วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Thrombolytic therapy – Overview

Definition:
Thromobolytic therapy เป็นการรักษาคนไข้ ด้วยการสลายลิ่มเลือดที่มีอยู่ในเส้นเลือด
โดยการใช้ยา ที่สามารถสลาย หรือละลายก้อนเลือด หรือลี่มเลือด
ซึ่ง ลิ่มเลือดนั้น เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ และสมองเกิดตาย (heart & Brain attack)

ข้อมูลที่ควรรู้:
ยาที่ถูกนำมาใช้ในการสลายลิ่มเลือด ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อการรักษาคนไข้ที่เกิดกล้ามเนื้อของหัวใจ (heart stroke) และสมองขาดเลือดนั้น (brain stroke)
ที่ได้รับการนำมาใช้เป็นประจำ ไดแก่ยาที่มีชื่อว่า “tissue plaminogen activator”

จากรายงานของ The American Association กล่าวว่า
คนไข้ที่มาด้วยภาวะ heart attack เมื่อได้รับสารสลายลิ่มเลือดดังกล่าวได้ภายใน 12 ชั่วโมง
เขามีโอกาสรอดพ้นจาความตาย และ มีการฟื้นตัวจากภาวะหัวใจขาดเลือดดังกล่าวได้

ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด คนไข้ควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายในระยะ 90 นาที
หลังจากเกิดมีอาการ

FOR HEART ATTACKS
เมื่อเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ เกิดมีลิ่มเลือดอุดตัน มันสารถทำให้เกิดภาวะหัวใจ
ขาดเขาเลือด และออกซิเจน
เมื่อส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดออกซิเจน และถูกทำลายไป
เราเรียกว่าภาวะดังกล่าวว่า heart attack

Thrombolytics หรือยาสลายลิ่มเลือด จะทำงานโดยตรง ด้วยการสลายลิ่มเลือดอย่างรวมเร็ว
ทำลายสิ่งอุดตัน ช่วยให้มีเลือดเริ่มไหลกลับสู่หัวใจ และช่วยป้องกันไม่ได้กล้ามเนื้อหัวใจถูทำลาย

ยาสลายลิ่มเลือดสามารถหยุดการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจไม่ให้ตาย (myocardial infarction)
และทำให้คนไข้รอดพ้นจากความตายลงได้

ยาสามารถทำให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้เป็นปกติในคนไข่วนใหญ่ได้ก็จริง
แต่ เลือดที่ไหลกลับสู่ที่เดิมอาจไม่เป็นปกติ 100 %
อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนในปริมาณไม่มาก ที่ถูกทำลายไป
ซึ่งในกรณีดังกล่าว คนไข้จะได้รับการรักษาอย่างอื่น เพิ่มขึ้น เช่น
caedia catheterization และ angioplasty

Cardiac catheterization ซึ่งเป็นการตรวจหัวใจ ด้วยการสวนหัวใจ
และฉีดสีไปที่หลอดเลือด coronary สามารถบอกได้ว่า เส้นเลือดดังกล่าว มีการอุดตันหรือไม่ ?
ซึ่งแพทย์ และญาติผู้ป่วย สามารถตัดสินได้ว่า ควรให้การรักษาอย่างไร
ส่วนการทำ angioplasty เป็นการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบ ด้วยการใช้บอลูน...

ผู้ให้การดูแล รักษา?น จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่า
ท่านควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดหรือไม่ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยหลายอย่าง
เช่น อาการเจ็บหน้าอก (chest pain) และ ผลจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (EKG)
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอย่างอื่น ที่นำมาพิจารณาตัดสินว่า
คนไข้รายนั้น ควรได้รับยาสลายลิ่มเลือดหรือไม่ ได้แก่:

o อายุ (Age)
o เพศ (Gender)
o ประวัติการเกิดโรค (รวมถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, เบาหวาน, ความดันโลหิต และ
การเต้นของหัวใจทีเต้นเร็ว

โดยทั่วไป เราจะไม่ให้ยาสลายลิ่มเลือดในคน...ต่อไปนี้:

o ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมาม่าน (A recent head injury)
o มีปัญหาเกี่ยวโรคเลือด (bleeding problems
o กระเพาะเป็นแผลตกเลือด (bleeding ulcer)
o กำลังตั้งท้อง(pregnancy)
o ได้รับการผ่าตัด (surgery)
o ได้รับยาปัองกันการทำงานของเกล็ดเลือด (thinning medication) เช่น coumadin
o ได้รับบาดเจ็บ (trauma)
o เป็นโรคความดันที่ไม่สามารถควบุมได้ (uncontrolled hypertension)

FOR STROKES
ลิ่มเลือด ที่อุดตันเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง (ischaemic sroke) ทำให้สมองขาดเลือดจนถูกทำลายไป
นั้น การใช้สารสลายลิ่มเลือด (thrombolytics) ถ้าสามารถให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหังเกิดเหตุ
ยาสามารถสลายลิ่มเลือดได้ทัน และสามารถจำกัดขอบเขตการทำลายสมองลงได้

การตัดสินใจว่า จะให้ยาสลายลิ่มเลือดแกคนไข้หรือไม่ ขึ้นกับ:

o ต้องแน่ใจว่า ไม่มีเลือดตก ซึ่ง สามารถบอกได้โดย Brain CT scans
o จากการตรวจร่างกาย บ่งบอกว่า ส่วนของสมองที่สำคัญถูกทำลาย (significant stroke)
o ประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว

ในคนไข้ที่เป็น heart attack ซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา (bleeding)
จะไม่ให้ยาสลายลิ่มเลือดเป็นอันขาดเช่นกัน

ยาสลายลิ่มเลือดจะไม่ให้ในคนไข้ ทีเป็นโรคสมองตายจากการตกเลือด (hemorrhagic stroke)
เพราะการให้ยาดังกล่าว มีแต่จะทำให้คนไข้เลวลง ด้วยการทำให้เลือดออกมากขึ้น

ความเสี่ยง (RISKS)
ปรากฏว่า มียาหลายตัวถูกนำมาใช้ใน thrombolytic therapy
และ ยา “สลายลิ่มเลือด thrombolytics)” จะถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด
ยาที่ถูกนำมาใช้ได้แก่:

• Lanoteplase
• Reteplase
• Staphylokinase
• Streptokinase (SK)
• Tenecteplase
• Urokinase

การตกเลือด หรือ bleeding ถือเป็นความเสี่ยงที่พบได้บ่อย
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

จากการให้ยาสลายลิ่มเลือดแก่คนไข้ สามารถทำให้มีเลือดออกทางเหงือก หรือทางจมูก
ซึ่งเกิดได้ประมาณ 25 % ของคนได้รับยาสลายลิ่มเลือด
และสามารถทำให้มีการมีเลือดออกในสมอง เกิดขึ้นประมาณ 1 %

ในคนไข้ที่เป็นทั้งหัวใจ หรือ สมองขาดเลือด (heart attack & stroke)
ต่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เท่ากัน

http://www.umm.edu/ency/article/007089.htmOverview

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น