July 30, 2012
วันหนึ่งได้พบสองสามีภรรยาคู่หนึ่ง...
ทั้งสองต่างมีสีหน้าอิดโรย ผู้เขียนมองหน้าทั้งสองอยู่คู่หนึ่ง ไม่มีใครยอมพูด
จึงถือโอกาสเปิดคำสนทนา ด้วยการตั้งคำถามว่า....
“ท่านใด มีปัญหาให้หมอช่วยเหลือ?”
ผู้เป็นสามีก็ชี้หน้าผู้เป็นภรรยา พร้อมกับพูดด้วยน้ำเสียงห้วนๆ ว่า
“เขาเป็นอะไรก็ไม่รู้...ขาของเขาขยุกขยิกทั้งคืน จนทำให้พวกเรา (ทั้งสอง)
ไม่สามารถได้หลับได้นอนกัน”
เขียนยังไม่ทันได้มีโอกาสพูดอะไร...ผู้เป็นสามีก็พูดด้วยประโยค...
“ถ้าเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ตลอด.....ชีวิตของเราก็แย่แน่”
พอได้ฟังเรื่องราวดังกล่าว ทำให้นึกถึงโรคๆ หนึ่งขึ้นมา นั่นคือ...
โรค “Restless legs syndrome” หรือ “periodic leg movement disorders”
อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะพูดถึงกันเท่าใดนัก
จึงขอถือโอกาสนำเรื่องทั้งสองมาเล่าสู่กันฟัง
(บางท่านถือว่า โรคทั้งสองเป็นโรคเดียวกัน ?)
Periodic limb movement disorders (PLMD) และ Restless legs syndrome (RLS)
ต่างมีการเคลื่อนไหวของขา และแขนมีการเคลื่อนไหวิดปกติ
และบางครั้ง มีความรู้สึกผิดปกติที่บริเวณของแขนหรือขา
ซึ่งมีผลกระทบกับการนอนหลับของคนไข้ได้
อาการ และอาการแสดง
PLMD จะมีลักษณะเฉพาะโดยมีมีการเคลื่อนไหวของแขน หรือขาเคลื่อนไหวแบบ
ขยุกขยิก หรือเตะขา (kicking) ประมาณทุก ๆ 20 – 40 วินาที
ซึ่งมักจะเกิดในขณะนอนหลับ เป็นเหตุให้การหลับพักผ่อนถูกขัดขวางเป็นระยะๆ
ทำให้คนไข้เกิดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน การเคลื่อนไหวของขาเกิดขึ้นได้
เอง และไม่มีความรู้สึกผิดปกติใดในบริเวณของขาเลย
สำหรับในกรณีของ Restless leg syndrome…
ความผิดปกติที่เกิดขึ้น มีการเคลื่อนไหวของขาได้เองโดยที่เจ้าตัวไม่สามารถต้านได้
ซึ่งมักจะมีอาการประหลาดหลายอย่างเกิดขึ้นทีขา เช่น รู้สึกเสี่ยวซ่าที่ขา,
มีอะไรทิ่มตำ, รู้สึกเหมือนมีอะไรในขา หรือ มีอาการออกแสบออกร้อน
บางรายจะอธิบายว่า มันเหมือนมีมดไต่ หรือมีฟองอากาศภายในขา
(เหมือนฟองอากาศจากน้ำ...) และบางครั้งมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณขา หรือแขน
อาการที่เกิดส่วนใหญ่จะมีอาการมากเมื่อคนไขอยู่ในสภาพพักผ่อน หรือนอนแผ่อยู่
บนเตียง และอาการจะมากสุดในช่วงของเวลานอน
เพื่อให้หายจากอาการดังกล่าว คนไข้จะต้องลุกจากเตียง ทำการเหยียดขาด้านที่
มีอาการ พร้อมกับการเดินไปรอบๆ หรือทำการเตะถีบ ซึ่งการทำดังกล่าว
จะทำให้คนไข้ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ ทำให้มีการตื่นนอนบ่อย
ผลที่เกิดจากโรคขาไม่ยอมอยู่เป็นสุข...ไม่สามารถหลับนอนได้ตามปกติ
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการต่อไปนี้:
Ø ตื่นนอนก็เกิดอาการปวดศีรษะ
Ø เหนื่อยเพลีย หรือ หมดแรง
Ø ง่วงนอนในตอนบ่าย
Ø ความจำเสื่อม ความคิดสร้างสรรค์หมดไป
Ø บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
Ø ไม่มีสมาธิ
ในคนเป็นโรคขาไม่ยอมอยูเป็นสุข มีส่วนสัมพันธ์กับความผิดปกติชนิดหนึ่ง
คือ Periodic limb movement disorder (โรคของแขน-ขาที่เคลื่อนไหว
ได้เองเป็นพักๆ ) ซึงพบได้ประมาณ 80 % โดยที่ขาของเขาจะมีการ
กระตุกแบบนักร้อง Elvis Presley ซึ่งจะมีการกระตุกของขาทุก ๆ 30 วินาที
การกระตุกของขาแบบ periodic limb movement (PLMD)
จะแตกต่างจากโรค RLS โดยคนเป็นโรค PLMD จะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน
ซึ่งคนไข้ไม่รู้เลยว่ามันเกิดขึ้น แต่คู่นอนของเขารู้ว่ามันเกิดขึ้น
และที่สำคัญเมื่อขาเกิดกระตุก แม้ว่าไม่ทำให้คนไข้ตื่นจากการนอนหลับเลย
แต่มันทำให้คุณภาพชีวิตของเขาเสียไป ไม่แต่เท่านั้น บางทีสามารถทำ
ให้ชีวิตคู่มีอันเป็นไปได้ เช่น เลิกร้างกันไป
สาเหตุทำให้เกิดโรค RLS
กลไกที่ทำให้เกิดโรคทั้งสองยังไม่เป็นที่ทราบได้ แต่เราเชื่อว่ามีความผิดปกติใน
สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า dopamine ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
นอกจากนั้น ความผิดปกติทั้งสองสามารถเกิดจากในระหว่างการเลิกใช้ยากระตุ้นประ
สารทบางอย่าง (stimulants) หรือยาระงับอาการซึมเศร้า (depressants) หรือเกิด
ในคนที่กำลังตั้งท้อง, หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง, โรคตับล้มเหลว (heptic failure),
ขาดธาตุเหล็ก และเป็นโรคโลหิตจาง
ในรายที่เป็น primary SLR อาจมีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม
ซึ่งจะพบได้ประมาณหนึ่งในสามของคนเป็นโรค SLR จะมีประวัติทางครอบครัว
โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น อาชีพนั่งโต๊ะ, สูบบุหรี่ และ ความอ้วน
โรค RLS เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก
ประมาณ 10 % ของคนวัยผู้ใหญ่จะเกิดภาวะเช่นนี้ได้
แต่ประมาณหนึ่งในสี่ของคนที่เป็นโรค RLS จะมีอาการรุนแรงมากพอที่จะทำ
ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ส่วนใหญ่ โรค RLS มักจะเกิดในคนสูงอายุ แต่สามารถเกิดช่วงวัยเด็ก ทำ
ให้เราวินิจฉัยผิด โดยคิดว่าเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นเพราะเด็กกำลังเจริญเติบ
โต ที่สำคัญมันจะเกิดในสตรีมากกว่าผู้ชาย
ในคนไข้สวนใหญ่ เราไม่สามารถทราบสาเหตุของโรค RLS
ประมาณ 50 % ของคนไข้จะมีประวัติทางครอบครัวว่าเป็นโรค RLS โดย
นักวิจัยพบว่า โรค RLS มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในพันธุกรรม
ซึ่งความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าว มักจะทำให้คนไข้เกิดอาการตั้งแต่
อายุยังน้อย คือ เกิดก่อนอายุ 45
นอกจากนั้น โรค RLS ยังมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านร่างกายอย่างอื่น ๆ
เช่น ภาวะขาดเหล็ก (iron deficiency) โดยพบได้บ่อย
ซึ่งนั้นคือเหตุผลที่พบว่า คนเป็นโรค RLS มักเกิดในคนที่มีเลือดปกติ
นอกจากนั้น โรค RLS ยังมีส่วนสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน, โรคไต, โรค
เส้นเลือดโป่งพอง (varicose veins), โรครูมาตอยด์, โรคพาร์กินสัน และ
โรคอื่นๆ อีกหลายโรค
เมื่อใดก็ตามที่เราพบว่า คนไข้มีโรคอย่างอื่นเกิดร่วมกับ RLS
เราเรียกว่า คนไข้เป็น secondary RLS ในคนไข้ RLS ส่วนใหญ่ซึ่งไม่ทราบสาเหตุ
เขาเรียกพวกนี้ว่า primary RLS
แม้ว่าเราจะมีเครื่องมือในการตรวจค้นหาสาเหตุของโรคที่ทันสมัย เช่น CT scans
หรือการตรวจ DNA ก็ตามที เราก็ไม่มีวิธีใดทีจะนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค RLS ได้
แต่เราอาศัยข้อบ่งชี้ (criteria) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยดังนี้
1. มีความรู้อย่างแรงกล้าให้มีการเคลื่อนไหวขาทั้งสอง ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่บีบขั้น
ภายในส่วนลึกของขานั้นเอง
2. มีความรู้สึกให้อยากมีเคลื่อนไหวของขา ซึ่งเกิดในขณะพักผ่อน
3. อาการจะเลวลงในตอนเย็น หรือตอนกลางคืน
4. เมื่อมีการเคลื่อน หรือเดิน อากาจะจะดีขึ้น
มีคนเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวขาของตัวเอง
ในขณะนอนแผ่หลาบนเตียงนอน ทั้งๆ ที่ไม่ได้หลับเลย
และ/หรือ มีการกระตุกของขาเป็นระยะ ๆ (PLMD)
การวินิจฉัยโรค “ขาไม่อยู่เป็นสุข” RLS ฟังดูแล้วดูเหมือนง่าย
แต่ 90 % ของคนเป็นโรคดังกล่าววินิจฉัยผิดๆ
อาการขอโรค RLS ที่เกิดขึ้นมักทำให้เราเข้าจิดผิดว่า เป็นผลมาจากการนอนไม่หลับ
(insomnia) หรือมีความผิดปกติในด้านการนอน, หรือเป็นไขข้ออักเสบ, กล้ามเนื้อหด
เกร็ง (muscle cramps), โรคเส้นเลือดส่วนปลาย (peripheral arterial disease), โรค
ปลายประสาท และ โรคจิตประสาท และที่น่าแปลกก็ตรงที่ว่า โรค RLS สามารถทำให้
เกิดความพิการที่ร้ายแรงได้เช่นกัน ซึ่งมักจะตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดีหากเรา
ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ RLS
เพื่อยืนยันว่าเป็นโรค RLS คนไข้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจอะไรมากไปกว่า
การตรวจหาโรคเบาหวาน, โรคไต หรือตรวจหาภาวะขาดธาติเหล็ก
ดังนั้น เราจะเห็นว่า คนไข้ที่มีอาการ RLS จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่น
ขั้นตอนแรก ท่านต้องมันใจว่า สุขภาพโดยรวมของท่านอยู่ในสภาพที่ดี และหาก
มีปัญหา (โรค) อะไร ท่านต้องแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้ โดยเฉพาะยาที่ท่านกำลังรักษา
ท่านจำเป็นต้องตรวจสอบยาต่าง ๆ ทีท่านกำลังรบประทานอยู่ ซึ่งมียาบางตัวสามารถ
ทำให้อาการ RLS เลวลงกว่าเดิมได้ ซึ่งท่านจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น ๆ
Ø ถ้าทานสูบบุหรี่ ท่านต้องยุติทันที ซึ่งมันอาจช่วยให้ลดอาการ RLS ได้
และทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้น
Ø ถ้าท่านดื่มแอลกอฮอลล์ หากเลิกดื่มเสีย มันย่อมทำให้อาการ RLS ดีขึ้น
ในขณะเดียวกัน การเลิกดื่มพวกกาแฟก็ทำให้อาการภาวะดังกล่าวดีขึ้นได้
เช่นกัน
Ø การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (moderate exercise) เช่น การเดินใน
ช่วงกลางวัน อาจช่วยทำให้อาการของ RLS ดีขึ้น
Ø ออกกำลังกายด้วยการยืดเส้นยืดสาย (stretching exercise) และอาบน้ำอุ่น
จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
Ø ในรายที่เป็นไม่มาก การนวดขาตามปกติ หรือการยืดเส้นยืดสาย สามารถ
ช่วยทำให้คนไข้นอนหลับได้ ส่วนคนที่มีอาการมากจำเป็นต้องใช้ยารักษา
การักษาด้วยยา (Get Relief with Medications)
ยาที่ถูกนำมาใช้รักษาภาวะ RLS บ่อยได้แก่
§ natural supplements (iron)
§ carbidop-levodopa (Sinemet๗
§ opioids ( เช่น hydrocodone, tramadol ใช้ในรายที่มีอาการปวดเป็นพัก)
§ carbamazepine (Tegretol, Tegretol XR)
§ clonazepam (Klonopin)
§ diazepam (Valium)
§ Beclofen (Lioresal)
§ gabapentin
แม้ว่าชื่อของโรคเป็นโรคของขาไม่อยู่สุข (restless leg syndrome) ก็ตาม
แต่ไม่ใช้โรคของขาตามที่ชื่อบอก มันเป็นโรคของระบบประสาท
มีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า โรคเกิดจากระดับของสารเคมี dopamine ต่ำ
กว่าปกติ ซึ่งเป็นสารเคมี ที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทนำคลื่นระหว่างเซลล์
ประสาท โดยมีลักษณะคล้าย ๆ กับโรค Parkinson’s
แม้ว่า โรค RLS จะมีความแตกต่างจากโรค Parkinson’s ซึ่งมันเป็นโรคที่เซลล์
ประสาท ซึ่งทำหน้าที่สร้างสาร dopamine จะถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง
และยาที่เคยใช้รักษาโรค Parkinson’s มาตั้งแต่แรกเริ่ม สามารถนำมาใช้รักษา
โรค RLS ได้เป็นอย่างดี เช่น Ropinirole (ReQuip) และ pramipexole
(Mirapex) ยาทั้งสองจะมีฤทธิ์คล้าย dopamine
แพทย์จะให้ยาทั้งสองด้วยขนาดน้อย ๆ สองชั่วโมงก่อน หากจำเป็นอาจเพิ่มยา
อย่างช้า ๆ โดยการให้สองชั่วโมงก่อนนอน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มดังกล่าว จะไม่ค่อยพบถ้าใช้ในขนาดน้อย
ถ้าหากมีอาการแพ้เกิดขึ้น อาจมีอาการคลื่นไส้, ท้องผูก, เหนื่อยเพลีย และ
มีการเคลื่อนไหวผิดปกติไป
นอกจากยาสองตัวที่กล่าวมา มียาอย่างอื่นที่ถูกนำมาใช้ในการักษา เช่น
ยารักษาอาการชักบางตัว (antiseizure) , ยากล่อมประสาท (tranquiliers)
และยาแก้ปวด (pain relievers)
มียาบางอย่างสามารถทำให้อาการเลวลงได้ เช่นพวก antihistamines,
Antidepressants บางตัว, ยาแก้อาการคลื่นไส้ (เช่น compazine) ยาลด
ความดัน (calcium channel blockers) และยา metoclopramide (ซึ่งเคย
ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร)
ปัญหาเรื่อง RLS เป็นปัญหาเก่าแก่...
แต่ปัจจุบันนี้ มีการรักษาใหม่ ๆ สามารถทำให้อาการของคนไข้ส่วนใหญ่บรรเทาลงได้
ดังนั้น ถ้าท่านมีอาการซึ่งอาจเป็น RLS ลองตรวจกับแพทย์ดู
แพทย์อาจทำการตรวจเลือดอย่างง่ายๆ บางอย่าง ซึ่งอาจบ่งให้ทราบว่าท่านเป็น RLS
จากนั้น แพทย์อาจให้ท่านเลิกรับทานยาบางอย่าง หรือเปลี่ยนยาบางตัว
อาจทำให้ท่านหายจากอาการขาอยู่ไม่สุข และสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติได้
http://www.intelihealth.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น