วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

Pacemaker (3): Precaution

ก่อนที่คนไข้ ชาย วัย 78 ปี ผู้ซึ่งได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ จะกลับบ้าน
คนไข้ได้รับคำแนะนำว่า:
ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

Pacemaker เมื่อได้เข้าไปอยู่ในร่างกายของคนไข้แล้ว
เครื่องมือดังกล่าว ก็เป็นส่วนหนึ่งของกายของคนนั้นทันที
ที่สำคัญ มันจะทำหน้าที่ช่วยประคับประคองการทำงานของหัวใจของเขา ให้ทำงานเป็นปกติ

เริ่มต้น ปล่อยให้หัวใจทำงานตามปกติด้วยตัวของมันเอง โดยเครื่องมือไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง
แต่ถ้าเมื่อใด หัวใจเต้นผิดปกติ เช่น เต้นช้าไป (bradycardia) เจ้ากล่องเล็ก ๆ ที่วางไว้ใต้ผิวหนัง ตรงตำแหน่งใต้ต่อกระดูกไหปลาหล้าด้านซ้าย จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้า ไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเป็น ปกติทันที
นั่นคือหน้าที่ของมัน จะช่วยเมื่อหัวใจต้องการ
ฟังดูแล้ว เหมือน “คำขวัญ” ของใครก็ไม่รู้ ?

เมื่อกล่อง pacemaker มีความสำคัญเช่นนั้น
สิ่งที่เราควรทราบ:

o เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ จะมีอายุยืนยาว 5 ถึง 10 ปี

o เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (arc welding) และอุปกรณ์สร้างคลื่นแม่เหล็กๆฟ้า ซึ่งเราสามารถพบเห็นในโรงงานเชื่อมเหล็ก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องเหล่านี้ สามารถยุติการทำงานของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจได้

o Cellular telephone หากเราวางไว้ตำแหน่งที่ใกล้เครื่อง...เช่น ระดับราวนม สามารถกระทบต่อการทำงานของเครื่องได้ ตราบใดที่ให้เครื่องโทรศัพท์ ห่างจากกล่องมากกว่า 6 นิ้วขึ้นไป....ก็ไม่น่าเป็นปัญหาต่อการทำงานของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

o เครื่อง MRI scanners สามารถกระทบต่อการทำงานของ pacemaker
หากจำเป็นต้องทำการตรวจด้วยเครื่องมือดังกล่าวจริง ก็มีทางหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะกระทบต่อเครื่องได้ และที่สำคัญ จะต้องรายงานให้แพทย์ได้ทราบเอาไว้

o การฉายแสงรังสีรักษาคนไข้...รังสีดังกล่าวสามารถทำลายเครื่องได้ได้เช่นกัน แต่เราสามารถปกป้องได้...
o เครื่องสลายก้อนนิ้ว ( Shock wave lithotripsy) เป็นอันตรายต่อเครื่องได้เช่นกัน

สำหรับเครื่องไฟฟ้าต่อนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาต่อเครื่องกระตุ้นหัวใจ เช่น

• Microwave oven
• Television and remote control
• Radio
• Toaster
• Electric blankets
• Electric shavers และ
• Electric drill

ก่อนจากกัน คนไข้ยังขอคำยืนยันว่า เขาจะดำเนินชีวิตได้ตามปกติหรือไม่ ?

หลังจากท่านได้รับเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) ใส่เข้าไปในร่างกายของท่านแล้ว ท่านควร ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เหมือนคนปกติในอายุเดียวกับท่านเขาทำกัน
หลังจากท่านได้ใส่เครื่องดังกล่าวแล้ว ท่านยังสามารถกระทำ :

• ออกกำลังกายพอประมาณ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
• สามารถขับรถได้ตามปกติ ถ้าแพทย์ไม่เห็นเป็นอื่น
• กลับไปทำงานได้ตามปกติที่เคยทำ
• สามารถทำงานในสนาม หรืองานบ้านได้ตามปกติ
• มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬา
• อาบน้ำได้ตามปกติ และ
• มีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ

Pacemaker(2): มันทำงานอย่างไร ?

Cont.

“คุณหมอ...เครื่อง ( pacemaker) มันทำงานอย่างไร...?”
คุณตา (คนไข้) เกิดความสนใจอยากรู้

เพื่อเป็นการเรียนรู้ของคุณตา...ผู้เขียนเลยอธิบายเรื่องการเต้นตามปกติของหัวใจ
ว่า คนปกติ หัวใจคนเรามันเต้นอย่างไร ?

การเต้นของหัวใจ

ปกติหัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากำปั้นของเราเอง ทำหน้าที่สูบ-ฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย
มี 4 ห้อง : 2 ห้อง อยู่ทางด้านซ้าย อีก 2 ห้องอยู่ทางด้านขวา

การที่หัวใจของท่านจะทำงานได้ตามปกตินั้น หัวใจทั้งสี่ห้องจะต้องทำงานประสานกัน การเต้น หรือ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องบีบ (เต้น)ด้วยอัตราที่สม่ำเสมอ ประมาณ 60- 100 ครั้งต่อนาที ถ้าการเต้น ของหัวใจช้า หรือเร็วไป จะเป็นเหตุให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของกายได้ไม่พอ ทำให้เกิดอาการเหนื่อย เป็นลม หายใจหอบ เกิดอาการสับสน หรือหมดสติไป

การที่หัวใจของคนเราจะเต้นเป็นปกติได้ จะต้องพึ่งพา ระบบกระแสไฟฟ้า
ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ จะทำหน้าที่ควบคุมการเต้น (บีบ) ของหัวใจ:

การเต้นของหัวใจ จะเริ่มต้นที่หัวใจด้านขวาบน โดยกลุ่มเซลล์พิเศษ (sinus node) ทำหน้าที่เป็น ตัวกำเนิด กระแสไฟฟ้าตามธรรมชาติ โดยมีคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามเส้นประสาท (specialized muscle fibers)

เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งถึงหัวใจสองห้องบน (Rt & Lt. artia) เมื่อใด หัวใจทั้งสองห้องจะบีบตัว ทำให้เลือดเข้าสู่หัวใจสองห้องล่าง (Rt and Lt ventricles) จนเต็ม
จากนั้น คลื่นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปยัง กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง จากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจสองห้อง ล่างก็จะบีบตัว ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

นั่นเป็นการทำงานตามปกติของหัวใจ
......
Pacemaker ว่า มันทำงานอย่างไร ?

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker) ประกอบด้วย 2 ส่วน

Generator และ Leads

o Generator เป็นกล่องโลหะที่บรรจุแบตเตอรี่อันเล็ก มีอายุการใช้งานประมาณ 5- 8 ปี และวงจรไฟฟ้าเล็ก ๆไว้ภายใน ซึ่งทำหน้าที่ควบอัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร) โดยส่งคลื่น กระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ
o Leads เป็นเส้นลวดที่มีฉนวนหุ้มเอาไว้ โค้งงอได้ สามารถสอดให้ไปตามเส้นเลือดได้ ปัจจุบันนี้ เขาจะมีสองเส้น (leads) ปลายหนึ่งจะต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า (generator) อีกปลาย จะสอดผ่านไปยังหัวใจ เส้นหนึ่งไปยังหัวใจช่องขวาบน อีกเส้นไป ยังหัวใจด้านขวาล่าง ทำหน้าที่รับส่งคลื่นกระแสไฟฟ้า

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker) จะทำหน้าที่ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ ถ้าหากการเต้นของหัวใจของท่านเต้นช้า (bradycardia) มันจะเร่งให้มันเต้นเร็วขึ้น ด้วยการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังหัวใจของท่าน

มันทำอย่างไร ?
ปลายลวดสายไฟ ( leads) จะตรวจสอบคลื่นกระแสไฟฟ้าที่หัวใจทั้งขวาบน และขวาล่าง แล้วส่งข้อมูลกลับไปยัง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ซึ่งเป็น คอมพิวเตอร จากนั้น มันจะทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าของหัวใจ และใช้ข้อมูลที่ได้นั้นแหละ มาพิจารณาว่า เมื่อใดจึงจะจัดการ กับการเต้นของหัวใจ :
ถ้าพบว่า การเต้นของหัวใจเต้นช้าไป เครื่อง generator ก็จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อ หัวใจ กระตุ้นให้มีการบีบตัว ขึ้น (เราเรียกว่า pacing)

นอกเหนือไปจากนั้น พบว่า เครื่อง pacemaker ส่วนใหญ่จะมีเครื่องรับ sensors ตรวจสอบการ หายใจ และการเคลื่อนไหว มันจะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังหัวใจ ทำให้มันเต้นเร็วขึ้น เพื่อ ตอบสนอง ความต้องการของร่างกายขณะที่มีการออกกำลังกาย

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ จะไม่ทำงานแทน หรือไม่รับรับผิดชอบกับการเต้น ตามปกติ แต่มันจะเข้ามามีบทบาท เมื่อหัวใจของท่านเต้นไม่ปกติเท่านั้น


Next >

Pacemaker(1): Introduction

Cont.

“คุณหมอ...เครื่อง ( pacemaker) มันทำงานอย่างไร...?”
คุณตา (คนไข้) เกิดความสนใจอยากรู้

เพื่อเป็นการเรียนรู้ของคุณตา...ผู้เขียนเลยอธิบายเรื่องการเต้นตามปกติของหัวใจ
ว่า คนปกติ หัวใจคนเรามันเต้นอย่างไร ?

การเต้นของหัวใจ

ปกติหัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากำปั้นของเราเอง ทำหน้าที่สูบ-ฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย
มี 4 ห้อง : 2 ห้อง อยู่ทางด้านซ้าย อีก 2 ห้องอยู่ทางด้านขวา

การที่หัวใจของท่านจะทำงานได้ตามปกตินั้น หัวใจทั้งสี่ห้องจะต้องทำงานประสานกัน การเต้น หรือ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องบีบ (เต้น)ด้วยอัตราที่สม่ำเสมอ ประมาณ 60- 100 ครั้งต่อนาที ถ้าการเต้น ของหัวใจช้า หรือเร็วไป จะเป็นเหตุให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของกายได้ไม่พอ ทำให้เกิดอาการเหนื่อย เป็นลม หายใจหอบ เกิดอาการสับสน หรือหมดสติไป

การที่หัวใจของคนเราจะเต้นเป็นปกติได้ จะต้องพึ่งพา ระบบกระแสไฟฟ้า
ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ จะทำหน้าที่ควบคุมการเต้น (บีบ) ของหัวใจ:

การเต้นของหัวใจ จะเริ่มต้นที่หัวใจด้านขวาบน โดยกลุ่มเซลล์พิเศษ (sinus node) ทำหน้าที่เป็น ตัวกำเนิด กระแสไฟฟ้าตามธรรมชาติ โดยมีคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามเส้นประสาท (specialized muscle fibers)

เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งถึงหัวใจสองห้องบน (Rt & Lt. artia) เมื่อใด หัวใจทั้งสองห้องจะบีบตัว ทำให้เลือดเข้าสู่หัวใจสองห้องล่าง (Rt and Lt ventricles) จนเต็ม
จากนั้น คลื่นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปยัง กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง จากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจสองห้อง ล่างก็จะบีบตัว ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

นั่นเป็นการทำงานตามปกติของหัวใจ
......
Pacemaker ว่า มันทำงานอย่างไร ?

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker) ประกอบด้วย 2 ส่วน

Generator และ Leads

o Generator เป็นกล่องโลหะที่บรรจุแบตเตอรี่อันเล็ก มีอายุการใช้งานประมาณ 5- 8 ปี และวงจรไฟฟ้าเล็ก ๆไว้ภายใน ซึ่งทำหน้าที่ควบอัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร) โดยส่งคลื่น กระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ
o Leads เป็นเส้นลวดที่มีฉนวนหุ้มเอาไว้ โค้งงอได้ สามารถสอดให้ไปตามเส้นเลือดได้ ปัจจุบันนี้ เขาจะมีสองเส้น (leads) ปลายหนึ่งจะต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า (generator) อีกปลาย จะสอดผ่านไปยังหัวใจ เส้นหนึ่งไปยังหัวใจช่องขวาบน อีกเส้นไป ยังหัวใจด้านขวาล่าง ทำหน้าที่รับส่งคลื่นกระแสไฟฟ้า

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (pacemaker) จะทำหน้าที่ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ ถ้าหากการเต้นของหัวใจของท่านเต้นช้า (bradycardia) มันจะเร่งให้มันเต้นเร็วขึ้น ด้วยการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังหัวใจของท่าน

มันทำอย่างไร ?
ปลายลวดสายไฟ ( leads) จะตรวจสอบคลื่นกระแสไฟฟ้าที่หัวใจทั้งขวาบน และขวาล่าง แล้วส่งข้อมูลกลับไปยัง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ซึ่งเป็น คอมพิวเตอร จากนั้น มันจะทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าของหัวใจ และใช้ข้อมูลที่ได้นั้นแหละ มาพิจารณาว่า เมื่อใดจึงจะจัดการ กับการเต้นของหัวใจ :
ถ้าพบว่า การเต้นของหัวใจเต้นช้าไป เครื่อง generator ก็จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อ หัวใจ กระตุ้นให้มีการบีบตัว ขึ้น (เราเรียกว่า pacing)

นอกเหนือไปจากนั้น พบว่า เครื่อง pacemaker ส่วนใหญ่จะมีเครื่องรับ sensors ตรวจสอบการ หายใจ และการเคลื่อนไหว มันจะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังหัวใจ ทำให้มันเต้นเร็วขึ้น เพื่อ ตอบสนอง ความต้องการของร่างกายขณะที่มีการออกกำลังกาย

เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ จะไม่ทำงานแทน หรือไม่รับรับผิดชอบกับการเต้น ตามปกติ แต่มันจะเข้ามามีบทบาท เมื่อหัวใจของท่านเต้นไม่ปกติเท่านั้น


Next >

Pacemaker(1): Introduction

จะเป็นท่านใดเป็นคนแรก ที่พูดก็ตามทีเถิด เขากล่าวว่า
“แพทย์ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาคนสูงอายุ....เขาใช้ “หู” (ears) เป็นอาวุธ หรือเป็นเครื่องมือใน การรักษาคนไข้ หาใช้ยา (medications) แต่ประการใด”

ได้อ่านเจอ....ครั้งแรกก็ไม่ค่อยจะใส่ใจนัก จนกระทั้งมาเมื่อวานนี้ (28 เมษายน 2554) ได้ พบคนไข้ชายวัย 78 ได้รับการรักษาต่อมลูกหมากมานาน
มาพบเราด้วย...
“ต้องการ ให้เอาเครื่องกระตุ้นหัวใจที่บริเวณหน้าอกออก”

ผู้เขียนมีความสงสัย ว่ามีอะไรเกิดขึ้น จึงถามฝ่ายลูกชายของคนไข้ ว่า
“มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือ ?”
ฝ่ายลูกชายวัย 55... ตอบ
“ เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ได้พาคุณพ่อ ไปรพ.แห่งหนึ่ง ด้วยอาการเหนื่อยเพลีย เป็นลม จากนั้น คนพ่อถูกส่งตัวไปยังศูนย์หัวใจ ...แพทย์ได้ตรวจร่างกาย บอกพวกเราว่า คนพ่อ เป็นโรคหัวใจ การเต้นผิดปกติ ได้กระตุ้นหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า และลองเอยด้วยการใส่ เครื่องกระตุ้นหัวใจเอาไว้ที่ทรวงอก”

ผู้เขียนถือโอกาสแทรกขึ้น...
“คนพ่อของคุณได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้วนิ่...มีปัญหาอะไรหรือ ?”

ฝ่ายสตรี วัยใกล้เคียงกับฝ่ายลูกชาย ต้องได้เสริมต่อ

“พวกอีฉัน และลูก ไม่มีปัญหาหรอกค่ะ....ปัญหามันอยู่ที่คนพ่อของพวกเราเอง
หลังจากที่คุณหมอผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแล้ว อาการของคุณพ่อ ก็เป็น ปรกติทุกประการ ....
แต่....คุณพ่อแกไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่ยอม ต้องการเอาออก...
พวกเรา ลูก ๆ ทุกคน ถูกคุณพ่อด่าจากเช้าจรดเย็นทุกวัน”
ผู้เขียนมองหน้าคนไข้ ซึ่งมีสติสมบูรณ์ดีทุกประการ....
จากการรับฟังความคิดเห็นจากชายชราวัย 78
...พอสรุปได้ว่า ปัญหาทั้งหลายเกิดจาก ไม่รู้ และ ไม่เข้าใจระหว่างผู้ให้บริการ และผุ้รับบิ การ
ผู้รับบริการ (คนไข้) ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องใส่ pacemaker ให้เขา โดยที่เขาไม่เข้าใจด้วย ซ้ำว่า ที่เขามีอาการปกติ และรอดตายมาได้ เป็นเพราะว่า คนไข้ได้รับ ทำไมจะต้องใส่

ภายหลังจากได้มีโอกาสพูดคุย จนกระทั้งคนสูงอายุเข้าใจ...
และพอใจในสิ่งที่ตนได้รับ

What is placemaker ?

เครื่องมือกระตุ้นหัวใจ (placemaker) เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ที่ทำงานละเอียดพอสมควร โดยทำงาน 2 อย่างด้วยกัน คือ (1) ทำหน้าที่ประเมินการทำงานของหัวใจคน ที่ได้ใส่เครื่อง ดังกล่าว และ (2) ควบคุมการเต้นของหัวใจ

ปกติระบบกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ จะทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการทำ ให้มันเต้นอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับประสานการบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ ให้มีพลังเพีพอ ที่จะ บีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ความผิดปกติในระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ แสดงให้เห็นในรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ ผิดปกติไป (arrythemias)
การเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ เรียก bradycardia ถ้าเต้นเร็ว เรียก tachycardia
เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจทั้งหลาย ถูกนำมาใช้ในคนไข้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้า ผิดปรกติ ซึ่งทำให้คนไข้เกิดอาการ อ่อนแรง อ่อนเพลีย วิ่งเวียน มึนหัวจะเป็นลม หมดสติ หรืออาจตายได้

Next >

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

Gynecomastia(1): Basics

“มันเป็นเช่น..นั้นเอง”
ประโยคอย่างนี้ เราจะได้ยินมาจากหนังสือธรรมของท่านพุทธทาส โดยไม่ต้องสงสัย
พูดประโยคนี้ขึ้นมาทำไม ?
ผู้เขียนชักงง ๆ เหมือนกันว่า เริ่มต้นด้วยประโยคเช่นนี่ทำไม ?

ขณะนั่งตรวจคนไข้สูงอายุท่านหนึ่ง
หนุ่มอายุเหลือน้อยท่านหนึ่ง ( อายุ 75) มาพบเราด้วยใบหน้าที่ไม่ค่อยสบายใจนัก สังเกตุพบหัวคิ้วทั้งสองขมวด เข้าหากัน...พร้อมกับเล่าประวัติว่า

“...ผมได้รับการผ่าตัดหัวใจ เมื่อปีที่แล้ว ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หลังการผ่าตัด แพทย์ให้รับประทานยา หนึ่ง เป็นยาลดไขมัน และสองเป็นยาป้องกันเม็ดเลือดไม่ให้จับตัว...
ประมาณ สองอาทิตย์ก่อนมาพบแพทย์ ปรากฏว่า นมทั้งสองข้างเกิดโตขึ้น มีอาการเจ็บเสียด้วย. จึงไปหาแพทย์ ที่ทำการผ้าตัดหัวใจให้...”

เห็นคนไข้นิ่งเงียบไป.....ผู้เขียนจึงเอ่ยถามว่า
“แล้วผลเป็นอย่าอย่างไร....คุณหมอว่าอย่างไรบ้าง ?”

คนไข้รายนั้นตอบว่า
“คุณหมอบอกว่า เรื่องนมโต กับเรื่องผ่าตัดหัวใจมันละเรื่อง....ให้ไปที่อื่น..”

เรื่องมันก็มีแค่นี้เอง

สี่งทีคนไข้ทุกรายที่มาพบแพทย์ เขาต้องการอะไร ?
ทีคนไข้ต้องการ มี 3-4 อย่าง เป็นอย่างน้อย นั่นคือ (1) สิ่งที่เขาเป็นนั้นเป็น อะไร (2) รักษาได้ไหม (3) จะ ปฏิบัติตนอย่างไร และ....
ถ้าเราสามารถให้ในสิ่งท่เขาต้องการ....ทุกอย่างก็จบลงด้วยความสุข (ทั้งผู้ให้ และผูรับ)
มันก็คงเท่านั้นเอง
......

Gynecomastia:

เป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัวอย่างใด มีแค่อาหารปวดนิดหน่อย พร้อมกับทำให้คนที่เป็น เกิดความอับอาย เท่านั้นเอง

การที่นมของเรา (เพศชาย) เกิดโตทั้งสองข้าง มักจะพบได้ในเด็กชาย และผู้ชาย โดยมีสาเหตุจากความไม่ สมดุลของฮอร์โมนสองตัว คือ estrogen และ testosterone ภาวะเช่นนี้ มักจะหายไปเองได้ หรืออาจ จำเป็นต้องใช้ยา หรือการผ่าตัด

อาการที่เกิดนั้น พบว่า นมทั้งสองจะบวม (โต) ขึ้น มีอาการปวดเจ็บ อาจเป็นที่นมด้านเดียวได้ การบวมโตของ นมอาจไม่เท่ากัน

สาเหตุที่ทำให้เกิด (Causes)

การเกิดภาวะนมโตขึ้น อาจถูกกระตุ้นโดยปริมาณของฮอร์โมน “Testosterone” ลดลงเมื่อเทียบกับระดับ ของ estrogen
อะไรทำให้ระดับ testosterone ลดลง หรือทำให้ระดับ estrogen สูงขึ้น :

• Changes in natural hormone:

เป็นที่รับทราบกันว่า ฮอร์โมนทั้งสอง Testosterone และ estrogen มีหน้าที่ในการควบคุม และคงสภาพของเพศเอาไว้

Testosterone ควบคุมลักษณะของชาย เช่น ชายต้องมีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ และมีขน
Estrogen ควบคุมลักษณะของหญิง ทำให้มีนมเจริญงอกงามขึ้น

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า estrogen เป็นฮอร์โมนของเพสหญิงแต่เพียงเพศเดียวเท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ชายก็มีฮอร์โมน estrogen ได้เช่นกัน แต่สร้างในปริมาณน้อย
แต่เมื่อใดก็ตาม ชายใดมีระดับ Estrogen ในร่างกายในปริมาณสูง หรือไม่ได้สัดส่วนกับ testosterone เมื่อใด...
เมื่อนั่นแหละ...ที่จะทำให้นมในเพศชาย “โต” ขึ้น

สำหรับในเด็กเล็ก ( infant) นมอาจโตขึ้นได้ เป็นเพราะเด็กได้รับฮอร์โมนจากแม่จากนมแม่...
ไม่ต้องตกใจ มันสามารถหายไปได้เองภายใน 2 – 3 อาทิตย์หลังเกิด

นมโตในวัยรุ่น พบได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในระดับของฮอร์โมน
ไม่ต้องทำอะไรอีกเช่นเคย เพราะมันสามารถหายเองได้ในเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี

นมโตในชาย ช่วงที่เกิดได้บ่อยที่สุด คืออายุระหว่าง 50 ถึง 80 ปี
อย่างน้อยเราจะพบ 1 คนใน 4 คน


Next >

: Gynecomastia(2): Causes

(cont.)

ถึงแม้ว่า เราจะมีอายุมากแล้ว.....
…….ก็สามารถอยู่อย่างสง่างามได้
โดยการ “ลดความเสี่ยง” จากยา...
ไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องรับประทานมัน

เพราะขณะที่ท่านรับประทานยาหลายตัว ช่วยให้ท่านมีสุขภาพดี และป้องกันไม่ให้โรคของท่านเลว
ลงไปนั้น....การรับประทานยาหลายตัว ยังทำให้ท่านเผชิญกับผลอันไม่พึงประสงค์ของมันด้วย

นี้ คือตัวอย่างของยา และสารเคมี... ที่ทำให้คนสูงอายุเกิดมีอาการของเต้านมโต (gynecomastia) ได้

Medications: มียาอยู่หลายชนิดที่สามารถทำให้นมผู้ชายเกิดบวม (โต) ขึ้น เช่น

o Anti-androgen ซึ่งแพทย์นำมาใช้ในการรักษต่อมลูกหมากโต, มะเร็งต่อมลูหมาก หรือภาวะอย่างอื่น เช่น Flutamide, Finasteride (Proscar), Spinolactone (Aldactone)
o Anabolic hormone และ Androgens
o AIDS medication ในคนไข้ที่เป็น HIV positive และได้รับการรักษาแบบ highly active antiretroviral therapy มักจะทำให้เกิดนมโตขึ้น
Efavirns (Sustiva) ปรากฏว่า เกิดอาการนมโตได้มากกว่ายาตัวอื่นๆ
o Anti-anxiety therapy เช่น ยา Diazepam (Valium)
o Tricyclic Antidepressants
o Antibviotics
o Ulcer medication เช่น cimetidine
o Cancer treatment (Chemotherapy)
o Heart medications เช่น digoxin (Lanoxin) และ Calcium channel blockers

• Street drugs and alcohol
มีสารต่างๆ สามารถทำให้นมเกิดโตขึ้น เช่น

o Alcohol
o Amphetamine
o Marijuana
o Heroin
o Methadone

• Health conditions
มีโรค หรือภาวะหลายอย่าง ที่สามารถทำให้เกิด gynecomastia ได้ เช่น

o Hypogonadism ภาวะอะไรก็ตาม(โรค) ที่ทำให้การผลิดฮอร์โมนเปลี่ยนไป สามารถทำให้เกิดนมโตขึ้นได้ เช่น ต่อมไต้สมองทำงานน้อยลง (pituitary insufficiency)
o Aging คนเมื่อแก่มากขึ้น สามารถเกิด ภาวะนมโตได้ โดยเฉพาะในคนที่น้ำหนักมาก ๆ (overweight)
o Tumours มีมะเร็งหลายชนิดที่เป็นเหตุ เช่น เนื้องอกของลูกอัณฑะ , ต่อมเหนือไต (adrenal gland) ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ซึ่งสามารถสร้างฮอร์โมน ที่สามารถทำให้ความสมดุลระหว่าง testosterone และ estrogen เสียไป
o Hyperthyroidism ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากเกิน มี thyroxine มีมากขึ้น
o Kidney failure พบว่า ม่คนไข้ประมาณ 50 % ที่ได้รับการฟอกเลือด จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนของเพศหญิง-ชาย ขึ้น
o Liver failure และ cirrhosis ในคนไข้ที่เป็นตับ พบว่าระดับฮอร์โมนของเพศทั้งสองจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดรวมไปถึงยาที่ใช้รักษาโรรตับด้วย ที่ทำให้ระดั้บฮอร์ดมนเปลี่ยนไป
o Malnutrition และ Starvation เมื่อร่างกายของชายขาดสารอาหาร ระดับTestosterone ลดลง ในขณะที่ระดับ estrogen ปกติ จะเป็นเหตุให้เกิดภาวะนมโต

• Herbal products

น้ำมันพืชบางชนิด เช่น Lavender ซึ่งนำมาประกอบในยาสระผม (shampoo) สบู่ (soaps) อาจ มีฤทธิ์เป็น estrogenic แบบอ่อน ๆ ได้

Next>

Gynecomastia (3) Treatment

Topic: Gynecomastia (3) Treatment
(cont.)

Tests and diagnosis

เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัย แพทย์เขาจะถามประวัติของท่าน ประวัติการรับประทานยา รวมถึงประวัติ ทางครอบครัว การตรวจร่างกาย ตรวจท้อง และอวัยวะเพศของท่าน
มีการตรวจเลือด หาระดับฮอร์โมน มีการตรวจ MRI X-rays Mammograms , Ultrasound และ biopsies

Treatment and Drugs

คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็น gynecomastia ไม่ต้องรักษา มันหายไปเอง

o ในกรณีที่มีสาเหตุ เช่น hypogonadism , Malnutrition, Cirrhosis จะได้รับการรักษาโรค นั้นๆ ไป กะทำให้ภาวะนมโตดีขึ้น

o Gynecomastia ส่วนมากเป็นผลเนื่องมาจากปริมาณของ estrogen ในกระแสเลือดสูง การรักษา เรามุ่งไปที่บล็อกการทำงานของ estrogen ที่มีต่อ Breast tissue โดยการใช้ยาต่อไปนี้ Tamoxifen, raloxifene, clomiphene

o หรือใช้ยาเพื่อลดการสร้าง estrogen ลง ซึ่งเป็นยาทำหน้าที่ (ยับยั้ง) aromatase inhibitors เช่น ยา Testolactone และ anastrazole

o หรือใช้ androgens โดยตรง เพื่อต่อต้านผลของ estrogens ที่จะมีต่อ breast tissueโดยตรง

ในกรณีที่มีสาเหตุจากยา ที่คนไข้รับประทานมาก่อน แพทย์จะแนะนำให้หยุดยาซะ แล้ว แพทย์เขาจะให้ยาทดแทนตัวใหม่แก่ท่าน

Tamoxifen เป็นยาที่นำมาสกัดกั้นการทำงานของ estrogen ที่มีต่อ “breast tissue” เป็นยาที่ใช้รักษาพวกมะเร็งเต้านม ขนาดของ tamoxifen ที่ใช้ในการรักษา gynecomastia: Dose 10 – 20 mg per day ให้ประมาณ 3 ถึง 9 เดือน จะได้ ผลการรักษา ถึง 90 %

การให้ยา Tamoxifen ปรากฏว่า คนไข้ทนต่อยาตัวนี้ได้ดี...ไม่ค่อยมีปัญหา

อาจมีการนำสาร Testosterone มาใช้เพื่อชดเชยฮอร์โมน ที่ร่างกายสร้างได้น้อย ก็ สามารถแก้ปัญหาได้

การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม

ในคนไข้ที่เป็น long-standing gynecomastia การรักษาด้วยยามักไม่ได้ผลหรอก เพราะเนื้อเยื่อภายในบริเวณเต้านม (gynecomastia) มีพังพืดเต็มไปหมด จำเป็นต้อง ทำการรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม ซึ่งมีวิธีการรักษา 2 แบบ ด้วยกัน

o Liposuction: ใช้วิธีดูดเอาไขมันออกเท่านั้น ไม่ใช้เนื้อของนม (tissue gland)
o Surgical excision : ทำการผ่าตัดเล็ก ตัดเอาเนื้อของนมออกมา สามารถแก้ปัญหาได้

กล่าวโดยสรุป แม้ว่า ภาวะ gynecomastia จะพบได้บ่อย มันอาจมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ภายใน หรืออาจเป็นผลจากยาบางตัว การตรวจหาสาเหตุอย่างถูกต้อง- เหมาะสม สามารถนำไปสู่การ รักษาได้ และการรักษาด้วย tamoxifen จัด เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในคนไข้หลายๆ ราย

Sources:

Hameet Singh Narula, MD. Harold E. Carlson, MD. Gynecomastia. Endocrinol Metab Clin N Am :36 (2007) : 497-518

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

Colchicine-Drug Interaction

คนไข้สูงอายุส่วนหนึ่งมาโรงพยาบาลเรื่องโรคไข้ข้อโรคอักเสบ เป็นโรค เก๊า
และต้องกินยาสองตัวร่วมกัน โดยถือว่าเป็นรักษาแบบ maintenance เพื่อทำให้คนไข้อยูได้โดยไม่มีอาการปวดข้อ

ตัวหนึ่ง ชือว่า Colchicine อีกตัว ชื่อ allopurinol

นั่นไม่ใช้ประเด็นที่จะพูดถึงเลย ประเด็นที่จะพูด คือ เราจะใช้ยา colchicines อย่างไร จึงจะปลอดภัย

เมื่อไรก็ตามที่ระดับยา colchicines ในกระแสเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดพิษขึ้นอันตรายของมันนั้น...น่ากลัวมาก เพราะอาจทำให้ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุอย่างหนึ่งในหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว คือ ระดับของยา colchicines สูงขึ้นจากการได้รับ ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ

ยาต่าง ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับยา Colchicine:
ยา colchicine เป็นสารที่จะต้องถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ P- Glcoproteine (PGP) ซึ่งเอ็นไซม์ตัวนี้จะทำหน้าที่ขจัดยา colchicine ออกจากกายโดยขับออกทาง “น้ำดี”. “ทางปัสสาวะ” และทาง “ลำไส้”
ได้มีรายงานว่า มียาอยู่หลายตัวเมื่อใช้ร่วมกับยา colchicines แล้ว จะทำให้ระดับของยา colchicines ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น ยาเหล่านั้นได้แก่:
กลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้แก่ Clarithromycin., erythromycin
กลุ่มที่ใช้ลดความดัน ได้แก่ Verapamil
และยาทีใช้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ..Immunosuppressants .เช่น cyclosporine เป็นยาที่ใช้ในกรณีปลูกถ่ายอวัยวะ..ทำให้ร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะของคนอื่นที่ใส่เข้าไป.
ยาทั้งสามกลุ่มที่เสนอมานั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเราแล้ว มันจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ P-Glycoprotein

จากรายงานของคนที่แพ้พิษยา colchicines นั้น เป็นภาพที่ไม่ค่อยจะน่าดูเท่าไหร่นักหรอก เพราะมันมีอันตรายถึงขั้นชีวิต และตายได้
มีคนไข้รายหนึ่ง ที่เกิดแพ้พิษของ colchicines เขามาพบแพทย์ด้วยอาการ “ไข้สูง” , “ท้องล่วง” , “ปวดกล้ามเนื้อ” และ “ปวดท้อง” นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายหลังจากเจ้าตัว รับประทานยาปฏิชีวนะชื่อ clarithromycin เข้าไปแล้ว 4 วัน นั้นเอง
ผลไม่ได้อยู่แค่นั้น อาการของเขาทรุดหนัก เพราะอวัยวะที่สำคัญๆ ถูกทำลายลงหมด (multiple organ failure)
รายที่สอง: ในขณะที่รับประทานยา colchicines เขาได้รับประทานยา clarithromycin เข้าไปด้วย เพียง 3 วันให้หลัง เขาเกิดอาการไข้ ปวดท้อง และท้องเดิน
มีการเสียน้ำอย่างมาก เลือดเป็นกรด (acidosis) ไขกระดูกถูกกด ทำให้เม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลง (pancytopenia)
โชคดีที่คนไข้รายนี้รักษาได้ทัน....รอดตาย

รายที่สาม โชคร้าย... หลังจากรับประทานยา clarithromycin ร่วมกับ colchicines แล้ว แพทย์ไมสามารถช่วยชีวิตไปไว้ได้ เพราะเม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลงอย่างมาก- agranulocytosis

นอกจากยา clarithromycin เมื่อรับประทานร่วมกับยา colchicines แล้ว ย่อมก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ยาเหล่านั้น ต่างทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP เหมือนกับ clarithromycin
ดังตารางข้างล่างนี้:

ยางต่าง ๆ ที่ทำหน้าทียับยั้ง (Inhibit) P-glycoprotein
------------------------------------------------------
Amiodarone Nicardipine
Clarithromycin Propafemone
Cyclosporine Quinidine
Diltiazem Ritonavir
Erythromycin Saquinavir
Indinavir Tacrolimus
Itraconazole Tamoxefen
Ketoconazole Verapam
Nelfinavir


ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดพิษจากยา colchicine:

คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic renal insufficiency) สามารถนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมีระดับของcolchicines ในกระแสเลือดสูงนั่นเอง
นอกจากนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ระดับของ colchicines สูง สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการเกิดพิษได้ทั้งนั้น เช่น ขนาดของยาที่กินเข้าไปมากไป และโรคตับ

ท่านที่เป็นโรคเก๊า จะต้องระวังเรื่องการใช้ยาให้มาก...
มีคนพูดว่า “หมอที่เก่งที่สุด คือ ตัวเราเอง”
นั่นหมายความว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราเป็นโรคนั้นๆ แล้ว ขั้นต่อไป ท่านจะต้องรู้วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้มันทำอันตรายตัวท่านได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน งดเล้า งดเครื่องในสัตว์ งดของทะเล ไม่ซื้อยารับประทานเอง หรือหากท่านไม่ได้พบแพทย์ประจำคนเดิม ท่านต้องบอกแพทย์คนที่กำลังรักษาท่านในขณะนั้นด้วยว่า...ท่านกำลังรับประทานยาอะไรอยู่...
สงสัยอะไรก็ตาม (เกี่ยวกับยา) ท่านต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทันที...
อย่าได้ลองผิดลองถูกเป็นอันขาด...เพราะท่านเท่านั้นที่จะได้รับอันตราย หาใช้ใครอื่นไม่

กล่าวโดยสรุป:
คนไข้ที่ได้รับยา colchicines ไม่ควรรับประทานยา ที่ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP โดยเด็ดขาด เช่น ยา Clarithromycin หรือ erythromycin เพราะมันทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
หากจำเป็นจะต้องใช้ยา PGP inhibitor เราจำต้องลดขนาดของยา colchicines ลง หรือหยุดยา colchicines เอาไว้ก่อน (ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เขา)
คนไข้จะต้องรายงานอาการ ของการเกิดพิษจาก colchicines ทันที เช่น ไข้ ท้องล่วง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เกิดอาการ Paresthesia (มึนเซียตามแขนขา)

Grapejuice: ท่านที่ “ชอบ” องุ่น ควรระวัง... ?

มีสัจธรรมอย่างหนึ่ง ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ นั้น คือ:
“อะไร ที่พบว่า มีประโยชน์มักจะมีโทษเกิดร่วมด้วยเสมอ...
อาจไม่ใช้ตัวมันเองหรอก ที่ทำให้เกิดโทษ .
แต่มีอะไรบางอย่าง ทำให้มันเปลี่ยนพฤติกรรมไป แล้วก่อให้เกิดโทษขึ้นมา”
กรณีเช่นนี้ เกิดขึ้นได้ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต

ที่ผู้เขียน อยากเล่าสู่กันฟัง..เป็นเรื่องของ อาหาร ซึ่งหากเราไม่ระวังเอาไว้
มันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เราได้…

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “องุ่น” หรือ “น้ำองุ่น”

ใช้แล้ว น้ำองุ่น หรือสารอันใดก็ตาม ที่ทำจากองุ่น หรือผลไม้ใดที่มีสารที่เป็นกรด “citrus”
เมื่อเรารับประทานร่วมกับยา (ซึ่งมีหลายขนานจนนับไม่ถ้วน) จะกระทบกระเทือนต่อยาตัวนั้นได้
การกระทลกระเทือนที่เกิดขึ้น จะออกมาในรูปแบบที่
1. ทำให้ยาที่เรารับเข้าไปนั้น ไม่มีฤทธิ์ใด ๆ หรือ
2. ทำให้เกิดฤทธิ์ข้างเคียง....แพ้ยา เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ด้วยเหตุดังกล่าว เราควรสนใจเรื่องนี้ให้มาก...น่าจะดี?

ที่ท่านสามารถปฏิบัติได้ คือ ทุกครั้งที่ท่านได้รับยาจากแพทย์ก็ดี หรือเภสัชกรก็ดี อย่าลืมถามด้วยคำถามที่ว่า....ยาตัวที่ท่านจะรับประทานนั้น รับ...ร่วมกับองุ่น หรือสารที่ทำด้วยองุ่นได้หรือไม่ ?
น่าจะเป็นการป้องกันด่านแรก ไม่ให้ยาที่รับเข้าสู่กาย เป็นอันตรายต่อเราได้

สารเคมีหลายตัว ซึ่งมีอยู่ในน้ำองุ่น หรือสารที่ประกอบด้วยองุ่น หรือผลไม้ที่มีกรด citrus เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายเราแล้ว สารเคมีเหล่านั้น มันจะไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอ็นไซม์หลายตัวในร่างกายของคน และเอ็นไซม์เหล่านั้น บังเอิญมันมีหน้าที่ในการจัดการ (metabolize) กับยาที่เรารับประทานเข้าไปเสียด้วย
เมื่อ “องุ่น” มันไปกระทำปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ตัวดังกล่าวเข้า
จึงยังผลให้มียาที่เรารับประทานเข้าไป ปรากฏในกระแสเลือดในปริมาณที่สูงกว่าปกติ
เป็นเหตุให้เกิดอันตรายที่รุนแรงต่อร่างกายของคนเราได้

คงเป็นหน้าที่ของตัวเราแล้วละว่า....เมื่อเราจะ “กิน” องุ่น หรือน้ำองุ่นเมื่อไหร่...ให้นึกเอาไว้เสมอว่า
องุ่นนั้น สามารถก่อให้เกิดพิษแก่เราได้ ด้วยวิธีการเข้าไป “ยุ่งเกี่ยว” กับการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายของท่านเอง

ตารางข้างล่างนี้... เป็นตัวอย่าง ว่าไม่ควร “รับประทาน” ร่วมกับ “องุ่น” เป็นอันขาด



Type of Medication Medication name
-------------------------------------------------------------------------

Anti-anxiety Buspirone (Buspar)

Anti-arrhythmia Amiodarone (Cordarone)

Antidepressant Sertraline(Zoloft)

Antihistamine Fexofenadine (Allegra)

Anti-retroviral Saquinavir(Invirase), indinavir

Antizeizure Carbamazepine (Tegretol)

Calcium channel blocker Nifedipine(Procarda), nimodipine(Nimotrop)

Immunosuppressant Cyclosporine (Neoral)
Tacrolims (Prograf)


Statins Simvastatin (Zocor)
Lovastatin (Mevacor)
Atorvastatin(Lipitor)


จากตารางที่เสนอมา มีหลายท่านที่คุ้นเคยกับยาเหล่านี้ เช่น ยาลดไขมัน (statins) ยาคลายเครียด (anti-anxiety) และยาแก้แพ้ (antihistamine)

ถ้าเราจำได้หมดทุกตัว....ก็น่าจะมีประโยชน์ แต่ถ้าจำไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร...
ให้ถามแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส

Alzheimer’s Disease(7): Treatment

คนไข้ทุกคนที่มาพบแพทย์ สิ่งปรารถนาสูงสุด คือ
ขอให้แพทย์ทำการรักษาโรคของเขาให้ หายขาด
นั่นคือ สิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ
แต่ความจริงมีว่า....มีโรคหลายชนิดที่พบเห็น แพทย์ไม่มีทางรักษาให้หายได้

“อัลไซเมอร” ก็เป็นโรคหนึ่ง ที่แพทย์ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้เลย
สิ่งที่แพทย์สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้ คือ ช่วยความผิดปกติทางความคิด (cognitive) และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ดีขึ้น

ลองมาพิจารณา “กระบวนการคิด” หรือ Cognitive process นั่นนะ มีขอบเขตกว้าง มากน้อยแค่ใด ?
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขาให้คำจำกัดความ กระบวนการคิดเอาไว้ว่า มันครอบคลุมถึง:
• ความใส่ใจ (attending)
• การรับรับรู้ (perception)
• การจำได้ (remembering)
• การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning)
• จิตนาการ หรือการวาดภาพในใจ (imagining)
• การคาการณ์ล่วงหน้า หรือการมีแผนการรองรับ (Anticipation)
• การตัดสินใจ (Decision)
• การแก้ปัญหา (Problem solving)
• การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ (classifying)
• การตีความหมาย (Interpretiing) และอื่น ๆ

องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ FDA ได้ยอมรับว่า มียาอยู่สองกลุ่มที่แพทย์เรานำมาใช้ รักษาโรค Alzheimer’s นั้นคือ

• Cholinesterase Inhibitor ซึ่งประกอบด้วยยา Aricept, Exelon, Razadyne และ Cognax
• Nemantine (namenda)

ยาทั้งสองกลุ่มดังกล่าว นำมาใช้ในการรักษาความผิดปกติทางความคิด เช่น การสูญเสีย ความทรงจำ (memory loss), อาการสับสน (confusion) หรือ มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ เหตุผล (problems and reasoning)

หมายเหตุ: กระบวนการความคิด จะครอบคลุมทุกอย่างที่กล่าวมา (ดู...ในวิพีเดีย สารานุกรม เสรี)

ในขณะที่โรค Alzheimer’s กำลังเลวลง ปรากฏว่ามีเซลล์ของสมองจำนวนมากตายลงไป ทำให้การติดต่อระหว่างเซลล์สมอง (neurons) เสียไป
นั่นคือต้นเหตุที่ทำให้อาการทางความคิด (cognitive) เสียไป และเลวลง

ในขณะที่แพทย์ไม่สามารถยับยั้งอาการเสื่อมของเซลล์สมอง และปล่อยให้เซลล์สมองตายลง ไปนั้น แพทย์ยังสามารถลดอาการแสดงที่เกิดขึ้น และยับยั้งความเสื่อมให้ชะลอลงได้ ในเวลาอันจำกัด ด้วยการอาศัยกระบวนการทางเคมี
ยับยั้ง “คลื่นประสาท” ระหว่างเซลล์ทั้งหลายภายในเนื้อสมอง
หมอบางคนใช้ยาทั้งสองกลุ่มร่วมกัน และแพทย์บางท่านใช้ยา vitamin E ในปริมาณที่สูง เพื่อรักษาอาการทางความคิดที่ผิดปกติ (cognitive problems)

ยาที่นำมาใช้รักษาคนไข้ Alzheimer’s ที่มีความรุนแรงขนาดปานกลาง ถึงรุนแรงสุด:

ยาที่นำมาใช้ในการรักษา คือยา Nemantine (namenda) ซึ่งในขณะนี้ได้รับการยอมรับ โดย FDA( องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ)
ให้แพทย์นำยา nemanda มาใช้รักษาคนไข้ ที่เป็นโรค เพื่อทำให้ความจำดีขึ้น คำพูดและ ภาษาดีขึ้น ตลอดรวมไปถึงการช่วยให้คนไข้สามารถทำงานตามปกติ
เราอาจใช้เพียงตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับยารักษาตัวอื่น

มีหลักฐานบางอย่าง รายงานไว้ว่า คนไข้ที่เป็นโรค Alzheimer’s ทีมีความรุนแรง พอประมาณ ถึงขั้นรุนแรง อาจได้รับประโยชน์จากการใช้ยา nemanda
และยาในกลุ่ม Cholinesterase inhibitor มี Donepezil (Aricept) เป็นยาเพียง ตัวเดียวที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถรักษาโรค Alzheimer’s ได้ทุกระยะจากน้อยถึง รุนแรงสุด

Nemantine:

ยาตัวนี้ มันมีบทบาทในการควบคุมการทำงานของสาร Glutamate
Glutamate เป็นสารเคมีอีกตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น “สื่อประสาท” (neurotramsmitter)
โดยมัน:

• มีส่วนข้องกับเรียนรู้ (learning) และความจำ (memory)
• ชะลอไม่ให้คนไข้บางรายมีอาการเลวลง ซึ่งช่วยได้ในระยะสั้น ๆ ผู้เชี่ยวชาญหลายนาย กล่าวว่า ประโยชน์หลายอย่างที่ได้จากยาตัวนี้ จะคล้ายกับที่ได้จากยาในกลุ่ม cholinesterase inhibitors
• ยาตัวนี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ (headache), ท้องผูก, สับสน (confusion) และ มึนงง (dizziness)

ในอดีตเคยมีคนนำเอา Vitamin E ขนาดสูงๆ มาใช้รักษาโรค Alzheimer’s เพื่อรักษา อาการทางการเรียนรู้ที่ผิดปกติไป
Vitamin E เป็น Antioxidant เป็นสารซึ่งเชื่อว่า อาจป้องกันไม่เซลล์สมองตาย และ ป้องกันเนื้อเยื้ออย่างอื่นของร่างกาย ไม่ให้เสื่อมสลายจากสารเคมีบางอย่าง
ในปี 1997 ได้มีการนำยาตัวนี้มาใช้ เพื่อชะลออาการเลวลงในการทำงาน ของคนไข้ Alzheimer’s
ต่อมาภายหลัง การศึกษาพบว่า Vitamin E ในขนาดที่สูง (high dose) ทำให้คนตาย มากขึ้น โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ (coronary disease)

เขาจึงสรุปว่า ไม่ควรนำเอา Vitamin E มาใช้ในการรักษาโรค Alzheimer’s ยกเว้น ภายใต้การดูและของแพทย์อย่างใกล้ชิด
Vitamin E ขนาดสูงๆ จะมีปฏิกิริยาทาง “ลบ” ต่อยาที่เรากำลังรับ...อยู่ เช่น ยาลดระดับ ไขมัน- cholesterol และ ยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner)

Alzheimer’s Disease (3): warning signs

(continued)


มีคนเป็นจำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องความจำ (memory)
ไม่ได้หมายความว่า เขาคนนั้นเป็นโรค (alzheimer’s)...ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่
ความจริงมีว่า มีสาเหตุมากมายทีทำให้เกิดความจำเสื่อมได้
เมื่อใดก็ตาม ที่ท่าน หรือคนที่ท่านรัก เกิดมีอาการขึ้นมา วิธีดีที่สุด คือไปพบแพทย์
เพื่อหาสาเหตุว่า อะไรทำให้ท่าน หรือเขาคนนั้น เกิดความจำเสื่อมขึ้น

การสูญเสียความทรงจำ ถึงขั้นทำให้วิถีชีวิตคุณเปลี่ยนแปลงไป มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอายุที่แก่ขึ้น (aging)
มันอาจเป็นอาการของโรค Alzheimer’s หรือ โรคทางของสมองที่รุนแรง (fatal brain disease) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ “ความจำ” “ความคิด” และ “ความมีเหตุผล” ลดลง
คนที่เป็นโรคดังกล่าว อาจมีอาการอันใดอันหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่าง โดยมีความรุนแรงต่างกัน

อาการ 10 อย่างต่อไปนี้ เป็นอาการเตือน(warning signs)ให้ท่านได้ทราบว่า ท่านอาจ เป็นโรค Alzheimer’s ซะแล้ว ?

1. Memory loss that disrupt daily life

อาการแสดงที่พบได้บ่อยที่สุด ในโรค Alzheimer’s คือสูญเสียความจำ ไป โดยเฉพาะ “ลืม” ข้อมูล ที่ได้รับทราบมาไม่นาน
อาการลืมอย่างอื่นๆ เช่น ลืมวัน และเหตุการณ์ที่สำคัญๆ
หรือถามถึงข้อมูลเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก
หรือต้องพึงพาสมุดเตือนความจำ และอื่นๆ
ต้องพึงพาสมาชิกครอบครัวในการจัดการกับสิ่งที่ตนเคยทำ.....

2. Challenges in planning or solving problems

คนบางคนอาจมีความรู้สึกว่า ความสามารถในการวางแผน และติดตาม การทำงานนั้นๆ หรือการทำงานเกี่ยวกับตัวเลขเปลี่ยนแปลงไป
เขาอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เคยทำมาก่อน เช่น ลืมจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือ จ่ายไปแล้วก็จำไม่ได้
เขาอาจสูญเสียความตั้งอกตั้งใจ หรือขาดการรวบรวมความคิดเพื่อทำ การสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนเมื่อก่อน และต้องใช้เวลานานกวาเดิม


3. Difficulty completing familiar asks at home, at work
or at leisure.

คนเป็นโรค Alzheimer’s มักทำงานประจำวันไม่สำเร็จ
บางครั้ง คนไข้ดังกล่าว ไม่สามารถเดินทางไปยังตำแหน่งที่เคยไป หรือ ไม่สามารถจัดการกับการเงินที่เคยทำได้ หรือไม่สามารถจำกฏ กติกาที่ตนเคยชอบมาก่อน

4. Confusion with time or place

คนเป็นโรค Alzheimer’s สามารถลืมวัน ฤดู หรือ เวลาที่ผ่านไป
เขาอาจไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง
บางครั้ง เขาอาจลืม หรือจำไปไม่ได้ เขาอยู่ที่ไหน และไปถึงที่แห่งนั้นได้ อย่างไร

5. Trouble understanding visual images and spatial relationships

สำหรับบางคนที่เป็นโรค...มีปัญหาเกี่ยวกับภาพที่มองเห็น ซึ่งเป็นอาการ แสดงของโรค Alzheimer’s:
เขาอาจไม่สามารถอ่านเครื่องหมาย ไม่สามารถบอก “สี” หรือไม่สามารถ กะระยะทาง หรือทำการเปรียบเทียบได้
ในแง่ของการรับรู้ (perception) เมื่อเขาเดินผ่านกระจก...เขาอาจคิดว่า คนที่อยู่ในกระจกเป็นคนอื่นไป

6. New problems with words in speaking or writing

คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์...อาจมีปัญหาในระหว่างติดต่อสื่อสาร:
ในระหว่างพูดคุย เขาอาจหยุดพูดโดยกะทันหัน ไม่รู้ว่าจะดำเนินต่อ อย่างไร...ลืมไปหมด หรืออาจพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก...
เขาอาจมีปัญหาเรื่อง “หาคำพูด” ไม่รู้ว่าจะใช้คำพูดอะไร...บางทีใช้คำพูด ที่ผิด เช่น เรียกแมว เป็นเสือ เป็นต้น

7. Misplacing things and losing the ability to retrace steps

คนเป็นโรคดังกล่าว อาจวางสิ่งของผิดที่ ซึ่งตนไม่เคยวางมาก่อน แล้วไม่ สามารถจำได้ว่า ตนวางไว้ที่ไหน บ่อยครั้ง เขาจะกล่าวโทษคนอื่นว่า ขโมยของเขาไป กรณีเช่นนี้ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นปีๆ จะพบได้บ่อยขึ้น

8. Decreased or poor judgemet

คนเป็นโรคนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการตัดสินใจ เช่น มีการ ตัดสินใจแย่มากๆ เมื่อจัดการเกี่ยวกับเรื่องเงิน....เช่นจ่ายมากไป
บ่อยครั้ง ไม่สนใจกับความเรียบร้อย เช่น การแต่งตัว หรือความสะอาดก็ ผิดปรกติไป

9. Withdrawal from work or social activities

คนเป็นโรค Alzheimer’s จะตีตนออกห่างจากงานอดิเรกของตน ห่าง จากสังคม ห่างจากงาน หรือการกีฬา...
เขาอาจไม่สามารถติดตามเกมที่เขาเคยชอบ หรือไม่สามารถจะจบเกมที่ เล่น...จบไม่เป็น
เขาอาจตัดขาดจากสังคม เพราะคมรู้สึกของเขาเปลี่ยนไป

10. Changes in mood and personality

อารมณ์ และบุคลิกภาพของคนเป็นโรค alzheimer’s เปลี่ยนแปลงไป
เขาอาจเกิดความสับสน ขี้สงสัย ซึม เกิดความกังวล หรือเกิดกลัวอะไร บางอย่าง
เขาอาจเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว และโกรธง่ายในที่ไม่ควรโกรธ

10 ข้อที่เสนอมา....หากใครก็ตามทีท่านพบเห็น.. ขอให้สงสัยได้เลยว่า เขาคนนั้นน่าจะเป็น โรค Alzaheier”s และสิ่งที่ท่านควรกระทำ คือ พบแพทย์ทันที....

Dementia (4 ) สาเหตุ

(cont.)


โรคสมองเสื่อมอาจเกิดจากสาเหตุมากมาย บางอย่างบางชนิด หากเรารู้ และสามารถ ทราบได้ไว เราอาจรักษาให้หายได้ นั่นเป็นพวกที่เราเรียกว่า Reversible dementia
อีกพวก เป็นพวก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันจะเลวลงเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ พวกนี้เขาเรียกว่า Irreversible dementia

กลุ่ม (สาเหตุ) ที่สามารถทำให้หายได้
(Reversible dementia)

คนไข้ที่เป็น dementia เป็นพวก ซึ่งสามารถ รักษาให้หายได้ ถ้าแพทย์สามารถรู้ และให้การรักษาได้ทัน

กลุ่มโรคต่างๆ ที่แพทย์สามารถรักษาได้ เช่น การอักเสบต่าง ๆ รวมถึงความบกพร่องใน ระบบภูมิคุ้มกัน, โรคต่อมไร้ท่อ (ไทรอยด์), ขาดสารอาหาร, ปฏิกิริยาของยา, เลือดตกใน สมอง , เนื้องอกในสมอง , จากสารพิษ, สมองขาดออกวิเจน และโรคของหัวใจ และปอด
ภาวะหรือโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา หากแพทย์ตรวจพบได้เร็ว และให้การรักษาได้ทัน สามารถ รักษาให้หายได้

Progressive Dementias

เป็นกลุ่มที่สมองของคนเราเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลาผ่านไป...แย่อย่างเดียวเท่านั้น โรคที่จัดในกลุ่มนี้ ได้แก่:

• Alzheimer’s Disease

โรคนี้ เกิดขึ้นได้เมื่อเซลล์ของสมองถูกทำลายไป โดยเราไม่ทราบว่า อะไรทำให้ เซลล์สมองถูกทำลายไป ในคนพวกนี้ เราพบว่ามีความผิดปรกติสองบางอย่างเกิด ขึ้นกับสมอง ชนิดหนึ่งนั้น เป็น “คราบ” (plague) ของสารโปรตีนมีชื่อ Beta-amyloid จับกันเป็นกลุ่มก้อน
อีกพวกนี้ มีโปรตีน มีชื่อว่า “Tau” อัดกันเป็นกลุ่มเหมือนขดลวด ที่ไม่รู้ว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน...เป็นเหตุให้เซลล์สมองตายไป
ใครเป็นโรคนี้ มันจะเสื่อมลงอย่างช้า อย่างต่อเนื่อง ได้ 5 – 10 ปี จะทำให้ความสามารถด้านความคิดลดลงอย่างช้าๆ
สุดท้าย สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

• Lewy body dementia.

คนที่เป็นโรคความจำเสื่อมชนิดนี้ เมื่อคนไข้ตายไป เอาเนื้อสมองมาตรวจดู จะพบก้อนโปรตีน ชื่อ Lewy body มันอัดตัวกันเป็นก้อนขึ้นในเนื้อสมองของคนที่เป็นโรค Lewy body dementia

ที่น่าสนใจก็คือ เจ้าก้อนโปรตีนชื่อ Lewy body นี่ ยังพบเห็นในคนที่เป็นโรค Alzheimer’s และ Parkinson’s อีกด้วย

อาการของคนที่เป็นโรค Lewy body dementia มีลักษณะอาการเหมือนกับคนที่เป็นโรค Alzheimer’s แต่ที่มันแตกต่างกัน คือ อาการของเขาจะเป็นๆ หายๆ (fluctuation) เช่น ความคิด ความสับสนที่เกิด บางวันปกติ บางวันไม่ชัด เหมือนโทรทัศน์เครื่องเก่าเก็บ บางขณะชัดแจ๋ว บางขณะไม่ชัด อยากเรียกให้ช่างเอาไปซ่อมซะที...แต่พอช่างมาถึง มักลับชัดขึ้นมา เลยทำให้เราไม่อยากเสียค่าซ่อมโทรทัศน์อย่างนั้นแหละ

นอกจากนี้ คนไข้ยังมีอาการของภาพหลอน (visual hallucination) และมีอาการเหมือนคนเป็นโรค parkinson’s เช่น มีอาการสั่นเทา (tremorฉ) และข้อแข็งเกร็ง (rigidity)..

• Ischemic vascular dementia (IVD):

เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่สองที่เราพบ รองจากโรค “แอลไซเมอร์” ซึ่งทำให้เกิด โรคสมองเสื่อม แล้วทำให้มีกลุ่มอาการ dementia ขึ้น
คนไข้พวกนี้จะมาด้วยอาการทางสมองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (sudden onset) หรือค่อยๆ เกิดการสูญเสียการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้าน “ความนึกคิด” (cognitive skill)
ซึ่งเป็นส่วนของการปฏิบัติงาน (executive functions) เช่น การวางแผน การปฏิบัติ และเริ่มลงมือการทำงานนั้น
ส่วนที่ชนิดอื่นๆ จะเป็นตัวที่ทำให้ค่อยๆ เกิดอย่างช้า ซึ่งจะทำให้ความคิด และการ ปฏิบัติงานของค่อยๆ เสียไปอย่างช้าๆ

• Frontotemporal dementia (FTD)

คนไข้ที่เป็น FTD เป็นภาวะการณ์เสื่อมสลายของเซลล์สมองตรง สมองส่วนหน้า(frontal) และส่วนที่เป็น anterior temporal lobe ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมด้านเหตุผล (reasoning), บุคลิกภาพ (personality) , การเคลื่อนไหว (movement), คำพูด (speeches),ภาษา (language) และความสง่างามด้านสังคม (social grace) และบางส่วนเกี่ยวกับความจำ (memory)
อาการของคนไข้ที่เป็นโรคนี้ อาจทำให้แพทย์เข้าใจผิด คิดว่ามีปัญหาด้าน”จิต ประสาท” (psychological) หรือ ปัญหาที่พื้นฐานด้านอารมณ์(emotional- based problems)

คนไข้ที่เป็นโรคนี้ มักจะเกิดในคนอายุมากกว่า 45 และน้อยกว่า 65
อาการที่ปรากฏ จะออกมาในสองรูปแบบ: มากไป(overactive) หรือน้อยไป (inactive)
พวก overactive ไม่อยู่นิ่ง (restless) เช่น มีอาการหุนหันพลันแล่นในการ ตัดสินปัญหาด้านสังคม
อีกรูปแบบ มีอาการตรงข้ามกับที่กล่าว คือมีอาการเฉื่อยชา (apathy) อารมณ์
ทื่อ ๆ

• Parkinson’s dementia

เมื่อใครก็ตามถูกเรียกว่า เป็น Parkinsonism ย่อมหมายความว่า คนๆ นั้นเกิดมี อาการ และอาการแสดงร่วมกันดังนี้ มีอาการสั่น (tremor) เกร็ง (rigidity) เคลื่อนไหว้ช้า (slow movement) และ ท่าทางการเดินเหินไม่มั่นคง (unsteady gait)

มีโรคประสาทหลายอย่าง ที่มีลักษณะของ parkinsonism รวมทั้งพวกที่ทำให้ เกิดภาวะ dementia

Progressive Supraneurclear palsy (PSP)

คนไข้ที่เป็นโรค PSP มักจะแสดงอาการให้เราได้เห็นสามประการด้วยกัน คือ การเสียความสมดุลไปอย่างช้าๆ (gradual loss in balance) เช่น เดินลำบาก (trouble walking) และไม่สามารถควบการเคลื่อนไหวของลูกตาได้

นอกจากอาการแสดงทั้งสามที่กล่าวมา เนื่องจากมันเป็นโรคที่เกี่ยวกับการ เสื่อมของสมอง มันย่อมมีอาการทางสมองที่เสื่อมไปด้วย เช่น การเคลื่อน ไหวลำบาก พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีปัญหาเรื่องการพูด และการกลืนอาหาร

เนื่องจากเป็นโรคที่พบน้อย อาจทำให้เข้าใจผิดว่า เป็นโรค Parkinson’s ได้ แต่การตอบสนองต่อการรักษา และอาการแสดงของโรคแตกต่างกัน...จึง ไม่เป็นการยากที่จะทำการวินิจฉัย

• Mixed Dementias. ในบางโอกาส ปรากฏว่ามีโรคสองโรคเกิดร่วมกันในคน ๆ เดียวได้ เช่น โรค Alzheimer’s ร่วมกับโรค Vascular dementia หรือ โรค Alzheimer’s ร่วมกับโรค Lewy body dementia
• Other diseases นอกเหนือจากนี้ ยังมีโรคอีกหลายโรคที่ก่อให้เกิดอาการ dementia ได้ เช่น Karsakoff’s syndrome, Binswanger’s disease, HIV /AIDs และ Creutzfeldt-Jakob disease (CJD)

นอกจากนี้ คนไข้ที่มี dementia ยังอาจพบในคนไข้ที่เป็นโรค Huntington’s , Motor neuron disease, Multiple sclerosis


Next >

Topic: Headache (1)

ประโยคเหล่านี้ เชื่อว่าทุกท่านคงเคยชินมาแล้ว

“อีฉันปวดหัว ค่ะ”
หญิงกลางคนเอ่ยตอบคุณหมอผู้ทำการรักษา

“คุณช่วยเหลือตัวเองอย่างไรละ ?”
คุณหมอเอ่ยถาม
“ดิฉัน ทานยาแก้ปวด พารา...
ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้ว.....”

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของประโยคที่คนไข้ และหมอสนทนาปราศรัยกัน

โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่ใครๆ ก็รู้จักมักคุ้นกันดี เพราะทุกคนต่างก็มีประสบการด้วยกัน ทั้งนั้น

ปวดศีรษะ หมายถึงอาการปวดที่บริเวณศีรษะ หรือที่บริเวณต้นคอ เป็นตำแน่งที่คนเราเกิดมี อาการปวดบ่อยที่สุด ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน

เพื่อให้การดูแลรักษาได้ง่ายขึ้น เขาได้แบ่งโรคปวดศีรษะออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้:

1. Primary Headche
2. Secondary Headache
3. Cranial neuralgias, Facial pain and other headache

Primary Headache: (ปวดศีรษะชนิดเปฐมภูมิ)

พวกนี้ ได้แก่ Migraine, Tension และ Cluster headache

Tension headache (ปวดศีรษะจากความเครียด:

ปวดศีรษะชนิดนี้ พบบ่อยที่สุด
ประมาณว่า 90 % ของคนปวดศีรษะจะอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นโรคที่พบในสตรีมากกว่าชาย

Migraine Headachge: (ปวดศีรษะไมเกรน)

เป็นการปวดศีรษะที่พบบ่อยลองเป็นอันดับสอง จากสถิติของคนสหรัฐฯ พบคนไข้ที่ปวดหัว ชนิดนี้มากถึง 12 % ของประชากรทั้งหมดของเขา
สามารถเกิดขึ้นในเด็ก ได้เท่าๆ กับผู้ใหญ่ ก่อนที่เด็กจะถึงวัยเบญจเพศ หญิง และชายต่าง เป็นได้เท่า กัน แต่หลังจากนั้น จะพบในสตรีมากกว่าชาย (ชายพบ 6 % หญิงพบ 18 %)

Cluster headaches

เป็นกลุ่มทีพบได้น้อยสุด เขารายงานไว้ว่า มีประชาชน (สหรัฐฯ) ประมาณ 0.1 % เท่านั้นที่เป็นโรคปวดศีรษะชนิดนี้
ปวดหัวแบบนี้ พบในชายในช่วงปลายๆ 20
ผู้หญิง และเด็กมีโอกาสเป็นโรคชนิดนี้ได้เท่ากัน

การปวดศีรษะชนิดปฐมภูมินี้ สามารถกระทบต่อวิถีชีวิตของคนได้อย่างมาก
คนบางคนที่เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา จะเป็นไม่นาน บางคนไม่ใช้อย่างนั้น
แม้ว่า อาการปวดศีรษะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่อาการของคนไข้บางราย อาจ มีลักษณะเหมือนกันคนที่เกิดจากเส้นเลือดสมองอุดตัน หรือมีเลือดตกในกะโหลกศีรษะได้

ปวดศีรษะทุติยภูมิ (Secondary headache)

เป็นการปวดศีรษะที่มีสาเหตุอยู่ที่ศีรษะ หรือที่คอ โดยมีสาเหตุมากมาย ครอบคลุมตั้งแต่ เลือดออกในสมอง มะเร็งของสมอง หรือ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis & encephalitis)

ปวดศีรษะจาก เส้นประสาทสมองอักเสบ (cranial neuralgias) ปวดบริเวณใบหน้า (facial pain) และปวดหัวจากสาเหตุอื่นๆ

Neuralgia หมายถึงการปวดประสาท (neur = เส้นประสาท+ algia = ปวด)

เมื่อเราพูดถึง cranial neuralgia เราหมายถึงเส้นประสาทในศีรษะ และที่บริเวณต้นคอ เกิดการอักเสบขึ้นมา และเป็นต้นเหตุให้เกิดปวดศีรษะขึ้น

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิด Tension Headaches ?

ในขณะที่เราพบว่า Tension headaches เป็นอาการปวดศีรษะที่พบมากที่สุด แม้ว่า เราจะ เรียกว่า เป็นอาการปวดศีรษะจากความเครียดก็ตามที สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิด Tension headaches นั้น เราไม่ทราบหรอกว่า มันคืออะไร ?

สาเหตุที่น่าจะเป็น คือ กล้ามเนื้อที่คลุมกะโหลกศีรษะเกิดการหดเกร็งจากความเครียด (stressed) กล้ามเนื้อดังกล่าว อาจเกิด spasm แล้วทำใหเกิดอาการปวดขึ้น
ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือตรงบริเวณต้นคอ ฐานของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีกล้ามเนื้อ trapezius มาเกาะ
นอกจากตำแหน่งดังกล่าว จะพบที่บริเวณขมับ มีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคี้ยว อาหาร และอีกบริเวณหนึ่งที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ คือ บริเวณหน้าผาก

ในขณะนี้ เรายังไม่มีการยืนยันว่า อะไร คือสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เกิด tension headaches
Tension headaches จะเกิดขึ้น เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นกับร่างกาย และจิตใจ ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ศีรษะ ทำให้คนๆ นั้นกัดฟันแน่น และจะนำไปสู่การ หดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
ความเครียดที่เกิดกับร่างกาย เช่น การทำงานด้วยมือเป็นเวลานาน หรือนั่งเก้าอี้ เล่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ความคิดเป็นเวลานานๆ หรือความเครียดเอง (emotional stress) อาจทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณศีรษะเกิดการหดเกร็งได้

อาการต่างๆ ของ Tension headaches มีอะไรบ้าง?

อาการปวดจากTension headaches ได้แก่:


• อาการปวดจะเริ่มปรากฏขึ้นที่บริเวณด้านหลังของศีรษะ และที่บริเวณต้นคอ ลักษณะอาการปวดเหมือนถูกแผ่นยางรัด หรือแรงกด

• บ่อยครั้ง จะมีความรู้สึกเหมือนมีแรงกดรอบๆ ศีรษะ ที่พบบ่อยคือบริเวณหัวคิ้วทั้งสอง

• อาการปวดอาจไม่มาก มักจะเป็นสองข้างของศีรษะ

• อาการปวดพวกนี้ ไม่มี aura (เป็นความรู้สึกก่อนที่ความปวดจะเกิด, คลื่นไส้อาเจียน หรือไวต่อแสง หรือเสียง)

• อาการปวดเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง ไม่มีรูปแบบ แต่บางรายอาจเกิดได้บ่อย หรืออาจเกิดทุกวัน

• อาการปวดที่เกิดขึ้น สามารถทำให้คนๆ นั้น สามารถทำงานได้ตามปกติ แม้ว่าจะปวดศีรษะก็ตามที


Next >

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

Fibromyalgia (Fibrositis)

What is a fibromyalgia ?

มันเป็นภาวะเรื้อรังอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับกายของมนุษย์เรา
ทำให้เกิดความเจ็บปวด (pain), ข้อแข็ง (stiffness),  และกดเจ็บตามกล้ามเนื้อ เอ็น และ ข่อต่อต่าง ๆ

นอกจากนั้น คนไข้ที่เป็น fibromyalgia เช่น นอนไม่ค่อยหลับ,  ตื่นจากนอนด้วยความเหนื่อยล้า, มี อาการเครียด
และเกิดอาการหดหู่,  และมีอาการผิดปกติทางระบบกระเพาะลำไส้  มีอาการกระเพาะลำไส้แปรปรวน
เช่น เดียวท้อผูก  เดียวท้องล่วง  หรือปวดท้องน้อย....

Fibromyalgia บางครั้งท่านจะได้ยินในนาม Fibromylagia syndrome (FMS)
หรือ  บางทีจะเรียกว่า Fibrositis

เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ที่มีลกระทบกับกล้ามเนื้อทั้งหลายของ มนุษย์เรา
แต่เราไม่รู้ว่าอะไรทำให้มันเกิดขึ้นเช่นนั้น


ได้มีการเอาชิ้นเนื้อที่เจ็บปวดไปตรวจ ก็ไม่พบว่ามีอะไรผิดปกติ
ไม่มีการอักเสบใด ๆ ปรากฏให้เห็น

คนที่เป็นโรคนี้ แม้ว่าจะมีความทรมานจากความเจ็บปวดจริง
ทำให้เขาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติก็ตาม  เราไม่พบรอยแผล (damage) , ไม่มีความพิการใด ๆ เลย
นอกจากนั้น  ยังปรากฏว่า อวัยวะทุกชนิดอยู่ในสภาพเป็นปกติ
แต่มันทำให้คนมีอาการดังกล่าวได้

โรค fibromalgia   จะแตกต่างโรค รูมาตอยด์ (rheumatoid) ,โรคลูปัส (Lupus)
ซึ่งหลังพวกนี้ มีการอักเสบของเนื้อเยื้อ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความเจ็บปวด, ข้อแข็ง, หรือเกิดกดเจ็บ
เมื่อเอาชิ้นเนื้อเหล่านั้นมาตรวจดู พบว่ามีการอักเสบให้เห็น
และมันสามารถทำให้เกิด ความพิการแก่ ข้อต่อที่เกิดอักเสบ พร้อมกับทำให้มีรอยแผล (damage)
ที่กล้ามเนื้อ และอวัยวะภายในได้

What causes fibromyalgia ?

อย่างที่เอ่ยมาตั้งแต่ตอนแรกว่า ไม่มีใครทราบว่า...
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น
คนไข้ที่เป็นโรคนี้ เกิดความเจ็บปวดขึ้นจากการถูกกระตุ้นด้วยอะไรบางอย่าง
ซึ่ง คนปกติแล้ว จะไม่เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า ในคนที่เป็นโรคนี้ มีอะไรผิดปกติหลายอย่าง เช่น

o มีสาร Substance P และ Nerve growth factor ในน้ำไขสันหลัง ในปริมาณที่สูง
o สาร serotonin ในสมองกลับมีระดับต่ำลง
o ระบบสมองของคนที่เป็นโรคนี้ อาจทำงานผิดปกติ ไวผิดปกติ (supersensitive) และ
o นักวิทยาศาสตร์พบว่า ปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ก็ไม่เป็นปกติอีก...

นอกจากนี้ เรายังพบว่า คนไข้พวกนี้ยังมีส่วนสัมพันธ์กับ “ความเครียด”
สัมพันธ์กับบาดเจ็บ และ “การอักเสบ”


มีใครที่ไหนละ...ที่เป็นโรคนี้?

คนที่จะเป็น Fibromyalgia พบว่า 80 % จะเกิดกับสุภาพสตรีที่มีอายุระหว่าง 35 – 55
ในเพศชายก็เป็นได้ แต่น้อย (ทั้งเด็ก และคนแก่)
มันอาจเป็นโรคนั้นอย่างเดียว หรืออาจเกิดร่วมกับโรคชนิดอื่น เช่น โรครูมาตอยด์ หรือโรคลูปัส...

ความชุกของการเกิดโรคชนิดนี้ มีได้ต่างกัน คนไทยเราพบได้ใหม...
พบเหมือนกัน ในคนอังกฤษ และ สวีเดน พบคนเป็นโรคนี้ประมาณ 1% ของประชากรของเขา
ส่วนในสหรัฐฯ พบได้ประมาณ 4 %

Fibromyalgia : Symptoms(2)

เมื่อท่านพบคนที่เป็นโรคนี้ ท่านอาจเกิดความสงสัยว่า
“คนไข้ มีอาการปวดจริง....หรือแกล้งปวด เพื่อเรียกร้องความสนใจ ?”
ไม่ใช้แกล้งหรอก
คนไข้ปวดจริง
ปวดขนาดไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนคนปกติเขานั้นละ....

อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น (1) อาการปวดที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่ออักเสบแต่ประการใด
แต่คนไข้พวกนี้ จะมีความไว (sensitive) ต่อสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัสหลายอย่าง และระดับการรับรู้ ความรู้สึกปวดก็ต่ำ (low pain threshold)
เช่น ประสาทสัมผัสเพียงเล็กน้อย (นิดเดียว) ไม่ทำให้ใคร (ปกติ) มีความเจ็บปวดได้ แต่สำหรับเธอจะไม่เป็น เช่นนั้น มันจะทำให้เธอเกิดอาการเจ็บปวดอย่างมาก ขนาดที่ทำให้เธอไม่สามารถทำงาน ทีตัวเองเคยทำได้
เช่น ยกของที่มีน้ำหนักไม่มาก เธอจะทำไม่ได้

คนที่ไม่ทราบเรื่องนี้ จะสรุปลงความเห็นว่า
“เธอเป็นคุณหนู....หรือว่า เธอสำออย...เรียกร้องความสนใจ ?”
อย่าได้ลงโทษเธอเช่นนั้นเลย
เธอเป็นโรค Fibromyalgia จริง
โดยคนที่เป็นโรคนี้ อาการจะรุนแรง เมื่อสัมผัสกับเสียง, อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ มีอารมณ์เครียดขึ้น

ความปวดที่เกิดจากโรคนี้ โดยทั่วไปมักจะกระจายไปทั่วกาย เป็นทั้งสองข้าง
อาการปวดจะปรากฏขึ้นที่ คอ, สะโพก, ไหล่ทั้งสอง, แขนทั้งสองข้าง, หลังส่วนบน, และบริเวณหน้าอก
ในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดเหล่านี้ จะมีจุดหนึ่งที่กดเจ็บมากที่สุด
เพียงสัมผัสเบา ๆ คนไข้จะรู้สึกปวดมาก
ตำแหน่งของจุดกดเจ็บ (Tender points) จะพบที่บริเวณรอบ ๆ ข้อศอก ไหล่ สะโพก, ศีรษะส่วนหลัง, และ ด้านข้างของกระดูกหน้าอก

Fatigue:
อาการอ่อนหล้า ปรากฏประมาณ 90 % ของคนไข้โรค fibromyalgia คนไข้พวกนี้ปรากฏว่า มีปัญหา เกี่ยวกับการนอนหลับ
ปกติ การหลับลึกมีหลายระดับ
การหลับลึก จะมีความสำคัญต่อการพักผ่อน เพื่อทำให้คนเรารู้สึกสดชื่นขึ้น ซึ่งจะดีกว่านอนหลายชั่วโมง แต่ ไม่ได้หลับลึกเลย
คนที่เป็นโรค fibromyalgia ไม่สามารถนอนหลับลึกได้ นั่นเป็นเหตุให้เขาตื่นเช้าหลังจากนอนหลายชั่วโมง จริง แต่ไม่ได้หลับลึกเลย
บางคนตื่นขึ้นเพราะปวดกล้ามเนื้อ หรือตื่นเพราะมีความรู้สึกว่า กล้ามเนื้อเกิดอาการเมื่อยหล้า เหมือนตอน ทำงานหนัก

อาการทางจิตประสาทผิดปกติ (mental and emotional disturbance) จะเกิดขึ้นกับคนไข้ประเภทนี้ มากกว่า 50 % อาการที่ปรากฏ ได้แก่ “ขี้ลืม”, “อารมณ์แปรเปลี่ยนไป” , “หงุดหงิด”, “รู้สึกอ่อนไหว” “ซึมเศร้า” และ “เครียด”

การที่เราจะสามารถวินิจฉัยโรค fibromalgia ได้ถูกต้องนั้น เป็นเรื่องยากมาก
อาจเข้าใจได้ว่า คนไข้เป็นโรคจิตประสาท เป็นตัวทำให้เกิดโรคก็อาจเป็นได้
เราไม้มีวิธีการตรวจเพื่อยืนยันว่า คนไข้รายนั้น ๆ เป็นโรค fibromalgia

อาการนอกเหนือจากที่กล่าวมา คนไข้อาจมีอาการอย่างอื่น ๆ ได้ เช่น ปวดศีรษะ “ไมเกรน” “ปวดศีรษะจาก ความเครียด” มีอาการมึนชา และมีอาการเหมือนมีของคมทิ่มแทงที่ส่วนต่าง ๆ ของกาย มีอาการปวดท้อง ปัสสาวะเล็ด

จะพบว่า คนไข้ที่มาด้วยโรค fibromalgia นั้น ไม่ธรรมดา มีลักษณะเฉพาะ และอาการทีกล่าวมา จะเป็น ๆ หาย ๆ อาการที่เกิดร่วมก็ไม่ซ้ำกันเสียด้วย

Fibromalgia: Diagnosis (3)

เมื่อบอกว่า คนเป็นโรค Fibromyalgia ยากแก่การวินิจฉัย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ?
How is fibromalgia diagnosed ?

ตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการก็ดี หรือการาตรวจทางเอกซเรย์ก็ตาม
ไม่มีส่วนในการวินิจฉัยโรค fibromalgia โดยตรง แต่ใช้ตรวจเพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกไป

ในคนไข้ที่เป็น fibromyalgia เป็นโรคเรื้อรัง ทีมีอาการปวดกระจายทั่วไป และการที่จะบอกว่า คนๆ นั้น เป็นโรค fibromyalgia หรือไม่นั้น คือการตรวจพบจุดปวด Tender point หลายจุดอย่างน้อยมี 11 จุด ในจำนวน 18 จุด (ที่เป็น classical fibromyalgia tender points)
และตรงจุดที่เจ็บปวดเหล่านั้น ไม่มีอาการแสดงให้เห็นว่า มีอาการบวม หรือมีอาการอักเสบเลย

มีโรคอยู่หลายโรค ที่มีอาการคล้ายโรค fibromyalgia ซึ่งเราต้องแยกออกให้ได้
เช่น :

o Hypothyroidism: ทำให้ระดับไทรอยด์ ฮอร์โมนลดต่ำ

o Vitamin D insufficiency

o Parathyroid disease ซึ่งทำให้ระดับของ calcium ในกระแสเลือดขึ้นสูง

o Muscle disease เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ polymyositis

o Bone disease เช่น Paget’s disease ทำให้เกิดอาการปวดกระดูก

o Hypercalcemia

o Infectious diseases เช่น hepatitis, AIDS

o Cancer

จากรายชื่อโรคต่าง ๆ ที่ยกมา การตรวจเลือดย่อมมีประโยชน์ในการแยกโรคอื่น ๆ ออกไป เช่น โรคไทรอยด์ โรคพาราไทรอยด์ และการตรวจหาระดับ alkaline phosphatase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ของกระดูก จะพบว่ามีค่า สูงในโรคกระดูก Paget’s disease

การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการตรวจการทำงานของตับ สามารถทำให้เราแยกโรค ตับอักเสบ และ การอักเสบออกไป
การดูระดับ Vitamin D สามารถทำให้เรารู้ได้ว่า คนไข้เป็น Vitamin D deficiency หรือไม่

โรค fibromyalgia สามารถเกิดขึ้น โดยไม่มีโรคอื่นเกิดร่วม หรืออาจมีโรคอื่นเกิดร่วมก็ได้
พวก systemic rheumatic conditions ทั้งหลาย พวกนี้จะมีการอักเสบ และมีความผิดปกติ (damage) เกิดขึ้นกับเนื้อเยื้อ และอวัยวะภายใน

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ เช่น ESR, serum protein electrophoresis, antinuclear antibody (ANA), rheumatoid factor จะมี ประโยชน์ในการแยกโรค....
เพราะ การตรวจทุกชนิดที่กล่าวมา....โรค fibromyositis จะมีค่าปรกติทุกอย่าง

Fibromyalgia(4) : Treatment

คนไข้ที่เป็นโรค fibromyalgia มีอาการหลายอย่าง ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย
ดังนั้น การรักษา จึงขึ้นกับคนไข้แต่ละราย
การรักษาที่ปรากฏว่า ได้ผลดี เป็นการรักษาแบบผสมหลายอย่าง เช่น ให้การศึกษาแก่คนไข้ (Patient education), การลดความเครียด (stress reduction) , ออกกำลังกายเป็นประจำ (regular exercise) และ ยา

Patient education

การให้คำแนะนำแก่คนไข้ ถือเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะทำให้คนไข้เข้าใจโรค และนำไปสู่ การจัดการกับอาการต่างๆ ของโรคได้ง่ายขึ้น

Stress reduction

การลดความเครียดของคนไข้ แต่ละรายก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง คนไข้บางคน แค่ทำ “นม” หก ก็จะ ตายให้ได้ ส่วนอีกคน ขนาดรถถังวิ่งชนบ้าน เขายังรู้สึกเฉย....เขารู้สึกไม่ทุกข์ร้อนเท่าใด
ดังนั้น การลดความเครียดของคนไข้ จึงขึ้นกับคนไข้แต่ละรายไป

การลดความเครียด มีรูปแบบมากมาย เช่น การฟังเทปฟังพระเทศน์ การฟังเพลง การได้รับคำแนะนำ จากเพื่อน จากแพทย์ หรือการเปลี่ยนสถานที่ สามารถทำให้อาการของโรค fibromyalgia ลด น้อยลงได้
การนั่งปฏิบัติธรรมก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถช่วยได้
การนอนหลับ (ลึก) ก็เป็นการรักษาทีดีอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน

Exercise

การออกกำลังกายแบบ aerobic ที่ปราศจากการกระแทก เช่น การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และเดิน สามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ fibromyalgia ได้ผลดี
ทำไมการออกกำลังกายจึงได้ผลดี เราไม่ทราบแน่ชัด
แต่เชื่อว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้น เป็นการทำให้ร่างกายมีสาร endorphin ในกระแส เลือดสูง และสารตัวนี้เชื่อว่า สามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้

Fibromyalgia diet

ให้หลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ และ กาแฟ ก่อนนอน สามารถทำให้นอนหลับได้ดีในบางคน
เท่าที่รู้ เราไม่มีอาหารเฉพาะสำหรับคนเป็นโรคนี้หรอก
สำหรับคนไข้ ที่มาด้วยอาการทางกระเพาะลำไส้ สามารถช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้น ด้วยการให้ยา และ ปรับอาหารให้เหมาะสมกับอาการของคนไข้

Fibromyalgia medications

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็น fibromyalgia ที่ปรากฏได้ผลดีที่สุด คือยากลุ่ม Tricyclic antidepressants เป็นยาที่นำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีอาการทางจิต depression

ยากลุ่ม tricyclic antidepressants ให้ในขนาดที่น้อยกว่าการรักษา depression สามารถลด อาการ อ่อนหล้า ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้คนไข้นอนหลับดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า tricyclic antidepressants จะมีผลกระทบต่อสาร serotonin ซึ่งเป็น สารสื่อประสารของสมอง
ยาที่ใช่อยู่เป็นประจำ คือ

o Amitryptyline (Elavil) และ doxepin (Sinequan)
o
o Fluoxetine หรือยาในกลุ่มเดียวกัน เมื่อใช้สามารถลดขนาด Amitryptyline ลง
สามารถทำให้อาการปวดกล้ามเนื้อลดลง ลดความเครียด และรักษาอาการdepression

o Lorazepam (Ativan) ช่วยลดอาการต่าง ๆ ของโรค fibromyalgia

ในปี 2007 ได้มีการนำยา pregabalin (Lyrica) มาใช้ในการรักษาโรค fibromyalgia โดยยาตัวนี้สามารถบล็อกอาการปวดประสาทได้

ยาอีกตัว gabapentin (neurontin) ก็นำมาใช้รักษาโรค fibromyalgia ได้ผลดี เช่นกัน

ในระยะเร็วๆ นี้ ได้มีการนำยามาใช้เพิ่มสารที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารประสาท (neurotramsmitters) สองตัว คือ serotonin และ nor- epinephrine และ นำมาใช้ในคนไข้ fibromyalgia แล้วได้ผลดี
ยาที่ใช้ได้แก่ duloxetine และ milnacipran
จากการศึกษาพบว่า มันสามารถลดอาการปวดของคนไข้ และช่วยให้คนไข้ทำงานได้ดีขึ้น

การรักษาอย่างอื่น เช่น การฉีด analgersic ผสม cortisone ที่จุดเจ็บปวด (tender point) สามารถลดความเจ็บปวด และลดวงจรการเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้

ยาแก้ปวด เช่น acetaminophen, tramol สามารถนำมาใช้ และได้ผลดี
ส่วนพวก NSAIDs เมื่อนำมาใช้ในพวก fibromyalgia ได้ผลไม่ค่อยดีนัก เมื่อเทียบ กับคนไข้ที่เป็นโรครูมาติกทั้งหลาย

การฝังเข็ม และการนวด สามารถช่วยคนไข้ได้ในบางรายเท่านั้นเอง

Fibromyalgia (5) : การรักษาที่จะมีในอนาคต?

ในวงการแพทย์เรา มีโรคหลายชนิด ที่เราไม่ทราบสาเหตุของมัน
เป็นความลับ ที่รอการปิดเผย..
โรค Fibromyalgia ก็เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เราไม่ทราบเหตุ
ในขณะนี้ มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากมาย พยายามศึกษาหาสาเหตุ ที่น่าเป็นไปได้ เช่น viruses หรือ Toxins ที่ได้จากการอักเสบต่างๆ อาจมีส่วนทำให้เกิดโรค fibromyalgia ได้

นั่นคือความจริงเกี่ยวกับคนที่เป็นโรค fibromyalgia
ดังนั้น วิธีการรักษาโรคให้หาย จึงต้องรอต่อไป จนกว่าเราจะพบสาเหตุที่แท้จริง

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในระยะเร็วๆ นี้
พวกเขาสงสัยว่า สมองส่วนหนึ่ง ที่มี่ชื่อว่า “Insula” อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดโรค fibromyalgia (pathophysiolgy)

มียาใหม่ ๆ ถูกผลิตขึ้นมา ให้มันบล๊อกการทำงานของ substance P หรือ nerve growth factor
เมื่อมันสามารถบล็อกได้ มันก็สามารถ ลดความเจ็บปวดจากโรค fibromyalgia ได้

จากการศึกษา ยังยืนยันว่า การปรับปรุงด้าน education, exercise ที่เหมาะสม ลดอาการซึมเศร้า และยาที่ ดี น่าจะทำให้การรักษาโรคดังกล่าวดีขึ้นอย่างแน่นอน

Fibromyalgia At A Glance

Fibromyalgia เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด (pain), ข้อแข้ง (stiffness), กดเจ็บตามกล้ามเนื้อ, ข้อ ต่อ , เอ็นทั้งหลายภายในร่างกาย โดยไม่มีร่องรอยของการอักเสบในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดแม้แต่น้อย

จากการสัมผัสด้วยตา เราสามารถบอก:

o โรค fibromyalgia ไม่ทำให้เกิดความพิกลพิการใดๆ ไม่ทำอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย

o คนไข้จะมีอาการเหนื่อยหล้าได้ประมาณ 90 %

o ทำให้เกิด irritable bowel syndrome

o การนอนหลับของคนไข้ ผิดปกติไป

o ไม่มีวิธีตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค fibromyalgia

o สามารถเกิดร่วมกับคนไข้โรคไขข้อชนิดอื่นๆ ได้

o วิธีการรักษาที่ได้ผลดี คือวิธีการผสมผสานการรักษา ให้การศึกษาแก่คนไข้ การออกกำลังกาย การลดความอาการซึมเศร้า และการให้ยา

Sources
www.medicinenet.com>....> Fibromyalgia
www.mayoclinic.com/health/fibromyalgia/DS00079

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

High Cholesterol (1):

Cholesterol เป็นสารชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายไขมัน เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ เพื่อการใช้งานตามปกติ
เราจะพบสารตัวนี้ในเยื่อบุเซลล์ หรือเยื่อบุทั้งหลายในร่างกาย เช่นสมอง ประสาท ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ตับ ลำไส้ และหัวใจ

ร่างกายของเราจะเอา cholesterol ไปสร้างฮอร์โมนหลายชนิด, ไวตามิน D, และ กรดในน้ำดี (bile acid) ซึ่งใช้ในการย่อยอาหารที่เป็นมัน
ปริมาณที่ร่างกายต้องการ พบว่า ร่างกายต้องการในปริมาณไม่มากหรอก
ถ้าหากมีปริมาณ cholesterol มากเกินไป ไขมันที่มากไป และลอยละล่องในกระแสเลือดนั้น จะไป เกาะตามเส้นเลือดแดงต่าง ๆ รวมทั้งเส้นเลือดแดงของหัวใจ ของสมอง ของแขน-ขา
Cholesterol ทีเกาะตามเส้นเลือดจะมีลักษณะเป็นคราบของไขมัน ทำให้เส้นเลือดเส้นนั้น ๆ แคบลง และ เกิดอุดตัน ก่อให้เกิดอาการ และอาการแสดงของร่างกายส่วนที่ขาดเลือดไป

ยกตัวอย่าง:

เส้นเลือดของขาเกิดการอุดตัน จะเกิดอาการปวดขา ในขณะเดิน (claudication) เนื่องจากเส้นเลือด ของขาเกิดการอุดตัน หรือแคบลง
ถ้าเป็นเส้นเลือด carotid เกิดการอุดตัน จะทำให้สมองขาดเลือด (stroke)
เส้นเลือดของหัวใจเกิดการอุดตัน จะเกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด heart attack

ใครคือคนที่มีระดับไขมัน cholesterol สูง

คนที่มีไขมัน cholesterol สูง มักจะเป็นชายที่มีอายุน้อยกว่า 55 ส่วนในหญิงจะพบมากในวัย ที่มีอายุมากว่า 55
อันตรายจากการมี cholesterol สูง จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุเราเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ cholesterol สูง
(Causes)

การที่คนเรามี cholesterol สูง มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม, อาหาร, และวิถีชีวิต
ในคนโรคที่เป็นโรคตับ, ต่อมไทรอยด์, หรือไตอาจกระทบต่อระดับของ cholesterol ก็สูงได้

• Heredity: Genes ในกายของเราจะมีส่วนกระทบกับการทำปฏิกิริยาของ Low Density Cholesterol (LDL)

ในครอบครัวของคนที่มีระดับ cholesterol ในเลือดสูง มีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้เร็ว

• Weight: ท่านใดปล่อยตัว ปล่อยใจ ให้ร่างกายมีน้ำหนักเพิ่ม อาจทำให้ระดับของ LDL สูงขึ้นได้พอประมาณ ในตรงข้าม หากเราลดน้ำหนักตัว จะทำให้ระดับของไขมัน LDL ลดลง แต่จะทำให้ระดับไขมัน HDL (good) สูงขึ้น

• Physical activity / Exercise : การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ระดับของ triglyceride ลดลง และทำให้ HDL เพิ่มขึ้น

• Age and sex: ก่อนสตรีหมดประจำเดือน ระดับไขมันจะต่ำกว่าชาย แต่หลังจากหมดประจำเดือน จะมีระดับสูงขึ้น
สตรีในวัย 50 จะมีไขมันสูงกว่าชายในวัยเดียวกัน

• Alcohol Use: การดื่มแอลกอฮอล์ พอประมาณ (1-2 drinks/day) จะเพิ่มระดับ HDL แต่ไม่ลด LDL
เราไม่รู้หรอกว่า แอลกอฮอล์ ลดการเกิดโรคหัวใจหรือไม่
แต่ที่รู้แน่ ๆ คือ การดื่มแอลกอฮอล์ มาก ๆ จะเป็นอันตรายต่อตับ และกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง และเพิ่มระดับไขมัน triglyceride
ดังนั้น เราไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโรหัวใจเป็นอันขาด

• Mental stress: มีการศึกษา พบว่า “ความเครียด” (stress) สามารถเพิ่มระดับ cholesterol ในกระแสเลือดได้ในระยะยาว ที่เป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่าง เช่น คนตกอยู่ภายใต้ความกดดัน จะบรรเทาความเครียดตนด้วยการรับประทานอาหารประเภทไขมันเพิ่มขึ้น...
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เป็นตัวการที่ทำให้เกิดมี cholesrterol สูง ขึ้น

High Cholesterol symptoms:

มีคนถามว่า คนที่มีระดับ cholesterol สูง มีอาการไหม ?
...ไม่มีหรอกครับ.
ระดับ cholesterol สูง เป็นแค่ปัจจัยเสี่ยง (risk factor ) ให้เกิดโรคเท่านั้นเอง

Next >

Choesterol Lowering Medication (3): Statins

ของที่ว่า “ดี” มักจะมี “เสีย” ร่วมด้วยเสมอ
นี้ก็เป็นสัจธรรมที่ทุกคนรู้ แต่ที่ปล่อยให้เกิดอันตรายขึ้น เป็นเพราะ...
“เราไม่รู้ หรือ อาจไม่ระมัดระวัง ...)

สตรีวัยกลางคนท่านหนึ่ง นวยนาถเข้ามา... ปรึกษาหมอด้วยคำถาม:

“คุณหมอข๋า....
ดิฉันแพ้ยาลดไขมันทุกชนิด ...ควรทำอย่างไรดี...?”

คำตอบที่คนไข้รายนั้น ได้รับ:

o เลิกรับประทานยาที่แพ้ (ทุกชนิด) ซะ
o เมื่อไม่สามารถใช้ยา (cholesterol-lowering medications) ได้
มีทางออกที่เธอจะต้องทำ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกรับประทานอาหารที่มีมัน(fat) ทุกชนิด , ออกกำลังกายให้มากขึ้น , ลดความอ้วน....และควบคุมปัจจัยเสี่ยงทุกชนิด เช่น โรคความดัน, โรคเบาหาน.
o หาอาหารเสริมมารับประทาน เช่น omega 3 fatty acid มีรายงานว่า สามารถช่วยลดไขมันได้ ?

ยาลดไขมันที่แพทย์เราชอบสั่งให้คนไข้ ได้แก่:

Statins:

ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้มีมากมายหลายตัว ได้แก่:

o Atorcastatin (Lipitor)

o Fluvastatin (Lescol)

o Lovastatin (Mevacor, Altocor)

o Pravastatin (Pravachol)

o Simvastatin (Zocor) และ

o Rosuvastatin (Crestor)

ที่เราสั่งใช้บ่อยทีสุด คือ simvastatin
เพื่อไม่ให้ยา ทำอันตรายต่อเรา มีอะไรหลายอย่าง ที่เราผู้ใช้ควรรู้เอาไว้...
สิ่งแรกที่เราควรรู้

1. “How do statins work?”

Statins มันยับยั้งการทำงานเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ HMK-CoA reductase ซึ่งเอ็นไซม์ ตัวนี้ มันมีหน้าที่ในการสร้าง cholesterol ในร่างกายของมนุษย์เรา

Statins จะลดการสร้าง cholesterol ลงได้ถึง 20 – 60 % ขณะเดียวกัน มันไปช่วยตับ ให้ทำการขับเอา Low cholesterol ออกจากร่างกายไป

ให้ทราบไว้ด้วยว่า Statins จะได้ผลดีในการลด Low cholesterol (ดีกว่าสารลด..ชนิด อื่น)
นอกจากนั้น มันยังไปเพิ่ม high cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ดี(HDL) และลดพวก Total cholesterol และ triglycerides ลง

ผลของการใช้ยาในกลุ่ม statins จะได้ผลหลังจากใช้ยาไปแล้ว 4 – 6 อาทิตย์ และจาก การศึกษา พบว่า พวก statins ได้พิสูจน์ว่า มันลดอันตรายจาก heart attack, stroke, death และโรคเส้นเลือดของหัวใจ อันสืบเนื่องมาจากระดับ “คลอเลสเตอรอล” สูง อีกด้วย

2. เมื่อท่านจะต้องใช้ยา statins เพื่อลดระดับไขมันสูง ท่านต้อง “ไม่” ใช้ยาตัวนี้ :
o เมื่อพบว่า ท่านแพ้ยาพวก statins หรือแพ้ส่วนผสมของมัน

o เมื่อท่านตั้งครรภ์ หรือเตรียมที่จะมีครรภ์

o เมื่อท่านกำลังให้นมบุตร

o เมื่อท่านมีโรคตับ ในระยะ active

o เมื่อท่านดื่มจัด

o เมื่อท่านมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ (myopathy)

o เมื่อท่านมีโรคไต อันมีเหตุมาจาก rhabdomyolysis

3. ทำไมเราถึงต้องรับประทานก่อนนอน ?

ยา statins ออกมาจำหน่ายในรูปเม็ด หรือแคบซูล ซึ่งเราจะให้คนไข้กินพร้อมกับอาหาร เย็น หรือก่อนนอน ด้วยสาเหตุที่ว่า ร่างกายจะสร้าง cholesterol ในตอนกลางคืนมากกว่า ตอนกลางวัน..มันก็เท่านั้นเอง

4. Drugs and Food Interactions


เมื่อท่านกินยา statin เพื่อลดไขมันเมื่อใด สิ่งที่ท่านจะต้องรู้... นั้น คือ น้ำองุ่น (grapejuice) หากท่านดื่มในปริมาณมากไป (วันหนึ่ง ดื่มมากกว่า 1 quart = 3.7 Lt) มันจะกระทบต่อการทำงานของตับ
ตับไม่สามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีกับยา statins ได้ตามปกติ เป็นเหตุให้มี statin ใน กระแสเลือดใสปริมาณสูง....เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้นได้

ที่สำคัญ ยาในกลุ่ม statins ยังสามารถทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่น ๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยาอันไม่ พึงปรารถนาได้ เช่น:

• Vitamins

• Herbal supplement

• Medications for your immune system เช่น cyclosporine เป็นยาที่นำมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

• Other cholesterol inhibitors เช่น fibrates และ nicotinic acid

• Medications for infections เช่น erythromycin, clarithromycin, telithromycin, itraconazole, kenoconazole,

• ยาที่นำมาใช้รักษาความดัน เช่น Verapamil, diltiazem, amiodarone และ digoxin

• Birth control pills

• Medications for HIV/AIDS เช่น indinavir, ritonavir

• Warfarin, Coumadin ( เมื่อเราให้ยาในกลุ่ม statins เช่น rosuvastin,lovastatin, simvastatin เมื่อให้ร่วมกับ warfarin เมื่อใด จะทำให้ฤทธิ์ของ warfarin เพิ่มขึ้น เมื่อท่านใช้ยาทั้งสองร่วมกันเมื่อไร ท่านต้องทำการตรวจ international normalized ratio (INR) เพื่อนำมาพิจารณาปรับขนาดของยา warfarin ต่อไป

5. ผลข้างเคียงของ statins: โดยทั่วไปแล้ว ผลข้างเคียงของ statins มีน้อยมาก คนไข้สามารถทนต่อยาในกลุ่มนี้ได้ดี...
อาการข้างเคียงทีพบ:
เมื่อท่านรับประทานยา statin แล้วเกิดอาการต่อไปนี้ เช่น “ปวดเมื่อย” , “ปวด”, “อ่อนแรง”, “อาเจียน”, “ปวดท้อง” , หรือถ้าท่านปัสสาวะมีสีดำออกมา ซึ่ง หมายถึงมีการสลายตัวของกล้ามเนื้อทั่วไป ท่านต้องเลิกยา และพบแพทย์ทันที

บางท่านรับประทานยา กลุ่ม statins ชอบมีอาการทางกระเพาะลำไส้ เช่น มี อาการปวดท้อง, ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก
ความรุนแรง มีตั้งแต่น้อย...ไปถึงมาก

บางคนมีอาการทางประสาท (neuropathy) เช่น มีอาการชา มีความรู้สึกเหมือน ของแหลมทิ่มตำ (numbness and tingling) ที่บริเวณมือ แขน และขา

Dry Mouth

ท่าน หรือคนที่ท่านรู้จัก เคยพบเห็นคนที่มีอาการต่อไปนี้ไหม ?
“คุณหมอข๋า....อิฉัน มีปัญหาเรื่องปาก, คอแห้งตลอดเวลา.มาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว..”
สุภาพสตรีวัยกลางคนเอ่ย
“ดื่มน้ำน้อยไปหรือเปล่า ?”
คุณหมอถามอย่างมีอารมณ์ดี
สุภาพสตรีนางนั้น ก็ตอบด้วยเสียง แข็งว่า
“....ดื่มน้ำเป็นลิตร ๆ วันหนึ่งมากกว่า 10 แก้ว....อิฉันก็ยังปากคอแห้งอยู่ดี”

ปาก และคอแห้ง (Dry Mouth)

ตามความหมายของท่านที่มีอาการปาก คอแห้ง
หมายความว่า ท่านไม่มีน้ำลาย หรือมีในปริมาณน้อย นั่นเอง
เมื่อท่านเกิดมีอาการปากแห้ง ท่านไม่เพียงแต่จะมีความรู้สึกกระหายน้ำเท่านั้น ท่านยังรู้สึกว่า ภายใน ปากในคอของท่าน มีความรู้สึกเหนียว...อีกด้วย
น้ำลายของคนเรา ช่วยให้รับประทานอาหารได้อย่างมีรสชาติ ช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปด้วยดี
นอกจากนั้น มันยังช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านลำคอลงสู่กระเพาะได้สะดวก เปลี่ยนกรดให้เป็นกลาง และป้องกันไม่ให้ เกิดฟันผุ
ปากคอแห้ง ยังมีอีกชื่อหนึ่ง....Xerostomia

ผลที่เกิดจากปากคอแห้ง:

เมื่อปาก คอ ของเราแห้ง ไม่มีน้ำลายมากพอที่จะช่วยพัดพาเอาอาหารจากปากลงสู่กระเพาะหาร
ไม่สามารถขจัดเอาเศษอาหารออกทิ้งได้ตามปกติ เป็นเหตุทำให้ท่านมีกลิ่นปากเกิดขึ้น
ส่วนสภาพสตรีที่ทาลิปสติก...ปากฎว่า ลิปสติกก็ติดที่ฟัน...เป็นเหตุให้เจ้าตัวรู้สึกไม่ดีกับสิ่งปรากฏ
เป็นภาพที่น่ารังเกียจ ของผู้พบเห็น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่มีน้ำลายมากพอที่จะชะล้างเอาลิปสติกออกไปได้
นอกจากนั้น ปากคอแห้ง ยังเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดเสียงแหบแห้งขึ้น และกลิ่นปาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดปากคอแห้ง:

บาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ และบริเวณกระดูกต้นคอ อาจทำลายเส้นประสาท.--.>..ทำให้เกิดปากคอแห้ง ได้
มีเส้นประสาทบางชนิด ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่าง “ต่อมน้ำลาย” และ “สมอง
หากเส้นประสาทถูกทำลายลง ย่อมเป็นเหตุให้ไม่มีคำสั่งลงมายังต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลายไม่ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายได้ปกติ
เป็นตัวอย่างหนึ่ง ทีบอกให้เราทราบว่า อวัยวะทั้งหลายในร่างกายมนุษย์ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ สมองแทบทั้งสิ้น
สมองไม่ออกคำสั่ง...มันก็ไม่ทำงาน ?

เมื่อไม่มีน้ำลาย เราก็ไม่สามารถรู้รสอาหารได้อีกต่อไป

เมื่อไม่มีน้ำลาย ผิวหนังรอบปากจะแห้ง เวลาอ้าปากจะเจ็บ มุมปากอาจมีรอยแผล
ลิ้นแห้ง และหยาบกระด้าง มีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร การพูดจาก็พูดด้วยความลำบาก เพราะทุก ครั้งที่อ้าปากพูดจะรู้สึกเจ็บ ต้องใช้ครีมล่อลื่น...เพื่อทดแทนน้ำลาย

มีการประมาณการว่า มียามากกว่า 500 ชนิด ที่ทำให้เกิดอาการคอแห้ง รวมทั้งยาที่ซื่อเองจากร้าน ขายยา เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษากระเพาะปัสสาวะเล็ด (overactive bladder) และยารักษาอาการทางประสาท

นอกจากยาแล้ว การถูกรังสีจากการรักษามะเร็ง สามารถทำลายต่อมน้ำลายลงได้
เคมีรักษา ก็เช่นกัน สามารถทำให้ปากคอแห้งได้เช่นกัน

สาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้ปากคอแห้ง คือโรคตัวโรค (medical conditions) เช่น Sjogren’s syndrome ซึ่งเป็นความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันของตัวเราเอง
ในความบกพร่องดังกล่าว มีเม็ดเลือดขาวตัวหนึ่ง ชื่อ lymphocytes มันจะทำทำลายต่อมน้ำตา และต่อมน้ำลายของตัวเอง เป็นเหตุให้คน ๆ นั้น ไม่มีน้ำตา และไม่มีน้ำลาย ทำให้เกิดตาแห้ง และปาก คอแห้งเกิดขึ้น
ตัวอย่างนี้ แสดงให้ปรากฏว่า ระบบต่างๆ ภายในตัวคนเดียวแท้ ๆ..ยังมีการทำลายซึ่งกันและกัน
ฉะนั้น การที่เราพบเห็นคนในสังคม ต่างพ่อ ต่างแม่ มีความรู้สึกนึกคิดต่างกัน ทำไมจึงมีเรื่องขัดแย้ง กันเช่นนั้นได้

นอกเหนือยานั้น แล้ว ยังปรากกว่า มีโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปากคอแห้งได้ เช่น โรคเบาหวาน โรค HIV/AIDS

การสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุทำให้อาการปากคอแห้งเลวลงได้
มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้คนสูบบุหรี่...เลิกสูบบุหรี่
โดยตัวของมันเอง การสูบบุหรี่ ไม่ใช้เหตุทำให้ปากแห้ง แต่สารที่ได้จากการสูบบุหรี่ ทำให้ปากแห้ง เพิ่มมากขึ้น
แอลกอฮอล์ และกาแฟ ก็ทำให้ปากคอแห้งได้เช่นกัน

การเกิดปากคอแห้ง จะนำไปสู่ปัญหาของฟัน
ถ้าท่านมีอาการปากคอแห้ง สมควรตรวจเช็ดฟันเป็นระยะด้วย

การจิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดวัน และควรใช้น้ำบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นดีที่สุด

คำแนะนำสำหรับกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำลาย:

ถามแพทย์ว่า มียาที่สามารถช่วยลดอาการปากคอแห้งหรือไม่ ?
การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไร้น้ำตาล สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำลายได้ดี
มีน้ำลายเทียม ( saliva substitute) สามารถช่วยได้ในคนไข้ยงราย

คำแนะนำอื่นๆ สามารถช่วยแก้คอแห้งได้ เช่น จิบน้ำบ่อย ๆ สามารถช่วยทำให้ปากชุ่มตลอดเวลา ที่ สำคัญให้หลีกเลี่ยงน้ำตาล กรด หรือสารกาเฟอีน...
การดื่มน้ำ และดื่มนมพร้อมอาการ จะช่วยในการกลืนอาหารง่ายขึ้น

ให้นอนในห้องที่มเครื่อง humidifier จะช่วยลดอาการปากคอแห้งได้
และอย่าลืมตรวจเช็คฟันเป็นระยะ ๆ ด้วย เพื่อทำความสะอาด เป็นการรักษาฟันไปพร้อม ๆ กัน

สุดท้าย โรคปากคอแห้ง แพทย์สามารถช่วยท่านได้:
อย่าได้ละเลยต่ออาการของท่านเป็นอันขาด ให้ปรึกษาแพทย์ , ทันตแพทย์...บอกให้เขาได้ทราบถึง ปัญหาของท่าน ซึ่งเขาสามารถช่วยท่านตรวจหาสาเหตุของโรคให้แก่ท่านได้ เช่น โรคเบาหวาน หรือ Sjogren’s sydrome,...

เมื่อต้นเหตุถูกแก้ไข้...อาการน่าจะดีขึ้นนะ

Bad Breath :อย่าให้กลิ่นลมหายใจ ทำลายรอยยิ้มของท่านได้

คำพูด และกลิ่นปาก มักจะไปด้วยกันเสมอ
คงไม่ใครเถียง เมื่อท่านต้องพูดคุย กับคนที่มีกลิ่นปาก หรือลมหายใจที่เหม็น...
สิ่งที่ท่านอยากจะทำ....คือ จะหลุดพ้นจากสถานการณ์นั้นได้อย่างไร ?
จะปิดจมูก ด้วยมือ ก็ไม่ได้, เดินหนีก็ไม่ได้....
หนทางที่ปลอดภัยที่สุด เห็นจะได้แก่ เป็นผู้ฟัง พร้อมกับกลั้นลมหายใจเอาไว้
ทำเหมือนหนึ่ง ดำน้ำใต้ทะเลลึก...
.ถ้าไปเจอคนปากเหม็นพูดไม่ยอมหยุด
เราคงต้องทนสัมผัสกลิ่น ของเธอต่อไป

นี้คือเหตุการณ์อย่างหนึ่ง... เป็นชีวิตจริง ของสามี ภรรยา คู่หนึ่ง มาพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาโรค
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่สตรีเพศ
ได้เอ่ยถามคนไข้...ผู้เป็นสตรีก่อน
“คุณป้า...ไม่สบาย อย่างไร...หรือ ?

สุภาพสตรีท่านนั้น มองหน้าสามีของตนเอง อย่างไม่เกรงใจ แล้วหันมาพูดกับหมอว่า
“อีฉัน ไม่มีปัญหาหรอก...
คนที่มีปัญหา คือ ..คนนี่.” .พร้อมกับชี้นิ้วไปที่สามีของแก

“อ้าว....เป็นอะไรหรอ ?” ผมถามด้วยความแปลกใจ
และคำตอบที่สุภาพสตรีท่านนั้น... ทำให้ทุกคนตกใจกันไปตาม ๆ กัน
เพราะเธอบอกว่า
“สามีของเธอ มีลมหายใจ ที่เหม็นมาก เหมือนไข่เน่า..เหมือน....ข.”
พร้อมกับประโยคที่ไม่น่าฟังตามมาอีกหลายประโยค

มองหน้าคนไข้ ผู้เป็นสามี อดสงสารไม่ได้
เพราะสิ่งที่ปรากฏ... ผู้เป็นสามีไม่พูดสักคำ แววตาบ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ ซึ่งถูกภรรยาของตนเอง ทำลายลง...อย่างสิ้นเชิง ...
ที่ถูกต้อง เธอผู้เป็นภรรยา ควรเป็นผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้เป็นสามีมากกว่านี้
แต่ในกรณีนี้....มันไม่ใช่เช่นนั้น

ลองหันกลับมาดูสังคมรอบตัวเราซิ
จะมีสักกี่คน ที่สามารถกล้าบอกคู่สนทนาว่า....
“นี้เธอ...กลิ่นปากของเธอ ทำไมเหม็นอะไรอย่างนั้น ?”
คงน้อยมากนะ...
เอาเป็นว่า “ตัวใคร ตัวมันก็แล้วกัน”


สาเหตุของกลิ่นลมหายใจเหม็น:
(Causes)
ปรากฏว่า มีมากมายเหลือเกิน ที่เราพอจะบอกได้

Food:
เศษอาหารที่ติดตามไรฟัน ไม่ได้ทำความสะอาด สามารถทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้
อาหารที่มีน้ำมันบางชนิด สามารถทำให้เกิดกลิ่นได้
หอม และกระเทียม เป็นที่รับรู้กันมานานว่า ทำให้กลิ่นปากเหม็น

Dental Problems:

ปัญหาภายในปาก (poor hygiene, periodontal disease) ต่างเป็นต้นตอของกลิ่นปาก ทั้งสิ้น

เศษอาหารที่ติดอยู่ตามไรฟัน ไม่ได้ถูกขจัดออกไป พวกแบคที่เรียที่อยู่ในปาก จะปล่อย สารเคมีตัวหนึ่งชื่อ hydrogen sulfide มีกลิ่นเหมือนกับไข่เน่า

ที่บริเวณโคนลิ้น จะมีหลุมบ่อเล็ก ๆ เป็นที่อยู่ของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมันจะเป็นตัวสร้างกลิ่นที่ ไม่ดีออกมา

ฟันปลอม และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับฟันทั้งหลาย หากไม่รักษาความสะอาด จะเป็นที่หมัก
หมมของเชื้อแบคทีเรีย

Dry mouth:

น้ำลายจะทำหน้าที่ทำความสะอาดให้แก่ปาก ช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อโรคแบ่งตัว ในรายที่ต่อม น้ำลาย ไม่สามารถสร้างน้ำลายได้
ตามปกติ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปากได้

Disease:

เมื่อไหร่ก็ตามที่ตัวท่านเอง หรือบุคคลที่ท่านสัมผัสด้วย ชนิดที่ลมปากกระทบถูกดอกกุหลาบ ยามเช้า ต้องทำให้กุหลาบเหี่ยวเฉาลงทันที ย่อมมีสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปากเหม็น ได้ดัง ดังนี้

มีประมาณ 10 % ที่พบว่า สาเหตุทำให้กลิ่นลมหายใจ ไม่เป็นที่พึงปราถนาของคนไกล้ชิด เช่น มะเร็ง และโรคเกี่ยวกับ metabolic disorders สามารถทำให้เกิดมีกลิ่นเฉพออกมา ได้ เพราะมันสามารถสร้างสารเคมีบางอย่างได้:

• โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคตับ (liver failure) สามารถสร้างกลิ่นเหมือนปลาเน่าได้
โรคเบาหวาน ชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะปล่อยกลิ่นผัก (ketones)

• คนที่เป็นโรกระเพาะอาหารเป็นกรด ที่ไหลย้อนกลับ (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD) สามารถปล่อยกลิ่นที่ไม่ดีออกมาได้

• Chronic Bronchitis เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกลิ่นได้เช่นกัน บางท่านอาจสงสัยว่า มันส่งกลี่นเหม็นได้อย่างไร ?
ให้นึกภาพผ้าขาวสะอาด ที่ถูกของสกปกติไม่กี่ครั้งก็จะกลายเป็นผ้าขี้ริ้วขึ้นมาทันที
หากปล่อยไว้นานเป็นปี จะมีกลิ่นเป็นอย่างไร ?
ทีนี้ ลองหลับตานึกภาพของปอด ที่ทำหน้าที่หายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน...
มันทำหน้าที่เช่นนั้นมากนานนับสิบปี ...โดยไม่สามารถทำความสะอาดได้...
ความสกปกติของมัน จะมีมากขนาดไหน ?
ผู้เขียนเคยสัมผัสปอดของคนไข้ในขณะทำการผ่าตัด พบว่าปอดของคนเรานั้น มันดำ...สกปก มันไม่สะอาดเลย...
จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า คนที่สูบบุหรี่จัดเพียงอย่างเดียว ยังมีกลี่นลมหายใจที่ไม่สะอาด หากหลอดลมอักเสบเพิ่มเข้าไปอีก กลิ่นปาก กลี่นลมหายใจ จะน่ารังเกียจขนาดใด

• นอกเหนือไปจากนี้ ยาตาง ๆ ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง รักษาทางจิตประสาท หรือ ยาที่ใช้ในระบบขับปัสสาวะ สามารถทำให้เกิดลมหายใจได้
โดยการทำให้ปาก คอ แห้ง
และเป็นเหตุให้เกิดมีกลิ่นปากได้

เราจะจัดการอย่างไร ?

• อย่าปล่อยให้ลิ้นของท่านสกปรกเหมือนพรมเช็ดเท้าเป็นอันขาด
คนที่มีกลิ่นปากชนิดที่ทำให้คนเดินเฉียดต้องผงะ หรือเป่าลมปากใสกระหลาบสด
ที่เด็ดจากสวนตอนยามเช้า ยามเช้า ต้องเหี่ยวเฉาในบันดล ขอให้ทราบไว้ด้วยเถิดว่า กลิ่น ลมปากของท่าน...แย่แล้ว
ส่วนมาก เจ้าตัวไม่ให้ความใส่ใจใจต่อความสะอาดของปากเท่าที่ควร ปล่อยให้ปาก สกปก
กลิ่นเหม็นทีโชยออกมานั้น เกิดจากเศษอาหารเน่า และแบคทีเรีย ทีอยู่ในปากนั่น แหละ เป็นตัวต้นเหตุ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว หมอฟันจึงเแนะนำว่า แปลงฟันอย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องใช้ ด้ายเส้นเล็ก ๆ ที่ทำขึ้นเฉพาะ “รูด” ทำความสะอาดตามไรฟัน เอาเศษอาหารออกให้หมด
และอย่าลืมทำความสะอาดที่ลิ้น และโคนลิ้นของท่านด้วยแปลง ถือว่าเป็นการกำจัด เชื้อโรคที่ เป็นตัวการ ทำให้เกิดกลิ่นปากออกไป
ถ้าเป็นฟันปลอมละ...ก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน คุณหมอฟัน ท่านว่าอย่างนั้น
การบ้วนปาก ก็ไม่เลว เป็นการแก้ไขได้ชั่วระยะสั้น ๆ ซึ่งในปัจจุบันเขามี mouthwash ขวดเล็ก ๆ จำหน่ายสำหรับหนุ่มสาวตอนออกเดท แต่การทำความสะอาดด้วย วิธีเช่นนั้น เป็นการปกปิดกลิ่นเอาไว้ชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหา ตัว จริงแต่ประการใด

• เคี้ยวหมากฝรั่ง:
ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม น้ำลายของมนุษย์เราเป็นอาวุธที่ดีที่สุด ที่สามารถต้านกลิ่นปากเหม็นได้ ด้วยเหตุดังกล่าว คนที่ปากเหม็นจากปากคอแห้ง ส่วนใหญ่เกิดจากยา (medication) หรือโรคบางอย่าง จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้ปากแห้ง แล้วทำให้เกิดปากเหม็นได้
จากการล้างปาก เพื่อกำจัดเศษอาหาร และเชื้อโรคแบคทีเรีย
การเคี้ยวหมากฝรั่ง กระตุ้นให้มีน้ำลาย สามารถช่วยทำให้ขจัดกลิ่นปากได้เช่นเดียวกัน

ท่านคงไม่แปลกใจใช่ไหมว่า ทำไมในตอนเช้า เมื่อท่านตื่นขึ้นมา ตัวท่านเองก็รู้สึกได้ว่า กลิ่นปากของท่านเหม็น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ ต่อมน้ำลายของท่านมันพักผ่อนด้วย ผลิตน้ำลายออกน้อย ทำให้เศษ และกลิ่นวนเวียนอยู่ภายในปากของท่าน ไม่หนีหายไปไหน เมื่อท่านตื่นขึ้น ท่านก็ได้รับรู้ด้วยตัวของท่านเองว่า กลิ่นปากของท่าน... เหม็น
หมากฝรั่งชนิดไร้น้ำตาล จะช่วยทำให้ต่อมน้ำลาย สร้างน้ำลายออกมา
ส่วน Mints ที่มีจำหน่าย ก็ช่วยทำให้ปากชุ่มดีอยู่หรอก แต่เป็นการปกปิดกลิ่นที่ไม่ดีไดัในระยะสั้นๆ เท่านั้น

มีคนยืนยันว่า น้ำลายของมนุษย์เรา เป็น antiseptic และมีเอ็นไซม์หลายตัว ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้น การกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายให้สร้างน้ำลายออกมาเยอะ ๆ จึงมีประโยชน์ต่อการแก้ปากเหม็นได้เป็นอย่างดี
เมื่อปริมาณน้ำลายเพิ่มขึ้น จะทำให้ปริมาณของแบคทีเรียลดน้อยลงเป็นอัตราส่วนกัน หมากฝรั่ง (gum) ที่ทำให้หวานด้วย xylitol เป็นน้ำตาลเทียม (substitute) ซึ่งนอกจากจะป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้แบ่งตัวแล้ว ยังทำให้ต่อมน้ำลายสร้างน้ำลายเพิ่มขึ้นด้วย

• Cinnamon:

ผลจากการศึกษา พบว่า หมากฝรั่งที่มีส่วนประกอบของ cinnamon (อบเชย) อาจสามารถเอาชนะกลิ่นปากเหม็นได้
ให้หลีกเลี่ยงพวก gum ที่มีน้ำตาล เพราะพวกน้ำตาลทำให้ฟันเสีย เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดกลิ่นปากที่เหม็นได้
ให้เลือกใช้ sugar-less cinnamon gum แทน


• ดื่มน้ำให้มาก ๆ เอาไว้ โดยเฉพาะคนสูงอายุ ไม่ค่อยจะดื่มน้ำเท่าไหร่ แม้กระทั้งเกิด แม้กระทั้งเกิดภาวะขาดน้ำ ก็ยังไม่รู้สึกกระหายอีกต่างหาก
การดื่มน้ำให้มาก จะทำให้แบคทีเรียในปากมีปริมาณลดลง ไม่แต่เท่านั้น น้ำยังทำ ให้ท่านมี สุขภาพโดยรวมแล้วดีขึ้น ยังเป็นการป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปากเหม็นอีกด้วย
ฉะนั้น เมื่อท่านรู้ตัวว่า กลิ่นปาก หรือลมหายใจของท่านไม่สะอาด ท่านต้องดื่มน้ำ ให้มาก ๆ เข้าไว้

• ปัญหาเกี่ยวกับปาก จมูก และคอ:
การอักเสบของทางเกินลมหายใจ ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกลิ่นไม่ได้ดี หลอดลมอักเสบก็เช่นกัน เป็นตำแหน่งที่ก่อกำเนิดกลิ่นเหม็นได้
• สารจากยาสูบ :
กลิ่นจากบุหรี่ที่คนสูบ โดยตัวของมันก็เหม็นอยู่แล้ว
การสูบบุหรี่จัด มักจะทำให้ปากคอแห้ง และมีแนวโน้มที่จะทำให้โรคเกี่ยวกับฟันได้ (periodontal disease) ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกลิ่นปาก...ปากเหม็นได้

• กลั้วคอของท่านด้วย น้ำยา peroxide ทุกวัน สามารถเอาชนะกลิ่นปากเหม็นของท่านได้ โดย hydrogen peroxide สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้มีกลิ่นเหม็นในปากของท่านได้

• การใช้ยาสีฟัน หรือน้ำยาที่มีสาร fluoride แปลงฟัน ล้างปากของท่าน นอกจากจะช่วยรักษาอาการปวดเสียวฟันของท่านได้เท่านั้น ยังป้องกันไม่ให้ฟันของท่านสึกหลอได้ง่าย เป็นการป้องกันไม่มีกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี

• กรดให้กระเพาะอาหารก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดมีกลิ่นปาก....การรักษาด้วยยาลดกรดในกระเพาะ ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

• Yogurt สามารถช่วยเพิ่มแบคทีเรียทีดีให้แก่ลำไส้ของท่าน และเป็นการช่วยทำให้สุขภาพปากของท่านดีขึ้น ซึ่งผลที่ตามมา คือ ทำให้ปากหายกลิ่นเหม็นได้

• พบกับทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คความสะอาดเรียบร้อยของฟันซะ


เขียนจนจบ....รู้สึกสดุ้งตกใจ เพราะเรื่องที่เขียน ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของทันตแพทย์ทั้งนั้น

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Parkinson’s Disease(1) : Definition

“สิ่งที่คนเรากลัว...หรือ ไม่ชอบ... เห็นจะได้แก่โรคภัยไข้เจ็บ
ยิ่งเป็นโรค ชนิดที่ ไม่มีทางรักษาหายด้วยแล้ว เป็นเรื่องน่ากลัวมากที่สุด”

โรค “พาร์คินสัน” เป็นโรคหนึ่ง... เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด
ไหนๆ เราจะต้องอยู่ร่วมกับโรค
ไม่ว่า เราเป็นโรคเสียเอง หรือคนที่เรารัก เป็นโรคก็ตาม
สิ่งที่เราควรทราบ คือ รู้เรื่องเกี่ยวกับโรคนี้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของระบบประสาท
พบบ่อยเป็นอันดับสอง
มันมีลักษณะเฉพาะของมัน โดยมีการสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อ อย่างต่อเนื่องไป ที่สุดจะนำไปสู่อาการสั่น ของมือ แขน-ขา และศีรษะ
ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกาย มีการพัก

นอกจากนั้น คนไข้ยังมีอาการ ข้อแข็ง การเคลื่อนไหวเชื่องช้า และสูญเสียความสมดุลไป
เมื่อโรคเสื่อมมากขึ้น คนไข้อาจเดินลำบาก พูดจาลำบากไม่ค่อยเป็นภาษา
ไม่สามารถทำงานง่าย ๆ ได้อีกต่อไป

เมื่อโรคได้ดำเนินไป ความหนักเบาของโรค มีต่างกัน บางคนเป็นมาก บางคนอาการมีน้อย
คนไข้ส่วนใหญ่ สามารถดำเนินชีวิตได้ยืนยาว แต่มีบางรายเท่านั้นอาการทรุด หนักอย่าง รวดเร็ว

จากสถิติพบว่า คนอเมริกา เป็นโรค “พาร์คินสัน” ประมาณ 1 ล้านคน
อีกประมาณ 5 ล้านคน พบได้ทั่วโลก

ส่วนใหญ่ โรคจะเกิดในคนมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
มีประมาณ 1 % พบในคนอายุ 60 ปี
อีกประมาณ 4 % พบในคนอายุ 80 ปี
เนื่องจากคนเรา มีอายุยืนยาวมากขึ้น ประมาณการว่า เราจะพบคนที่เป็นโรคนี้มากขึ้นใน อนาคต

ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับโรค “พารคินสัน” ไว้ในสมัยก่อน 5000 BC
ในขณะนั้น ชาวอินเดียสมัยนั้น เรียกโรคนี้ว่า “Kampavata”
และใช้เมล็ดของพืชชนิดหนึ่ง ต่อมากเรารู้กันในนามว่า Levodopa ทำการรักษา

ในปี 1817 โรคนี้ ได้ถูกตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติหมอชาวอังกฤษ นาม doctor James Parkinson ซึ่งตอนนั้น คุณหมอท่านนี้ได้ให้ชื่อโรคนี้ว่า โรค “Shaky palsy

Causes:

มีสารชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า “dopamine” มันทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (messenger) ระหว่างสมองสองส่วน ที่เรียก substantia nigra และอีกส่วน หนึ่งเรียก corpus striatrum สารสื่อประสาทตัวนี้ จะทำให้การเคลื่อนไหวของ
ร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ

อาการส่วนใหญ่ของคนไข้ที่เป็นโรคนี้ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว มีสาเหตุมาจาก ขาดสาร dopamine และที่เกิดการขาดดังกล่าว เป็นเพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตสาร ดังกล่าว ซึ่งอยู่ใน substantia nigra เกิดตายไปนั้นเอง

เมื่อปริมาณของสาร dopamine ลดลง ทำให้การสื่อสารระหว่าง substantia nigra และ corpus striatum เสียไป
เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวแย่ลง

ยิ่งมีการสูญเสียสาร dopamine มากเท่าใด อาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยิ่งเลวลงตามนั้น และนอกจากนั้น ยังพบต่อไปอีกว่า เซลล์อื่นๆ ของสมองก็เสียไปด้วย เป็นเหตุให้คนไข้ที่ เป็นโรค “พารคินสัน” มีอาการอย่างอื่น นอกเหนือการเคลื่อนไหว ปรากฏร่วมให้เห็น

การอักเสบ (infections) และ ความเครียด (stress) อาจมีส่วนทำให้เกิดเซลล์สมองเสื่อม ได้
นอกเหนือไปจากนั้น ยังพบว่า มีก้อนโปรตีน Lewy body ปรากฏอยู่ในเซลล์ที่ตายไป
นักวิทยาศาสตร์ต่างเชื่อว่า ปัจจัยทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ต่างมีส่วนทำให้เกิดโรค ชนิดนี้


Next >

Parkinson’s Disease (2): Genes....

(cont.)



What genes are linked to Parkinson’s disease

ในขณะนี้ เราไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค “พาร์คินสัน”
เหตุจูงใจอันหนึ่ง คือ มีการพบว่า ประวัติครอบครัวของคน ที่เป็นโรคดังกล่าว สามารถพบได้ถึง 15 %

จากการศึกษาทางด้านพันธุกรรม ของคนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” ปรากฏว่า มี genes หลายตัว
ที่เกี่ยวพันธุ์กับการเกิดโรคดังกล่าว
จากการศึกษาเรื่องพันธุกรรม...ไม่แน่ เราอาจพบวิธีการรักษาแบบใหม่ ๆ ก็ได้

มี genes อยู่ประมาณ 5 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค “พารคินสัน”

1. SNCA (synuclein,alpha non A4 component of amyloid precursor):
ในคนไข้ที่เป็นโรค พาร์คินสัน พบ โปรตีน SNCA รวมตัวกันเป็นก้อนที่เซลล์ของสมอง ของคนที่เป็นโรคดังกล่าว เขาเรียกมันว่า Lewy body
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ gene SNCA จะปรากฏพบเห็นในระยะแรกของการเกิดโรค “พาร์คินสัน”

2. PARK2 (Parkinson’s disease autosomal recessive,juvenile 2):
Gene ชื่อ PARK2 เป็นตัวทำให้เกิด โปตีน parkin
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ PARK2 พบในคนไข้ที่เป็น juvenile Parkinson’s disease
PARK2 ทำหน้าที่ช่วยเซลล์สมองทำการสลาย (breakdown)
และสร้าง Protein ขึ้นใหม่ (recycle)

3. PARK7 (Parkinson’s disease autosomal recessive,early onset 7): เราจะพบการเปลี่ยนแปลงในพันธุกรรมของ gene PARK7 ของคนไข้ที่เป็นโรค”พาร์คินสัน” ในระยะแรกที่เกิดโรค
PARK7 gene จะสร้างโปรตีนที่มีชื่อว่า DJ-1 ซึ่งอาจทำหน้าที่ปกป้องเซลล์จาก oxidative stress

4. PINK1(PTEN-induced putative kinase 1) สิ่งที่พบ คือ gene ตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลง (mutation) ในระยะเริ่มต้นของการเกิดโรค “พาร์กินสัน”
หน้าที่โดยตรงของโปรตีนที่ถูกสร้างโดย gene-PINK1 ไม่เป็นที่ทราบชัด มันอาจทำหน้าที่ปกป้องเซลล์สมอง (ส่วนที่เป็น mitochondria) จากความเครียด (stress)

5. LRRK2 (Leucine-rich repeat kinase 2): LRRK2 เป็ตัวสร้างโปรตีน dardarin
การเปลี่ยนแปลง (mutation) ของ LRRK2 gene จะมีความสัมพันธ์กับระยะสุดท้ายของโรค “พาร์กินสัน”

นอกเหนือจาก genes ต่างๆ ที่กล่าวมา ยังปรากฏว่า มี genes อีกหลายตัว อาจมีส่วนร่วม
กับการเกิดโรค “พาร์กินสัน” ได้ เช่น genes GBA (glucosinase beta acid), SNCAIP (synuclein alpha interacting protein) และ UCHL1 (ubiquitin carboxyl-terminal esteraseL1)

Who is at risk for Parkinson’s disease?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค “พาร์คินสัน”

• ปัจจัยเสียง... จะเป็นอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่ทำให้คนเป็นโรคพาร์คินสันกัน
ส่วนใหญ่คนที่มีอายุมากกว่า 60 จึงมีโอกาสเป็นโรคนี้

• ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าหญิงถึง 1.5 ถึง 2 เท่าตัว

• ประวัติครอบครัวที่เป็นโรค “พาร์คินสัน”

• ประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่สบาย (illness) ถูกสารพิษ เช่น สารเคมีใช้ฆ่าแมลง(pesticide) , สารเคมีที่ใช้ทำลายวัชพืช(herbicide)



Next >

Parkinson’s Disease 3: Symptoms

(Cont.)
คนไข้ที่เป็นโรค PD’S จะมีอาการเกี่ยวกับการ “เคลื่อนไหว”ของกล้ามเนื้อ
โดยมากจะปรากฏทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น เป็นด้านซ้าย หรือข้างขวา เป็นอาการที่ผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อทั้งที่ควบคลุมได้ และควบคุมไม่ได้
อาการเริ่มต้นจากไม่รุนแรง เวลาผ่านไป โรคจะเสื่อมอย่างต่อเนื่องอย่างช้า ๆ
คนไข้หลายคน จะมีอาการไม่เหมือนกัน บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย

ผลจากการศึกษา พบว่า คนไข้โรค PD’s ในขณะที่อาการ (primary symptoms) ปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น ประมาณการณ์ว่า เซลล์สมอง ที่ผลิตสาร “dopamine” ได้สูญ หายไป 60 - 80 %

ลักษณะเฉพาะของโรค PD’s ประกอบด้วย:

o Tremors: อาการสั่นระรัวของนิ้วมือ, มือ, แขน, เท้า, ขา, กราม, และศีรษะ
ส่วนใหญ่จะเกิดในขณะพัก ไม่เกิดในขณะทำงาน
ยิ่งตื่นเต้น เหนื่อย หรือตกอยู่ภายใต้ความกดดัน อาการสั่นจะปากฎมากขึ้น

o Rigidity: อาการข้อแข็ง ในระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏว่า ข้อของแขน ขา และลำตัวจะแข็ง ไม่สามารถเหยียด และงอไม่ได้ตามปกติ
การเกิดข้อแข็ง ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ยิ่งเป็นข้อเล็กๆ เช่น ข้อของมือ จะทำให้การใช้มือลำบาก

o Bradykinesia: การเคลื่อนไหวชนิดที่อยู่ภายใต้การควบคุม จะเคลื่อนไหวได้ช้า และอาการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
การเริ่มต้นการเคลื่อนไหว และการยุติการเคลื่อนไหว จะกระทำได้ยากขึ้น
ใบหน้าของคนไข้ จะไร้ความรู้สึก เหมือนกับการใส่หน้ากาก...

o Postural instability: ท่าทางไม่มันคง โงนเงนไปมา มีแนวโน้มที่จะเกิดการหกล้ม

o Parkinsonian gait: เป็นลักษณะเฉพาะ คนไข้จะเดินด้วยลักษณะงุ่มง่าม ลากเท้า ไม่แกว่งแขนตามธรรมชาติ ลำตัวจะโน้มไปทางด้านหน้า
การเริ่มก้าวเท้าก็กระทำด้วยความลำบาก จะกลับตัวก็ยาก
ในขณะย่างก้าวนั้น เท้าอาจหยุดชะงักกลางอากาศ มีแนวโน้มที่จะเกิดการหกล้มได้ง่าย เกิดกระโกแตกหักได้
นั่นเป็นอาการหลักๆ (main symtoms) ของคนไข้ที่เป็นโรค PD’s

นอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากเซลล์สมองมีการเสื่อมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะก่อให้เกิด อาการอย่างอื่น เพิ่มขึ้นอีก เรียก secondary symtoms เช่น

o Anxiety เกิดอาการเครียด ไม่มีความมั่นใจ ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน

o มีอาการสับสน ความจำเสื่อม เป็นอาการของ dementia

o ท้องผูก

o ไร้ชีวิตชีวา

o มีอาการกลืนลำบาก น้ำลายไหลยืด...

o กลิ่นสัมผัสลดลง

o มีเหงื่อออกมากผิดปกติ

o erectile dysfunction ในชาย

o มีปัญหาของผิวหนัง

o มีอาการพูดช้า...monotone

o ปัสสาวะบ่อย

นอกเหนือจากโรค PD’s แล้ว ในระยะแรกเริ่มของการเกิดโรค ยังมีโรค หรือสถานการณ์ อีกหลายอย่าง ที่มีอาการเหมือนกับโรค PD’s ได้ เราเรียกภาวะเช่นนั้นว่า Parkinsonism ซึ่งได้แก่:

o Progressive supranuclear palsy

o Corticobasal degeneration

o Lewy body dementia

o Stroke

o Encephalitis

o Head trauma

o Alzheimer’s disease และ

o Primary lateral sclerosis

o Drug induced parkinsonism

Next >

Parkinson’s disease (4) : Diagnosis

(cont.)

หลักสำคัญในการพิชิตศึก คือ “การรู้เขา...รู้เรา...”
ในการรักษาโรค ก็เช่นเดียวกัน
ไม่ว่า โรคที่คนเรา จะเป็นอะไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ และฉับไว...
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำการรักษา:
ผู้ทำการรักษา สามารถวางกลยุทธที่ดี และเหมาะสมกับการรักษาโรคนั้น ๆ ...

ในคนที่เป็นโรค PD’s ก็เช่นเดียวกัน
แพทย์ผู้รักษา สามารถวางยุทธศาสตร์การรักษา...เพื่อทำให้คนไข้ที่เป็นโรค PD’s มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และ ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

อย่างไรก็ตาม ในคนไข้โรค “พาร์กินสัน” ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อตอบโจทย์ ว่าคนไข้รายนั้นๆ เป็นโรค “พาร์ คินสัน” จริงหรือไม่
(จะทำได้ก็ต่อเมื่อเอาชิ้นส่วนของสมองของคนไข้ ซึ่งหมายความว่า เอาสมองคนตายมาตรวจเท่านั้นเอง)

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ในระยะแรกของโรค มีหลายโรค ทีมีอาการคล้ายกับคนไข้ที่เป็นโรค “พาร์กินสัน”
จึงไม่เป็นเรื่องแปลก...ที่จะพบว่า มีการวินิจฉัยโรคผิดบ่อยๆ
การวินิจฉัยโรค ยืนอยู่บนหลักของการที่ว่า...คนไข้รายนั้นๆ ไม่ใช่โรค “พาร์คินสัน”
ซึ่งแพทย์ทั้งหลาย ชอบพูดทับศัพท์ว่า ให้ “ rule out” โรค หรือภาวะอย่างอื่นออกไปให้หมด ที่เหลือมันก็จะ เป็นโรค “พาร์คินสัน” เอง

เป็นขั้นตอนที่สลับซับซ้อนพอสมควร

เรื่องอย่างนี้...ผู้เขียน ขอยกให้เป็นหน้าที่ของผู้เชียวชาญทางประสาทสมองไป

เขามีแนวทางในการปฏิบัติอย่างสั้นๆ ดังนี้:

o อาศัยประวัติการเกิดโรค ตรวจหาข้อมูลทางระบบประสาท และ อาการ อาการแสดงที่ปรากฏ

o Hoen and Yahr scale and Unified Parkinson’s Disease Rating scale

การตรวจเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของผู้มีประสบการณ์เขา...เป็นการตรวจวัดดู ความสามารถทางจิต พฤติกรรม อารมณ์ ความสามารถของการทำงานในชีวิตประจำวัน และตรวจดูระดับการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว

การตรวจเหล่านี้ สามารถช่วยให้ทราบโรคในระยะเริ่มแรกได้ ตลอดรวมไปถึงการดำเนินของโรค ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผู้ทำการรักษา สามารถวางแผนในการรักษาที่เหมาะสมต่อคนไข้รายนั้นๆ ได้ต่อไป

นอกจากนั้น ท่านอาจได้รับการตรวจ Brain scans และได้รับการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการอย่างอื่น ทั้งนื้เพื่อทำการแยกโรค (rule out) โรคอย่างอื่น ๆ ซึ่งสามารถทำให้มีอาการคล้ายกับโรค “พาร์คินสัน” ได้

การที่เราจะวินิจฉัยว่า คน ๆ นั้น น่าจะเป็นโรค “พาร์คินสัน” เมื่อ:

1. อย่างน้อย เขาจะต้องมีอาการ สองในสาม ของอาการต่อไปนี้:

o อาการสั่นระรัวในขณะพัก (tremor),

o มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้(rigidity) และ

o การเคลื่อนไหวช้า (slowness)

2. อาการเริ่มต้นของโรค “พาร์คินสัน” จะเป็นข้างเดียวก่อนเสมอ

3. อาการที่ปรากฏ ไม่ใช่อาการที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น “ยา” (medications) หรือพวก สมองขาดเลือด (stroke) และ

4. อาการดีขึ้นอย่างชดเจน เมื่อเขาได้รับยา “Levodopa”


Next >

Parkinson’s Disease (5): Treatment

(cont.)


ได้กล่าวถึงกลยุทธของการรักษาโรค “พาร์กินสัน” เอาไว้ว่า
“...ทำให้คนไข้ที่เป็นโรค...มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และอายุยืนยาวที่สุด..”

ในปัจจุบัน ปรากฏว่า:
แพทย์ไม่มีวิธีการใด สามารถเยียวยาโรค “พาร์กินสัน” ให้หายขาดได้

ดูซิว่า กลยุทธของแพทย์ผู้ทำการรักษา เขาทำอย่างไร ?

แพทย์มีวิธีการหลายอย่าง ช่วยให้คนไข้ สามารถอยู่กับโรคได้
โดย
o ชะลอการไม่ให้เกิด อาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวของกาย และ
o ทำให้อาการทางเคลื่อนไหว ที่เลวลงไปแล้ว ให้มันดีขึ้น

ทำอย่างไร ?

ทุกวิธี ที่นำมาใช้ในการรักษา เป็นการเพิ่มปริมาณของสาร dopamine แก่สมองที่ขาด ไป โดย:

o ให้ dopamine แก่คนไข้โดยตรง หรือ
o ให้สารที่เลียนแบบสาร dopamine ( dopamine agonist) หรือ
o ให้ยา ที่ทำให้สาร dopamine อยู่ในสมองได้ยาวนานขึ้น โดยป้องกันไม่ให้เกิดการสลายตัวเร็วเกินไป

ผลจากการศึกษา พบว่า หากเริ่มทำการรักษาเร็ว สามารถชะลออาการเสื่อมทางการเคลื่อนไหวได้ และประการต่อมา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ขณะเดียวกัน สามารถทำให้อายุยืนยาวขึ้น

การรักษาโรค “พาร์กินสัน” ด้วยการให้ยา Levodopa จะได้ผลดี โดยสารตัวนี้จะ เปลี่ยนไปเป็น dopamine ในสมองต่อไป

อย่างไรก็ตาม ให้ทราบไว้ด้วยว่า เนื่องจากการใช้ยาตัวนี้ ต้องใช้เป็นเวลาอันยาวนาน
ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง จึงมีได้สูง :

o มีการตอบสนองต่อยาแต่ละครั้ง (each dose) สั้นมาก

o เกิดอาการกล้ามเนื้อปั้น (painful cramps) และ

o มีการเคลื่อนไหวแบบควบคุมไม่ได้ (involuntary movement) เกิดขึ้น


ดังนั้น การให้ยา levodopa อาจมีการชะลอการให้... จะให้เมื่อคนไข้มีอาการมากแล้ว

ได้มีการรวมยา levodopa กับ carbidopa (sinemet) โดยยาตัวหลังจะป้องกันไม่ให้ยา levodopa ถูกทำลาย ก่อนที่มันจะเข้าถึงสมอง
จากการรวมยาดังกล่าว ยังเป็นการลดปริมาณของตัวยา levodopa ลง พร้อมกับลดผลข้างเคียงไม่ให้ เกิดอีกด้วย

ในระยะแรก ๆ ของโรค “พาร์คินสัน” ได้มีการนำเอาสาร ซึ่งเลียนแบบการทำงานของ dopamine มาใช้ (dopamine agonist)
นอกจากนั้น ยังมีสารอีกกลุ่มหนึ่ง สามารถลดการสลายตัวของ สาร dopamine ลงได้ สารกลุ่มนั้น คือพวก monoamine oxidase type B (MAO-B)
ยาพวกนี้ สามารถลดอาการทางการเคลื่อนไหว (motor) ได้ดีทีเดียว
แต่ผลข้างเคียงก็มีเช่นกัน เช่น ทำให้เกิดอาการบวม มีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น, วิงเวียน, เกิดภาพหลอน และมีอาการคลื่นไส้

สำหรับราย ที่พัฒนาถึงระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรมอาจมีทางช่วยได้ เช่น
การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยใส่ electrode เข้าไปในบริเวณที่สมองเสื่อมไป ก็เป็นวิธีการหนึ่ง

นอกจากวิธีการดังกล่าว ได้มีการศึกษา นำเอา stem cell มาใช้ในการสร้าง dopamine- producing cells ขึ้น.....ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง กว่าจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรค “พาร์ กินสัน” คงต้องรอดูกันต่อไป

นอกเหนือจาก “ยา” และวิธีทางศัลยกรรมแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (rest &exercise), กายภาพบำบัด, อาชีวะบำบัด และ การฝึกพูด ต่างมีส่วนช่วยรักษาคนไข้โรค “พาร์กินสัน” เช่น
กัน... Next >

Parkinson’s disease (6): coping and support

(Cont.)

ในเมื่อมนุษย์เราต้องยืนอยู่บนโลกอย่างสง่าผ่าเผย...
และแม้ว่า เราจะเป็นโรคอะไรก็ตาม โรคที่รักษาหายได้ ให้เป็นหน้าทีของแพทย์เขา
ส่วนโรคที่รักษาไม่หายละ...เราจะทำอย่างไร ?
โดยเฉพาะเราดันเป็นโรคนั้นซะด้วยซิ...

สิ่งที่เราสามารถกระทำได้ หรือพยายามที่จะกระทำ คือ ทำให้โรคนั้นมันเชื่องลง...
หากจะเปรียบเปรย....ก็คือ ทำให้เสือตัวนั้น (โรค) เชื่องเหมือนแมวเสีย...
นั่นเป็นหน้าที ของท่านต้องกระทำ- ศึกษาหาวิธีการร่วมกับแพทย์... ว่าจะทำอย่างไร ?

คนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” จะรับมือกับโรคดังกล่าวอย่างไร ?

แม้ว่า PD’s จะเสื่อมลงอย่างเนื่อง สุดท้าย มันจะกระทบ กับวิถีชีวิตของมนุษย์ใน
ทุกแง่มุม เช่น สังคมรอบตัว การบ้าน การเรือน และงานประจำทั้งหลาย คนไข้จะต้อง ยอมรับมันเสียก่อนว่า มันเป็นกับเราแล้ว


การมีชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรัง เป็นเรื่องที่ยากลำบากยิ่ง
เมื่อมันเกิดกับใครแล้ว มันจะทำให้คน ๆ นั้นเกิดความรู้สึหลายอย่าง “ขี่โมโห” “หงุดหงิด” “หมด อาลัยตายอยาก” และอื่น ๆ

ที่เป็นเช่นนั้น มันก็มาจากมปัญหาเกิดขึ้นในสมองของเขา มันมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี ในตัวสมองนั้นเอง ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคเกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา

ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ เป็นบุคคลสำคัญ ที่จะให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน (กาย และจิตใจ)

กลุ่มสนับสนุนอื่น ๆ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครหมู่บ้าน นักสังคมสงเคราะห์ นักสังคม...ตลอด รวมถึงเจ้าหน้าที่พยาบาล และแพทย์ ต่างมีบทบาทต่อการให้ความช่วยเหลือแก่คนไข้ได้
การอยู่ใกล้กลุ่มคนเหล่านี้ น่าจะมีประโยชน์ต่อคนไข้ในหลายด้านอย่างแน่นอน

มีคำถามว่า เราสามารถป้องกันไม่ให้คนเป็นโรค “พาร์กินสัน” ได้หรือไม่ ?

เวลาเราตั้งคำถามอะไรก็ตามแต่ คำตอบ ที่ออกมา ไม่ตรงกับที่ท่านต้องการ
ทานจะรู้สึกอย่างไร ?

นักวิทยาศาสตร์หลายนาย เชื่อว่า การเกิดโรค “พาร์กินสัน” นั้น เกิดจากการกระตุ้นผ่าน กระบวนการอันซับซ้อนของพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น สารพิษ (toxins) โรคภัยไข้เจ็บ (illness) และบาดเจ็บ (trauma)

นั่นเป็นความเชื่อของพวกเขา
แต่จริงแล้ว เราไม่ทราบสาเหตุของมัน และประการสำคัญ เราไม่มีทางป้องกันโรคดังกล่าว ได้เลย

ความรุนแรงขอโรค พาร์กินสัน โดยดูจากอาการแสดงที่ปรากฏ แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก บางคนเป็นมาก บางคนมีอาการน้อย
ประการสำคัญ เราไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า แต่ละรายจะเสื่อมลงเร็วแค่ใด ไม่มีใครตอบได้
ตัวโรค “พาร์กินสัน”เอง ไม่ใช้ตัวโรคที่ทำให้คนไข้ตาย หรอก
หากจะถามว่า คนไข้ประเภทนี้มีอายุยืนยาวเท่าไร ?
คำตอบ ก็คือ ยืนยาวเหมือนคนปกตินั้นแหละ
แต่....แต่คนไข้พวกนี้ มักจะมีแนวโน้ม เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น หกล้ม กระดูกแตกหัก กระดูกเปาะบาง ผ่าไม่ได้ ต้องนอนเตียงนาน เป็นเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น
เกิดโรคปอดอักเสบ (pneumonia) สำลัก หายใจติดขัด.....ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ สามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้

Parkinson’ disease at a glance

• โรค “พาร์กินสัน” เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่เสื่อมไป มีการสูญเสียเซลล์สมอง ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตสาร dopamine เป็นเหตุให้ motor function เสียไป

• อาการเริ่มแรก ได้แก่ อาการสั่นระรัว, ข้อแข็ง, เคลื่อนไหวช้า, สูญเสียการทรงตัว, สุดท้ายจะเดินแบบ parkinson’s gait (เดินขาลาก, ช้า, ลำตัวงองุ้มไปข้างหน้า , ไม่แกว่งแขน)

• มีอาการ secondary symptoms เกิดขึ้นเมื่อเซลล์สมองถูกทำลายเพิ่มขึ้น เช่น anxiety, depression, และ dementia

• คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรค “พาร์กินสัน” อายุมักจะมากกว่า 60 ขึ้นไป


• การให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ มีชีวิตได้ยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้...



Sources:
www.medicinenet.com.> …>Parkinson disease index
www.mayoclinic.com/health/parkinsons-disease/DS00295