9/21/12
เราเคยดูหนังดูละครมาแล้ว...
เราเคยดูหนังดูละครมาแล้ว...
มีละครบางเรื่องที่ตัวละครต้องตรอมใจจนตาย....
และจากกรณีดังกล่าว อาจตรงกับภาวะชนิดหนึ่งเรียกว่า
Broken heart syndrome หรือ กลุ่มอาการจากหัวใจแตกสลาย
ฟังดูแล้วก็รู้สึกแปลกดีเหมือนกัน ในเมื่อทางการแพทย์รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้
จึงถือโอกาสนำเสนอให้พิจารณาดู
กลุ่มของอาการของหัวใจแตกสลาย หรือ broken heart syndrome
เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นสำหรับคนไข้จำนวน 19 ราย โดยเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจาก
การเกิดความเครียดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ใน
The New England Journal of Medicine (Feb. 0,2005)
เป็นเหตุการณ์เกิดในวันวาเลนไทเสียด้วย...
ความจริงมีว่า ภาวะหัวใจแตกสลาย (Broken heart syndrome) อาจเป็นเรื่อง
จริง แต่เป็นเรื่องที่พบได้น้อยมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดมีโรคดังกล่าวขึ้น
ได้บอกให้เราได้รับทราบว่า มันมีความสัมพันธ์ระหว่าง “ความเครียด”,
“ความสมบูรณ์ของร่างกาย” และ “หัวใจ”
ในจำนวนคนไข้ที่ 19 ราย ซึ่งนักวิจัยจาก Johns Hopkins…ได้กล่าวว่า
คนไข้ทั้ง 19 คน ได้มารับการดูแลจากพวกเขา ด้วยอาการของโรคหัวใจ
อย่างรุนแรง โดยมีอาการเจ็บหน้าอก, หายใจลำบาก, วิงเวียนเพราะมี
ความดันโลหิตต่ำ
อาการของคนไข้เหล่านั้น ไม่ใช้อาการทางจิตแต่อย่างใด
ผลจากการตรวจ ภาพของหัวใจ-echocardiogram แสดงให้เห็นว่า
หัวใจห้องล่างซ้าย (Lt. ventricle) มีแรงในการบีบตัวที่อ่อนมาก และในจำนวน
19 รายมีเพียงรายเดียวเท่านั้น ที่มีหลักฐานของการเกิดโรคหลอดเลือดของ
หัวใจเกิดการตีบแคบจากคราบไขมัน ดังนั้น จึงเป็นเรืองที่เด่นชัดว่า
คนไข้ทั้ง 18 เกิดภาวะหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
ไม่ได้เกิดจากเส้นเลือดถูกทำลายแต่อย่างใด
ปัญหามีว่า...อะไรเกิดขึ้นกับคนไข้ทั้ง 18 ราย
คนไขทั้ง 19 ราย ต่างตกอยู่ภายใต้อารมณ์เครียด และกังวลใจอย่างแรง
มาเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทุกรายต่างตกอยู่ในอาการโศกเศร้า จากการสูญ
เสียคนรักกันทุกคน เช่น สูญเสียคนอันที่เป็นที่รัก ได้แก่พ่อแม่, ลูก และ เพื่อน
มีบางราย เป็นเพียงความเครียดที่เกิดจากการโต้เถียงกันอย่างดุเดือด, หรือ
ขึ้นศาล หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือ ถูกปล้นทรัพย์
และมีคู่หนึ่ง เกิดอาการหลังจากความตื่นเต้นยินดี จากการได้พบปะเพื่อนฝูง
ผลจากการศึกษาทางห้องปฏิบัติ ได้ชี้แนะว่า...
ความเครียดทางอารมณ์ เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเกิดการอ่อนแออย่างฉับพลัน
การตรวจเลือดพบว่า ระดับ adrenaline ในกระแสเลือดสูง 2 - 3 เท่าตัว
ผลจากการตรวจชิ้นเนื้อได้จากกล้ามเนื้อหัวใจ พบว่า กล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำ
ลาย มีการอักเสบให้เห็น
เมื่อนำข้อมูลทุกอย่างมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน จะพบว่า...
ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้ระดับ adrenaline ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
เป็นเหตุให้เส้นเลือดหดตัว เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง
อีกทฤษฎีหนึ่ง อ้างว่า adrenaline มีผลโดยตรงต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
เป็นเหตุให้เซลล์ดังกล่าวถูกทำลายไป
คนไข้ทั้ง 19 ตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดี การทำงานของหัวใจดีขึ้น
ไม่มีคนไข้รายไดเสียชีวิต แต่ทุกรายยังมีความมีความกังวล เพราะมีความกลัว
ว่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างดี เขาอาจเสียชีวิตได้
ในกรณีเช่นนี้ ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า ถ้าเราประสบกับข่าวร้าย หรือข่าวดี
อย่างฉับพลัน จะไม่ทำให้เราประสบกับปัญหาทางหัวใจหรือ ?
นักวิจัยยืนยันว่า...คงไม่น่ากลัวขนาดนั้นหรอก
เขาให้เหตุผลต่อไปว่า คนไข้ส่วนใหญ่ต่างเป็นคนสูงอายุกันทั้งนั้น
อายุโดยเฉลี่ย 63 ปี ทุกรายเป็นชาย มีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่เป็นหญิง
และต่างมีความดันโลหิตสูงด้วยกันทุกราย
หากเราแปลข้อมูลในด้านดี...
เราทุกคนไม่สามารถซ่อนความเครียดทางอารมณ์ หรือหลีกเลี่ยงจากข่าวร้ายได้
แต่เราสามารถทำให้ร่างกายสมบูรณ์ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพราะมันสามารถทำให้ระดับ adrenaline ในกระแสเลือดลดต่ำลงได้
จากการศึกษา บอกให้เราได้ทราบว่า adrenaline เป็นสิ่งไม่ดีสำหรับใคร
มีหลักฐานยืนยันว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้เส้นเลือด
อ่อนนิ่ม ไม่เกิดการหดเกร็ง (spasm) แม้ว่าระดับ adrenaline จะเพิ่มสูงขึ้น
โดยสรุป กลุ่มอาการหัวใจแตกสลาย (Broken Heart Syndrome) เป็นเรื่อง
ใหม่ และพบได้น้อยมาก ซึ่งเราไม่มีรู้แน่ชัดว่า การออกกำลังกายจะลดการ
เกิดการเกิดภาวะดังกล่าวได้จริง แต่การออกกำลังกาย ถือว่าเป็นสิ่งทีดีที่สุด
และอาจสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจแตกสลายได้
.
http://www.intelihealth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น