วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

Anemia and Kidney Disease 3

Feb. 21,2013
Continued…

ความจริงที่น่ารู้...เกี่ยวธาตุเหล็ก

ท่านเคยทราบไหมครับว่า...
ตับ (ทุกชนิด), อาหารมีส่วนผสมธาตุเหล็ก,เนื้อวัว, เนื้อหมู,สัตว์ปีก
ต่างมีธาตุเหล็ก ?  อาหารพวกนี้  บางรายไม่เหมาะ
สำหรับคนเป็นโรคไตเลย  ฉะนั้นก่อนที่ท่านจะปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร
ท่านควรปรึกษาแพทย์  หรือนักโภชนากร  น่าจะดี !

มีรายงานว่า  ในคนจำนวน 200 – 300  คน จะมีปัญหาด้านพันธุกรรม
เป็นโรคเรียก hemochromatosis ซึ่งมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายใน
จำนวนสูง  การรักษาคือ การเอาเลือดออกบางส่วน ?

Vitamin C มีฤทธิ์ช่วยดูดซึมธาตูเหล็กได้เพิ่มขึ้น เมื่อท่านใช้พร้อมกัน?

ยาเม็ดธาตุเหล็ก หรือไวตามินทั้งหลายที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก...
เป็นสาเหตุหนึ่งของพิษ  ซึ่งทำลายชีวิตในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ?

ธาตุเหล็กสามารถเพิ่มในอาหารให้รับประทาน
ซึ่งสามารถรับประทานเป็นเม็ด หรือน้ำเชื่อม หรือให้ทางเส้เลือดดำ

ก่อนให้ยา (ธาตุเหล็ก) แก่คนไข้....
พยาบาล หรือแพทย์ควรให้ยาในขนานน้อย (test dose)
เพราะมีบางคน (ประมาณ 1 %) เมื่อได้รับการฉีด...จะเกิดมีปฏิกิริยาต่อยาได้
หากเกิดมีอาการแพ้ขึ้น  เช่น หายใจลำบาก...
การแก้ปัญหากระทำได้ด้วยการให้ epinephrine หรือ corticosteroids
ย่อมสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้


Kidney disease and Anemia : Measuring anemia
Continued…

เกิดมีคำถามจากคนไข้ที่เป็นโรคไต ว่า....
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า  ระดับของเลือด และธาตุเหล็กต่ำไป ?

เพื่อเป็นการตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ลองพิจารณาข้อความต่อไป

Measuring Anemia

เมื่อท่านไปพบแพทย์...
วิธีการง่ายที่สุดที่จะบอกท่านได้ว่า เม็ดเลือดของท่านมีสุขภาพดีหรือไม่ ?
เรากระทำได้ง่ายที่สุด  คือการตรวจเลือด หรือที่เรียกว่า
complete blood count  หรือ  CBC
เป็นการตรวจที่ครอบคลุมสองอย่าง

การตรวจอันแรก  เป็นการวัด Hemoglobin (Hgb หรือ Hb)
การตรวจอย่างที่สอง เป็นการวัด Hematocrit (Hct หรือ “crit”)

การตรวจ Hemoglobin….มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
และเป็นโปรตีน ซึงทำหน้าที่ที่เป็นตัวนำส่งออกซิเจน และทำให้เลือดแดงมีสึแดง
เมื่อระดับของ Hemoglobin ปกติ ลักษณะของเม็ดเลือดแดงจะ “กลม”
และ “สีแดง” ทำหน้าที่นำส่งออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม
ให้แก่อวัยวะต่างๆ  และแก่กล้ามเนื้อทั้งหลาย

เมื่อระดับของ Hemoglobin ลดต่ำลง...
สีแดงสดของเม็ดเลือดแดงจะหายไป  สีซีดลง  ไม่กลม ดูผิดรูปไป

ระดับปกติของ Hemoglobin:
ในผู้ชายที่สมบูรณ์  จะมีค่าระหว่าง 14 – 18 g/dL
และในสตรีที่สมบูรณ์  จะมีค่าระหว่าง 12 – 16 g/dL

นั่นคือค่าของเม็ดเลือดแดงที่ท่านควรทราบเกี่ยวกับตัวของท่านว่า
มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร  ทั้งระหว่างก่อน และหลังการรักษา ?

ในเลือดของคนเรา ประกอบด้วย  น้ำเลือด (plasma fluid), เม็ดเลือดแดง
(red blood cells), เม็ดเลือดขาว (white blood cells) และเซลล์ชนิดอื่นๆ
เมื่อเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงต่ำลง...
จะทำให้ตัวทำห้าที่บรรทุกออกซิเจนให้แก่ร่างกายจะน้อยลง

ระดับของ hematocrit…
ค่าปกติของชายที่สมบูรณ์  จะมีค่า 40 -  50 %
สำหรับสตรีที่สมบูรณ์ มีค่าระหว่าง 36 -  44 %

สำหรับคนที่เป็นโรคไต (kidney disease)…
เป้าหมายของของ Hematocrit  ควรมีค่าระหว่าง 33 – 36 %

ระดับของ Hemoglobin และ Hematocrit มีความสำคัญ
เพราะแพทย์เขาจะใช้ค่าดังกล่าว  วินิจฉัยว่าท่านเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ?
ตลอดรวมไปถึงใช้เป็นค่าสำหรับปรับแผนการรักษาภาวะที่เป็นโรคโลหิตจาง


ในกรณีที่ท่านเป็นโรคโลหิตจางจากโรคไตวาย...
และเริ่มทำการรักษาด้วยการได้รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ESA
ท่านจะได้รบการตรวจเลือดบ่อยขึ้น  เพื่อตรวจดูว่า
การสนองตอบต่อการรักษาของท่าน....เป็นเช่นใด ?
และ....เมือใดที่ระดับของ Hgb/Hct เพิ่มสู่ระดับตมที่ต้องการ...
การตรวจเลือดก็ลดการตรวจลง ไม่ต้องตรวจบ่อย
!

ค่าของ Hemoglobin และ Hematocrit
ในคนที่ทำการฟอกเลือด

สำหรับคนที่ได้รับการฟอกเลือด การรักษาด้วย ESA จะต้องทำให้
ค่าของ Hgb/Hb ควรกลับสูระดับที่ต่ำกว่าระดับปกติ  นั่นคือ...
Hgb ให้มีค่าระหว่าง 10 – 12 g/dL และ Hct ให้มีระดับ 33 – 36 %
(ทั้งชาย และหญิง)

ผลจากการวิจัย  รายงานว่า...
การเพิ่มระดับของ Hgb/Hct ถ้าหากให้สูงเกินระดับดังกล่าว  อาจก่อใหเกิด
อันตรายในคนไข้ที่เป็นโรคไตได้  ท่านต้องระวัง !


นอกเหนือจาก Hemoglobin และ  Hematocrit….
ยัมีการตรวจอีกสองอย่า  ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจาง (anemia)
ซึ่งทั้งสองวิธี  เป็นการตรวจดูระดับของธาตุเหล็กที่มีในกระแสเลือด

ธาตูเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง
ดังนั้น  ในการรักษาโรคโลหิตจากในคนเป็นโรคไต  ไม่เพียงแต่ EPO เท่านั้น
เราจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กด้วย

การตรวจแรก เรียก Ferritin หรือ Serum Ferritin
การตรวจอันที่สอง เรียก Transferrin Saturation (TSAT)

ลองมาพิจารณาการตรวจอันแรกซ Ferritin Test
เนื่องจากธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อสุขภาพสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง
และ ร่างกายของคนเรามีวิธีเก็บรักษา “ธาตุเหล็ก” เอาไว้ใช้ในอนาคต
โดยที่ไม่ต้องใช้ทันที และจะถูกเก็บรักษาไว้ในโปรตีน  เรียก “ferritin”
ดังนั้น  การตรวจ Ferritin test จึงเป็นการตรวจดูว่า
“มีธาตุเหล็กถูกสะสมไว้ในร่างกายมากน้อยแค่ใด ?”

ในคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์....
จะพบว่า  ระดับ Ferritin  จะมีค่าระหว่าง  30 – 300 ng/ML
(nanograms per milliliter of blood)

สำหรับในคนที่ทำการฟอกเลือด (dialysis)…
เป้าหมายของธาตุเหล็กควรมีค่าอยู่ระหว่าง 100 – 1,200 ng/mL
ซึ่งจะต้องแน่ใจให้มีระดับของธาตุในระดับดังกล่าว...อย่าให้มากกว่านี้
เพราะการมีธาติเหล็กถูกสะสมในร่ากายในขนาดน้อย...ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
หากมีมากเกินไป...ไม่ใช้สิ่งที่ดี

เพราะธาตุเหล็กที่มากไป  จะสะสมในร่างกาย  หรืออวัยวะต่าง ๆ จะ
ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นๆ หรือกระทั้งทำให้เกิดความตายได้
ดังนั้น  เราจะต้องตรวจดูระดับของ ferritin ให้ดี...
จงแน่ใจว่า  ธาตุเหล็กไม่สูงเกินไปเป็นอันขาด

การตรวจอย่างที่สอง: Transferrin saturation หรือ TSAT
TSAT เป็นการตรวจส่วนสำคัญ (building block) ซึ่งมันคือธาติเหล็กที่อยู่
ในร่างกาย  เพื่อทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงนั้นเอง

ในกรณีที่ TSAT มีค่าต่ำ  หมายถึงภาวะที่มีธาตุเหล็กในระดับต่ำ...ส่วนใหญ่
จะเกิดจากการเสียเลือด  หรือมีปัญหาจากการปล่อยธาตุเหล็กจากที่สะสมไว้
เมื่อถึงคราวที่ร่างกายต้องการ

ค่าของ TSAT จะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เหมือนค่าของ HCT
โดยค่าของ TSAT ระดับปกติจะมีค่าระหว่าง 20 – 50 %
(ระดับเดียวกันกับคนที่ไม่ต้องทำการฟอกเลือดขdialysis)

หมายเหตุ:

1.    Iron stored in the body  = Ferritin
2.    Oxygen-carrying protein in red cells = Hemoglobin
3.    Percentage of red cells  = Hematocrit
4.    Transferrin saturation (TSAT) = Iron building blocks to make
Red cells

 << BACK

Kidneyschool.org./pdfs/ksmodul6.pdf

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

Adverse Reaction to High Blood Pressure Medication




คงไม่มีท่านใดปฏิเสธได้ว่า...
ยาลดความดันโลหิตเป็นยาช่วยชีวิตของคนไข้ได้จริง  แต่ในขณะเดียว
กันมันสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากมาย  ซึ่งทำให้คนไข้เกิด
ความไม่สบายมากพอถึงกับทำให้คนไข้หยุดยาได้

ตามที่ National institutes of Health กล่าวว่า
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยามากกว่าหนึ่ง
ตัว  เพื่อลดระดับความดันโลหิตลง

จากการใช้ยาหลายตัวนี้เอง  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลขางเคียง
และทำให้เกิดปัญหาในการรักษาให้แก่คนที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  
และถ้าเกิดผลข้างเคียงขึ้น  แพทย์สามารถปรับแผนการรักษาได้โดยไม่ยากนัก

ความสำคัญ
ตามรายงานของ FDA กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ที่ได้รับยาลดความดัน
โลหิต  จะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น  และถ้าหากมีผลข้างเคียงเกิด
จากยาที่ใช้  ส่วนมากเมื่อเวลาผ่านไปคนไข้สามารถทนต่อยานั้นๆ ได้
นอกเหนือจากนั้น  ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อย  ได้แก่ ปวดศีรษะ, วิงเวียน
หรือมีอาการแน่นท้อง  ซึ่งสามารถจัดการได้ไม่ยาก

ชนิดของยาที่ใช้ (MEDICATION TYPES)
มียาหลายขนานสำหรับรักษาความดันโลหิตสูง  ถูกแบ่งเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน
โดยอาศัยบทบาทการทำงานของยาเป็นเป็นพื้นฐานในการแบ่ง
และยาแต่ละกลุ่ม  ต่างมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป

จากรายงานของ American Heart Association ได้รายงานว่า
กลุ่มยาที่นำมาใช้อย่าสม่ำเสมอเป็นประจำ  ได้แก่  diuretics, beta blockers,
angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitors, andgiotension
receptor blockers (ARBs), alphablockers และ vasodilators.

ผลข้างเคียง (SIDE EFFECTS)
ตามรายงานของ FDA กล่าวว่า  diuretics อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน,  
ปัสสาวะบ่อยครั้ง, ปวดศีรษะ, รู้สึกการหายน้ำ และออกแสบร้อนที่ยอดอก 

นอกจากนั้น  AHA ยังรายงานอีกว่า...
diuretics  ยังก่อให้เกิดกล้ามเนื้อขาปั้น (leg cramps), รู้สึกอ่อนแรง  หรือเพลีย,
ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น  และทำให้คนเป็นโรคเก๊าท์เกิดมีอาการ

สำหรับ beta blockers…
ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาในกลุ่มนี้  ซึ่งรายงานโดย AHA
ได้แก่  อาการนอนไม่หลับ  มือเท้าเย็น, รู้สึกเหนื่อย หรือซึมเศร้า, 
มีอาการเหมือนกับคนเป็นโรคหืดหอบ  และหมดความรู้สึกทางเพศ
นอกจากนั้น  FDA ยังเสริมอีกว่า  ยากลุ่มดังกล่าว  ยังสามารถทำให้เกิดอาการ
ปวดศีรษะ, วิงเวียน, แน่นท้อ และเกิดอาการท้องผูก

ยากลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs)…
ยากลุ่ม ACEIs อาจทำให้เกิดมีผื่นที่ผิวหนัง (rash), ไร้รสชาติ, ไอแห้ง ๆ อย่างต่อเนื่อง  
นอกเหนือจากนั้น  ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น  ยังสามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน,
เหนื่อย, ปวดศีรษะ, นอนไม่หลับ และหัวใจเต้นเร็ว

ส่วนยาในกลุ่ม ARBs…
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่  เจ็บคอ, แน่นท้อง, วิงเวียนเป็นบางครั้ง,
ท้องร่วง,  ปวดหัวไซนัส (sinus troubles), และปวดบริเวณคอ.

Calcium channel blockers 
จากรายงานของ AHA กล่าวว่า  ผลข้างเคียงของยากลุ่ม CCB ได้แก่ หัวใจเต้น
ผิดจังหวะ (abnormal heart rhythm), ข้อเท้าบวม, ท้องผูก, ปวดศีรษะ
และวิงเวียน  นอกจากนั้น  FDA ยังเสริมอีกว่า ยาในกลุ่มดังกล่าว  
ยังทำให้เกิดง่วงนอน, ปวดศีรษะ, แสบหน้าอก  แหน้าแดง

Alpha blockers
ยากลุ่มนี้  อาจทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว, มีอาการวิงเวียน, ลุกขึ้นเร็วสามารถทำให้
ความดันลดต่ำเมื่อคนไข้ลุกขึ้นยืน (AHA)
นอกจากนั้น FDA ยังกล่าวอีกว่า Alpha blockers ยังทำให้เกิดอาการเหนื่อย,
วิงเวียน, มีปัญหาด้านการมอง, มีอาการบวมที่มือ ขา และเท้าทั้งสอง
และอาจก่อให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกทางเพศ (impotence) ได้


ยากลุ่ม Vasodilators…จากรายงานของ AHA กล่าวว่า  ผลข้างเคียงที่เกิดจากยากลุ่ม vasodilators
ได้แก่ ปวดศีรษะ, บวมที่บริเวณรอบตา, หัวใจเต้นผิดปกติ, ปวดข้อ, น้ำหนักตัว
เพิ่มขึ้น  และมีขนตามตัว  นอกจกนั้น  มันยังสามารถทำให้เกิดมีอาการปวด
ท้อง, วิงเวียนตามที่ FDA กล่าว
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->

แง่คิดต่างๆ ในการรักษาที่ควรรู้

ตาม Johns Hopkins Medical center ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ...
ในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้น  สามารถแก้ไขได้หลายทางด้วยกัน
เป็นต้นว่า  ลดขนาดของยาลง,  เปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น
หรือสั่งยาที่ลดอาการที่เกิดจากฤทธิ์ค้างเคียง  
ย่อมสามารถแก้ปัญหาได้

นอกจากนั้น  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง  เช่น  อาบน้ำอุ่น  
หรือประคบด้วยนำแข็ง,  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หรือแม้กระทั้งฝึกหายใจลึก ๆ
จะสามารถแก้ผลขางเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดความดันได้

คำเตือน
จากรายงานของ American academy of family physicians
กล่าวว่า   การรับประทานยาลดความดันมากกว่าหนึ่งขนานสามารถเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้  โดยเกิดจากตัวยาหลายตัว
หรือเกิดจากยามีปฏิกิริยาต่อกันและกัน

นอกจากนั้น  ยังมีปัจจัยอย่างอื่น  ซึ่งทำให้ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
ได้แก่ ยาที่ซื้อจากร้านขายยา, ไวตามิน, สมุนไพร. อาหารต่างๆ และเครื่องดื่มต่างๆ

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อการใช้ยา  หากท่านใช้ยานอกเหนือจากที่
แพทย์สั่งให้แก่ท่าน  ท่านควรบอกให้แพทย์ได้ทราบด้วย

http://www.livestrong.com/

ASTHMA : Pitfalls Of Treatment

March 7, 2013



เมื่อคนเป็นโรคหืดต้องใช้ยา...
ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ 
โดยที่แพทย์บางท่านอาจไม่ได้สนใจที่จะบอกให้คนไข้ว่า  
ต้องใช้ยาอย่างไร?   ซึ่งอาจมีคนไข้บางราย  โดยเฉพาะคนสูงอายุ
อาจจำไม่ได้ว่า จะใช้ยาตัวใด และเมื่อใดระหว่างยาตัวที่ทำหน้าที่ควบคุม
 ( controllers) และตัวทีทำหน้าที่บรรเทาอาการหืดหอบ (relievers)

การเรียนรู้ว่าจะใช้ยาทั้งสองชนิด (controllers & relievers) ได้ถูกต้องตลอด
รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง  ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคน
ที่เป็นโรคหืดหอบทุกคน

ถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีที่  ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ง่าย
และสามารถทำให้อาการหืดหอบดีขึ้นได้

ข้อผิดพลาด และวิธีแก้ไข  ที่พบเห็นดังต่อไปนี้

<!--[if !supportLists]-->1.   <!--[endif]-->ท่านจะต้องแน่ใจว่า  ยารักษาตัวใดทำหน้าที่ควบคุม (controller)
และยาตัวใดทำหน้าที่สำหรับบรรเทาอาการ (reliever)
ถ้าท่านเกิดความสับสน  ให้ทำเครื่องหมายติดแปะไว้ที่เครื่องพ่น (inhaler)

การใช้ยา controller ในขณะมีอาการจะไม่ช่วยให้ท่านบรรเทาจากอาการได้ทันที  
และทำนองเดียวกัน  การใช้ยาบรรเทา (reliever) ทุกวัน
จะไม่ทำให้การอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุพื้นฐานของโรคหืดลดได้ลง

ถ้าท่านมีตัวนำที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหืดหอบ  เช่น สัตว์เลี้ยง, 
การออกกำลังกาย, หรืออากาศเย็น...
ยาที่ท่านต้องใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหืดหอบ  คือ ยา albuterol 
ซึ่งเป็นยาในกลุ่มของ reliever นั่นเอง  โดยทำการพ่นยาก่อนที่จะเผชิญกับปัจจัยดังกล่าว


<!--[if !supportLists]-->2.    <!--[endif]-->อย่าหยุดการใช้ยาควบคุม (controller) เพราะท่านหายใจสะดวก
ท่านจะต้องเข้าใจว่า  การที่ท่านหายใจเป็นปกติเป็นเพราะยาควบคุม (controller) 
ทำให้การอักเสบหายไป  ทำให้หลอดลมหายใจเปิด  อากาศผ่านได้สะดวก

ถ้าท่านไม่ใช้ยาควบคุม (controller) เมื่อใด  มันก็เหมือนกับท่าน
ได้เปิดประตูเชื้อเชิญให้การอักเสบของหลอดเกิดขึ้น  และเมื่อนั้น
ปัญหาด้านการหายใจก็จะกลับคืนมา

เมื่อมีอาการกลับคืนมา  ท่านจะต้องเสียเวลาหลายวันถึงหลายอาทิตย์  
จึงจะสามารถควบคุมอาการได้  ไม่แต่เท่านั้น  ท่านอาจจำเป็นต้องใช้ยาควบคุม
(controller) มากกว่าเดิม

ถ้าอาการของท่านหายไปได้สักระยะ (symptom-free) ท่านควรปรึกษาแพทย์
เพื่อพิจารณาลดขนาดของยา  หรือหยุดยาเสียเลย
ซึ่งท่านจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า  จะค่อยๆ ลดขนาดยาอย่างไร  และ
เรียนรู้วิธีจัดการกับโรคที่เปลี่ยนแปลงไป

<!--[if !supportLists]-->3.   <!--[endif]-->ตรวจสอบการใช้เครื่องพ่นยา...
ถ้าท่านมีความสงสัยในการใช้เครื่องพ่นยาว่า  ท่านทำถูกต้องหรือไม่?  
ท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา  ด้วยการแสดงวิธีการใช้เครื่องพ่นยาให้แพทย์ดูว่า 
ท่านทำถูกต้องหรือไม่ ?  อย่าอายที่จะทำเช่นนั้น

มีความผิดพลาดที่ไม่น่าเกิด  เช่นหาย “ใจออกในขณะที่พ่นยาเข้าปอด”
ที่ถูกต้องท่านจะต้องหายใจเข้าพร้อมกับพ่นยาเข้าปอด
หากไม่ทำเช่นที่แนะนำ  ยาจะไม่เข้าสู่ปอด  แต่จะกระจายอยู่ที่หลังลำ
คอ (throat) เป็นเหตุให้การพ่นยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร

http://www.intelihealth.com

Asthma : Drug treatment 2


March 5, 2013
Continued…..

Methylxanthines:

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Sustained-release theophylline เป็นยาออก
ฤทธิ์ขยายหลอดลม  ซึ่งถูกนำมาใชร่วมกับ ยาพ่นสะเตียรอยด์
(inhaled corticosteroids) ใช้ปองกันอาการหืดหอบที่เกิดในตอนกลางคืน

Methylxanthines เช่น theophylline  จะไม่นิยมใช้ในผู้ใหญ่  เพราะ
เป็นยาที่ผลข้างเคียงทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น และยังสามารถทำปฏิกิริยา
กับยาตัวอื่น ๆ ที่ใช้เป็นประจำ...นำไปสู่ภาวะข้างเคียงได้

Leukotriene modifiers:
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Zafirlukast, Zileuton หรือ montelukast
เป็นยาที่อาจนำมาใช้แทนยาพ่น inhaled corticosteroid ขนาด
ต่ำๆ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12…

เนื่องจาก corticosteroids inhalers เป็นยาที่ถูกนำไปใช้รักษาโรคหืดได้ผลดี  
ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ corticosteroid inhaler มาก
กว่าที่จะเลือกใช้ยากลุ่ม Leukotriene modifiers

Immunotherapy:

การฉีดสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้  เรียกว่า allergy shots  ถุกนำมาใช้ในราย
ที่เป็นโรคหืดที่มีต้นตอมาจาก “แพ้” สิ่งแปลกปลอม
เช่น  แพ้ต่อเกสรดอกไม้, อนุภาคจากสภาพแวดล้อม...

Allergy shots  สามารถเปลี่ยนทิศทางปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มี
ต่อการสัมผัสของสิ่งที่แพ้ได้  ทำให้เกิดมีอาการน้อยลงได้

ยาที่ถูกนำมาใช้ได้แก่ Omalizumab (Xolair) เป็นสารที่สามารถต้านผลที่
เกิดจาก IgE antibodies ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดในกระบวนการณ์ของ
ปฏิกิริยาแพ้ (allergic reaction)

การรักษาด้วยการใช้สาร Omalizumab (Xolair) ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาคนไข้
ที่เป็น severe allergic asthma  ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการใช้สาร  corticosteroids  
ซึ่งเป็นยาที่ใช้ฉีด....แต่เนื่องจากเป็นยาที่มีราคาแพง  ไม่สะดวกต่อการใช้ 
จึงปรากฏว่ามีการใช้น้อยมาก

ยาบรรเทาอาการ (Relievers) จะมีบทบาทออกฤทธิ์มากกว่ายาควบคุม (controllers)
โดยสามารถทำให้หลอดลมขยายตัว  
เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น  หรือหลอดลมมีการละคายจากสิ่งกระตุ้น จะทำให้หลอดลม
หดเกร็ง  ทางเดินอากาศแคบลง  เป็นเหตุให้หายใจลำบาก  

ยาบรรเทา (relievers) จะทำให้กล้ามเนื้อของหลอดลมคลายตัว  
หลอดลมเปิด ทำให้อากาศไหลผ่านได้สะดวก  ทำให้คนไข้สามารถ
หายใจได้สะดวกขึ้น

ยาที่อยู่ในกลุ่มที่ทำให้อาการบรรเทา (relievers)  มีสองรูปแบบด้วยกัน
ซึ่งเป็นยาพ่นเข้าปอดโดยตรง (inhaler) หรือใช้เครื่องพ่นเป็นละออง (mist)
ได้แก่:

Short-acting beta-2agonists:
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ albuterol  และ pirbuterol เป็นยาที่เหมาะสำหรับ
ใช้รักษาคนที่มีอาการหืดหอบอย่างเฉียบพลัน และใช้ป้องกันไม่ให้
เกิดในขณะออกกำลังกาย

Anticholinergics:
    ได้แก่ยา ipratropium bromine (Atrovent)  อาจใช้ร่วมกับยาตัวแรก
(beta-2 agonists)  สำหรับรักษารายที่มีอาการรุนแรง
และอาจใช้เป็นทางเลือกสำหรับคนไม่สามารถใช้ beta-2 agonists