วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Autoimmunity: Communication is the Key (2)

Communication is the key:
ทีกล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นทีมงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน
ยังมีสมาชิก หรือส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เราไม้ได้กล่าวะถึง

ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ จะมีจำนวนผู้คนเป็นจำนวนร้อย ที่จะต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
แน่นอน...การที่มีคนทำงานด้วยกันเป็นจำนวนมาก ๆ
ย่อมง่ายต่อการกระทำผิดได้

ในระบบภูมิต้านทาน ที่สามารถทำงานได้ดี เป็นเพราะมันมีวิธีการติดต่อสื่อสารกัน
โดยตลอด ซึ่งมีสมอง และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
ในการติดต่อสื่อสารกันนั้น มันอาศัยสาร cytokines
ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่ง ระหว่าง immune cells
แม้ว่า immune cells จะไม่มีหู แต่มันสามรรถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ซึ่งเกิดในสาร cytokine ได้อย่างง่ายดาย

เมื่อมันพบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้น มันจะก่อให้เกิดการตอบสนองในทิศทางเฉพาะ
เช่น สั่งให้มีการโจมตีข้าศึก (invaders) ทันที...

Cytokine บางชนิด นอกจากจะทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารภายใน immune system
มันยังทำงานติดต่อสือสารภายในเซลล์ประสาทอีก
ด้วยสารอีกชนิหนึ่ง เรียก interleukins
ซึ่งมันจะทำหน้าที่พิเศษที่สำคัญหลายอย่าง
เช่น ทำหน้าที่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่าง “ร่างกาย และจิตใจ”

WHEN THINGS GO WRONG WITH IMMUNE SYSTEM
ลองดูเหตุการณ์ต่อไปนี้ดู:

มีกระทาชายหนึ่ง ทำงานอยู่ในย่านชุมชน ทีแออัดด้วยผู้คน
เขาทำงานหนัก พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารปรุงสำเร็จเป็นประจำ
พอตกเย็น ก็เข้าสถานเริงรมย์ ที่อบอวนไปด้วยควนบุหรี่...
ไม่ช้าไม่นาน...ร่างกายก็ทรุดโทรม และถูกโจมตีด้วยเชื้อหวัดใหญ่
ในขณะเดียวกัน ระบบภูมิต้านทานของชายคนดังกล่าว ก็ต่อสู้กับเชื้อหวัดใหญ่เช่นกัน
ผลปรากฏว่า ระบบภูมิต้านทานแพ้...เป็นหวัดอย่างแรง
นั่นเป็นเหตุการณ์ปกติ ซึ่งใคร ๆ ก้เป็นกัน


COMMUNICATION IS THE KEY
นอกจากสมาชิก หรือส่วนประกอบของระบบภูมิต้านทานตามที่กล่าวมาแล้ว
ยังปรากฏว่า ยังมีส่วนประกอบอื่นอีกนับเป็นโหล ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
เมื่อมีส่วนประกอบมากมาย ทำงานเป็นทีมเช่นนั้น ย่อมมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นได้
ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับงานต่าง ๆ ที่ปรากฏในงานใหญ่ เช่น งานของบ้านเมือง

ระบบภูมิต้านทานสามารถทำงานได้เป็นปกติ ด้วยวิธีการสื่อสารระหว่างเซลล์
ที่อยู่ในระบบเดียวกัน (immune system)
ซึ่ง มีสมอง และส่วนอื่น ๆ ของระบบภูมิต้านทาน
โดยการใช้สารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน คือ cytokine เป็นตัวถ่ายทอดข้อมูลระหว่างเซลล์
เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น มันจะกระตุ้นให้ระบบภูมิต้านทานตอบสนอง
ผู้บุกรุกตามแนวทางของมัน ด้วยการทำลายผู้บุกรุกทั้งหลาย


Autoimmunity:
ในโลกอันสับสนนี้ ปรากฏว่า มีผู้คนเป็นจำนวนล้าน ๆ
ผู้ซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อศัตรู ที่บุกรุกเข้าสู่ร่างกายได้ตามปกติ
ที่พบเห็นบ่อยที่สุด คือระบบภูมิต้านทานของคน ที่ทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป
แทนที่จะทำหน้าที่โจมตีผู้บุกรุก (เชื้อโรค) ด้วยภูมิต้านทาน ( antibodies-substances)
แต่กลับสร้างอาวุธ ที่สามารถทำลายตนgองขึ้น
ซึ่งมีชื่อว่า "autoimmune-substances"
โจมตีเซลล์ที่สมบูรณ์ของตัวเองเข้า เช่น กระดูก ข้อ เลือด สมอง เส้นประสาท และอวัยวะส่วนอื่น ๆ

ด้วยการสร้างภูมิต้านทาน (antiboies) เพื่อทำลายเซลล์ที่สมบูรณ์ของตนเอง
เราเรียกว่า “auto-immune substance”
ภาวะดังกล่าว เราเรียกว่า autoimmune response
ซึ่งปรากกว่า มีโรคที่เกิดจากกระบวนการณ์ (autoimmnune response) มากว่า 80 ชนิด
บางโรคก็พบได้บ่อย บางชนิดพบน้อย
ที่พบได้บ่อยได้แก่:

Rheumatoid arthritis, lupus, multiple sclerosis,
Hypothyroidism, hyperthyroidism (Grave’s disease), Crohn’s disease,
Ulcerative colitis, Type 1 diabetes, autism,
chronic fatigue syndrome, ankylosing sponylitis,
Autoimmune hepatitis, autoimmune kidney disease,
polymyositis, scleroderma, และ vascultis.

จากโรคที่เกิดจากระบบภูมิต้านทาน ทำลายตัวเอง มีความแตกต่างกันไป
ยกตัวอย่าง อาการจองโรค rheumatoid arthritis
(inflamed,painful joints and limited mobility)
จะแตกต่างจากอาการของโรค Crohn’s disease ( chronic diarrhea,abdominal pain, fever)
แต่ส่วนใหญ่แล้ว โรคที่เกิดจาก autoimmune จะมีความเหมือนหลายอย่าง:

 มีความผิดปกติในยีน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคทาง autoimuniy และ
 มีพิษจากสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทาง autoimmune process ขึ้น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น
เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำไม มันจะเกิด autoimmune ขึ้น ?

ใน เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ จะถูกทำลาย หรือ ทำให่เสียหายได้ตลอดเวลา
ด้วย “อนุมูลอิสระ” (free radicals) ที่บุกรุกเข้าสู่ร่างกาย หรือ มีอยู่ในร่างากยของเรา
ซึ่ง มีปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ (environment toxins)
เช่น สารเคมีทั้งหลาย รวมถึง โลหะหนักต่าง ๆ (heavy metal)

FREE RADICALS:
Free radical หรือ สารอนุมูลอิสระ หมายถึงสารที่ไม่มีความสมดุลในตัวของมันเอง
เพราะ มันมีอิเล็กตรอน "คี" หรือ "ไร้คู่ "
เป็นโมเลกุลที่พบในร่างกายในปริมาณไม่มาก โดยมันมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย
เช่น ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย

ถ้าเมื่อใด มีอนุมูลอิสระในร่างกายในปริมาณมาก
อนุมูลอิสระเหล่านั้น จะทำลาย DNA Cell membranes, enzymes systems
และ ทำให้การทำงานของระบบภูมิต้านทานเสียไป
เช่น ถ้าเป็นทหาร ก็หันกระบอกปืนเข้าใส่ประประชาชนของตนเอง
แล้วยิง...

เนื่องจากจักรวาล ( คนเราก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล)
มันมีกฎอยู่ว่า ไม่ว่า สิ่งนั้น ๆ จะเป็นอะไร ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต
จะมีการจัดการกับตัวเอง ให้เกิดความสมดุลตลอเวลา
ไม่ว่า การกระทำนั้นจะถูกหรือผิด...
ยกตัวอย่าง ที่เห็นง่ายที่สุด คือ อนุมูลอิสระ เป็นอะตอม หรือ โมเลกุล ที่ไม่สมดุล (คี่)

มันจะแย่งชิงเอา “อีเลกตรอน” จากสาร หรือโมเลกุลตัวอื่นมาเป็นของตนเอง
เพื่อให้ตัวเองสมดุล ตามกฎของจักรวาล ?
ดูไปแล้ว เหมือนกับคนที่บ้าอำนาจ...เอาเปรียบคนที่ไร้อำนาจ ?...
ผลที่เกิด จึงทำให้สารตัวอื่น กลายเป็นตัวที่ไร้ความสมดุลไป
เกิดความปั่นป่วนขึ้นอย่างกว้างขวาง

อนุมูลอิสระ...มันมาจากไหน?
รอบตัวคนเรา มีต้นตอของสารที่เป็นอนุมูลอิสระมากมายเหลือเกิน
ซึ่งมันสามารถบุกรุกเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างง่ายดาย
เช่น แก๊ส CO2 จากรถยนต์ ยาฆ่าแมลง (pesticides) รังสี (radiation)
สารเคมีจากครัวเรือนควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ ยา (medications) และอื่น ๆ

เมื่อนุมูลอิสระเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายเรา มันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ซึ่ง ย่อมมีศักยภาพในการทำลายเซลล์ภายในร่างกายของเราได้อย่างมากมาย
กระบวนการณ์ดังกล่าว เรียกว่า ‘oxidation”
พร้อมกับมีการทำลาย DNA cell membranes และ enzymes ต่าง ๆ ทันที

ระบบภูมิต้านทานต้องทำงานหนัก ด้วยการต่อสู่กับผู้บุกรุกตลอดเวลา
สุดท้าย เมื่อมันไม่สามารถเอาชนะผู้บุกรุกไหว
ย่อมก่อให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนา โดยไม่ต้องสงสัย
นั่น คือ ต้นเหตุที่ทำให้ระบบภูมิต้านของคนเรา ทำงานเพี้ยนไปจากเดิม
ทำให้เกิดโรคทางระบบภูมิต้าทานขึ้น


www.power-surge.com/educated0autoimmune.htm

Endocrine disorders: Joint diseases -conitnue ( 2 )

Hyperthyrodism:

โรครูมาติซึม ที่พบเห็นในโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ได้แก่

Thyroid acropachy
เป็นภาวะที่ไม่ธรรมดา ที่พบเห็นในคนไข้เป็นโรค “Grave disease”
ที่ได้รับการรักษาผ่านไปแล้ว ซึ่งพบได้มีบ่อยนัก
จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งของต่อมไทรอยด์ ทำงานมากกว่าปกติ
เป็นสาเหตุทำให้เกิดปลายนิ้ว และ เล็บมือ มนกลม มีการอักเสบของนิ้ว
และปลายมือปลายเท้า มีการบวมขอเนื้อเยื่อทั้งหลาย
คนไข้พวกนี้ มักจะมีลูกตานูนโปนออกมา
มีผื่นตามผิวหนัง และมีอาการปวดที่กระดูก

Bursitis in hyperthyroidism.
เยื่อบุข้อเกิดการอักเสบ (Bursitis)พบได้บ่อยในคนที่มีต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยื่อบุข้อบริเวณไหล่ และบริเวณใกล้เคียง
จะเกิดมีความหนาตัวขึ้น และบวม เกิดการขัดขวางการเคลื่อนไหว
ของข้อขึ้น และเมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ได้รับการรักษา
จะทำให้ bursitis มีอาการดีขึ้น

Hyperthyroid muscle disease.
โรคกล้ามเนื้อจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากไป มีพบได้หลายรูปแบบ
ชนิดที่กระจายไปทั่วมีได้บ่อย โดยการทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง
ซึ่งมีอาการน้อย ถึงอาการมาก
กล้ามเนื้อมีการฝ่อตัว แลมีไขมันถูกสะสมในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

สารเคมีที่ได้จากกล้ามเนื้อ ที่พบในกระแสเลือด มีค่าเป็นปกติ
อาจพบอัมพาติของกล้ามเนื้อลูกตา
หนังตาบวม และส่วนอื่น ๆ ของลูกตามีอาการบวม
มีการอักเสบของตา และเส้นประสาท

Lupus-like conditions.
มียาหลายขนาน ที่นำมาใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
โดยเฉพาะ propyl thiouracil และ thionamides
อาจทำให้เกิดอาการ เหมือนโรค “ลูปัส” ได้

Osteoporosis.
โรคกระดูกบาง (Osteoporosis) อาจเกิดในคนไข้ที่เป็นโรคของต่อม
ไทรอยด์ เนื่องจากมีการสูญเสีย calcium และ phosphorous ไป

Hashimoto's thyroiditis.
เป็นโรคทางระบบภูมิต้านทาน ที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์
เป็นเหตุให้ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากเกินปกติ ซึ่งจะกิดขึ้นในะระยะแรก ๆ
ต่อมาภายหลัง พบประมาณ 50 % ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง
อาจมีโรคทางรูมาติซึมบางอย่างเกิดร่วมได้ เช่น โรครูมาตอยด์ และ โรคลูปัส
นอกจากนั้น อาจพบภาวะที่มีการสูญเสียสีผิว (Loss skin pigment)
เรียก Vitiligo

Pancreas
โรคข้อ และกระดูก (รูมาติซึม) ที่เกิดร่วมกับโรคของตับอ่อน ได้แก่:

DISH.
มีโรคไขข้อชนิดหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดการเสื่อมสลายตัวของข้อ
มีชื่อเรียก .”diffuse idiopathic skeletal hyperostosis(DISH)”
สามารถพบได้ 13 % ของคนไข้ที่เป็นโรค diabetes
อาการที่พบจะน้อยมาก
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกระดุกสันหลังส่วนกลาง (middle spine)
เอกซเรย์พบ มีปริมาณของกระดูกเกิดขึ้นอย่างมากมาย (Bony overgrowth)

Diabetic charcot arthritis.
เป็นโรคที่เกี่ยวกับข้อถูกทำลายลง โดยมีต้นเหตุจากโรคเบาหวาน
ซึ่งทำให้ข้อที่เกิดโรค ไม่มีความรู้สึก
เช่น ข้อที่บริเวณเท้า ข้อเท้า เข่า และ กระดูกสันหลัง

ลักษณะพิเศษเฉพาะที่พบเห็น จะพบกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
กระดูกปราศจากเลือดมาหล่อเลี้ยง มีการอักเสบติดเชื้อ
เป็นเหตุให้กระดูกทรุดตัวลง ทำให้การเดินเหินผิดปกติไป
พร้อมกับมีแผลเกิด และมีผิวหนังก่อตัวเป็นชั้น ๆ (calluses)

Diabetic dissolving bone.
กระดูกเกิดการสลายตัวหายไป โดยไม่มีหลักฐานว่า
มีโรคเกี่ยวกับโรคเส้นประสาท หรือ ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง
โรคเบาหวาน อาจเป็นน้อย หรือไม่ได้รับการวินิจฉัย
เอกซเรย์ มีลักษณะเหมือนกับโรคไขข้อ “”รูมาตอยด์”
ซึ่งกระดูก อาจสลายตัวหายไป หรืออาจหายเหมือนปกติได้

Soft tissue contracture syndromes.
เนื้อเยื่อพังผืดหนาเพิ่มความหนา และแข็งตัว ในบริเวณฝ่ามือ
(Dupuytren's Contracture)
สามารถพบ 15 % ในคนเป็นเบาหวาน
ข้อมือแข็งในตอนเช้า (stiffness) พบได้ 40 % ของคนเป็น
โรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก
ส่วนเยื้อพังผืดที่แข็งตัว ที่ทำให้นิ้วคดงอ มักเกิดที่นิ้วที่ 4th และ 5th
และมักพบนิ้วติด (trigger finger) ในโรคเบาหวานได้บ่อย
Other types of arthritis in diabetes.
ประมาณ 15 % ของคนเป็นเบาหวาน จะพบสารแคลเซี่ยมเกาะตาม
กระดูกอ่อนเป็นลักษณะเหมือนแผลเป็น (scar tissue)
ได้มีข้อสงสัยว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวาน และโรคเก้า
บางที อาจมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างความอ้วน กับระดับไขมันสูง

โรคไข้ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ มักปรากฏพบในคนเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนั้นน ยังพบเยื่อบุข้ออักเสบ (bursitis) เกิดในบริเวณข้อไหล่
ซึ่งมักเป็นสองข้างในคนไข้ที่เป็นเบาหวานได้เสมอ
นอกจากนั้น ยังพบในเบาหวานชนิดพึงพาอินซุลิน และในสตรี
ซึ่งมักจะเกิดในด้านที่ไม่ถนัด
ซึ่งอาจลงเอยด้วยการเกิดข้อติดแข็ง (frozen shoulder) ได้

Parathyroid
โรคเกี่ยวกับกระดูก(รูมาติซึม) ที่เกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมาก
ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้กระดูกมีการสลายตัวในระยะแรก ๆ
มีการทำลายข้อเกิดขึ้น พบได้ใน hyperparathyroidism
ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่: ข้อมือ ข้อเข่า โดยพบรอยที่เป็นรู
ในบริเวณขอบของข้อ

ปัญหาแรก ๆ ที่เกิด คือ กระดูกจะอ่อนแอลง กระดุกอ่อนบางลง
ส่วนข้อแข็ง (stiffness) จะเกิดในระยะหลัง

มีคนไข้ที่ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินนั้นอาจมาพบแพทย์
ด้วยโรค “เก้าเทียม” (pseudogout) หรือโรคเก๊า (gout)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือการทำงานของประสาที่ผิดปกติ
สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขงขา

แพทย์ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ถึงความผิดปกติต่าง ๆ
เมื่อ คนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการที่เกิดขึ้นกับ กล้ามเนื้อ
กระดูก และ ข้อต่าง ๆ ด้วยการตรวจต่าง ๆ
เพื่อยืนยัน หรือแยกโรคที่ไม่ใช้ออกไปจากการวินิจฉัย

ในการรักษา ถ้าการรักษาด้วยยา ไม่สามารถรักษาให้หายได้
การผ่าตัดประสาท sympathectomy อาจได้รับการพิจารณา
ร่วมกับยาต่อไป


http://my.clevelandclinic.org/disorders/Arthritis/hic_Endocrine_Disorders_and_Joint_Diseases.aspx

Endocrine Disorders and Joint diseases (1)

เกิดมีความสงสัยกันว่า:
ความผิดปกติในต่อมไร้ท่อ (endocrine diseases)
ทำให้เกิดโรคไขข้อ (Rheumatism) ได้หรือไม่ ?

Rheumatic conditions
มันหมายถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ
และกล้ามเนื้อนั่นเอง
ซึ่ง มักจะพบเห็นในคนที่เป็นโรคของระบบไร้ท่อ
ทำให้สงสัยกันว่า...ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

ตามความเป็นจริง พบว่า ฮอร์โมนเกือบทุกตัวที่มีในร่างกายของคนเรา
มีต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissues)กัน
เพื่อ เพื่อความเจริญเติบโต และเพื่อการทำงาน ของเนื้อเยื่อดังกล่าว
ดังนั้น เมื่อใดที่มีความผิดปกติในฮอร์โมนดังกล่าวขึ้น
ย่อมมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันขึ้นอย่างแน่นอน

เนื่องจากสภาพทางกายภาพ และความสามารถในการทำงาน
ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธุ์ของแต่ละชนิด มีความแตกต่างกัน
เมื่อมีความผิดปกติในฮอร์โมนเกิดขึ้น ย่อมก่อให้เกิดความผิดปกติใน
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หรือ โรคให้ปรากฏพบเห็นได้

ลองมาพิจารณาดูซิว่า มันมีต่อม endocrine disorders อะไรบ้าง ?
Pituitary Gland
ต่อมใต้สมอง pituitary gland ซึ่งสร้าง growth hormone
จำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะในเด็ก เป็นเหตุให้เกิดมีตัว
โตขึ้น (giant) หรือมีรูปร่างใหญ่โตในผู้ใหญ่ (acromegaly)

โรคไข้ข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม ที่เกิดร่วมกับคนที่มีรู้ร่างใหญ่
โต มีลักษณะพิเศษ โดยมีการเสื่อมสลายตัวของข้อใหญ่ ๆ
ร่วมกับมีกระดูกงอก (overgrowth)
ซึ่ง เป็นต้นเหตุให้คนไข้มีอาการปวดเอว

การเคลื่อนไหวข้อ ส่วนใหญ่ยังสภาพการเคลื่อนไหวได้
จนกว่าจะถึงระยะสุดท้ายของข้อที่มีการเคลื่อนไหว้มาก จะทำ
ให้การเคลื่อนไหวลดลง เช่น ข้อกระดูกของสันหลัง

จะพบเห็นข้อมีขนาดโตขึ้น โดยที่เป็นผลมาจากมีน้ำในข้อ และ
มีการเจริญเติบโตของเยื้อพังผืดเกี่ยวพันธุ์มากจนผิดปกติ
ซึ่งจะมองเห็นชัดที่ข้อบริเวณหลังมือ (knuckles)

ต่อมาในระยะหลัง จะพบความพิการเกิดขึ้นที่กระดุูกสันหลัง
และข้อเข่า ซึ่งมีข้อเข่าโก่งออกจากกัน (bow legs) และข้อหลวมผิดปกติ

จากการตรวจภาพทางเอกซเรย์ จะพบลักษณะพิเศษพบในบริเวณกระดูกต่าง ๆ
เช่น กระดูกกระโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง มือ และข้ออื่น ๆ
เยื่อรองซ่นเท้าจะพบหนาผิดปกติ

นอกจากนั้น เรายังพบว่า growth hormone ยังทำให้เซลล์ของกระ
ดูกอ่อน (cartilage cells) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ก่อให้เกิดมีกระดูกอ่อนเกิดขึ้นมากมาย...
ทำให้มีการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน และมีกระดูกอ่อนเกิดในบริเวณใกล้ข้อมากมาย

นอกจากนั้น คนที่รูปร่างเหมือนยักษ์ (acromegaly)
สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness)
และโรคเส้นประสาท (neuropathy)
ซึ่งมีลักษณคล้ายโรครูมาติสซึมได้

Thyroid Gland
โรคที่เกิดขึ้นกับข้อ และกล้ามเนื้อ ยังพบว่าเกิดขึ้นกับโรคของต่อมไทรอยด์ ได้แก่:

Hypothyroid arthritis.
โรคไข้ข้ออักเสบ ที่เกิดในโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
จะมีส่วนสัมพันธ์กับ โปรตีนบางตัวไปเกาะกลุ่ม ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ

ต่อมไต้สมอง จะผลิตฮอร์โมน TSH ออมากระตุ้นต่อมไทรอยด์นั้น
อาจทำให้มีเนื้อเยื้อผูกพันเกิดขึ้นอย่างมากมาย
ผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดอาการเมื่อยทั่วไป และมีอาการปวด โดยไม่มีอาการอักเสบปรากฏ
ข้อหนาขึ้น มีน้ำภายในข้อประมาณ 33 %
และขอที่พบบ่อยที่สุด คือ ข้อเข่า จ้อเท้า และมือ เท้า
เอกซเรย์จะพบว่า กระดูกของข้อหนาบริเวณใกล้ข้อ จะหนาขึ้นมากผิดปกติ

Hypothyroid muscle disease.
โรคกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
จะทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง การหดเกร็งเชื่องช้า
พบว่า คนไข้ในกลุ่มนี้ มีอาการกล้าเมเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อปั้น
ปวด และเคลื่อนไหวลำบาก (stiffness)
ซึ่งงพบได้ประมาณ 50 %
กล้ามเนื้อมีขนาดโตขึ้น พบได้ประมาณ 15 %
ส่วนกล้ามเนื้อหดลีบลงนั้น พบได้น้อยมาก

อาการของโรคจะเกิดขึ้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยความเย็น และการไม่ออกแรง (inactivity)
สารเคมีจากกล้ามเนื้อจะเพิ่มปริมาณขึ้น
กรตรวจทาง EMG จะพบมีลักษณะผิดปกติ ที่มีลักษณะเฉพาะ
ตรวจเซลล์กล้ามเนื้อด้วยกล้อง จะพบว่า มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติไป

Hypothyroid nerve disease.
โรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท ในต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
อาจทำให้เกิดอาการมึน-ชา หรือเสียวตามเส้นประสาทได้
เช่น พบ carpal tunnel syndrome ได้ประมาณ 5 – 10 %
ของคนไข้ hypothyrodism ทำให้คนไข้มีอาการมึน-ชาที่แม่มือ
นิ้วชี้ และบริเวณนิ้วกลาง

Continue: Endocrine disorder and joint diseases (2)

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Splenic & Lymphatic Disease: How a Healthy Lymph system typically Works Carrying away waste

Continue :

How A Healthy Lymph System Typically Works
Carrying Away Waste

น้ำเหลือง (Lymph fluid) จะละบายสู่เส้นน้ำเหลือง lymph campillaries
เป็นเส้นน้ำเหลืองขนาดเส้นเล็ก กระจายอยู่ทั่วไป
น้ำเหลืองจะถูกผลักดัน ให้เคลื่อนไปตามเส้นน้ำเหลืองได้ โดยอาศัยการหายใจ
และการหดตัว (contraction) ของกล้ามเนื้อ

ผนังของเส้นน้ำเหลือง –lymph capillaries จะบางมาก
นอกจากจะบางแล้ว ปรากฏว่ามีช่องเปิดเล็ก ๆ
เพื่อให้แก๊ส น้ำ และ สารอาหาร ต่าง ๆ สามารถผ่านไปยังเซลล์ที่อยู่รอบ ๆ ได้
เพื่อให้อาหารแก่เซลล์เหล่านั้น และขณะเดียวกัน ก็รับเอาของเสียกลับ
เมื่อน้ำเหลืองไหลซึมออกไปยังเนื้อเยื้อที่รอบ ๆ เราเรียก interstitial fluid

เส้นน้ำเหลือง จะรวบรวมเอาน้ำจาก interstitial fluid แล้วนำกลับสู่กระแสเลือดดำ
ในบริเวณทรวงอก ไกล้บริเวณคอ

Fighting Infection

น้ำเหลืองจะผ่านต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ
ซึ่งมีเม็ดเลือดขาว-macrophage ทำหน้าที่ กำจัดสิ่งแปลกปลอม
เช่น เชื้อแบกทีเรีย กำจัดออกจากกระแสเลือด
เมื่อสารแปลกปลอมถูกกรองที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองหมดแล้ว น้ำเหลืองที่ปราศจากสิ่งแปลกปลอม
จะไหลกลับสู่เส้นเลือดดำ และเข้าสู่กระแสโลหิตต่อไป

เมื่อคนเรา เกิดการอักเสบติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่จับเอาเชื้อแบทีเรียไว้
ยกตัวอย่าง เมื่อมีการอักเสบที่บริเวณคอ (throat)
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ อาจมีขนาดโตขึ้น
ซึ่งเป็นการแสดงให้ทราบว่า มีการอักเสบที่บริเวณคอเกิดขึ้น

Problems of the Lymphatic System

มีโรคบางอย่าง สามารถกระทบกับต่อมน้ำเหลือง ม้าม
หรือ กลุ่มของเนื้อเยื้อในระบบน้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในบริเวณบางแห่งของร่างกาย เช่น

 Lymphadenopathy. เป็นภาวะที่ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโต หรือบวมขึ้น
ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจาก มีการอักเสบเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง
เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ โตขึ้น เป็นผบมาจากการอักเสบที่บริเวณคอ
ภายหลังการอักเสบ ได้รับการรักษาจนหาย ต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น มักจะหายไปเอง

ในกรณี ที่มีต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายเกิดบวมขึ้น บ่งบอกให้ทราบว่า มีการอักเสบรุนแรง
ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจค้นต่อไป

 Lymphadenitis. มีอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่า adenitis
เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในต่อมน้ำเหลืองเอง
การอักเสบที่เกิดขึ้นนั้น สามารถทำให้ผิวหนังที่คลุมต่อมน้ำเหลือง เกิดบวมแดง อุ่น กดเจ็บ
การอักเสบมักจะเกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลือง ในบริเวณคอ เป็นผลมาจากการอักเสบตืดเชื้อ
แบกทีเรีย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ (antibiotics)

 Lymphomas. เป็นมะเร็ง ที่เริ่มเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลืองเอง (lymphocyte)
เมื่อ เซลล์ Lymphocyte เกิดมีการเปลี่ยนแปลง และมีการแบ่งตัวจนไม่สามารถควบคุมได้
ทำให้ต่อมน้ำเหลือง มีขนาดโตขึ้น เซลล์ที่เป็นมะเร็งจะมีปริมาณเพิ่มข้นเหนือเซลล์ปกติ
และอาจทำให้เกิดเนื้องอก ที่ส่วนอื่นของร่างกาย

 Splenomegaly. ในคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ม้ามจะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถ
คลำได้ แต่มีโรคบางอย่าง สามารถทำให้ม้ามมีขนาดโตมากกว่าปกติหลายเท่า
ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส เช่น mononucleiosis
แต่ในบางราย ที่มีอาการรุนแรง เช่น มะเร็ง สามารถขยายตัว
 Tonsillitis ต่อมทอนซิลอักเสบจากการติดเชื้อโรค
ซึ่งปกติแล้ว ต่อมทอนซิล จะทำหน้าที่กรองเชื้อแบกทีเรีย
เมื่อต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ ต่อมจะมีอาการบวม แดง
และทำให้มีอาการเจ็บคอ มีอาการไข้ และกลืนลำบาก
ในรายที่เกิดักเสบบ่อย อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาออกทิ้งไป


http://kidshealth.org/parent/general/body_basics/spleen_lymphatic.html#

Spleenic Diseases

The spleen หรือ “ม้าม” เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของระบบ lymphatic
มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การอักเสบติดเชื้อ
และทำหน้าที่ รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย
ประกอบด้วยเส้นน้ำเหลือง เป็นเครือข่ายกระจายทั่วร่างกาย
ทำหน้าที่นำเอาน้ำเหลือง มีลักษณะไส ประกอบด้วย โปรตีน, เกลือ,
กลูโกส,ยูเลีย และสารอื่น ๆ อีกมากมาย

ม้ามอยู่ในช่องท้องด้านบนซ้าย ใต้กระดูกสีข้าง
ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิต้านทาน ทำหน้าที่ปกป้องรางาย
กำจัดเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้ว และสิ่งแปลปลอมทั้งหลายจากกระแสเลือด
และช่วยจัดการกับการอักเสบติดเชื้อที่เเกิดขึ้น

ระบบ Lymphatic system
เป็นเครือข่ายของเส้นน้ำเหลือง มีหน้าที่หลักคือ รวมรวมน้ำเหลือง
ที่มากกว่าปกติจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วส่งกลับสู่กระแสโลหิตไป
กระบวนการดังกล่าว ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ มีน้ำ และสารต่าง ๆ
ไหลซึม (Leak) ออกจากเส้นเลือด capillaries อยู่ตลอดเวลา
ถ้าระบบน้ำเหลืองไม่สามารถระบายเอาส่วนเกินดังกล่าวได้
จะก่อให้เกิดมีน้ำขังอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่าง ทำใหเกิดอาการบวมขึ้น

ระบบน้ำเหลือง ยังมีส่วนในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค
เช่น ไวรัส แบกทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคขึ้นได้
โดยมันจะถูกกรองออกไปโดยต่อมน้ำเหลือง
ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ กระจายไปทั่วเครือข่ายของเส้นน้ำเหลือง
ในต่อมน้ำเหลืองจะมีเม็ดเลือดขาว- lymphocyte
ซึงเม็ดเลือดขาวดังกล่าว บางตัวสร้าง antibodies
เป็นสารโปรตีนพิเศษ ทำหน้าที่สกัดจับ และ ทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ

นอกจากการปกป้องกร่างากยจากการอัเสบติดเชื้อแล้ว
ม้ามยังมีเม้ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่ง ชื่อ macrophages
ทำหน้าที่ทำลาย และกินเชื้อแบกทีเรีย เนื้อเยื่อที่ตาย และสิ่งแลกปลอม
กำจัดออกจากกระแสเลือด และส่งผ่านม้ามไป

ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system)
มีเส้นน้ำเหลือง มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก กระจายครอบคลุมทั่วร่างกาย
คล้ายใยแมลงมุม ทำหน้าที่ละบายน้ำเหลืองที่มีอยู่ไปในร่างกาย
ส่วนใหญ่ สวนที่เป็นเนื้อเยื่อของน้ำเหลืองจะอยู่ที่ไขกระดูก ม้าม ต่อมไทมัส
ต่อมน้ำเหลือง และต่อมทอนซิล
นอกจากนั้น ยังพบใน หัวใจ ปอด ลำไส้ ตับ และผิวหนัง อีกด้วย

หนึ่งในเส้นน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ คือ thoracic duct
ซึ่งอยู่ชิดกับกระดุูกสันหลังส่วนล่าง ทำหน้าที่รวบรวมน้ำเหลืองจากกระดูกเชิงกราน
ช่องท้อง และ ปอดส่วนล่าง
Thoracic duct จะวิ่งผ่านทรวงอก และ ละบายน้ำเหลืองสู่กระแสเลือด
สู่เส้นเลือดดำใกล้ด้านซ้ายของคอ

สำหรับ right lymphatic duct เป็นท่อน้ำเหลืองหลักอีกเส้นหนึ่ง
ซึ่งรวบรวมน้ำเหลืองทางด้านขวาของปอด คอ และ ต้นแขน
และละบายลงยังเส้นเลือดดำใหญ่ทางด้านขวา

ต่อมน้ำเหลือง มีลักษณะกลมรูปร่างเหมือนไต มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึงหนึ่งนิ้ว
ส่วนใหญ่จะพบเห็นรวมตัวเป็นกลุ่ม ที่บริเวณ คอ ใต้ต้นแขน และบริเวณขาหนีบ
ต่อมน้ำเหลือง ยังพบตามเส้นน้ำเหลืองในบริเวณทรวงอก ช่องท้อง และเชิงกราน
ซึ่งทำหน้าทีกรองเอาสิ่งไม่ดีจากเลือดในบริเวณดังกล่าว

ภายในต่อมน้ำเหลือง จะมีเซลล์ต่าง ๆ
เช่น T-cells และ B-cells ทำหน้าที่ช่วยร่างกายต่อสู้การอักเสบติดเชื้อ
นอกจากนั้น เรายังพบส่วนของระบบน้ำเหลืองกระจายไปทั่วอวัยวะต่าง ๆ
และกระจายไปตามบริเวณรอบ ๆ กระเพาะ และลำไส้

นอกจากนั้น ม้าม ยังช่วยควบคุมปริมาณของเลือด และเม็ดเลือด
ซึ่งไหลเวียนในกระแสโลหิต และช่วยทำลายเซลล์ที่เสียไปแล้วอีกด้วย

Continue. Spleenic disease- How a Health Lymph system
Typically work

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Myasthenia gravis

Myasthenia gravis
เป็นโรคของระบบ "กล้ามเนื้อและประสาท"
โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ และประสาทโดยตรง

Causes
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค Myasthenia gravis
มีต้นเหตุจาก ระบบภูมิต้านทาน ซึ่งมันเข้าใจผิด แล้วโจมตีเนื้อเยื้อที่เป็นปกติของตนเอง
ในคนที่เป็นโรค Myasthenia gravis ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (antibody)ข้ึ้น
ซึ่งภูมิต้านทานตัวนี้ จะไป "บล๊อก" กล้ามเนื้อไม่ให้รับคลื่นประสาท (messages)จากเซลลประสาทได้

อะไรทีให้เกิดโรค Myasthenia gravis ขึ้น ?....ไม่มีใครทราบได้
ในคนไข้บางราย การเกิดโรคดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการมีเนื้องอกของต่อม "ไทมัส" เอง
ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบภุูมิต้านทาน

โรคดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุขัย
ส่วนมากจะเกิดกับผู้หญิงที่อายุน้อย (สาว)
และ ชายผู้สูงอายุ

Symptoms
โรค Myasthenia gravis ทำให้กล้ามเนื้อลาย
ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อภายใต้การควบคุม เกิดการอ่อนแรง
ซึ่งหมายความว่า ปกติแล้ว เมื่อท่านคิดที่จะเคลื่อนไหว ก็มีการเคลื่อนไหวได้
แต่ในรายที่เป็นโรคดังกล่าว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
จะเลวลง เมื่อมีการออกแรง และอาการจะดีขึ้น เมื่อท่านได้พักผ่อน

เมื่อมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถนำไปสู่อาการต่าง ๆ
ดังนี้:

 หายใจลำบาก เพราะกล้ามเนื้อทรวงอกอ่อนแอ
 เคี้ยวอาหาร หรือ กลืนอาหารลำบาก เป็นเหตุให้มีน้ำลายไหล หรือสำลัก
 เดินขึ้นบันไดลำบาก ลุกจากท่านั่งขึ้นยืนไม่ได้
 พูดลำบาก
 กล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาติ (Facial paralysis)
 เมื่อยล้า
 เสียงแหบ
 มองภาพไม่ชัด เห็นสองภาพ
 ยกศีรษะไม่ขึ้น (drooping head)
 หนังตาบนตก (eyelid drooping)

Exams and Tests
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของคนไข้ รวมทั้งระบบประสาท (neurological exam)
ซึ่งอาจประกอบด้วย:

 กล้ามเนื้ออ่อนแรง- จะพบกล้ามเนื้อของลูกตาจะเกิดอาการขึ้นก่อน
 Relexes และ ความรู้สึกจะปกติ

การตรวจ (Tests) ต่าง ๆ อาจมีการตรวจ
 Acetylcholine receptor antibodies associated with disease
 CT or MRI scan of the chest to look for a tumor
 Nerve conduction studies
 EMG

Treatment
ในขณะนี้เราไม่ไมทางรักษาโรค Myasthenia gravis ให้หายขาดได้
การรักษาทีแพทย์จะให้ได้ คือ การทำให้คนไข้ไม่มีอาการ ให้ได้นานขึ้น (remission)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนใหญสามารถช่วยทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น
ซึ่งท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

• จัดเวลาให้ลุกตาได้พักเป็นระยะ
• ผดตา (eye patch) เมื่อเกิดมีอาการทางลุกตา
• หลีกเลี่ยงจากความเครียด และความร้อน ซึ่งมันจะทำให้อการเลวลงได้

ยา (medications) ที่นำมาใช้ในการรักษา อาจ:

• Neostigmine or pyridostigmine
สามารถทำให้เกิดติดต่อระหว่างประสาท และกล้ามเนื้อดีขึ้นได้
• Prednisone and other medications (such as azathioprine, cyclosporine)
จะใช้เมื่ออาการเลวลง หรือยาอย่างอื่นไม่ได้ผล
แพทย์อาจจำเป้นต้องใช้ยาที่ไปลดการทำงานของระบบภูมิต้านทานลง


มียาหล่ยอย่าง อาจทำให้อาการเลวลงได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเสีย
ดังนั้น ก่อน รับประทานยาอะไร ควรตรวจสอบกับแพทย์ให้แน่ใจก่อน
ว่าเป็นยาที่ปลอดภัย

ภาวะวิกฤติของโรค Myasthenia grevis
ขึ้นกับตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่เกิดการอ่อนแรง เช่น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ
อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า-
เช่นจากการใช้ยามากเกินไป (0veruse of medications)

ในรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ซึ่งการรักษาด้วยกรรมวิธีล้างเอา antibodies ออก
ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่า“plasmapheresis” เป็นการกรองเอาแอนตี้บอดี้ของคนไข้ออก
และทดแทนด้วย Antibody-free plasma ของผู้บริจาก

การทำ plasmaphersis สามารถช่วยทำให้คนไข้มี่อาการได้นาน 4 – 6 สัปดาห์
ส่วนใหญ่จะกระทำก่อนทำการผ่าตัด
การให้ immunoglobulins แก่คนไข้ ก็เป็นวีชิธีที่ถุูกนำมาใช้ร่วมกับการล้างเลือด

การผ่าตัดเอาต่อ thus ออก (thymectomy)
อาจทำให้คนไข้ปราศจากอาการได้อย่างถาวร (permanent remission)
หรืออาจใช้ยาน้อยลง โดยเฉพาะในรายที่เป็นเนื้องอก (tumor)

สำหรับคนไข้ทีมีปัญหาเกี่ยวกับตา
อาจลองรักษาด้วย Lens prisms อาจช่วยด้านสายตาได้
การผ่าตัดเกี่ยวกับกล้ามเนื้อลุกตา อาจเป็นทางหนึ่ง ที่ช่วยรักษาคนไข้เช่นกัน

Outlook (Prognosis)
โรค Myasthenai gravis ไม่มีทางรักษาใหหายได้
แต่ มีโอกาสที่จะไม่มีอาการในระยะยาวได้ คนไข้อาจมีการเคลื่อนไหวจำกัด
อาจมีอาการเพียง หนังตาตกแต่เพียงอย่างเดียว

สำหรับสตรี่ที่เป็นโรค สามารถตั้งครรภ์ มีบุตรได้ แต่ควรดูแลอย่างไกล้ชิด
เด็กที่เกิดมา อาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ในระยะสั้น จำเป็นต้องได้รับยาดูแลหลังคลอด
(สักระยะ 2-3 อาทิตย์)

Possible Complications
โรค Myasthenia gravis อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
เนื่องจากหายใจลำบาก เรียกภาวะนี้ว่า Myasthenia crisis

คนไข้ที่เป็น Myasthenia gravis มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิต้าทานชนิดอื่น ๆ
เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) โรครูมาตอยด์ (RA)
และโรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus)

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000712.htm

Unexplained weight loss

Unexplained weight loss
เมื่อน้ำหนักตัวของเรา เกิดลดลงโดยไม่ตั้งใจ
จะมีความสำคัญขึ้นมา เมื่อมันลดลงมาก และลดอย่างต่อเนื่อง
ซึ่ง มันอาจหมายถึงโรคอะไรบางอย่างที่ซ่อนตัวอยู่ภายในกายของเรา ?

น้ำหนักของคนเรา กำหนดโดยอาหาร (calorie intake), สุขภาพโดยรวม, อายุ
สารอาหารที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย , และปัจจัยอื่น ๆ
เมื่อท่านมีอายุย่างเข้าสู่วัยของการเป็นผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวของท่าน มักจะคงที่
ท่านอาจมีน้ำหนักตัวลดลงบ้างเล็กน้อย...
ก็ถือว่าเป็นเรืองปกติ ไม่ใช้เรื่องที่น่ากังวลแต่อย่างใด

เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านพบว่า น้ำหนักตัวของท่านลดลงถึง 10 ปอนด์ ( 4.5 kilograms)
หรือมากกว่า 5 % ของน้ำหนักตัว
หรือมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง
เมื่อนั้นแหละ...ท่านควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุให้ได้ว่า
อะไรคือต้นเหตุ ?

Causes
มีสาเหตุมากมาย ที่ทำให้เกิดน้ำหนักลด โดยที่เราไม่สามารถอธิบายได้ ได้แก่:

 Addison’s disease:
เป็นโรคที่พบได้น้อย สาเหตุเกิดจากต่อมหมวกไต ทำงานได้น้อยกว่าปกติ
พวกนี้จะมีลักษณะซูบผอม ผิวหนังตกกระ
ร่างกายไม่สามารถรักษาเกลือแร่ ๆ ต่างได้
 Cancer (มะเร็ง)
 Celiac disease:
เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิต้านทาน ทำงานผิดปกติ โดยผลิตสาร antibody
ออกมาทำลายเนื้อเยื้อของลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซับเอาสารประเภท “กลูเตน”
(โปรตียนที่ได้จาก ข้าวสาลี่ บาเลย์ ไรย์ และ ข้าวโอ๊ด) ได้ตามปกติ
 COPD
 Crohn’s Disease:
เป็นการอักเสบของทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่จะเกิดที่ลำไส้ แต่อาจเกิดได้ทุกส่วน
ตั้งแต่ปากถึงทวารหนัก ซึ่งเราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
อาจเกิดจากระบบภูมิต้านทานได้ หรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้
 Dementia
 Depression
 Diabetes
 Heart failure
 HIV/AIDS
 Hypercalcemia
 Hyperthyroidism & Hypothyroidism
 Parkinson’s disease
 Peptic ulcer
 Tuberculosis
 Ulcerative colitis:
การอักเสบของลำไส้ใหญ่ ที่ไม่ทราบสาเหตุ การอักเสบจะอยู่ที่บริเวณ mucosa
และ submucosa

เราควรไปพบแพทย์เมื่อใด ?

คงไม่ต้องบอกว่า ท่านควรไปพบแพทย์หรือไม่ ?
ปรึกษาแพทย์ได้เลย
โดยเฉพาะเมื่อน้ำหนักของท่านลดมากว่า 10 ปอนด์ (4.5 Kg)
หรือ 5 % ของน้ำหนักตัว ซึ่งเดขึ้นภายใน 6 – 12 เดือน

เป็นหน้าที่ของแพทย์ จะหาสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลด
พร้อมกับให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป และ
สิ่งทีท่านควรกระทำ คือรับประทานอาหารที่เฉพาะ เพื่อทำให้น้ำหนักของท่านเพิ่มขึ้น


www.mayoclinic.com/health/unexplained-weight-loss/MY00713/METHOD=print

G6PD deficiency

G6PD deficiency เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ผลของการขาดเอ็นไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase(G6PD)
จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลาย เมื่อคนไข้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้น (triggers)
เช่น ยาบางอย่าง (medications) อาหารบางชนิด (foods)
และ การอักเสบติดเชื้อ

คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใด ๆ
ส่วนรายอื่น ๆ อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคเลือดจาง
ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ( hemolysis)ลง
ในกรณีดังกล่าว อาการจะหายไปได้ เมื่อต้นเหตุ หรือตัวกระตุ้นถูกกำจัดหมดสิ้น
มีเพียงน้อยรายเท่านั้น ที่กลายไปเป็นโรคเลือดจางเรื้อรังไป

About G6PD Deficiency
หลายท่านอยากจะรู้ว่า เอ็นไซม์ G6PD มันสำคัญอย่างไร ?
พอจะสรุปสั้น ๆ ได้ว่า:

G6PD เป็นเอ็นไซม์ตัวหนึ่งในจำนวนเอ็นไซม์หลายตัว ที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับกระบวนการ "เมทตาบอลิซึมของ" ของ “คาร์โบฮัยเดรท”
ให้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายได้ใช้ต่อไป...

เอ็นไซม์ดังกล่าว ยังทำหน้าที่ปกป้องเม็ดเลือดแดง ไม่ให้เป็นอันตรายจาก
สาร/สิ่ง อันตรายทั้งหลาย ที่อยู่ในร่างกาย (เช่น ยา หรืออาหาร ที่กินเข้าไป)
หรือ จากการที่ร่างกายต่อสู้กับการอักเสบติดเชื้อ

เมื่อเม็ดเลือดแดงไร้สิ่งปกป้องจากเอ็นไซม์ G6PD (ปริมาณไม่เพียงพอ
หรือ ทำงานได้ไม่เหมาะสม)
จะเป็นเหตุให้เม็ดเลือดได้รับบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลายลง
ภาวะโลหิตจากเเลือดถูกทำลายจะเกิดขึ้น ถ้าไขกระดูกไม่
สามารถทำงานชดเชยด้วยการสร้างเม็ดเลือดได้ จะเกิดภาวะของโลหิตจางขึ้น

อาการของเลือดแดงถูกทำลาย มีดังต่อไปนี้:

 ซีด
 เหนื่อยล้า
 หัวใจเต้นเร็ว
 หายใจเหนื่อยหอบ - หายใจสั้น และถี่
 ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะดำ

Causes of G6PD Deficiency
G6PD deficiency จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อ หรือ แม่
หรือทั้งสองคน สู่ผู้เป็นลูก ซึ่งเป็นผู้มี "ยีน" ที่ทำหน้าที่ต่อการเกิดความบก
พร่องของเอ็นไซม์ดังกล่าวบน X- chromosome

G6PD deficiency เป็นโรคที่พบในคนผิวดำ เพศชาย (African-
american) ส่วนสตรีผิวดำ จะทำหน้าที่เป็นเพียงพาหะ ของโรคเท่านั้น
ซึ่งหมายความว่า เธอเป็นแต่เพียงส่งต่อพันธุกรรมที่ไม่ดี (deficiency)
ไปสู่ลูก ๆ ของเธอเท่านั้น โดยที่เธอไม่มีอาการใด ๆ

Diagnosing and Treating G6PD Deficiency
ส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรค G6PD deficiency
จะไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกกว่า เด็กจะมีอาการแสดงเกิดขึ้น
ถ้าท่านสงสัย ท่านสามารถทำการตรวจสอบได้ โดยการตรวจเลือด
ซึ่งสามารถยืนยันความเป็นโรค G6PD deficiency ได้

ในการรักษาอาการที่เกิดจากโรค G6PD deficiency
สามารถกระทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ กำจัดสิ่งกระตุ้น (triggers) ออกไป
เช่น รักษาการอักเสบติดเชื้อ หรือ เลิกใช้ยาบางอย่าง และอาหารบางชนิดเท่านั้น.

สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการ เช่น

 อาหาร เช่น ถั่วปากอ้า (fava bean) ซึ่งมีสารที่เป็นอนุมูลอิสระ
 การอักเสบติดเชื้อ ซึ่งทำเซลล์เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอนุมูลอิสระมากขึ้น
 เบาหวาน ที่ทำให้เกิดกรด (diabetic ketoacidosis)
 การได้รบยาต่าง ๆ เช่น:

ยาแก้ปวด (Analgesics/antipyretics)

1. Acetanilid
2. Acetophenetidin (Phenacetin)
3. Antipyrine
4. Aspirin
5. Phenacetin
6. Probenicid
7. Pyramidone

ยาแก้โรคมะลาเรีย(Antimalarial drugs)

1. Chloroquine
2. Hydrochloroquine
3. Mepacrine (Quinacrine)
4. Primaquine
5. Pentaquine
6. Primaquine
7. Quinine
8. Quinocide

กลุ่มยารักษาโรคหัวใจ (cardiovascular drugs)

1. Procainamide
2. Quinidine
กลุ่มยา Sulfonamides /Sulfones

1. Dapsone
2. Sulfacetamide
3. Sulfamethoxypyrimidine
4. Sulfanilamide
5. Sulfapyridine
6. Sulfasalzine

ปฏิชีวนะ (Cytotoxic/Antibacterial drugs)

1. Chloramphenicol
2. C0-trimoxazole
3. Furacolidone
4. Furazolidone
5. Furmethonol
6. Nalidixic acid
7. Neoarsphenamine
8. Nitrofurazone
9. PAS
10. Para-aminosalicylic acid

ยาอื่น ๆ

1. Alpha-methyldopa
2. Ascobic acid
3. Cimercaprol (BAL)
4. Hydralazine
5. Mestranol
6. Methylene blue
7. Nalidixic acid
8. Naphalene
9. Niridazole
10. Phenylhydrazine
11. Pyridium
12. Quinine
13. Toluidine blue
14. Trinitrotoluene
15. Urate oxidase
16. Vitamin K (Water soluble)

Caring for Your Child
วิธีที่ดีที่สุดในการดูและเด็ก ๆ ของท่านที่เป็น G6PD deficiency
คือ การลดการสัมผัสกับสิ่งเร้า (triggers) ที่จะทำให้เกิดอาการ
จากการระมัดระวังอย่างดี สามารถทำให้เด็กเป็น G6PD deficiency
ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติได้

hhttp://kidshealth.org/parent/general/aches/g6pd.html

METABOLIC DISORDER:

What is metabolic disorder?

คุณหมอสาว ผู้มีดวงหน้าอันจิ้มลิ้ม
ได้อธิบายให้คนไข้ชายผู้สูงอายุ ว่า

คุณตา เป็นโรคเกี่ยวกับ “เมทตาบอลิซึม” นะ...
พร้อมกับอธิบายโรคของคนไข้.. ด้วยเสียงอันเจื้อยแจ้ว อย่างยืดยาว
สะกดคุณตา (คนไข้) เสียอยู่หมัด
ก่อนที่จะเรียกคนไข้รายต่อไป...
คุณหมอได้ถามชายสูงอายุท่านนั้นว่า “คุณตา... มีอะไรสงสัยใหม ?”

จะเป็นเพราะ “มอง” หน้าคุณหมอจนเพลิน หรือ อย่างไรไม่ทราบได้
ไม่กล้าบอกคุณหมอว่า “ไม่เข้าใจอะไรเลย”
ก้อ กลัวคุณหมอจะหาว่า “โง่”
ได้แต่พยักหน้าด้วยอาการอันมึนงง...
......
ต้องเก็บเอาความสงสัย...มาถามคนแก่ด้วยกันในสนามกอล์ฟ
อย่างไม่เกรงอกเกรงใจแม้แต่น้อย ว่า:
“โรคเมทตาบอลิซึม...มันคืออะไรวะ....หมอ?”

“เมทตาบอลิซึม” (metabolism) หมายถึงกระบวนการณ์ทางเคมีในร่างกาย
ที่ “รับ” หรือ “สร้าง” พลังงานขึ้นจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป

เมื่อคนเรา รับประทานอาหารเข้าไป
สารเคมีในกระเพาะอาหาร จะทำหน้าที่ “แยก-ย่อย” สารอาหารต่าง ๆ
เช่น คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน และ ไขมัน ให้กลายเป็นน้ำตาล (sugar)
และกรด (acids) ต่าง ๆ แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายต่อไป
ซึ่งสารอาหารเหล่านั้น จะทำหน้าที่ เป็นพลัง ให้ร่างกายใช้พลังนั้นได้ทันที
หรือ เก็บสะสมไว้ ใช้ในโอกาสต่อไป
(เก็บในตับ กล้ามเนื้อ และ เปลี่ยนเป็นไขมัน)

กระบวนการณ์ของร่างกาย ที่เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน
ถูกเรียกว่า “เมทตาบอลิซึม”
ซึ่งประกอบด้วยการเคลื่อนย้าย (transport) สะสม (storage)
และ ส่งกระจายพลังไปให้ส่วนต่าง ของร่างกายต่อไป

มีการทำงานของร่างกาย ทาง “เมทตาบอลิซึม” เป็นจำนวนมาก มาย
ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมบูรณ์เป็นปกติ (healthy)
งานหลักของ เมทตาบอลิซึม คือ การผลิตเอ็นไซม์ เพื่อทำหน้าทีย่อยสลายอาหาร
ให้เป็นพลังงาน จากนั้นก็มีการทำหน้าที่ “จัดการ” เคลื่อนย้ายพลังงานเหล่านั้น
ให้แก่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ซึ่งส่วนใหญ่ โรคทาง “เมทตาบอลิซึม”
เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติของเอ็นไซม์ นั่นเอง

เมื่อเอ็นไซม์ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือ มีปริมาณไม่เพียงพอ
ผลที่เกิดขึ้น คือ โรคทาง “เมทตาบอลิสม”
เช่น โรคเบาหวาน (diabetes) เป็นต้น
นั่นคือเรื่องราว ที่คุณหมอสาว พยายามอธิบายแก่คนไข้ชาย ผู้สูงอายุ
ท่านนั้น

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Understanding COPD (2)

Who is affected by COPD?

จากสถิติในสหรัฐฯ กล่าวว่า มีคนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 16 ล้านคน
หรือประมาณ 11 % ของมวลประชาชน

Symptoms of COPD

คนไข้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื่องรัง จะมาเบแพทย์ด้วยอาการ:

• หายใจสั้น และเร็ว (Shortness of breath)
• หายใจสั้น และ เร็ว เมื่อออกแรงไม่มาก เช่น เดิน หรือเดินขึ้นบันได
• ไอ เรื้อรัง มี เสมหะ (mucous)
• แน่นหน้าอก
• Wheezing เสียงลมหายใจ ที่เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ

What causes COPD?

มีสาเหตุหลักอยู่สองอย่าง ที่ทำให้คนเราเกิดโรค COPD
นั้นคือ การสูบบุหรี่ และ alpha-1 antitrypsin (AAT) deficiency
นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีก
เช่น มลภาวะ และ ฝุ่นละอองจากที่อยู่อาศัย อาจมีส่วนทำให้เกิด COPD ได้
โดยเฉพาะ คน ๆ นั้นต้องเผชิญกับมันอยู่ตลอดเวลา

การสูบบุหรี่ ทำให้เกิด COPD ได้ เพราะควันบุหรี่ ที่คนเราสูบเข้าปอดนั้น
จะไปก่อให้เกิดการละคายเคีองต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ
ซึ่งนำไปสู่การทำให้หลอดลมตีบแคบลง ทำให้การหายใจลำบากในที่สุด

นอกจากนั้น ควันบุกรี่ ยังทำให้ขน (cilia)
ที่อยู่ภายในท่อลมหายใจ ซึ่งทำหน้าทีทำความสะอาดให้แก่ท่อลมหายใจ
ต้องหยุดการทำงานลง เป็นเหตุให้มีเสมหะ (mucous) สะสมภายในทางเดินหายใจ
ทำให้คนไข้มีอาการไอเรื้อรัง และลงท้ายกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้องรัง

ในคนไข้บางรายที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้องรัง จะเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น
ทำให้ถุงลม (alveoli) ถูกทำลายลง ซึ่งเราเรียกว่า emphysema

ส่วน alpha-1 antitrypsin (AAT) deficiency
เป็นโรคทางพันธุกรรม สามารถก่อให้เกิดโรค emphysema ขึ้นได้
ปกติแล้ว alpha-1 antitrypsin (AAT) เป็นสารที่ทำหน้าที่ปกป้องปอด
เป็นสารที่ถูกสร้างจากตับ จากนั้น มันจะถูกส่งไปยังปอด
เพื่อทำหน้าที ปกป้องคุ้มครองปอดจากการอักเสบ

เมื่อร่างกายเราไม่มี สาร AAT ในปริมาณเพียงพอ
มันย่อมไม่มีอะไรที่จะปกป้องปอดให้รอดจากเอนไซม์ ที่มาจากเม็ดเลือดขาวได้
เป็นเหตุให้ผนังถุงลม (alveoli) ถูกทำลาย
เมื่อถุงลม (aveoli) ถูกทำลายลง ร่างกายเราก็หมดทาง
ที่จะมีการแลกเปลี่ยน Oxygen และ carbon dioxide ได้
ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจน และ
ไม่สามารถขับ คาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้

How is COPD diagnosed?
Medical history

ในการวินิจฉัยโรค COPD เมื่อท่านเจอแพทย์ สิ่งท่่ท่านจะได้พบ
เขาจะถามปัญหาท่านหลายคำถาม:

• สูบบุหรี่หรือไม ?
• มีการสัมผัสกับฝุ่น หรือ มลพิษทางอากาศ...นานไหม?
• มีใครในครอบครัว (วงศ์ตระกูล) ...เป็นโรคปอด?
• มีหายใจสั้น-ถี่ หรือไม่?
• เมื่ออกกำลังกายแล้ว...หายใจเร็ว หรือหอบ ?
• เวลามีอาการ หายใจมีเสียง (wheezing) ?
• เวลาไอ...มีเสมหะ ?

Physical exam:

ในการตรวจร่างกาย เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย
โดยละเอียด ซึ่งเขาจะ:

• Listening to your lungs and heart
• Checking your blood pressure and pulse
• Examining your nose and throat
• Checking your feet and ankles for swelling

Laboratory and other tests:

ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ มีการตรวจหลาอย่าง ที่จำเป็นต่อการ
ยืนยันว่า คำวินิจฉัยโรค COPD เช่น:

• Electrocardiogram (ECG or EKG) เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจ
เพื่อแยกโรค ที่เป็นเหตุให้เกิดการหายใจลำบาก (shortness of breath) t
• Chest X-ray เพื่อมองหาการเปลี่ยนแปลงในปอด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิด
โรค COPD ได้
• Spirometry and pulmonary function tests (PFTs):
เป็นการตรวจดูปริมาณของอากาศที่ปอดสามารถรับได้ (lung volume) รวมถึงอากาศที่ผ่านเข้าออก
• Pulse oximetry: เป็นหารตรวจดูความเข็มข้นของ oxygen ในกระแสเลือด
• Arterial blood gases (ABGs): เป็นการตรวจวัดจำนวน oxygen และ
carbon dioxide ในกระแสเลือด
• Exercise testing : เป็นการตรวจดูว่า ในระหว่างมีการออกกำลังกาย มี oxygen
ในกระแสเลือดเท่าใด

Treatment:

ในรายที่เป็นโรค COPD ในระยะเริ่มต้น อาการหายใจถี่-สั้น อาจเกิดขึ้นใน
ตอนออกกำลังกายเท่านั้น

เมื่อโรคเป็น(พัฒนา)ไปมากแล้ว อาการหายใจหอบ (สั้น-ถี่) อาจมากขึ้น
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องหายใจที่มีออกซิเจน เพื่อช่วยให้โรค COPD ดีขึ้น
สิ่งที่คนไข้ต้องกระทำคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรับการรักษาต่อไปนี้:

• เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
• หลีกเลี่ยงจากควันบุหรี่ หรือสิ่งละคาบเคืองทางเดินลมหายใจ
• กินยา (medications):

o bronchodilators
o anti-inflammatory agents
o oxygen
o antibiotics

• รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ (ผัก ผลไม้ ธัญพืช อาการที่มีไขมันต่ำ
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามโปรกแกรมที่กำหนด)
• ป้องกันไม่ให้เกิดมีการอักเสบของทางเดินลมหายใจ
• ควบคุมความเครียด

ถ้าโรค COPD เลวลง อาจได้รับการประเมิน ดูปริมาณของปอดที่เหลือว่า
สมควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่
เช่น ผ่าตัดเอาปอดส่วนที่ไม่ดีออก (wedge resection) ให้โอกาสส่วนที่ดี
ได้ขยายตัว หรือ ทำการปลูกถ่ายปอดจากคนบริจาค ?

What is the outlook?

แม้ว่า โรค COPD เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม
แต่ เราสามารถรักษาอาการได้ และที่สำคัญ คุณภาพชีวิตของท่านดีขึ้นได้
การพยากรณ์โรคของท่าน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

 ปอดของท่านยังทำงานได้ดีแค่ใด ?
 อาการของโรค และ
 ท่านตอบสนองต่อโปรแกรมการรักษาได้ดีแค่ไหน?

<<  PREV        

http://my.clevelandclinic.org/disorders/Chronic_Obstructive_Pulmonary_
Disease/hic_Understanding_COPD.aspx

Understanding COPD (1)

How Your Lungs Work

สำหรับท่านที่นั่งปฏิบัติธรรม- ดูลมหายใจเข้าออก
ดูลมตามที่เป็นจริง ไม่ต้องบังคับให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
ปฏิบัติไปสัก 30 นาที ทำทุกวัน (เช้า หรือเย็น) อย่าให้ขาด
ลองดูซิว่า อะไรจะเกิดขึ้น

เมื่อท่านมีเวลาว่าง ลองพิจารณาการทำงานของปอดตามที่เป็นจริงบ้าง
ไม่ต้องสนใจว่า ประโยชน์ที่จะเกิด คืออะไร ?
ให้รู้เพียงว่า ปอดของเราทำงานกันอย่างไร...

ปอดของท่านมีหน้าทีนำเอาออกซิเจนจากอากาศ ให้แก่ร่างกาย
และทำหน้าที่เอาแกสต่าง ๆ ออกทิ้งไป เช่น carbon dioxide
กระบวนการดังกล่าว จะได้ 10- 20 ครั้ง ต่อนาที่

เมื่อท่านหายใจเข้า ลมจะผ่านจมูก หรือปาก กล่องเสียง
และ ท่อลมหายใจ (trachea)
ท่อลมหายใจ จะแบ่งออกเป็นท่อที่มีขนาดเล็กลง ซ้าย และ ขวา
เรียก bronchial tube โดยแยกเข้าสู่ปอดทั้งสองข้าง-ซ้าย และขวา

เพื่อให้ปอดสามารถทำงานได้สะดวก
ทางเดินของลมหายใจ (ท่อลม) จะต้องเปิดตลอดเวลาทั้งเวลาหายใจเข้า และหายใจออก
ไม่มีการอักเสบ ไม่มีพวกน้ำเมือกในปริมาณมาก

ปอดด้านขวา จะมีสามลอน ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าด้านขวา
ซึ่งมีเพียงสองลอนเท่านั้น
หลอดลม (branchila tubes) จะแบ่งออกเป็นแขนงทีเล็กลงไปอีก
เรียก bronchi และแตกแขนงเล็กลงไปอีก เป็น bonchioles
ท่อเล็ก bronchioles จะสิ้นสุดลงที่ถุงลมเล็ก ๆ เรียก alveoli
ซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เหมือนพวงองุ่น...
เป็นตำแหน่งที่เลือดจะดึงเอาออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด
และปล่อย carbon dioxide ออกมา

หลังจากเลือดดูดซับเอาออกซิเจนเข้ามาแล้ว เลือดจะออกจากปอด
เดินทางเข้าสู่หัวใจ จากนั้น หัวใจจะทำหน้าที่ปั้มเลือด ให้เลือดไปเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ทั่วร่างกาย
เมื่อร่างกายใช้ออกซิเจน จะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และปล่อยสู่เลือด
ซึ่งเลือดจะนำกลับสู่ปอด เพื่อปล่อยออกในขณะหายใจออก

ปกติระบบหายใจของคนเรา ป้องกันไม่ให้สารที่เป็นอันตรายเข้าสู่ปอด
โดยอาศัย:

 ขน (Cilia) ที่อยู่ภายในรูจมูก มันทำหน้าที่กรองเอาสารทีมีขนาดใหญ่
ไม่ให้ผ่านเข้าสู่ปอดได้
 ทางเดินของลมหายใจ (trachea & bronchial tubes) จะผลิตน้ำเมือก
ออกมาเพื่อทำให้ผิวด้านในของทางเดินหายใจ มีความเปียกชื้นเพียงพอ
เพื่อให้ลมผ่าน พร้อมกับขจัดจับเอาฝุ่น เชื้อแบกทีเรีย และสารอื่น ๆ โดยอาศัยขน (cilia)
ทำหน้าที่ปัดกวาดให้อากาศ ที่ผ่านทางเดินของลมหายใจมีความสะอาด
แต่ ถ้าสารนั้น เป็นควันบุหรี่ ที่ผ่านเข้าท่อลม จะทำให้ขนหยุดทำงาน

COPD: Understanding COPD

What is COPD?
COPD เป็นคำย่อของ chronic obstructive pulmonary disease.
เป็นชื่อชองโรคที่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว ซึ่ง มีโรคถุงลมโป่งพอง(emphysema),
หลอดลมอัเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis)
และถุงลมโป่งพองที่เกิดจาก alpha-1 antitrypsin deficiency

โรค COPD มักจะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ เป็นเหตุให้การไหลเวียน
ของลมหายใจติดขัดทั้งลมเข้า และลมออก

โรค COPD เมื่อเกิดขึ้นท่านใดแล้ว โรคดังกล่าว จะเพิ่มงานให้แก่หัวใจ
ให้ทำงานมากกว่าปกติ ทำให้ระดับออกซิเจนจากปอดเข้าสู่กระแสเลือดลดลง
ทำให้ความดันเลือดในเส้นเลือดจากหัวใจ เข้าสู่ปอดสูงขึ้น
เป็นเหตุให้หัวใจต้องทำงานด้านการปั้มเลือด ต้องออกแรงมากขึ้น
ในคนเป็นโรคปอดดังกล่าว ทำให้ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
ทำให้เลือดเหนียวขึ้น และง่ายต่อการจับตัวของเม็ดเลือด (clotting)

คนเป็นโรค COPD ที่มีระดับออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำลง สามารถทำให้
หัวใจโตขึ้น (cor pulmonale)
ภายใต้ภาวะดังกล่าว จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง
และนำไปสู่การเกิดอาการหายใจลำบาก (shortness of breath)
ทำให้เกิดมีอาการบวมที่บริเวณขา และข้อเท้าได้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งนั้น
แต่โชคยังดี ที่มีการรักษาโรค COPD
และข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการกับโรค COPD ดีขึ้น
สามารถช่วยปรับอัตราเสี่ยงที่เกิดจากโรคได้ดีขึ้น

Chronic bronchitis:
หลอลมอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการละคายเคือง และการอักเสบของ
เยื่อบุภายในทางเดินลมหาย ทำให้มีน้ำเมือกเกิดมากขึ้น
เมื่อมีอาการบวมเกิดขึ้น ยิ่งทำให้ทางเดินของลมหายใจแคบลง ทำให้ลมผ่านได้ยากขึ้น

และการลำคายเคืองภายในทางเดินลมหายใจ อาจเป็นอันตรายต่อขน(cilia)
ที่อยู่ภายในผิวของหลอดลมได้ เป็นเหตุให้ขน (cilia)
ไม่สามารถทำงาน เพื่อทำให้หลอดลมสะอาดได้

เราจะบอกว่า คนไข้เป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อคนนั้น มีอาการไอเรื้อรัง
มีเสมหะ (mucous) และมีอาการหายใจติดขัด (shortness of breath)
โดยเป็นมานานเกิน 3 เดือน เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันไป

Emphysema:
Emphysema หมายโรคปอด ที่ถุงลมที่มีขนาดเล็ก ๆ เรียก alveoli
ซึ่งอยู่ที่ปลายสุดของทางเดินลมหายใจขนาดเล็ก มีลักษณะเหมือนพวงองุ่นถูกทำลายลง
เมื่อถุงลมถูกทำลายลง มันย่อมไม่สามารถให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่าง
Oxygen และ carbon dioxide ที่เกิดขึ้นระหว่างเลือด และปอดได้ตามปกติ

ในโรค emphysema ท่อลมขนาดเล็กที่มีชื่อว่า bronchiole ซึ่งเป็นส่วนปลายสุด
จะสูญเสียความยืดหยุ่น (elasticity) ไป
เวลาหายใจออก มันจะแฟบตัวลง(ไม่เปิด)ทำให้มลมถูกกักไว้ในปอด
และป้องกันไม่ให้อากาศ และ ออกซิเจน เข้าสู่ปอดได้

continue: Understanding COPD (2)

Parathyroid Disorder:Hypoparathyroidism

Hypoparathyroidism:
เป็นโรคของต่อม พาราไทรอยด์ เป็นหนึ่งในโรคของระบบต่อมไร้ท่อ
มันอยู่ตรงด้านหน้าของคอ (...อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์)
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ที่มีชื่อเรียก parathyroid hormone (PTH)
เมื่อต่อม "พาราไทรอยด์" ไม่สามารถผลิต PTH ได้เพียงพอกับความต้องการ
จะก่อให้เกิดโรค ซึ่งมีชื่อว่า Hypoparathyroidism

Causes:
ต่อมพาราไทรอยด์ จะช่วยควบคุมการใช้ calcium และกำจัดออกจากร่างกายไป
โดยอาศัยฮอร์โมน ชื่อ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน หรือ PTH
PTH จะทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับ calcium, phosphorous และ
Vitamin D ที่อยู่ในกระแสเลือด และในกระดูก ให้อยู่ในระดับสมดุล

ในกรณีที่เกิดโรค hypoparathyroidism ต่อมพาราไทรอย์
ไม่สามารผลิตฮอร์โมน PTH ได้เพียงพอ- ผลิตได้น้อยไป
จะทำให้ระดับของ calcium ในกระแสเลือดลดต่ำลง
ทำให้ระดับของ phosphorous สูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิด hypoparathyrodism
ส่วนใหญ่จะเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ถูกทลาย ซึ่งมักจะเกิดในระหว่างทำการผ่าตัด
ในบริเวณคอ และศีรษะ
มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyrodism)
ด้วยการใช้ที่มีกัมมัตภาพรังสี เช่น radioactive iodine

นอกจากนั้น hypoparathyrodism อาจเกิดจาก:

 Low blood magnesium levels
 Metabolic alkalosis

DiGeorge syndrome เป็นโรคที่พบในเด็กตั้งแต่เกิด
ซึ่ง ต่อมพาราไทรอย์ทำงานได้น้อยกว่าปกติ
เป็นโรคทีถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์-Familial hypoparathyroidism
โดย เราจะพบร่วมกับความผิดปกติในระบบไร้ท่อชนิดอื่น
เช่น พบใน adrenal insufficiency, และ
type 1-polyglandular autoimmune syndrome (PGA I)

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิด hypoparathyroidism ได้แก่:

 การผ่าตัดบริเวณคอ
 ประวัติทางครอบครัวว่าเป็นโรคื parathyroid disorders
 โรคในระบบภูมิต้านทานบงอย่าง เช่น Addison’s disease

Symptoms

• ปวดท้อง (Abdominal pain)
• เล็กเปราะ (Brittle nails)
• ต้อกระจก
• ผมแห้ง (dry hair)
• ผิวหนังแห้ง (dry,scaly skin)
• กล้ามเนื้อปั้น (muscle cramps)
• กล้ามเนื้อกระตุก ( muscle spasm called tetany)
• หากเกิดกับกล้ามเนื้อกล่องเสี่ยง จะทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก
• ปวดกล้ามเนื้อ ขา เท้า
• กระตุก ลมชัก
• มีอาการเสียวที่บริเวณริมฝีปาก ขา และเท้า
• ฟันไม่ค่อยแข็งแรง

Additional symptoms may include:

นอกเหนือจากนั้น คนไข้อาจมีอาการต่อไปนี้:
• ความรู้สึกตัวลดน้อยลง
• ไม่มีการเจริญเติบโตของฟัน
• มือ และเท้ากระตุก หดเกร็ง
• ปวดประจำเดือน

Exams and Tests:

การตรวจเลือด ดูระดับ calcium และ phosphorous,
magnesium และ PTH
ตรวจดูคลื่นหัวใจจาก EKG จะพบคลื่นผิดปกติได้
การตรวจปัสสาวะ ดูระดับ calcium ที่ถูกขับออกไป

Treatment:

เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่ ทำให้ระดับของ calcium
และสาร minerals อื่น ๆ ให้กลับสู่ความสดุล
เช่น การให้สาร calcium carbonate และ vitamin D
ซึ่งสามารถได้จากอาหารเสริม
หลังการรักษา จะต้องมีการตรวจเลือดระดับ calcium เป็นระยะ ๆ
เพื่อตรวจสอบว่า ว่ายาที่ให้นั้นเพียงพอหรือไม่ ?
นอกจากยาที่ได้จากแพทย์ ยังสามารถได้จากอาหารเสริมได้อีกด้วย
นั่นคือ อาหารทีมีสาร calcium สูง และมีสาร phoshorous ต่ำ

ในกรณีที่มี calcium ในกระแสเลือดต่ำ จะมีผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวรกลอ่งเสียง
ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการหายใจได้ และเป็นอันตราจต่อชีวิตได้

การชดเชยสาร calcium ที่ขาด ควรใหทางเส้นเลือด
หลังจากนั้น ควรตรวจ EKG ดูการเต้นของหัวใจ จนกว่าจเป็นปกติ
เมื่อควบคุมได้แล้ว การชดเชยสารที่ขาดสามารถให้ต่อเนื่องทางปากได้

Outlook (Prognosis):

การพยากรณ์โรค hypoparathyroidism
หากวินิจโรคได้แต่เนิน ๆ จะมีแนวโน้มทีดี
ส่วนกรณีที่เกิดเป็นโรค “ต้อกระจก” มีหินปูนเกาะที่สมอง...
ไม่สามารถทำให้กลับฟื้นได้เหมือนเดิม

Possible Complications:

โรคhypoparathyroidism ที่เกิดในเด็ก
อาจเป็นสาเหตุทำให้หยุดการเจริญเติบโตของเด็กได้ (stunted growth)
ฟันผิดรูป (malformed teeth) และมีการพัฒนาสมองเจริญช้าลง
(slow mental retardation )

การกรณีให้การรักษามากไป ด้วยการให้ calcium และ vitamin D มากไป
จะทำให้เกิดภาวะ hypercalcemia (มีสารแคลเซี่ยม สูงในกระแสเลือด)
สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของไตได้

โรค hypoparathyrodism จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น:

 Pernicious anemia
 Addison’s disease
 Cataracts
 Parkinson’s disease

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/parathyroiddisorders.html

Parathyroid Disorders : Hpyperparathyroidism

Parathyroid gland
มีต่อมไร้ท่ออีกชนิดหนึ่ง มีชื่อคล้าย ๆ ต่อมไทรอยด์
อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์
แม้ว่าชื่อของมันจะคล้ายๆ กับต่อมไทรอยด์ก็ตาม แต่แตกต่างโดยสิ่นเชิง
ต่อมพาราไทรอยด์ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่ง
ชื่อ Parathyroid hormone (PTH)
ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างความสมดุลให้แก่สาร “calcium และ phosphorous”

เมื่อใดที่ต่อมพาราไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนมากไป หรือน้อยไป
จะก่อให้เกิดความแปรปรวนในระดับความสมดุลของธาตุทั้งสอง
ยกตัวอย่าง เมื่อต่อมทำงานมากไป (hyperparathyroidism)
จะทำให้สาร “calcium” ในเลือดสงสูงขึ้น
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอกบนต่อมพาราไทรอยด์
หรือเป็นเพราะต่อมันโตขึ้น เป็นเหตุทำให้ทำงานมากขึ้น
หรือ อาจเป็นมะเร็งของต่อม..แต่เป็นได้น้อย

ในทางตรงข้าม ต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานได้น้อยไป (hypoparathyroidism)
จะทำให้ calcium ในเลือดต่ำลง และธาตุ phosphorous...สูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยลงได้แก่
บาดเจ็บของต่อมพาราไทรอยด์เอง หรือ
เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกัน
หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม

ในการรักษา...แพทย์จะมุ่งตรงไปที่ การทำให้เกิดความความสมดุลของ
Calcium และ phosphorousในกระแสเลือด

Hyperparathyroidism:

Hyperparathyrodism คือภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานผลิตฮอร์โมน
ที่ชื่อว่า parathyroid hormone ออกมากเกินไป

Causes
ต่อมพาราไทรอยด์ อยู่ที่ด้านหลังของดต่อมไทรอยด์ ตรงบริเวณด้านหน้าของคอ
มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน ชื่อ parathyroid hormone
ซึ่ง มีหน้าที่ควบคุมระดับของ calcium , phosphorus และ vitamin D
ในกระแสเลือด และ กระดูก

เคยกล่าวไว้ว่า ทุกอย่างในจักรวาล จะสร้างความสมดุลให้แก่ตนเอง
นั้นคือสัจธรรม

เมื่อระดับของ calcium ลดต่ำ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเพิ่มการสร้าง
Parathyroid hormone

จากการที่มีระดับ parathyroid hormone เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดผลสองอย่างขึ้น
หนึ่งนั้น จะทำให้ สาร calcium ถูกดึงออกมาจากระดูกออกสูกระแสเลือด
และสอง มีการดูดซับเอาสาร calcium จากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด
เมื่อพบว่า ระดับ calcium ในกระแสเลือดกลับสู่สภาพปกติเมื่อใด...
ระดับของ parathyroid hormone ก็จะกลับสู่ระดับปกติทันที เช่นกัน

อะไรเป็นเหตุทำให้ต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานมากกว่าปกติ?
ต่อมพาราไทรอยด์ ที่ทำงานมากกว่าปกติมีด้วยกันสองชนิด:

 Primary hyperparathyroidism.เกิดจากการที่ต่อมพาราไทรอยด์
จำนวนหนึ่งต่อม หรือมากกว่า โตขึ้น เป็นเหตุให้ต่อมที่โตขึ้น ทำงานเพิ่มขึ้น
ผลที่ตาม ทำให้มี “พราราไทรอยด์ ฮอร์โมน” ถูกผลิตออกมามากเกินไป
ทำให้ระดับของ calcium ในระแสเลือดสูงขึ้น

Hyperparathyroidism หากเราพูดขึ้นมาลอย ๆ เราหมายถึง
primary hyperparathyroidism นั่นเอง

ส่วน secondary hyperparathyroidism
มันจะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายสร้าง พาราไทรอยด์ ฮ์โมนออกมามากเกินไป
โดยมีสาเหตุมาจาก มีระดับ calcium ในกระแสโลหิต ต่ำอย่างมาก
ซึ่งเราจะพบเห็นได้กรณีที่ vitamin D ในกระแสเลือดต่ำ
เป็นเหตุให้ ร่างกายไม่สามารถดูดซับเอา calcium จากลำไส้ได้

ถ้าหากเราแก้ปัญหาที่ทำให้ระดับ calcium ต่ำ ให้กลับสู่สภาพปกติได้
ต่อมพาราไทรอยด์ที่ทำงานเกิน ก็ย่อมกลับสู่สภาพเดิมได้เช่นกัน
นั่นคือแนวทางการรักษาคนไข้ที่เป็น secondary hyperparathyroidism

ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ ยังคงผลิต พาราไทรอยด์ฮอร์โมนออกมา ทั้ง ๆที่
ระดับ calcium มีระดับปกติแล้ว ภาวะดังกล่าว
เขาต้องชื่อว่า “tertiary hyperthyroidism”
ซึ่งเราจะพบได้ในคนไข้ที่เป็นโรคไต

Symptoms

• ปวดเอว (Back pain)
• ตามัว (Blurred vision because of cataracts)
• เจ็บ และปวดกระดูก (Bone pain or tenderness)
• ความสูงลดลง (Decreased height)
• ซึมเศร้า (Depression)
• เมื่อยล้า (Fatigue)
• กระดูกแตกหัก (Fractures of long bones)
• ปัสสาวะออกมา (Increased urine output)
• กระหายน้ำเพี่มขึ้น (Increased thirst)
• คันตามผิวหนัง (Itchy skin)
• ปวดตามข้อ (Joint pain)
• เบื่ออาหาร (Loss of appetite)
• คลื่นไส้ (Nausea)
• กล้ามเนื้ออ่อนแรง และปวด (Muscle weakness and pain)
• บุกคลิกภาพเปลี่ยนแปลง (Personality changesษ
• อาการกึ่งสลบ มมึนงง (Stupor) and หมดสติ (possibly coma)
• ปวดท้องส่วนบน (Upper abdominal pain)

Exams and Tests
การตรวจเลือด เช็คระดับ parathyroid hormone (PTH), calcium,
alkaline Phosphatase, phosphorous.
มีการตรวจหาจำนวน calcium ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง

ตรวจภาพ X-rays กระดูก สามารถตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก กระดูกหัก

Xirays, ultrasound และ CT ระบบขับถ่ายปัสสาวะ สามารถตรวจดูก้อนนิ้ว
และดูการอุดตันทางเดินปัสสาวะ

Treatment
ในการรักษาคนไข้เป็นโรค Hyperparathyroidism ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ถ้าพบว่า ระดับ calcium ในกระแสเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
(จาก primary hyperparathyroidism) และคนไข้ ไม่มีอาการใด ๆ
สิ่งทีท่านพึงกระทำ คือ ตรวจเช็คระดับของสาร calcium เป็นประจำ
ก็น่าจะพอ

ถ้าคุณมีอาการ หรือระดับของ calcium ในกระแสเลือดสูงมาก ๆ
การผ่าตัดอาจจำเป็นต้องกระทำ เพื่อผ่าตัดเอาต่อมที่ทำงานมากเกินออกไป

การรักษาในคนไขที่เป็น secondary hyperparathyroidism ขึ้นกับสาเหตุ
ที่ทำให้เกิด

Outlook (Prognosis)
การพยากรณ์โรคก็ขึ้นกับชนิดของโรค hyperparathyrodism

Possible Complications
ในคนไข้ที่เป็นโรค hyperparathyroidism อาจมาพบแพทย์ด้วย:

 มีอตราเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักสูง
 มีปัญหาเรื่องทางเดินปัสสาวะอักเสบ จากการมีน้ำนิ้วอุดตันทางเดินปัสสาวะ
 กระเพาะเป็นแผล
 ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)
 เก้าเทียม (pseudogout)

ในรายที่ได้รับการผ่าตัดเอา ต่อมพาราไทรอยด์ออก
อาจนำไปสู่ภาวะที่มีรับ calcium ในกระแสเลือดต่ำ
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก มือเกร็ง..
ซึ่งควรได้รับการรักษาทันที

Prevention
การไดรับสาร calcium ทางอาหาร หรืออาหารเสริมให้ได้ปริมาณเพียงพอ
สามารถลดการเกิด ภาวะ Secondary hyperparathyroidism ลงได้


http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/parathyroiddisorders.html

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

FOOD ALLERGY: Diagnosing & Treatment 2
Diagnosing a Food Allergy
เมื่อท่านสงสัยว่า ลูกหลานของท่านมีภูมิแพ้จากสารอาหาร
ท่านต้องติดต่อหมอทันที
และในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้จากสารอาหาร แพทย์เขามักจะถาม:

อาการของเด็กที่เกิดขึ้น เกิดบ่อยแค่ใด
กินอาหารชนิดใด จึงเกิดอาการ
ในครอบครัว มีคนใดเป็นโรคภูมิแพ้ต่ออาหาร (ชนิดใด)
หรือมีใครในครอบครัวเป็นแพ้อย่างอื่น (eczema หรือ asthma)

แพทย์จะมองหาโรคอย่างอื่น ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ
ยกตัวอย่าง เด็กเกิดท้องล่วง เมื่อดื่มนม
แพทย์จะมองหาข้อมูล ที่สนับสนุนว่า เด็กเกิดภาวะที่ไม่สามารถกินนมได้ (lactose intolerance)
มากว่า ที่จะเป็น โรคภูมิแพ้จากสารอาหาร (food allergy)
โรค Celiac disease- เป็นโรคที่คนเราไม่สามารถทนต่อ “Gluten”
ซึ่งเป็นโปรตีน ที่พบในข้าวสาลี (wheat) หรืออาหารประเภทเมล็ดบางชนิด
โดยที่คนไข้ดังกล่าว จะมีอาการเลียนแบบ โรคภูมิแพ้จากสารอาหารได้


วิธีการตรวจที่กระทำได้ง่ายที่สุด คือ เอาน้ำที่สกัดจากสารอาหาร ที่เป็นตัวก่อให้เกิดภิแพ้
หยดบนแขน จากนั้นใช้ปลายเข็มกรีดเบา ๆ ที่ผิวหนังให้เป้นรอย เพื่อให้สารสามารถซึมผ่าน
ผิวหนังได้ ประมาณ 15 นาที ถ้ามีปฏิกิริยา (ผิวหนัง บวมแดง) เกิดขึ้น
แสดงว่า เด็กแพ้สารอาหารที่ใช้ทำการทดลอง
สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางอาหาร สามารถทำการตรวจพิเศษ ตรวจหา IgE antibodies
ที่เฉพาะสำหรับอาหารชนิดนั้น ๆ ได้

ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจให้ทราบได้ว่า สารอาหารชนิดใดก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้
ผู้เชี่ยงชาญ (specialist) อาจให้ลองกินอาหารที่สสัยดู...
โดยให้กินอาหารนั้น ในขนาดน้อย ๆ และกระทำให้คลินิกของแพทย์
ซึงจะต้องมีการสังเกตดูอาการโดยแพทย์ผู้ทำการทดลงเท่านั้น...

Treating a Food Allergy
ภายหลังจากทราบว่า เด็กเป็นดรคภูมิแพ้ชนดใดแล้ว
และเนื่องจาก ไม่มียานำมารักษาโรคให้หายขาดได้
การรักษา มีทางเดียวเท่านั้น คือหลีกเลี่ยงสารอาหาร
ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้เท่านั้นเอง

เป็นหนาที่ของท่านจะต้องทำความเข้าใจกับอาหารที่แพ้ (allergens)
และหลีกเลี่ยงมัน

แม้ว่า เราไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ การรักษาด้วยยาสามารถใช้
รักษาอาการที่ไม่รุนแรง ถึงรายที่มีอาการรุนแรงได้
ด่วยการใช้ antihistamines ซึ่งสามารถรักษาอาการื ลมพิษ น้ำมูกไหล
หรืออาการปวดท้อง ร่วมกับอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมแพ้

ในกรณีที่เด็กของท่านมีอาการอาหารใจลำบาก หายใจเสียดัง หรือมีโรคหืดเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผลจากโรคภูมิแพ้จากอาหาร แพทย์จะให้ยาที่ทำหน้าที่ขยายหลอดลอม (bronchodilators)
เช่น albuterol พ่นเข้าปอดทันที สามารถบรรเทาอาการหายไม่ออกได้

ข้อควรจำ: ถ้าบังเอิญลูหลานของท่าน เป็นโรคภูมิแพ้ แฃะเกิดอาการหืดหอบ
ขึ้น เด็กอาจจำเป็นต้องได้รับยา epinephrine
และที่สำคัญ...ถ้าอาการนั้น เป็นพวก anphylaxis
ท่านต้องพาไปพบแพทย์ในแผนกฉุกเฉินอย่างรีบด่วน

ยาประเภท epinephrine มักจะถูกนำมาใช้รักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้
ที่มีอาการรุนแรง หรืเกิด anaphylaxis
ในกรณีที่เกิดของท่าน เป็นโรคภูมแพ้จากอาหาร ชนิดรุนแรง
แพทย์อาจแนะนำให้ท่านมียา ที่สามารถฉีดได้เอง (autinjections)
ท่านสามารถฉีดยาได้ทันที เมื่อมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต
ซึ่งหมายความ ท่านจะต้องมียา epinephrine เก้บไว้ในบ้าน หรือ
ที่โรงเรียน เมื่อเด็กเกิดอาการ สามารถใช้ยาได้ทันที
อาการ และอาการแสดง ที่บ่งบอกว่า คนไข้เกิดอาการของ anahylaxis
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีด epinephrine ได้แก่:

- Hoarseness
- Sensation of tightness in the throat
- Difficulty breathing
- Any symptoms from two or more of the body systems,
เช่น เป็นลมพิษ (Hives) ปวดท้อง (abdominal pain)

เมื่อเด็กได้รับ epinephrine แล้ว ท่านจะต้องนำเด็กไป หรือ ผู้ป่วยไปโรงยาบาลทันที
เพื่อรับการรักษาเพิ่ม...อย่างน้อย ๆ เด็กจะได้รับการดูแล สังเกตอาการอีกอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
เพราะมีเด็กบางราย มักจะมีอาการเกิดขึ้น เป็นครั้งที่สองได้ (biphasic reaction)


http://kiealth.org/parent/medical/allergies/food_allergies.html?tracking=P_RelatedArticle#

FOOD ALLERGY: 1

ภายหลังเด็กเล็กรับประทานอาหารเที่ยง...
พี่เลี้ยงเด็ก สังเกตเห็นเด็กพยายามใช้มือเกาที่บริเวณปาก
จากนั้นไม่นาน เด็กอาเจียนเอาอาหารออกหมด
พร้อมกับมีอาการหายใจลำบาก มีเสียดัง (wheeze)
ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้รับการวินิจฉัยว่า เด็กเกิดเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร
จาก “ถั่ว” ที่เด็กกินเข้าไปในตอนเที่ยงวัน นั่นเอง

นอกเหนือจากถั่วแล้ว โรคภูมิแพ้จากอาหาร สามารถเกิดจากอาหารประเภทอื่น ๆ
เช่น นม (milk) ไข่ (egg) หอย (shelfish) และถั่ว (peanuts)

การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า เด็กมีปฏิกิริยาภูมิแพ้จากอาหารชนิดใด
สามารถช่วยทำให้เด็กของท่าน ได้รับการรักษาเมื่อถึงคราวจำเป็น
หากเด็กได้รับการวินิจฉัยมาก่อนว่า เด็กของท่าน แพ้อาหารชนิดใด
ถือว่าเป็นความจำเป็น ที่ท่านจะต้องรู้:

-เป็นปัญหาเกี่ยวกับการเตรียมอาหารให้เด็กเล็ก
หลีกเลี่ยงจากการใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่เด็กแพ้
-เรียนรู้ปฏิกิริยาภูมิแพ้ ที่เกิดจากอาหาร

About Food Allergies
เมื่อเด็กมีประวัติภูมิแพ้ต่ออาหาร ร่างกายของเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ
สารอาหารที่เป็นอันตราย

ระบบภูมิต้านทาน (ซึ่งปกติ มันจะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และโรค)ด้วยการ
สร้างภูมิต้านทาน (antibody) เพื่อทำหน้าที่ต่อสู้กับอาหารที่เป็นตัวก่อให้เกิดภูมิแพ้
(อาหารที่เด็กกินเข้าไปนั้น จะทำหน้าที่เป็น allergen)

ในครั้งต่อไป เมื่อคนเรามาสัมผัสกับอาหารนั้นอีก เช่น “สัมผัส” ถูก
หรือ “กิน” หรือ “หายใจ” เอาสารนั้นเข้าสู่ร่างกาย
ร่างกายจะปล่อยสารเคมีออกมาหลายตัว รวมทั้งสารตัวหนึ่ง
ชื่อ “histamine”

สารเคมีเหล่านี้ จะกระตุ้นให้เกิดมีปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดขึ้น ซึ่งสามารถกระ
ทบต่อทางเดินลมหายใจ กระเพาะ และลำไส้ ผิวหนัง หรือ ระบบเส้นเลือด และหัวใจ
ซึ่งอาการเหล่านั้น ได้แก่ น้ำมูกไหล มีอาการเสียวที่ลิ้น ริมฝีปาก คอ
มีอาการปวดท้อง หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงดัง

หลายคนเกิดความสับสนระหว่าง food allergy และ Food intolerance
เพราะอาการของทั้งสองภาวะ จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน

อาการของ Food intolerance สามารถทำให้เกิดอาการแสบท้อง (burning)
อาหารไม่ย่อย (indigestion) มีลมในท้อง (gas)
ถ่ายเหลว (loose stools) ปวดศีรษะ (headache) เครียด
Food intolerance เป็นอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้าทานเลย
มันเกิดขึ้นจากการที่คน ๆ นั้นไม่สามารถที่ย่อยอาหารบางชนิด
เช่น lactose

จากสถิติในสหรัฐฯ (FDA) มีเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เป็นโรคภูมิแพ้จากอาหาร
เป็นโรคภูมิแพ้ ที่ไม่ค่อยจะพบในผู้ใหญ่
โดยรวมแล้ว พบว่า มีประชาชนชาวอเมริกัน
เป็นโรคภูมิแพ้จากอาหาร 11 ล้านคน

Common Food Allergens
ในเด็กเล็ก สามารถเกิดโรคภูมิแพ้จากสารอาหาร 8 อย่าง ต่อไปนี้ถึง 90 %
ซึ่งได้แก่:
1. milk
2. eggs
3. peanuts
4. soy
5. wheat
6. tree nuts (such as walnuts and cashews)
7. fish
8. shellfish (such as shrimp)

โดยทั่วไป เด็กส่วนใหญ่ที่แพ้อาหารพวกนี้ เมื่อโตขึ้น โรคภูมิแพ้อาหารจะหายไป
สำหรับเด็กที่แพ้นม...ประมาณ 80 % เมื่อเด็กโตขึ้น อาการจะหายไป
สำหรับเด็กที่แพ้ “ไข่” เมื่อเด็กโตขึ้น อาการจะหายไปประมาณ สองในสาม
ในรายที่แพ้อาหารพวกถั่วเหลือง (soy products) หรือพวก wheat
อาการจะหายไปเมือเด็กโตขึ้นถึง 5 ขวบ

ส่วนอาการอย่างอื่น เช่น พวกถั่ว (peanuts) พบได้ประมาณ 20 % เท่านั้น
ที่หายจากการแพ้ ส่วนพวก tree nut....เมื่อเด็กโตขึ้น จะหายไปเพียง 10 % เท่านั้น

สำหรับพวกหอย และปลา ปรากฏว่า เด็กจะเกิดภูมิแพ้พวกนี้ในระยะหลัง
และยากต่อการที่จะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น

Food Allergy Reactions
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่ออาหาร มีความแตกต่างกันในแต่ละคน
บางรายเป็นน้อย มีเพียงอวัยวะบางส่วนที่มีอาการเท่านั้น
เช่น มีลมพิษปรากฏบนผิวหนัง ส่วนอีกราย ปรากฏว่ามีอาการมากกว่านั้น
ปฏิกิริยาที่เกิด อาจใช้เวลา ไม่กี่นาที ถึงหลายชั่วโมง หลังการสัมผัสกับอาหารเหล่านั้น

ปฏิกิริยาภูมิแพ้จากสารอาหาร
สามารถเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้:

1. skin: ผื่นบนผิวหนัง ผิวหนังนูน แดง และ คัน, มีอาการบวมแดง คัน
ที่บริเวณหน้า และขา
2. gastrointestinal tract: ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือ ท้องล่วง
3. respiratory tract: น้ำมูกไหล จาม ไอ หายใจมีเสียง (wheeze) หายใจลำบาก
4. cardiovascular system: มีอาการวิงเวียน หรือเป็นลม

ในรายที่มีปฏิกิริยาที่มีความรุนแรง มีชื่อเรียกว่า anaphylaxis
เป็นปรากฏการณ์ ที่สามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้
รายที่มีอาการบวมที่บริเวณทางเดินลมหายใจ ทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตลดลง
หมดความรู้สึก บางราย ถึงกับตายได้

Continue (2) Food Allergy: Diagnsosing a food Allergy 2

ANTIBIOTIC OVERUSE: อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

จงฟัง...

นั่นคือเสียงของอาจารย์ผู้เฒ่า...
ผู้มีความเอื้ออาทร และมีห่วงใยต่อเหล่าศิษย์
ต้องการให้ลูกศิษย์ที่กำลังจะออกไปช่วยเหลือประชาชนว่า...
“ก่อนจะใช้อาวุธ (ยารักษา) ต้องพิจารณาให้รอบครอบทุกครั้ง
อย่าให้เกิดเป็นอันตรายต่อคนไข้เป็นอันขาด...”

ทุก ๆ ปี เราต้องยอมรับว่า เราทุกคนจะเผชิญกับความเจ็บไข้ ได้ป่วย กันทุกคน
เช่น เป็นหวัด (colds) เจ็บคอ (sore throat) และ อักเสบจาเชื้อไวรัส (viruses)
ในกรณีของเด็ก เมื่อท่านพาลูกหลานไปพบแพทย์ด้วยความเจ็บป่วย
ส่วนใหญ่ ต่างคาดหวังว่า จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotics) จากแพทย์ ?

แต่มีบางราย...จะรู้สึกแปลกใจ หรือบางทีอาจโกรธ คุณหมอเอาก็ได้
ถ้าหากไปเจอแพทย์ ที่ให้แต่คำแนะนำ ไม่ให้ยาใด ๆ แก่เด็กเลย
นั่นคือความเป็นจริง ที่ผู้เป็นพ่อแม่ของเด็กจะต้องรับทราบเอาไว้
อะไรเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก แพทยจ์เขาจะทำเช่นนั้น โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเลย

How Antibiotics Work
ยาปฏิชีวนะ ถูกนำมาใช้รักษาคนป่วยตั้งแต่ปี 1940s
ซึ่งเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของวงการแพทย์
แต่ผลของการใช้ยาเกินความจำเป็น เป็นเหตุให้เชื้อโรคต้านยาที่ใช้รักษา
ทำให้ยา ที่เคยใช้ได้ผลในการทำลายเชื้อแบกทีเรีย ไมได้ผลเหมือนเคย

นอกเหนือจากนั้น เด็กที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งไม่จำเป็นต่อการรักษา
ยังไปเพิ่มอันตรายให้แก่เด็ก เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้
เช่น เกิดอาการทางกระเพาะอาหาร และ ท้องล่วง

เมื่อเราเข้าใจว่า ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ทำงานอย่างไร
สามารถช่วยทำให้เราได้ทราบว่า เชื้อโรค (germs) เช่น แบกทีเรีย (bacteria)
และ ไวรัส (viruses) มันทำให้เราเกิดความไม่สบายได้อย่างไร

 Bacteria. เป็นสิ่งมีชีวิต พบได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง
โดยที่มันไม่เป็นอันตรายใด ๆ บางชนิดอาจเป็นประโยชน์
เช่น Lactobacillus ที่อาศัยภายในลำไส้ มีหน้าที่ช่วยยอ่ยอาหาร
ส่วนแบกทีเรียบางอย่าง เมื่อเข้าสุู่ร่างกาย มันจะแบ่งตัว ขยายพันธุ์
และมีผลกระทบต่อกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย

ยาปฏิชีวนะนะ จะทำหน้าที่ทำลาย (ฆ่า)เชื้อแบกทีเรีย
โดยไม่ให้มันแบ่งตัว ขยายพันธุ์ ไม่ให้มันเจริญเติบโตขึ้น

 ไวรัส (Viruses): บางท่านเรียกว่า มันไม่ใช้สิ่งที่มีชีวิตหรอก?
ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองหรอก
มันเป็นอนุภาค ซึ่งมีสารพันธุกรรม ถูกห่อด้วยสารโปรตีน (protein coat)
มันจะนิ่งสงบเหมือน “แดรกคิวล่า” ที่นอนในโลง...
พอมันเข้าสู่ร่างกายของคน และอยู่ในเซลล์ของคนเราได้เมื่อใด จะมันจะมีชีวิต
มีการเจริญเติบโต และมีการแบ่งตัวทันที
ดูไปแล้ว เหมือนผี (แดรกคิวล่า) ทุกประการ

ไวรัสบางตัว จะถูกระบบภูมิต้านทานของเราทำลาย (ฆ่า) ก่อนที่มันจะก่อให้เกิดโรคขึ้น
ส่วนรายอื่น ๆ เช่น เชื้อหวัด มันจะแบ่งตัว ขยายตัว พัฒนาไปตามวิถีของมัน...
ขอให้ทราบไว้ด้วยว่า เชื้อไวรัส ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ อ

Why It's Harmful to Overuse Them
การใช้ยาปฏิชีวนะ รักษาโรคหวัด หรืออักเสบจากเชื้อไวรัสอื่น ๆ
จะไม่เป็นประโยชน์... แต่มันจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง (side effects)
หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคดังกล่าว เมื่อเวลาผ่านไป นานเข้า
จะเป็นเหตุให้เชื้อแบกทีเรียสร้างความต้าทานต่อยา....
ยากแก่การรักษา เราเรียกว่า ภาวะนี้ว่า “bacterial resistance”

เมื่อเชื้อโรคสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะ
แพทย์ต้องใช้ยาที่มีขนาดสูง หรือเปลี่ยนยาตัวใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก
นั่นเป็นผลจาก การใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง

การที่เชื้อแบกทีเรีย สามารถต่อต้านยาชีวนะได้นั้น
จัดเป็นปัญหาสำคัญ ที่แพร่กระจายไปทั่วทุกส่วนของโลก
โดยมีผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง ทำให้ยากแก่การรักษาในภายหลัง

Taking Antibiotics Safely

เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้เชื้อเกิดการต่อต้านยา..
สิ่งที่ท่านควรจะต้องทำ:

 Treat only bacterial infections.
สิ่งท่านต้องรู้ คือ จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษาเชื้อแบกทีเรียเท่านั้น
ปล่อยให้โรคที่ไม่มีความรุนแรง ดำเนินไปตามทิศทางของมัน โดย
ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ...ถือว่า เป็นการหลีกเลี่ยง ไม่ให้เชื้อแบกทีเรีย
สร้าง ความต้านต่อยาได้ และสิ่งที่ควรกระทำ คือ รักษาแต่เพียงอาการเท่านั้น

ในการรักษาเด็ก สิ่งที่ท่านในฐานะพ่อแม่ จะต้องทำ คือ การสื่อสารกับแพทย์
เรื่องการรักษาอาการของเด็ก เช่น ยาลดอาการน้ำมูกไหล โดยไม่ต้องมียา
ปฏิชีวะนะเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในการใช้ปฏิชีวนะ จะต้องใช้ให้เหมาะสม
จะได้ผล เมื่อใช้ฆ่าเชื้อแบกทีเรียเท่านั้น ซึ่งท่านจะต้องปฏิบัติตามแพทย์สั่ง
ให้ครบตามที่แพทย์แนะนำ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
อย่าหยุดยาเองเป็นอันขาด

ข้อสำคัญ อย่าเก็บยาปฏิชีวนะไว้ในบ้าน ให้เด็กหยิบกินได้ง่าย
อย่าใช้ยาของคนอื่น เพราะขนาดของยาที่ให้เด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
หากเด็กของท่าน จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวินะ จะต้องแน่ใจว่า
ได้รับยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง

อย่าเก็บยาปฏิชีวนะไว้เพื่อคราวหน้าเป็นอันขาด
เมื่อเด็กของท่านได้รับยาจนครบแล้ว ให้กำจัดส่วนที่เหลือทิ้งทันที

เพื่อป้องกันไม่ให้ชื้อแบกทีเรีย เกิดการต่อต้านยา
สิ่งท่านควรกระทำ คือ ให้เด็กทำความสะอาดมือ ให้เด็กได้รับวัคซีน
และให้งดไปโรงเรียน เมื่อเด็กเกิดไม่สบายขึ้นมา

แพทย์ทั้งหลาย ต่างรู้ และระวังเรื่องเชื้อแบกทีเรีย
ซึ่ง มันสามารถสร้างความต่อต้านชีวนะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อควรจำ เมื่อจะใช้ยาปฏิชีวนะ
ท่านต้องใช้อย่างเหมาะสมเท่านั้น อย่าใช้โดยไม่มี "ข้อชี้บ่ง"เป็นอันขาด

http://kidshealth.org/parent/h1n1_center/h1n1_center_treatment/antibiotic_overuse.html?tracking=P_RelatedArticle#

COPD: Tests and Dianosis 2




เมื่อท่านมีอาการของโรค COPD และมีประวัติสัมผัสถูกสิ่งละคายปอด   เช่น บุหรี่ 
ท่านอาจได้รับการตรวจต่อไปนี้:

เป็นการตรวจด้วยภาพ (Imaging tests)

 Chest X-rays.
จากการตรวจเอกซเรย์ปอด สามารถแสดงให้เห็นภาพของโรค COPD ได้
ที่สำคัญ สามารถตรวจพบความผิดปกติอย่างอื่นได้
เช่น มะเร็ง หรือ โรคหัวใจ

 Computerized tomography (CT) จะมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า
โรค COPD รายใด ควรได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ (Lab tests):

 Arterial blood gas analysis.
เป็นการตรวจสอบดูประสิทธิภาพการทำงานของปอดว่า สามารถรับออกซิเจน
และขับ คาร์บอนได ออกไซด์ ออกได้ดีแค่ใด

 Sputum examination.
เป็นการตรวจเสมหะ เพื่อประเมินปัญหาของปอด และช่วยแยกโรค “มะเร็ง”
ตลอดรวมถึงเชื้อโรค ที่เป็นตัวก่อให้เกิดอักเสบ ก่อนที่จะให้การรักษาต่อไป

Pulmonary function tests:









การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด ( Pulmonary function test):






 Spirometry


เป็นการตรวจการทำงานของปอด ทีทำกันบ่อย
ซึ่ง มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยโรค COPD
และ ระยะต่าง ๆ (stage) ของโรคดังกล่าว

ในระหว่างการตรวจ ให้คนไข้เป่าลมเข้าทางท่อ ที่ติดต่อกับเครื่อง spirometer.
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว สามารถวัดปริมาณของอากาศ ที่ปอดของเขาสามารถเก็บเอาไว้ได้
ตลอดวัดรวมถึงความเร็ว ที่เขาสามารถเป่าลมออกจากปอด




เครื่องมือ spirometer สามารถนำมาใช้ตรวจโรค COPD ก่อนที่เขาจะมีอาการ
ใช้ตรวจดูทิศทางการพัฒนาของโรค และ...
ตรวจดูว่า การรักษาที่คนไข้ได้รับ ได้ผลดีหรือไม่ ?

Treatments and drugs

เราไม่มีวิธีการรักษาโรคหลอดลมอุดตันเรื้องรัง (COPD) ให้หายขาดได้
และเราไม่สามารถยับยั้งปอด ไม่ให้ถูกทำลายลงได้
แต่การรักษา COPD สามารถ สามารถรักษาอาการของโรคได้ ลดอัตราเสี่ยง
ต่อภาวะแทรกซ้อน และ ไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นมา

Stop smoking มีขั้นตอนสำคัญของการรักษา คือ การหยุดสูบบุหรี่
ซึ่งเป็นหนทางเดียว ที่สามารถยับยั้งไม่ให้โรคเลวลงได้ แต่เป็นเรื่อง
ที่ไม่ใช้ว่า ง่ายเท่าใดนัก...

ยารักษา (Medications):

มียาหลาขนานถูกนำมาในการรักษาอาการ และภาวะแทรกซ้อนของ
โรคหลอดลมอุดตันเรื่อรัง เช่น:

 Bronchodilators.

ส่วนใหญ่ ยาประเภทนี้จะให้ทางพ่นเข้าหลอดลม
ทำให้กล้ามเนื้อรอบหลอดลมคลายตัวลง สามารลดอาการไอ หายใจง่ายขึ้น

 Inhaled steroids เป็นยาพ่นเข้าหลอดลม สามารถลดการอักเสบของทางเดิน
หายใจ ทำให้การหายใจง่ายขึ้น แต่หากใช้ในระยะยาว สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง
เช่น กระดูกบางลง และมีโอกาสทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ก่อให้เกิดต้อกระจก
 และเป็นเบาหวาน   ยาประเภทนี้ เราสงวนไว้ใช้ในรายที่มีอาการมากพอประมาณ

 Antibiotics ยาปฏิชีวนะ จะถูกนำมาใช้ในการรักษาการอักเสบติดเชื้อ
ในกรณีที่มีการอักเสบของทางเดินลมหายใจ สามารถทำให้อาการของโรคเลวลงได่

Therapy:

 Oxygen therapy.
ในรายที่พบว่า คนไขไม่ได้รับออกวิเจนเพียงพอ แพทย์จะ
ให้ออกซิเจนชดเชย

 Pulmonary rehabilitation.
เป็นโปรแกรมร่วม ที่ประกอบด้วย การเรียนรู้โรค การบริหารร่างกาย ตลอดรวมถึงการกินอาหารสุขภาพ
ซึ่งท่านจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น นักกายภาพบำบัด นักบำบัดทางด้านการหายใจ นักโภชนาการ

Surgery
การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม เป็นทางเลือก ที่นำมาใช้ในรายที่เป็นโรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง (COPD)
ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วย ยาแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีกรรมวิธีดังนี้;

 Lung volume reduction surgery.
เป็นการผาตัด ตัด (resection) เอาปอดส่วนที่เสียออกทิ้ง เป็นการตัดเอาส่วนที่ไม่ดี
และขัดขวางการขยายตัวของเนื้อปอด ทำให้ปอด และกระบังลมทำงาน และขยายตัวได้ดีขึ้น

 Lung transplantation.
เป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายปอด เป็นวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่ปอดเสียไปมาก
การเปลี่ยนปอดด้วยการปลูกถ่ายปอด ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
แต่การที่จะรอให้มีคนมาบริจาคปอดนั้น...ดูไปแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ?
ประเด็นสำคัญ หากการผ่าตัดได้ผลดี สามารถทำให้ปอดทำงานได้ดีขึ้นจริง
แต่ ไม่สามารถทำให้ชีวิตยืนยาวได้

Coping and support:

การมีชีวิตร่วมกับโรค COPD นับเป็นเรื่องที่กระทำได้ยากมาก
โดยเฉพาะในรายที่หายใจลำบาก (shortness of breath)
มันอาจทำให้ท่านล้มเลิกกิจกรรมบางอย่าง ซึ่งท่านเคยมีความสุขกับการทำเช่นนั้นมาก่อน
สมาชิกในครอบครัว อาจเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
ท่านอาจเจอกับปัญหา ที่ยากขึ้นอีกว่าท่านจะมีชีวิตนานเท่าใด
และท่านจะทำอย่างไร จึงจะทำให้ท่านมีชีวิตยืนยาวขึ้น

Prevention:

โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง COPD ส่วนใหญ่ เราสามารถทราบต้นเหตุ
และทิศทางการป้องกันได้ คนส่วนใหญ่ จะมีส่วนสัมพันธ์กับ การสูบบุหรี่
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรค คือ ไม่สูบบุหรี่ หรือยุติการสูบบุหรี่ซะ...
สำหรับในกรณีที่ต้องทำงานในที่ มีสารละคายต่อทางเดินหายใจ
วิธีที่ดีที่สุด คือ ป้องกันกันด้วยการปิดปากจมูก


<<BACK

http://www.mayoclinic.com/health/copd/DS00916

COPD : Causes, symptoms (1)




โรคทางเดินลมหายใจถูกสะกัดกั้น เรียกทับศัพท์ว่า COPD
(Chronic Obstructive Pulmonary Disease)

เป็นกลุ่มของโรคปอด ซึ่ง ทางเดินของลมหายใจถูกบล็อกในขณะที่มีการหายใจออก จะทำให้การหายลำบาก

สาเหตุหลักของโรค COPD คือโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema)
และหลอดลมอักเสบ




 Credit : http://www.nhlbi.nih.gov/

ในคนไข้ที่เป็นโรค COPD ทุกราย
สุดท้ายทางเดินของลมหายใจจะถูกทำลาย
ซึ่งมีผลกระทบต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์

COPD เป็นสาเหตุนำให้เกิดสุขภาพเสื่อมโทรม และสาเหตุแห่งการเสียชีวิต
คนที่เป็นโรคดังกล่าว เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นเวลายาวนาน  เกิดขึ้นแล้ว...
มันจะอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิต  แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการหยุดสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตาม เนื้อปอดที่ถูกทำลายไปแล้วนั้น ย่อมไม่มีทางฟื้นตัวสู่สภาพปกติได้
ดังนั้น การรักษาโรค COPD จึงมุ่งตรงไปที่ควบคุมอาการ
และป้องกันไม่ให้เนื้อปอดถูกทำลายลงไปอีก...

อาการ (symptoms):

โดยทั่วไป คนไข้ที่เป็นโรค COPD ยังไม่มีอาการ จนกว่า ปอดจะถูกทำลายลงมากพอ
คนไข้ในกลุ่มนี้ มักจะมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการ
ซึ่งเราเรียก exacerbation

อาการ แลอาการแสดงของโรค มีได้แตกต่างกัน ขึ้นกับตัวโรคเป็นประการสำคัญ
คนไข้ส่วนใหญ่ จะมีอาการมากกว่าหนึ่งอาการ:

 Shortness of breath
 Wheezing
 Chest tightness
 Chronic cough

สาเหตุ (Causes)

COPD หมายถึงภาวะการณ์อุดต้นภายในปอด โดยมีสาเหตุมาจาก
หลอดลมอักเสบเรื้อรังจากโรคหืด (asthmatic bronchitis)
และโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema)
ซึ่งคนส่วนใหญ่ จะมีทั้งสองประการ

Chronic asthmatic bronchitis
หลอดลมอักเสบเรื้อรังของโรคหืด ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินลมหายใจ  ทำให้หลอดลมตีบแคบ เป็นเหตุให้คนไข้มีอาการไอ และหายใจลำบากมีเสียงดัง (wheeze)

นอกจากนั้น หลอดลมอักเสบเรื้อรังจากโรคหืด ทำให้มีน้ำเมือก (mucous)มีมากขึ้น
ยิ่งเป็นตัวทำให้การอุดตันของทางเดินลมหายใจเพิ่มมากขึ้น

Emphysema
ถุงลมโป่งพอง มีการทำลายถุงลมที่มีขนาดเล็ก ภายในปอด (alveoli)
ซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะเหมือนพวงองุ่น
เมื่อผิวด้านในของถุงลมถูกทำลาย เป็นเหตุให้การแลกเปลี่ยน Oxygen
และ carbon dioxide ลดลง

นอกจากนั้น ในถุงลมโป่งพองยังทำให้ผนังของถุงลมอ่อนแอ ความยืดหยุ่นหายไป
เมื่อเวลาหายใจออก ลมจะถูกกักไว้ในกลุ่มของถุงลม เพราะมันไม่เปิดให้ลมออกไปได้
เป็นเหตุให้คนไข้ต้องออกแรงเพิ่มขึ้น เพื่อขับดันเอาอาการออก
ทำให้คนไข้หายใจถี่ และสั้น ( shortness of breath )

Cigarette smoke and other irritants:
COPD เกิดจากการละคายเคืองของทางระบบการหายใจ โดย :







 Tobacco smoke
 Dust
 Chemical fumes
 Air pollution





Risk factors
มีปัจจัยเสิ่ยงมากมาย ที่ก่อให้เกิดโรค COPD เช่น:

Exposure to tobacco smoke.
เป็นปัญหาใหญ่ ที่เป็นตัวการทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด COPD คือการสูบบุหรี่เป็นระยะยาวนาน
นอกจากนั้น พวกสูบกัญชา ก็เป็นเหตุให้มีการทำลายถุงลมได้เช่นกัน

Occupational exposure ot dusts and chemicals.
การสูดเอาสารเคมีเข้าปอดบ่อย ๆ เป็นประจำ ก็มีโอกาสให้เกิดการทำลายถุงลมได้

Age อายุเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด COPD ได้ อย่างน้อยจะต้องมีอายุมากกว่า
40 ขึ้นไปก่อนที่จะเริ่มมีอาการ

Genetics มีความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรค COPD ได้
นั้นคือ alpha-1-antitrypsin deficiency

Complications:
ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับโรค COPD ได้แก่:

Respiratory infections.
คนเป็นโรค COPD มีแนวโน้มที่จะเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือปวดอักเสบ
จากการมีโรคทางเดินหายใจอักเสบ มีโอกาสทำให้โรค CO)D มีอาการกำเริบขึ้น (exacerbation)
มีอาการหายใจลำบากมากขึ้น และเนื้อปอดถูกทำลายเพิ่มขึ้น

High blood pressure.
ในคนเป็นโรค COPD อาจทำให้ความดันในเส้นเลือดแดงที่นำเลือดไปยังปอด
(pulmonary hypertension)
ซึ่งไปเพิ่มแรงกดดันให้เกิดขึ้นกับหัวใจด้านขวา เป็นเหตุให้เกิดข้อ และขาบวมได้

Heart problems คนเป็นโรค COPD
ยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (heart attack) Depression.
ทำให้คนไข้ไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการ
 และนำไปสู่ภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้


NEXT  >>   COPD: Tests and Diagnosis

HIVES&ANGIOEDEMA: Test and Diagnosis 2

Tests and diagnosis

ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุของลมพิษ และ angioedema
แพทย์ของท่านอาจทำการตรวจ:

 Puncture, prick or scratch(percutaneous) test.
เป็นการตรวจที่ต้องกระทำก่อนอย่างอื่น โดยหยดเอาสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ที่สะอาด (purified)
ลงบนผิวหนัง จากนั้นก็ทำการขีดผิวหนัด้วยปลายเข็มให้เป็นแผล
เพื่อให้สาร allergen ผ่านผิวหนังได้

การตรวจชนิดนี้ มักจะนำมาใช้ในการตรวจเพื่อหาตัวที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ อาหาร พิษของแมลง และ penicillin

 Inradermal (intracutaneous) test.
ใช้สารที่เป็นตัวก่อให้เกิดภูมิแพ้(allergen) ซึ่งถูกทำให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค (purified)
โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เป็นวิธีการตรวจ เพื่อยืนยันว่า สารชนิดนั้น ๆ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เช่น penicillins หรือพิษของแมลง เป็นต้น

Treatments and drugs

ในการรักษาลมพิษ และ อาการบวม angioedema
หากเป็นน้อย อาการอาจหายได้เอง
แต่การรักษา สามารถช่วยบรรเทาอาการคัน และความรู้สึกที่ไม่สบายต่าง ๆ ลงได้

การรักษามาตรฐานที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ
ได้แก่ antihistamines,
ยา (medications) ใช้ลดอาการบวม และอาการอย่างอื่นจาก histamine

รายที่มีอาการรุนแรง (hive &angioedema)
แพทย์อาจให้ยาในกลุ่ม corticosteroid เช่น prednisone (รับประทาน)
สามารถบรรเทาอาการบวม แดง และอาการคันลงได้

Antihistamines
ยา antihistamine แบ่งเป็นยาเก่า (first-generations)
และยาใหม่ (second- generation medication)
แต่ละกลุ่มสามารถซื้อได้จากร้านขายยา หรือ ได้จากแพทย์เป็นผู้สั่งให้.ฃ

Second-generation, newer antihistamines.
เป็นยาที่ไม่ค่อยจะทำให้เกิดอาการง่วง สามารถทำให้ท่านสามารถทำงานได้โดยไม่ง่วง
ยาในกลุ่มนี้ ( second-generation antihistamines)
คุณสามารถซื้อหาได้ เช่น:

• Loratadine (Claritin, Alavert)
• Cetirizine (Zyrtec)

ยา (second-generation antihistamines) แพทยจะเป็นผู้ส่งจ่าย ได้แก่ :
• Desloratadine (Clarinex)
• Fexofenadine (Allegra)
• Levocetirizine (Xyzal)

First-generation, older antihistamines.
เป็นยาที่มีมานาน เมื่อใช้รักษาอาการแพ้...จะก่อให้เกิดอาการง่วง ออกฤทธิ์ช้า
ก่อให้เกิดอาการปากแห้ง สายตาพล่ามัว ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก
อาจได้ผลดีกว่า ยาในกลุ่ม second-generation โดยเฉพาะรายที่เป็นลมพิษ
และรายที่เป็น angioedema ที่มีความรุนแรง
และอาจใช้ก่อนนอน ซึ่งจะมีประโยชน์ช่วยให้ท่านนอนหลับดีขึ้น

Non-prescription first-generation antihistamines include:

• Diphenhydramine (Benadryl, others)
• Chlorpheniramine (Chlor-Trimeton, others)
Prescription first-generation antihistamines include:
• Hydroxyzine (Vistaril)

Treatment for hereditary angioedema
แม้ว่า ยา antihistamine และ corticosteroids มีประโยชน์ต่อการรักษาใน
คนไข้ ที่มีอาการลมพิษ (hive) และ angioedema
แต่จะไม่ได้ผลดีกับคนไขที่เป็น Hereditary angioedema

ยาที่นำมาใช้รักษา ในรายที่เป็น hereditary angioedema
จะเป็นยาที่ใช้รักษา ในระยะยาว ได้แก่ยาที่เป็นสาร androgens
ซึ่งเป็นฮอร์โมนของเพศชาย (male hormone)
เช่น danazol ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมระดับของ proteins ได้

สารที่ได้รับการรับรองโดย FDA โดยทำปฏิกิริยากับสารโปรตีนในเลือด
ซึงมีส่วนทำให้เกิด hereditary angioedema ได้แก่:

 Cinryze and Berinert. เป็นยาสองตัว ได้จากเลือดผู้บริจาค โดยยาทั้งสอง
มีสารที่เป็น C1 esterase inhibitor
Cinryze ใช้ป้องกันไมให้เกิด hereditary angioedema ในผู้ใหญ่ และเด็กโต
ส่วน Berinert ใช้รักษารายทีเกิด acutehereditary angioedema

 Ecallantide (kalbetor). เป็นโปรตีน ที่ได้จากเชื้อ yeast
มันจะทำหน้าที่สกัดฤทธิ์ของโปรตีน ที่ทำให้เกิดโรคด้วยสาร ที่ มีชื่อว่า Kallikrein
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิด hereditary angioedema ในเด็กโต และผู้ใหญ่

Emergency situations
ภายใต้ภาวะฉุกเฉิน คนไข้เกิดลมพิษ (hives) และ andioedema
จะต้องได้รับการรักษาในหน่วยฉุกเฉิน (emergency room)
ด้วยการฉีดยา Adrenaline (epinephrine)

Prevention

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด ลมพิษ (hive) และ angioedema
ที่ควรระวัง คือ:

 Avoid known triggers. เราจะต้องหลีกเลี่ยงต่อสิ่งต่อไปนี้ คือ
อาหาร ยา และสภาพการบางอย่าง เช่น อุณหภูมิ
เพระสิ่งเหล่านี้ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการภูมแพ้ (allergic reactions)

 Keep diary. Keep a diary. ควรบันทึกรายชื่ออาหารที่สงสัยว่า
เป็นตัวทำให้เกิดอาการ ตลอดรวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบ ที่ทำให้เกิดแพ้ได้

http://www.mayoclinic.com/health/hives-and-angioedema/DS00313/DSECTION=prevention

HIVES & ANGIOEDEMA 1

Definition
Hives อีกชื่อหนึ่งเรียก urticaria
เราคนไทยเราเรียกว่า “ลมพิษ” เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ของผิวหนัง
ซึ่งมีลักษณะของผิวหนังนูน แดง และคัน
มีขนาดเป็นจุด ถึง ผื่นขนาดใหญ่มีเส้นผ่ากลางหลายนิ้ว

Angioedema เป็นลมพิษ ซึ่งมีอาการบวมลงไปยังชั้นลึกของใต้ผิวหนัง
ส่วนใหญ่อาการบวมจะเกิดขึ้นที่บริเวณรอบลูกตา และ ริมฝีปาก

ส่วนใหญ่ ลมพิษ (hives & angioedema) จะไม่มีอย่างอื่น
และไม่เหลือร่องรอย...แม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาเลย
การรักษาส่วนใหญ่ คือ antihistamine เท่านั้น
แต่ ในรายที่มีอาการบวม เกิดขึ้นที่บริเวณลิ้นและคอ (throat)
อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินลมหายใจ
และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

Symptoms
อาการของลมพิษ ประกอบด้วย:
 อาการลมพิษ ปรากฏมีผิวหนัง เป็นผื่นสีแดง นูนขึ้นมา
มีลักษณะเป็นแถบ หรือเป็นปื้นบนผิวหนัง ขอบไม่เรียบ มีขนาดแตกต่างกัน

 ลมพิษ ที่เป็นรอยนูนเป็นปื้น เป็นแถบเมื่อจางหายไป
ก็มีผื่นใหม่เกิดขึ้น มีลักษณะเหมือนกับมันเดินได้

 มีอาการคัน ซึ่งบางรายอาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้

 บางราย อาจมีอาการปวดแสบร้อน หรือเสียวส้านในบริเวณที่เกิดลมพิษได้

ลมพิษอาจเป็นชนิดเฉียบพลัน หรือ ป็นชนิดเรื้อรัง
ลมพิษ ชนิดเฉียบพลัน อาจเป็นนานตั้งแต่หนึ่งวัน ถึงหลายอาทิตย์
ส่วนชนิดเรื้อรัง มีลมพิษ เป็นนานมากกว่า หกอาทิตย์ขึ้นไป
บางรายอาจ เป็นนานเป็นเดือน หรือ เป็นปีได้

Angioedema
Angioedema เป็นปฏิกิริยา ซึ่งเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นมา
โดยมีลักษณะบวม ปรากฏรอบตา แก้ม ริมฝีปาก
และมีมีอาการปวดเกิดขึ้นที่บริเวณ มือ เท้า อวัยวะเพศร่วมด้วย
หรือบวมภายในคอ (throat) และภายในลำไส้

Hives (ลมพิษ) อาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับ angioedema
หรือเกิดแยกกัน

ลักษณะอาการของ angioedema ได้แก่:

 รอยผื่นที่ปรากฏบนผิวหนัง มีขนาดใหญ่ ผิวหนังที่บวมจะหนา และแข็ง
 ผิวหนังบวม
 บริเวณบนผิวหนัง จะมีอาการเจ็บปวด
 ในรายที่รุนแรง อาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก หรือกลืนลำบาก

Heredity angioedema เป็นภาวะที่มีความรุนแรง ซึ่งสามารถถ่ายอดทางพันธุกรรม
แต่พบได้น้อย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยมีอาการบวม ทีบริเวณใบหน้า ต้นแขน ขา มือ เท้า อวัยวะเพศ
กระเพาะลำไส้ และทางเดินของลำหายใจ

อาการ และอาการแสดงของ Hereditary angioedema ได้แก่:

 อาการบวมที่บริเวณใบหน้า ต้นแขน ขา มือ เท้า อวัยวะเพศ
ทางเดินของอาหาร และลมหายใจ
 อาการปวดท้องแบบกล้ามเนื้อปั้น (cramp) สาเหตุจากกระเพาะลำไส้บวม
 หายใจลำบาก จากทางเดินลมหายใจบวม ละเกิดการอุดตัน

คนไข้ที่เป็น Hereditary angioedema มักจะไม่มีอาการของลมพิษ

Causes
Hives และ Angioedema เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง
โดยเป็นผลจาก มีการกระตุ้นเซลล์บางชนิด (mast cells)
ให้หลั่งสาร histamine และสารเคมีบางอย่างออกสู่กระแสเลือด
บางครั้ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ (hive)
และ angioedema โดยเฉพาะในรายที่เกิดมาเป็นเวลานาน (เรื้อรัง)
หรือในรายที่เกิดซ้ำขึ้นอีก (recur)
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดได้บ่อย
ซึ่งกระตุ้นให้เกิดลมพิษ และ angioedema ได้อย่างเฉียบพลัน

สารที่ก่อ ให้เกิดภูมแพ้ ได้แก่:

 Foods. มีอาหารหลายชนิด สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในคน
ที่มีความไวต่อ หอย (shellfish) ปลา (fish) ถั่ว (peanuts)
ไข่ (eggs) และ นม (milk)
 Medications. ยาเกือบทุกตัว สามารถทำให้เกิดลมพิษ และทำให้เกิด
Angioedema ได้ทั้งนั้น
ยาที่มักจะทำให้เกิดลมพิษ...ได้แก่ penicillin, aspirin, ibuprofen,
Naproxen และยาที่นมาใช้ลดความดันโลหิตสูง
 Other allergens. สารกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ
ได้แก่เกสรดอกไม้ (pollen) ขนสัตว์ ยางของต้นไม้ (latex) และถูกแมลงกัดต่อย

Additional triggers include:
ตัวกระตุ้นอย่างอื่น ที่สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมแพ้ได เช่น

 Environmental factors. สภาพแวดล้อม อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการ
 หลั่งสาร histamine ออกมาได้ เช่น ความร้อน (heat) ความเย็น (cold)
 แสงแดด (sunlight) น้ำ (water) แรงกดบนผิวหนัง
 อารมณ์เครียด (emotional stress) และการออกกำลังกาย
 Dermatographia (dermographia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อมีการขีดข่วน
บนผิวหนัง แล้วก่อให้เกิดผิวหนังเป็นรอยแดงนูน ตามแนวที่มีการขีดข่วน

ลมพิษ (hives) และ angioedema บางครั้งเป็นการสนองตอบต่อการให้
เลือด หรือเกิดในโรคภูมิคุ้มกัน เช่น Lupus, มะเร็งบางชนิด
เช่น lymphoma, โรคต่อมไทรอยด์
หรือการอักเสบติดเชื้อแบกทีเรีย หรือจากไวรัส (hepatitis)
Cytomegalovirus หรือ Epstein-Barr virus

Hereditary angioedema เป็นอีกโรคหนึ่ง ซึ่งเป็นผลทางพันธุกรรมบางอย่าง
ที่มีส่วนสัมพันธ์กับ Blood proteins (C1 inhibitors)
ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

Risk factors
โรคลมพิษ (hives) และ Angioedema เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย
และท่านมีโอกาสเพิ่มอัตราเสี่ยงให้เกิดภาวะดังกล่าว ถ้า:

 ถ้าท่านมีประวัติว่า เป็นลมพิษ (hive) หรือ angioedema มาก่อน
 มีประวัติว่าเป็นภูมิแพ้ (allergic reactions) มาก่อน
 มีโรคที่สัมพันธ์กับโรคภุมิแพ้ และ angioedema
 เช่น Lupus, lymphoma และ โรคไทรอยด์
 มีประวัติครอบครัวว่า เป็นลมพิษ (hives) angioedema
 หรือ เป็นโรคทางกรรมพันธ์ hereditary angioedema

Complications
เมื่อเกิดเป็นลมพิษ และ angioedema มักจะก่อให้เกิด:

 Itching
 Discomfort

ในรายที่เป็นมาก ๆ เช่น เมื่อเกิดมีอาการบวมขึ้นภายในปาก หรือภายในลำคอ
สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น:

 Difficulty breathing (หายใจลำบากX)
 Loss of consciousness (หมดความรู้สึก)
 Anaphylactic shock รายที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรง ทำให้เกิด
 มีอาการทางหัวใจ และปอด
 ทำให้หลอดลมตีบตัน ก่อให้เกิดหายใจลำบาก
 ทำให้ความดันโลหิตลดลง ทำให้เกิดอาการวิงเวียน หมดความรู้สึกตัว
หรืออาจตายได้

ในกรณีดังกล่าว จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการ
ดูแลรักษาอย่างรีบด่วน

Cont. 2 HIVES&ANGIOEDEMA: Tests and Diagnosis

ALLERGIC REACTION: Treatment 2

Allergic Reaction Treatment
Self-Care at Home

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น !

ถ้าท่านทราบว่า แพ้ถั่ว...ก็อย่าไปกินมัน
ทุกครั้งที่ท่านออกไปกินข้าวนอกบ้าน ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีถั่ว
นั่นคือตัวอย่าง...

ในการดูแลตนเอง ยังไม่เพียงพอต่อการต่อสู้กับปฏิกิริยาโรคภูมแพ้ได้
จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา:

 อย่าพยายามรักษา หรือ ปล่อยให้มีปฏิกิริยาภูมิแพ้ มีความรุนแรง
ให้ไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
 ถ้าท่านไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้เอง....ให้เรียกหน่วยฉุกเฉินทันที
ในรายที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้ ที่มีอาการเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อ
การรักษาไดโดยไม่ต้องพึ่งยาจากแพทย์

Oral antihistamine:

Loratadine (Claritin or Alavert), Cetirizine(Zyrtec)
และ fexofnadine (Allegra)
ยาในกลุ่มนี้ ไม่ทำให้งาวง สมารถ (กิน) ได้ในระยะยาว

Dephenhydramine (Benadryl) ท่านสามารถใช้แก้อาการภูมิแพ้ได้
แต่เป็นยาที่ทำให้อาการง่วง จะมีผลกระทบต่อการทำงานกับเครื่องมือที่เป็นเครื่่องจักร
อาจมีผลกระทบกับเด็กที่กำลังเรียนหนังสือได้
การใช้ยา ควรใช้ในระยะสั้นเท่านั้น

ในกรณีมีผื่น (rashes) คัน ละคายเคือง
สามารถบรรเทาลงด้วยครีมลดการอักเสบ เช่น hydrocortisone cream

Medical Treatment:

โดยทั่วไป antihistamine เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ภายหลังจากสารก่อให้เกิด
อาการแพ้ (allergens) ถูกกำจัดไปแล้ว
รายที่มีอาการรุนแรง อาจได้รับการรักษาอย่างอื่น
เช่น ให้ออกซิเจน แก่คนไข้ที่หายใจลำบาก
หรือ ให้น้ำเกลือแก่คนไข้ ที่อยู่ในภาวะ anaphylaxis
เพื่อเสริมระดับความดันโลหิต และให้ยาตามที่จำเป็น

Allergic Reaction Medications:

มียาต้านการอักเสบ ถูกนำมาใช้รักษาคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ ต่อสารที่ก่อให้เกิดภุมิตแพ้ต่าง ๆ
เช่น ขี้ฝุ่น ขนสัตว์ และอื่น ๆ
ยาหลายตัวที่ถูกแนะนำ ดังนี้:

 Long-acting antihistamines เช่น cetirizine (Zyrtec),
fexofenadine(Allegra) และ loratadine (Claritin)
เป็นยาที่ลดอาการได้ โดยไม่ทำให้เกิดมีอาการนอนหลับ
เป็นยาที่ใช้กินวันละครั้ง ซึ่งมฤทธิ์อยุู่นาน24 ชั่วโมง

 Nasal corticosteroid sprays
เป็นยาใช้รักษาอาการทางจมูก จากโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะรายที่ไม่ตอบสนองต่อ antihistamine
เป็นยาที่ใช้ได้ผล และปลอดภัย และจะต้องใช้ทุกวัน
ตัวอย่างของยาที่มีมใช้ เช่น Fluticasone (Flonase), mometasone
และ triamcinolone (Nasacort)

สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง ยาต่อไปนี้จะต้องนำมาใช้ทันที เพื่อลดอาการทันที:
 Epinephrine
เป็นยาที่นำมาใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงจริงเท่านั้น
เช่น รายที่เกิด anaphylaxis ใช้ฉีด เพื่อทำให้หลอดลมขยายตั;
ใช้เพื่อทำให้เส้นเลือดหดตัว (constrict blood vessels)
เพื่อเพิ่มความดันโลหิต
การใช้ยาพ่นทางจมูก ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ epinephrine อาจนำมาใช้ได้
เช่น โรคหืด (asthma)

 Antihistamine เช่น diphenhydramine (Benadryl)
ยาตัวนี้ ถูกนำมาใช้ฉีดเข้าเส้น หรือเข้ากล้ามเนื้อ เป็นยาที่สามารถ
ลดผลที่เกิดจาก histamine ได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับยาเม็ด ถกนำมาใช้ในรายทีมีอาการรุนแรงลดลง

 Corticosteroids
เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ลดผลอันเกิดจาก mediators โดยการฉีดเข้าเส้น
เป็นยาที่สามารลดอาการบวม และอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากปฏิกิริยาของโรคภูมิแพ้
หลังจากฉีดยา ท่านอาจต้องกินยา corticosteroid ต่ออีกหลายวัน

สำหรับยาที่เป็นเม็ดสำหรับรับประทาน จะถูกใช้ในรายที่ไม่รุนแรง
เช่น รายที่มีอาการทางผิวหนัง จะมียาในรูปแบบ “ครีม” สำหรับใช้ทา
นอกจากนั้น ยังมียาที่นำมาใช้สำหรับพ่นเข้าจมูก ใช้สำหรับคนที่มีอาการคัดจมูก


 Other medications ยาที่ถูกนำมาใช้ในคนไข้บางราย ที่เป็นโรค
Allegic rhinitis หรือการอักเสบของโพรงจมูก ซึ่งเป็นผลจากโรคภูมิแพ้
ยาที่นำมาใช้ ได้แก่ cromolyn sodium snsal spray.
สามารถป้องกันอาการดังกล่าวได้

 Decongestants สามารถรักษาโรค sinuses
ช่วยลดอาการบวม ของโพรงจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล
ยาที่ใช้จะมีรูปแบบพ่นจมูก (spray) หรือเป็นยาเม็ดรับประทาน
เป็นยาทีมีผลข้างเคียง สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว
และ ทำให้มีอาการตื่นเต้น ดังนั้น จึงควรใช้ในระยะสั้นเท่านั้น

Other Therapy:

 Allergy shots.
จะถูกนำมาใช้รักษาในรายที่มีความรุนแรง มีอาการต่อเนื่องกันตลอด
เป็นการปรับเปลี่ยนการตอบสนองของระบบภูมิต้านทาน ไม่ให้มีปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
เป็นการรักษาด้วยการฉีดสารที่มี antigens ที่มีขนาดสูงกว่า
ที่ก่อให้เกิดอาการเล็กน้อย ซึ่งก่อให้เกิดมีอาการภุมิแพ้ เป็นการฉีดหลาย ๆ ครั้ง
ติดต่อกันตามกำหนด โดยฉีดห่างกันทุก 2 – 4 อาทิตย์ เป็นเวลา 5 ปี
จุดประสงค์ของฉีดสารดังกล่าว เพื่อลดความไว้ (desensitized)
ของคนไข้ที่มีต่อสาร ทีก่อให้เกิดภูมิแพ้ลง และผลที่ได้รับ (effective) มีได้แตกต่างกัน

 Probiotics: ได้มีการพิจารณาเรื่อง probiotics
(ซึ่งเป็น microorganism ซึ่งเชื่อว่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย)
เพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะ atopic dermatitis
ที่เกิดขึ้นในเด็ก แต่ผลจากการศึกษาทาง meta-analysis ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

http://www.emedicinehealth.com/allergic_reaction/article_em.htm