9/21/12
มีสตรีผู้มีร่างอวบอ้วนท้วนท่านหนึ่ง ตั้งคำถามว่า...
มีสตรีผู้มีร่างอวบอ้วนท้วนท่านหนึ่ง ตั้งคำถามว่า...
“อีฉันมีไขมันมากไปนิด พยายามลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย
แต่ก็ไม่สามารถลดได้สักที อยากเรียนถามคุณหมอว่า
การออกกำลังกายมาก ๆ เป็นอันตรายหรือเปล่า... ?
เราคงเคยได้ยินคนวัยกลางคน ออกแรงมากไปด้วยการวิ่งสุดแรงเกิด
(strenuous exercise) ปรากฏว่า ชายกลางคนท่านนั้นเกิดล้มลงขาด
ใจตาย แพทย์บอกว่า เสียชีวิตเพราะหัวใจล้มเหลว
การออกกำลังกายสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างแน่นอน
เคยมีตัวอย่าง (ไม่มาก) ที่เกิดจากเกิดภาวะ หัวขาดเลือด หรือ หัวใจเต้น
ไม่สม่ำเสมอขณะออกกำลังกาย และเกิดตามหลังการออกกำลังกายประ
มาณสองสามชั่วโมงให้หลัง
แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่พึงเกิดจากการออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีการเพิ่มงาน (stress)ให้หัวใจปรากฏว่า
มันกลับเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย
มีหลักฐานยืนว่า คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีโอกาสเสียชีวิตจาก
โรคหัวใจได้น้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย (inactive people)
สำหรับท่านที่ต้องการทราบว่า การออกกำลังกายมีอันตรายหรือไม่
มีคำถามต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่า ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่
คำถามที่ท่านจะได้รับจากแพทย์ ผู้รับผิดชอบ มีดังนี้
· เมื่อท่านเดินขึ้นเขา หรือเดินขึ้นบันได...
ท่านเคยมีอาการปวดหน้าอกหรือไม่ไม่ ?
คำถามนี้จะช่วยให้ทราบว่า ถ้าท่านเคยมีภาวะของหัวใจขาดออกซิเจน
(angina) ซึ่งเป็นอาหารเตือนให้ทราบว่า หัวใจตกอยู่ภายใต้อันตราย
จากการขาดเลือด
· ท่านเคยมีประวัติการเป็นลมหมดสติมาก่อนหรือไม่ ?
ถ้าคำตอบเป็นว่า ท่านเคยมีประวัติดังกล่าว มันย่อมบอกให้ทราบว่า...
หัวใจของท่านอาจเต้นผิดปกติก็ได้
· ท่านสามารถหิ้วของหนักเดินขึ้นบันไดได้หรือไม่ ?
ถ้าท่านสามารถตอบว่า “ได้” ย่อมหมายความว่า
ทั้งมือ และเท้าต่างทำงานหนักได้
ซึ่งหมายความว่า ท่านมีสุขภาพที่ดี
ถ้าคนไข้ไม่มีอาการเตือนว่า เป็นโรคหัวใจ...
แพทย์จะทำการซักประวัติ หาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
เช่น การสูบบุรี่, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ระดับคลอเลสเตอรอสูง,
ระดับไขมันดี (HDL-C) ต่ำ, มีประวัติของสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ,
และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เช่นมีชีวิตนั่งโต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่
แพทย์จะทำการตรวจ และวัดความดันโลหิตของคนไข้ ฟังการเต้นของหัวใจ
ฟังเสียงลมหายใจท่านเข้าสู่ปอด และทำการตรวจคลื่นของหัวใจ
(electrocardiogram) และอาจตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ที่จำเป็น
ถ้าผลการตรวจ ปรากฏว่า ทุกอย่างเป็นปกติ
สิ่งที่แพทย์จะกระทำ คือ ปล่อยให้คนไข้กลับบ้าน โดยไม่ทำอะไรต่อ
และส่วนใหญ่ จะมีคำแนะนำให้คนไข้ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ....
และอย่าทำงาน หรือออกแรงให้มากเกิน....
หากคนไข้ต้องการตรวจคลื่นหัวใจภายใต้การออกกำลังกาย (exercise test)
โดยไม่มีเหตุเพียงพอที่จะให้ตรวจเช่นนั้นเลย
ในกรณีเชนนั้น แพทย์อาจปฏิเสธที่จะกระทำ หรือ
กระทำการตรวจคลื่นหัวใจภายใต้ความกดดัน เพื่อให้คนไข้สบายใจ
สิ่งที่พวกเราควรทราบจากการตรวจ (exercise test)...
การตรวจคลื่นหัวใจภายใต้การออกกำลังกาย (exercise test) บางครั้งเราเรียก
Exercise stress test หรือ thread mill test จัดเป็นวิธีการการตรวจดูสภาพของ
หัวใจ เพราะภายในสภาพการตรวจเช่นนั้น หัวใจจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนจำนวน
เพิ่มขึ้น หากมีความผดปกติในกล้ามเนื้อหัวใจ หรือมีหลอดเลือดหัวใจตีบแข็ง
มันจะแสดงออกทางคลื่นของหัวใจ
แต่โดยทั่วไป ถ้าคนเราไม่มีอาการแสดงใด ๆ และจากการตรวจร่างกาย
ไม่พบความผิดปกติใด เราไม่จำเป็นต้องทำการตรวจ exercise test เลย
สาเหตุที่เราไม่ทำการตรวจ exercise test เพราะการตรวจเช่นนั้น ก่อให้เกิดผล
บวกหลอก (false positive) ได้ถึง 15 %
ซึ่งหมายความว่า คนที่ปกติสมบูรณ์ดีทุกประการ
แต่จากการตรวจแพทย์บอกว่า เขา (คนปกติ) เป็นโรคหัวใจ...
ท่านคิดว่า อะไรจะเกิดต่อไป ?
จะมีกระบวนตรวจเพื่อยืนยันว่า ท่านเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ด้วยวิธีการเรียก
Cardiac catheterization ซึ่งการตรวจด้วยวิธีการดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็น
วิธีการที่ปลอดภัย แต่สิ่งที่เราเคยได้ยินมามีว่า คนที่ได้รับการตรวจด้วยวิธี
การดังกล่าว เกิดภาวะแทรกซ้อนสมองถูกทำลาย (stroke)
โดยคนไข้ไม่มีโรคหัวใจเลย
จากตัวอย่างที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า การตรวจพิเศษต่างๆ ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้
เราก็ไม่ควรตรวจให้เสียเวลา เสียสตางค์ และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเป็นอันขาด
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยได้เร็วด้วยการซักประวัติ
ซึ่งอาจเกิดมีอาการเมื่อมีการออกแรง
ผู้เชี่ยวชาญหลายนายมีความเชื่อว่า
การตรวจคลื่นหัวใจภายใต้การออกกำลังกาย (exercise test) จะกระทำใน
คนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบแข็ง (atherosclerosis)
เช่น เป็นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, และ
ระดับไขมัน cholesterol ในเลือดสูง
ในกรณีที่แพทย์ไม่สั่งให้มีการตรวจคลื่นหัวใจตามธรรมดา...
หรือทำการตรวจ Exercise test ท่านก็ไม่ต้องตกใจ ให้เริ่มทำการออกกำลังกาย
ได้ตามปกติ แต่เพื่อความปลอดภัย ท่านต้องสังเกตดูสัญญาณเตือน
จากตัวของท่านเอง...
ในระหว่างกายออกกำลังกาย ถ้าหากเกิดมีอาการเจ็บอก หรือแน่นหน้าอก
ให้ท่านหยุดพักทันที....จากนั้นให้ไปพบแพทย์ทันที
หากท่านเป็นลมหมดสติ ก็เป็นข้อชี้บอกว่า มันอาจเป็นปัญหาของการเต้นของหัวใจ
ซึ่งท่านต้องพบแพทย์อย่างรีบด่วนเช่นเดียวกัน
สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน...
การเริ่มออกกำลังกายอย่างช้าๆ ค่อยๆ เพิ่มความเข็มข้นขึ้นที่ละน้อย
จะมีค่ามากกว่าการพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์เสียอีก
แต่หากมีอาการตามที่กล่าว....ท่านค่อยปรึกษาแพทย์ก็ไม่เสียหายตรงไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น