วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes) : How often do I take insulin?


Nov. 10, 2013

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน และจำเป็นต้องรับการรักษาด้วย “อินซุลิน”
มีรูปแบบสามประการ ดังต่อไปนี้:

1. Twice daily doses of short and intermediate-acting insulin

 เป็นการให้อินซูลินสองครั้ง นั้นคือให้ก่อนอาหารเช้า และอีก
ครั้งให้ก่อนอาหารเย็น

 อินซูลินออกฟทธิ์สั้น (short acting insulin) จะทำหน้าที่จะ
การกับน้ำตาลในเลือดซึ่งมาจากอาหารเช้า และอาหารเย็น

 อินซูลินออกฤทธิ์ระดับกลาง (intermediate-acting insulin)
จะจัดการกับระดับน้ำตาลในตอนบ่ายหลังเที่ยง และในตอน
กลางคืน


Go to ....https://www.accu-chekinsulinpumps.com


 อินซูลินร่วม (pre-mixed insulin) เป็นยาที่เหมาะสำหรับ
การใช้อินซูลินในรูปแบบดังกล่าว

2. Three times a day dosing

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น และออกฤทธิ์ขนาดกลาง (short-
Acting & intermediate acting insulin) ก่อนรับอาหารเช้า

 ให้อินซูลิน (short- acting insulin) ก่อนรับอาหารเย็น

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์กลาง (intermediated-acting insulin)
ก่อนอาหารเย็น จะทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในช่วงกลางคืน

3. Multiple daily doses

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short-acting insulin) ก่อนอาหาร
ทุกมื้อ

 ให้ อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate) หรือออกฤทธิ์
ยาว (long-acting insulin) ก่อนนอน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
ในช่วงกลางคืน

นอกจากวิธีการให้อินซูลินตามรูปแบบที่กล่าวมาแล้ว...
ยังปรากฏว่า มีรูปแบบอื่น ๆ ที่เราควรทราบ นั้นคือ ในคนสูงอายุที่เป็น
โรคเบาหวานบางคน สามารถควบคุมด้วยอินซูลินฉีดเพียงวันละครั้ง
โดยการให้ Long-acting insulin

Go t
อีกรูปแบบหนึ่ง คือการให้อินซูลินด้วยวิธี Pump treatment
ซึ่งจะใช้ในคนหนุ่มที่เป็นโรคเบาหวานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการ
ให้อินซูลินผ่านน้ำเกลือหยดเข้าเส้นเลือดดำสู่ร่างกายตลอดเวลา
และมีการเพิ่มขนาดอินซูลินในตอนรับทานอาหาร (extra insulin doses)


ในการควบคุมการให้อินซูลินด้วยวิธี pump therapy...
เขาจะใช้ fusion pump เป็นตัวควบคุมว่า คนไข้ควรได้รับอินซูลินเท่าใด
เป็นวิธีการที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยเฉพาะในคนเป็น
เบาหวานผู้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยวิธี multiple daily injection
of insulin หรือใช้ในกรณีที่มีปัญหาเรื่อง hypoglycemia

อีกวิธี...คือ การฉีดหลายครั้ง multiple injections
ซึ่งได้รับความนิยมถูกนำมาใช้ในการรักษาบ่อยขึ้น ด้วยเหตุว่า มันสามารถ
เลียนแบบธรรมชาติของร่างกายที่ทำหน้าที่ปล่อยอินซูลินออกมา

และรูปแบบการใช้อินซูลิน และขนาดของอินซูลิน จะถูกปรับขนาดโดยขึ้น
กับคนไข้แต่ละราย ซึ่งท่าน และแพทย์แต่จะทำหน้าที่ค้นหาวิธีที่ดีที่สุด
สำหรับควบคุมระดับน้ำตาล

http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/diabetesinsulin.htm

Rapid-Acting Insulin :ควบคุมจังหวะการใช้ให้ถูกต้อง

Aug. 17, 2013

ท่านเคยได้ยินคำพูดต่อไปนี้มาหรือไม่ ?
“ฉันคิดว่า...ฉันทำทุกอย่างถูกต้องทุกประการ
แต่ทำไมผลจึงออกมาเป็นเช่นนี้ได้ ?”

ประโยคอย่างนี้...มันก็เกิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานเช่นกัน...
โดยเขาเชื่อว่า เขาทำการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง แต่
ดูเหมือนว่า เขาไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงลงสู่เป้าหมาย
ได้....ทำไม ?

จากกรณีหลัง มีสาเหตุอย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เขาไม่ได้คิดถึงว่า
เขาจะฉีด Rapid-acting insulin เพื่อจัดการกับอาหารที่รับทาน
อย่างไรเวลาใหนก็อาจเป็นได้ (bolus insulin)

นับตั้งแต่มี Rapid-acting insulin ได้วางตลาดเพื่อนำมาใช้ใน
การรักษา (1996) โรคเบาหวาน ผู้เชี่ยวชาญหลายนายแนะนำว่า
ควรฉีดอินซูลินตัวอังกล่าวภายในเวลา 15 นาทีหลังจาก
รับทานอาหาร ซึ่งหมายความว่า เป็นเวลาใหนก็ได้ตั้งแต่ 15
นาทีก่อนรับทานอาหาร จนถึง 15 นาที่หลังการรับประทาน
อาหาร....

จากการแนะนำดังกล่าว ได้อาศัยพื้นฐานของความจริงว่า
Rapid acting insulin สามารถดูดซึมเขาสู่กระแสโลหิตได้อย่างรวดเร็ว
และเริ่มลดระดับน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม หลังหลายปีผ่านไป จากการสังเกตุผลที่เกิดขึ้นพบว่า
คำแนะนำดังกล่าวไม่น่าจะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานทุกรายไป 
จึงมีการปรับให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

>> NEXT :   Rapid Acting Inslin Part 2: Insulin Basics

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 2: Insulin basics

Nov. 17,2013
ในการรักษาเบาหวาน...
เป้าหมายของรักษาด้วยยาฉีด Insulin (Insulin therapy) คือการ
ให้อินซูลินแกคนไข้ โดยหวังว่า อินซูลินที่ให้แก่คนเป็นเบาหวาน
แล้ว มันจะออกฤทธิ์เหมือนกับคนไม่เป็นเบาหวานใช้อินซูลินตาม
ปกติ

 Basal insulin.
โดยทั่วไป ตับอ่อนของคนเราจะหลั่ง “อินซูลิน” ออกมาใน
ใน 24 ชั่วโมงในปริมาณไม่มาก โดยเฉลี่ยรางกายจะผลิต
ฮอร์โมนตัวดังกล่าวประมาณ หนึ่งยูนิต ต่อชั่วโมง โดยไม่
คำนึงถึงว่าท่านจะรับประทานอาหารหรือไม่

 Bolus insulin.
เมื่อคนเรารับานอาหาร ร่างกายของเรา (ตับอ่อน) จะตอบ
สนองต่อาหารที่เรารับทานเข้าไปด้วยการสร้างอินซูลินใน
ปริมาณมาก และจะถูกปล่อยออกมาเป็นสองระยะ (two-
Phases boluses)

ระยะแรก (First phase) จะมีการหลั่งอินซูลินออกมาภาย
ในไม่กี่นาทีหลังจากเราเคี้ยงอาหาร และสิ้นสุดเอาประมาณ
15 นาที ระยะที่สอง เป็นการหลังออกมาอย่างช้าๆ อย่างต่อ
เนื่องเป็นเวลาชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง โดยทีปริมาณของ
อินซูลินจะสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรับ
ประทานอาหาร

ในคนที่มีการผลิตอินซูลินตามปกติ...
การสร้าง และการหลั่งอินซูลินจะอยู่ภายใต้ระบบ feedback...
ซึ่งทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระหว่าง 70 mg/dL
และ 140 mb/dL ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงว่า ท่านจะรับทานอาหาร
หรือไม่ หรือว่าออกกำลังกายหรือไม่ ?

ส่วนในระหว่างที่คนเราไม่สบาย (illness)...
หรือในระหว่างที่ร่างกายต้องการอินซูลิน ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนดังกล่าว
เพิ่มขึ้น
สำหรับคนที่มีตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้ตามปกติ
จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลิน (insulin injection or insulin pump)
เช่น คนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถสร้าง
อินซูลิน หรือไม่มีอินซูลินเลย จะต้องได้รับอินซูลินทางเดียวเท่านั้น

แต่การเรียนรู้ว่า เราจะใช้อินซูลินเมื่อไร ? และใช้อินซูลินเท่าใดเป็น
เรื่องท้าทายต่อการรักษา...เพราะการฉีดอินซูลินในแต่ละครั้ง หรือแม้
กระทั้งการฉีดอย่างต่อเนื่อง (infuse insulin) ไม่สามารถทำให้อินซูลิน
ออกฤทธิ์ได้เหมือนกับอินซูลินที่ถูกปล่อยออกจากตับอ่อนตามธรรมชาติเลย

สิ่งแรกที่เราจะต้องเรียนรู้ คือ เราควรใช้อินซูลินเมื่อใด ?
และให้อินซูลินในปริมาณแค่ใหน ?

<< PREV     NEXT >> Part 3 : Insulin action

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 4:Insulin action

Nov. 17, 2013

ฤทธิ์ของอินซูลินที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งเป็นสามระยะด้วยกัน:

 Onset: จุดเริ่มต้นของการออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
 Peak: เป็นช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์ต่อการลดระดับน้ำตาลได้สูงสุด
 Duration: เป็นระยะเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลอย่าง
ต่อเนื่อง

อินซูลินออกฤทธิ์ในระยะสั้น (rapid-acting insulin) ...
มักจะถูกเรียกว่า mealtime insulin หรืออินซูลินที่ใช้ในขณะกินข้าว
หรือรับประทานอาหาร ที่เรียกเช่นนั้น เพราะการออกฤทธิ์ของมันจะ
คล้ายกับฤทธิ์ของอินซูลินที่ถูกปล่อยออกมาตามธรรมชาติโดยตับอ่อน
ซึ่งถูกปล่อย (หลั่ง) ออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่คน
เรารับทานเข้าไป...

อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ rapid-acting insulin แก่
คนไข้เพื่อให้มันทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เข้าสู่เซลล์
ในขณะท้องว่างทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยวิธีให้อินซูลินอย่างต่อ
เนื่อง (insulin pump) เพื่อให้เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้ใช้น้ำตาลเป็น
พลังอย่างต่อเนื่อ..ซึ่งเราเรียก basal insulin

ในปัจจุบัน เรามีอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (rapid acting insulin) ให้เราได้
ใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาล...อยู่สามชนิด นั้นคือ Lispro, aspart
(Novolog) และ glulisine (Apidra) ซึ่งต่างมีวิถีการออกฤทธื (action
Curve) คล้ายๆ กัน (เริ่มออกฤทธิ์5 -15 นาที., ออกฤทธิ์มสูงสดุใน
เวลา 45-90 นาที และช่วงเวลาการออกฤทธิ์นานประมาณ 3 – 4 ชม.)

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แสดงการออกฤทธิ์ของอินซูลินได้สุงสุดมาเป็น
เพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น (45 – 90 นาที) ซึ่งอาจเร็ว หรือช้ากว่านั้นได้
ดังนั้น ท่านอาจพบได้จากการตรวจรับน้ำตาลในกระแสเลือด...เพื่อได้
ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละรายไป

<< PREV    NEXT >> Part 4 Matching insulin and food

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

Interaction between Metoprolol and Diphenylhydralmine

Sept. 19, 2014

ในการรักษาโรคด้วยการใช้ยา...
ปรากฏว่า  มีบ่อยครั้งที่ผู้ฝช้ไม่ตระหนักถึงปฏิกิริยาระหว่างยาที่ตนเองกำลังใช้

ย่อแ่กให้เกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี...

นี้คือตัวอย่างที่เราพบ...
คนสูงอายุเป็นโรคความดั้นโลหิตสูง  ซึงแพทย์ได้ให้ยากลุ่ม Beta blocker ชื่อ
Metoprolol ....อยู่มาวันหนึ่ง  คนไข้เกิดมีอาการวิงเวียน   จึงไปพบแพทย์เพื่อ
ขอรับการรักษา  และแพทย์ได้สั่งจ่ายยา Djphenylhydralamine แก้อาการวิงเวียน
ให้แก่คนไข้รายนั้น

ลองดูซิว่า...ผลจะเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อเรารับประทานยา “metoprolol” เข้าสู่กายแล้ว
ลองดูซิว่า มันเกิดอะไรขึ้น ?

ตามปกติ  ยาทุกตัวที่เป็นสารเคมี  เมื่อผ่านเข้าสู่ร่างกาย  มันจะทำปฏิกิริยากับ 
"เอ็นไซม์"  เพื่อมันจะได้ถูกขจัดออกจากกายไป...

ยา Metoprolol  เมื่อเข้าสู่กายแล้ว  มันจะทำปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ชื่อ 
Cyotochrome P450(CYP) 2D6:

สำหรับยา Diphenylhydralamine  เมื่อเข้าสู่ร่างมนจะทำปฏิกิริยา "ยับยั้ง" 
ไม่ให้ CYP2D6 ทำงาน
เมื่อมีการใชั้ยาทั้งสองพร้อมกันเมื่ดใด...ผลจะทำให้ยา Metoprolol ในกระแส
เลือดสูงขึ้น  พร้อมๆ กับทำให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนาขึ้น
ซึ่งเราเรียกว่า "แพ้ยา" นั่นเอง

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว...
จึงเป็นข้อเตือนใจว่า  เม่่ื่อคนไข้ใช้ยารักษากลุ่ม beta blockers เพื่อลดความ
ดัน (เช่น carvedilol, nebivolol, propanolol และ timolol) ไม่ใควรใช้ร่วมกับยา
ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2D6 เป็นอันขาด

www.pharmacytimes.com


วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P.7 Initiating insulin :The Importance of Patient Education

Sept. 10, 2014

ไม่ว่าท่านจะวางแผนการรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีใด...
การให้ความรู้แก่คนไข้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น   โดยเขาควรได้รับคำอธิบาย
เกี่ยวกับฤทธืของอินซูลิน, ผลกระทบต่อาหารทีรับประทาน,  รวมถึงการ
ออกกำลังกาย  ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วยตนเอง  ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
ต่อการควบคุมระดับน้ำตาล

เพื่อหลีกเลี้ยงการต่อต้านการใช้ อินซูลิน” ของคนไข้...
แพทย์จำเป็นต้องเริ่มบอกกล่าวให้คนไข้ได้ทราบแต่เนิ่นๆ  โดยให้รับรู้
ว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงตามเวลา
ท่่ผ่านไป  ซึ่งสุดท้าย  ในคนที่เป็นเบาหวานทุกคน  ต่างลงเอยด้วยการ
ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอย่างหลีกเล่ี่งไม่ได้เลย

ที่สำคัญ  คนที่เป็นโรคเบาหวานต้องทราบเป้าหมายของการรักษาว่า
มีเป้าหมายในการรักษาอย่างไร ?  ไม่ใช้ปฏิเสธการใช้ปฏิเสธรูปแบบ
ของการรักษา  แต่ต้องยอมรับความจริงว่า  เมื่อจำเป็นต้องใช้อินซูลิน
เมื่อใด...ท่านต้องยอมรับอย่างปฏิเสธไม่ได้โดยเด็ดขาด

โดยสรุป...

ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง....ในระยะสุดท้ายของการเกิดโารค
มักจะไม่ตอบสนองต่อการใช้เม็ดลดน้ำตาลในกระแสเลือด  และจำเป็นต้องใช้
อินซูลินรัีกษา (insulin therapy) กัน  วิธีการที่คนไข้ยอมรับกัน  คือการให้ฉีด
อินซูลินชนิด Intermediate-acting insulin ในตอนแย็นก่อนนอน (bedtime) ร่วม
กับยาเม็ดลดน้ำตาล...ซึ่งเป็นวิธีง่ายต่อการปฏิบัติของคนทั่วโลก




<< BACK

อ้างอิง...

  • www.medscape.org/
  • www.aafp.org/
  • www.australianprescriber.com/

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P.6 initiating insulin : multiple options

Sept.10,2014

จากผลของการศึกษา...
ได้เสนอแนวทางในการเริ่มใช้อินซูลินว่า    โดยการใช้ premixed insulins
หรือ insulin analogs ซึ่งได้รับการยืนยันโดย 1-2-3 study ว่า...
การใช้ aspart premixed 70/30 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ลด
สู่เป้าหมายได้ตามต้องการ โดยการฉีดวันละครั้ง

จากวิธีการดังกล่าว เราสามารถปรับเปลี่ยน ด้วยการเพิ่มจำนวนครั้งของ
การฉีดอินซูลิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมระดับน้ำตาล
โดยเริ่มให้ analog premix 12 units ในเวลาอาหารเย็น 
หรือในเวลาที่รับประทานอาหารหนักที่สุดของวัน ...

ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย...
ให้ฉีดอินซูลินเข็มที่สองในช่วงอาหารก่อนอาหารเช้า 
และหากผลยังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้ฉีดเป็นเข็มที่สามในตอนอาหาร
มื้อเที่ยว 

การปรับอินซูลินด้วยวิธีนี้ ปรากฏว่าได้ผลดีถึคง 77 % แถมยังอำนวย
ความสดวก และง่ายต่อการปฏิบัติของคนไข้ โดยการให้อินซูลินจะสัม
พันธ์กับรูปแบบของการรับประทานอาหารของเขs


<< BACK     NEXT >> P. 7: The Importanct of Patient Eductaion

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P. 5 : Initiating insulin : Multiple Options

Sept 10,2014

ในการรักษาโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM) ด้วยการฉีดซูลิน
(insulin therapy) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้า...
มีแนวทางให้เราเลือกใช้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้


วิธีที่ 1 : ฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง (One injection): มีให้เลือกใช้อย่างใด
อย่างหนึ่ง...

o ใช้ Intermediate-acting insulin หรือ Long-acting analog ให้ก่อนนอ
   (At bedtime) หรือ

o ใช้ Premixed formulation ก่อนอาหารเย็น (before dinner)

วิธีที่ 2: ฉีดอินซูลิน 2 คร้ง (2-injections): เป็นการรักษาด้วยการให้ฉีด
อินซูลินสองครั้ง โดยให้ออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่เกิดจากอาหารมื้อเช้า 
(breakfast)  และก่อนอาหารมื้อเย็น (dinner) โดยการใช้อินซูลิน:

o ใช้ premixed formulation ฉีดเช้าเย็น (ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น)
หรือ

o ใช้ short-acting หรือ rapid-acting + NPH,  หรือ Long-acting Analog
ฉีดเช้า/เย็น  (โดยให้ก่อนอาหารเช้า  และอาหารเย็น)

วิธีที่ 3: เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง ( 3-injctions) : เป็นการรักษาด้วย
การฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง โดยเพิ่มอินซูลินสำหรับอาหารมื้อกลางวัน  ดังนี้:

o  ให่้ premixed insulin สำหรับอาหารเที่ยง (lunchtime) ร่วมกับการฉีด 
premixed formulation อีก  2 ครั้งสำหรับในมื้อเช้า (breakfast) และมื้อย็น
(dinner) หรือ

o ให้ short-acting หรือ rapid-acting insulin สำหรับอาหารมื้อเที่ยง  
เป็นการเพิ่มการให้ (ฉีด) อินซูลินด้วย  premixed insulin สำหรับอาหารมื้อเช้า
 และอาหารมื้อเย็น  หรือ

o ให้  intermediate insulin หรือ  long-acting insulin ก่อนนอน  ร่วม
กับการใช้ short-acting  หรือ rapid-acting analog สำหรับอาหารมื้อเช้า 
และอาหารมื้อเย็น 

วิธีที่ 4: ฉีดอินซูลินหลายครั้ง (multiple injections): เป็นวิธีรักษาโรคเบาหวาน
ด้วยการฉีดอินซูลินหลายครั้ง   ในการฉีดแต่ละครั้ง  เป็นการใช้อินซูลินเพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่รับประทานในแต่ละครั้ง (มื้อ)  ดังนี้:

o ฉีด short-acting หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารในแต่ละมื้อ 
โดยร่วมกับการฉีด intermediate- หรือ long-acting insulin ก่อนนอน  หรือ

o เป็นการฉีดแบบ insulin pump

ในการรักษาด้วยอินซูลินฉีดทั้งสี่วิธี...
แต่ละวิธีที่กล่าวมา  ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนไป  เป็นหน้าที่ของแพทย์ฺจะต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป  โดยขึ้นกับปริมาณอิซูลินที่เหลือ
จากการสร้างของตับอ่อน (resudual endogensous insulin), และผลของการ
ควบคุมน้ำตาล,  รวมไปถึงการออกกลังกายของตัวคนไข้รายนั้น 

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง  ด้วยการใช้ 
Intermediate- acting insulin หรือ  long-acting insulin analog ฉีดก่อนนอน   
เป็นวิธีที่ใช้เสริม basal insulin ที่ได้จากตับอ่อน (endogenous basal secretion), 
เสริมยาเม็ดลดน้ำตาล,  และช่วยแก้ไขระดับน้ำตาลในช่วงท้องว่างที่มีค่าสูงขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กล่าว...
เราจะใช้  basal insulin analog (glargine)  10 units /วัน ก่อนนอน  พร้อมกับ
มีการตรวจดูระดับน้ำตาลในตอนเช้า (FPG) ทุกวัน  และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  
เราสามารถเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลินตามความต้องการ  โดยอาศัยข้อมูล
จากการตรวจ FPG ของ 2 วันก่อน

นอกจากวิธีดังกล่าว...
เราสามารถใช้  premixed insulin หรือ insulin analog เพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น โดยการให้อินซูลินในเวลาอาหารเย็น  โดยฤทธิ์
ของอินซูลินที่ฉีด ก่อนอาหารเย็น (dinner) นอกจากจะทำหน้าที่เป็น basal insulin
ยังออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น (post-dinner coverage) ด้วย

ถ้าผลของการรักษาในวิธีแรกไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้าหมาย
เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรักษา  โดยใช้วิธีฉีดอินซูลิน 2 ครั้ง   ด้วยการใช้ 
premixed formulation  ซึ่งประกอบด้วย rapid- และ intermediate-acting insulins 
หรือใช้  Insulin analogs ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น 

ถ้าผลของการรักษาตาวิธีที่สอง ยังไม่บรรลุเป้าหมาย...
เราต้องขยับเป็นการรักษาด้วยด้วยการฉีดยาเข็มที่สาม ด้วยการให้ short-
Acting insulin หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารเทียงวัน
(lunchtime) เพิ่ม  เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง

มีคนไข้บางรายเกิดมีระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน (nocturnal hypo-glycemia)  
หรือมีรับน้ำตาลขึ้นสูงในตอนเช้า (morning hyperglycemia)
อาจจำเป็นต้องให้อินซูลิน 3 ครั้ง (3 injecions)

นอกจากนั้น เราสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน
nocturnal hyperglycemia)  โดยการลดยาฉีดในตอนก่อนนอน 
(ทั้ง intermediate- หรือ long-acting insulin)


<< BACK    NEXT   >> P. 6: Initiating insulin : continued 



วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด:P.4: Initiating Insulin: Basic Recommendations

Sept.10,2014

เมื่อเริ่มใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล   แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัว
สำหรับการดังกล่าว...  แต่มีกฏเกณฑ์พื้นฐาน สำหรับใช้เป็นแนวทางใน
การปฏิบัต  ดังต่อไปนี้:

 ถ้าผลการตรวจน้ำตาลในขณะท้องว่าง (FPG) มีระดับสูง ให้เริ่มให้
อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (long-acting insulin) ได้เลย

 ถ้าระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postpandrial glucose) สูง 
ให้ใช้อินซุูลินออกฤทธ์เร็ว (prandial หรือ bolus) และ

 ถ้าผลของน้ำตาลในเลือด ทั้ง FPG และ PPG มีค่าสูงทั้งสองค่า
ท่านสามารถเลือกวิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้:

o Oral agent ร่วมกับ basal insulin
o Premixed insulin analogs
o Basal/bolus as multiple daily injection (MDI) หรือ
  Insulin pump

<< BACK   NEXT P> : P.5:Multiple Options

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด : P.3: The Challenges of Insulin Therapy

Sept.10, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วย “อินซูลิน”...
ใช่ว่าจะไม่มีความปัญหา   บ่อยครั้งที่แพทย์จะพบกับการต่อต้านจากคนไข้
โดยไม่ยอมรับการรักษาด้วย “อินซูลิน” ฉีด  เพราะมีคยไข้จำนวนหนึ่ง
ไม่เข้าใจว่า   ทำไมจึงต้องฉีดอินซูลิน ?

หลายคนไม่ต้องการรับการรักษาด้วยการฉีดยา ...
โดยมีปัจจัยด้านจิตใจหลายอยาง  เป็นต้นว่า  กลัวเข็มฉีดยา, ยากต่อการ
ปฏิบัติ  และกระทบชีวิตประจำวัน,   และอื่นๆ เป็นเหตุให้คนไข้บางรายไม่
ยอมรับการฉีดยา  ซึ่งเป็นเรืองที่คนไข้ไม่เข้าใจในความสำคัญของการรักษา
ด้วยยาฉีดอินซูบิน

สิ่งที่คนไข้โรคเบาหวานต้องเข้าใจ...
ถ้าเราไม่สามารถควยคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้  ผลเสียอันเกิด
จากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดขึ้นกับคนไข้เอง  โดยระดับน้ำตาลที่อยู่ใน
กระแสเลือดในระดับสูงนั้นแหละ  จะเป็นพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ ๆ  จนถูกทำ
ลายไป  เป็นต้นว่า  ทำให้เกิดตาบอด, สมองเสื่อม, เส้นประสาทถูกทำลาย, 
ไตวาย  และอื่น ๆ

ประเด็นที่คนไข้ต้องทราบ...คือ
เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคนไข้เอง  จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการลดระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือดของเขาให้ลงสู่เป้าหมายใหได้...โดยไม่คำนึงว่า  จะ
ต้องรักษาด้วยวิธีใด  กินยาเม้ดลดน้ำตาล หรือฉีดยาอินซูลิน  หรือทั้งกินหรือ
ฉีด  หรือฉีดอินซูลินแต่เพียงอย่างเดียว  หาไม่แล้ว  สิ่งไม่ดีทั้งหลายจะเกิด
ขึ้นกับตัวคนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว  หาใช้ของคนอื่นไม่

สำหรับแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคเบาหวาน...
มีผู้ให้การรักษาบางท่าน  ต่อต้านการรักษาด้วยวิธีการฉีด “อินซูลิน” เพราะ
เขากลัวว่าจะเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ - hypoglycemia และกังวลใจใน
เรื่องความปลอดภัยของคนไข้  จนเป็นเหตุให้คนไข้ไม่ได้รับการรักษาได้
อย่างเหมาะสม

สำหรับคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน...
การฉีดอินซูลินเพื่อหวังผลในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด  จะเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว รวมไปถึงการตัดสินใจเริ่มใช้อินซูลิน
ซึ่งไม่น่ากลัวเท่ากับภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
วิธีแก้การมีน้ำหนักเกิด...กระทำได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ

ทั้งหมดที่กล่าวมา คืออุปสรรคต่อการฉีดอินซูลิน  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลใน
คนไข้ทีเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
ซึ่งเป็นเรื่องทั้งแพทย์ และคนไข้) จะต้องเอาชนะให้ได้


<<BACK    NEXT >> P.4 : Basic Recommendations

่ท่านจะเริ่มรักษาด้วยอินซูลินเมื่อใด ? :P.1- Initiating insulin in T2DM

Sept. 10,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)...
เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง  โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง
อย่างต่อเนื่อง   สุดท้ายจะลงเอยด้วยการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน  
เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลลดลงสูระดับปกติ (euglycemia)



จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า...
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมาย  ด้วยกระบวนการเชิงรุกสามารถ
ลดความเสียงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะมียาใหม่ๆ  ถูกผลิตออกมาเพื่อการรักษาเบาหวาน
เป็นการเฉพาะก็ตาม  แต่ผู้ใช้ยาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ  
ให้เหมาะกับคนไข้แต่ละรายไป  โดยไม่มีสูตรตายตัว

มีการเสนอแนวทาง และขั้นตอนการรักษา ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้รับผิดชอบใน
การรักษา   ได้พิจารณาว่า คนเป็นโรคเบาหวานประเภทสองรายใด
ควรเริ่มต้นใช้ “อินซูลิน” และควรเริ่มใช้เมื่อใด...?

ในคนไข้ที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากๆ...
เราควรเริ่มให้ “อินซูลิน” ทันที  เพื่อลดระดับน้ำตาลลง  จะมัวอ้อยอิ่งไม่ได้
ซึ่งได้แก่คนไข้ที่มีข้อมูลดังต่อไปนี้:

 Fasting plasma glucose (FPG) levels >250 mg/dL;
 Random plasma glucose consistently >300 mg/dL;
 Glycated hemoglobin (A1C) >10%;
 Ketonuria; or
 Symptomatic diabetes with polyuria, polydipsia, and weight loss

ข้อมูลทีเสนอมานั้น  เป็นเครื่องชี้ว่า  คนไข้เป็นโรคเบาหวาน  ซึ่งไม่สามารถ

ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้
หรืออาจมาพบแพทย์  โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบมาก่อนว่า  
ตนเป็นโรคเบาหวาน

ในกรณีที่คนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล (oral medicines) 
ร่วมกันหลายตัว  ยังปรากฏว่า   ไม่สามารถลดรtดับน้ำตาลในกระแสเลือดล
งสู่เป้าหมายได้... เขาควรได้รับการพิจารณารักษาด้วยการเริ่มให้อินซูลินฉีดฃ
ทันที


NEXT >> P.2- Initiating insulin in T2DM: Therapeutic goal

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีดญ P.2: Initiating insulin in T2DM: Therapeutic goal

Sept. 10,2014
continued

ในคนเป็นโรคเบาหวาน ผู้ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล 
(oral anti-Diabetic agents) ร่วมกัน แล้วปรากฏว่าไม่สามารถลดน้ำตาล
ลงสู่เป้าหมายตามที่ต้องการได้  ควรพิจารณาเริ่มให้อินซูลินทันที

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาเม้็ดลดระดับน้ำตาล (oral medicines)
จากนั้น  คนไข้ควรได้รับตรวจเช็คระดั้บ A1C ทุก  2 – 3 เดือน 
ถ้าปรากฏว่า   เราไม่สามารถสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้  คนไข้จะได้
รับการพิจารณาเพิ่มยาเม็ดลดน้ำตาลเป็น 2 ขนานร่วมกัน  พร้อมกับทำ
การตรวจดูระดับ A1C ทุก 2 -3 เดือน  ถ้าผลปรากฏว่า เราไม่สามารถลด
ระดับน้ำตาล และ / หรือ A1C ไม่ลดลงตามเป้าหมาย...
ในกรณีเช่นนี้  เราควรต้องเพิ่มอินซูลิน  เป็นยาตัวที่สามให้แก่คนไข้

เป้าหมายของการรักษาด้วยอินซูลิน  จะเหมือนกับเป้าหมายของการรักษา
เบาหวานด้วยวิธีอย่างอื่น   นั้นคือ ลดระดับน้ำตาลสู่ระดับที่ต้องการ 
โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ hypoglycemia หรือทำให้น้ำหนักตัว
เพิ่มมากขึ้น หรือไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนไข้

ด้วยเป้าหมายตามที่กล่าว...
แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องรู้สภาพของคนไข้แต่ละรายว่า :

o คนไข้คือใคร?
o การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างไร ?
o รับประทานอาหารสม่ำเสมอหรือไม่ ? ชอบรับประทานอาหารประเภท
   ใดเป็นการพิเศษ?
o อายุมากน้อยแค่ใหน?
o รtดับความสามารถทางสมองอยุู่ระดับใด ?
o มีข้อจำกัดทางร่างกายอย่างใดหรือไม่  เป็นต้นว่า มีปัญหาด้านการเคลื่อน
   ไหว เช่น เป็นโรคไข้ข้ออักเสบ หรือโรคปวดประสาท?

เมื่อนำเอาประเด็นต่างๆ มาร่วมพิจารณาในการรักษา ย่อมทำให้เราสามารถ
เลือกวิธีที่เหมาะสมให้แก่คนไข้ได้

เป้าหมายของการรักษาก็มีความสำคัญเช่นกัน...

The American Diabetes Association (ADA) ได้แนะเป้าหมายของการ
รักษาเอาไว้ที่ A1C อยู่ที่ระดับ 7%  หรือต่ำกว่า 
ส่วน The American Association of Clinical Endocrinologists ได้กำหนด A1C 
ไว้ที่ 6.5%  หรือต่ำกว่า

เราจะเห็นว่า คำแนะนำของสองหน่วยงาน...มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นเหตุ
ให้เกิดความสับสนได้่    และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงควรกำหนดเป้าหมาย
สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเอาไว้ว่า ...
ให้ กำหนดเป้าหมาย  โดยให้ค่า  A1C  ไกล้เคียงกับค่าปกติ  โดยไม่ก่อให้เกิด
ภาวะ hypoglycemia

มีประเด็นที่ควรได้รับพิจารณา.... 
เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ด้วย A1C มีค่า  10% หรือสูงกว่า    เขาสมควรได้รับการ
รักษาด้วย insulin ทันที  เพื่อลดระดับน้ำตาลให้ลงสู่ระดับที่ต้องการ 


ข้อมูลที่ได้จากระดับน้ำตาลในช่วงอดอาหาร (fasting blood sugar),
ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postpandrial blood glucose), และระดับ A1C 
สามารถนำมาพิจารณาในการใช้อินซูลินชนิด basal insulin  หรือ หากจำเป็น อาจ
พิจารณาใช้อินซูลินร่วมกันระหว่าง basal insulin  กับ bolus insulin

สุดท้าย ดีกรีของการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ก็เป็นอีกประเด็นที่นำ
มาใช้ในการพิจารณาเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลิน


<< BACK    NEXT >> P.3: The Challenges of Insulin Therapy

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

Vitamin B-12 and Depression : What is the relation ?

Sept. 8,2014

ความจริงมีว่า...
Vitamin B-12 และ B vitamins ตัวอื่นๆ ต่างมีบทบาทสำคัญต่อการ
สร้างสารเคมีหลายตัว ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และการทำงานของสมองบาง
อย่าง   

การที่ร่างกายของคนเราขาด vitamin B-12, B vitamins ตัวอื่น ๆ 
เช่น vitamin B-6 และ folate อาจสัมพันธ์กับภาวซึมเศร้าได้

การที่ร่างกายของคนเรามีระดับ vitamins ต่ำ สามารถพบได้ในคนที่
รับประทานอาหารที่ไร้คุณภาพ  หรือเป็นเพระาการดูดซึม vitamin ไม่ดี
พอ  โดยเฉพาะพบได้ในคนสูงอายุ, พวกมังสวิรัติ  และคนที่เป็นโรค
ของลำไส้ เช่น Celiac disease, หรือ Crohn’s disease

ในกรณีที่เกิดมีความสงสัยว่า ท่านขาด  vitamin B12...
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเลือด  เพื่อดูระดับ vitamin B-12  เพื่อ
ยืนว่า ท่านอยู่ในสภาพ Vitamin Deficiency จริง

การที่จะมั่นใจได้ว่า  เราได้รับ Vitamin B-12 และ Vitamins ชนิดอื่นได้
ในในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการหรือไม่   ท่านต้องรับประทาน
อาหารที่มีคุณภาพ  ได้รับสารอาหารครบทุกหมู่  และเราทราบว่า
Vitamin B12 จะพบได้ในอาหารประเภทปลา, เนื้อสัตว์, สัตว์ปีก, ไข่
และนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมที่ไร้ไขมัน...

อย่างไรก็ตาม...
อย่าลืมว่า Vitmin B-12 ในปริมาณสูง (high doses) สามารถทำปฏิกิริยา
กับยารักษาตัวอื่นๆ ได้   ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะใช้ Vitamin B-12 เสริม 
ท่านควรปรกษาแพทย์ก่อน

โดยเฉพาะยารักษาโรคต่างๆ ตามรายการข้างล่าง  ถ้าท่านรับประทานพวก
vitamin B12 ร่วมด้วยเมื่อใด  มันสามารถทำให้ระดับไวตามินตัวดังกล่าว
ใน่างกายของท่านลดลงได้  เช่น:

o Anticonvulsants เช่น Dilantoin, phonbarbital,primidone
o Chemotherapy medication เช่น methotrexate
o Colchicine รักษาโรคเก้าท์
o Bile acid sequestrants สำหรับลดไขมันในเลือด
o H2 blockers ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น Tagamet,
o cimetidine
o Metformin รักษาโรคเบาหวาน
o Proton pump และ
o Antibiotic เช่น tetracycline ไม่ควรใช้ร่วมกับ vitamin B12
เพราะจะทำให้การดูดซึมของ B12 เสียไป

www.mayoclinic.org
www.umm.edu

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.4): Bolus insulin dose:

Aug. 25, 23014

• 50 – 60 % ของ total insulin dose จะใช้ทำหน้าที่จัดการกับ

“คาร์โบฮัยเดรต” (อาหาร) และใช้แก้ไข (correction) น้ำตาลใน
กระแสเลือดที่สูงขึ้น...Insulin ที่ทำหน้าที่นี้ เรียก
bolus insulin replacement

Bolus insulin เป็นอินซูลินที่ทำหน้าที่จัดการกับ “คาร์โบฮัยเดรต” ซึ่งได้จาก

อาหารที่เรารับประทาน โดยการคำนวณจากค่า Insulin-to-Carbohydrate ratio
(I – to –C ratio)   ซึ่งหมายถึง “คาร์โบฮัเดรต” เป็นจำนวณกรัม ที่ถูกจัดการ
โดยอินซูลิน 1 unit

โดยทั่วไป อินซูลิน 1 unit จะจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตจำนวน 12 – 15 กรัม

โดยมีค่าเฉลี่ย 4 – 40 กรัม   โดยขึ้นกับความไว (sensitivity) ของคนไข้แต่ละ
รายที่มีต่ออินซูลิน  ซึ่งความไวของอินซูลินมีความแตกต่างกันตามเวลาของ
แต่ละวัน, จากคนสู่คน, และสามารถกระทบโดยกิจกรรม และความเครียด

โดยทั่วไป  เพื่อจัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงขึ้น...

1 unit of insulin สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ 50 mg/dL
( มีค่าเฉลี่ย 15 – 100 mg/dL หรือมากกว่า โดยขึ้นกับความไวต่ออินซูลิน
และปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่น

ตัวอย่าง

การการคำนวณค่า “อินซูลิน” ที่ต้องใช้เพื่อจัดการกับ คาร์โบฮัยเดรต ที่เรารับ
ประทาน (corbohydrate coverage), ขนาดของอินซูลินที่ใช้เพื่อแก้ไขระดับ
น้ำตาลที่สูงขึ้น (for high blood sugar correction), และปริมาณของอินซูลิน
ที่ต้องใช้ทั้งโดยรวม (toltal mealtime insulin dose)

ตวอย่างที่ 1

สมมุติ ท่านต้องการรับประทาน”คาร์โบฮัยเดรต” 60 กรัม ในอาหารกลางวัน

จำนวนอินซูลินที่ต้องใช้ (insulin dose) :

CHO ratio = 1 : 10 (อินซุลิน 1 units สามารถจัดการกับ CHO ได้ 10 กรัม)

จากสูตรที่ได้ ท่านจะต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการ (cover) คาร์โบฮัยเดรตได้

60 ÷ 10 = 6 units

ตัวอย่างที่ 2:

ใช้อินซูลิน เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high blood sugar correction dose)

ขนาดของอินซูลินที่ต้องการใช้เพื่อแก้ไข้ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากระดับปกติ

กระทำได้โดยใช้สูตร:

(ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น – ระดับน้ำตาลระดับปกติในกระแสเลือด) ÷ correction

Factor

(correction factor = หมายถึงอินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับ “คาริ์โบฮัย

เดรต” ได้ 50 กรัม

สมมุติระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น คือ 220 mg/dL และระดับน้ำตาลที่ต้อการให้ลด

ลง คือ 120 mg/dL

จากสูตรที่ได้ เราสามารถคำนวณหาค่า “อินซูลิน” เพื่อใช้จัดการกับระดับน้ำตาล

ที่เพิ่มขึ้นได้จากสูตร:

Correction dose = Difference between actual and target blood glucose (100mg/dl)

÷ correction factor

(220 – 120) ÷ 50 = 2 units


นั้นหมายความมว่า เพื่อจดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (220 mg/dL) ให้ลดลง

สู่ระดับเป้าหมาย (120 mg/dL) เราต้องใช้อินซูลิน 2 units

ตัวอย่างที่ 3: Total mealtime insulin dose

Total mealtime insuline dose จะมีค่า = อินซูลินสำหรับ carbohydrate
Coverage + อินซูลินที่ใช้เพื่อ high sugar correction dose

ค่าที่ได้จากตัวอย่างที่ 1 & 2 ...

Total mealtime insulin dose = 6 + 2 units of rapid insulin ซึ่งทำหน้าที่
เป็น bolus insulin dose

<<BACK

http://dtc.ucsf.edu

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.2): Basal/background insulin dose:


Aug. 25, 2014

• ประมาณ 40 – 50 % ของ  total daily insulin dose จะถูกนำไป

ใช้แทนปริมาณ “อินซูลิน” ในช่วงกลางคืน (insulin overnight),
และถูกใช้ในตอรนกลางวันในขณะทีท่านท้องว่างระหว่างช่วงเวลา
รับประทานอาหาร...เรียก “อินซูลิน” ที่ทำหน้าที่นี้ว่า background
หรือ basal insulin replacement  ซึ่งมีระดับคงที่ทุกวัน

• ส่วนที่เหลือ  50 – 60 %  ของ total insulin dose จะใชhทำหน้าที่จัด
การกับ “คาร์โบฮัยเดรต” (อาหาร)  และใช้แก้ไข (correction) น้ำ
ตาลในกระแสเลือดที่สูงขึ้น... Insulin ที่ทำหน้าที่นี้   เรียก  bolus 
insulin replacement

Basal/background insulin dose:


เราสามารถคำนวณหาค่าของขนาดอินซูลินที่ใช้เพื่อทำหน้าที่เป็น

Basal insulin ได้ดังนี้:

1. สมมุติท่านมีน้ำหนัก 160 ปอนด์

2. ท่านสามารถคำนวนหาค่า total daily insulin requirement ได้
= 140 ÷ 4 = 40 units of insulin/day

จากตัวอย่าง...

Basal/background insulin dose
= 50 % of TDI (40 units) = 20 units โดยเป็นอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
(long acting insulin) เช่น insulin glargine หรือ detemir หรือท่านอาจ
เป็น rapid acting insulin ถ้าท่านต้องใช้ insulin pump... เป็นการให้อินซูลิน
ทางใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้ infusion pump


<< BACK     NEXT >> P.3: The carbohydate coverage ratio:

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.1): Total Daily Insulin Requirement

Aug. 25, 2014

การใช้อินซูลินเพื่อรักษา จัดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
ประเภท 1 และประเภท 2 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำให้น้ำตาลในกระแสเลือด
คงอยู่ในระดับปกติ โดยการการฉีดเข้าสู่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง

การที่แพทย์จะใช้อินซูลินชนิดใด ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า
ช่นิดของโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด รวมไปถึงวิถีชีวิต
ของคนที่เป็นโรคเบาหวานเอง

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูน มีหลายอย่างที่เราควรทำ
ความรู้จัก:

Total Daily Insulin Requiremen (TDI) :
หลักเกณฑ์ในการคำนวนหาค่าของปริมาณ "อินซูลิน" ที่ร่างกายจำเป็น
ต้องใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดตลอดทั้งวัน และ
ตลอดคืน (total insulin requirement) ...มีสูตรให้คำนวณหาค่าดังนี้:

Total daily Insulin Requirement (units of insulin)
จะมีค่า = น้ำหนักตัวเป็นปอนด์ หารด้วย 4

หรือถ้าวัดน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ให้ใช้สูตรา-
Total daily Insulin Requirement
จะมีค่า = 0.55 x น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

ยกตัวอย่าง 1:

Ø ถ้าท่านมีน้ำหนักตัววัดเป็นปอนด์ สมมุติได้ 160 ปอนด์
ค่า Total daily insulin requirement ของท่านจะมีค่า
= 160 ÷ 4 = 40 units of insulin / day

หรือ...
ตัวอย่างที่ 2:

Ø ถ้าท่านมีน้ำหนักตัววัดได้  70 kg body weight
ท่านจำเป็นต้องไดรับ  total daily insulin requirement
= 0.55 x 70 = 38.5 units of insulin /day

ในกรณีที่ร่างกายของท่านไม่ตอบสนองต่อ “อินซูลิน” อย่างสูง (very
Resistant to insulin) ท่านอาจจำต้องได้รับปริมาณ “อินซูลิน” เพิ่มขึ้น
และในทางตรงข้าม หากท่านมีความไวต่ออินซูลิน ท่านอาจจำเป็น
ต้องลดขนาดอินซูลินลง


<< NEXT : P. 2: Basal/background insulin dose:


เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.4: Basal – Bolus insulin therapy

Aug. 23, 2014

คำถามมีว่า...
Basal – Bolus insulin Therapy คืออะไร ?

โดยปกติ...
ในคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ในร่างกายมีฮอร์โมนขือ “อินซูลิน” มีหน้า
ในการควบคุมระดับน้ำตาลโดย:

 ร่างกาย (เซลล์ืของตับอ่อน) จะทำหน้าทีสร้าง และปล่อยอินซูลินออกมา
ในระดับคงที่ (ตลอดวัน และคืน)  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในช่วงเวลา
ระหว่างรับประทานอาหาร และระหว่างนอนหลับ

 ร่างกายจะปล่อยอินซูลินออกมาในปริมาณเพิ่มขึ้น  เพื่อช่วยควบคุมระดับ
น้ำตาลที่ได้จากอาหาร

ในการรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภ่ท 2  การให้อินซูลินอาจช่วยควบคุม
ระดับน้ำตาลในสองทิศทาง:

 ประการแรก:  การให้อินซูลิน เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมระดับน้ำตาลใน
ช่วงเวลาระหว่างการรับประทาอาหาร และระหว่างการนอนกลับ  เราเรียก
อินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสลเลือดช่วงดังกล่าวว่า  Basal  หรือ
background insulin (long acting insulin)

 ประการที่สอง: การให้อินซูลิน  เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการ
กินอาหาร เราเรียก bolus insulin ....

Go. to.... : www.aafp.0rg

ในกรณีที่เราต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในกรtแสเลือดที่มากกว่าปกติ  แพทย์
อาจแนะนำให้ท่านได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า   basal-bolus therapy 
บางทีเราเรียกว่าIntensive insulin therapy ซึ่งนอกจากจะใช้อินซูลินควบคุม
ระดับน้ำตางในขณะทัองว่างทั้งกลางวัน และกลางคืน (basal) แล้ว  ยังให้
อินซูลิน (Bolus insulin) เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารด้วย

การรักษาด้วยวิธี basal-bolus therapy มักจะใช้ในรายที่เป็นเบาหวานประเภท 1
หรือเบาหวานประเภท 2 ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น และเพื่อความ
ปลอดภัยจากการเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglyxemia)  ควรทำการตรวจระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือด... ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ จะพบว่า basal-bolus therapy จะ
มีลักษณะคล้ายกับธรรมชาติของการควบคุมระดับน้ำตาล

นการวางแผนการรักษาด้วยวิธี basal-bolus therapy:
นอกจากจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านอาหารการกิน และการออกกำลังกาย
การรักษาด้วย basal-bolus therapy จะประกอบด้วยการใช้ Long-acting basal insulin
รวมกับการใช้ short-actingbolus insulin (Novolog®) ในขณะรับประทานอาหาร
(mealtime) 1 – 3 ครั้งต่อวัน

และ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามต้องการท่านต้อง...

 ตรวจระดับน้ำตาลบ่อยครั้ง
 รับประทานอาหาร และออกกำลังกายตามแผนที่กำหนด
 ติดต่อทีมผู้ให้การรักษาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ

<< BACK P.3: Augmentation insulin therapy

http://www.novolog.com/novolog/whencontrol.aspx
http://www.localhealth.com/article/how-does-insulin-control-diabetes

เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.3: Augmentation Insulin Therapy

Aug. 23, 2014

How does Insulin Control Type 2 Diabetes?

ถ้าสมมุติท่านเป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
ตับอ่อนของท่านยังคงสามารถทำงานได้ และยังสามารถผลิต “อินซูลิน” ได้
ในปริมาณมากพอกับความต้องการ นอกจากนั้น เซลล์ของร่างกายยังไม่ตอบ
สนองต่ออินซูลินได้อีกด้วย  ซึ่งหมายความว่า ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาล
ในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2...
ส่วนใหญ่ท่านจะได้รับการรักษา  ด้วยการเริ่มต้นด้วยการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล 
(oral medicines)  เมื่อเวลาผ่านไปจะพบว่า  ยาเม็ดลดน้ำตาลจะสูญเสีย
ประสิทธิภาพในการทำงานไป...  ในกรณีเช่นนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ท่านเพิ่ม
ยาฉีดที่เป็น “อินซูลิน” ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลให้แก่ท่าน

การเพิ่ม “อินซูลิน” ให้กับท่านร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลเช่นนี้   เราเรียกว่า
“Augmentation Insulin Therapy”

ถ้าการรักษาด้วยวิธี Augmentation Insulin Therapy ไม่สามารถควบคุมระดับ
น้ำตาลได้   แพทย์อาจทำการเปลี่ยนวิธีการรักษา  ด้วยการเพิ่มยาฉีดอินซูลินให้
แก่ท่าน  เรียกว่า  เป็น Replacement insulin Therapy  หรืออาจใช้อินซุูลินเพียง
อย่างเดียว

มีคนไข้บางคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 แทนที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธี
Augmentation insulin therapy   แต่เริ่มให้การรักษาด้วย replacement insulin
therapy ทันที เช่น ในรายที่มาพบแพทย์ด้วยการตรวจพบว่า ระดับ HbA1c มี
ค่าสูงกว่า 9 %  ...

<< BACK    NEXT  >> P. 4 : Basal-bolus therapy

http://www.localhealth.com/article/how-does-insulin-control-diabetes