วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

The Basic Stem cells: continued 2

9/8/12

เมื่อเราเข้าใจว่า  เซลล์ต้นกำเนิด  หรือ stem cells...
จะทำให้เราเข้าใจเซลล์ต่างของคนเราได้  โดยเฉพาะการทำงานของมันว่า
มันทำงานกันอย่างไร...


อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนเรา  จะประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากเข้ามารวมกัน
เช่น  อวัยวะ  ตา, สมอง, กล้ามเนื้อหัวใจ  และตับอ่อน  เป็นต้น
ซึ่งแต่ละอวัยวะที่กล่าวมา  ต่างมีเซลล์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
และทำงานได้ต่างกัน...โดยเซลล์แต่ละชนิดจะมีบทบาทในการทำงานเป็นการเฉพาะ
ซึ่งเซลล์ที่แตกต่างกันเหล่านี้  จะทำงานสนับสุนนซึ่งกัน และ
กัน  และแม้กระทั้งติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน  โดยใช้คลื่นทางสารเคมี


ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ของเซลล์  3  อย่าง
ปรากฏการณ์แรก:  ในร่างกายของมนุษย์เรามีเซลล์จำนวนมากมายถึง ล้านล้านเซลล์
มันเกิดขึ้นได้อย่างไร  โดยที่มันเกิดจากการเซลล์เพียงเซลล์เดียว:
นั้นคือ เซลล์ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว (fertilized egg)


ปรากฏการณ์มหัศจรรย์อย่างที่สอง:
เซลล์ต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ต่างมีลักษณะพิเศษ  และ  มีหน้าที่เป็นการเฉพาะ 
ยกตัวอย่าง  เซลล์ต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังของลูกตา  จะทำ หน้าที่สำหรับการมองเห็น, 
เซลล์บางชนิดในกระเพาะอาหารของคนเรา  จะทำหน้าที่สร้างกรดของกระเพาะ 
เพื่อทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร  และ เซลล์บางชนิดของตับอ่อน  ทำหน้าสร้าง
“อินซูลิน”  ซึ่งทำหน้าที่จัดการกับแหล่งพลังงาน (น้ำตาล) ให้เกิดขึ้นภายในเซลล์ของคนเรา 
ทำให้เราเห็นว่า  ในแต่ละอวัยวะของร่างกาย จะมีเซลล์
เป็นการเฉพาะของตัวเอง (specialized cells)


ปรากฏการณ์มหัศจรรย์อย่างที่สาม:
เป็นปรากฏการณ์  ที่เห็น  คือเซลล์เฉพาะของอวัยวะแต่ละชนิด  จะอยู่ในตำแหน่ง
ที่ถูกต้อง และเหมาะสม   เช่น เซลล์ที่ทำให้มองเห็นจะอยู่ที่ด้านหลังของลูกตา,
เซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตกรดสำหรับย่อยอาหารจะต้องอยู่ในกระเพาะอาหาร  
 และจะต้องมีปริมาณพอเหมาะ  ไม่มากเกิน  หรือน้อยไป


โดยเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (มดลูก) และหลังคลอด...
จะพบปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ในคนเราแต่ละคน  ซึ่งมีคำสั่งให้เซลล์ชนิดหนึ่ง
เกิดการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มปริมาณของมัน และเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์เฉพาะ  ที่
ต่างชนิดกัน  ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาเลย


คำถามมีว่า...กระบวนการณ์ดังกล่าว  มันเกิดได้อย่างไร? 
ภายในเซลล์หนึ่งเซลล์ของมนุษย์เรา  จะมีพันธุกรรม (ยีน) ประมาณ 23,000 ยีน...
ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน  ไม่ว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ของอวัยวะใด (เซลล์
สำหรับมองเห็น  และเซลล์สำหรับผลิตกรดในกระเพาะอาหาร)
คำถามจึงเกิดมีว่า...ในเมื่อเซลล์ต่างชนิด  ต่างมีพันธุกรรม (genes) เหมือนกัน
แล้วอะไรละ...ที่ทำให้รู้ได้ว่า  มันต่างกัน ?


พันธุกรรม (ยีน) ที่อยู่ภายในเซลล์แต่ละเซลล์จะเหมือนกันก็จริง...
แต่นั้นไม่ใช้ปัญหา  ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สำคัญแต่อย่างใด
แต่สิ่งที่เป็นประเด็น  คือ พันธุกรรม(ยีน) ที่อยู่ภายในเซลล์ที่ตื่น (turn on) ต่างหากละ...
ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะพันธุกรรมที่ตื่นตัว (turn on) เท่านั้นที่สามารถทำงานได้


กล่าวกันว่า  มีคลื่นจากสารเคมีจากบริเวณใกล้เคียง (immediate environment)
ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกผลิตโดยเซลล์ที่อยู่ใกล้ชิด เป็นตัวที่ก่อให้เกิดคลื่นทางเคมี
และคลื่นทางเคมี (chemical signals) นั่นเอง  ที่ทำให้พันธุกรรมบางชนิด
เกิดตื่นตัว (turn on)  หรือหลับ (turn off)  คุณสมบัติอันนี้ต่างหากละ 
ที่ทำให้เซลล์เฉพาะชนิดหนึ่ง แตกต่างจากเซลล์อีกชนิดหนึ่ง 


ยกตัวอย่าง  เราจะพบเห็นพันธุกรรม (ยีน) ของลูกตาที่ทำหน้าที่
รับภาพ  จะมีการตื่นตัว (turn on) และหลับ (off) ได้มากกว่าพันธุกรรมของ
เซลล์ในกระเพาะอาหารที่ทำหน้าที่สร้างกรดน้ำย่อย


เมื่อไม่นานมานี้  มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยสามารถล่วงรู้ได้ว่า...
มีพันธุกรรมชนิดใดในแต่ละเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะ (specialized cells)
มีการตื่นตัว (turn on) หรือหลับ (off)  และยังทราบอีกว่า 
มีคลื่นจากสารเคมีใด  ที่มีผลกระทบต่อพันธุกรรมเหล่านั้น


กฎเกณฑ์ที่สำคัญอีกอย่าง  นั้นคือ  เซลล์เฉพาะทั้งหลายเมื่อถูกทำลาย และตายไป
มันไม่สามารถซ่อมแซม  หรือทดแทนเซลล์ที่ตายได้  ตายแล้ว...
ก็ทำให้จำนวนเซลล์ลดลงไป


และเซลล์เฉพาะเหล่านั้น  ไม่สมารถเปลี่ยนตัวเอง  ให้เป็นเซลล์ชนิดอื่นใดได้
มีข้อยกเว้นที่น้อยมาก...เมื่อเซลล์ได้แปลสภาพเป็นเซลล์เฉพาะเมื่อใดแล้ว  มัน
จะคงสภาพเป็นเซลล์ชนิดนั้น  จนกระทั้งมันตายไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น