วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

Pancreatic Islet Transplantation continued 2

8/31/12

กรรมวิธีปลูกถ่ายกลุ่มเบต้า-เซลล์

นักวิจัยใช้เอ็นไซม์พิเศษ  สกัดเอากลุ่มเซลล์ออกจากตับอ่อนจากศพ(donor)
เนื่องจากกลุ่ม “เบต้า-เซลล์” มันแตกเป็นส่วนเล็ก ๆ ได้ง่าย 
ดังนั้นควรฉีดเข้าสู่คนที่ต้องการได้รับการปลูกถ่ายให้เร็วที่สุด
(สกัดได้ปุบก็ฉีดเข้าสู่คนทันที)

โดยทั่วไป  คนได้รับการปลูกถ่าย  ควรได้รับกลุ่มเบต้า-เซลล์จำนวนอย่างน้อย
10,000 กลุ่ม  ต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม    ส่วนใหญ่ คนไข้จะได้รับการปลูกถ่าย
สองครั้ง   เพื่อให้คนไข้ที่เป็นเบาหวาน  ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินอีกต่อไป


การปลูกถ่ายกลุ่มเซลล์ที่ได้จากผู้บริจาค  ส่วนใหญ่กระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยว
ชาญทางเอกซเรย์  ซึ่งเขาใช้เอกซเรย์  หรือ  อัลตร้าซาวด์  เป็นตัวช่วย
ในการสอดใส่สายยางเข้าสู่ช่องท้องผ่านเส้นเลือด portal vein เข้าสู่ตับ
จากนั้นเขาก็ปล่อยกลุ่มเซลล์ (เหมือนปล่อยน้ำเกลือ) ผ่านไปตามสายยางเข้า
สู่ตับอย่างช้า ๆ

ภายหลังการปลูกถ่ายกลุ่มเบต้า-เซลล์  มันจะปล่อยอินซูลินออกสู่กระแสเลือดมาทันที  อย่างไรก็ตาม  กลุ่มเซลล์เบต้าจะทำงานได้เต็มที่   และมีเส้นเลือดเกิดขึ้น  จำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง  และคนไข้จำเป็นต้อง
ได้รับอินซูลินจนกว่า  กลุ่มเซลล์เบต้าจะทำงานได้เต็มที่



ประโยชน์ และโทษที่พึงไดจากการปลูกถ่ายกลุ่มเซลล์เบต้า ?
เป้าหมายของการปลูกถ่ายกลุ่มเซลล์เบต้าจากตับอ่อน  คือ  ควบคุม
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนไข้โรคเบาหวาน 
โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอินซูลินอีกต่อไป
ประโยชน์อย่างอื่น ๆ เช่น  นอกจากจะควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้นแล้ว
ยังป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)


เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี  สามารถป้องกันไม่ให้คนไข้
เบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้  เช่น  โรคหัวใจ, โรคไต,
โรคเส้นประสาท, และโรคตาถูกทำลาย


การที่เราสามารถทำการปลูกถ่ายกลุ่มเซลล์เบต้าจากตับอ่อนได้สำ
เร็จ  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้


ผลเสียที่ได้จากการปลกถ่ายกลุ่มเซลล์เบต้า  จะพบได้ตั้งแต่การที่
เราทำการเริ่มปลูกถ่าย  เช่น  มีเลือดออก, มีการเกิดมีเลือดเป็นก้อน
และ  ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาระยับยั้งการทำงานของระบบ
ภูมิคุ้มกัน  ไม่ให้ต่อต้าน (rejection) กลุ่มเซลล์ที่ปลูกถ่ายให้แก่คนไข้


Immunosuppressive Drugs
ในการปลูกถ่ายอวัยวะ  มีปัญหาสำคัญคือ  การที่ร่างกายของคนที่ได้
รับการปลูกถ่าย  ไม่ยอมรับอวัยวะ หรือเซลล์ที่ได้รับการปลูกถ่าย
ซึ่งมันเป็นบทบาทของระบบภูมิคุ้มกัน  จะออกคำสั่งให้มีการทำลาย
สิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย  ที่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย  เช่น  เชื้อแบคทีเรีย
รวมถึงอวัยวะที่เราทำการปลูกถ่ายด้วย


และเนื่องจาก  ระบบภูมิต้านทานได้ทำลายกลุ่มเซลล์เบต้าของตัวเอง
ตั้งแรกอยู่แล้ว(DM1)  เมื่อมีการปลูกถ่ายกลุ่มเซลล์เบต้าที่ได้จากศพ
ระบบภูมิต้านทาน  อาจทำลายกลุ่มเซลล์ที่ปลูกถ่ายอีกครั้งก็ย่อมได้
การให้ยาต้านการทำงานของระบบภูมิต้านทาน (immunosuppressive)
จำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มเซลล์ที่ปลูกถ่าย  ถูกทำลาย


ยาที่เขาใช้กัน คือยารวม  เรียกยาต่อต้านระบบภูมิต้านทาน (rejecting
drugs)  ซึ่งประกอบด้วย  daclizumab (Zenapax), sirolimus
(Rapamune),และ  tacrolimus (Prograf):

Ø  ยา daclizumab (Zenapax) เมื่อได้รับการปลูกถ่ายเซลล์เบต้า
จะฉีดยาตัวนี้ทางเส้นเลอดแก่คนไข้ทันที  และหยุดยา
Ø  ส่วนอีกสองตัว Sirolimus และ tacrolimus เป็นยาหลักสองตัว
ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มทำลายอวัยวะ (เซลล์ที่ปลูกถ่าย)
โดยใช้ไปตลอดชีวิต  ตราบเท่าที่อวัยวะที่ปลูกถ่ายยังทำงานได้


ยาต้านระบบภูมิคุ้มกัน  จะมีผลข้างเคียงมากพอสมควร  และผลในระยะ
ยาวยังไม่เป็นที่เข้าใจเท่าใดนัก  แต่ผลข้างเคียงในระยะสั้น  ได้แก่:
เจ็บปาก,  ปวดท้อง และท้องร่วง  คนไข้อาจมีอาการอยางอื่น  เช่น เพิ่ม
ระดับไขมันในเลือด, เพิ่มความดันโลหิต, เลือดจาง, อ่อนเพลีย,
เม็ดเลือดขาวลดต่ำ, การทำงานของไตลดลง, เพิ่มความเสี่ยงต่อการติด
เชื้อ (แบคทีเรีย และไวรัส)   นอกจากนั้น  การให้ยาต้านระบบภูมิต้านทาน 
ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก  และมะเร็งได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น