วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Prostate Anatomy 101

สำหรับท่านผู้สูงวัย  ซึ่งจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกับโรคต่อมลูกหมาก
ซึ่ง มีการประมาณการณ์เอาว่า  ต่อมลูกหมากของท่านมีโอกาสโตขึ้น
จนถึงขั้นก่อให้เกิดอาการถึง  50 %

การเรียนรู้ว่า  ต่อมลูกหมากมันคืออะไร ?  อยู่ตรงไหนของร่างกาย ?
มีหน้าที่อย่างไร ?  ตลอดรวมไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ?
ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น...

ต่อมลูกหมาก  จะมีขนาดเท่ากับผลไม่ที่มีชื่อว่ามาแคดดีเมีย  หรือวอลนัท
ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  3 เซนติเมตร
มันจะอยู่ตรงฐานของกระเพาะปัสสาวะ,  อยู่ทางด้านหน้าลำไส้ใหญ่ส่วนปลายสุด (rectum),
และอยู่ด้านหลังฐานของอวัยวะเพศชาย (penis)
มันสามารถสร้างน้ำ  ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำเชื้อของเพศชาย (semen)
มันทำหน้าที่เหมือนกับวาลพ์  ปิด-เปิด ให้น้ำปัสสาวะ  และ  ให้น้ำเชื้อไปในทิศทางที่เหมาะสม
และ ทำหน้าที่ปั้มน้ำเชื้อเข้าสู่ท่อปัสสาวะ-urethra ในขณะที่มีขีดออแกสซึม

เมื่อแรกเกิด ต่อมลูกหมาก  จะมีขนาดเท่าเม็ดถั่ว  และเมื่อโตขึ้นขนาดจะเพิ่มขึ้นประมาณ
1.5 นิ้ว ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของชายที่มีอายุ 20 ปี
เมื่อชายมีอายุย่างเข้าสู่วัย 40s  หรือ  แก่กว่านั้น  ตรงใจกลางของต่อมลูกหมากจะโตขึ้น
ซึ่งเราเรียกว่าภาวะดังกล่าวว่า   benign prostatic enlargement หรือ
Benign prostatic hyperplasia  หรือ  BPH

แพทย์เขามักจะแบ่งต่อมลูกหมากออกเป็นสามส่วนใหญ่
ส่วนรอบนอก (peripheral zone) เป็นส่วนรอบนอก  ซึ่งประกอบด้วยเนื้อต่อมลูกหมาก
70 เปอร์เซ็นต์   ซึ่งเป็นส่วนที่จะเกิดเป็นมะเร็งขึ้น  และหากเกิดขึ้นจริง 
แพทย์อาจตรวจเจอผิวต่อมลูกหมาก  เป็นรอยขรุขระ  เป็นก้อน  และ แข็ง 
และ เป็นส่วนที่แพทย์จะทำการตัดเอาส่วนนี้ไปทำการตรวจเพื่อพิสูจน์ว่า  เป็นมะเร็งหรือไม่ ?

ส่วนที่สาม  เรียก transition zone ซึ่งจะอยู่ชั้นในสุดของต่อมลูกหมาก 
มีเนื้อที่ประมาณ  5 เปอร์เซ็นต์  ของต่อมลูกหมากของคนปกติ
เนื้อของต่อลูกหมากส่วนนี้  จะอยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะ urethra 
ซึ่งผ่านจากกระเพาะปัสสาวะไปยังอวัยวะเพศ penis  และเป็นส่วนของต่อมลูกหมากที่มีขนาดโตขึ้น   
และทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ด้านการขับถ่ายปัสสาวะขึ้น

ส่วนที่สาม  เรียก central zone เป็นส่วนที่อยู่ระหว่าง peripheral zone และ Transition zones 
ซึ่งจะยึดครอง 25 เปอร์เซ็นต์ ของต่อมลูกหมากท่อสำหรับให้น้ำเชื้อ (ejaculatory ducts)
จะผ่านส่วนนี้ของต่อมลูกหมาก  ลงสู่ท่อปัสสาวะ (urethra)
และ  มะเร็งของต่อมลูกหมาก  จะไม่เกิดขึ้นที่ส่วนนี้เลย

อ่านบทความนี้จบลง  ลองหลับตานึกภาพต่อมลูกหมากของท่าน  ดูด้วยตาใน
ท่านจะพบว่า...อ้อ  ต่อมลูกหมากของเรามันเป็นเช่นนั้นเอง...


www.Johnshopkinshealth Alert.com

Diagnosing BPH with Special Diagnostic Tests

ข้อมูลต่อไปนี้  สำหรับผู้สนใจในการเรียนรู้ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
อย่างน้อยๆ  จะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับการป้องกัน  การวินิจฉัยโรค  
และ การรักษาต่อมลูกหมากว่า  เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว
  เขาทำกันอย่างไร ?

ชาย  ผู้ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการของต่อมลูกหมากโต (BPH) 
อาจจำเป็นต้องทำการตรวจต่างๆ  เพื่อวินิจฉัยว่า  คนไข้เป็นโรค...จริงหรือไม่ ?
การตรวจ  ที่เราควรทราบเอาไว้ดังต่อไปนี้: Uroflowmetry, pressure-flow
Urodynamic studies, imaging studies, filling cystometry, หรือ  cystoscopy.

บอกกล่าวแค่ชื่อของการตรวจ  คงไม่พอ  ลองมาพิจารณาดูว่า 
การตรวจแต่ละอย่าง  เขาทำกันอย่างไร ?

·       Uroflowmetry.  เป็นการตรวจ  โดยให้คนไข้ปัสสาวะเข้าใส่เครื่องตรวจที่เป็นเครื่อง “อีเลกโตรนิค” 
ซึ่ง สามารถวัดความเร็ว (speed) ของกระแสปัสสาวะที่ถูกปล่อยออกมา 
ถ้ากระแสปัสสาวะที่ไหลออกมช้า  ทำให้เกิดสงสัยว่า  น่าจะมีการอุดตันที่ท่อปัสสาวะ ในบริเวณ “ยูรีตร้า”

ถ้ากระแสของปัสสาวะที่ปล่อยออกมความเร็วสูง  ก็ไม่น่าจะมีการอุดตันในบริเวณท่อปัสสาวะ“ยูรีตร้า” 
และ ในคนไข้ที่โรคเป็น BPH ที่ตรวจพบกระแสของปัสสาวะมีอัตราความเร็วสูง 
ส่วนใหญ่ จะไม่ตอบสนองต่อการรักษา

·       Pressure-flow urodynamic studies. เป็นการตรวจ  วัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ 
โดยวัดในขณะที่มีการขับถ่ายปัสสาวะ  ซึ่ง กระทำได้โดยสอดใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ 
 และ มักจะสอดใส่เข้าทางลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (rectum)
ความแตกต่างระหว่าง  ความดันที่วัดจากกระเพาะปัสสาวะที่กำลังหดเกร็งขณะทำการปัสสาวะ  
กับ  ความดันที่วัดได้จากลำไส้ใหญ่ส่วนล่างสุด (rectum) สามารถนำมาพิจารณาว่า 
อะไรคือปัญหาของคนไข้ ?

ถ้าความดันที่วัดได้  มีความแตกต่างกันมาก ร่วมกับกระแสปัสสาวะออกช้า       
บ่งบอกให้เราทราบว่า    มันมีการอุดตันในท่อทางเดินปัสสาวะ “ยูรีตร้า”
แต่ถ้าผลจากตรวจวัดความดัน  ปรากฏว่า  มีค่าต่ำมาก  พร้อมกับกระแสปัสสาวะออกช้า 
จะบ่งชี้ให้ทราบว่า  มีความผิดปกติในตัวกระเพาะปัสสาวะเอง 
ซึ่ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ผิดปกติไป

·       Imaging studies. การตรวจด้วยภาพ  จะกระทำในคนไข้ที่ปัสสาวะเป็นเลือด, 
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ,  ไตทำงานผิดปกติ, หลังการผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ, 
หรือ  มีประวัติเป็นนิ้วในทางเดินปัสสาวะ

การตรวจภาพทางเดินปัสสาวะด้วยวิธี ultrasonography  เป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้กันในคนไข้ชาย 
ซึ่ง มีอาการในทางเดินปัสสาวะได้บ่อยที่สุด  การตรวจดังกล่าว 
กระทำได้โดยกดอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจบนบริเวณที่ต้องการตรวจคลื่นเสียงที่ส่งผ่านอวัยวะภายใน 
จะทำให้เราเห็นภาพของอวัยวะนั้น ๆ

การตรวจ ultrasonography  สามารถนำมาใช้ตรวจเช็คดูความผิดปกติของไตทั้งสอง 
หรือ ของกระเพาะปัสสาวะ   สามารถตรวจสอบดูปริมาณของจำนวนปัสสาวะ
ที่เหลือตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ,  ความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ 
เช่น  ก้อนนิ้ว  และ ประเมินขนาดของต่อมลูกหมาก

·       Filling  Cystometry.  การตรวจชนิดนี้  กระทำได้โดยบรรจุกระเพาะปัสสาวtด้วยน้ำ 
และ วัดความดันที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ   รวมไปถึงความรู้สึก  ที่อยากจะขับถ่าปัสสาวะว่า 
กระเพราะปัสสาวะจะต้องมีน้ำเพิ่มข้นมากเท่าใด

เป็นการตรวจ  ที่นำมาใช้ประเมินการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในผู้ชาย  ผู้ซึ่งมีปัญหา
ในระบบทางเดินปัสสาวะมาก่อน  หรือ ในคนไข้ที่มีปัญหาการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
ซึ่ง มีต้นเหตุจากระบบประสาท

·       Cystoscopy. เป็นวิธีการตรวจ  โดยการใช้เครื่องมือชิ้นเล็กๆ
ที่มีแสงไฟส่องให้เห็นอวัยวะภายในที่ทำการตรวจ ท่อปัสสาวะ  และกระเพาะปัสสาวะ
อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ จะถูกสอดเข้าทางท่อปัสสาวะ “ยูรีตร้า”  เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
การตรวจด้วยวิธีการดังกล่าว  จะกระทำในรายที่ต้องการทำการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
หรือ  ตรวจดูความผิดปกติของ ท่อปัสสาวะ (urethra) และ กระเพาะปัสสาวะ (bladder)

การตรวจด้วยวิธีต่างๆ  ทีกล่าวมา  มีเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น  จึงจะมีโอกาสได้ใช้เครื่องมือ 
เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค   ส่วนคนไข้  เป็นแต่เพียงผู้ถูกกระทำการตรวจ 
และมีส่วนได้รู้ได้เห็นว่า  ผลจากการตรวจนั้นเป็นอย่างไร 
ซึ่ง ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์  ในการวางแผนว่า 
เรา (คนไข้) ควรได้รับการรักษาอย่างไรต่อไป