วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Brain Fitness and "Cognitive Reserve"


แพทย์เรามีวิธีการต่างมากมาย...
ที่ถูกนำไปใช้ในการประเมินสมรรถภาพทางกาย 
เช่น  การตรวจการเต้นของหัวใจ (heart rate), ความดันโลหิต (blood pressure),
ระดับไขมั(cholesterol), น้ำหนักตัว &ส่วนสูง ( weight & height), ตรวจเลือด
และตรวจปัสสาวะ  เพื่อคัดกรองโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราได้

ตามเป็นจริงจะพบว่า  ตลอดทั้งร่างกายของเราสามารถทำการตรวจ
ได้หมด  ยกเว้นเฉพาะ “สมอง” ของเราเท่านั้นทีไม่ได้รับการตรวจ

สมองของคนเราถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด...
แต่ทำไมจึงถูกละเว้น  หรือมองข้ามไป 
ไม่ทำการตรวจละ?

คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้  คงเป็นเพราะเรายังไม่มีวิธีการที่จะนำมาใช้
ในการประเมินสุขภาพของสมองได้กระมัง 
ซึ่งไม่แน่ ในวันข้างหน้า...เราอาจมิวิธีการที่ถูกนำมาใช้ตรวจก็ได้

เมื่อไม่นานมานี้  นักวิจัยได้ทำการตรวจปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
เรียกว่า “cognitive reserve” 
ซึ่งเป็นคำง่ายๆ  ที่บอกให้เราได้ทราบว่า
ในระหว่างเซลล์ของสมอง (neurons) ถ้ามองด้วยกล้องจุล...
จะพบความหนาทึบของส่วนเชื่อมต่อ (connections) ระหว่างเซลล์
ประสาทสมองจำนวนมากมาย 


ในสมองของคนที่พบว่า  มีสว่นเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสมอง
ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า axons & dendrites เป็นจำนวนมาก.... 
ยิ่งมีความแน่นทึบมาก จะพบว่าสมองของคนนั้นมีความทนทานทาน
ต่อภาวะเสื่อมสภาพ (degeneration) ของสมองได้มาก
ยกตัวอย่าง

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น...
สมมุติว่า  ท่านมีทางเชื่อมติดต่อระหว่างเซลล์สมองเพียงหนึ่งเส้น  
และจากการเสื่อมสภาพของของสมอง จนเป็นเหตุให้ทางเชื่อมต่อ
(connection) ระหว่างเซลล์ประสาท ย่อมทำให้การสื่อสัญญาณประ
สาทเสียไป  ซึ่งทำให้การทำงานของสมองที่เกี่ยวกับเซลล์ประสาท
ตัวนั้นเสียไปด้วย

แต่ถ้าหากคนเดียวกันนี้  มีทางเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทมากกว่า
หนึ่งเส้นทาง  และการที่จะทำให้สมองสูญเสียการทำงานไป  โรคที่
เกิดขึ้นจะต้องทำลายส่วนที่เชื่อมต่อเซลล์ประสาทหมดทุกเส้น
จึงจะทำให้เกิดอาการขึ้นได้

ในกรณีของคนมีสุขภาพดี (phsycal fitness)... 
ไม่ได้หมายความว่า  เขาจะปลอดภัยจากการเป็นโรคได้ 
แต่การมีสุขภาพดี จะลดโอกาสไม่ให้เกิดโรค
พร้อมกับลดความรุนแรงของโรคได้

การมี cognitive reserve  สามารถทำให้คนเรามีความทนทาน
ต่อการเป็นโรคทางระบบประสาทสมองได้  ซึ่งหมายความว่า
โรคไม่สามารถทำลายส่วนเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทได้หมดทุกเส้น
จึงทำให้คนไข้ไม่มีอาการแสดงของโรคปรากฏออกมา

และพลังสำรองอันนี้แหละ (cognitive reserve) ถูกนำมาประเมินความ
สมรรถภาพสมอง (brain fitness)

คำถามต่อไปมีว่า...
เราจะทำให้ cognitive reserve ดีขึ้นได้อย่างไร ?

Dr. Joe Verhese จาก Albert Einstein College of Medicine in New York 
ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบระหว่างวิถีชีวิตทางกาย และจิต
โดยกระทำในคนทีมีอายุ  75 ปีขึ้นไป จำนวน 467 คน  ศึกษาเป็นเวลา 5  ปี
ในแต่ละคนไม่มีอาการของโรคสมองเสื่อม  แต่พอ 5 ปีให้หลังพบว่า 
มีมากหนึ่งในสี่ หรือ 25 % เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)

ผลจากการศึกษา  พบสิ่งที่น่าสนใจ  คือมีความสัมพันธ์ระหว่าง
“กิจกรรมทางจิต (mental activity) “ กับการเป็นโรค (disease)
อย่างมีนัย...

และยังพบอีกว่า ไม่มีกิจกรรมทางจิตอันใดดีกว่ากัน 
แต่การมีกิจกรรมทางจิตหลายอย่างต่างหาก  ที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ที่ทำให้ cognitive reserve เพิ่มขึ้น


ตามความเข้าใจของแพทย์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสมองมีว่า...
ถ้าเราไม่ใช้มัน (สมอง) เราก็จะสูญเสียมันไป (use it or lose it)

ผลจากการศึกษาของ Dr. Verhese ได้สนับทฤษฎีของ cognitive reserve 
ในประเด็นที่ว่า  “การมีกิจกรรมเกี่ยวกับจิต (mental activities) มากอย่าง 
จะทำให้สมองสร้างพลังสำรอง (reserve)   ด้วยการสร้างทางเชื่อมต่อ (connections) ระหว่างเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น 
และในขณะเดียวกันก็มีการส่งเสริมให้เซลล์มีการเจริญดีขึ้น 
(promoting cell growth)

ในขณะที่สมองมีการสร้างพลังสำรอง (cognitive reserve) ขึ้น 
ปรากฏว่ามันไม่ได้ลดการเกิดโรคสมองเสื่อมแต่อย่างใด 
มันเป็นเพียงแต่การชะลอผลกระทบจากโรคเท่านั้น 
โดยไม่ให้คนเกิดมีอาการใด ๆ

เป็นที่น่าสนใจอีกว่า...
ผลของการศึกษา  ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง
“การมีสุขภาพดี”  กับ “cognitive  Reserve”  เลย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
สามารถทำให้มีสุขภาพกายดี  และมีความรู้สึกดีขึ้น
แต่ไม่มีส่วนในการสร้างพลังสำรองของสมองแต่ประการใด 

โดยสรุปสมรรถภาพทางจิต (mental fitness) จะดีได้
จำเป็นต้องอาศัยอาหารและการบริหารทางจิตเท่านั้น...


http://www.mybrain.co.uk

Seniors' Health: Alzheimer’s Disease 3

การป้องกันโรค (Prevention)

เราไม่มีทางรักษาโรค “อัลไซเมอร์” ได้
การปฏิบัติตนทั้งด้านกาย และจิตใจให้ทำงานอยู่เสมอ 
ย่อมสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคดังกล่าว (AD) ได้

นอกจากนั้น  การได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหาร
ที่ประกอบด้วย “ปลา”, น้ำมันพืช (olive oil), ผักจำนวนมาก ๆ
อาจชะลออาการของโรค  และชะลอโรคให้ช้าลงได้
ในขณะนี้เราไม่มีทางรักษาโรค AD ให้หายได้
แต่เรามีเป้าหมายในการรักษา  ด้วยการจัดการกับอาการของโรค  และ
ชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลงเท่านั้นเอง














มีกลุ่มยาชนิดหนึ่ง เรียกว่า cholinesterase inhibitors…
ถูกนำมาใช้  เพื่อช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทของ
สมองดีขึ้น  และยังอาจชะลอความเสื่อมทางสติปัญญาคนไข้ 
โดยเฉพาะในรายที่เป็นไม่มาก (mild to moderate AD)
ด้วยการเพิ่มระดับสาร acetylcholine ในสมอง ให้เพิ่มมากขึ้น

ยาอย่างอื่นที่ถูกนำมาใช้ในคนไข้ ซึ่งสามารถทำให้ความจำ (memory)
ของคนไข้ที่อยู่ในระยะพอประมาณ ถึงรุนแรง (moderate & severe )
ให้สามารถดำรงอยู่ได้...ยาในกลุ่มนี้  เรียกว่า
NMDA receptor antagonists

การรักษาทางจิตบำบัด (Psychotherapy) สามารถช่วยคนไข้ที่เป็นโรค
“อัลไซเมอร์” ได้  โดยการทำให้คนไข้ได้ทราบความเป็นจริง
และรักษาให้ความจำคงอยู่ในสภาพเดิมได้

มียาหลายตัวถูกนำมาใช้  เพื่อลดอาการซึมเศร้า
และทำให้คนไข้สงบจากความก้าวร้าวลง

สิ่งที่คนไข้โรค “อัลไซเมอร” ควรกระทำให้มากสุด  คือ:

§  ออกกำลังการให้สม่ำเสมอ
§  ดำรงสภาพทางสังคมให้อยู่ในสภาพปกติ
§  ปฏิบัติการทางสติปัญญาให้ต่อเนื่อง  เช่น  การศึกษา... และ
§  การแก้ปัญหา และอื่น ๆ


ท่าน หรือสมาชิกในครอบคัวมีปัญหาต่อไปนี้:
§  เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องความจำ และการตัดสินปัญหา
§  ลืมการกินยา
§  ลืมปิดเตาไฟ
§  อนุญาตให้คนแปลกหน้าเข้าบ้าน
§  ไม่สามารถกลับบ้านถูก ซึ่งมักเกิดในขณะเดิน, ขับรถยนต์
โดยเฉพาะในสถานที่เคยรู้มาก่อน
§  มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
คนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์”  มักจะไม่ตระหนักรู้ปัญหาเหล่านี้
เขามักจะปฏิเสธ และไม่ยอมรับว่ามันมีอาการเช่นนั้น



เนื่องจากไม่มียาที่สามารถรักษาโรคให้หายได้
แต่ยาต่างๆ อาจช่วยทำให้คนไข้สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้
เป็นปกติ  และสามารถลดปัญหาด้านพฤติกรรม
และอาจชะลอคนไข้  ไม่ต้องไปอยู่ในหมู่บ้านคนชราได้







http://www.intelihealth.com

Seniors Helath: Alzheimer’s Disease 2

การวินิจฉัยโรค (Diagnosis):
ส่วนใหญ่คนเป็นโรค “อัลไซเมอร์” มักจะไม่รู้ว่าเขามีปัญหา
ซึ่งสมาชิกในครอบครัว  หรือเพื่อนสนิทมักจะเป็นผู้สังเกตพบเห็นความ
ผิดปกติในคนไข้  เช่น  “ขี้ลืม” และ “มีการปรับเปลี่ยนในพฤติกรรม”

ในกรณีดังกล่าว  แทนที่จะพยายามทำให้เขาเชื่อว่าเขามีปัญหา
ควรจัดการให้เขาพบแพทย์  และควรมีสมาชิกในครอบ 
หรือเพื่อนใกล้ชิดควรอยู่กับเขาด้วย



เราไม่มีการตรวจเฉพาะโรค “อัลไซเมอร์ (AD)”…
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติการเกิดโรค (medical history)
และการตรวจร่างกาย (physical examination)
ซึ่งประกอบด้วยการตรวจทางระบบประสาท และสภาพทางจิตใจ
แพทย์ต้องการรู้สิ่งต่อไปนี้:
§  สูญเสียความจำ
§  ใช้ภาษาด้วยความยากลำบาก
§  มีปัญหาในการเรียนรู้  และรักษาข้อมูลที่เพิ่งเรียนรู้มา
§  มีปัญหาในการเดินตามทิศทางตามที่กำหนด 
หรือปฏิบัติกิจที่มีความซับซ้อนไม่ได้
§  มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือมีพฤติกรรมที่มีอันตราย
นอกจากนั้น  สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทอาจเป็น
ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้เพิ่มเติมได้

แพทย์จะทำการตรวจระบบประสาท...
ตรวจสมอง และเส้นประสาท  มีการตรวจสภาพของจิตประสาท
ซึ่งประกอบด้วยสายตา(visual), การเขียน (writing)
และการตรวจเกี่ยวกับความจำ (memory test)

แพทย์จะทำการตรวจหาโรคอื่นๆ
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับโรค “อัลไซเมอร์” เช่น:

การตรวจเลือด  วัดระดับ Vitamin B12, thyroid hormone
ในรายที่ตรวจพบ Vitamin B12 และ thyroid hormone ต่ำๆ
สามารถทกให้เกิดปัญหาด้านความคิด (thinking)
และด้านความจำ(memory) ได้ 
ซึ่งสามารถทำให้หายได้เมื่อได้รับการรักษา

ถ้าแพทย์ตรวจความคิด (thinking) และความจำ (memory)
แล้วพบว่า  คนไข้อาจมีปัญหาได้  ในกรณีดังกล่าว  แพทย์อาจ
ทำการตรวจการทำงานของสมอง  ซึ่งเราเรียกว่า
neuropsychological testing

มีคนไข้บางราย  แพทย์อาจสั่งให้ตรวจภาพของสมอง
(brain imaging study) ซึ่งสามารถแยกโรคบางอย่างที่ทำให้เกิด
อาการออกไปได้  และที่สำคัญ  การตรวจ Brain imaging study
ไม่สมารถวินิจฉัยโรค “อัลไซเมอร์” ได้ก็จริง
แต่ข้อมูลที่ได้จากการตรวจของแพทย์, ผลการตรวจเลือดทางห้อง
ปฏิบัติการณ์ และการตรวจ neuropsychological testing
สามารถช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้

นอกจากนั้น  เพื่อเป็นการยืนยันคำวินิจฉัยโรค...
แพทย์ของท่านอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น แพทย์เฉพาะ
ทางระบบประสาทสมอง (neurologist)  แพทย์ผู้รักษาผู้สูงอายุ
(geriatricians) และ แพทย์ทางระบบจิต-ประสาทคนสูงอายุ
(geriatric psychiatrists)

ระยะเวลาที่คาด...(Expected Duration)
ใครก็ตามที่เกิดเป็นโรค “อัลไซเมอร์” แล้ว...
เขาไม่มีทางที่จะหวนกลับสู่สภาพก่อนเกิดโรคได้...เป็นเล้ว...เป็นเลย!
เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรค  การทำงานของสมอง (mental function)
จะเสื่อมลง...จนกระทั้งเขาเสียชีวิตไป



 << BACK   NEXT  >>

Seniors’ Health: Alzheimer’s Disease 1

Dec. 30, 2012

เราทราบว่า...
Alzheimer’s Disease (AD) หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นกับสมองทำให้สูญเสีย
การทำงานไปหลายอย่าง  ซึ่งอาการจะเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป
มันเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคสมองเสื่อม (dementia)



โรค AD จะมีการทำลายสมองส่วนที่มีหน้าที่ทางสติปัญญา,  
ความจำระยะสั้น (short-term memory) มักจะเกิดขึ้นในระยะแรก, 
การทำงานด้านสติปัญญา (intellectual functions) จะเสื่อมลงอย่างช้าๆ,
การตัดสินปัญหาเริ่มแย่ลง,  และคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค AD 
จะไม่สามารถทำงานที่เคยทำในแต่ละวันได้เหมือนเดิม

โรค AD  มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากกว่า 60…
และในบางครั้งสามารถเกิดกับคนอายุน้อย (หนุ่ม)ได้เช่นกัน

ในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่า..
อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรค “อัลไซเมอร์”
แต่เราจะพบว่ามี proteins สองชนิดปรากฏภายในสมอง
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Proteins ทั้งสองตัวจะก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทสมอง

โรค AD เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะกระทบต่อสารสื่อประสาท ชื่อ acethylcholine
ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทช่วยส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง
นอกจากนั้น  โรค AD ยังทำให้ระดับของ Acetylcholine ลดลงด้วย
ซึ่งอาจเพิ่มปัญหาให้เกิดขึ้นกับการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างเซลล์ประสาทของสมองให้มากขึ้น

ต่อมาโรคจะกระทบกับตัวเซลล์ประสาทสมองโดยตรง...
ซึ่งทำให้เซลล์ประสาทสมองเสื่อมลง และตายไป
ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค AD:
§  อายุ. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่แก่ขึ้น
§  ประวัติทางครอบครัว. สมาชิกในครอบครัว  โดยเฉพาะพ่อ-แม
  หรือ พี่น้องกัน ซึ่งเป็นโรค AD จะทำให้ท่านมีความเสี่ยงต่อการ
  เกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น
§  ปัจจัยทางพันธุกรรม. มีพันธุกรรมบางตัวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการ
   เกิดโรค AD

อาการของโรค (Symptoms)
โรค “อัลไซเมอร์” เป็นโรคที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  
ในระยะแรกๆ ของการเกิดโรค (AD) ก่อนอย่างอื่นจะเกิด...

§  การรื้อฟื้นความจำใหม่ ๆ หรือความจำที่เกิดขึ้นไม่นานกระทำได้ด้วยความลำบาก
§  การเรียนรู้  และการรักษาข้อมูลใหม่ ๆ กระทำได้ยาก
พอโรคเริ่เลวลง:
ความจำเก่าๆ จะค่อย ๆ สูญหายไป
นอกจากนั้น  อาจพบอาการอย่างอื่น ๆ รวมถึงความลำบากใน:
o   แสดงความคิดเห็นเป็นคำพูด
o   นำคำสั่งการปฏิบัติงานง่ายๆ
o   นึกใบหน้าของคนที่เคยรู้จัก หรือ สิ่งที่เคยรู้มาก่อน
คนเป็นโรคอาจไม่สามารถที่จะ...
o   เตรียมอาหาร
o   บริหารการเงิน
o   จำเรื่องล็อกประตู
o   จำเรื่องการรับประทานยา
o   รักษาความรู้สึกในด้านทิศทางให้คงสภาพเหมือนเดิม
o   หรือแม้กระทั้งจำใบหน้าของคนที่เรารู้จัก

มีคนไข้โรค “อัลไซเมอร์” ในระยะแรก ๆ ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในด้าน
รับประทานอาหาร, อาบน้ำ, แต่งตัว และสามารถเรียนรู้ได้
โดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือใด ๆ

มีคนเป็นโรค AD หลายรายที่เกิดมีปัญหาจิตประสาท
เช่น  บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป, หงุดหงิด,  เครียด, กังวลใจ
หรือมีความซึมเศร้าเกิดขึ้น

เมื่อโรค “อัลไซเมอร์” พัฒนาเป็นขั้นกลาง (middle stage) และระยะ
สุดท้าย  (late stages)  โดยคนไข้อาจแสดงอาการ:

§  มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความคิดของตนเอง และสภาพของตัวเอง
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการถูกปฏิบัติด้วยความไม่ยุติธรรม
§  สัมผัสกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (hallucination)  เช่น เห็น, ได้ยิน,
ได้กลิ่น, ได้รับรส หรือถูกสัมผัสกับบางสิ่ง  ซึ่งไม่มีจริง
§  ก้าวร้าว
§  ถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียว  เขาจะเร่ร่อนไปเรื่อยๆ โดยไร้เป้าหมาย 
และไม่สามารถกลับที่เดิมได้ (ทั้งๆ ที่เป็นสถานที่ตนเองเคยรู้มาก่อน)

      NEXT  >>