ประคองต้นคอ   แต่ในสมัยปัจจุบัน  แพทย์จะแนะนำให้ใช้ในระยะสั้น ๆ
เพราะหากใช้นาน  จะเป็นผลเสียด้วยการทำให้กล้ามเนื้อต้นคอหดลีบ
 และเป็นผลเสียต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในายหลัง

ถ้าท่านได้รับคำแนะนำให้ใช้ soft colar
ท่านสามารถใช้ได้เพียง 2 - 3 วัน หลังจากได้รับบาดเจ็บ  ท่านอาจใช้ในตอน
กลางคืน เพื่อช่วยให้ท่านนอนหลับดีขึ้น  โดยเฉพาะในรายที่ตื่นในขณะนอนหลับ
จากความเจ็บปวด

<< BACK P. 4: Whiplash- Treatment

NEXT>> P. 6: Whiplash – Lifelstyle and Home remedies

ปวดต้นคอจากบาดเจ็บ "วิพแลช" P. 4 : : Whiplash - Treatment


April 9, 2014

การรักษาปวดกระดูกต้นคอจาก "วิพแลช" ประกอบไปด้วย:
                       
ยารักษาโรค (Medications)
โดยทั่วไป เมื่อเราประสบปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บ (จากอะไรก็แล้วแต่) เราจะเรียกหายาแก้ปวด   ซึ่งเราสามารถซื้อหาได้จากร้านขายยาทั่วไป
แต่ในกรณีที่ยาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้  แพทย์จะแนะนำให้:

o Painkillers ในรายที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์มักจะสั่งยาแก้ปวดให้
ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นได้


o Injections. แพทย์อาจฉีดยาชา ((xylocaine) เข้ากล้ามเนื้อบริเวณ
เจ็บปวด อาจลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้ ซึ่งเป็นอาการที่
สามารถพบได้ในรายที่เป็น whiplash

o Muscle relaxants. ยาในกลุ่มนี้สามารถช่วยลดอาการของกล้ามเนื้อ
หดเกร็งลงได้ แต่ผลเสียที่เกิดมักจะทำให้เกิดอาการง่วงเซื่องซึมได้
ดังนั้น ควรรับปทานยาตัวนี้ก่อนนอนน่าจะดีกว่า

<< BACK P. 3: Whiplash – Tests and Diagnosis

 NEXT >> P. 5: Whiplash - Physiotherapy

ปวดต้นคอจากบาเจ็บ "วิพแลช" P.3 : Whiplash – Tests and Diagnosis

April 8, 2014

เพื่อวินิจฉัยบาดเจ็บ "วีพแลช " {Whiplash injury)
จำเป็นต้องใช้กาารตรวจหลายอย่าง  อาจช่วยวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
ปวดต้นคอได้ เช่น:

o X-rays. การตรวจด้วยเอกซเรย์ สามารถแยกโรคของกระดูกแตกหัก
เคลื่อนหลุด หรือข้อเสื่อมอกเสบได้

o Computerized tomography (CT). เป็นการตรวจด้วยภาพของกระดูก
และเนื้อเยื่อในบริเวณด้วยการใช้เอกซเรย์ถ่ายภาพในแนวตัดขวาง

o Magnetic resonance imaging (MRI). เป็นการตรวจด้วยภาพ โดย
ใช้คลื่นวิทยุ และคล่นแม่เหลกไฟฟ้า เป็นวิธีที่ดีสำหรับการตรวจสอบ
บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกั[เนื้อเยื่อ เช่น ไขประสาท และรากประสาท
       
<< BACK P.2 : Whiplash - Symptoms

 NEXT >> P.4   : Whiplash : Treatment and Drugs

ปวดต้นคอจากบาดเจ็บ - "วีพแลช" P.2 : Whiplash - Symptoms

April 8, 2014

คำถามมีว่า...
คนได้รับบาดเจ็บ “วีพแลช” มีอาการอย่างไรหรือ ?
   
คนที่ได้รับบาดเจ็บ “วีพแลช” มักจะปรากฏอาการภายใน 24 ขั่วโมง
หลังจากประสพอุบุติเหตุ   อาจมีบางคนอาจมีอาการเมื่อเวลาได้ผ่านพ้น
ไปนานถึง 2 - 3 วัน   และกินเวลาหลายอาทิตย์กว่าจะหาย

อาการที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ :
   
o ปวดต้นคอ และคอแข็ง
o ปวดศีรษะ, ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดที่ฐานของกระโหลก
o วิงเวียน
o สายตาพล่ามัว
o เมื่อยล้า

บางคนอาจมีอาการต่อไปนี้ได้:

o ไม่ค่อยมีสมาธิ
o มีปัญหาเรื่องความจำ
o มีเสียงในหู
o มีปัญหาในการหลับนอน
o ขี้หงุดหงิด
o กล้ามเนื้อ่อนแรง
o อาการมีนชา

คนที่ได้รับบาดเจ้บที่ต้นคอดังกลาว   อาการจะหายไปภายใน
เวลา  2 – 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่   และมีเพียงรายอาจกินวาลาป็ยาวนาน
เป็นเดือน.. หรืออาจนานเป็นปีได้

มีคนไข้บางราย เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียด  จะพบการฉีดขาดของหมอน
กระดูก  และเอ็นในบริเวณคอ  แต่มีเพียงบางราย ทั้งๆ ที่มีอการปวดที่
บริเวณคอ   แต่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใด ๆ

<< BACK 

 NEXT >> P. 3 :  Whiplash – Tests and diagnosis