วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes) : How often do I take insulin?


Nov. 10, 2013

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน และจำเป็นต้องรับการรักษาด้วย “อินซุลิน”
มีรูปแบบสามประการ ดังต่อไปนี้:

1. Twice daily doses of short and intermediate-acting insulin

 เป็นการให้อินซูลินสองครั้ง นั้นคือให้ก่อนอาหารเช้า และอีก
ครั้งให้ก่อนอาหารเย็น

 อินซูลินออกฟทธิ์สั้น (short acting insulin) จะทำหน้าที่จะ
การกับน้ำตาลในเลือดซึ่งมาจากอาหารเช้า และอาหารเย็น

 อินซูลินออกฤทธิ์ระดับกลาง (intermediate-acting insulin)
จะจัดการกับระดับน้ำตาลในตอนบ่ายหลังเที่ยง และในตอน
กลางคืน


Go to ....https://www.accu-chekinsulinpumps.com


 อินซูลินร่วม (pre-mixed insulin) เป็นยาที่เหมาะสำหรับ
การใช้อินซูลินในรูปแบบดังกล่าว

2. Three times a day dosing

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น และออกฤทธิ์ขนาดกลาง (short-
Acting & intermediate acting insulin) ก่อนรับอาหารเช้า

 ให้อินซูลิน (short- acting insulin) ก่อนรับอาหารเย็น

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์กลาง (intermediated-acting insulin)
ก่อนอาหารเย็น จะทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในช่วงกลางคืน

3. Multiple daily doses

 ให้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short-acting insulin) ก่อนอาหาร
ทุกมื้อ

 ให้ อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate) หรือออกฤทธิ์
ยาว (long-acting insulin) ก่อนนอน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
ในช่วงกลางคืน

นอกจากวิธีการให้อินซูลินตามรูปแบบที่กล่าวมาแล้ว...
ยังปรากฏว่า มีรูปแบบอื่น ๆ ที่เราควรทราบ นั้นคือ ในคนสูงอายุที่เป็น
โรคเบาหวานบางคน สามารถควบคุมด้วยอินซูลินฉีดเพียงวันละครั้ง
โดยการให้ Long-acting insulin

Go t
อีกรูปแบบหนึ่ง คือการให้อินซูลินด้วยวิธี Pump treatment
ซึ่งจะใช้ในคนหนุ่มที่เป็นโรคเบาหวานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการ
ให้อินซูลินผ่านน้ำเกลือหยดเข้าเส้นเลือดดำสู่ร่างกายตลอดเวลา
และมีการเพิ่มขนาดอินซูลินในตอนรับทานอาหาร (extra insulin doses)


ในการควบคุมการให้อินซูลินด้วยวิธี pump therapy...
เขาจะใช้ fusion pump เป็นตัวควบคุมว่า คนไข้ควรได้รับอินซูลินเท่าใด
เป็นวิธีการที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยเฉพาะในคนเป็น
เบาหวานผู้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยวิธี multiple daily injection
of insulin หรือใช้ในกรณีที่มีปัญหาเรื่อง hypoglycemia

อีกวิธี...คือ การฉีดหลายครั้ง multiple injections
ซึ่งได้รับความนิยมถูกนำมาใช้ในการรักษาบ่อยขึ้น ด้วยเหตุว่า มันสามารถ
เลียนแบบธรรมชาติของร่างกายที่ทำหน้าที่ปล่อยอินซูลินออกมา

และรูปแบบการใช้อินซูลิน และขนาดของอินซูลิน จะถูกปรับขนาดโดยขึ้น
กับคนไข้แต่ละราย ซึ่งท่าน และแพทย์แต่จะทำหน้าที่ค้นหาวิธีที่ดีที่สุด
สำหรับควบคุมระดับน้ำตาล

http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/diabetesinsulin.htm

Rapid-Acting Insulin :ควบคุมจังหวะการใช้ให้ถูกต้อง

Aug. 17, 2013

ท่านเคยได้ยินคำพูดต่อไปนี้มาหรือไม่ ?
“ฉันคิดว่า...ฉันทำทุกอย่างถูกต้องทุกประการ
แต่ทำไมผลจึงออกมาเป็นเช่นนี้ได้ ?”

ประโยคอย่างนี้...มันก็เกิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานเช่นกัน...
โดยเขาเชื่อว่า เขาทำการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง แต่
ดูเหมือนว่า เขาไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงลงสู่เป้าหมาย
ได้....ทำไม ?

จากกรณีหลัง มีสาเหตุอย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เขาไม่ได้คิดถึงว่า
เขาจะฉีด Rapid-acting insulin เพื่อจัดการกับอาหารที่รับทาน
อย่างไรเวลาใหนก็อาจเป็นได้ (bolus insulin)

นับตั้งแต่มี Rapid-acting insulin ได้วางตลาดเพื่อนำมาใช้ใน
การรักษา (1996) โรคเบาหวาน ผู้เชี่ยวชาญหลายนายแนะนำว่า
ควรฉีดอินซูลินตัวอังกล่าวภายในเวลา 15 นาทีหลังจาก
รับทานอาหาร ซึ่งหมายความว่า เป็นเวลาใหนก็ได้ตั้งแต่ 15
นาทีก่อนรับทานอาหาร จนถึง 15 นาที่หลังการรับประทาน
อาหาร....

จากการแนะนำดังกล่าว ได้อาศัยพื้นฐานของความจริงว่า
Rapid acting insulin สามารถดูดซึมเขาสู่กระแสโลหิตได้อย่างรวดเร็ว
และเริ่มลดระดับน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม หลังหลายปีผ่านไป จากการสังเกตุผลที่เกิดขึ้นพบว่า
คำแนะนำดังกล่าวไม่น่าจะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานทุกรายไป 
จึงมีการปรับให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

>> NEXT :   Rapid Acting Inslin Part 2: Insulin Basics

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 2: Insulin basics

Nov. 17,2013
ในการรักษาเบาหวาน...
เป้าหมายของรักษาด้วยยาฉีด Insulin (Insulin therapy) คือการ
ให้อินซูลินแกคนไข้ โดยหวังว่า อินซูลินที่ให้แก่คนเป็นเบาหวาน
แล้ว มันจะออกฤทธิ์เหมือนกับคนไม่เป็นเบาหวานใช้อินซูลินตาม
ปกติ

 Basal insulin.
โดยทั่วไป ตับอ่อนของคนเราจะหลั่ง “อินซูลิน” ออกมาใน
ใน 24 ชั่วโมงในปริมาณไม่มาก โดยเฉลี่ยรางกายจะผลิต
ฮอร์โมนตัวดังกล่าวประมาณ หนึ่งยูนิต ต่อชั่วโมง โดยไม่
คำนึงถึงว่าท่านจะรับประทานอาหารหรือไม่

 Bolus insulin.
เมื่อคนเรารับานอาหาร ร่างกายของเรา (ตับอ่อน) จะตอบ
สนองต่อาหารที่เรารับทานเข้าไปด้วยการสร้างอินซูลินใน
ปริมาณมาก และจะถูกปล่อยออกมาเป็นสองระยะ (two-
Phases boluses)

ระยะแรก (First phase) จะมีการหลั่งอินซูลินออกมาภาย
ในไม่กี่นาทีหลังจากเราเคี้ยงอาหาร และสิ้นสุดเอาประมาณ
15 นาที ระยะที่สอง เป็นการหลังออกมาอย่างช้าๆ อย่างต่อ
เนื่องเป็นเวลาชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง โดยทีปริมาณของ
อินซูลินจะสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรับ
ประทานอาหาร

ในคนที่มีการผลิตอินซูลินตามปกติ...
การสร้าง และการหลั่งอินซูลินจะอยู่ภายใต้ระบบ feedback...
ซึ่งทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระหว่าง 70 mg/dL
และ 140 mb/dL ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงว่า ท่านจะรับทานอาหาร
หรือไม่ หรือว่าออกกำลังกายหรือไม่ ?

ส่วนในระหว่างที่คนเราไม่สบาย (illness)...
หรือในระหว่างที่ร่างกายต้องการอินซูลิน ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนดังกล่าว
เพิ่มขึ้น
สำหรับคนที่มีตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้ตามปกติ
จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลิน (insulin injection or insulin pump)
เช่น คนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถสร้าง
อินซูลิน หรือไม่มีอินซูลินเลย จะต้องได้รับอินซูลินทางเดียวเท่านั้น

แต่การเรียนรู้ว่า เราจะใช้อินซูลินเมื่อไร ? และใช้อินซูลินเท่าใดเป็น
เรื่องท้าทายต่อการรักษา...เพราะการฉีดอินซูลินในแต่ละครั้ง หรือแม้
กระทั้งการฉีดอย่างต่อเนื่อง (infuse insulin) ไม่สามารถทำให้อินซูลิน
ออกฤทธิ์ได้เหมือนกับอินซูลินที่ถูกปล่อยออกจากตับอ่อนตามธรรมชาติเลย

สิ่งแรกที่เราจะต้องเรียนรู้ คือ เราควรใช้อินซูลินเมื่อใด ?
และให้อินซูลินในปริมาณแค่ใหน ?

<< PREV     NEXT >> Part 3 : Insulin action

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 4:Insulin action

Nov. 17, 2013

ฤทธิ์ของอินซูลินที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งเป็นสามระยะด้วยกัน:

 Onset: จุดเริ่มต้นของการออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
 Peak: เป็นช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์ต่อการลดระดับน้ำตาลได้สูงสุด
 Duration: เป็นระยะเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลอย่าง
ต่อเนื่อง

อินซูลินออกฤทธิ์ในระยะสั้น (rapid-acting insulin) ...
มักจะถูกเรียกว่า mealtime insulin หรืออินซูลินที่ใช้ในขณะกินข้าว
หรือรับประทานอาหาร ที่เรียกเช่นนั้น เพราะการออกฤทธิ์ของมันจะ
คล้ายกับฤทธิ์ของอินซูลินที่ถูกปล่อยออกมาตามธรรมชาติโดยตับอ่อน
ซึ่งถูกปล่อย (หลั่ง) ออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่คน
เรารับทานเข้าไป...

อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ rapid-acting insulin แก่
คนไข้เพื่อให้มันทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เข้าสู่เซลล์
ในขณะท้องว่างทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยวิธีให้อินซูลินอย่างต่อ
เนื่อง (insulin pump) เพื่อให้เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้ใช้น้ำตาลเป็น
พลังอย่างต่อเนื่อ..ซึ่งเราเรียก basal insulin

ในปัจจุบัน เรามีอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (rapid acting insulin) ให้เราได้
ใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาล...อยู่สามชนิด นั้นคือ Lispro, aspart
(Novolog) และ glulisine (Apidra) ซึ่งต่างมีวิถีการออกฤทธื (action
Curve) คล้ายๆ กัน (เริ่มออกฤทธิ์5 -15 นาที., ออกฤทธิ์มสูงสดุใน
เวลา 45-90 นาที และช่วงเวลาการออกฤทธิ์นานประมาณ 3 – 4 ชม.)

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แสดงการออกฤทธิ์ของอินซูลินได้สุงสุดมาเป็น
เพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น (45 – 90 นาที) ซึ่งอาจเร็ว หรือช้ากว่านั้นได้
ดังนั้น ท่านอาจพบได้จากการตรวจรับน้ำตาลในกระแสเลือด...เพื่อได้
ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละรายไป

<< PREV    NEXT >> Part 4 Matching insulin and food

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

Interaction between Metoprolol and Diphenylhydralmine

Sept. 19, 2014

ในการรักษาโรคด้วยการใช้ยา...
ปรากฏว่า  มีบ่อยครั้งที่ผู้ฝช้ไม่ตระหนักถึงปฏิกิริยาระหว่างยาที่ตนเองกำลังใช้

ย่อแ่กให้เกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี...

นี้คือตัวอย่างที่เราพบ...
คนสูงอายุเป็นโรคความดั้นโลหิตสูง  ซึงแพทย์ได้ให้ยากลุ่ม Beta blocker ชื่อ
Metoprolol ....อยู่มาวันหนึ่ง  คนไข้เกิดมีอาการวิงเวียน   จึงไปพบแพทย์เพื่อ
ขอรับการรักษา  และแพทย์ได้สั่งจ่ายยา Djphenylhydralamine แก้อาการวิงเวียน
ให้แก่คนไข้รายนั้น

ลองดูซิว่า...ผลจะเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อเรารับประทานยา “metoprolol” เข้าสู่กายแล้ว
ลองดูซิว่า มันเกิดอะไรขึ้น ?

ตามปกติ  ยาทุกตัวที่เป็นสารเคมี  เมื่อผ่านเข้าสู่ร่างกาย  มันจะทำปฏิกิริยากับ 
"เอ็นไซม์"  เพื่อมันจะได้ถูกขจัดออกจากกายไป...

ยา Metoprolol  เมื่อเข้าสู่กายแล้ว  มันจะทำปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ชื่อ 
Cyotochrome P450(CYP) 2D6:

สำหรับยา Diphenylhydralamine  เมื่อเข้าสู่ร่างมนจะทำปฏิกิริยา "ยับยั้ง" 
ไม่ให้ CYP2D6 ทำงาน
เมื่อมีการใชั้ยาทั้งสองพร้อมกันเมื่ดใด...ผลจะทำให้ยา Metoprolol ในกระแส
เลือดสูงขึ้น  พร้อมๆ กับทำให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนาขึ้น
ซึ่งเราเรียกว่า "แพ้ยา" นั่นเอง

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว...
จึงเป็นข้อเตือนใจว่า  เม่่ื่อคนไข้ใช้ยารักษากลุ่ม beta blockers เพื่อลดความ
ดัน (เช่น carvedilol, nebivolol, propanolol และ timolol) ไม่ใควรใช้ร่วมกับยา
ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2D6 เป็นอันขาด

www.pharmacytimes.com


วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P.7 Initiating insulin :The Importance of Patient Education

Sept. 10, 2014

ไม่ว่าท่านจะวางแผนการรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีใด...
การให้ความรู้แก่คนไข้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น   โดยเขาควรได้รับคำอธิบาย
เกี่ยวกับฤทธืของอินซูลิน, ผลกระทบต่อาหารทีรับประทาน,  รวมถึงการ
ออกกำลังกาย  ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วยตนเอง  ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
ต่อการควบคุมระดับน้ำตาล

เพื่อหลีกเลี้ยงการต่อต้านการใช้ อินซูลิน” ของคนไข้...
แพทย์จำเป็นต้องเริ่มบอกกล่าวให้คนไข้ได้ทราบแต่เนิ่นๆ  โดยให้รับรู้
ว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงตามเวลา
ท่่ผ่านไป  ซึ่งสุดท้าย  ในคนที่เป็นเบาหวานทุกคน  ต่างลงเอยด้วยการ
ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอย่างหลีกเล่ี่งไม่ได้เลย

ที่สำคัญ  คนที่เป็นโรคเบาหวานต้องทราบเป้าหมายของการรักษาว่า
มีเป้าหมายในการรักษาอย่างไร ?  ไม่ใช้ปฏิเสธการใช้ปฏิเสธรูปแบบ
ของการรักษา  แต่ต้องยอมรับความจริงว่า  เมื่อจำเป็นต้องใช้อินซูลิน
เมื่อใด...ท่านต้องยอมรับอย่างปฏิเสธไม่ได้โดยเด็ดขาด

โดยสรุป...

ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง....ในระยะสุดท้ายของการเกิดโารค
มักจะไม่ตอบสนองต่อการใช้เม็ดลดน้ำตาลในกระแสเลือด  และจำเป็นต้องใช้
อินซูลินรัีกษา (insulin therapy) กัน  วิธีการที่คนไข้ยอมรับกัน  คือการให้ฉีด
อินซูลินชนิด Intermediate-acting insulin ในตอนแย็นก่อนนอน (bedtime) ร่วม
กับยาเม็ดลดน้ำตาล...ซึ่งเป็นวิธีง่ายต่อการปฏิบัติของคนทั่วโลก




<< BACK

อ้างอิง...

  • www.medscape.org/
  • www.aafp.org/
  • www.australianprescriber.com/

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P.6 initiating insulin : multiple options

Sept.10,2014

จากผลของการศึกษา...
ได้เสนอแนวทางในการเริ่มใช้อินซูลินว่า    โดยการใช้ premixed insulins
หรือ insulin analogs ซึ่งได้รับการยืนยันโดย 1-2-3 study ว่า...
การใช้ aspart premixed 70/30 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ลด
สู่เป้าหมายได้ตามต้องการ โดยการฉีดวันละครั้ง

จากวิธีการดังกล่าว เราสามารถปรับเปลี่ยน ด้วยการเพิ่มจำนวนครั้งของ
การฉีดอินซูลิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมระดับน้ำตาล
โดยเริ่มให้ analog premix 12 units ในเวลาอาหารเย็น 
หรือในเวลาที่รับประทานอาหารหนักที่สุดของวัน ...

ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย...
ให้ฉีดอินซูลินเข็มที่สองในช่วงอาหารก่อนอาหารเช้า 
และหากผลยังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้ฉีดเป็นเข็มที่สามในตอนอาหาร
มื้อเที่ยว 

การปรับอินซูลินด้วยวิธีนี้ ปรากฏว่าได้ผลดีถึคง 77 % แถมยังอำนวย
ความสดวก และง่ายต่อการปฏิบัติของคนไข้ โดยการให้อินซูลินจะสัม
พันธ์กับรูปแบบของการรับประทานอาหารของเขs


<< BACK     NEXT >> P. 7: The Importanct of Patient Eductaion

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P. 5 : Initiating insulin : Multiple Options

Sept 10,2014

ในการรักษาโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM) ด้วยการฉีดซูลิน
(insulin therapy) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้า...
มีแนวทางให้เราเลือกใช้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้


วิธีที่ 1 : ฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง (One injection): มีให้เลือกใช้อย่างใด
อย่างหนึ่ง...

o ใช้ Intermediate-acting insulin หรือ Long-acting analog ให้ก่อนนอ
   (At bedtime) หรือ

o ใช้ Premixed formulation ก่อนอาหารเย็น (before dinner)

วิธีที่ 2: ฉีดอินซูลิน 2 คร้ง (2-injections): เป็นการรักษาด้วยการให้ฉีด
อินซูลินสองครั้ง โดยให้ออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่เกิดจากอาหารมื้อเช้า 
(breakfast)  และก่อนอาหารมื้อเย็น (dinner) โดยการใช้อินซูลิน:

o ใช้ premixed formulation ฉีดเช้าเย็น (ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น)
หรือ

o ใช้ short-acting หรือ rapid-acting + NPH,  หรือ Long-acting Analog
ฉีดเช้า/เย็น  (โดยให้ก่อนอาหารเช้า  และอาหารเย็น)

วิธีที่ 3: เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง ( 3-injctions) : เป็นการรักษาด้วย
การฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง โดยเพิ่มอินซูลินสำหรับอาหารมื้อกลางวัน  ดังนี้:

o  ให่้ premixed insulin สำหรับอาหารเที่ยง (lunchtime) ร่วมกับการฉีด 
premixed formulation อีก  2 ครั้งสำหรับในมื้อเช้า (breakfast) และมื้อย็น
(dinner) หรือ

o ให้ short-acting หรือ rapid-acting insulin สำหรับอาหารมื้อเที่ยง  
เป็นการเพิ่มการให้ (ฉีด) อินซูลินด้วย  premixed insulin สำหรับอาหารมื้อเช้า
 และอาหารมื้อเย็น  หรือ

o ให้  intermediate insulin หรือ  long-acting insulin ก่อนนอน  ร่วม
กับการใช้ short-acting  หรือ rapid-acting analog สำหรับอาหารมื้อเช้า 
และอาหารมื้อเย็น 

วิธีที่ 4: ฉีดอินซูลินหลายครั้ง (multiple injections): เป็นวิธีรักษาโรคเบาหวาน
ด้วยการฉีดอินซูลินหลายครั้ง   ในการฉีดแต่ละครั้ง  เป็นการใช้อินซูลินเพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่รับประทานในแต่ละครั้ง (มื้อ)  ดังนี้:

o ฉีด short-acting หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารในแต่ละมื้อ 
โดยร่วมกับการฉีด intermediate- หรือ long-acting insulin ก่อนนอน  หรือ

o เป็นการฉีดแบบ insulin pump

ในการรักษาด้วยอินซูลินฉีดทั้งสี่วิธี...
แต่ละวิธีที่กล่าวมา  ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนไป  เป็นหน้าที่ของแพทย์ฺจะต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป  โดยขึ้นกับปริมาณอิซูลินที่เหลือ
จากการสร้างของตับอ่อน (resudual endogensous insulin), และผลของการ
ควบคุมน้ำตาล,  รวมไปถึงการออกกลังกายของตัวคนไข้รายนั้น 

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง  ด้วยการใช้ 
Intermediate- acting insulin หรือ  long-acting insulin analog ฉีดก่อนนอน   
เป็นวิธีที่ใช้เสริม basal insulin ที่ได้จากตับอ่อน (endogenous basal secretion), 
เสริมยาเม็ดลดน้ำตาล,  และช่วยแก้ไขระดับน้ำตาลในช่วงท้องว่างที่มีค่าสูงขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กล่าว...
เราจะใช้  basal insulin analog (glargine)  10 units /วัน ก่อนนอน  พร้อมกับ
มีการตรวจดูระดับน้ำตาลในตอนเช้า (FPG) ทุกวัน  และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  
เราสามารถเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลินตามความต้องการ  โดยอาศัยข้อมูล
จากการตรวจ FPG ของ 2 วันก่อน

นอกจากวิธีดังกล่าว...
เราสามารถใช้  premixed insulin หรือ insulin analog เพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น โดยการให้อินซูลินในเวลาอาหารเย็น  โดยฤทธิ์
ของอินซูลินที่ฉีด ก่อนอาหารเย็น (dinner) นอกจากจะทำหน้าที่เป็น basal insulin
ยังออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น (post-dinner coverage) ด้วย

ถ้าผลของการรักษาในวิธีแรกไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้าหมาย
เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรักษา  โดยใช้วิธีฉีดอินซูลิน 2 ครั้ง   ด้วยการใช้ 
premixed formulation  ซึ่งประกอบด้วย rapid- และ intermediate-acting insulins 
หรือใช้  Insulin analogs ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น 

ถ้าผลของการรักษาตาวิธีที่สอง ยังไม่บรรลุเป้าหมาย...
เราต้องขยับเป็นการรักษาด้วยด้วยการฉีดยาเข็มที่สาม ด้วยการให้ short-
Acting insulin หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารเทียงวัน
(lunchtime) เพิ่ม  เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง

มีคนไข้บางรายเกิดมีระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน (nocturnal hypo-glycemia)  
หรือมีรับน้ำตาลขึ้นสูงในตอนเช้า (morning hyperglycemia)
อาจจำเป็นต้องให้อินซูลิน 3 ครั้ง (3 injecions)

นอกจากนั้น เราสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน
nocturnal hyperglycemia)  โดยการลดยาฉีดในตอนก่อนนอน 
(ทั้ง intermediate- หรือ long-acting insulin)


<< BACK    NEXT   >> P. 6: Initiating insulin : continued 



วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด:P.4: Initiating Insulin: Basic Recommendations

Sept.10,2014

เมื่อเริ่มใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล   แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัว
สำหรับการดังกล่าว...  แต่มีกฏเกณฑ์พื้นฐาน สำหรับใช้เป็นแนวทางใน
การปฏิบัต  ดังต่อไปนี้:

 ถ้าผลการตรวจน้ำตาลในขณะท้องว่าง (FPG) มีระดับสูง ให้เริ่มให้
อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (long-acting insulin) ได้เลย

 ถ้าระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postpandrial glucose) สูง 
ให้ใช้อินซุูลินออกฤทธ์เร็ว (prandial หรือ bolus) และ

 ถ้าผลของน้ำตาลในเลือด ทั้ง FPG และ PPG มีค่าสูงทั้งสองค่า
ท่านสามารถเลือกวิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้:

o Oral agent ร่วมกับ basal insulin
o Premixed insulin analogs
o Basal/bolus as multiple daily injection (MDI) หรือ
  Insulin pump

<< BACK   NEXT P> : P.5:Multiple Options

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด : P.3: The Challenges of Insulin Therapy

Sept.10, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วย “อินซูลิน”...
ใช่ว่าจะไม่มีความปัญหา   บ่อยครั้งที่แพทย์จะพบกับการต่อต้านจากคนไข้
โดยไม่ยอมรับการรักษาด้วย “อินซูลิน” ฉีด  เพราะมีคยไข้จำนวนหนึ่ง
ไม่เข้าใจว่า   ทำไมจึงต้องฉีดอินซูลิน ?

หลายคนไม่ต้องการรับการรักษาด้วยการฉีดยา ...
โดยมีปัจจัยด้านจิตใจหลายอยาง  เป็นต้นว่า  กลัวเข็มฉีดยา, ยากต่อการ
ปฏิบัติ  และกระทบชีวิตประจำวัน,   และอื่นๆ เป็นเหตุให้คนไข้บางรายไม่
ยอมรับการฉีดยา  ซึ่งเป็นเรืองที่คนไข้ไม่เข้าใจในความสำคัญของการรักษา
ด้วยยาฉีดอินซูบิน

สิ่งที่คนไข้โรคเบาหวานต้องเข้าใจ...
ถ้าเราไม่สามารถควยคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้  ผลเสียอันเกิด
จากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดขึ้นกับคนไข้เอง  โดยระดับน้ำตาลที่อยู่ใน
กระแสเลือดในระดับสูงนั้นแหละ  จะเป็นพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ ๆ  จนถูกทำ
ลายไป  เป็นต้นว่า  ทำให้เกิดตาบอด, สมองเสื่อม, เส้นประสาทถูกทำลาย, 
ไตวาย  และอื่น ๆ

ประเด็นที่คนไข้ต้องทราบ...คือ
เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคนไข้เอง  จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการลดระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือดของเขาให้ลงสู่เป้าหมายใหได้...โดยไม่คำนึงว่า  จะ
ต้องรักษาด้วยวิธีใด  กินยาเม้ดลดน้ำตาล หรือฉีดยาอินซูลิน  หรือทั้งกินหรือ
ฉีด  หรือฉีดอินซูลินแต่เพียงอย่างเดียว  หาไม่แล้ว  สิ่งไม่ดีทั้งหลายจะเกิด
ขึ้นกับตัวคนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว  หาใช้ของคนอื่นไม่

สำหรับแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคเบาหวาน...
มีผู้ให้การรักษาบางท่าน  ต่อต้านการรักษาด้วยวิธีการฉีด “อินซูลิน” เพราะ
เขากลัวว่าจะเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ - hypoglycemia และกังวลใจใน
เรื่องความปลอดภัยของคนไข้  จนเป็นเหตุให้คนไข้ไม่ได้รับการรักษาได้
อย่างเหมาะสม

สำหรับคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน...
การฉีดอินซูลินเพื่อหวังผลในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด  จะเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว รวมไปถึงการตัดสินใจเริ่มใช้อินซูลิน
ซึ่งไม่น่ากลัวเท่ากับภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
วิธีแก้การมีน้ำหนักเกิด...กระทำได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ

ทั้งหมดที่กล่าวมา คืออุปสรรคต่อการฉีดอินซูลิน  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลใน
คนไข้ทีเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
ซึ่งเป็นเรื่องทั้งแพทย์ และคนไข้) จะต้องเอาชนะให้ได้


<<BACK    NEXT >> P.4 : Basic Recommendations

่ท่านจะเริ่มรักษาด้วยอินซูลินเมื่อใด ? :P.1- Initiating insulin in T2DM

Sept. 10,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)...
เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง  โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง
อย่างต่อเนื่อง   สุดท้ายจะลงเอยด้วยการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน  
เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลลดลงสูระดับปกติ (euglycemia)



จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า...
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมาย  ด้วยกระบวนการเชิงรุกสามารถ
ลดความเสียงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะมียาใหม่ๆ  ถูกผลิตออกมาเพื่อการรักษาเบาหวาน
เป็นการเฉพาะก็ตาม  แต่ผู้ใช้ยาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ  
ให้เหมาะกับคนไข้แต่ละรายไป  โดยไม่มีสูตรตายตัว

มีการเสนอแนวทาง และขั้นตอนการรักษา ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้รับผิดชอบใน
การรักษา   ได้พิจารณาว่า คนเป็นโรคเบาหวานประเภทสองรายใด
ควรเริ่มต้นใช้ “อินซูลิน” และควรเริ่มใช้เมื่อใด...?

ในคนไข้ที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากๆ...
เราควรเริ่มให้ “อินซูลิน” ทันที  เพื่อลดระดับน้ำตาลลง  จะมัวอ้อยอิ่งไม่ได้
ซึ่งได้แก่คนไข้ที่มีข้อมูลดังต่อไปนี้:

 Fasting plasma glucose (FPG) levels >250 mg/dL;
 Random plasma glucose consistently >300 mg/dL;
 Glycated hemoglobin (A1C) >10%;
 Ketonuria; or
 Symptomatic diabetes with polyuria, polydipsia, and weight loss

ข้อมูลทีเสนอมานั้น  เป็นเครื่องชี้ว่า  คนไข้เป็นโรคเบาหวาน  ซึ่งไม่สามารถ

ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้
หรืออาจมาพบแพทย์  โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบมาก่อนว่า  
ตนเป็นโรคเบาหวาน

ในกรณีที่คนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล (oral medicines) 
ร่วมกันหลายตัว  ยังปรากฏว่า   ไม่สามารถลดรtดับน้ำตาลในกระแสเลือดล
งสู่เป้าหมายได้... เขาควรได้รับการพิจารณารักษาด้วยการเริ่มให้อินซูลินฉีดฃ
ทันที


NEXT >> P.2- Initiating insulin in T2DM: Therapeutic goal

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีดญ P.2: Initiating insulin in T2DM: Therapeutic goal

Sept. 10,2014
continued

ในคนเป็นโรคเบาหวาน ผู้ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล 
(oral anti-Diabetic agents) ร่วมกัน แล้วปรากฏว่าไม่สามารถลดน้ำตาล
ลงสู่เป้าหมายตามที่ต้องการได้  ควรพิจารณาเริ่มให้อินซูลินทันที

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาเม้็ดลดระดับน้ำตาล (oral medicines)
จากนั้น  คนไข้ควรได้รับตรวจเช็คระดั้บ A1C ทุก  2 – 3 เดือน 
ถ้าปรากฏว่า   เราไม่สามารถสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้  คนไข้จะได้
รับการพิจารณาเพิ่มยาเม็ดลดน้ำตาลเป็น 2 ขนานร่วมกัน  พร้อมกับทำ
การตรวจดูระดับ A1C ทุก 2 -3 เดือน  ถ้าผลปรากฏว่า เราไม่สามารถลด
ระดับน้ำตาล และ / หรือ A1C ไม่ลดลงตามเป้าหมาย...
ในกรณีเช่นนี้  เราควรต้องเพิ่มอินซูลิน  เป็นยาตัวที่สามให้แก่คนไข้

เป้าหมายของการรักษาด้วยอินซูลิน  จะเหมือนกับเป้าหมายของการรักษา
เบาหวานด้วยวิธีอย่างอื่น   นั้นคือ ลดระดับน้ำตาลสู่ระดับที่ต้องการ 
โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ hypoglycemia หรือทำให้น้ำหนักตัว
เพิ่มมากขึ้น หรือไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนไข้

ด้วยเป้าหมายตามที่กล่าว...
แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องรู้สภาพของคนไข้แต่ละรายว่า :

o คนไข้คือใคร?
o การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างไร ?
o รับประทานอาหารสม่ำเสมอหรือไม่ ? ชอบรับประทานอาหารประเภท
   ใดเป็นการพิเศษ?
o อายุมากน้อยแค่ใหน?
o รtดับความสามารถทางสมองอยุู่ระดับใด ?
o มีข้อจำกัดทางร่างกายอย่างใดหรือไม่  เป็นต้นว่า มีปัญหาด้านการเคลื่อน
   ไหว เช่น เป็นโรคไข้ข้ออักเสบ หรือโรคปวดประสาท?

เมื่อนำเอาประเด็นต่างๆ มาร่วมพิจารณาในการรักษา ย่อมทำให้เราสามารถ
เลือกวิธีที่เหมาะสมให้แก่คนไข้ได้

เป้าหมายของการรักษาก็มีความสำคัญเช่นกัน...

The American Diabetes Association (ADA) ได้แนะเป้าหมายของการ
รักษาเอาไว้ที่ A1C อยู่ที่ระดับ 7%  หรือต่ำกว่า 
ส่วน The American Association of Clinical Endocrinologists ได้กำหนด A1C 
ไว้ที่ 6.5%  หรือต่ำกว่า

เราจะเห็นว่า คำแนะนำของสองหน่วยงาน...มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นเหตุ
ให้เกิดความสับสนได้่    และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงควรกำหนดเป้าหมาย
สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเอาไว้ว่า ...
ให้ กำหนดเป้าหมาย  โดยให้ค่า  A1C  ไกล้เคียงกับค่าปกติ  โดยไม่ก่อให้เกิด
ภาวะ hypoglycemia

มีประเด็นที่ควรได้รับพิจารณา.... 
เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ด้วย A1C มีค่า  10% หรือสูงกว่า    เขาสมควรได้รับการ
รักษาด้วย insulin ทันที  เพื่อลดระดับน้ำตาลให้ลงสู่ระดับที่ต้องการ 


ข้อมูลที่ได้จากระดับน้ำตาลในช่วงอดอาหาร (fasting blood sugar),
ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postpandrial blood glucose), และระดับ A1C 
สามารถนำมาพิจารณาในการใช้อินซูลินชนิด basal insulin  หรือ หากจำเป็น อาจ
พิจารณาใช้อินซูลินร่วมกันระหว่าง basal insulin  กับ bolus insulin

สุดท้าย ดีกรีของการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ก็เป็นอีกประเด็นที่นำ
มาใช้ในการพิจารณาเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลิน


<< BACK    NEXT >> P.3: The Challenges of Insulin Therapy

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

Vitamin B-12 and Depression : What is the relation ?

Sept. 8,2014

ความจริงมีว่า...
Vitamin B-12 และ B vitamins ตัวอื่นๆ ต่างมีบทบาทสำคัญต่อการ
สร้างสารเคมีหลายตัว ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และการทำงานของสมองบาง
อย่าง   

การที่ร่างกายของคนเราขาด vitamin B-12, B vitamins ตัวอื่น ๆ 
เช่น vitamin B-6 และ folate อาจสัมพันธ์กับภาวซึมเศร้าได้

การที่ร่างกายของคนเรามีระดับ vitamins ต่ำ สามารถพบได้ในคนที่
รับประทานอาหารที่ไร้คุณภาพ  หรือเป็นเพระาการดูดซึม vitamin ไม่ดี
พอ  โดยเฉพาะพบได้ในคนสูงอายุ, พวกมังสวิรัติ  และคนที่เป็นโรค
ของลำไส้ เช่น Celiac disease, หรือ Crohn’s disease

ในกรณีที่เกิดมีความสงสัยว่า ท่านขาด  vitamin B12...
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเลือด  เพื่อดูระดับ vitamin B-12  เพื่อ
ยืนว่า ท่านอยู่ในสภาพ Vitamin Deficiency จริง

การที่จะมั่นใจได้ว่า  เราได้รับ Vitamin B-12 และ Vitamins ชนิดอื่นได้
ในในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการหรือไม่   ท่านต้องรับประทาน
อาหารที่มีคุณภาพ  ได้รับสารอาหารครบทุกหมู่  และเราทราบว่า
Vitamin B12 จะพบได้ในอาหารประเภทปลา, เนื้อสัตว์, สัตว์ปีก, ไข่
และนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมที่ไร้ไขมัน...

อย่างไรก็ตาม...
อย่าลืมว่า Vitmin B-12 ในปริมาณสูง (high doses) สามารถทำปฏิกิริยา
กับยารักษาตัวอื่นๆ ได้   ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะใช้ Vitamin B-12 เสริม 
ท่านควรปรกษาแพทย์ก่อน

โดยเฉพาะยารักษาโรคต่างๆ ตามรายการข้างล่าง  ถ้าท่านรับประทานพวก
vitamin B12 ร่วมด้วยเมื่อใด  มันสามารถทำให้ระดับไวตามินตัวดังกล่าว
ใน่างกายของท่านลดลงได้  เช่น:

o Anticonvulsants เช่น Dilantoin, phonbarbital,primidone
o Chemotherapy medication เช่น methotrexate
o Colchicine รักษาโรคเก้าท์
o Bile acid sequestrants สำหรับลดไขมันในเลือด
o H2 blockers ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น Tagamet,
o cimetidine
o Metformin รักษาโรคเบาหวาน
o Proton pump และ
o Antibiotic เช่น tetracycline ไม่ควรใช้ร่วมกับ vitamin B12
เพราะจะทำให้การดูดซึมของ B12 เสียไป

www.mayoclinic.org
www.umm.edu

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.4): Bolus insulin dose:

Aug. 25, 23014

• 50 – 60 % ของ total insulin dose จะใช้ทำหน้าที่จัดการกับ

“คาร์โบฮัยเดรต” (อาหาร) และใช้แก้ไข (correction) น้ำตาลใน
กระแสเลือดที่สูงขึ้น...Insulin ที่ทำหน้าที่นี้ เรียก
bolus insulin replacement

Bolus insulin เป็นอินซูลินที่ทำหน้าที่จัดการกับ “คาร์โบฮัยเดรต” ซึ่งได้จาก

อาหารที่เรารับประทาน โดยการคำนวณจากค่า Insulin-to-Carbohydrate ratio
(I – to –C ratio)   ซึ่งหมายถึง “คาร์โบฮัเดรต” เป็นจำนวณกรัม ที่ถูกจัดการ
โดยอินซูลิน 1 unit

โดยทั่วไป อินซูลิน 1 unit จะจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตจำนวน 12 – 15 กรัม

โดยมีค่าเฉลี่ย 4 – 40 กรัม   โดยขึ้นกับความไว (sensitivity) ของคนไข้แต่ละ
รายที่มีต่ออินซูลิน  ซึ่งความไวของอินซูลินมีความแตกต่างกันตามเวลาของ
แต่ละวัน, จากคนสู่คน, และสามารถกระทบโดยกิจกรรม และความเครียด

โดยทั่วไป  เพื่อจัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงขึ้น...

1 unit of insulin สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ 50 mg/dL
( มีค่าเฉลี่ย 15 – 100 mg/dL หรือมากกว่า โดยขึ้นกับความไวต่ออินซูลิน
และปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่น

ตัวอย่าง

การการคำนวณค่า “อินซูลิน” ที่ต้องใช้เพื่อจัดการกับ คาร์โบฮัยเดรต ที่เรารับ
ประทาน (corbohydrate coverage), ขนาดของอินซูลินที่ใช้เพื่อแก้ไขระดับ
น้ำตาลที่สูงขึ้น (for high blood sugar correction), และปริมาณของอินซูลิน
ที่ต้องใช้ทั้งโดยรวม (toltal mealtime insulin dose)

ตวอย่างที่ 1

สมมุติ ท่านต้องการรับประทาน”คาร์โบฮัยเดรต” 60 กรัม ในอาหารกลางวัน

จำนวนอินซูลินที่ต้องใช้ (insulin dose) :

CHO ratio = 1 : 10 (อินซุลิน 1 units สามารถจัดการกับ CHO ได้ 10 กรัม)

จากสูตรที่ได้ ท่านจะต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการ (cover) คาร์โบฮัยเดรตได้

60 ÷ 10 = 6 units

ตัวอย่างที่ 2:

ใช้อินซูลิน เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high blood sugar correction dose)

ขนาดของอินซูลินที่ต้องการใช้เพื่อแก้ไข้ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากระดับปกติ

กระทำได้โดยใช้สูตร:

(ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น – ระดับน้ำตาลระดับปกติในกระแสเลือด) ÷ correction

Factor

(correction factor = หมายถึงอินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับ “คาริ์โบฮัย

เดรต” ได้ 50 กรัม

สมมุติระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น คือ 220 mg/dL และระดับน้ำตาลที่ต้อการให้ลด

ลง คือ 120 mg/dL

จากสูตรที่ได้ เราสามารถคำนวณหาค่า “อินซูลิน” เพื่อใช้จัดการกับระดับน้ำตาล

ที่เพิ่มขึ้นได้จากสูตร:

Correction dose = Difference between actual and target blood glucose (100mg/dl)

÷ correction factor

(220 – 120) ÷ 50 = 2 units


นั้นหมายความมว่า เพื่อจดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (220 mg/dL) ให้ลดลง

สู่ระดับเป้าหมาย (120 mg/dL) เราต้องใช้อินซูลิน 2 units

ตัวอย่างที่ 3: Total mealtime insulin dose

Total mealtime insuline dose จะมีค่า = อินซูลินสำหรับ carbohydrate
Coverage + อินซูลินที่ใช้เพื่อ high sugar correction dose

ค่าที่ได้จากตัวอย่างที่ 1 & 2 ...

Total mealtime insulin dose = 6 + 2 units of rapid insulin ซึ่งทำหน้าที่
เป็น bolus insulin dose

<<BACK

http://dtc.ucsf.edu

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.2): Basal/background insulin dose:


Aug. 25, 2014

• ประมาณ 40 – 50 % ของ  total daily insulin dose จะถูกนำไป

ใช้แทนปริมาณ “อินซูลิน” ในช่วงกลางคืน (insulin overnight),
และถูกใช้ในตอรนกลางวันในขณะทีท่านท้องว่างระหว่างช่วงเวลา
รับประทานอาหาร...เรียก “อินซูลิน” ที่ทำหน้าที่นี้ว่า background
หรือ basal insulin replacement  ซึ่งมีระดับคงที่ทุกวัน

• ส่วนที่เหลือ  50 – 60 %  ของ total insulin dose จะใชhทำหน้าที่จัด
การกับ “คาร์โบฮัยเดรต” (อาหาร)  และใช้แก้ไข (correction) น้ำ
ตาลในกระแสเลือดที่สูงขึ้น... Insulin ที่ทำหน้าที่นี้   เรียก  bolus 
insulin replacement

Basal/background insulin dose:


เราสามารถคำนวณหาค่าของขนาดอินซูลินที่ใช้เพื่อทำหน้าที่เป็น

Basal insulin ได้ดังนี้:

1. สมมุติท่านมีน้ำหนัก 160 ปอนด์

2. ท่านสามารถคำนวนหาค่า total daily insulin requirement ได้
= 140 ÷ 4 = 40 units of insulin/day

จากตัวอย่าง...

Basal/background insulin dose
= 50 % of TDI (40 units) = 20 units โดยเป็นอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
(long acting insulin) เช่น insulin glargine หรือ detemir หรือท่านอาจ
เป็น rapid acting insulin ถ้าท่านต้องใช้ insulin pump... เป็นการให้อินซูลิน
ทางใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้ infusion pump


<< BACK     NEXT >> P.3: The carbohydate coverage ratio:

เรื่องที่เกี่ยวกับกับการรักษาด้วยอินซูลิน (P.1): Total Daily Insulin Requirement

Aug. 25, 2014

การใช้อินซูลินเพื่อรักษา จัดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
ประเภท 1 และประเภท 2 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำให้น้ำตาลในกระแสเลือด
คงอยู่ในระดับปกติ โดยการการฉีดเข้าสู่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง

การที่แพทย์จะใช้อินซูลินชนิดใด ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า
ช่นิดของโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด รวมไปถึงวิถีชีวิต
ของคนที่เป็นโรคเบาหวานเอง

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูน มีหลายอย่างที่เราควรทำ
ความรู้จัก:

Total Daily Insulin Requiremen (TDI) :
หลักเกณฑ์ในการคำนวนหาค่าของปริมาณ "อินซูลิน" ที่ร่างกายจำเป็น
ต้องใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดตลอดทั้งวัน และ
ตลอดคืน (total insulin requirement) ...มีสูตรให้คำนวณหาค่าดังนี้:

Total daily Insulin Requirement (units of insulin)
จะมีค่า = น้ำหนักตัวเป็นปอนด์ หารด้วย 4

หรือถ้าวัดน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ให้ใช้สูตรา-
Total daily Insulin Requirement
จะมีค่า = 0.55 x น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

ยกตัวอย่าง 1:

Ø ถ้าท่านมีน้ำหนักตัววัดเป็นปอนด์ สมมุติได้ 160 ปอนด์
ค่า Total daily insulin requirement ของท่านจะมีค่า
= 160 ÷ 4 = 40 units of insulin / day

หรือ...
ตัวอย่างที่ 2:

Ø ถ้าท่านมีน้ำหนักตัววัดได้  70 kg body weight
ท่านจำเป็นต้องไดรับ  total daily insulin requirement
= 0.55 x 70 = 38.5 units of insulin /day

ในกรณีที่ร่างกายของท่านไม่ตอบสนองต่อ “อินซูลิน” อย่างสูง (very
Resistant to insulin) ท่านอาจจำต้องได้รับปริมาณ “อินซูลิน” เพิ่มขึ้น
และในทางตรงข้าม หากท่านมีความไวต่ออินซูลิน ท่านอาจจำเป็น
ต้องลดขนาดอินซูลินลง


<< NEXT : P. 2: Basal/background insulin dose:


เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.4: Basal – Bolus insulin therapy

Aug. 23, 2014

คำถามมีว่า...
Basal – Bolus insulin Therapy คืออะไร ?

โดยปกติ...
ในคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ในร่างกายมีฮอร์โมนขือ “อินซูลิน” มีหน้า
ในการควบคุมระดับน้ำตาลโดย:

 ร่างกาย (เซลล์ืของตับอ่อน) จะทำหน้าทีสร้าง และปล่อยอินซูลินออกมา
ในระดับคงที่ (ตลอดวัน และคืน)  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในช่วงเวลา
ระหว่างรับประทานอาหาร และระหว่างนอนหลับ

 ร่างกายจะปล่อยอินซูลินออกมาในปริมาณเพิ่มขึ้น  เพื่อช่วยควบคุมระดับ
น้ำตาลที่ได้จากอาหาร

ในการรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภ่ท 2  การให้อินซูลินอาจช่วยควบคุม
ระดับน้ำตาลในสองทิศทาง:

 ประการแรก:  การให้อินซูลิน เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมระดับน้ำตาลใน
ช่วงเวลาระหว่างการรับประทาอาหาร และระหว่างการนอนกลับ  เราเรียก
อินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสลเลือดช่วงดังกล่าวว่า  Basal  หรือ
background insulin (long acting insulin)

 ประการที่สอง: การให้อินซูลิน  เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการ
กินอาหาร เราเรียก bolus insulin ....

Go. to.... : www.aafp.0rg

ในกรณีที่เราต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในกรtแสเลือดที่มากกว่าปกติ  แพทย์
อาจแนะนำให้ท่านได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า   basal-bolus therapy 
บางทีเราเรียกว่าIntensive insulin therapy ซึ่งนอกจากจะใช้อินซูลินควบคุม
ระดับน้ำตางในขณะทัองว่างทั้งกลางวัน และกลางคืน (basal) แล้ว  ยังให้
อินซูลิน (Bolus insulin) เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารด้วย

การรักษาด้วยวิธี basal-bolus therapy มักจะใช้ในรายที่เป็นเบาหวานประเภท 1
หรือเบาหวานประเภท 2 ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น และเพื่อความ
ปลอดภัยจากการเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglyxemia)  ควรทำการตรวจระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือด... ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ จะพบว่า basal-bolus therapy จะ
มีลักษณะคล้ายกับธรรมชาติของการควบคุมระดับน้ำตาล

นการวางแผนการรักษาด้วยวิธี basal-bolus therapy:
นอกจากจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านอาหารการกิน และการออกกำลังกาย
การรักษาด้วย basal-bolus therapy จะประกอบด้วยการใช้ Long-acting basal insulin
รวมกับการใช้ short-actingbolus insulin (Novolog®) ในขณะรับประทานอาหาร
(mealtime) 1 – 3 ครั้งต่อวัน

และ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามต้องการท่านต้อง...

 ตรวจระดับน้ำตาลบ่อยครั้ง
 รับประทานอาหาร และออกกำลังกายตามแผนที่กำหนด
 ติดต่อทีมผู้ให้การรักษาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ

<< BACK P.3: Augmentation insulin therapy

http://www.novolog.com/novolog/whencontrol.aspx
http://www.localhealth.com/article/how-does-insulin-control-diabetes

เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.3: Augmentation Insulin Therapy

Aug. 23, 2014

How does Insulin Control Type 2 Diabetes?

ถ้าสมมุติท่านเป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
ตับอ่อนของท่านยังคงสามารถทำงานได้ และยังสามารถผลิต “อินซูลิน” ได้
ในปริมาณมากพอกับความต้องการ นอกจากนั้น เซลล์ของร่างกายยังไม่ตอบ
สนองต่ออินซูลินได้อีกด้วย  ซึ่งหมายความว่า ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาล
ในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2...
ส่วนใหญ่ท่านจะได้รับการรักษา  ด้วยการเริ่มต้นด้วยการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล 
(oral medicines)  เมื่อเวลาผ่านไปจะพบว่า  ยาเม็ดลดน้ำตาลจะสูญเสีย
ประสิทธิภาพในการทำงานไป...  ในกรณีเช่นนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ท่านเพิ่ม
ยาฉีดที่เป็น “อินซูลิน” ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลให้แก่ท่าน

การเพิ่ม “อินซูลิน” ให้กับท่านร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลเช่นนี้   เราเรียกว่า
“Augmentation Insulin Therapy”

ถ้าการรักษาด้วยวิธี Augmentation Insulin Therapy ไม่สามารถควบคุมระดับ
น้ำตาลได้   แพทย์อาจทำการเปลี่ยนวิธีการรักษา  ด้วยการเพิ่มยาฉีดอินซูลินให้
แก่ท่าน  เรียกว่า  เป็น Replacement insulin Therapy  หรืออาจใช้อินซุูลินเพียง
อย่างเดียว

มีคนไข้บางคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 แทนที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธี
Augmentation insulin therapy   แต่เริ่มให้การรักษาด้วย replacement insulin
therapy ทันที เช่น ในรายที่มาพบแพทย์ด้วยการตรวจพบว่า ระดับ HbA1c มี
ค่าสูงกว่า 9 %  ...

<< BACK    NEXT  >> P. 4 : Basal-bolus therapy

http://www.localhealth.com/article/how-does-insulin-control-diabetes

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.2: Replacement insulin therapy

Aug. 23, 2014



ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานประเภท 1...
เราจพบว่า “เบต้า เซลล์” ซึี่งเป็นสว่นหนึ่งของตับอ่อน  จะทำหน้าที่
สร้างฮอร์โมน  ขือ "อินซูลิน"  ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง
เป็นเหตุให้เซลล์ดังกล่าว ไม่สามารถสร้างอินซูนขึ้นได้
ยังผลให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโกสในกระแสเล่ือดให้เป็น
พลังงานได้

เมื่อไม่มีอินซูลิน  เซลลืไม่สามารถทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้  เป็นเหตุ
ให้มีนำ้ตาลตกค้างอยู่ในกระแสโลหิต  ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบว่า
เป็นโรคเบาหวาน

เพื่อให้ร่างกายสามารถมีชิวิตอยู่ได้  หรือขับเคลื่อนไปได้เหมือนเครือง
จักรที่ต้องอาศับน้ำมันเชือเพลง  เราจำเป็นต้องใช้ "อินซูลิน"
เพื่อทดแทนส่วนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ  และวิธีการใช้
อินซูลินในลกัษณะนี้  เราเรียกว่า Replacement insulin therapy



<< BACK   NEXT >> Augmentation insulin Therapy\

เมื่อท่านต้องใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน: P.1 How Does Insulin Control Diabetes?

Aug. 23,2014

การที่คนเรายังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้....
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฮอร์โมน ชือ “อินซูลิน” นั้นเอง  
หากเราไม่มีสารดังกล่าว (อินซูลิน) ร่างกายเราก้ไม่สามารถใช้นำ้ตาลกลูโกส
ที่อยู่ในกระแสเลือดให้เป็นพลังงาน  เพื่อให้กายของเราสามารถขับเคลื่อนได้
หากจะเปรียบ  ก็คงเหมือนเครื่องยนต์กลไกลทั้งหลาย  ทีีไม่สามารถใช้พลัง
เชื้อเพลิงได้


ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร...
ร่างกายของเราจะปล่อยฮอร์โมน “อินซูลิน” สู่กระแสเลือด โดยมันจะทำหน้า
ที่เสมือนยาม หรือนายประตู ซึ่งมันจะทำหน้าที่บอกเซลล์ภายในการยองเรา 
ให้เปิดประตูให้น้ำตาลกลูโกสเข้าสู่เซลล์   เพื่อใช้เป็นพลังงานกันต่อไป

นอกจากนั้น อินซูลิน ยังทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับ ปกติ 
โดยการเอาเอาน้ำตาลส่วนเกินออกจากกระแสเลือด  และเมื่อใดก็ตามที่ท่าน
เป็นโรคเบาหวาน  นั้นหมายความว่า  ร่างกายของท่านไม่สามารถสร้างอินซูลิน
ได้มากพอที่จะทำงานได้ตามปกติ  หรือเซลล์ในร่างกายของท่านไม่ตอบสนอง
ต่ออินซูลิน  อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือทั้งสงอย่างร่วมกัน

>> NEXT : Replacement therapy

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อต้องเริ่มให้อินซูลิน... (Initiation of Insulin) P.4 : Premixed insulin Added to oral antihyperglycemic agents

Aug.22, 2014


เรามีอินซูลินที่มีส่วนผสมของสองชนิด (premixed insulin) ได้แก่
Human® 30/70, Novolin®30/70, Humalog® Mix 25
or Humalog® Mix 50, NovoMix® 30,) ซึ่งใช้ร่วมกับยาเม็ดลดระดับ
น้ำตาลในเลือด โดยมีการใช้ยาดังต่อไปนี้:

 มีการแนะนำให้เริ่ม (premixed insulin) ด้วยขนาด 5 – 10 units
โดยให้วันละหนึ่ง หรือวันละสองครั้ง (ก่อนอาหารเช้า และ/หรือให้ก่อน
อาหารมื้อเย็น)

 แนะนำให้ปรับเพี่มขนาดยา premixed insulin ทีละ 1 – 2 units
โดยทำการเพิ่มในตอนก่อนอาหารเช้า  และ/หรือก่อนอาหารเย็น

BG reading.

 การให้ premixed insulin ก่อนอาหารเช้า มีเป้าหมายเพื่อให้ระดับ
น้ำตาลในเลือดตอนก่อนอาหารเย็น (presupper BG) อยู่ที่ 4.0 – 7.0 mmol/L 
หรือ 72 – 126 mg/dL

 การให้ Presupper premixed insulin มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ระดับน้ำตาล
ตามเป้าหมาย -  4.0 -7.0 mmol/L หรือ  72 – 126 mg/dL

 ในการให้ Humalog®Mix25 หรือ NovoMix®30 premixed Insulin ควร
ให้ทันทีหลังรั[ประทานอาหาร

 ในการรักษาด้วย  premixed insulin... เมื่อสามารถทำให้ระดับน้ำตาล
ลดสู่ระดับเป้าหมายแล้ว  ควรยุติการปรับเพิ่มขนาดของยา แต่หากปรากฏว่า 
ยังไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้า...ให้ปรับเพิ่มขนาดของ premixed 
insulin ตามความเหมาะสม  เพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลตามเป้า

 เพื่อความปลอดภัย การปรับเพิ่มขนาดอินซูลิน ควรทำการตรวจดูระดับ
น้ำตาลในเลือดด้วยตัวของท่านเอง อย่างน้อยสองครั้ง / วัน

 ไม่ควรปรับเพิ่มอินซูลิน เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลตก (hypoglycemia)
สองครั้ง หรือมากกว่า (BG <4 mmol/ศ หรือ 4x18 mg/dL) หรือ
เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคือน nocturnal hypoglycemia)

 ยาเม็ดลดน้ำตาล antihyperglcemic agents โดยเฉพาะพวกที่ใช้
กระตุ้นให้มีอินซูลินเพิ่ม เช่น glipiside, gibenclamide ควรลด หรือ
เลิกใช้เสียเลยเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia)



<< BACK


http://guidelines.diabetes.ca/Browse/Appendices/Appendix3

เมื่อต้องเริ่มให้ "อินซูลิน" แก่คนไข้... P. 3 (Initiation of Insulin) : Basal –Bolus Insulin therapy

Aug.22, 2014

ตัวอย่างการให้อินซูลินแบบที่ 3:
Basal-Bolus Insulin - Intensive insulin therapy

Basal-Bolus insulin- Intensive insulin therapy เป็นการรักษาเบาหวานกัน
อย่างใกล้ชิด  ซึ่งนอกจากจะให้อินซูลิน cover ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว  ยังต่องให้อินซูลินเพื่อจัดการกับอาหาร ที่รับประทาน
ในแต่ละมือด้วย   ซึ่งกระทำได้ดังนี้:

 คำนวณปริมาณของอินซูลินที่ร่างกายจำเป็นต้องการใช้ต่อวัน โดยใช้สูตร
0.3 – 0.5 units/kg จากนั้นแบ่งเป็น

- 40% ของยาที่คำนวณได้ (total insulin dose) ให้เป็นอินซูลินที่ต้อง
ทำหน้าที่เป็น basal insulin ซึ่งได้แก่อินซูลินต่อไปนี้ – Humulin® -N
เป็น intermediate-acting insulin หรือให้ Lantus®, Levemir® ซึ่งเป็น
Long-acting insulin

-20% ของอินซูลินส่วนที่เหลือ เป็นอินซูลินที่ทำหน้าที่เป็น bolus insulin
ซึ่งให้ทำหน้าที่ cover อาหารที่รับประทาน 3 ครั้งต่อวัน โดยใช้ rapid-
Acting insulin (Apidra®,Humalog®,NovoRapid®) หรืออาจให้
Short-acting insulin เช่น Humalin®, Novolin®



<<BACK    NEXT>> P.4:  continued

เมื่อต้องการเริ่มให้ "อินซูลิน" แก่คนไข้ (Initiation of Insulin) P. 2: Basal plus strategy

Aug.22, 2014

การเริ่มใช้อินซูลินแบบที่ 2 : Basal plus Strategy:
เป็นการเพิ่ม bolus insulin ระหว่างอาหาร โดยให้วันละครั้ง เช่นให้
Apidra®, Humalog®, NovoRapid®) โดยมีหลักการดังนี้:

o เมื่อจำเป็นต้องได้รับผลจากการรักษาเร็วขึ้น... ให้เริ่มฉีดอินซูลินในมื้อ
อาหารหลัก (main meal) หรือให้ตอนรับอาหารเช้า (breakfast)

o โดยเริ่มให้อินซูลินในขนาด 2 – 4 units พร้อมกับสอนคนไข้ให้สามารถ
ปรับปริมาณ (dose) ของยาด้วยตนเองได้  หรือปรับโดยผู้ดูแลรักษา (HCP)

o และเพื่อความปลอดภัยในการเพิ่มปริมาณ (dose) ของอินซูลิน ควรทำ
การตรวจดูระดับของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนให้ยาฉีด  ต่อจากนั้น ให้เพิ่ม
ปริมาณยา  1 unit ต่อวัน   หรือให้เพิ่มตามเป้าหมายโดยให้มีระดับน้ำตาล
อยู่ที่....

- 2 ชั่วโมงหลังอาหาร...ระดับน้ำตาล 10.0 mmol/L (180mg/dl)
-  ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร (premeal glucose)มีค่า 4.0 – 7.0 mmol/l

o ในระหว่างการรักษา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับประทานอาหารปหระเภท
คาร์โบฮัยเดรต ในระดับคงที่   และในกรณีมีภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ
(hypoglycemia) เกิดในตอนกลางวัน   อาจต้องลด หรือหยุดการให้ยากลุ่ม
Secretogogue (ยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นตับอ่อนให้เพิ่มปริมาณอินซูลิน)



<<BACK     NEXT>> P.3: continued

เมื่อต้องเริ่มใช้ "อินซูลิน" แ่กคนไข้ (Initiation of Insulin) P.1

Aug.22, 2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
สิ่งหนึ่งที่เราพบเป็นประจำ  คือ เมื่อแพทญืบอกว่า  ถึงเวลาที่ต้องรักษา
ด้วยการฉีดยาเมื่อใด....ส่วนหนึ่งไม่ยอมที่จะฉีด

ก่อนที่จะได้รับการรักษาด้วยการฉีด “อินซูลิน” คนไข้ทุกราย
จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์  หรือพยาบาลจนสามารถรู้ได้ว่า  ทำไม
จึงต้องฉีด   และได้รับการเรียนรู้ ภาวะน้ำตาลลดต่ำ  พร้อมกับรู้วิธีป้องกัน
อันตรายอันเกิดจากภาวะดังกล่าวได้

นอกจากนั้น  เขายังได้รับการเรียนรู้อีกว่า  เหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนชนิด
ของอินซูลิน หรือรู้เวลาของการฉีดยา  และรู้ด้วยว่า ผลของการรักษาไม่
บรรลุเป้าหมายตามที่คาดเอาไว้  และรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรต่อไป

ตัวอย่างของการรักษาด้วยการใช้ “อินซูลินฉีด”
ตัวอย่างที่ 1:

ารสั่งให้ใช้ Basal insulin (Humanin –N, Lantus®, Levemir®)
เพื่อเสริมกับยาเม็ดลดน้ำตาล (oral antihypeglycemic agents)

ในการให้อินซูลิน มีเป้าหมายดังต่อไปนี้:

 อินซูลิน (basal) ที่ใช้ควรต้องค่อยๆ เพิ่มปริมาณที่ละน้อย (titrate) เพื่อให้
ได้ระดับของน้ำตาลขณะอดอาหาร (fasting BG) มีค่าอยู่ระหว่าง 4.0 – 7.0 mmol/L 
( 72 – 108 mg/dL)

(เราสามารถคำนวณค่า mg/dL จากค่า mmol/L = 18xmmol/L)

 เราสามารถสอนให้คนไข้โรคเบาหวาน สามารถปรับเพิ่มขนาดของ
ยาได้ด้วยตนเอง หรือทำการปรับร่วมกับพยาบาลผู้ดูแลการรักษา

 เริ่มต้น เราแนะนำให้เริ่มฉีดเบซอลอินซูลิน  10 units /วัน ก่อนนอน
โดยแนะนำให้เพิ่มขนาดของอินซูลิน ครั้งละ 1 unit /วัน จนกว่าระดับของน้ำตาล
จะลดลงสู่ระดับที่ตั้งเอาไว้

o สำหรับคนสูงอายุ ควรปรับขนาดยา (titration) อย่างช้า ๆ ด้วยอินซูลินขนาด
(dose) ต่ำ ๆ โดยมีเป้า (targets) ที่ "สูง" กว่าคนหนุ่ม

o ในการปรับขนาดของยาฉีดด้วยตนเองตามที่กล่าว   คนไข้ควรทำการตรวจ
ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างน้อยวันละครั้ง

o ในระหว่างการรักษาด้วยยาฉีด (อินซูลิน) หากเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ
(BG< 4.0 mmol/L)  โดยเกิดขึ้นสองครั้งภายในหนึ่งอาทิตย์   หรือเกิดภาวะน้ำ
าลในเลือดตกในตอนกลางคืน (nocturanal hypoglycemia) ไม่ควรปรับเพิ่ม
ปริมาณของอินซูลินเป็นอันขาด...

o ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่างมีค่า < 5.5 mmol/L หรือ 5.5x18 mg/dL 
ให้พิจารณาปรับ "ลด" ขนาดอินซูลิน 1 – 2 units เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะ
น้ำตาลตกในตอนกลางคืน (nocturnal hypoglyemia)

o ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia) ควรหยุดยาเม็ด
ลดระดับน้ำตาล (oral medications) ในตอนกลางวัน โดยเฉพาะกลุ่มยาที่เพิ่ม
การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เช่น glipizide, glibenclamide เป็นต้น


<< NEXT : P.2 : continued

ในระหว่างการรักษาโรคเบาหวาน P.2: Why Is My Blood Glucose High?

Aug. 20, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวาน...
เราจะพบว่า ระดับของ HbA1c โดยเฉลี่ย จะเป็นข้อขี้บ่งให้เราได้ทราบว่า 
เราได้รับการรักษาโรคเบาหวานได้ดีแค่ใหน โดยเราไม่ต้องทำการ
ตรวจค่ำ HbA1c ดังกล่าวในแต่ละวันเลย

การเจาะเลือดปลายน้ำตรวจหาระดับน้ำตาล (Finger-stick tests) สามารถ
ตรวจดูว่า น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้เร็วกว่าที่ควรจะเป็น

ส่วน HbA1c test เป็นการตรวจวัดดูปริมาณของน้ำตาลที่เกาะตัวบน ฮีโมโกลบิน
ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำให้เลือดมีสีแดง เป็นโปรตีนทำหน้าที่นำพาเอา
ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อระดับของน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง จะทำให้ระดับของ HbA1c สูงขึ้นด้วย
เช่นกัน และเนื่องจาก “ฮีโมโกลบิน” ไหลเวียนในกระแสเลือดจนกว่ามัน
เม็ดเลือดแดงจะตายไป...   ครึ่งหนึ่งของเม็ดเลือดแดงจะถูกแทนที่ในทุกๆ
120 วัน ดังนั้น การตรวจ HbA1c จึงเป็นการตรวจหาระดับน้ำตาลที่ปรากฏ
ในกระแสเลือดในช่วงเวลา 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา

The American Diabetes Association (ADA) ได้แนะนำให้รักษาเบาหวาน
โดยตั้งเป้าระดับ  HbA1c ให้ต่ำกว่า 7 % ซึ่งจะค่าเทียบเท่ากับ ระดับน้ำตาล
170 mg/dL โดยเฉลี่ย หรือต่ำกว่า

ในการรักษาโรคเบาหวาน...
แพทย์แต่ละนายอาจมีเป้าหมายของ HbA1c ที่แตกต่างกัน โดยขึ้นกับอายุ,
น้ำหนักตัว, และปัจจัยอื่น ๆ ของคนไข้

โดยทั้วไป เรามักจะสั่งให้มีการตรวจดูระดับ HbA1c ทุก 3 เดือน เพื่อตรวจ
ดูว่า เราสามารถรักษาระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายหรือไม่?

โดยสรุป...
โดยธรรมชาติ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนเราจะขึ้นๆ ลงๆ 
บางครั้งเราไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมมันเป็นเช่นนั้น

ในการรักษาโรคเบาหวาน ไม่ว่าท่านจะพยายามมากแค่ใหน ระดับของ
น้ำตาลที่ตรวจได้ไม่จำเป็นต้องปกติทุกครั้งไป ตราบใดที่ระดับน้ำตาลไม่
สูงเกินไป ก็ถือได้ว่า ท่านอยู่ในสภาพที่ใช้ได้แล้ว...

<<BACK


www.johnshopkinshealthalerts.com

ในระหว่างการรักษาโรคเบาหวาน P. 1 : Why Is My Blood Glucose High?

Aug. 20, 2014

ในขณะที่คนเป็นโรคเบาหวาน ได้รับการรักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาล
ให้อยู่ในระดับปกตินั้น ปรากฏว่า มีคนไข้บางคนไม่สามารถควบคุมระดับ
นำ้ตาลในกระแสเลือดของเขาได้

คำถามมีว่า ทำไมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของเขาจึงสูงขึ้น ข้อมูลต่อไป
นี้อาจทำให้ท่านเข้าใจได้

โดยธรรมชาติแล้ว...
ระดับของเลือดในกระแสเลือดจะขึ้นๆ ลง ๆ ดังนั้นเราจึงไม่เหตุผลที่จะต้อง
กังวลเมื่อพบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล...
จากข้อทเ็จจริงดังกล่าว  อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง  ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในกระ
แสเลือดขึ้นลงได้

ในเรื่องเครื่องดื่ม และอาหารว่างก็เช่นกัน  สามารถทำให้ระดับน้ำตาลใน
กระแสเลือดขึ้สูงได้  เป็นต้นว่า ท เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลายที่เราดืมกัน ก้
ปรากฏว่ามีระดับน้ำตาล และสารคาเฟอินมากกว่าที่เราคิด
ส่วนขนมอบ  เช่น Bagel ก็ปรากฏว่า มีคาร์โบฮัยเดรตสูงเช่นกัน  
เครื่องดื่ม แลอาหาารเหล่านี้  หากไม่ระมัดระวัง  อาจทำให้ระดับน้ำตาลของ
ท่านขึ้นสุงได้

ความเครียด (stress) ความไม่สบาย (illness) ต่างเป็นต้นเหตุทำให้ระดับน้ำ
ตาลในกระแสลเลือดของท่านสูงในระยะสั้น ๆ ได้

สาร steroid ก็เช่นกัน...
เช่น การฉีดสาร cortisone เข้าข้อ  หรือฉีดเข้าบริเวณไหล่ สามารถทำให้
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านขึ้นสูงได้

นั้นคือบางตัวอย่าง  ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลของเราสูงขึ้น



NEXT >>

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลดน้ำหนัก หรือออกกำลังกาย... อย่างไหนดีกว่า... ?


Aug. 18, 2014

การควบอาหาร และการออกกำลังต่างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับป้องกัน
โรคเบาหวานประเภท 2 วิธีการทั้งสองจะเหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวาน เช่น ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes),
ความอ้วน (obesity), คนที่มีสมาชิคในครอบครัวเป็นเบาหวน, คนที่เป็น
เบาหวานในขณะตั้งครรภ์, และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
ได้แก่คนที่มีเชื้อฃาติเป็น คนผิวดำ, ชาวสะเปน, คนเอเชีย, หรือ
คนเชื้อชาติเดิมของอะมริกัน เป็นต้น
Go to.... www.caitlinreid.com.au

นอกจากนั้น  เรายังพบอีกว่า
ในกลุ่มคนที่มีน้ำตัวมากเกิน และไม่ได้ออกกำลังเท่าที่ควร...
โดยทั้งสองกลุ่ม  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท  2 
ซึ่งได้รับการยืนยันจากผลการศึกษาในวารสาร  ชื่อ Diabetes Care
 (Volume 30, page 53)   โดยเขาได้แนะนำว่า การลดน้ำหนักตัว น่าจะมี
ความสำคัญต่อการป้องกันไม่เกิดโรคเบาหวานได้  

ข้อมูลที่ได้เป็นผลที่ได้จากการศึกษาโดย Harvard Nurses Study  มีผู้เข้า
ร่วมโครงการเป็นสตรีจำนวน 69,000 ราย  ทุกคนไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน,
ไม่มีโรคหัวใจ, ไม่มีโรคมะเร็ง  ซึ่งได้รับการติดตามผลเป็นเวลานาน 16 ปี
ผลปรากฎว่า  มีสตรีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 4,030 ราย

ภายหลังจากมีการปรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเกิดโรค 
เป็นต้นว่า อายุ, การสูบบุหรี่, ปัจจัยเสี่ยงด้านอื่น ๆ ของการเกิดโรคเบาหวาน,
รอบเอวเพิ่ม และดัชนีมวลกายเพื่มแล้ว ปรากฏว่า:

สตรีที่จัดว่าเป็นคนอ้วน เมื่อดัชนีมวลกาย (body mass index) =  40 พบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานถึง 28 เท่าของคนปกติ หรือคนผอม 

ผลจากการวิจัยยังพบว่า  การออกกำลังกายไม่ใช้เรื่องสำคัญเท่าใด  โดยเรา
พบว่า  ถ้าเขาเป็นคนอ้วนที่ออกกำลังกาย 20 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์  ยังพบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ถึง 11 เท่าของคนผอม

จากข้อมูลที่นำเสนอ อาจทำให้บางคนเลิกใส่ใจในเรื่องการออกกำลังกาย
ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่า การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก จะต้องไป
ด้วยกันเสมอ แม้ว่าการออกกลังกายจะไม่มากพอที่จะลดน้ำหนักก็ตาม..
และการระมัดระวังในเรื่องอาหารก็มีความสำคัญพอๆ กับ
การออกกำลังกาย


Go to.   www.lifehacker.com



วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการตรวจ HbA1c ในเลือด : HbA1C blood Test for Diagnosis of Diabetes P.2

Aug. 17, 2014

Continued...

มีการตรวจเลือดอย่างน้อย 3 วิธี ซึ่งถูกนำมาใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน
ซึ่งได้แก่ casual plasma (blood) sugar, Fasting Blood sugar (FPG) 
และ oral glucose rolerance (OGTT)

จากสถิตของสหรัฐฯ...
มีประมาณ 6 ล้านคนเป็นโรคเบาหวานโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ว่า เขาเป็นโรคดัง
กล่าว และหนึ่งในสี่ของคนเป็นโรคเบาหวาน จะมาพบแพทย์ด้วยภาวะ
แทรกซ้อนในขณะที่ได้รับการวินิจฉัยโรค

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ทำให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจาก Johns Hopkins...ได้
ลงความเห็นว่า  การใช้ HbA1c  เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน  น่าจะเป็นวิธีที่
มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

HbA1c เป็นการตรวจเพื่อวัดปราณของน้ำตาล glucose ที่จับตัวในส่วนที่
เป็นสาร “ฮีโมโกลบิน” โดยปรากฏในเม็ดเลือดแดงในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินผลของการควบคุมระดับน้ำตาล

การตรวจเลือด ซึ่งเคยใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน อันได้แก่ FPG และ OGTT
นั้น ปรากฏว่ามีความข้อผิดพลาดต่อวินิจฉัยบางอย่าง เป็นต้นว่า  คนไข้จะ
ต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  ซึ่งกระทำได้ยาก  นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า
คนไข้บางคนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะสั้นของคนไข้เพื่อหวังผลให้
ระดับน้ำตาลลดต่ำ  เช่น การกินอาหาร  และออกกำลังกายทำการตรวจ
ซึ่งอาจเป็นเหตุทำให้ผลของการตรวจไม่ถูกต้อง

ส่วนการตรวจ HbA1c สามารถตรวจเมื่อใดก็ได้ และผลที่ได้เป็นการบอก
ให้ทราบถึงผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะ2-3 เดือนที่ผ่านมา
จากความจริงดังกล่าว และรวมถึงปัจจัยอย่างอื่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีความ
เห้นว่า การใช้ค่า  HbA1c ที่ระดับ 6.5 % สำหรับตรวจคัดกรองว่าเป็นโรค
เบาหวาน  ซึ่งควรได้รับการตรวจซำ้เพื่อยืนคำวิจฉัย

คำแนะนำดังกล่าว กำลังรอพิจารณาจากสมาคมแพทย์ (ส่วนใหญ่)...
ซึ่งไม่แน่... การใช้ HbA1c อาจทำให้หลายคนได้รับการวินิจฉัยโรคเยาหวาน
หรือโรคก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) ได้เร็วขึ้น

<<BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วย HbA1c ในเลือด : HbA1C blood Test for Diagnosis of Diabetes P.1

Aug. 17, 2014

โดยทั่วไป โรคเบาหวานประเภท 2 จะมีการพัฒนาการอย่างช้าๆ เป็น
เวลานาน....  เริ่มแรกอาจไม่พบอาการ  และเท่าที่ปรากฏ  คนส่วนใหญ่
จะรับทราบว่า  ตัวเองเป็นโรคเบาหวาน เมื่อไปทำการตรวจเช็คร่างกายประจำปี 
ผลของการตรวจเลือดพบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีระดับสูง

ในปัจจุบัน แพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ (endocrinologists) ใช้ผลการตรวจ
HbA1c ในเลือด ซึ่งถูกใช้เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมระดับน้ำตาล โดยนำ
มาใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ถ้าท่านมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน...
แพทย์สามารถส่งให้ทำการตรวจเลือด  เพื่อยืนยันว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน
หรือไม่

มีการตรวจเลือดอย่างน้อย 3 วิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยว่า  คนเราเป็นโรค
"ก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes)" และ "เป็นเบาหวาน (diabetes)"
ซึ่งได้แก่ :

 Casual plasma (blood) glucose
 Fasring plasma gluscos (FPG)
 Oral glucose tolerance (OCTT)


NEXT >> continued

เป็นความจริงหรือ...ที่ว่า คนเป็นเบาหวานมีความผิดปกติที่ยีน ?

Aug. 18,2014

คนที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะบอกว่ามีสมาชิคในประวัติครอบครัว 
เช่น คุณพ่อ หรือคุณแม่ หรือคุณปู่...มีประวัติว่าเป็นเบาหวาน
ซึ่งบอกให้เราได้เข้าใจว่า การเป็นโรคเบาหวานได้นั้น มันต้องได้รับการ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างแน่นอน แต่ตามเป็นจริงแล้ว ยังมีปัจจัยอยาง
อื่นที่ทำให้คนเป็นโรคเบาหสนได้...

มีการประมาณการณ์เอาไว้ว่า...
ประชาชนคนเมริกันจำนวน 24 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน  และในจำนวนดัง
กล่าวพบว่า 10% พบในคนที่มีอายุ 20 ขึ้นไป และส่วนใหญ่  จะมีอายุตั้ง
แต่ 60 ปีขึ้นไป (มากกว่า 10 ล้านคน)

ข้อมูลต่อไปนี้ อาจช่วยทำให้ท่านหายข้อข้องใจได้
ในขณะนี้ นักวิทยาศาตร์กำลังศึกษาเรื่องกรรมพันธุ์ว่า มันมีบทบาทต่อการ
ทำให้เกิดเบาหวานอย่างไร ?

แต่ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า  หน่วยพันธุกรรม หรือยีนที่เราได้รับจากผู้เป็น
พ่อ-แม่  ย่อมมีบทบาทต่อเราผู้เป็นลูกอย่างไม่ต้องสงสัย

มีประเด็นสำคัญที่เราจะต้องทราบเอาไว้  คือ การรับเอาพันธุกรรม (gene)
จากผู้เป็นพ่อ-แม่มา ไม่ได้หมายความว่า  เราจะต้องเป็นโรคเบาหวาน 
แต่มีรูปแบบของยีน (genes) บางตัวทำให้คนเรามีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรค
เบาหวานได้มากขึ้น   นอกจากนั้น  ยังปัจจัยอย่างอื่น  เช่น ปัจจัยภายนอก
 (environmnet)  ซึ่งได้แก่  พฤติกรรมการกินอาหาร, ระดับการออกกำลังกาย, 
ความเครียด, และอื่นๆ  ต่างมีบทบาทที่สำคัญต่อการทำให้เกิดโรคเบาหวาน
ได้ทั้งนั้น

ยีน เป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม ที่ปรากฏในนิวเครียสของทุกๆ เซลล์...
ซึ่งมันจะกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิงที่มีชีวิต 

นักวิทยาศาตร์ได้พบว่า รูปแบบของยีนบางอย่าง สามารถเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคไดหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน


www.johnshopkinshealthalerts.com

ทำไมจึงให้ท่านที่เป็นโรคเบาหวานฉีด “อินซูลิน” P.2

Aug. 16, 2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
การเริ่มรักษาด้วยอินซูลินตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมให้ผลดีกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งไม่เพียงแต่ควบคุมเหวานเท่านั้น และอาจทำให้เบาหวานดีขึ้นอีกด้วย

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน The Lancet( Volume 371, page 1753) ชี้ให้
เห็นว่า ทำไมผลจึงเป็นเช่นนั้น:

นักวิจัยได้ทำการซุ่มตรวจคนไข้เบาหวาน ซึ่งพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
โรคเบาหวานประเภท 2 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม:

 กลุ่มแรก: ได้รับยาฉีดอินซูลินวันละหลายครั้ง
 กลุ่มสอง: ได้รับอินซูลินฉีดอย่างต่อเนื่อง (continuous infusion)
 กลุ่มสาม: ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล
(intensive treatment with oral medication)

ทั้งสามกลุ่ม ต่างมีเป้าหมายเหมือนกัน นั้นคือ คบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ให้ลดลงสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว

หนึ่งปีให้หลัง...
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล โรคดีขึ้น (remision) 27 %
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยฮินซูลินฉีด โรคดีขึ้น 45 % และ
o กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูบินอย่างต่อเนื่อง โรคดีขึ้น 51 %

โรคดีขึ้น (remision) หมายความว่าอย่างไร ?
โรคเบาหวานดีขึน (remision) เราหมายถึง คนไข้สามารถคงสภาพรระดับ
น้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติด้วยการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว

ผลจากการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า...
คนเป็นโรคเบาหวาน ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีด “อินซูลิน” นอกจาก
จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำ
ตาล แต่ยังใช้เวลาในการลดระดับน้ำตาลได้น้อยกว่าอีกด้วย

โดยสรุป...
การรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลิน นอกจากจะลดระดับน้ำตาล
ได้ดีแล้ว ยังช่วยสงเสริมให้โรคเบาหวานดีขึ้น (remision) เป็นต้นว่า
ทำให้การอักเสบลดลง และทำให้การทำงานของ beta cell ดีขึ้น
ซึ่งหมายความว่า สามารถสร้าง “อินซูลิน” ได้ดีขึ้น และที่สำคัญ เรา
ยังพบอีกว่า การรักษาด้วยอินซูลินด้วยวิธี aggressive insulin therapy
เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ  อาจป้องกัน
ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย 

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

ทำไมจึงแนะนำให้คนที่เป็นโรคเบาหวานฉีด “อินซูลิน” P.1

Aug. 16, 2014

เป็นที่รู้กันว่า...
อินซูบิน ถูกนำมาใช้ในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของคนไข้
ที่เป็นเบาหวานประเภท 1 ซึ่งร่างกายของคนเป็นโรคเบาหวานไม่สามารถ
สร้างอินซูลิน  เป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้   หรือใน
คนเป็นโรคเบาหวานประเภท  2  ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ  เพราะ
ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลิน   หรือใชอินซูลินได้ตามปกติ  จึงไม่
สามารถควบคุมได้ด้วยยาเม็ดลดน้ำตาลเพียงอย่างเดียว

ในการฉีดอินซูลิน เพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เป็นเพราะ
เราต้องการใช้อินซูลินที่ผลิตขึ้นเข้าไปแทนที่อินซูลิน  ซึ่งถูกสร้างโดย
ร่างกาย  โดยจะทำหน้าที่ช่วยทำให้น้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆ  
เพื่อใช้เป็นพลังงาน  และยังยับยั้งไม่ให้ตับสร้างน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีก

อินซูลินทุกชนิดจะทำงานในรูปแบบดังกล่าว จะแตกต่างกันในด้าน
ออกฤทธิ์เร็ว  และออกฤทธิ์นานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการควบคุมระดับ
น้ำตาล

ความจริงมีว่า...
ประมาณ 40 % ของคนเป็นเบาหวานประเภท 2 ...สุดท้ายจะลงเอยด้วย
การฉีดอินซูลินชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ซึ่งอาจเป็นเพราะโรคเบาหวานของเขาเลวลงไป หรือเป็นเพราะโรคไม
ตอบสนองต่อการใช้เม้็ดลดน้ำตาล (oral drugs)

ผลจากการศึกษา  ซึงตีพิมพ์ใน The Lancet ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า...
การรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีด “อินซูลิน” แต่เนิ่น ๆ ไม่เพียงแต่ทำให้
เราควบคุมโรคเบาหวานได้เท่านั้น แต่มันอาจทำให้โรคเบาหวานดีขึ้น
ได้อีกด้วย (remission)

โดยทั่วไป  ในการรักษาเบาหวานประเภท 2 เขาจะไม่ใช้ “อินซูลิน” จนกว่า
เราไม่สามารถควบคุมกระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
และใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล (oral medications)

อย่างไรก็ตาม   ผลของการศึกษาจำนวนไม่น้อย  แสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับ
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 การเริ่มใช้อินซูลินรักษาทันที่
ผลที่ได้จะทำให้โรคดีขึ้นได้เป็นเวลาหนึ่งปี หรือนานกว่านั้น

NEXT >> continued

การชะลอไม่ให้เกิดโรคไตในคนเป็นเบาหวาน (P2) :New Approach to Slow Diabetic Kidney Disease

Aug. 16,2014

continued 

เนื่องจากความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคไตเลวลง...
การใช้ยา Aliskiren (Tekturna) มีบทบาทในการป้องกันไม่ใหไตถูก
ทำลายลงได้..

ผลจากการวิจัยในกลุ่มคนที่ร่วมในการวิจัย จำนวน 599 ราย ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน, 
ต่างมีโรคความดันโลหิตสูง, และมีโรคไต: 
ครึ่งหนึ่งของกลุ่มได้รับยา Tektruna 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน, ต่อจากนั้น
ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 300 mg ทกวันเป็น
เวลาอีก 3 เดือน ส่วนที่เหลือของกลุ่มได้รับยาหลอก (placebo)
และทุกรายต่างไดรับยาลดความดัน –losartan เพื่อลดความดันโลหิต

ผลจากการศึกษาพบว่า...
ในกลุ่มที่ได้รับยา Tekturna ปรากฏว่าลดการเกิด proteinuria ลงถึง 20 %
โดยเฉลี่ย (proteinuria ถือเป็นอาการแสดงให้ทราบว่า ไตถูกทำลายจาก
โรคเบาหวาน)

นอกจากนี้ คนที่กินยา Tekturna จำนวน 25 % พบว่าการสูญเสียโปรตีน
ในปัสสาวะลดลงถึง 50 % โดยกลุ่มที่ไม่ได้กินยา Telturna ลดลง 13 %
เท่านั้น

มียาลดความดันเลือดสูงที่แพทย์มใช้เป็นประจำ โดยการออกฤทธิ์ไป
ยับยั้งสาร angiotensin- ซึ่งทำให้ระดับความดันสูงขึ้นโดยการทำให้เส้น
เลือดหดตัว

ส่วนยา Tekturna จะออกฤทธิ์ยับยั้ง (block) สาร Renin ซึ่งเป็นเอ็น
ไซม์ที่มีหน้าที่ในการสร้างสาร angiotensin อีกทีหนึ่ง

<< BACK


www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes

การชะลอไม่ให้เกิดโรคไตในคนเป็นเบาหวาน (P1) :New Approach to Slow Diabetic Kidney Disease

Aug. 16,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
หากไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้   มันมักลงเอยด้วยการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรคไต (diabetic kidney Disease)

จากผลของการศึกษาที่ลงตีพิมพ์ใน The New England Journal of Medicine 
(Vol.358, Page 2433) ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการใหม่ๆ  ซึ่งสามารถป้องกัน หรือ
รักษาโรคไตอันเกิดจากโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไป  คนไข้โรคเบาหวานทั้งประเภท 1 & 2 พบว่าสุดท้ายมักลงเอยด้วย
การเป็นโรคไตประมาณ 30 – 40 % และ 20% ตามลำดับ โดยมีการทำลายเส้น
เลือดเส้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่กรองเอาของเสียจากกระแสเลือดออก
ท้ิ้งไป

นอกจากโรคเบาหวานแล้ว  โรคความดันเลือดสูงก็เป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้โรคไต
เลวลงไปได้อีก  ดังนั้น การควบคุมความดันโลหิตสูง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
สำหรับรักษาโรคไตจากโรคเบาหวาน (diabetic nephripathy) 

ในปัจจุบัน  เรามียาตัวหนึ่ง  ชื่อ  Aliskiren (Tekturna) ถูกนำมารใช้ในการป้องกัน
ไม่ให้ไตถูกทำลายได้  ซึ่งเราจะได้กล่าวกันต่อไป


NEXT >>

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความเครียดของคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 : Psychological Stress and Type 2 Diabetes

Aug. 16, 2014

ความเครียด (Psychological stress)
หมายความถึง การที่คนเรามีความรู้สึกเครียด, หงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ 
อันเป็นผลเนื่องมาจากปัญหาในที่ทำงาน หรือปัญหาภายในครอบครัว

มีผลของการวิจัย  ได้กล่าวถึงความเครียดว่า.
ท่านจัดการกับความเครียดของท่านได้ดี  จะทำให้เกิดผลดีกับการควบคุม
โรคเบาหวานของท่าน

หนึ่งในผลของการวิจัยโดยชาวสวีเดน ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเครียด กับโรคเบาหวาน ในคนจำนวน 7,251 ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวาน 
หรือโรคหัวใจ  ตั้งแต่ปี 1970 เป็นชาย มีอายุระหว่าง 40s - 50s ...โดยแต่
ละคนถุูกสอบถามถึงความรู้สึกว่า  มีความเครียดเกิดขึ้นบ่อยแค่ใด ?

ผลของการศึกษาด้วยการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการณ์เป็นเวลา 35 ปี
ลพบว่า... ชายที่ที่ดำเนินชีวิตด้วยความเครียดเรื้อรัง หรือความเครียดถาวร 
มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานถึง 45 %  โดยเปรียบกับคนที่ไม่มี
ความเครีบดแลย

เมื่อมีความเครียด ความทุกข์เกิดขึ้น  จะทำให้มีการกระตุ้นให้มีระดับ cortisol
ในกระแสเลื่อดเพิ่มขึ้น  ซึ่งฮอร์ดังกล่าวจะทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ซึ่งทำให้การควบคุมโรคเบาหวานยากขึ้น

นอกจากนั้น  ความเครียดอาจทำให้คนเรามีความต้องการที่จะรับประทาน
อาหารมากเกินความจำเป็น กลายเป็นคนกินจุ, ดื่มจัด, เลิกออกกำลังกาย
และทั้งหมดที่กล่าวมา  ต่างกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น
แทบทั้งนั้น

โดยสรุป...
ความเครียดถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเราสามารถจัดการกับความ
เครียดที่เกิดขึ้น จะด้วยวิธีว่ายพระ, ปฏิบัติธรรม  หรือการฝึกผ่อนคลายด้วย
วิธีต่างๆ อาจช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในนกระแสเลือดขึ้นสูงได้

www.johnshopkinshealthalerts.com

โรคเบาหวาน (diabetes) กับ น้ำตาลแอลกอฮอล (sugar alcohol) : Eat any sugar alcohol lately?

Aug. 16,2014

เมื่อท่านไปหาซื้อของในร้านซุพเปอร์มาร์เกต
ท่านอาจพบเห็นกล่องหมากฝรั่ง หรือลูกอมที่มีชื่อว่า ปราศจากน้ำตาล...
(sugar free) มาบ้าง  แต่ตามเป็นจริงแล้วมันไม่ฟรีตามที่บอก  แต่มีส่วน
ประกอบของ “น้ำตาลแอลกอฮอล”  ซึ่งในสารดังกล่าว  ส่วนหนึ่งเป็นสาร
ที่มีโครงสร้างเหมือนน้ำตาล และอีกส่วนคล้ายแอลกอฮอล
แต่ไม่มีฤทธิ์ของแอลกอฮอล

โดยปกติ น้ำตาลแอลกอฮอล (sugar alcohol) ในสารอาหาร  จะมีชื่อลงท้าย
ด้วยอักษร –ol เช่น  sorbitol , mannitol, xyhlitol, และพบใน isomalt จัดเป็น
สารที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช (fruits &berries) โดยคาร์โบฮัยเดรต
ที่ถูกเปลี่ยนด้วยกระบวนทางเคมี ไป

น้ำตาลแอลกอฮอล  ถูกใช้แทนน้ำตาล (sugar) เพราะให้แคลอรี่ต่ำกว่าน้ำ
ตาลทราย (sugar)โดยนำ้ตาลแอลกอฮอลจะให้พลังงาน 1.5 - 3 calories/gram)
และดูดซึมได้ไม่ดี และอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
ส่วนน้ำตาล (sugar) จะให้พลังวาน 4 calcories /gram

มีอาหารหลายอย่าง ที่ตั้งชื่อว่า “dietetic foods” และมีฉลากกำกับว่า
ปราศจากน้ำตาล (sugar free หรือ no sugar added) นั้น ที่จริงแล้วมันมี
ส่วนประกอบของ “น้ำตาลแอลกอฮอล” (suagr alcohol) แทบทั้งนั้น

ประเด็นที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะ...
มีคนเป็นโรคเบาหวานบางท่านเข้าใจผิด คิดว่า อาหารที่มีฉลากกำกับว่า
“sugar free” หรือ “no sugar added” นั้น หลงเข้าใจผิด  เลยกินอาการดังกล่าว
โดยไม่ยั้ง..จนเป็นเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น

อาหารที่มี sugar alcohol มีปริมาณของคาร์โบฮัยเดรต และให้คาลอรี่
ซึ่งจำเป็นต้องนำมาพิจาณาในแผนการรับประทานอาหารของท่านที่เป็นโรค
เบาหวานด้วย เพราะ sugar alcohol สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแส
เลือดของท่านตามที่กล่าว

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในทุกครั้งที่ท่านหยิบ...จะซื้ออาหารที่มีชื่อว่า
อาหารที่มีชื่อว่า sugar free ท่านจะต้องตรวจให้แนใจว่า อาการดังกล่าว
มี sugar alcohol หรือไม่ ? มีในปริมาณเท่าใด ?


www.joslin.org

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน : Insulin therapy P.2- continued

Aug. 2014

continued

ความกังวลใจของคนเป็นเบาหวานเกี่ยวกับการรักษาด้วย “อินซูลิน”

 “ฉันรู้สึกประหนึ่งว่า ประสบความล้มเหลว ฉันควรสามารถควบคุมโรค
เบาหวานได้ด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย”

คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ส่วนใหญ่   เรามักพบว่า  คนไข้จะเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่เลวลงอย่างต่อเนื่อง ซึงในตอนแรก  คนไข้สามารถอาจควบคุมโรค
ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น แต่พอเวลาผ่านไป   ตับอ่อนของเขา
จะค่อยๆ เปล่ี่ยนแปลงไป  โดยผลิตอินซูลินได้น้อยลง

ถ้าการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาล
ลดลงสู่ระดับที่ต้องการ...การรักษาด้วยการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล  หรือใช้ยาฉีด
"อินซูลิน" สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงตามความต้องการได้

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานส่วนใหญ่...เร่ิมต้นอาจเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แต่สุดท้ายจะลงเอยด้วยการใช้ยาลดน้ำตาล  ซึ่งเป็นยาเม้ด  หรืออาจเป็นยาฉีด
อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล  โดยไม่ใช้ความผิดของคนไข้หรือของใคร

โชคดีที่เรามีวิธีรักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ให้ท่านเลือก  ซึ่งนอกจากจะทำ
ให้ระดับน้ำตาลลดลงตามความต้องการแล้ว  ยังสามารถช่วยทำให้ชีวิตทาน
ยืนยาวขึ้นอีกด้วย

 “ถ้าฉันต้องได้รับอินซูลิน...นั้นหมายความว่า ฉันต้องเจ็บตัวแล้วซิ !”

ความจริงมีว่า เมื่อจำเป็นต้องได้รับอินซูลิน...เพื่อรักษาเบาหวาน  มันย่อมหมาย
ความว่า   ตับอ่อนของท่านไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการ
นั้นเอง...และนั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมท่านจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีด
อินซูลิน

ในการรักษาโรคเบาหวาน  สิ่งสำคัญ... ไม่ว่าท่านจำเป็นต้องได้รับ “อินซูลิน” 
หรือไม่...  เป้าหมายของการรักษา คือ  เราต้องควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 
ให้เป็นปกติ   เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว  อันเป็นผลมาจาก
โรคเบาหวาน  ซึ่งได้แก่  การทำลายเส้นประสาท, ไต และตา

โดยสรุป...
เราจะเห็นว่าเป้าหมายในการรักษาเบาหวานของท่าน คือการควบคุมโรคเบา
หวาน และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนให้ได้ ดังนั้นท่านจะกลัวการฉีด
ยาอินซูลินไปทำไมละ ?


<<BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน : Insulin therapy P.1

Aug. 13, 2014

บังเอิญได้ยินเสียงของกลุ่มคนที่อยู่นอกวงการ...
มีใจความที่น่าสนใจว่า:

“หมอสมัยนี้ นิยิมฉีดยาอินซุลินมากกว่าสมัยก่อน !”
ทำให้เกิดความรู้สึกว่า น่าจะเขียนเรื่องนี้ให้คนที่เป็นโรคเบาหวานได้
พิจารณา...

ความจริงมีอยู่ว่า...
ในการควบคุมโรคเบาหวานด้วยการใช้  "อินซูลิน" ฉีดตั้งแต่เนิ่นๆ พบ
ว่า อินซุลิน สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันน่าสพึงกลัว
ได้หลายอย่าง   เป็นต้นว่า โรคหัวใจ, โรคไต  แต่ความเข้าใจของคนทั่ว
ไปที่เป็นเบาหวานประเภทจำนวนไม่่น้อย  เมื่อแพทย์บอกว่า  "เขาควรได้
รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน"  จะทำให้บางคนปฏิเสธ...เพราะรู้ส฿กไม่
สบายใจ  และมีความกลังต่อการฉีดยา

อินซูลินถูกมองว่า เป็นยาที่ถูกเก็บไว้เพื่ออาวุธอันสุดท้ายสำหรับการรักษา
โรคเบาหวานประเภทสอง  แต่มาในปัจจุบัน เริ่มมีคำแนะนำให้มีการใช้
อินซูลินในคนไข้โรคเบาหวานเร็วขึ้น...

โดยแพทย์จะสั่งให้ใช้ insulin แก่คนไข้ที่ตรวจพบว่า  ระดับ AbA1c ที่มีค่า
เกิน  10 %   ซึ่งอาจเป็นการใช้อินซูลินในระยะสั้นๆ   เมื่อควบคุมได้แล้ว  จึง
ถูกเปลี่ยนไปเป็นยารับประทาน (oral medication)  หรืออาจใช้ "อินซูลิน"
ตลอดไป  โดยคำนึงถึงสภาพการณ์ของคนไข้เป็นสำคัญ

Next>>  continued

ประเด็นที่น่ารู้ในเรื่อง AbA1c : About HbA1c Levels

Aug. 13,2014

ชายสูงวัยอายุราว ๆ 70 เศษ มาพบแพทย์ด้วยประเด็นที่น่าสนใจ
โดยมีสารสำคัญ ดังนี้:

“ข้าพเจ้ามีอายุ 72 ได้รับการตรวจเลือดพบค่า AbA1c ประมาณ 8.0 % และ
แพทย์ได้บอกว่า...ดีแล้ว ไม่ต้องทำอะไร แต่ในขณะเดียวกัน คนที่มีอายุ
ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย  ซึ่งได้รับการตรวจหาค่า AbA1c มีค่าเกือบต่ำกว่า 8 % 
เล้กน้อย กลับได้รับคำบอกกล่าวว่า  เป็นค่าที่สูงไป ...
ต้องทำให้ลดลงตำกว่า 7%

สิ่งที่ผมได้เห็น  และได้ยินมา ทำให้เกิดความสงสัยว่า  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
และผมควรสิ่งที่ผมต้องการทราบ คือผมควรกินยาเพื่อลดระดับ Ab1c ให้ต่ำ
กว่า 7.0 % หรือไม่ ?

สำหรับคนทั่วไป (Adult) ที่เป็นโรคเบาหวาน...
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะต้องพยายามให้ค่าของ AbA1c ลดต่ำกว่า
7.0 % นั้นคือเป้าหมายของการรักษา

แต่สำหรับคนสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง  หรือเป็นคน
อ่อนแอ ไม่แข็งเรง หรือเป็นผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลลด
ต่ำเกินไป – hypoglycemia ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น

ในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างเคร่งคัด  (tight control) ด้วย
การลดระดับน้ำตาลให้ต่ำกว่า 7.0 % นั้น ไม่เหมาะสำหรับคนสูงอายุ 
เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์...กลับเป็นโทษ  เป็นต้นว่า  เกิดภาวะระดับน้ำตาล
ลดต่ำเกิน (hypoglycemia)  และที่น่ากลัว  คือมีโอกาสทำให้คนสูงอายุเสีย
ชีวิตได้สูง   (The Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes)

ข้อควรปฏิบัติ (Current advice)
จาก The American Geriatric Society ได้ให้คำชี้ว่า  ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากว่า 65 
ปีขึ้นไป เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ถ้าเขาเป็นคนมีสุขภาพดี เป้าหมาย
ของ AbA1c ควรอยู่ที่ 7.0 – 7.5 %

ถ้าอายุที่เหลือของคนเป็นโรคเบาหวาน (life expectancy) น้อยกว่า 10 และมี
โรคเรื้อรังอย่างอื่น เช่น เป็นโรคหัวใจ  หรือเป็นโรคไต 
เป้าหมายให้อยู่ระหว่าง 7.5 – 8.0 %

สำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่อายุขัยสั้น  อยู่ต่อไปไม่กี่ปี  (shorter life expectancy) 
และกำลังได้รับการรักษาโรคเรื้อรังหลายอย่าง (multiple medical conditions)
ค่าของ AbA1c ให้อยู่ระหว่าง 8.0 – 9.0 % ก็พอรับได้

อยางไรก็ตาม...
ในการรักษาโรคเบาหวานของคนสูงอายุที่แข็งแรง อาจได้รับประโยชน์จากการ
ทำให้ระดับ AbA1c ให้ต่ำกว่า 7.0 % เหมือนคนหนุ่มทั้งหลาย

จากคำถามในตอนต้น...
จะเห็นว่า เป้าหมายในการดูแล รักษาคนเป็นเบาหวาน ควรเป็นเรื่องของ
แต่ละคน...ไม่มีสูตรตายตัว


www.johnshopkinshealthalerts.com

สมาชิคในครอบครัว มีส่วนสำคัญในการรักเบาหวานของท่าน (Diabetes: It's a Family Affair?

Aug. 12, 2014

สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวาน...
นอกจากจะยึดมั่นในเรื่องอาหารการกิน, กินยาตามที่แพทย์สั่ง
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมแล้ว เราจะพบว่า สมาชิค
ในครอบครัวของท่านสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแส
เลือดได้เป็นอย่างดี  หรือสามารถทำลายการรักษาโรคของเขาได้

ผลของการศึกษาที่ลงใน Diabetes Care (Vol. 35, P. 1239)
เป็นการศึกษาในคนไข้โรคเบาหวาน ประเภท 2 จำนวน 45 ราย
ในจำนวนดังกล่าว มี 16 รายตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของ
สมาชิคในครอบครัว  ซึ่งมีความเข้าใจในเรื่องของโรค และความสำคัญ
ของการดูแลรักษาโรคดัวยตัวเอง  ตลอดรวมถึงการสนับสนุน และให้
ความร่วมมือในเรื่องการกินยาลดน้ำตาลในกระแสเลือด

ในคนไข้แต่ละรายจะได้รับการตรวจดระดับ A1c

ผลจากการศึกษา:
ในกลุ่มที่ได้รับความร่วมมือกับสมาชิคในครอบครัวในทุกด้าน  จะทำให้
คนไข้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี
โดยการออกกำลังกาย ,  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และการออก
กำลังกาย  ตลอดรวมถึงกินยาตามแพทยืสั่ง

ส่วนคนที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิคในครอบครัว จะทำให้คน
เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้ดีเท่าที่ควร เป็นต้นว่า ไม่ออกกำลงกาย ไม่
กินยาตามแพทย์สั่ง...

โดยสรุป ..
ในการรักษาโรคเบาหวาน จะเห็นว่า การได้รับความร่วมจากสมาชิคใน
ครอบครัว  จะมีบทบบาทสำคัญต่อการรักษาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี


www.johnshopkinshealthalerts.com

ท่านสามารถยับยั้งภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) ไม่ให้เป็น โรคเบาหวานประเภท 2 ได้

Aug. 11, 2014

สำหรับท่านทีเป็นเบาหวานแฝง (prediabetes) ควรทราบ
นั้นคือ ผลจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet 
(Volume 397, page 2243) ได้รายงานผลที่น่าสนใจว่า คนที่เป็น
เบาหวานแฝง ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลงสู่ระดับ
ปกติ  ด้วยการบริหารร่างกาย หรือใช้ด้วยการใช้ยาลดระดับน้ำตาลอย่างใด
อย่างหนึ่ง อาจทำให้เขาไม่ต้องเอยด้วยการเป็นโรคเบาหวานได้

ข้อมูลที่ได้ เป็นผลจากการติดตามผลการศึกษาคนที่เป็นเบาหวานแฝง
 (prediabetes) จำนวน 1,990 ราย  ที่เข้าร่วมโครงการณ์  Diabetes Prevention 
Program (DPP) โดยคนที่เข้าร่วมโครงการณ์จะถุูกกำหนดให้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม (lifestyle intervention)  หรือได้รับยา Metformin หรือ placebo 
เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี

ผลจากการศึกษา และติดตามผลเป็นเวลาเกือบ 6 ปี ผู้ที่เข้าร่วมโครงการณ์
ยังคงเป็นเบาหวานแฝง (Iprediabetes) หรือเปลี่ยนเป็นคนที่มีระดับน้ำตาล
ในเลือดเป็นปกติ

ผลจากการศึกษาพบว่า...การที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติได้
มากเท่าใด ความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานยิ่งน้อยลงเท่านั้น

โดยสรุป ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติตนแบบใด (lifelstyle intervention)  หรือรับประทานยา
Metformin) ต่างสามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลง และป้องกันไม่ให้เกิด
เป็นเบาหวานได้... ขอพียงให้ท่านทำเท่านั้น

www.johnshopkinshealthalerts.com

สิ่งที่คนเป็นโรคเบาหวานมักจะมองข้าม: Diabetes Pain

Aug. 11,2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
เราพบว่า  ประมาณครึ่งหนึ่งจะลงเอยด้วยอาการปวดประสาทเรื้อรัง 
(chronic Pain) หรืออาการปวดปวดอย่างเฉียบพลัน โดยเป็นผลจากการ
ศึกษาในคนไข้โรคเบาหวาน มีอายุระหว่าง 30 – 75  จำนวน 13,000 ราย

ในการรักษาคนไข้กลุ่มดังกล่าว   ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปยังการควบคุม
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด,  ควบคุมระดับไขมันคลอเลสเตอรอล  
และความดันโลหิตสูง  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้นว่า 
โรคหัวใจ, โรคไตวาย, โรคตาบอด, และป้องกันไม่ให้คนไข้ถูกตัดขา

แต่เนื่องจากมักมองข้ามความเจ็บปวด  หรือไม่ให้การดูแลเท่าที่ควร
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง...เป็นอาการปวดเรื้อรัง
พร้อมกับอาการอื่น ๆ  ปรากฏขึ้นในเวลาต่อมา

ผลจากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อายุมากกว่า 60 มีแนว
โน้มที่จะทรมานจากความเจ็บปวด (diabetic neuropathy) โดยที่อาการ
ปวดจะมีลักษณะ...แสบร้อน...ชา...ปวดเหมือนถูกเข็มทิ่มตำที่บริเวณมือ,
เท้า หรือขาทั้งสองข้าง นอกจากนั้น เขายังมีอาการอย่างอื่นอีก  เป็นต้น
ว่า  มีปัญหาในด้านการนอนหลับ, เคลื่อนไหวลำบาก, หายใจหอบ, 
ท้องผูก และคลื่นไส้...

จากความจริงที่ปรากฏ แทนที่จะให้การรักษาโรคเบาหวานตามมาตรฐาน
เพียงด้านเดียว  เราควรพิจารณาเพิ่มการรักษาคนเป็นโรคเบาหวาน  ด้วย
การบรรเทาอาการอย่างอื่น  เช่น อาการปวด  รวมถึงการทำให้คุณภาพ
ชีวิตดีขึ้น โดยไม่ได้หวังให้คนไข้หายจากโรค

การรักษาด้วยวิธีบรรเทาอาการ เป็นเรื่องที่รู้กันดีในการรักษาคนไข้
ที่เป็นมะเร็งในช่วงสุดท้ายของชีวิต   แม้ว่าอาการของโรคเบาหวาน
ในช่วงสุดท้ายของชวิตจะทำให้อาการเลวลงก็ตาม  นักวิจับต่างแนะนำ
วิธีการเพื่อบรรเทาอาการให้แก่คนไข้ได้ตลอดช่วงที่มีชีวิต
โดยไม่ต้องคำนึงว่า คนไข้จะมีชีวิตยืนยาวนานแค่ไหน

สิ่งที่ควรทำ...
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน สิ่งเป้าหมายแรกทีท่านควรกระทำ คือควบคุมโรค
ของท่านเอง  แต่ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะละเลยปัญหาอย่างอื่น 
ยกตัวอย่าง  หากท่านมีปัญหาทางกาย หรือปัญหาทางด้าน
จิตใจเกิดขึ้น ท่านจะต้องได้รับการรักษาพร้อมกันไป

อย่าลืม...
การใช้ยาบรรเทาอาการปวด, ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง  เพื่อรักษาอาการซึม
เศร้า  หากกระทำได้แต่เนิ่น ๆ ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้คนไข้ทรมานจาก
โรคโดยไม่จำเป็นได้


/www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes/
Diabetes-Pain-Management_6518-1.html