วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P. 8- Lumar spinal stenosis :: Surgical Treatment

March 28, 2014

ในการรักษาคนเป็นโรคช่องกระดูกตีบแคบ  ไม่สามารถทำให้อาการ
ปวดหลัง, ปวดขา,  และอื่นๆ ดีขึ้นด้วยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด 
ก็จำเป็นต้องพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ต่อไป
              
การรักษาด้านศัลยกรรม (Surgical treatment)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis)  จะถูกเก็บไว้
สำหรับคนไข้ที่ไร้คุณภาพชีวิตจากอาการปวด และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
คนไข้จำนวนหนึ่งอาจเดินลำบากมาเป็นเวลาหนึ่ง  และนั้นคือเหตุ
ผลที่ได้รับการพิจารณาการผ่าตัด
                                      
ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังตามที่กล่าว...
มีทางเลือกให้ทำสองประการ นั้นคือ ผ่าตัดเอากระดูกสันหลังด้านหลัง
ออก (laminectomy) และทำให้กระดูกที่ได้รับการผ่าตัดเอากระดุกออก
นั้นให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง (spinal stenosis)  จึงอาจจำเป็นต้องทำ
ทำการยึดตึงด้วยโลหะ (instrumentation) และเชื่อมกระดูกให้ติดแข็ง

จากการผ่าตัดทั้ง laminecomy และ spinal fusion...
สามารถทำให้อาการปวดทุเลาลง  สำหรับท่านที่ได้รับการผ่าตัดได้รับ
ผลที่ไม่ดี  อย่าลืมบอกให้แพทย์ได้รับทราบ

Laminectomy. 

เป็นการผ่าตัดเอากระดูก (bone)ทางด้านหลังกระดุกสันหลังออก...
เป็นการผ่าตัดเปิดช่องกระดูกทางด้านหลัง  เรียกว่า laminectomy 
นอกจากนั้น  ยังมีการผ่าเอากระดุูกงอก (bone spurs) และพังผืดที่
หนาตัว  ซึ่งไปกดรากประสาทออกทิ้งไป

การผ่าตัดเอากระดูก และส่วนที่ไปกดประสาทออกทิ้ง  เราเรียกว่า
decompression

Spinal fusion.

ถ้ากระดกสันหลังมีการอักเสบ (arthritis) และทำให้ความแข็งแรง
ของกระดุกสันหลังหายไป (instability)  การผ่าตัดจำเป็นต้องทำ
ทั้ง decompression และ spinal fusion ร่วมกัน

Rehabilitation

หลังการผ่าตัด...
ท่านอาจจำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลในระยะสั้น ๆ
ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสุขภาพของท่านเอง  รวมถึงวิธีการผ่าตัดที่ท่านได้รับ
สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดี  อาจกลับบ้านได้เร็ว

ในรายที่ทำการผ่าตัดเอาส่วนที่ไปกดประสาทออก (decompression) 
ไม่ทำอะไรมากกว่านั้น  ท่านอาจได้รับอนุญาติให้กลับบ้านภายใน 2 – 3 วัน  
แต่หากทำการผ่าตัดเชื่อมกระดูก (spinal fusion) ด้วย  ท่านอาจจำ
เป็นต้องอยู่นานหน่อย (นอนนานเพิ่มขึ้น 2 – 3 วัน)

หลังการผ่าตัด  ท่านอาจสรวมใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (corset) และได้รับคำ
แนะนำให้เริ่มเดินให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้  ส่วนใหญ่จะได้รับกายภาพบำบัด เพื่อ
ทำให้กล้ามเนื้อของหลังแข็งแรง

หลังการผ่าตัด  และสามารถกลับสู่สภาวะปกติทำงานได้เหมือนปกติ
ภายในต 2 – 3 เดือน

ส่วนคนสูงอายุ  จำเป็นต้องได้รับการดูแล และให้การช่วยเหลือนานหน่อย  
และมักถูกย้ายไปยังหน่วยฟื้นฟูก่อนกลับบ้าน
  
อันตรายจากการผ่าตัด (Surgical risks)

ทุกการผ่าตัด  แม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็กต่างมีอันตรายทั้งนั้น
อันตรายที่ว่า  ได้แก่ มีเลือดออก (bleeding), อักเสบ (infection),
มีก้อนเลือดเกิดขึ้น (blood clot), และมีปฏิกิริยาต่อการดมยาสลบ
อย่างไรก็ตาม...อัตรายเหล่านี้มีได้น้อย

ในคนสูงอายุ  จะพบว่า  มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้สูง
นอกจากคนสูงอายุแล้ว  คนต่อไปนี้มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงเช่นกัน
เป็นต้นว่า  คนอ้วน, คนเป็นโรคเบาหวาน, สูบบุหรี่, หรือคนที่มีปัญหาด้าน
สุขภาพหลายอย่าง

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดสำหรัลช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
ได้แก่:

o   ถุงหุ้มเป็นประสาท (dural sac) เกิดการฉีกขาด
o   กระดูกไม่เชื่อมติด (failure of bone fusion to heal)
o   อุปกรณ์ทีใช้ในการยึดตรึงกระดูกเคลื่อนหลุด (failure of
  Screws or rods)
o   เส้นประสาทฉีกขาด (Nerve injury)
o   ต้องรับการผ่าตัดซ้ำ
o   อาการไม่ดีขึ้น (Failure to relieve symptoms)
o   อาการกลับเป็นขึ้นมาใหม่ (return of symptoms)

ผลของการผ่าตัด (Surgical outcomes)

คำถามที่คนไข้โรคช่องกระดุกสันหลังตีบแคบมักถาม...
ผลของการผ่าตัดเป็นอย่างไร ?

โดยทั่วไป...
ผลของการผ่าตัดเอากระดูกสันหลังเพื่อลดการกดทับประสาท (laminectomy) 
ส่วนมากจะได้รับผลดี  ถึงดีมาก  และส่วนมาก  อาการปวดขาจะทุกเลาได้มากกว่า
อาการปวดหลัง   และส่วนใหญ่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ


<<BACK    NEXT  >>


http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00329



ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P 7- Lumar spinal stenosis: ์Nonsurgical Treatment

March 28, 2014

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคช่องประสาทสันหลังระดับเอวตีบแคบ...  
จะเริ่มต้นด้วยวิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด  และหากไม่ตอบสนองด้วย
วิธีดังกล่าว  จะเปล่ียนเป็นการผ่าตัดในภายหลัง

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด (Nonsurgical Treatment)
การรักษาด้วยวิธีนี้ จะโฟกัสไปช่วยให้การทำงานของกระดูกสันหลังฟื้นตัว
สู่สภาพเดิม   พร้อมๆ กับช่วยทำให้บรรเทาจากอาการปวด
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว   แม้ว่าไม่สามารถทำให้ช่องกระดูกที่ตีบแคบหาย
แต่มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ได้รับการรักษา  พอใจกับผลของการรักษา

การภาพบำบัด (Physical therapy)
การบริหารร่างกายด้วยการเหยียดยืดกระดูกบั้นเอว (stretching exercise), 
นวด ,  และบริหารกล้ามเนื้อท้อง และกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง
สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้

ดึงกระดูกสันหลังระดับเอว (Lumbar traction)
การดึงกระดูกสันหลังอาจให้ประโยชนืในบางคน
 และผลจากการศึกษาพบว่า ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนผลการรักษาวิธีการ
ดังกล่าว

การใช้ยาลดการอักเสบ (Anti-inflammatory medications)
เนื่องจากอาการปวดที่เกิดจากช่องประสาทของกระดูกสันหลังแคบ
เกิดจากรากประสาทถูกกดนั้น  การใฃ้ยาลดการอักเสบ  สามารถลด
อาการบวมที่อยู่รอบ ๆ เส้นประสาท  อาจลดอาการปวดลงได้

ยาที่ใช้ คือ Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
จะถูกใช้ลดอาการปวดในระยะแรก ๆ เมื่อมีการใช้ยาติดต่อกันเป็น
เวลานาน 5 – 10 วัน จะมีผลลดการลดการอักเสบด้วย

คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับยากลุ่ม NSAIDs เช่น aspirin และ ibrufen
ในการใช้ยาในกลุ่มนี้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง   เพราะหากใช้ในขนาด
ที่มากไปสามารถทำให้เกิดกระเพาะอักเสบ (gastritis) และ
กระเพาะเป็นแผล (stomach ulcers) ได้

การใช้ยา สะเตียรอยด์ (Steroid injections)
ยาที่ถูกนำมาใช้ คือ cortisone  ถือเป็นยาที่สามารถต้านการอักเสบ 
(anti-inflammatory drug) ซึ่งแพทย์จะฉีดสารดังกล่าวเข้าไปในบริเวณ
รอบ ๆ รากประสาท  หรือฉีดเข้าช่องกระดูกสันหลัง (epidural space)....
สามารถลดการอักเสบ และลดอาการปวดลงได้

นอกจากนั้น ยากลุ่มนี้สามารถลดอาการชาลงได้  แต่ไม่สามารถลดอาการ
อ่อนแรงของขาได้เลย   ในการฉีด steroids เข้าสันหลัง 
 ไม่ควรฉีดมากกว่า 3 ครั้ง /ปี

การฝังเข็ม (Acupuncture)
การฝังเข็มสามารถรักษาคนไข้บางคนที่เป็นช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
ให้หายจากอาการปวดได้   แม้ว่า การฝังเข็มจะปลอดภัย 
 แต่ผลดีระยะยาวไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาตร์

Chiropractic manipulation.
การจัดกระดูกสันหลัง  "ไคโีรแพีกติค"   เป็นวิธีที่ปลอดภัย และสามารถลด
อาการปวดจากช่องกระดุกสันหลังตีบแคบลงได้
แต่ต้องระวังในกรณีของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน  หรือรายที่หมอนกระดูกแตก
และเคลื่อนออกจากที (ruptured disc)

การจัดกระดูกสันหลัง  สามารถทำให้อาการเลวลงได้ หรือสามารถทำให้เกิด
บาดเจ็บขึ้นได้

<< BACK      NEXT >>   P. 8 : Lumbar spinal stenosis : Surgical Treatment

ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P. 6- Lumar spinal stenosis: Diagnosis

March 28, 2014

ในการวินิจฉัยโรคช่องประสาทสันหลังระดับเอว จำเป็นต้องอาศัย
ประวัติการเกิดโรค การตรวจร่างกาย และการตรวจที่จำเป็นอย่างอื่น ๆ
ดังนี้:

ประวัติการเกิดโรค และการตรวจร่างกาย (Medical History &
Physical Examination)
ภายหลังการถกปัญหาเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ และประวัติการเกิดโรค...
แพทย์เขาจะทำการตรวจหลัง (back) ซึ่งประกอบด้วยการใช้ตาดูหลัง
ของท่าน มีการจัด & กดดันส่วนต่างๆ ของบริเวณหลัง
เพื่อตรวจสอบดูว่า มีบริเวณใดที่เกิดอาการเจ็บปวด..

นอกจากนั้น แพทย์จะให้ท่านก้ม & เงย (flexion & extension)
ทำการเอียวไปทางด้านข้าง (side to side)
เพื่อตรวจดูพิกัดของการเคลื่อนไหว (Range of motion) หรือตรวจดู
ว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ ?

การตรวจด้วยภาพ (Imaging Tests)
มีการตรวจอย่างอื่น ๆ ซึ่งอาจนำมาช่วยแพทย์ เพื่อยืนยันการ
วินิจฉัยโรคของท่าน :

เอกซเรย์ (X-rays).
แม้ว่าเอกซเรย์สามารถเห็นภาพของกระดูกได้...
ภาพเอกซเรย์สามารถนำมาพิจารณาว่า ท่านมีช่องกระดูกสันหลังแคบได้
เอกซเรย์สามารถแสดงให้เห็นการเปลี่ยนตามอายุที่ผ่าน
เช่น ความสูงของหมอนกระดูกลดลง และมีกระดูกงอกเกิดขึ้น (bone spurs)

เราสามารถตรวจสอบดูความแข็งแรงมั่นคงของกระดูกสันหลังได้ โดย
การตรวจเอกซเรย์ในขณะที่ท่านโน้มตัวไปข้างหน้า และแอ่นไปทาง
ด้านหลัง ซึ่งสามารถตรวจสอบว่า ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนมากไป
หรือไม่ หรือมีการเคลื่อนหลุดออกจากที่  ซึ่งเราเรียกว่ spondylolithesis

ตรวจด้วยภาพ MRI (Magnetic resonance imaging)
MRI เป็นการตรวจด้วยภาพที่สามารถเห็นภาพของเนื้อเยื่ออ่อน
(soft tissues) เช่น เห็นภาพของกล้ามเนื้อ, หมอกกระดูก,เสน
ประสาท, และไขประสาท

การตรวจอื่น ๆ (Additional tests)
การตรวจอื่น ๆ ได้แก่ computed tomography (CT) scans
เป็นการตรวจภาพในแนวหน้าตัด (cross-section) ของ
กระดูกสันหลัง

นอกจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจ myelogram เป็นการ
ตรวจโดยการฉีดสารทึบแสงเข้าช่องกระดูกสันหลัง ซึ่งจะ
เห็นภาพของประสาทได้ชัดขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นการกด
ของเส้นประสาทว่ามีมากน้อยเท่าใด ?

<< BACK      NEXT >> P. 7 Lumbar spinal stenosis : Treatment

ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P. 5 – Lumar spinal stenosis : Symptoms

March 24, 204

คนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเกิดการตีบแคบ  จะมาพบแพทย์เรา
ด้วยอาการหลายอย่าง  เป็นต้นว่า :

ปวดหลังระดับเอว (Low back pain)
คนที่เป็นโรคช่องกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ   อาจมี หรือไม่มีอาการ
ปวดเอวก็ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับดีกรีของการอักเสบของข้อเป็นสำคัญ

รากประสาทที่บริเวณเอว แต่ละระดับ จะทำหน้าที่รับส่งคลื่นประสาท
เป็นการเฉพาะของแต่ละเส้นในบริเวณขาทั้งสอง เมื่อเส้นประสาทถูกกด
มันจะทำให้เกิดอาการปวด...ปวดร้าวไปยังบริเวณของขา  ไปยังบริเวณที่เส้นประ
สาทเส้นนั้นส่งแขนงประสาทไปหล่อเลี้ยง

อาการปวดที่บริเวณก้นหย่อน (buttocks) ซึ่งปวดร้าวไปยังขา  เรียกว่า sciatica 
ซึ่งเป็นผลมาจากการกดรากประสาท

 อาการปวดแสบ - ปวดร้อนที่บริเวณก้นหย่อน และขาทั้งสอง
(Burning Pain in buttock or legs)

การที่เส้นประสาทจากสันหลัง  ซึ่งส่งคลื่นประสาทไปยังขาเมื่อถูกกด
จะก่อให้เกิดอาการปวด   ซึ่งอาจมีอาการแสบร้อนตามเส้นประสาทได้
โดยเริ่มต้นด้วยการมีอาการจากก้นหย่อน และร้าวไปยังขา 
 และหากการเส้นประสาทถูกกดมากขึ้น  อาจทำให้อาการปวดร้าวไปถึง
บริเวณเท้าได้

 อาการชา  หรืออาการเป็นเหน็บ  หรือรู้สึกซ่า ร่วมกับอาการแสบ
ร้อนที่บริเวณก้นหย่อน หรือขา ( Numbness or tingling in buttocki or legs) 

อาการดังกล่าวอาจไม่ปรากฏในคนไข้ทุกราย

 เกิดอาการอ่อนแรงที่ขา หรือไม่สามารถกระดกข้อเท้าได้
(Weakness in the legs or foot drop) 
เมื่อใดก็ตามที่เส้นประสาทถูกกดถึงระดับที่มากพอ จะทำให้เกิดการอ่อนแรง
ของขาด้านใดด้านหนึ่ง หรือขาทั้งสองด้าน  และบางรายอาจถึงขั้นข้อเท้าตก 
(foot drop) ...เวลาเดินเท้าจะตบพื้นทุกครั้งที่ย่างก้าว

 เวลานั่ง หรือเวลาโน้มตัวไปทางด้านหน้า อาการปวดจะลด
ลง (Less pain with leaning forward or sitting)
ผลจากการศึกษาพบว่า เวลาโน้มตัวไปทางด้านหน้าจะทำให้ช่องว่างในกระดูก
สันหลังช่วงเอวเปิดกว้างขึ้น  เป็นการลดแรงกดบนเส้นประสาท 
จึงทำให้อาการปวดลดลง

แต่อาจมีคนไข้จำนวนไม่น้อย แม้ว่าจะโน้มตัวไปทางด้านหน้า  
หรืออยู่ในนั่งก็ไม่ทำให้อาการปวดหายไปได้  โดยทั่วไป อาการจะเลวลงเมื่อยืน 
หรือเดิน หรือเดินได้ไม่กี่ก้าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดขาได้


<< BACK    NEXT >> p. 6 :Lumbar Spinal Senosis : Diagnosis. 

ช่องกระดูกสันหลังรดับเอวตีบแคบ p.4 - Lumbar spinal stenosis: Causes

March 27, 2014

สาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังระดับเอว  เกิดการตีบแคบได้บ่อยที่สุด...
ได้แก่ข้อของกระดูกสันหลัง (facet joints)  เกิดการอักเสบ (arthritis) 

คำถามมีว่า...กระดูกสนหลังของคนเราเกิดการอักเสบได้อย่างไร ?

ในขณะที่เรายังอยู่ในช่วงหนุ่ม - สาว
หมอนกระดูกสันหลัง (disc)  ซึ่งทำหน้าที่รองรับการสันสะเทือนให้แก่กระดูกคอนั้น
มีส่วนประกอบที่เป็นน้ำในปริมาณสูง  แต่พอคนเราแก่ตัวขึ้น  ส่วนที่เป็นน้ำจะลด
ปริมาณลง  เป็นเหตุให้หมอนกระดูกดังกล่าวแฟบตัว  ไม่สามารถทำหน้าทีรับแรง
กระแทกได้ตามปกติ   และยังผลให้มีการย้ายน้ำหนัก หรือแรงกดไปทางด้าน
หลัง....ซึ่งเป็นข้อเล็กๆ ทางด้านหลัง มีช่อว่า  "ข้อฟาเซท" (facet joint) 

ข้อ  "facet joint" ที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกสันหลังส่วนต้นคอ...
โดยปกติมันจะทำหน้าที่สไลด์ไป - มา   ทำให้กระดูกต้นคอเคลื่อนในท่าก้ม และเงย  
ได้ตามปกติ   แต่พอหมอนกระดุูกเกิดการชำรุด  การสไลด์ของข้อฟาเซทจะเสียไป  
เป็นเหตุทำให้กระดูกคอแข็ง  ไม่สามารถก้ม - เงย  (flexion & extension) ได้...

เมือข้อฟาเซทเปล่ียนหน้าที่จากการเลื่อนสไลด์   มาทำหน้าที่รับน้ำหนักแทน
ไม่ช้าไม่นาน  ความเสื่อม-สึกหรอจะเกิดขึ้นกับข้อดังกล่าว
โดยมีการทำลายส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน  ซึ่งครอบคลุมผิวของข้อฟาเซท  จนในที่สุด
จะไม่มีกระดูกอ่อน (cartilage) หลงเหลืออีกต่อไป   

เมื่อมีการเลื่อนไหวศีรษะ  จะทำให้ข้อกระดูกฟาเซท  ซึ่งไม่มีกระดูกอ่อนปกคลุมนั้น
จะเป็นการเสียดสีของกระดูก กับกระดูกของข้อ....ไม่ช้าไม่นาน  ร่างกายจะตอบสนอง
ด้วยการสร้างกระดูกในบริเวณขอบของข้อฟาเซท  เรียกว่า bone spurs

สำหรับในเด็ก และในคนหนุ่ม...
เราจะพบว่า  หมอนกระดูกจะมีน้ำในปริมาณสูง  แต่พอคนเราย่างสูวัยชรา
น้ำที่ปรากฏในหมอนกระดูกจะลด และแห้งไป เป็นเหตุให้หมอนกระดูกอ่อนแอลง 
และแฟบตัว  ทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันลดลง

ในการตอบสนองต่อการอักเสบของข้อ “ฟาเซท” ในบริเวณกระดูกสันหลังบั้นเอว 
ยังปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เอ็น และพังผืดรอบ ๆ ข้อฟาเซทด้วย 
โดยมีขนาดโตขึ้น หนาขึ้น   เมื่อรวมกับกระดุกงอก  (spurs) ทำให้ชองสำหรับราก
เส้นประสาท  (neural foramen) แคบตัวลงไปอีก

เมื่อช่องกระดูกสันหลัง (spinal canal)  และช่องทางเดินของรากประสาท 
แคบตัวลง  จะไประคายเส้นประสาท   และก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดร้าวไปยังขา
เกิดขึ้น

<< BACK     NEXT>>p. Lumbar Spinal Senosis: Symptoms

ช่องกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบP. 3 - Lumbar spinal stensosis :Anatomy


March 27,2014

กระดูกสันหลังของคนเรา ประกอบด้วยกระดูกขนาดไม่ใหญ่นัก
มีชื่อเรียกว่า กระดูก “เวอรเตบรา” (vertebrae) วางซ้อนกันเป็นแถวตั้งตรง 
พร้อมกับมีส่วนประกอบอย่างอื่น  เป็นต้นว่า กล้ามเนื้อ, พังผืด, เส้นประสาท, 
และหมอนกระดูก (disc)

หากเราเข้าใจว่า กระดุูกสันหลังของเราทำงานกันอย่างไร...
เราจะเข้าใจว่า เมื่อเกิดภาวะช่องกระดูกสันหลังตีบแคบขึ้น มันจะทำให้
เกิดอะไรขึ้น ตลอดรวมไปถึงการดูแลภาวะที่ผิดปกติดังกล่่าวได้ไม่มากก็น้อย...

กระดูกสันหลังตีบแคบ เกิดขึ้นเมื่อช่องกระดูกทางด้านหลัง  ซึ่งอยู่รอบๆ
ไขประสาทสันลดลง  ทำให้เกิดช่องประสาทตีบแคบ เป็นเหตุให้มีแรงกดลง
ที่ไขประสาท และรากประสาท  ยังผลให้เกิดมีอาการเจ็บปวด (pain),
ชา (numbness)  หรือทำให้ขาเกิดการอ่อนแรง (weakness)


<< BACK       NEXT >>   P. 4: Lumbar Spinal Stenosis : Causes

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

ช่องไขสันหลังระดับเอวตีบแคบ P. 2 - Lumbar spinal stenosis

March 27, 2014

ในคนสูงอายุทั้งหญิง และชาย...
สาเหตุอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง และขา คือ
ช่องของกระดูกสันหลังระดับเอวเกิดการตีบแคบ

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น...
กระดูกสันหลังของคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยกระบวนการณ์เสื่อม
ทรุดตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น (aging)  เป็นเหตุทำให้ช่องกระดูกสันหลัง
เกิดการตีบแคบ   ภาวะดังกล่าวเราเรียก spinal stenosis

ในคนที่มีอายุย่างสู่วัย 50  จะพบการเสื่อมโทรม (degenerative changes)
ของกระดูกสันหลังได้ถึง 90 %

ภาวะ “ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ” มักจะเกิดในคนที่มีอายุมากกว่า 60 
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดการกดรัดบนรากประสาท (nerve root) ในเพศชาย
และหญิงได้ในปริมาณเท่าๆ กัน

นอกจากที่กล่าวมา...
เราพบว่า มีคนจำนวนหนึ่งที่เกิดมามพร้อมกับปัญหาของกระดูกสันหลัง
ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นช่องกระดูกสันหลังตีบแคบได้ เราเรียกว่า กระดูกสัน
หลังตีบแคยแต่กำเนิด (congenital spinal stenosis) ส่วนใหญ่จะพบ
เห็นในเพศชาย โดยมีอายุระหว่าง 30 - 50


<< BACK      

NEXT >>  P. 3 : Lumbar spinal stenosis : Anatomy

ช่องไขสันหลังระดับเอวตีบแคบ P. 1 - Introduction

March 27, 2014

เมื่อวันวานได้เจอคนไข้สูงอายุท่านหนึ่ง อายุราว 80s.
ถูกลูกหลานจำนวนหนึ่งพามาขอรับการรักษา ด้วยปัญหาของการเดินเหิน
ไม่สดวก เพราะทุกครั้งที่ลุกขึ้นยืน  และก้าวเดินได้ไม่กี่ก้าว ผู้ป่วยจะรู้สึก
ปวดร้าวจากบั้นเอวสู่ขาทั้งสองข้าง พอนั่งลงอาการปวดจะหายไปทันที
เป็นเหตุให้สตรีคนนั้นไม่กล้าลุกขึ้นยืน....

ลักษณะอาการของของคนไขสูงอายุรายนั้น แพทย์เขาสามารถบอกได้
ทันที โดยยังไมใด้ตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอะไรว่า...
ท่านผู้สูงอายุคนนั้น เป็นโรคช่องกระดูกสันหลังบริเวณเอวตีบแคบ
หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า spinal stenosis

ประเด็นที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา...
นั้นคือ: คนไข้ และลูกๆ ทั้งหลายต้องการให้คนไข้หายจากความทรมาน
จากโรคที่เขาเป็น และมีข้อแม้ว่า

“ ไม่ต้องการผ่าตัด...”

จากประเด็นที่หยิบยกมา บอกให้ทราบว่า คนที่เป็นโรคตลอดรวมถึง
ผู้เกี่ยวข้องไม่รู้... ไม่เข้าใจในตัวโรคที่เขาสักเท่าไหร่
ผู้เขียนจึงขอถือโอกาส เขียนเรื่องโรคที่เกี่ยวของกับคนไข้รายนี้ โดยหวัง
ว่า อาจมีประโยชน์ต่อคนที่มีปัญหาคล้ายกับคนไข้รายดังกล่าว


>> NEXT   P.2 :Lumbar spinal stenosis

สารส่อมะเร็ง (tumor marker) : CA 19-9

March 26, 2014

สารส่อมะเร็ง CA 19-9  สามารถพบได้ในคนที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่,
กระเพาะอาหาร,  และท่อน้ำดี....

การตรวจพบสารตัวนี้ในกระแสเลือดในระดับสูง ๆ อาจบ่งบอกให้ทราบว่า
คนที่เป็นมะเร็งของตับอ่อน (pancreas) ได้เปลี่ยนแปลงสู่ระยะสุดท้ายแล้ว

นอกจากนั้น  สารส่อมะเร็ง CA 19-9...
ยังสามารถพบได้ในโรคที่ไม่ใช้มะเร็ง (noncancerous) หได้อีกด้วย
เป็นต้นว่า  นิ้วในถุงน้ำดี, ตับอ่อนอักเสบ, โรคตับแข็ง, และถุงน้ำดีอักเสบ

สาร antigen CA 19-9 จะถูกนำไปใช้ในการแยกโรคระหว่างมะเร็งของตับอ่อน
(CA pancreas) กับโรคอื่น ๆ   และยังถูกนำมาใช้ตรวจสอบดูว่า  คนไข้สนอง
ตอบต่อการรักษา   หรือมะเร็งเกิดขึ้นมาใหม่หรือไม่ ?

ค่าของ CA 19-9 จะม่ค่าต่ำกว่า 37 U/mL

http://emedicine.medscape.com/article/2087513-overvie

สารส่อมะเร็ง Human chorionic gonadotropin (HCG)

March 26, 2014

HCG เป็นอีกสารหนึ่ง  ที่ปรากฏในกระแสเลือดขอคนตั้งครรภ์
ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย “รก” (placenta)...

ถ้าหากสตรีคนนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์  และหากตรวจพบสาร HCG ในกระ
แสเลือด  สารที่ตรวจได้ก็เป็นสารส่อมะเร็งของอวัยวะต่อไปนี้
เช่น  มะเร็งของลูกอัณฑะ, รังไข่, กระเพาะอาหาร, ตับอ่อน, และปอด,
และการเสบกัณชา...สามารถทำให้ระดับของ HCG สูงขึ้นได้

สี่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ HCG:

 ในคนตั้งครรภ์...พบว่าประมาณ 85 % ของคนตั้งครรภ์ตามปกติ
ระดับของ HCG ในกระแสเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่าพภายใน
48 – 72 ชั่วโมง    และจะเพิ่มสูงมากขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์ได้ผ่านไป
ประมาณ 9 6 ชั่วโมง

 HCG ถูกนำมาใช้ในการพิสูจน์ว่า  สตรีมีการตั้งหรือไม่ โดยดูที่
ปริมาณของ HCG :  ถ้าระดับของ HCG ต่ำกว่า 5 mIU/mL ให้ถือ
ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์   แต่หากวัดได้มากกว่า 25 mIU/mL
ให้พิจารณาว่า “ตั้งครรภ์” ชัวร์!

http://americanpregnancy.org/duringpregnancy/hcglevels.html

สารส่อมะเร็ง Alpha-Fetoprotein P. 2

March 26, 2014

Alpha-eotoprotein หรือ AFP เป็นสารส่อมะเร็งของโรคตับ 
ชื่อ hepatocellular และ germ cell (nonseminoma) carcinoma
เป็นสารที่ถูกผลิตออกมาในปริมาณมากในขณะที่เป็นทารก(fetal life) 
และมีลักษณะคล้าย albumin และ ในคนปกติจะมีค่าน้อยกว่า 10 µg/L 
ซึ่งไหลเวียนในกระแสโลหิต

นอกจากนั้น  เรายังสามารถrสาร AFP ที่มีความเข้มข้นสูงในคนที่ตั้งท้อง
 (normal pregnancy), คนที่เป็นโรคตับอักเสบ,  และตับแข็ง
 (hepatitis & cirrhosis)  รวมถึงคนที่เป็นมะเร็ง

AFP ยังพบว่ามีค่าสูงใน germ cell tumors
AFP เป็นสารส่อมะเร็งที่มีบ่งบอกให้ทราบว่า โรคได้กลับฟื้นขึ้นมา
ใหม่ (relapse) หรือตอบสนองต่อการรักษา

ระดับของสารส่อมะเร็ง AFP จะไม่ค่อยสูงในคนที่เป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ
ต่อไปนี้  เช่น มะเร็งของตับอ่อน, มะเร็งกระเพาะ, มะร็งลำไส้ใหญ่,
และมะเร็งของท่อทางเดินของลมหายใจ (bronchogenic cancers)

และการที่มี AFP มีระดับสูง ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในรายที่เป็นมะเร็ง
กระจายไปยังตับ (liver metastases)

โดยทั่วไป...
สารส่อมะเร็ง- AFP มีระดับต่ำกว่า 500 ng/mL จะไม่เป็นมะเร็งของ
ตับชนิด hepatocellular carcinoma และ germ cell tumors
ซึ่งหมายความว่า  คนที่ป็นมะเร็งดังกล่าว  จะต้องมีสารส่อมะเร็ง
มากกว่า 500 ng/mL


<< BACK

สารส่อมะเร็ง Alpha-Fetoprotein P. 1

March 26, 2014

ปกติแล้ว...
AFP หรือ  Alpha-Fetoprotein เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบ
หลักของน้ำเลือดในทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยมีระดับความเข็ม
ข้นสูงสุดอยู่ที่  3 mg/mL ในระยะ 3 อาทิตย์หลังการตั้งครรภ์

หลังจากเด็กคลอด...
สารดังกล่าวจะหายไปกระแสโลหิตอย่างรวดเร็ว โดยมีระยะกึ่งอายุ (half-life)
เพียง  3.5 วัน   และสามารถตรวจได้ในกระแสเลือดของผู้ใหญ่มีค่า
ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 20 ng/mL

อย่างที่กล่าว...
AFP เป็นโปรตีนที่พบในเลือดของทารก (fetal serum protein)
และมันถูกสังเคราะห์โดยตับ, และกระเพาะลำไส้
ซึ่งมีต้นกำเนิดแหล่งเดียวกันกับ albumin

ความสำคัญของ AFP...
AFP จะถูกนำไปใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งของตับชนิด  hepatocellular CA
และอาจใช้ในการตรวจคัดกรองสำหรับตรวจสอบโรคมะเร็งในคนทีมีความเสี่ยง
ต่อการเกิดมะเรฌ็งดังกล่าว

การมีระดับของ AFP สูงมักจะตรวจพบได้ในบริเวณที่มีโรคมะเร็งตับสูง
เป็นประจำ เช่น ในอาฟริกา และในคนไข้ที่เชื้้อไวรัสตับ B (HbsAg positive)

์NEXT >>

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) p.3 CA 125 : Why it’s done

March 26, 2014

อาจมีคนสั่งให้ทำการตรวจหา CA 125 ด้วยเหตุผลหลายประการ:

o เพื่อเฝ้าสังเกตุผลการรักษามะเร็ง...
ในกรณีที่ท่านได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นมเร็งของรังไข่, มะเร็งเยื้อมดลูก,
และมะเร็งของเยื่อบุช่องท้อง  และท่อรังไข่
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจหาสารส่อมะเร็ง CA 125 เป็นระยะ ๆ
เพื่อเฝ้าสังเกตุดูอาการ

หากผลของที่ได้จากการเฝ้าสังเกตุ...พบว่า ผลของการรักษา
มะเร็งของรังไข่ไม่ดีเลย...อาจนำไปสู่การพิจารณาเพิ่มการรักษา
อย่างอื่น เป็นต้นว่า ให้เคมีบำบัด...

o ใช้ตรวจคัดกรองเพื่อดูว่า ท่านเป็นมะเร็งรังไขหรือไม่ โดยเฉพาะในราย
ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้สูง เป็นต้นว่า มีมีสมาชิคของคนในครอบครัว
เป็นมะเร็งของรังไข่   หรือในกรณีที่ท่านมีพันธุกรรม BRCA1 หรือ BRCA2
ซึ่งผิดเพี้ยนไป (mutation)

o  เพื่อตรวจเชคดูว่า...
o มะเร็งที่ท่านเคยเป็นได้เกิดขึ้นมาใหม่ (recurrence)
o ระดับของ CA 125 ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบว่ามะเร็งของรังไข่
(ovarian cancer) ที่ได้รับการรักษาไปนั้น ได้กลับเป็นใหม่

อย่างไรก็ตาม การตรวจหาระดับ CA 125 อย่างสม่ำเสมอนั้นได้
พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีประโยชน์ต่อสตรีที่เป็นมะเร็งของรังไข่เลย
และอาจนำไปสู่การเพิ่มการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือการรักษา
อย่างอื่นโดยไม่จำเป็นเลย

โดยสรุป...
ในกรณีที่เกิดความสงสัยว่า  ท่านเป็นมะเร็งของรังไข่, เยื่อบุมดลูก, หรือ
เยื่อบุช่องท้อง & ท่อรังไข่... แพทย์อาจแนะนำให้ท่านการตรวจหาสาร
ส่อมะเร็ง CA 125 ก๋็ได้...แต่ขอให้ท่านได้ทราบว่า การตรวจดั้งกล่าวไม่
สามารถวินิจฉัยมะเร็งตามที่กล่าวมาได้   และการวินิจฉัยสามารถยืนได้
โดยวิธีเดียวเท่านั้น นั้นคือ การตัดเนื้อชิ้นเนื้อไปทำการตรวจเซลล์มะเร็ง
ด้วยกล้อง...เท่านั้น

<< BACK

Source: Mayo Clinic

สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) P .2 : CA 125

March 26, 2014

สารส่อมะเร็ง CA 125...
เป็นโปรตีน -cancer antigen 125
ซึ่งเราสามารถพบได้ในกระแสเลือด โดยมีโรคหลายอย่างสามารถ
ทำให้ระดับของโปรตีน CA 125 สูงขึ้น  เช่น uterine fibroids,
Endometriosis, pelvic inflammatory disease และโรคนับแข็ง (cirrhosis) 
ตลอดรวมไปถึงภาวะตั้งครรภ์ และในระหว่างมีประจำเดือน (normal menstruation)

CA 125 ในกระแสเลือดในระดับสูง  ยังพบได้ในมะเร็งบางชนิด  เป็นต้นว่า
 มะเร็งของรังไข่ (ovarian), มะเร็งของเยื่อมดลูก (edometrial tumor),
มะเร็งของเยื่อบุช่องท้อง  และท่อรังไข่ (peritoneal & follopian)

จากข้อมูลที่กล่าวมา...
เราจะเห็นว่า สาร (โปรตีน) CA 125  ไม่ใช้สารส่อมะเร็งที่เจาะจงซะแล้ว
เพราะมีภาวะหลายอย่าง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมะร็ง  หรือแม้กระทั้งคนปกติ
ก็ยังปรากฏว่า มีโปรตีน CA 125 ในกระแสเลือดได้
ดังนั้น เราจึงไม่ใช้สารส่อมะเร็ง- CA 125 เพื่อตรวจคัดกรองสำหรับในผู้หญิง
ทุกราย โดยเฉพาะสตรีหลังหมดประจำเดือน

นอกจากนั้น ...
เรายังพบอีกว่า ในสตรีที่เริ่มเป็นมะเร็งของรังไข่ (ovarian tumors)
จำนวนไม่น้อยมีระดับของ CA 125 อยู่ในระดับปกติ


<< BACK     NEXT >>


สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) p.1 CA 125


March 26, 2014

สารส่อมะเร็ง หรือ tumor markers เป็นสารเคมีที่ถูกสร้างโดยเซลล์มะเร็ง
ซึ่งเราสามารถตรวจพบได้ในกระแสเลือดของเรา แต่สารส่อมะเร็งดังกล่าว
ยังถูกสร้างโดยเซลล์ปกติ เป็นเหตุให้ระดับสารส่อมะเร็งในกระเลือดสูงขึ้น
นี้คือข้อจำกัดเกี่ยวกับสารส่อมะเร็ง CA 125 ในแง่ของการวินิจฉััยโรค

สารส่อมะเร็ง  ที่เราอาจมีโอกาสได้พบเห็น  ได้แก่:

  • สารส่อมะเร็ง PSA หรือ prostate-specific antigen สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก,  cancer antigen 125 (CA125) สำหรับ ovarian cancer,
  • Calcitonin สำหรับ medullary thyroid cancer, 
  • Alpha-fetoprotenin (AFP) สำหรับ liver cancer และ 
  • Human chrionic gondotropin (HCG) สำหรับ Germ cell tumors เช่น testicular cancer และ ovarian cancer’
>> NEXT

สารส่อมะเร็ง Carcinoembryonic antigen (CEA) Part 3

March 25,2014

นการตรวจคัดกรอง (Screening test)
เพียงแค่ การตรวจหาสารส่อมะเร็ง- CEA จะไม่เพียงพอต่อการนำมา
วินิจฉัยโรคได้  ทั้งนี้เป็นเพราะความชุกของโรคมะเร็งในคนที่มี่สุขภาพดี
จะมีอัตราที่ต่ำมาก  และค่า CEA ที่สูงขึ้นสามารถทำให้เกิดผลทางบวกที่ไม่
ถุกต้อง ( false positve) ได้  ซึ่งหมายความว่า  คนที่มีค่าของ CEA สูงโดยที่
เขาไม่เป็นโรคมะเร้งเลย

นอกจากนั้น การมีระดับของ CEA มีระดับสูง จะพบได้ในรายที่เป็น
มะเร็งระยะสุดท้าย  ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้
แต่จะมีคนไข้บางรายที่เป็นมะเร็ง  จะพบค่าของ CEA ในระดับต่ำในระยะแรก ๆ 
หรือในรายที่เป็นมะเร็ง  ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้

มีคนแนะนำให้ใช้ CEA  ในการคาดคะเนการดำเนินโรค (progonostic value)
ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ :

o ค่าของ CEA ก่อนการผ่าตัด จะสัมพันธ์กับระยะ (stage) ของ
   มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และ
o และสัมพันธ์เชิงลบกับการมีชีวิตรอดจากการรอดชีวิต

ถึงแม้ว่า การตรวจคัดกรองสารส่อเนื้องอก – CEA จะไม่มีประโยชน์
สำหรับคนที่มี่สุขภาพดี  แต่มันจะมีประโยชน์ในแง่การตรวจสอบดูว่า
มะเร็งจะเกิดขึ้นมาใหม่หรือไม่ ?
ซึ่งโดยทั่วไป เราควรตรวจสอบกันบ่อย ๆ อย่างน้อยทุก ๆ 3 เดือน

ข้อควรระวัง..

o ค่าของสารส่อมะเร็ง- CEA จะมีค่าสูงในรายที่ได้รับการรักษา
   ด้วยเคมีบำบัด และรังสีบำบัด
o ค่าของ _CEA ยังพบในคนที่เป็นมะเร็ง (malignancy) ชนิดอื่น
   นอกเหนือจากมะเร็งของลำไส่ใหญ่

o นอกจากนั้น เรายังสามารถพบสารสอมะเร็ง CEA ในกระแสเลือด
   สูงขึ้นในคนที่เป็นมะเร็งของเต้านม, ปอด, ตับอ่อน, และมะเร็งของ
   รังไข่

สารส่อมะเร็ง (tumor marker) ยังถูกนำมาใช้ในการตรวจการเปลี่ยน
แปลง (progress) ของโรค หรือการตอบสนองต่อการรักษา

<< BACK

สารส่อมะเร็ง Carcinoembryonic antigen (CEA) Part 2

March 25,2014

Carcinoembryonic antigen (CEA)...
เป็นโปรตีนที่เราสามารถพบได้ในเซลล์หลายชนิด
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็ง และทารกที่กำลังเจริญเติบโต และ
สามารถตรวจพบได้ภายในกระแสเลือด

ในผู้ใหญ่สุขภาพดี  ไม่สูบบุหรี  ค่าของ CEA จะมีค่า < 2.5 ng/mL
และในคนสูบบุหรี่จะมีค่า < 5.0  ng/mL

CEA เป็นสารไกลโคโปรตีนเชิงซ้อน มีน้ำหนักโมเลกูล 20,000
พบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็ง (plasma membrane of tumor cell)
ซึ่งถูกปล่อยสู่กระแสเลือด

แม้ว่า CEA ถูกพบได้เป็นครั้งแรกในคนที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่
(Colon cancer)  แต่การที่ระดับของ CEA ในกระแสเลือดสูง 
ไม่ได้หมายความว่า เป็นข้อชีบ่งว่า  คนๆ นั้นจะต้องเป็นมะเร็งของ
ลำไส้ใหญ่ หรือต้องเป็นมะเร็ง (malignancy) เสมอไป

ตามเป็นจริง...
การตรวจพบ CEA ในกระแสเลือดสูง ยังสามารถตรวจพบในมะเร็ง
อย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากมะเร็งลำไส้ใหญ่   เป็นต้นว่า มะเร็งของ
ตับอ่อน (pancreatic),  มะเร็งของกระเพาะ (gastric), มะเร็งของปอด
(lung),  และมะเร็งของเต้านม (breast)

นอกจากนั้น  เรายังสามารถตรวจพบในภาวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช้มะเร็ง
เช่น โรคตับแข็ง (cirrhosis), โรคปอดเรื้อรัง (chroinc lung disease) และ
ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)

นอกจานั้น...
เรายังสามารถพบได้ในคนสูบบุหรี่ถึง 19 % และสามารถพบใน
คนที่มีสุขภาพดีถึง 3 %

ดังนั้น การตรวจหาส่อมะเร็ง- CEA จึงไม่สามารถนำมาใช้แทน
การตรวจชิ้นเนื้อ (pathological diagnosis) เพื่อการวินิจฉัยโรค

<< BACK    NEXT >>

สารส่อมะเร็ง Carcinoembryonic antigen (CEA) Part 1

March 25,2014

ตามปกติเราจะพบสารส่อมะเร็ง CEA ในกระแสเลือดในปริมาณน้อย...
แต่ในคนที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ช่วงล่าง- Colorectal cancer จะพบสาร
ส่อมะเร็ง  CEA ตัวนี้ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น

ไม่เพียงแต่คนเป็นมะเร็งของลำไสใหญ่เท่านั้น  ยังปรากฏว่า 
มีมะเร็งอีกหลายชนิด  สามารถทำให้ระดับของสารส่อมะเร็ง CEA
ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น

โดยทั่วไป  สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) ถูกนำไปใช้ในหลายกรณี
ด้วยกัน  เป็นต้นว่า :

1. เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองในคนที่มีสุขภาพดี  หรือในกลุมประชากร
    ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้สูง

2. เพื่อวินิจฉัยการเกิดมะเร็ง หรือการเกิดมะเร็งบางชนิด

3. เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาการพยากรณ์โรค และ

4. เพื่อการสังเกตุดูอาการของคนไข้ในขณะที่ทำการรักษา
    เป็นต้นว่า การผ่าตัด, ได้รับรังสีรักษา หรือได้รับเคมีบำบัด


NEXT >>

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

สารสื่อมะเร็ง (Tumor markers) P. 6: The PSA test may give false-positive or false-negative results.

March 24, 2014

ในการตรวจเลือดดูค่าสารส่อมะเร็ง - PSA แล้วพบว่า
ระดับของ PSA มีค่าสูงกว่าปกติ แต่คนไข้ไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
เขาเรียกการตรวจนั้นว่า เป็น false-positive

การอ่านผิดว่า หรือการอ่านว่า false positive test...
อาจทำให้ถูกตรวจ  รวมถึงสมาชิคในครอบครัวเกิดความวิตกกังวล
ต่อผลของการตรวจ  รวมไปถึงการตรวจอื่นที่พึงจะเกิดขึ้น  เช่น การเจาะ
เอาเนื้อจากต่อมลูกหมากมาตรวจ  ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนไข้
 เช่น  เกิดการอักเสบ, เจ็บปวด, และมีเลือดออก

คน (ชาย) ส่วนมากที่มีระดับ PSA ในระดับสูง แล้วไม่เป็นมะเร็ง
และมีประมาณ  25 %  ที่เป็นมะเร็งต่อมลุูกหมาก

การตรวจพบ false-negative test โดยการตรวจพบสสารส่อมะเร็ง PSA มีค่าต่ำ...
แต่ปรากฏว่า คนๆ นั้นเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก (CA prostate)
และผลของการตรวจพบ false - negative  test ดังกล่าว  ทำให้ซึ่งแพทย์บอก
ให้คนไข้ว่า   เขาไม่เป็นมะเร็ง  ทั้งๆ ที่เขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
 เป็นเหตุให้เขาไม่ได้รับการรักษามะเร็งตามที่ควรจะเป็น


<< BACK
\
www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/detection/PSA

สารสื่อมะเร็ง (Tumor markers) P. 5: What are some of the limitations and potential harms of the PSA test for prostate cancer screening

March 24,2014

แน่นอน....
การตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้ไว  ย่อมเป็นผลดีต่อคนไข้
โดยอาจช่วยให้เขารอดพ้นจากความตายจากโรคดังกล่าวได้
การตรวจคัดกรอง PSA Test สามารถช่วยให้แพทย์ค้นพบมะเร็งต่อมลูกหมาก
ในขณะที่มันมีขนาดเล็ก   ซึ่งไม่มีอาการแต่อย่างใด...
และเมื่อได้รับการรักษาได้อย่างเหมาะสม  ย่อมทำให้เขารอดพ้นอันตราย
อันจะเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้

มีคนไข้บางรรายที่เป็นมีมะเร็งต่อมลูกหมาก
ซึ่งตรวจพบโดยการตรวจคัดกรอง -PSA  เป็นชนิดที่มีการเจริญอย่างช้า ๆ
มีแนวโน้มที่จะไม่เป็นอันตรายต่อ (ชีวิต) คนไข้

และในการวินิจฉัยว่า  คนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากทั้งๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อ
ชีวิตนั้นเขาเรียกว่า  “overdiagnosis”  และการรักษาคนไข้ดังกล่าว เราเรียกว่า
“overtreatment”

การรักษาเกินความจำเป็น หรือ overtreatment...
จะทำให้คนไข้เผชิญกับภาวะแทรกซ้อนโดยไม่จำเป็น  เช่น การผ่าตัด (surgery)
และการรักษาด้วยการฉายแสง

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษา ได้แก่การเสียการควบคุมการขับถ่าย
ปัสสาวะ (urinary incontinence), มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ,
มีปัญหาทางเพศ (rectile dysfunction ) และการอักเสบ

นอกเหนือจากนั้น...
การตรวจพบมะเร็งต่อมลุูกหมากได้เร็ว...อาจไม่สามารถช่วยคนไข้ได้
เพราะมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการ
กระจายไปยังส่วนต่าง ๆของร่างกาย  โดยเกิดก่อนที่จะตรวจพบมะเร็งเสียอีก


<< BACK  P. 4:  What if a screening test shows an elevated PSA level?

NEXT >> P. 6:  The PSA test may give false-positive or false-negative results.

สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) P. 4 : What if a screening test shows an elevated PSA level?

March 24, 2014

ในการตรวจคัดกรอง (Screening) หาค่าสารส่อมะเร็ง - PSA เพื่อพิจารณาว่า
คนที่ไดรับการตรวจ  มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่   ซึ่งผลจากการตรวจคัดกรอง
จะพบว่าค่าของ PSA สูงกว่าปกติ (≥ 4.0 ng/mL) 
และก่อนที่จะทำอะไรต่อไป   แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจ PSA ซ้ำ 
เพื่อเป็นการยืนยันผลของการตรวจเลือดในครั้งแรก

หากผลที่ตรวจได้มีค่าสูงเหมือนเดิม  แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจ PSA 
พร้อมตรวจต่อมลูกหมากด้วยนิ้วมือ (DRE) อย่างต่อเนื่อง    เพื่อตรวจสอบดู
ความเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

ถ้าผลการตรวจดูระดับของ PSA มีค่าสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  หรือตรวจพบก้อน
ปรากฏในต่อมลูกหมาก (จากการตรวจด้วยนิ้วมือ (DRE).)..
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจอย่างอื่น ๆ   เพื่อตรวจหาต้นเหตุของปัญหา
โดยการตรวจอย่างอื่น ๆ   เช่น  ทำการตรวจด้วยภาพ- transrectal ultrasound,
เอกซเรย์ (x-rays),   หรือทำการตรวจด้วยกล้อง (cystoscope)

หากผลการตรวจ...พบว่า  คนไข้อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตัดเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากออกมาทำ
การตรวจ (biopsy)  ด้วยการใช้เข็มเจาะเอาเนื้อจากต่อมลูกหมากหลาย ๆ
ตำแหน่ง  โดยการใช้เข็มแทงผ่านเยื่อหุ้มต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
(transrectal biopsy)  หรืออาจแทงผ่านผิวหนังระหว่างทวารหนัก
และลูกอัณฑะ (Transperineal biopsy)

ในการใช้เข็มเจาะเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลุกหมากไปทำการตรวจ 
พยาธิแพทย์อาจใช้ “อัลตราซาวด์” เพื่อบอกตำแหน่งของต่อมลูกหมาก 
แต่การตรวจด้วย “อูลต้าซาวด์” ไม่สามารถบอกได้ว่า  คนเป็นมะเร็ง
ต่อมลูกหมากหรือไม่ ?


<< BACK  P. 3:  Prostatic specific antigen (PSA)

NEXT >> P.5 : What are some of the limitations and potential harms of
 the PSA test for prostate cancer screening?

สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) P. 3 : Prostatic-specific antigen (PSA)

March 24, 2014

สารส่อมะเร็ง - Prostate-specific antigen หรือ (PSA) เป็นโปรตีนถูกสร้าง
โดยเซลล์ของต่อมลูกหมาก  วัดเป็น nanobrams ของ PSA 
ต่อเลือดหนึ่งมิลลิมีเตอร (ml)

ในปี 1994 การตรวจเลือดหาสารส่อมะแร็ง- PSA ร่วมกับการรวจต่อมลูก
หมาก  ด้วยวิธีการใช้นิ้วตรวจ (digital rectal exam-DRE)   ได้ถูกนำไปใช้
ในตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่มีอาการ

นอกเหนือจากมะเร็งต่อมลูกหมาก...
คนที่มีต่อมลูกหมากโตโดยไม่เป็นมะเร็ง (BPH) ก็สามารถทำให้ระดับ
ของ PSA ในกระแสเลือดสูงได้เช่นกัน

เมื่อไม่นานมานี้...
มีแพทย์จำนวนไม่น้อยแนะนำให้ทำการตรวจ PSA ในชายที่เริ่มมีอายุ
ได้ 50

อย่างไรก็ตาม มีหน่วยงานจำนวนไม่น้อยเริ่มแสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับการตรวจเลือดหาระดับ PSA  โดยคำนึงถึงประโยชน์ และโทษที่จะ
เกิดกับการตรวจดังกล่าว

ในอดิต...
แพทย์จะพิจารณาว่า ค่าของสารส่อมะเร็งp-  PSA ระดับ ≤ 4.0 ng/mL
ถือว่า เป็นค่าของต่อมลูกหมากอยู่ในภาพปกติคนที่เป็นปกติ   และในราย
ที่ PSA มีค่ามากกว่า 4.0 ng/mL เป็นค่าที่ส่อให้เกิดความสงสัยว่า  อาจมี
ความผิดปกติในต่อมลูกหมาก   ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดเอาเนื้อ
จากต่อมลุกหมากมาทำการตรวจ (biopsy)   เพื่อพิสูจน์ว่า...
ต่อมลูกหมากนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ?

นอกเหนือไปจากนั้น...
ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่เราควรทราบ  นั้นคือ มีคนที่เป็นมะเร็งต่อม
ลุูกหมาก โดยค่าของ PSA อยู่ในระดับปกติ ( < 4.0 ng/dL)
และในขณะเดียวกัน  มีคนจำนวนไม่น้อยมีค่าของ PSA สูงกว่า 4.0 ng/dL
ปรากฏว่า  เขาไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเลย

ไม่เพียงแค่นั้น...
เรายังพบค่าของ PSA สูงขึ้นในรายที่มีการอักเสบของต่อมลูกหมาก
(prostatitis), หลังการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ (urinary tract
Infection), และภายหลังการผ่าตัดต่อมลุกหมาก (prostate surgery)

การกินยารักษาต่อมลูกหมากบางตัว เช่น finasteride  และ dutasteride
จะทำให้ระดับของ PSA ลดต่ำลง

โดยสรุป...
สารส่อมะเร็ง - PSA  เป็นแต่เพียงส่อให้เกิดความสงสัยว่า  อาจเป็นมะเร็ง
ของต่อมลุกหมากเท่านั้น  โดยไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป

<< BACK P. 2 :  What are different types of lab. tests ?

NEXT >> P. 4 : What if a screening test shows an elevated PSA level?

สารส่อมะเร็ง (Tumor markers) P. 2 - Tumor markers : What are different types of lab. tests ?

March 24, 2014

สารที่ส่อให้เกิดความสงสัยว่าเป็นมะเร็ง (Tumor markers)...
เป็นสารต่าง ๆ  ที่ร่างกายได้สร้างกัน  เพื่อสนองตอบต่อการมีเซลล์มะเร็ง

ภายในร่างกาย  โดยสารเหล่านี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด 
หรือถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ

สารส่อมะเร็งดังกล่าว  ได้ถูกนำมาพิจารณา ประเมินว่า คนไข้ตอบสนอง
ต่อการรักษาดีแค่ใด  ไม่เพียงแค่นั้น  สารส่อมะเร็งดังกล่าว  ยังถูกนำมา
ตรวจเช็คดูว่า  มะเร็งที่ได้รับการรักษาไปนั้นเกิดขึ้นใหม่อีกหรือไม่

มีการวิจัยถึงบทบาทของตัวบ่งชี้ถึงมะเร็ง (tumor markers)  ซึ่งถูกนำมาใช้
ในการตรวจหา, วินิจฉัย และการรักษามะเร็ง...โดย  The National Cancer
Institute (NCI)... ซึ่งได้ระบุว่า  สารส่อมะเร็ง (tumor markers)  จะมีปะโยชน์
ในการพิจารณาปัญหา (มะเร็ง) ได้  จะต้องใช้ร่วมกับการตรวจชนิดอื่น ๆ
ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้:

 ในคนที่เป็นเนื้องอกธรรมดา อาจมีค่าของตัวชี้บอกมะเร็งที่มี
ค่าสูงกว่าปกติที่ปรากฏในกระแสเลือด
 คนที่เป็นมะเร็ง...ไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้บอกมะเร็งก็ได้
 สารส่อมะเร็ง (tumor markers) บางตัวไม่มีความจำเฉพาะเจาะจง
สำหรับมะเร็งตัวใดตัวหนึ่งได้

ในวงการแพทย์ มีตัวชี้บอกมะเร็งหลายตัวที่เราควรทราบดังนี้:

o Prostate-specific antigen (PSA)
o Prostate acid phospatase (PAP)
o CA 125
o Carcinoembryonic antigen (CEA)
o Alpha-ketoprotein (AFP)
o Human chorionic gonadotropin (HCG)
o CA 19-9
o CA 15-3
o CA 27-29
o lactate dehydrogenase (LDH)
o neuron-specific enolase (NSE)


<< BACK P. 1: Tumor markers

NEXT >> P. 3:  Prostatic specific antigen (PSA)

สารส่อมะเร็ง (Tumor marker)P. 1

March 24, 2014

มะเร็ง (Cancer)...
แค่ได้ยินชือ  เราก็ไม่อยากจะฟังแล้ว
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะมะเร็งเป็นโรคที่น่ากลัว ไม่มีใครอยากให้เกิด
ขึ้นกับตนเอง  เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้วมีความรู้สึกเหมือนถูกศาลตัดสินประหารชีวิต

อย่างไรก็ตาม หากเราสามารถตรวจวินิจฉัยได้เร็ว  พร้อมกับได้รับการรักษา
ได้อย่างเหมาะสม  เช่น  ได้รบการผ่าตัดเอามะเร็งออกทิ้งไปก่อนที่โรคจะแพร่
กระจายไปที่อื่น   โอกาสหายมีได้สูง...
คำถามมีว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นโรคมะเร็ง ?

ก่อนอื่น...
ต้องทราบก่อนว่า เราไม่มีการตรวจเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถบอกได้
อย่างแน่นอนว่า  ท่านเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องประเมินจากประวัติความเจ็บปวย
ของคนไข้  และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด พร้อมกับการวินิจฉัยทางห้อง
ปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ

มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์หลายอย่างสำหรับนำมาพิจารณาว่า   คนไข้
รายนั้น ๆ เป็นโรคมะเร็งหรือไม่?  ตลอดรวมไปถึงการตรวจแยกโรคอย่างอื่น
ออกไป...

ในคนไข้บางราย อาจมีการตรวจซ้ำ  เมื่อโรคเปลี่ยนแปลง หรือผลของ
การตรวจผิดปกติ   ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจยืนยันอีกครั้งได้

ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง   อาจจำเป็น้องทำการตรวจด้วยภาพ,  ตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการณ์   รวมถึงการตรวจหาตัวชี้นำมะเร็ง (tumor markers),  ตรวจเนื้อเยื่อ
ด้วยกล้อง,  และตรวจทางพันธุกรรม

>> NEXT P. 2 : What are the different types of laboratory tests?

ปัญหาที่เกิดกับต่อมไร้ท่อ: P 11: Thyroid Caner Treatment

March 2, 204

สำหรับท่านที่เป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์...
มีวิธีการรักษาโรคอยู่หลายอย่าง ที่ท่านควรทราบมีดังต่อไปนี้:

การผ่าตัด (Surgery)
การผ่าตัดจัดเป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งของต่อมไทรอยด์
โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยวีธีใดวิธีหนึ่งดังนี้:

Total thyroidectomy - เป็นวิธีการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกหมด 
ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์เขาแนะนำให้ทำกัน

 Thyroid lobecomy – เป็นการผ่าตัดสำหรับกรณีที่เป็นมะเร็งขนาดเล็ก 
โดยการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ ส่วน (lobe) ที่มีก้อนมะเร็งออกทิ้งไป
เป็นวิธีที่ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เจริญอย่างช้าๆ

รังษีรักษา (Radiation Therapy)
เป็นการรักษาด้วยการใช้เอกซ์เรย์ที่มีพลังสูง (high energy X-rays)
ให้ทำลายเซลล์มะเร็ง    ในการรักษาด้วยวิธีนี้ รังษีที่ได้จะมาจาก
เกลือแร่ radioactive iodine

และเนื่องจากต่อมไทรอยด์จะจับเอาสารไอโอดิน ดังนั้นการให้สารกัม
มันตภาพรังษีไอโอดิน  สารกัมมันตภาพไอโอดินจะอยู่ในต่อมไทรอยด์
ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์ที่เป็นมะเร็ง

การฉายแสงอาจนำมาใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็ง  ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้มะเร็งมีขนาดใหญ่  และการฉายแสงสามารถทำให้ก้อนมะเร็ง
มีขนาดเล็กลง...ง่ายต่อการผ่าตัดในภายหลัง

ฮอร์โมนรักษา (Hormone Therapy)
เป็นการรักษาด้วยการใช้ ไทรอยด์ฮอร์โมน  ซึ่งออกฤทธิ์ด้วยการชะลอ หรือ
ยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง...
ในการใช้ฮอร์โมนรักษา ยังสามารถยับยั้งไม่ให้มะเร็งสร้างฮอร์โมนชนิดอื่น
 ซึ่งอาจทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้

เคมีรักษา (Chemotherapy)
เคมีรักษา หมายถึงการใช้ยาทำลายเซลล์มะเร็ง
ซึ่งอาจเป็นยาเม็ดสำหรับรับประทาน (pill), หรืออาจใส่ (ฝัง) เข้าไปในร่างกาย
ด้วยการฉีดทางเส้นเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ

การรักษาดังกล่าว เราเรียกว่า systemic tretment เพราะยาได้เข้าสู่กระแสเลือด 
กระจายไปทั่วร่างกาย  และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ด้านนอก
ต่อมไทรอยด์ได้

<< BACK  P. 10:  Thyroid cancer diagnosis

www.ucsfhealth.org/

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาที่เกิดกับต่อมไร้ท่อ: P10 : - Thyroid cancer : Diagnosis

March 2, 204

คนที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่...
เขาจะมาด้วยก้อน  หรือเป็นตุ่มทีบริเวณคอ   ซึ่งสามารถคลำได้
อาการอย่างอื่นจะไม่ค้อยมี

อาการเจ็บปวดที่เป็นอาการเตือนในระยะแรก ของมะเร็งทั้งหลาย
ก็ไม่ค่อยปรากฏให้เห็น

คนที่เป็นมะเร็งดังกล่าว อาจมาด้วยความรู้สึกแน่นที่บริเวณลำคอ
ทำให้เกิดมีความลำบากในการหายใจ,  กลืนอาหารลำบาก,  อาจทำ
ให้เกิดเสียงแหบ  หรือมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวมขึ้น

การวินิจฉัยโรค (Thyroid Cancer Diagnosis)
เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อไทรอยด์...
แพทย์อาจทำการตรวจหลายอย่าง เพื่อตรวจสอบดูว่า ขนาด  และ
ตำแหน่งของก้อนว่า  เป็นเนื้องอก (benign) หรือเป็นมะเร็งกันแน่

นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มอีก   เพื่อให้ทราบว่า
การทำงานของต่อมไทรอยด์ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ ?

การตรวจที่เราควรทราบได้แก่

 Ultrasonography- เป็นเทคนิคในตรวจความผิดปกติด้วยภาพ
ของต่อมไทรอยด์ โดยการใช้คลื่นวิทยุที่มีความเร็วสูง
ซึ่งมนุษย์เราไม่สามารถสัมผัสได้ เมื่อคลื่นวิทยุวิ่งผ่านต่อมไทรอยด์ 
การสะท้อนขอคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพ  หรือที่เรียกว่า sonogram
ซึ่งปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์...

ภาพที่ได้...แพทย์สามารถบอกได้ว่า มันเป็นเพียงถุงน้ำ(Fluid-filled cyst)
หรือเป็นเนื้องอกธรรมดา(benign) หรือ  เป็นก้อนแข็ง (solid mass)
 ซึ่งอาจเป็นมะเร็งได้

การใช้สารกัมมันตภาพรังษีตรวจ (scan) ต่อมไทรอดย์ สามารถบอกขอบเขต
ของก้อนเนื้องอก  หรือมะเร็งที่อยู่ในต่อมไทรอยด์ได้ โดยก่อนทำสะแกนด์ 
แพทย์จะฉีดสารกัมมันตภาพรังษีในปริมาณน้อย ๆ ให้แก่ท่าน
ซึ่ง ส่วนมากจะเป็น technetium (Tc-99m)  และสารดังกล่าว
จะไปรวมตัวอยู่ในต่อมไทรอยด์

นอกจากนั้น   การทำสะแกนด์ด้วยเครื่อง scanner ยังสามารถใช้ตรวจสอบ
ส่วนต่าง ๆ ของต่อมไทรอยด์  ซึ่งไม่จับสารไอโอดินได้ตามปกติได้อีกด้วย
 และบริเวณที่ตรวจได้ (cold spots) อาจเป็นเนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง...
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตรวจอย่างอื่นกันต่อไป

 Biopsy- เป็นการศึกษาด้วยการเอาเนื้อเยื่อจากต่อมไทรอยด์มาทำการ
ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ (microscope) เพื่อให้แน่ใจว่า
 ก้อนที่ตรวจพบนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ?

การเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ   สามารถกระทำได้โดยการใช้เข็มเจาะ
ดูดเอาชิ้นเนื้อ....หรือทำการผ่าตัด...ตัดเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ
วิธีแรกเรียก needle biopsy และวิธีที่สองเรียก surgicalbiopsy

ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด แพทย์ทางพยาธิจะทำการตรวจเนื้อเยือ เพื่อ
มองหาเซลล์ที่เป็นมะเร็ง...

<< BACK P. 9 : Thyroid cancer diagnosis

NEXT >>  P.11 : Thyroid Cancer Treatment