วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (Ostopoorsis) : Exercise precautions 1

July 21,2013

ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)...
ท่านอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ให้ทำการออกกำลังกายทุกวัน
แพทย์ หรือคนที่รับผิดชอบต่อการดูแลคนไข้ ต่างรู้ดีว่า
มีความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวบ่อยๆ กับความแข็งแรงของกระดูก
แต่สิ่งสำคัญที่เราจะต้องทราบ คือ เราจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
และควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มทำการออกกำลังกาย
เพราะมีการออกกำลังกายบางท่า สามารถเป็นอันตรายต่อกระดูกกรุนได้

ข้อเท็จจริง (Facts)

 กระดูกพรุน (osteoporosis) บางครั้งเราจะใช้คำว่า กระดูกเปราะบาง 
brittle bone disease  ซึ่งเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามอายุที่สูงวัยขึ้น
ส่วนใหญ่กระดูกพรุนจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกสะโพก, กระดูกสันหลัง หรือข้อมือ

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว คือร่างกายขาดธาตแคลเซี่ยม
ซึ่งคนเราสามารถได้รับจากสารอาหาร

ตามคำบอกเล่าของ The National Institutes of Health...ผู้ใหญ่ควร
ได้รับ calcium 1,000 – 1,500 mg ต่อวัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นชาติใด มักจะ
ได้รับเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

ผลของการขาดธาตุแคลเซี่ยม หรือไม่ได้ธาตุแคลเซี่ยมในประมาณทีเพียงพอ 
จะทำให้มีการดึงเอาธาติแคลเซี่ยมออกมาจากตัวกระดูก เป็น
เหตุให้กระดูกบางลง (อ่อนแอ) ในเวลาที่ผ่านไป

 เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุแคลเซี่ยม เราจำเป็นต้องได้รับ vitamin D ใน
ปริมาณที่เพียงพอ เพื่อช่วยให้กระดูกดูดซับเอาแคลเซี่ยมได้ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง(Risk Factors)

 ตามที่ the National Osteoporosis Foundation (NOF)...
ได้รายงานเอาไว้ว่า สตรีมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าชายถึงสี่เท่าตัว 
จากสถิติของสหรัฐฯ รายงานไว้ว่า ในประชากรของเขาเป็นโรคดังกล่าวถึง 10 ล้านคนนั้น 
ในจำนวนดังกล่าว พบว่า 80 % เป็นสตรี  ส่วนที่เหลือ 20 % จะพบในชาย

 ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้แก่นำหนักตัวน้อยกว่าปกติ , 
มีประวัติครอบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน, แก่มากขึ้น, โครงกระดูกเล็ก, 
หมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร, โรครูมาตอยด์, สูบบุหรี่, 
และดื่มแอลกอฮอล์ จัด หรือดื่มกาแฟ

>> Next :

โรคกระดูกพรุน (Ostopoorsis) : Exercise precautions 2


July 21,2013

ประโยชน์อันพึงเกิดจากการออกกำลังกาย (Benefits of Exercise)

 การอออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการป้องกัน และรักษาโรคกคะดูกพรุน 
ทั้งนี้เพราะ กระดุกเป็นสิ่งที่มีชีวิตเหมือนกับกล้ามเนื้อ...
ซึ่งมั้นต้องสนองต่อการออกกำลังกายด้วยการทำให้แข็งแรงขึ้น

นอกจากนั้น ในการออกกำลังกายยังช่วยให้เกิดการผสมประสาน และก่อให้เกิดความสมดุล 
ซึ่งมักจะมีบกพร่องในคนสูงอายุเป็นเหตุให้พวกเขาหกล้มได้ง่าย

การออกกำลังได้อย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยให้คนเราสามารถทำงานในกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น,
สามารถคงสภาพท่าทาง (posture)ได้เป็นปกติ,  บรรเทาความเจ็บปวด 
และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น  

ชนิดของการออกกำลังายที่ดีที่สุด  ซึ่งสร้างมวลกระดูกให้เพิ่มขึ้น คือ
weight-bearing exerciseซึ่งเป็นการออกแรงต้านแรงถ่วงของโลก
เช่น การเดิน (walking), จอกกิ่ง (jogging), เดินขึ้นบันได
(clibing stairs), เล่นเทนสิส (tennis), และเต้นรำ (dancing)

 ข้อควรจำ:

o การออกกำลังกายชนิดใดก็ตาม การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ จะเกิดการดึงกระดูก
ซึ่งจะมีการกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกเกิดขึ้น หรือ การออกกำลังชนิดใดก็ตาม 
ที่มีแรงกดลงบนตัวกระดูก ย่อมทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น

o หลักสำคัญต่อการออกกำลังกายให้เกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ  จะพบว่า
การออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ จะต้อง ปลอดภัย และก่อให้เกิดความสนุก 
หากท่านสามารถออกกำลังกายชนิดใดก็ตาม แล้วทำให้ท่านรู้สกสนุก 
ย่อมจะทำให้ท่านยึดติดกับการออกกำลังนั้นได้

คำเตือน (Warnings)

 ก่อนที่ท่านจะออกกำลังกาย โดยเฉพาะเมื่อท่านมีอายุมากกว่า 40,
มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคความดันสูง, เป็นเบาหวาน, และอ้วน
ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบาง...

แพทย์จะแนะนำให้ท่านหลีกเลี่ยงจากการก้ม งอ (Bend or flex)กระดูกสันหลัง
หรือไม่ทำการบิด (twsist)กระดูกสันหลังเป็นอันขาด
นอกจากนั้น ท่านควรหลีกเลี่ยงจากการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อ
กระดูกสันหลัง (high impact) เพราะมันสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำ
ให้กระดูกแตกหัก (collapse) ได้

แนวทางปฏิบัติ (Prevention / solution)

 วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกพรุน คือการสร้างกระดูก
ตั้งแต่อายุยังน้อย (early in life) โดยการรับประทานอาหารที่เหมาะ
สม ออกกำลังกายได้อย่างเพียงพอ

เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ก็ดำเนินชีวิตเหมือนกับที่กล่าวด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
เหมาะสม ไม่รับ / ดื่มของมีนเมา...และมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 
ท่านก็สามารถทำให้มวลกระดูกของท่านอยู่ในสภาพที่เป็นปกติได้

การใช้ยารักษา (medications) สามารถชะลอการสูญเสียมวลกระดูก
และสามารถรักษาภาวะกระดูกพรุนได้


 แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อป้องกัน หรือรักษาโรคกระดูกพรุน (โดย ์NOF ):

o Eat right: วันหนึ่งๆ ท่านจะต้องได้รับ calcium และ vitamin D]
ในปริมาณที่เพียงพอ

o Exercise: การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ sweight-bearing
(เช่น เดิน, จอกกิ่ง) และ muscle strengthening exercise
(เช่น การยกน้ำหนัก, หวิดพ้น...)

o Maintain a healthy lifestyle: ดำรงวิถีชีวิตที่ดีไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ
เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, ไม่ดื่มของมีนเมา และกาแฟ

o Talk to your health care provider: การพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับ
ปัญาหาของโรคกระดูก ย่อมทำให้การรักษาโรคได้ง่ายขึ้น

o Get tested: ทำการตรวจดูกความหนาแน่นของกระดูก และทำการ
รักษา...

Exercises Not Advised

1. ห้ามก้มยกของ หรือห้ามไม่ให้บั้นเอวโค้งงอ (bend) เป็นอันขาด...
ให้กระดูกบั้นเอวอยู่ในแนวตรง (back straight) แต่ให้งอ (bend)
ที่ข้อสะโพก (hips) และข้าเข่า (knees)

2. ในขณะยืนตรง เท้ายึดพื้น ห้ามไม่ให้กระดูกสันหลังบิดหมุน (twisting)

3. ห้ามก้มตัว เอานิ้วมือแต่เท้าเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดมีแรงกดเกิด
ขึ้นที่บริเวณกระดูกสันหลัง

<< Prev.

http://www.ehow.com

http://www.inspire.com

Osteoporosis Medications (Bisphosphonates) in Lupus

July 10,2013

มีคำถามจากชายผู้สูงวัยท่านหนึ่ง...
ผู้ซึ่งมีลูกสาวเป็นโรคลูปัส เกิดความสงสัยว่า
ทำไมลูกสาวของเขาจึงได้รับยาในกลุ่ม bisphosphonates ?

ยาในกลุ่ม Bisphosphonates เช่น risedromate (Actonel), alendronate (Fosamax), 
ibandronate (Boniva), zoledronic acid (Reclast), และ pamidronate (Aredia) 
ต่างถูกนำไปในใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)
หรือโรคกระดูกเปราะบาง โดยเกิดขึ้น เมื่อกระดูกสูญเสียธาตุแคลเซี่ยมและแร่ธาตุตัวอื่นๆ ไป 
เป็นเหตุให้กระดูกไม่แข็งแกร่งเหมือนปกติ

โรคกระดูกพรุน...
สามารถนำไปสู่การเกิดกระดูกแตกหัก, ทำให้เกิดอาหารปวดกระดูก, รูป
ร่างเตี้ยลง (short stature) ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศใด  เมื่อมีอายุสูงวัยขึ้น
ต่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้ โดยเฉพาะสตรีหลังหมดประจำเดือน
จะมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้สูง

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่า...
คนไข้ทีเป็นโรค “ลูปัส” (SLE) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงขึ้น 
ทั้งนี้เป็นเพราะโรคลูปัส โดยตัวของมันเอง จะทำให้เกิดการอักเสบ และ
นอกจากนั้น มียาบางอย่างที่ใช้รักษาโรคลูปัส  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
กระดูกพรุนอีกด้วย โดยเฉพาะ corticosteroids เช่น prednisone

How Do Bisphosphonates Work?

กระดูกของมนุษย์เรามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ (remodeling) อยู่ตลอดเวลา
โดยกระบวนการ ซึ่งมีการกำจัดเอาเซลล์กระดูกเก่าออกทิ้งไป
และทดแทนด้วยเซลล์ตัวใหม่ (ตายมากกว่าเกิด)

ในคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน...
เราจะพบว่า กระดูกจะสูญเสียแร่ธาตุ (bone minerals)ได้เร็วกว่าที่มันจะมัน
จะสร้างขึ้นใหม่ และยา Bisphosphonates จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เสียแคลเซี่ยม 
และแร่ธาตุอื่น ๆ ด้วยการชะลอ หรือยุติกระบวนการตามธรรมชาติ
ไม่ให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกไป

ผลที่เกิดจากฤทธิ์ของ ฺBisphosphonates...
จะทำให้กระดูกอยู่ในสภาพแข็งแรงเหมือนเดิม

ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ยากลุ่มนี้จะช่วยชะลอกระดูกของ
ท่านไม่ให้เกิดเปราะบาง และช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเกิดการแตกหักได้

ความเป็นจริงมีว่า...
ยา alendronate (fosamax) และ reisdronate (Actonel) สามารถลดความ
เสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกสันหลังได้ถึง 50 %
นอกจากนั้น จากการใช้ยาดังกล่าว ยังสามารถลดการแตกหักของกระดูกใน
บริเวณอื่นได้ถึง 30 -49 %

คำถาม...
เราจะต้องใช้ยาขนาด (dose)เท่าใด และฉันควรต้องระวัง อะไรบ้าง
ในขณะที่กินยา ฺBisphosphonates ?

ส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นว่า ยาทุกตัวที่อยู่ในกลุ่ม Bisphosphonates จะใช้
(กิน) ระหว่างอาทิตย์ ถึงเดือนละหนึ่งครั้งเท่านั้นเอง
และยาทุกตัวจะออกมาในรูปของเม็ด (tablet) มียกเว้นตัวเดียวเท่านั้น คือ
Zolidronic acid (Reclast) ซึ่งต้องให้ทางเส้นเลือด (IV)
โดยให้ปีละหนึ่งครั้ง โดยทั้งหญิง และชายอาจใช้ Bisphosphonates
ได้ทั้งสองเพศ

ในการใช้ยาดังกล่าว ท่านจะต้องกินยาในตอนเช้า พร้อมกับน้ำเต็มแก้ว
อย่างน้อย ครึ่งชั่วโมงก่อนกินข้าว, ดื่ม, หรือกินยาชนิดอื่นๆ
และหลังจากกินยาแล้ว ภายใน 30 นาที ห้ามนอนราบโดยเด็ดขาด

คำถาม:
ฉันจะต้องทำอย่างไร จึงสามารถคงสภาพของกระดูกให้แข็งแรง
ไม่เกิดโรคกระดูกพรุน ?

เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง...
การออกกำลังงกาย และมีการเคลื่อนไหวอยุ่เสมอย่อมเป็นสิ่งสำคัญต่อ
การทำให้กระดูก, ข้อ และกล้ามเนื้อมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านจะต้องรับผิดชอบเอง

การเดิน. ยืด, โยคะ, และการออกกำลังกายอย่างอื่น สามารถป้องกันไม่
ให้เกิดกระดูกเปราะบาง และคงสภาพมวลกล้ามเนื้อเอาไว้ได้เช่นกัน

ผลจากการศึกษาในคนที่ทำงานนั่งโต๊ะ ซึ่งไม่มีเวลาออกกำลังกาย...
พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงมาก

นอกเหนือไปจาการรับประทานยา bisphosphonates...
ส่วนมาก แพทย์จะแนะนำให้คนไข้รับประทาน แคลเซี่ยม (Ca) และ Vitamin D 
ร่วมด้วยเสมอ เพราะ vitamin D  จะช่วยให้ร่างกายดูดซับเอาแคลเซี่ยมได้ดีขึ้น

คำถาม:
ผลอันไม่พึงประสงค์ (side effects) ของ bisphosphonates ...?

ยาในกลุ่ม bisphosphonates สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังต่อไปนี้:

 แสบหน้าอก (heart burn), ปวดท้อง (stomach pain),ละคายลำคอ
 ปวดศีรษะ
 ปวดข้ด, ปวดกล้ามเนื้อ
 มีลดมในท้อง, ท้องผูก, ท้องร่วง
 กลืนลำบาก
 ปวด หรือ ออกแบออกร้อนบริเวณกระดูกสีข้าง หรือบริเวณกลางหลัง
 ปวดกลาม (jaw), มึนชา (numbness), บวม (swelling)
 วิงเวียน (dizziness), อ่อนแรง (weakness)
 แพ้ยา (allergic reaction)
 Reclast อาจสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจผิดปกติ- atrial fibrillation

นอกเหนือจากนี้...
ยากลุ่ม bisphosphonates ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายของบาดแผล
ได้ เช่น ทำให้กระดูกกล้ามเกิดเน่าตาย(osteonecrosis) ซึ่งมักจะเกิดหลังการ
ถอนฟัน  หรือหลังการปลูกฝังของเทียม (implant) ได้

คำถาม:
ใครไม่ควรใช้ bisphosphonates ?

คนต่อไปนี้ไม่ควรใช้ยา Bisphosphonates ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

 หญิงตั้งครรภ์ หรือสตรีที่เตรียมจะตั้งครรภ์
 คนที่เป็นโรคไต (sever kidney prboblems)
 คนมีท่ออาหารอักเสบ (esophagitis)
 คนที่กำลังกินยา parathyroid hormone

ในกรณีที่ระดับของแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ (hypocalcemia), vitamin D deficiency,
เป็นโรคไต, หรือมีแผลในกระเพาะ ท่านอาจไม่เหมาะที่จะใช้ยาตัวนี้ก็ได้


ถ้าท่านกินยา ลดกรดใหนกระเพาะอาหาร (antacid) ซึ่งมี aluminum, calcium,
และ magnesium จะมีผลกระทบต่อการดูดญซึมยา bisphosphonates ได้
ดังนั้น เมื่อกินยา bisphosphonate ท่านจะต้องให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 30 นาที
ก่อนที่จะกินยาอย่างอื่น

นอกจากนั้น ยังมียาบางตัวสามารถกระทบกับการทำงานร่างกาย ที่มีต่อสาร
Bisphosphonates ได้ เช่น ยากลุ่ม NSAIDs (ibuprofen, celebrex, naproxen,
Mobic, diclofenac)


thttp://www.hopkinslupus.org

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) 3 Continued...

July 20, 2013

การรักษา (Treatment )

ในการรักษาโรคข้อกระดูกพรุนของท่านนั้น  แพทย์จะพิจารณาเป็นต้นว่า:

 อายุของท่าน, สุขภาพโดยรวม และประวัติการเป็นโรคของท่าน
 ขอบเขต หรือความรุนแรงของโรคของท่าน
 ความสามารถที่จะทน (tolerance) ต่อการใช้ยา หรือ วิธีการรักษาเป็นการเฉพาะหรือไม่
 ความคาดหวังต่อช่วงเวลาของการเกิดโรค
 ความต้องการ หรือความพอใจของท่านเอง

โดยทั่วไป การรักษาโรคกระดูกพรุน จะโฟกัสไปที่ การลดความเจ็บปวดที่เกิดจากโรค,
ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกแตกหัก, ทำให้การสูญเสียมวลกระดูกลดลง

มีวิธีการบางอย่าง ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกพรุน  
ซึ่งสามาราถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกพรุนเพิ่มเกิดได้อีกด้วย เช่น:

 คงสภาพน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ

 เพิ่มเวลาในการเดินให้มากขึ้น และออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเป็นประจำ

 ลดการดื่มกาแฟ และแอลกอออล์

 หยุดการสูบบุหรี่

 รับประทานแคลเซี่ยมให้พอ (อาหาร และอาหารเสริม) และ vitamin D
ก็มีความจำเป็น เพราะมันช่วยทำให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ง่าย

 ป้องกันไม่ให้คนสูงอายุหกล้ม (ยกตัวอย่าง การติดตั้งราว หรือเครื่องช่วย
ในการเดินในห้องน้ำ...)

 ปรึกษาแพทย์เรื่องยารักษา

FDA ได้ยอมรับให้ใช้ยาต่อไปนี้เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรีหลังหมดประจำ
เดือน เพื่อคงสภาพให้กระดูกของเขาอยู่ในสภาพที่ดี:

Estrogen replacement therapy (ERT) และ Hormone replacement
Therapy (HRT).

ERT ได้รับการพิสูจน์ว่า มันสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้, 
ลดความหนาแน่นของกระดูก, และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก
ของข้อสะโพก, กระดูกสันหลังของสตรีหมดประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม สตรีที่สมควรได้รับการรักษาด้วย ERT ควรได้รับคำแนะนำ
จากแพทย์เสียก่อน เพราะจากรายงานของ The National Heart, Lung,
And Blood of the National Institutes of Health ได้กล่าวว่า...
การรักษาด้วย ERT มีความเสี่ยงต่ออันตรายได้มากกว่าประโยชน์ที่พึงได้รับ

Alendromate sodium (Fosamax). ยาตัวนี้อยู่ในกลุ่มที่มีชื่อว่า Bisphosphonates
เป็นยา ซึ่งสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก (bone loss), เพิ่มความหนาแน่น
ของมวลกระดูก (bone density), และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก

Risedromate sodium (Actonel). เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
กับ Alendromate sodium และมีผลต่อกระดูกเช่นเดียวกัน

Ibandromat sodium (Boniva). เป็นอีกหนึ่งตัวที่อยู่ในกลุ่ม bisphosphonate 
ซึ่งใช้ (กิน) เดือนละครั้ง  สามารถชะลอไม่ให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก,  
และอาจเพิ่มมวลกระดูกขึ้นได้

Raloxifene (Evista). เป็นยากลุ่มที่ผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เราเรียกว่า 
selective estrogen receptor modulators (SERMs)  ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิด
การสูญเสียมวลกระดูก

Parathyroid hormone (Forteo). เป็นรูปแบบหนึ่งของ parathyroid hormone , 
teriparatide, ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาโรคกระดูกพรุนของสตรีหมดประจำเดือน  
และชาย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักสูง เป็นยาที่ช่วยสร้างกระดูกได้ด้วย

Denosumab (Prolia, Xgeva).ยาตัวนี้ เป็น monoclonal antibody ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง 
ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาสตรี่ที่เป็นโรคกระดูกพรุน 
ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแตกหักสูง ตลอดรวมถึงใช้รักษารักษาสตรี
ที่มีกระดูกอ่อนแอจากการรักษามะเร็ง 

กายภาพบำบัด (Rehabilitation)
โปรแกรมของกายภาพบำบัดสำหรับท่านที่เป็นโรคกระดูกพรุน 
จะถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนแต่ละราย โดยขึ้นกับปัจจัย
หลายอย่าง เป็นต้นว่า ชนิด และความรุนแรงของโรค, ความร่วมมือของคนไข้,
รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของคนไข้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของการรักษา

เป้าหมายของกายภาพบำบัด...
คือช่วยให้คนไข้ได้ฟื้นตัวสู่ระดับที่สามารถทำงานได้สูงสุด ช่วยเหลือตัวเองได้
ไม่ต้องพึ่งพาใคร  หรือเป็นภาระของคนอื่นให้น้อยที่สุด
จุดสำคัญของกายภาพบำบัด จะช่วยลดความเจ็บปวด, ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกแตกหัก, 
และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้น

เพื่อให้กายภาพบำบัดบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
โปรแกรมการรักษาอาจประกอบด้วย:

 มีโปรแกรมการออกกำลังกาย และทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วยการลงน้ำหนัก
(weight bearing) เช่น การเดิน และทำให้ร่างกายแข็งแรง (physical fitness)

 เทคนิคการลดความเจ็บปวด (pain management techniques)

 ปรึกษานักภาชนาการ เพื่อทำให้ร่างกายได้รับแคลเซี่ยม และ vitamin D
เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ และแอลกอฮอล์

 ใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อความปลอดภัยช่วยป้องกัน รวมถถึงให้การศึกษาแก่
สมาชิคในครอบครัว เพื่อปัองกันไม่ให้เกิดการหกล้ม

ทีมงานของการยภาพบำบัด (Rehabilitation Team)

ในการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยกายภาพบำบัด สามารถกระทำในโรง
พยาบาล หรือเป็นคนไข้ไปกลับ (out-patient basis) โดยอาศัย
บุคคลที่มีความชำนาญหลายสาขา ด้วยการทำงานเป็นทีม ซึ่งประ
กอบด้วย:


  • ศัลยแพทย์โรคข้อกระดูก (Orthopedist)
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physiatrist)
  • อยุรแพทย์ (Internists)
  • พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Nurse)
  • นักโภชนาการ (Dietitian)
  • นักกายภาพบำบัด (Physical therapist)
  • นักสังคมสงเคราะห์ (Social workers)
  • นักจิตวิทยา (Psycologist)/ จิตแพทย์ (Psychiatrist)
  • นันทนากร  (Recreational therapist)
  • อนุศาสนาจารย์ (Chaplain) และ
  • นักกิจกรรมบำบัด (Vocational therapist)

<< Prev.


Source:
• Hopkinsmediciene
• Merchmanual

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) 2

July 20, 2013
continued.....

The North American Menopausal Society (NAMS) ได้ทำการตรวจสอบ และอัพเดท
แนวทางการวินิจฉัย, การป้องกัน, 
และการรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรี
หลังหมดประจำเดือนในปี 2006 เอาไว้

Go to link:  www.diversifiedhealth.cqa 

สตรี ควรได้รับการตรวจเชคร่างกายจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน เธอควรได้รับการตรวจประเมินปีละครั้ง
เพราะจากการปฏิบัติอย่างนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคกระดูกพรุน 
และลดความเสี่ยงจากการเกิดกระดูกแตหหัก จากการหกล้ม (falls) ได้

นอกเหนือไปกว่านั้น...
สตรีควรได้รับการตรวจวัดความสูง และนำหนักตัวทุกปี
และควรได้รับการประเมินการเกิดภาวะหลังโกง (Kyphoses) 
และอาการปวดหลังด้วย

อาการแสดง (Symptoms)

โรคกระดูกพรุน (0steoporosis)...
บางครั้งเขาตั้งชื่อให้มันว่า "โรคแห่งความเงียบ (silent disease) "
เพราะมันจะไม่แสดงอาการให้เห็น จะทราบได้ก็ต่อเมื่อเกิดมีอาปวดปวดหลัง
แพทย์ตรวจพบ และบอกให้ทราบว่า กระดูกสันหลังของท่านเกิดการแตกยุบ
ทำให้ความสูงของตัวท่านลดลง กระดูกสันหลังของท่านผิดรูปไป

เนื่องจากอาการของโรคกระดูกพรุน 
อาจมีลักษณะเหมือนกับโรคกระดูกชนิดอื่น ๆ  หรือโรคทางกายอย่างอื่นได้
ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ของท่าน จะต้องทำการแยกโรค และตรวจหาสามเหตุ
ที่แท้จริงต่อไป

การวินิจฉัย (diagnoses)

นอกเหนือจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายแล้ว..
เพื่อเป็นยืนยันว่า ท่านเป็นโรคกระดูกพรุนจริงหรือไม่  ท่านจะได้รับกาตรวจพิเศษ
อย่างอื่น ซึ่งท่านควรรู้ดังนี้

• ตรวจเอกซเรย์ (skeletal X-rays) เป็นการตรวจด้วยการใช้ลำแสงของพลังแม่เหล็ก
ไฟฟ้าถ่ายภาพเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกาย, กระดูก, และอวัยวะต่างๆ 
ซึ่งจะปรากฏภาพให้เห็นบนแผ่นฟิล์มเอซเรย์

• ตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitiy test) บางครั้งเขาเรียกว่า
bone densitometry  เป็นการตรวจวัดดูความหนาแน่นของมวลกระดูก
ซึ่งสามารถบอกให้ทราบถึยวภาวะกระดูกบาง หรือกระดุกพรุนได้

• ตรวจเลือด (Blood tests). เป็นการตรวจดูระดับของแคลเซี่ยม (Ca) และ
โปรแตสเซี่ยม (K)

• ตรวจดูค่า FRAX score. เป็นการตรวจวัดคะแนน ซึ่งสามารถนำมาประเมิน
ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดกระดุกแตกหักภายในระยะ 10 ปี
ในการตรวจวัดคะแนน จะใช้ผลที่ได้จากการตรวจความหนาแน่นของกระดูก
และปัจจัยอย่างอื่นของคนไข้ (individual factors)

ความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone densitometry)

ในการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry testing)
ในตอนแรก เป็นการตรวจเพือค้นหา หรือวินิจฉัยว่า  ท่านเป็นโรคกระดูกพรุน
(osteoporosis) หรือภาวะมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ (osteopenia) หรือไม่

ภาวะกระดูกบางน้อยกว่าปกติ (osteopenia) เป้นภาวะที่สภาพของกระดูกมีความฃ
หนาแน่นน้อยลง แต่ยังไม่ถึงขึ้นเป็นเป็นโรคกระดูกพรุน 
ซึ่งหากตรวจพบได้ไว พร้อมให้การรักษา สามารถปั้องกัน
ไม่ให้เกิดการแตกหักของกระดูกในอนาคตได้

การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก  จะมีการเปลี่ยบเทียบกับค่าปกติ 2 อย่าง
 (healthy young adult- your T-score) และ age-match adult (your Z-score)

ผลที่ได้จากการตรวจ...
หากพบว่า กระดูกของท่านได้ ตรวจได้ positive T score 
มันบอกให้ทราบว่ากระดูกของท่านแข็งแรงกว่ากระดูกของคนหนุ่มที่มีสุขภาพดี
แต่หากผลการตรวจพบว่า เป็น negative T-score 
มันหมายความว่า กระดูกของท่านอยู่ในสภาพอ่อนแอ (weaker) กว่า...

ตามข้อกำหนดของ World Health Organization...
เขาจะวินิจฉัยว่า  ท่านไข้เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่  โดยอาศัยข้อมูลต่อไปนี้...

 T-score ของท่านมีค่าระหว่าง 1 SD (+1 หรือ -1) ของคนหนุ่ม หมายความว่า
กระดูกมีความหนาแน่นปกติ

 T-score ของท่านมีค่าระหว่าง 1 – 2.5 SD ต่ำกว่าคนหนุ่ม ( -1 ถึง -2.5 SD)
หมายถึงมวลกระดูกต่ำกว่าปกติ ซึ่งหมายะถึงภาวะ osteopenia

 T-score ของท่านมีค่า 2.5 SD หรือมากกว่าโดยต่ำกว่าคนหนุ่ม (> -2.5 SD)
หมายถึงเกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis)

โดยทั่วไป ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
เมื่อ SD ของท่านมีค่าต่ำกว่าปกติ ดังนั้น  ใครที่มีความหนาแน่นของกระดูก 1SD ต่ำ
กว่าปกติ ( T-score of -1)  เขาจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหักเป็นสองเท่า
ของคนปกติ และในคนที่มี T-score -2 มีโอกาสเกิดกระดูกแตกหักถึง 4 เท่า

จากข้อมูลที่ได้รับ...
เมื่อใครก็ตาม ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก จะต้องทำการป้องกันไม่ให้ก
เกิดมีกระดูกแตหักเกิดขึ้นในอนาคต


<< Previous          Next >>

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) 1


July 20, 2013

คุณยายอายุ 75
มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง พร้อมกับบ่นว่า
มีอาการปวดหลังมานาน  มาพบแพทย์คราใด ก็ได้รับการบอกกล่าวว่ามันเป็นโรคของคนวัยชรา  เป็นโีึรคกระดูกพรุน...  
ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้หรอก...


Go to link...: www.mdguidlines.com


โรคกระพรุนเป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolsim)
ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง เป็นเหตุให้กระดูกเกิดความอ่อนแอ  และเปราะเ
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย


Go to link: www.physioworks.com.au

เมื่อมวลของกระดูกลดลง ย่อมทำให้เกิดความอ่อนแอ  และเกิดความเเปราะ
มีความเสี่ยงต่อการเกิดแตกหักได้ง่าย ซึ่งเราจะพบกระดูกทีีเกิดการแตกหัก ได้บ่อย 
ในตำแหน่งที่เป็นกระดูกสันหลังส่วนทรวงอก และระดับบั้นเอว, 
กระดูกข้อมือ, และกระดูกสะโพก

คนที่เป็นโรคดังกล่าว  อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดอย่างเฉียบพลัน
หรืออาจมาด้วยอาการปวดหลังเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่ง

การป้องกัน:

เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดกระดูกพรุนได้ด้วยการรับประทา Ca และ vitamin D
ในปริมาณเพียงพอ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงจากการหกล้ม
และรับประทานยารักษาเพื่อคงสภาพความแข็งแรงของกระดูก
หรือกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น...

คนชนิดใดเป็นโรคกระดูกพรุน ?

จากสถิตของสหรัฐฯ...
พบว่า สตรีมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย 
โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยมากกว่า 50
จากสถิติมีคนเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)ประมาณ 10 ล้านคน
และเป็นโรคกระดูกที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ (osteopenia) ประมาณ 34 ล้านคน
ซึ่งคนกลุ่มนี้ มีโอกาสเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)ได้ในตอนหลัง

สาเหตุที่พบโรคในสตรีมากกว่าชาย...
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสตรีสูงอายุอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมน (estrogen) 
จากสถิติมีรายงานเอาไว้ว่า ในสตรีที่หมดประจำเดือนผ่านไปได้ นาน  5 – 7 ปี  
มีโอกาสสูญเสียมวลกระดูกได้ถึง 20 % 

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors)

มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคกระูดูกพรุนเช่น:

 อายุ (Aging). ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงตามอายุที่สูงวัยขึ้น

 เชื้อชาติ (Race). สตรีชนชาวผิวขาว และคนเอเชีย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด 

 น้ำหนักตัว (Body weight). ความอ้วน (obesity) มักมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความ
หนาแน่นของมวลกระดูก ดังนั้นคนที่น้ำหนักน้อย และในคนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย 
มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน

 ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle factors). พฤติกรรมต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดกระดูกพรุน:

o ไม่ค่อยออกแรง (physical inactivity)
o ดื่มกาแฟ (Caffeine)
o ดื่มแอลกอฮอล์มาก (Excessive alcohol use)
o สูบบุหรี่ (Smoking)
o ขาดธาตุแคลเซี่ยม (Ca) และ vitamin D

 ยาบางชนิด (Certain medications) เช่น steroids...

 ประวัติทางครอบครัวเป็นโรคกระดูก (Family history of bone disease)

>> Next

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cervical Spondylosis (3)

July 20, 2013
Continued...

การวินิจฉัย (Diagnsosis)

การวินิจฉัยโรคกระดูกคอเสื่อม ( cervical spondylosis) กระทำได้ไม่ยาก...
โดยแพทย์จะทำการถามคนไข้เกี่ยวกับอาการปวดที่เกิดขึ้น... และ
ทำการตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจระบบประสาทอย่างละเอียด

จากนั้น คนไข้อาจได้รับการตรวจหลายอย่าง เพื่อยืนยันว่า
เขาเป็นโรคดังกล่าวจริง จากนั้นเขาจะทำการตรวจให้ทราบว่า เขาควรได้รับการ
รักษาแบบใด โดยเฉพาะการผ่าตัด ซึ่งได้แก่:

 ตรวจเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูสภาพโดยทั่วไปของกระดูกคอ
 Myelogram เป็นการตรวจด้วยภาพของกระดูกคอ ด้วยการฉีดสารทึบแสง
เพื่อดูไขประสาท และรากประสาท
 Magnetic Resonance Imaging (MRI) scams เป็นการตรวจด้วยภาพ
เพื่อดูรายละเอียดของเนื้อเยื่อ
 Computerised Tomogarphy (CT) เป็นการตรวจดูรายละเอียดของกระดูก
ซึ่งสามารถตรวจร่วมกับการทำ myelogram
 Electromyographu (EMG) เป็นการตรวจวัดดูการทำงานของเส้นประสาท

การรักษา (Treatment)

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคข้อกระดูกคอเสื่อม จะขึ้นกับความรุนแรงของ
โรคเป็นสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษา
ด้วยวิธีอนุรักษ์ (conservative) โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแต่อย่างใด

ในการรักษาด้วยกรรมวิธีอนุรักษ์....
จะเริ่มต้นดวยการพักผ่อน ซึ่งอาจเป็นการนอนพักผ่อนบนเตียง หรือ
ให้มีการเคลื่อน (restricting activities) ในวงจำกัด

ถ้าการพักผ่อนไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้น
ต่อไปให้สรวมใส่อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้คอเคลื่อนไหว ( neck brace) สักระยะหนึ่ง

คนไข้มักจะได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด (Physical therapy)
ซึ่งเป็นการรักษาด้วยการใช้ความร้อน (heat), แก้ไขท่าทางที่ผิดปกติ
(postural correction), และบริหารร่างกาย เพื่อสร้างความแข็งของกล้ามเนื้อ 
และคงสภาพความยืดหยุ่นของคอเอาไว้ให้ได้

สำหรับยารักษา (Medications)...
ยาที่นำมาใช้ในการรักษา ได้แก่ nonsteroidal anti-inflammatoryDrugs (NSAIDs) 
ซึ่งอาจใช้ในรายทีมีความเจ็บปวดจากการอักเสบ (inflammation)
อาจมีการใช้ (ฉีด) สารสะเตียรอยด์ (corticosteroids) ได้เป็นบางครั้ง
หรืออาจมีก่ารใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant medications) ร่วมด้วย

ในกรณีที่มีความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรง...
อาจจำเป็นต้องใช้ยาประเภท antidepressant  ให้แก่คนไข้ดังกล่าว

สำหรับราย ที่มีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง...
อาจทำการรักษาด้วยการฉีดยา (steroid) เข้าไปรอบๆ ไขประสาทสันหลัง
เพื่อลดความเจ็บปวดที่รุนแรงได้  ซึ่งการฉีดยาด้วยวิธีดังกล่าว 
เป็นวิธีการรักษาในระยะสั้นๆ เท่านั้น

นอกจากนั้น ยังมีทางเลือก ซึ่งถูกนำมาใช้ในการรักษา...
เช่น การฝังเข็ม (acupuncture), massage ....
ซึ่งอาจลดอาการเจ็บปวดในคนไข้บางคนได้

แต่มีข้อระมัดระวัง
เมื่อท่านปวดต้นคอจากกระดูกคอเสือม...
ท่านอย่าให้หมอนวด หรือแม้กระทั้งนักกายภาพบำบัด หรือใครก็ตาม
ทำการดัดกระดูกคอของเป็นอันขาด  เพราะการทำเช่นนั้น
สามารถก่อให้เกิดอันตราย ถึงขั้นอัมพาติได้

เมื่อการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ไม่ประสบผล...
วิธีการผ่าตัด จะถูกนำมาพิจารณา เมื่อคนไข้กระดูกคอเสื่อมรายนั้น 
เป็นชนิดที่มีการกดเส้นประสาท (spinal radiculopathy) 
หรือในรายที่ไขประสาทถูกกด (cervical myelopathy)

ชนิดของการผ่าตัด...
จะขึ้นกับคนไข้แต่ละราย โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือลดแรงกด (pressure)
ซึ่งเกิดขึ้นกับรากประสาท, ไขประสาท, และเส้นเลือด 
รวมไปถึงการทำให้กระดูกคอมีเสถียรภาพ (stabilization)

<< Prev.
ww.southerncross.co.nz/AboutTheGroup/HealthResources/MedicalLibrary/tabid/178/vw/1/ItemID/198/Cervical-spondylosis.aspx

Cervical Spondylosis (2)

July 20,20134
Continued...
 กระดูกคอเสื่อม คือภาวะเสื่อมสภาพของกระดูกต้นคอ, และหมอนกระดูก
ซึ่งอยู่ส่วนต้น ของกระดูกสันหลัง (spinal column)
และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอของคนสูงอายุ

มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า...
กระดูกคอเสื่อม (sppinal spondylosis) จะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากกว่า 50
ได้ถึง 50 % และเมืออายุมากกว่า 75 จะพบได้ถึง 70 %

ข้อมูลทั่วไป และสาเหตุ:

กระดูกสันหลังจะมีลักษณะเหมือนวงแหวนที่ทำด้วยกระดูก มีชื่อเรียกว่า
Vertebrae – มีทั้งหมด 7 ชิ้นกระดูกด้วยกัน โดยตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง
(spinal Column) ไขประสาทสันหลัง (spinal cord) จะทอดผ่านช่องของ
กระดูกสันหลัง (spinal canal) และจากไขประสาท จะมีแขนงเส้นประสาท
แยกออกทางด้านข้าง ลอดผ่านทางช่องระหว่างกระดูกคอแต่ละชิ้น
ซึ่งช่องดังกล่าว มีชื่อเรียก foramina

ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละป้อง (each vertebae) จะมีหมอนกระดูกที่แข็ง
แรง โดยด้านนอกจะมีพังผืด (fibrous tissue) ทำหน้าที่ห่อหุ้มของเหลว
มีลักษณะเหมือนเจล... (gel-like tissue)

หมอนกระดูกจะทำหน้าทีป้องการการสั้นสะเทือน (cushion)ให้แก่กระดูกคอ
พร้อมกับให้กระดูกคอเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้น มันยังทำหน้าที่ปกป้องรากประสาท และเส้นเลือดที่อยู่ระหว่าง 
กระดูกคออีกด้วย

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น...
เราจะพบว่า หมอนกระดูก (disc) จะหดตัว, แบนลง, ความยืดหยุ่นลดลงไป
ทำให้การป้องกันแรงสั่นสะเทือนแก่กระดูกคอลดลง
เป็นเหตุให้กระดูกคอ  เยื่อพังผืด (ligaments) และกล้ามเนื้อ 
ต่างมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากแรงที่มากระทบ, กระแทก และเสียดสี

เมื่อกระดูกคอ (cervical spine) ไม่มีความมั่นคง ไร้ความเสถียร (unstable)...
จะทำให้ตำแหน่ง (position) และแนว (alignmnent) ของกระดูกคอ
เปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้กระดูกคอเสียดสีกัน ทำให้การเสื่อมสภาพของ
กระดูกคอเพิ่มมากขึ้น

เมื่อหมอนกระดูกคอเกิดการหดตัว...
กระดูกคอจะมีการเปลี่ยนแปลง  มีการการตอบสนองด้วยการสร้างกระดูก 
(bone spurs หรือ osteophytes)  และบางที่เราหมายถึง cervical osteoarthritis

การเปลี่ยนแปลงด้วยการเสื่อมสภาพดังกล่าว จะไปละคายต่อกล้ามเนื้อ,
เอ็นหรือพังผืด, และเส้นประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการต่างๆ 
ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของโรคข้อกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis)

การเสื่อมสภาพของกระดูก และ หมอนกระดูกในระดับคอ (cervical spine)
ถือว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติที่เกิดขึ้นกับคนที่มีอายุย่างเข้าสู่วัยชรา
ซึ่งเราจะทำการวินิจฉัยว่า ใครเป็นโรค cervical spondylosis ก็ต่อเมื่อ
ระดับ (degree) ของการเสื่อมสภาพมีความรุนแรง, และมีอาการที่ก่อให้เกิดขึ้น
มากกว่าที่จะกล่าวว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนสูงอายุ

อาการ และอาการแสดง
(Signs and Symptoms)

เราจะพบว่า...
อาการของคนที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis) จะมีความแตก
ต่างจากน้อย (mild) ไปหามาก (severe)

อาการที่พบได้บ่อยที่สุด คืออาการปวดต้นคอ (neck pain)
ซึ่งจะแผ่กระจายไปยังฐานของต้นคอ และข้อไหล่ โดยมีอาการเป็นๆ หายๆ
หรือมีอาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องก็ได้

คนไข้อาจมีความรู้สึกคอแข้ง (feel stiff), 
เกิดมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวคอ หรืออาจมีอาการปวดเพิ่มขื้น
นอกนั้น คนไข้มักมีอาการปวดศีรษะเกิดร่วมด้วยเสมอ

เมือเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกคอ 
ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากไขประสาท 
เมื่อมันถูกกด สามารถก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ ปวด, ออกแสบร้อน,
เสียวซ่าที่บริเวณคอ และร้าวไปยังกระดูกสะบัก หรือร้าวไปยังแขนทั้งสอง
ภาวะดังกล่าว เขาเรียกว่า cervical radiculopathy

กระดูกคอเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ...
สามารถทำให้ช่องกระดูกสันหลัง (spinal canal) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขประสาท
ทอดผ่าน เกิดตีบแคบลงได้ เป็นภาวะที่เรียกว่า spinal stenosis
และเมื่อความตีบแคบของช่องกระดูกดังกล่าวกดทับไขประสาท (spinal cord)
เป็นเหตุให้ไขประสาทถูกทำลาย เรียกภาวะดังกล่าวว่า cervical myelopathy

เมื่อไขประสาทถูกกดเป็นเวลานาน...
มันสามารถทำให้การไหลเวี่ยนของเลือด และอาหาร (nutrients) สู่ไขประสาท
ลดลง เป็นเหตุให้ไขประสาทถูกทำลาย (damage)
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น ดังนี้:

§  กล้ามเนื้อของขาเกิดการอ่อนแรง หรือทำให้เดินได้ลำบาก
§  นอกจากล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง จะทำให้รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มตำที่แขน
   และมือ และทำให้ความชำนาญในการใช้มือ และแขนลดลงหรือหายไป
§  หมดความรู้สึก ที่บริเวณแขน และ/หรือขา
§  การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ (bladder & bowel) เสียไป
   (เป็นอาการที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่จะเพบในระยะสุดท้ายของการเกิดโรค)

การเกิดภาวะไขประสาทถูกกด (cervical myelopathy) จะพบได้น้อย
ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีการประเมินเอาไว้ว่า
ในคนที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis) สามารถเกิดข้ได้ 5 %



วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cervical Spondylosis (1)


July 20, 2013

งานของแพทย์ เป็นงานด้านใหบริการอย่างหนึ่ง
ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาได้ไม่มากก็น้อย 
บ่อยครั้งหากการใหบริการนั้น
ไม่เป็นที่พอใจ สิ่งที่ได้รับจากผู้รับบริการ อย่างเบาสุด คือคำต่อว่า...
หนักสุดก็มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 

Go to link: http://www.boltonphysiotherapy.co.uk/

จำได้ว่า เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว
ภาษาพูดของผู้เขียนที่ใช้กันในระหว่างเพื่อนฝูง จะเป็นคำพูดสมัยพ่อขุนรามฯ
เสียเป็นส่วนใหญ่...

“เฮ้ย..กำนัน เองอย่าให้ใครนวด และดัดต้นคอเองเป็นอันขาด...
เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน เพราะการให้คนอื่น (หมอนวด) ดัดคอ สามารถทำให้เกิด

อันตราย เป็นอัมพาติ หรือตายคามือหมอนวดได้นะมึง”

นั้นเป็นคำพูดของผู้เขียน ที่ได้กล่าวเตือนเพือนที่เป็นผู้บริหารระดับตำบล
ซึ่งมีอาการปวดต้นคอ จากโรค “ข้อ-กระดูกคอเสื่อม”

เพื่อนกำนัน เป้นคนมีความเชื่อมั่นในตนเอง สมกับเป็นผู้บริหารตำบล
ไม่เชื่อคำแนะนำของผู้เขียนแม้แต่น้อย แถมยังดูถูกคำแนะนำของเราเสียอีก
กำนัน มีความเชื่อ และศรัทธาในฝีมือ “แม่อุ้ย” หมอนวดประจำตำบล
ซึ่งกำนันใช้บริการเป็นประจำ

“แม่อุ้ย...นวดให้กูมานานแล้ว นวดแล้วรู้สึกสบายทุกที กูไม่เชื่อมึงหรอก
เองไม่ต้องมาบอกให้เสียเวลา...”

นั่นเป็นคำพูดที่ได้ยินจากปากของกำนัน

ผู้เขียนรู้ว่ากำนันเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม ได้เคยแนะนำให้ใช้ยริการจากโรงพยาบาล
โดยมีนักกายภาพบำบัด พร้อมเครื่องมือให้บริการ...
แต่กำนัน แกก็ปฏิเสธไม่ยอมรับสิ่งที่เสนอให้ หันไปใช้บริการของแม่อุ้ยแทน

เราได้แต่เป็นห่วง กลัวเพื่อนจะเป็นอันตรายจากการนวดกระดูกคอโดยหมอนวดประจำบ้าน
ในเมื่อเพื่อนเรา ไม่กลัว และไม่ยอมเชื่อ ผู้เขียนไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้
ต้องปล่อยให้เพื่อนเสี่ยงต่ออันตรายต่อไป...

ประมาณห้าปีต่อมา...
ผู้เขียนได้มีโอกาสพบคนไข้วัยเกือบหกสิบ ถูกห้อมล้อมด้วยสตรีวัย 40s
หลายนาง ทราบภายหลังว่า ทุกนางต่างเป็น “ภรรยา” ของผู้ป่วย

ผลจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายของคนไข้...
ได้รับคำบอกเล้าจากปากของคนไข้ว่า
ในขณะที่คนป่วยได้รับการนวดจากผู้หญิงผู้สูงวัย (แม่อุ้ย) เขาได้ยินเสียงดัง “เปาะ”
ที่บริเวณคอ พร้อมรู้สึกว่าร่างกายส่วนร่างหายไป

คำวินิจฉัยที่ได้รับหลังการตรวจร่างกาย คือ อัมพาติของแขน-ขา
ซึ่งเกิดจากโรคคอเสื่อม แล้วได้รับบาดเจ็บ (อัมพาติ) จากการนวด...

ในขณะมองหน้าผู้ป่วย...
ผู้เขียนต้องสดุ้งสุดตัว เมื่อคนไข้คนดังกล่าว...คือกำนันเพื่อนเก่า
ซึ่งผู้เขียนเคยเตือนเอาว่า “อย่าให้ใครนวดคอเป็นอันขาด” นั่นเอง

เรื่องไม่จบแค่นั้น...
ผู้เขียนต้องสดุ้งเป็นครั้งที่สอง เมื่อได้ยินคำพูดจากสตรึนางหนึ่ง (เมียของกำนันเอง)
กล่าวว่า

“ที่พี่กำนันต้อง อัมพาติ... เป็นเพราะหมอ (ผู้เขียน)เป็นคนแช่งกำนัน
ให้เป็นเช่นนั้น...”

นั้นคือสิ่งที่ผู้เขียนได้รับจากการเตือนกำนัน

>> Next : โรกข้อ-กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Current Modalities for Treating Chronic Kidney Disease


Jun 29,2013

ในการรักษาโรคไตเรื้อรัง (CKD)
คนไข้อาจได้รับการรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป 

ในปลายปี  2008 (สหรัฐฯ) ได้รายงานเกี่ยวกับการรักษาคนไข้โรคไตเรื้อรังเอาไว้ว่า 
มีคนไข้ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด (hemodialysis center)ที่ศูนย์ฟอกเลือด  64 %,
ทำการฟอกเลือดที่บ้าน (home hemodialysis) น้อยกว่า 1 %,
และทำการฟอกเลือดด้วยวิธีใส่น้ำยาลงในช่องท้อง (peritoneal dialysis)  5 %,
และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต (transplantation) 30 %

การฟอกเลือด (Hemodialsis)
การฟอกเลือด หรือ hemodialysis เป็นวิะธีการกำจัดเอาสารที่เป็นพิษ และน้ำส่วนเกิน
ออกจากร่างกาย โดยให้เลือดของคนไข้ไหลเวียนออกจากร่าง ให้ไหลผ่านเครื่องมือ
ซึ่งทำหน้าที่เสมือนการทำงานของไต   หรือบางที่เราเรียกว่า dialyzer
โดยทั่วไปเล้ว จะมีการฟอกเลือดด้วยวิธีดังกล่าวอาทิตย์ละ 3  ครั้ง 
แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ  3 – 4 ชั่วโมง

นอกจากการฟอกเลือดตามปกติแล้ว ยังมีวิธีการฟอกเลือดที่แตกต่างออกไป...
เป็นต้นว่า มีการเพิ่มระยะเวลาการฟอกเลือดให้ยาวนานออกไป ซึ่งเป็นการลจำนวนครั้ง
หรือจำนวนวันลง หรือทำการฟอกเลือดในตอนกลางคืนขณะคนไข้นอนหลับ
โดยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
ปรากฏว่า ได้รบความนิยมจากคนไข้มากขึ้น

วิธีการฟอกเลือดสามารถกระทำที่บ้านของคนไข้เอง...
โดยคนไข้ และผู้ช่วยเหลือ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสามี หรือภรรยาของคนไข้เอง
ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากแพทย์มาเป็นอย่างดี  ทำให้คนไข้สามารถทำการฟอกเลือด
ที่บ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาล

นอกจากนั้น ยังมีการการฟอกเลือดระยะสั้น ๆ (short daily hemodialysis)…
การฟอกเลือดแบบนี้  คนไข้จะได้รับการฟอกเลือด 5 – 6 ครั้ง ต่อหนึ่งอาทิตย์ 
ในการฟอกเลือดแต่ละครั้ง จะใช้เวลาสั้น ๆ  1.5 ถึง 3.5 ชั่วโมง
ด้วยวิธีการโดยการแบบนี้ จะทำให้คนไข้รู้สึกดีกว่าการฟอกเลือดตามรูปแบบมาตรฐาน
(สามครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์)

ในระหว่างการรักษาด้วยการฟอกเลือด....
คนไข้จำเป็นต้องได้รับยารักษา (medications) เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต,
ภาวะเลือดจาง, และโรคกระดูก  และสามารถรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องจำกัดมากนัก

การฟอกเลือดโดยผ่านช่องท้อง (Perioneal dialysis):
เป็นการฟอกเลือดโดยผ่านช่องท้อง (Abdominal cavity)
โดยให้เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ทำหน้าที่กำจัดเอาของเสืียออกจากร่างกาย
ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้สายยางเล็ก ๆ สอดเข้าไปในช่องท้อง 
พร้อมกับใส่น้ำยาปราศจากเชื้อ (sterile dialysate) เข้าไป  
แล้วทำการปล่อยน้ำให้ละบายออกทิ้ง 
วิธีการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง บางที่เขาเรียกว่า   "exchange"


ในการฟอกเลือดด้วยวิธีการผ่านช่องท้อง (PD)…
ปรากฏว่า มีให้เลือกหลายรูปแบบ ที่กระทำกันบ่อยที่สุด คือ การปล่อยให้น้ำยาไหล
เข้าสู่ท้องตลอดเวลาที่คนไข้เคลื่อนไหว (continuous cycling PD)
ซึ่งสามารถกระทำได้ 4 – 5 ครั้ง (exchanges) ต่อวัน

การฟอกเลือด อาจกระทำในตอนกลางคืน (nocturnal hemodialysis)
ส่วนใหญ่จะกระทำที่ศูนย์ฟอกเลือด โดยกระทำที่ศูนย์ในขณะที่คนไข้นอนหลับ, 
ซึ่งใช้เวลา 8 ชั่วโมงเท่ากับเวลาที่คนไข้นอนหลับพักผ่อน อาทิตย์หนึ่งทำ 3 – 4 ครั้ง

วิธีฟอกเลือดในตอนกลางคืนขณะคนไข้นอนหลับ...
เป็นวิธีที่ทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น อยากรับประทานอาหาร มีพละพลังเพิ่มขึ้น
และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีผลอันไม่พึงประสงค์น้อยมาก
โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ หรืออาหารมากนัก

ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไต (kidney transplantation) 
เป็นวิธีการรักษามากกว่าที่จะเป็นการรักษาโรคไตเรื้อรัง
เป็นการรักษาที่ไม่รีบด่วน (elective) มากกว่าที่จะเป็นการผ่าตัดฉุกเฉิน (emergency) 
เพื่อช่วยชีวิตคนไข้  และตามหลักทางการแพทย์แล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนไต 
ไม่ใช้วิธีที่คนไข้ (CKD) ทุกคนสามารถที่จะได้รับ  
มีคนไข้บางราย มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ไม่สามารถได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีดังกล่าว






น้ำมะพร้าว (Coconut Water)

July 19,2013

คงไม่มีท่านใดปฏิเสธว่า...
น้ำมะพร้าว (coconut water) มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรา
แต่หนึ่งในพวกเรา ตั้งคำถามขึ้นว่า น้ำมะพร้าวมันดีอย่างไร ?

น้ำมะพร้าว เป็นอาหารที่มีตามธรรมชาติ ให้แคลอรี่ต่ำ
และปราศจาก cholesterol มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูงกว่า “กล้วย”

ชาวอเมริกันคลั่งไคล้น้ำมะพร้าวอย่างขนานใหญ่ โดยผู้มีชื่อเสียงอันได้แก่
นักกิฬา และดาราต่างหันมานิยมดื่มกันเป็นว่าเล่น ถึงขนาดขนานนามมันว่า
“Mother nature’s Sport drink” พร้อมกับโฆษณาให้เกิดความหลงว่า...
สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้หลายอย่าง

คำถามมีว่า...
น้ำมะพร้าว มันดีต่อสุขภาพจริงหรือ ?
หรือเป็นการโฆษณาเกินจริง ?

What Is Coconut Water?
เป็นที่ทราบกันว่า...
น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งธรรมชาติจัดสรรให้ 
มันมีรสหวาน ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลที่ง่ายต่อการย่อย และ
มี “อีเล็กโตไลท์” ซึ่งมันจะบรรจุภายใจกลางของลูกมะพร้าว

น้ำมะพร้าวจะให้แคลอรี่ต่ำ มีปริมาณของโซเดียมต่ำ, มีโปรแตสเสี่ยมสูงกว่าน้ำดื่ม
ของนักกิฬา (sport drink)

ในน้ำมะพร้าวหนึ่งออนซ์ หรือประมาณ 30 ซีซี จะให้พลัง 5.45 calories,
1.3 gram sugar, 61 milligrams potassium, และ sodium 5.45 mg

Better Than Some Sugary Drinks

น้ำมะพร้าว จะมีน้ำตาลน้อยกว่านำขวด (sport drinks) ทั้งหลาย
และน้อยกว่าน้ำผลไม้บางชนิด เป็นเครื่องดื่มที่ดีสำหรับทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
แต่อย่าดื่มมากไป เพราะถ้าคุณดื่ม 11 ออนซ์ คุณจะได้ พลังงานถึง 60 แคลอรี่
และหากคุณดื่มน้ำมะพร้าววันละหลายครั้ง คุณจะได้รับแคลอรี่สูงขึ้น
ในคนที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องระวังเอาไว้

อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านเป็นคนชอบเครื่องดื่ม (น้ำอัดลม) เป็นประจำ
ขอแนะนำให้เลือกดื่มน้ำมะพร้าว (palin coconut water)
น่าจะดีกว่าน้ำอัดลมที่เพิ่มน้ำตาลเป็นไหนๆ

Bottom Line (สวนสำคัญที่สุด)
ในการดื่มน้ำมะพร้าว ย่อมให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง
เพราะการดื่มน้ำมะพร้าว เป็นวิธีการให้น้ำแก่ร่างกายตามธรรมชาติ, ลดธาตโซเดียม 
และเพิ่มธาติโปแตสเซี่ยมแก่ร่างกาย

บางคน (หลายคน ?) อาจไม่ได้รับธาตุโปรแตสเซี่ยมเพียงพอกับความต้องการ 
ทั้งนี้เพราะเขาไม่ชอบรับประทานผัก, ผลไม้ หรือนม...
ดังนั้น การดื่มน้ำมะพร้าว สามารถชดเชยส่วนที่ขาดได้

ในปัจจุบัน ยังไม่หลักฐานเพียงพอที่จะสนับนุนคำโฆษณาชวนเชื่อถึง
คูณภาพของน้ำมะพร้าวว่า มันสามารถรักษาโรคได้..
เราจะต้องรอผลการวิจัยต่อไป

สำหรับคนออกกำลังกายในเวลาว่าง (recreational athletes)...
ไม่ว่าท่านจะดื่มน้ำมะพร้าว หรือน้ำเปล่า หรือน้ำขวด (sport drink)
ก็ได้ผลดีพอๆ กัน ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด

โดยทั่วไป สำหรับผู้ใหญ่ที่ออกกำลังเป็นประจำ ไม่รุนแรงเท่านักกิฬา
การดื่มน้ำเปล่าธรรมดาก็เพียงพอแก่การ 
ไม่จำเป้นต้องดื่มน้ำมะพร้าว หรือน้ำอัดลม-sport drink ให้เสียสตางค์

แต่ถ้าคุณชอบดื่มน้ำมะพร้าว และมีสตางค์พอที่จะจ่ายได้ 
ท่านสามารถดืมได้ตามอัธยาศัย...ไม่เสียหายอะไร แถมยังมีประโยชน์บ้าง
เพราะน้ำมะพร้าว เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ให้แคลอรี่ต่ำ, 
เพิ่มธาติโปแตสเซี่ยมให้แก่ร่างกาย  และสามารถทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพไม่ขาดน้ำ

http://www.webmd.com/

Coconut: Good fat or Bad ? 2

July 18, 2013
Continued.
All saturated fats are not equal
มีความจริงอย่างหนึ่ง ที่เราควรทราบ...
นั้นคือ ไขมันอิ่มตัวทั้งหลาย มีความแตกต่างกันในด้านโครงสร้างทางเคมี
โดยขึ้นกับจำนวนของ carbon  atoms ที่แตกต่างกัน
และอาหารแต่ละอย่างจะมีความเข็มข้นของไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) 
ในปริมาณที่แตกต่างกัน

ไขมันอิ่มตัว (saturated fat) ที่ปรากฏในน้ำมันมะพร้าว (coconut oil)...
ประกอบด้วยกรดสองชนิดในปริมาณสูง นั้นคือ lauric  และ myristic acids
ส่วนไขมันอิ่มตัวที่พบในเนื้อวัว จะเป็นกรดที่มื่อว่า palmitic acid

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว...
จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว
จะเพิ่มระดับ cholesterol ในกระแสเลือดได้ แต่เกิดมีปัญหาขึ้นว่า....
ไขมัน cholesterol ตัวใหนละที่เพิ่มขึ้น ?
LDL cholesterol หรือว่าเป็น HDL cholesterol ?
ในประเด็นดังกล่าว...
นักวิจัยไมjสามารถบอกได้อย่างชัดแจ้งว่า ไขมัน (fatty acids) ชนิดใด
ปรากฏในน้ำมันมะพร้าว เป็น LDL ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี (bad cholesterol)
หรือว่า HDL cholesterol ซึ่งเป็นไขมันดี (good cholesterol) 

มะพร้าวอาจเพิ่ม HDL cholesterol ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเอง
แต่จะไม่มากเท่ากับพวกไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fats)

จากความจริงดังกล่าว...
ถ้าท่านเปลี่ยนน้ำมันพืช  เช่นจาก น้ำมันมะกอ (olive oil) ไปเป็นน้ำมันมะพร้าว
(coconut oil) ทันที ระดับของไขมัน cholesterol ในกระแสเลือดของท่านจะสูงขึ้น
อย่างแน่นอน

Fats, foods and heart disease

เมื่อมีคนกล่าวว่า...
เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง  มันหมายความว่าอย่างไร ?

ผลการศึกษาอัตราการตายจากโรคหัวใจของคนที่อาศัยใน Singapore
เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่อาศัยใน Hong Kong เขาพบว่า

คนใน Singapore ตายมากกว่าคนใน Hon Kong ถึงสามเท่าตัว  
ซึ่งนักวิจัยได้ลงความเห็นว่า  ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะคนสิงคโปร์ รับประทาน
น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มมากนั้นเอง  โดยที่น้ำมันทั้งสองชนิดต่างมีไขมัน
อิ่มตัว (saturated fats) ในปริมาณสูง  แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น

ได้กล่าวมาก่อนหน้าที่นี้ว่า...
น้ำมันมะพร้าวไม่ใช้น้ำมันที่แย่ที่สุดที่คนเราจะนำมาใช้
ผลจากการศึกษาของนักวิจัยชาวดัทซ์  กล่าวว่า 

การรับประทานไขมันที่มีกรด Lauric acid สูง เช่นในน้ำมันมะพร้าว ยังดีกว่า
การรับประทานไขมันประเภท trans-fatty acids เป็นไหน ?

(trans-fatty acid เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว unsaturated fats ซึ่งเกิดขึ้นในขณะผลิต
อาหาร เช่นพวกขนมปัง (biscuit) หรือขนมปิ้ง (pastries)
เป็นไขมันที่แย่กว่ากว่าน้ำมันอิ่มตัว (saturated fat) เสียอีก

แต่ผลของการศึกษาจำนวนไม่น้อย...
ได้มองไปที่สุขภาพของคนที่รับประทานอาหารที่มาจากมะพร้าว- น้ำมัน, เนื้อ,
และกะทิมะพร้าว  เขาพบว่า  อาหารที่ได้จากผลผลิตของมะพร้าวไม่น่ากลัว
อย่างที่คิด (benign) แต่อาจมีประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป

Professor Mark Wahlqvist, director of the Asia Pacific Health and
Nutritiona Cetre at Monash University...

เขาได้ทำการศึกษาสุขภาพ ของคนใน West Sumatra เป็นเวลาประมาณ 25 ปี พบว่า 
มะพร้าวเป็นอาหารหลักของชาว West Sumatra โดยเฉพาะคนที่อาศัยใน Minangkabau 
ซึ่งต่อมาภายหลัง พวกเขาลดการบริโภคมะพร้าวลงทเพราะมีอาหารอย่างอื่นที่ปรุงได้ง่ายกว่า  
และจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว  เขาพบว่า 
อุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจจากหลอดเลือด (coronary Heart disease) กลับเพิ่มสูงขึ้น

เขาให้เหตุผลว่า...
ในขณะที่ประชาชนในบริเวณดังกล่าวรับประทานอาหารที่มะพร้าวเป็นจำนวนมากนั้น
เขาจะใช้น้ำมันมะพร้าวกันเป็นส่วนใหญ่สำหรับปรุงอาหาร
นอกจากนั้น ชาว Mangkabau ยังรับประทานร่วมกับผลไม้สด, ผัก และปลา
ในปริมาณสูงอีกด้วย

ตามเป็นจริง...
การใช้น้ำมะพร้าวในการปรุงอาหาร จะทำให้คนรับประทานปลา
และผักมากขึ้น

Professor Wilhqvist ยังคนพบว่า...
มันไม่ใช้ปริมาณของไขมัน (saturated or unsaturated fat) ในอาหารของ
พวกเขาหรอก ที่ทำให้สุขภาพของคนดีขึ้น (healthy) หรือเลวลง (unhealthy) 
แต่เป็นเพราะปริมาณของเนื้อ (meat), ไข่ (eggs), น้ำตาล (sugar),
และปริมาณของโปรตีน และ cholesterol ในปริมาณสูงในอาหารต่างหากละ...
ที่ทำให้สุขภาพแย่ลง

นอกจากนั้น  คนในกลุ่มดังกล่าว ยั้งรับประทานอาหารที่ได้จากพวกถัว และ
พวกเมล็ดพืช เช่นข้าวในปริมาณต่ำอีกด้วย  ย่ิิงเป็นเหตุให้สุขภาพแย่ลงไป
อีก

ที่สำคัญ การรับประทานมะพร้าวในรูปของเนื้อมะพร้าว (coconut flesh) หรือ
น้ำกะทิ (coconut milK) จะไม่พบความแตกต่างในคนที่มีสุขภาพดี (healthy)
หรือคนสุขภาพไม่ดี (unhealthy)

จากข้อมูลดังกล่าว...
จึงพอที่จะอธิบายได้ว่า ทำไมองค์กรค์อย่าง National Heart Foundation &
American Heart Association ยังคงสนับสนุนให้มีการใช้สูตรปรุงอาหาร
ที่มะทิมะพร้าว (coconut milk) ในเว็บไซต์ของพวกเขา

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้...
ถ้าท่านปรุงอาหารด้วยการใช้กะทิมะพร้าว (coconut milk) ท่านกำลังปรุง
อาหารอะไรบางอย่าง ซึ่งมีผักเป็นจำนวนมาก บางทีอาจมีเนื้อปลา
หรือเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบของอาหารด้วย

ถ้าท่านใช้กะทิมะพร้าวที่ได้ลดปริมาณไขมัน (fat-reduced coconut milk)
ไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) ที่มีอยู่ในอาหาร จะถูกหักล้างสิ่งไม่ดี
และทำให้เกิดความสมดุลด้วยผัก และอาหารอย่างอื่น 
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเอง

โดยสรุป...
การเปลี่ยนน้ำมันมะกอกไปเป็นน้ำมันมะพร้าว  ไม่น่าจะเป็นเรื่องดี
แต่การใช้กะทิมะพร้าวที่ลดปริมาณไขมันลง และมีการใช้ผักในปริมาณสูง
เช่น รับประทานแกงเผ็ด (อาหารไทย)  ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำกะทิมะพร้าว
นานๆ รับประทาครั้ง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร....

<< Prev.

http://www.abc.net.au