วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Exercise stress test

exercise stress test เป็นวิธีการตรวจร่างกาย
ที่นำมาใช้ตรวจสภาพของหัวใจในขณะที่มีการออกแรง...

How the Test is Performed ?
คนที่ไม่เคยออกกำลังกาย มัวแต่นั่งโต๊ะ สนใจในการทำงานเพียงอย่างเดียว
หรือคนที่มีประสบการณ์ผ่านภาวะของโรคหัวใจขาดเลือด- Heart attack
มัก จะถูกแนะนำให้ออกกำลังกาย
และเพื่อความปลอดภัยของตัวคนไข้เอง คุณหมอจะแนะนำให้ทำการตรวจหัวใจก่อน
และการตรจ ที่นิยมกณะทำ คือ exercise stress test
เป็นการตรวจสภาพการทำงานของหัวใจ ภายใต้การออกกแรงว่า จะมีความผิดปกติในเกิดขึ้นหรือไม่
ซึ่ง แพทย์สามารถตรวจพบได้ด้วยการดูคลื่นกระแสไฟฟ้า (EKG) ทีบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานให้ตรวจสอบ

ในการตรวจ exercise stress test เขาจะให้ท่านเดินบนสะพานวิ่ง (treadmill)
หรือ ปั่นจักรยานด้วยเท้า โดยเริ่มต้นอย่างช้า ๆ จากช้า...ไปหาเร็ว
ในขณะที่ท่านกำลังออกแรงด้วยการเดิน ...บนสายพาน หรือปั่นจักรยานนั้น
เครื่อง EKG (electrocardiogram)ที่มีสาย electrodes วางแปะยนตัวท่าน
และ วัดความดันโลหิต จะบันทึกข้อมูล และแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ให้แพทย์ หรือผู้ทำการตรวจได้เห็น

การตรวจด้วยวิธีการดังกล่าว จะดำเนินต่อ จนกระทั้ง:

o บรรลุเป้าหมายของระดับการเต้นของหัวใจ
o ท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีการเปลี่ยนแปลงในระดับความดันโลหิต ซึงจะก่อให้เกิด
อันตรายต่อคนไข้
o มีการเปลี่ยนแปลงในคลื่นของหัวใจ ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดเพียงพอ
o คุณเกิดอาการเหนื่อย-หอบ หรือ มีอาการอย่างอื่น เช่น ปวดขาจนไม่สามารถตรวจต่อไปได้

ภายหลังการออกกำลังกาย การตรวจด้วยเครื่องมือยังดำเนินต่ออีกประมาณ 10-15 นาที
หรือ จนกว่าการเต้นของหัวใจกลับสู่ระดับปกติ (basline)

ระยะเวลาที่ท่านจะต้องเสียไปในการตรวจ ประมาณ 60 นาที

ท่านควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนการตรวจ:
ก่อนทำการตรวจ exercise stress test ท่านจะต้องไม่กิน ไม่ดื่มอะไรทั้งสิ้น
เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ

ถ้าท่านรับประทานยา...ควรถามแพทย์ก่อน
เพราะยาบางตัวสามารถกระทบกับผลการตรวจ และอย่าเลิกรับประทานยาโดยไม่บอกแพทย์

หากท่านรับประทาน sildenafil citrate (Viagra), tadalafil (Cialis) หรือ vardenafil
(Levitra) บอกให้แพทย์ได้ทราบ

ในระหว่างการตรวจ exercise stress test ท่านอาจมีความรู้สึก:

o มีความรู้สึกไม่สบายภายในหน้าอก
o รู้สึกวิงเวียน
o รู้สึกใจสั่น
o รู้สึกเหนื่อย หอบ (shortness of breath)

หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องตรวจ...ด้วย?
โดยทั่วไป การตรวจ exercise stress test ส่วนใหญ่เราจะทำการตรวจคนไข้ที่เป็น
โรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery disease)
โดยมีเหตุผลในการตรวจมากมาย เช่น:

o เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้า (chest pain) จะทำการตรวจเพื่อประเมินโรคเส้นเลือด
ของหัวใจว่า มีการตีบแคบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือไม่ ?
o เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก(angina) อาการรุนแรงขึ้น หรือ เกิดขึ้นบ่อย
o ท่านอาจมีอาการของหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
o ท่านอาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด- angioplasty หรือ heart bypass surgery
o ท่าน...ถูกแนะนำให้ออกกำลังกาย และท่านมีโรคหัวใจ
หรือ ท่านอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน
o เพื่อทำการตรวจการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจ
ซึ่งอาจเกิดในระหว่างการออกกำลังกาย
o ท่านได้ทำการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ (aortic &mitral valve stenosis)

นอกจากนั้น แพทย์ผู้ตรวจอาจมเหตุผลอย่างอื่นก้ได้

ผลของการตรวจ:
ความหมาย หรือผลของการตรวจ ขึ้นกับเหตุผลของกาตรวจ, อายุ, ประวัติของโรค (หัวใจ) ,
และ ยาที่กำลังรับประทาน

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
จากการตรวจ exercise stress test ผลที่ได้อาจบ่บอกให้ทราบ:
o ในระหว่างการออกกำลังกาย มีการเต้นของหัวใจผิดปกติไป
o การเปลี่ยนแปลงในคลื่นของหัวใจ อาจหมายถึงมีการอุดตันของ
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary artery disease)

เมื่อผลของการตรวจ พบว่ามีความผิดปกติ ท่านจะได้รับการตรวจที่จำ
เป็นต่อการตรวจสมรรถภาพหัวใจของท่าน เช่น:

o Coronary angiography
o Nuclear stress test
o Stress echocardiography

อันตรายจากการตรวจ exercise stress test:
โดยทั่วไป การตรวจดังกล่าว เป็นวิธีที่ปลอดภัย
คนไข้บางราย อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ อาจเป็นลมล้มพับลงในขณะทำการตรวจ
ส่วนการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจเป็นอันตราย (heart attack)
หรือ การเต้นของหัวใจผิดปกติชนิดร้ายแรงนั้น...พบได้น้อยมาก

คนไข้ ผู้ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
แพทย์เขาจะทราบมาก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเขาจะไม่ให้ทำการตรวจด้วยวิธดังกล่าว

การตรวจ exercise stress test ในคนไข้บางราย
ผลที่ได้อาจยากต่อการแปลผล ในกรณีดังกล่าว อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีพิเศษ
เช่น การตรวจด้วยภาพ เช่น echocardiography หรือ nuclear imaging
หรือการตรวจอย่างอื่น

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003878.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น