วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

Does Diastolic Blood Pressure Increase With Exercise?


คนส่วนใหญ่ชอบมองออกนอกตัว
มีเพียงส่วนน้อยที่ เห็นความสำคัญต่อการมองที่ตัวเอง
เอาแค่  ดูผลที่เกิดจากการทำงานของระบบหัวใจ-เส้นเลือด
สามารถบอกให้เราได้เข้าใจอะไรบางอย่าง  สำหรับตัวของเราเอง
เมื่อรู้แล้ว...อาจมีปะโยชน์ในแง่ การปรับปรุงสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้
ไม่มากก็น้อย...?

ลองมาดูวิว่า   เราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง:

Blood Pressure:
การทำงานของหัวใจจะแบ่งเป็นสองระยะ  ระยะหดตัว (contraction) และ
ระยะคลายตัว (relaxation) ของกล้ามเนื้อหัวใจ   ซึ่งรียก systole และ
diastole ตามลำดับ

ความดันที่วัดได้เป็นตัวเลข  บน และ ล่าง
เลขตัวบนบอกให้ทราบถึง systolic pressure ซึ่งเกิดในขณะที่มีการบีบตัว
ของกล้ามเนื้อหัวใจ  ส่วนเลขตัวล่าง  บอกให้ทราบถึงความดันโลหิตที่วัด
ได้ในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจมีการคลายตัว 
ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างหัวใจ  มีการบีบตัว (between heart beats)

Diastolic Blood pressure:
ในระหว่างที่กล้ามเนื้อมีการคลายตัว (relaxation phase) ของคนปกติ
ไม่มีโรค (ความดันโลหิตสูง) ความดันโลหิตในขณะพักผ่อน  พบว่า มัน
จะลดลงระดับ  70 – 80 mm Hg
ความดันที่วัดได้  ถูกเรียกว่า diastolic blood pressure  ซึ่ง เป็นระยะที่
เลือดไหลเวียนจากเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กจิ๋ว  arteriole  ไปยัง capillaries

ในกรณีทีมีความต้านสูง  จะพบว่าความดันที่อยู่ในเส้นเลือด arteries  จะลด
ลงได้ช้า  ซึ่งหมายความวา  มันจะทำให้ความดันในเส้นเลือดส่วนปลายสูง
นานกว่าคนปกติ  ในกรณีเช่นนี้  จะทำให้พบเห็นระดับ diastolic pressure สูง

Systolic blood pressure:
ในระหว่างที่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ 

ความดันเลือดจะอยู่ระหว่าง 120 mm Hg.  เรียกว่า systolic blood pressure
ตัวเลขที่อ่านได้  บอกให้เราทราบถึงงานของหัวใจ  และ แรงที่เกิดจากการบีบ
ตัว หรือ ปั้มเลือดไหลผ่านเส้นเลือด  ซึ่งทำให้เกิดแรงเกิดขึ้นที่ผนังของเส้นเลือด

ถ้าหัวใจออกแรงมากเกินปกติ  เพื่อปั้มเลือดออกจากหัวใจ 

ผลที่ได้รับ คือ ระดับของ systolic blood pressure ย่อมสูงขึ้นด้วย

Diastolic blood pressure during exercise:
ในระหว่างที่มีการออกกำลังกาย  จะพบว่า 

ระดับความดันจะเปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยแค่ใด  จะขึ้นกับว่า 

กล้ามเนื้อที่ออกแรงไปนั้น  มันต้องการออกซิเจน และเลือดมากน้อยแค่ใด

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิด  ส่วนใหญ่  เราจะพบเห็นเฉพาะใน systolic blood pressure 

ส่วน diastolic pressure จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง  หรือ ถ้าจะมีการ
เปลียนแปลง  ก็เป็นการเพิ่มนิดหน่อย-ไม่มากเหมือน systolic blood pressure
บางครั้งความดัน diastolic กลบลดต่ำลงเล็กน้อย 

ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของคนที่มีสุขภาพดี 

และเป็นการตอบสนองต่อการออกกำลังกาย

ในคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำเป็นเวลานาน  การออกกำลังกายนั้น  จะเป็นการ
ออกแรงแบบ aerobic  บางที่เราเรียกว่า cardiovascular exercise  หรือ การออก
กำลังกายเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ  (strength training)  เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ
จะพบว่า ระดับความดันโลหิตจะลดลง
ถ้าท่านเป็นโรความดันโลหิตสูง  ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจห้องล่าง
ด้านซ้ายเสื่อมลงในช่วงที่กล้ามคลายตัว (relaxation hase)  จะพบว่า
การออกกำลังกายนั้น  สามารถทำให้ระดับความดัน diastolic ดีขึ้น  และ การทำงาน
ของหัวใจห้องล่างด้านซ้ายจะดีขึ้น
นอกจากนั้น  มันยังสามารถทำให้ไขมันหน้าท้องลดลงได้อีกด้วย

เมื่อเราวัดความดันโลหิต  ตัวเลขที่แสดงให้เราเห็น 
มันบอกให้เราทราบว่า  แรงที่ดันเลือดให้ไหลผ่านไปผนังเส้นเลือดแดง
ตัวเลขที่เราเห็น  มีสองส่วนด้วยกัน  ตัวบนหมายถึง systolic blood pressure
ซึงเป็นแรงดันของเลือดในขณะที่กล้ามเนื้อของหัวใจ  มีการหดตัวย (contraction)
ส่วนเลขตัวลง  เป็น diastolic blood pressure  จะบอกให้เราได้ทราบถึง
แรงดันของเลือด  ในขณะที่เลือดมันไหลกลับเข้าสู่หัวใจ

แรงดัน diastolic ควรอยู่ที่ 80 mm Hg หรือต่ำกว่า
ในระหว่างออกกำลังกาย  diastolic pressure ไม่ควรเพิ่มขึ้น 

การตอบสนองต่อการออกกำลังกาย
ในระหว่างการออกกำลังกาย  สำหรับคนปกติ  ไม่เป็นโรคของเส้นเลือดแดง
ความดันของ diastolic pressure จะไม่มการเปลี่ยนแปลง  หรืออาจ
ลดลงเล็กน้อย    คือลดลงประมาณ 4 mm Hg หรือน้อยกว่า
นั้นเป็นผลเนื่องมาจากการขยายตัวของเส้นเลือด  ซึ่งจำเป็นต่อการทำ
ให้เลือดไหลสู่กล้ามเนื้อ  เพื่อการออกกำลังกาย

การตอบสนองที่ผิดปกติ:
ในขณะที่มีการออกกำลังกาย  แล้วปรากฏว่า  ระดับความดัน diastolic
เพิ่มขึ้นมากกว่า 15 mm Hg  เมื่อใด  เราถือว่าผิดปกติ
การที่ระดับความดันตัวล่าง  เพิ่มสูงขึ้นเช่นนั้น  มีสาเหตุจากการเป็นโรค
ของเส้นเลือดแดง (arterial disease)

ในระหว่างทำการตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) ขณะวิ่งบนสายพาน 

ถ้าพบว่าความดันตัวล่าง (diastolic) เพิ่มขึ้นถึงระดับดังกล่าว 

ท่านจะต้องหยุดการออกกำลังกายทันที...พร้อมกับไปพบแพทย์ของท่าน

Isometric Exercise

เป็นการออกกำลังกาย  ที่มีการออกแรงโดยที่กล้ามเนื้อไม่มีการหดสั้นลง
จะพบเห็นกล้ามเนื้อมีการเกร็ง  และออกแรงต้านวัตถุ 

โดยที่กล้ามเนื้อไม่มีการหดสั้นลง

ในการออกกำลังกายชนิดนี้  การตอบสนองของความดันตัวล่าง - diastolic
จะแตกต่างจากการออกแรงตามปกติ (traditional exercise)
อย่างที่กล่าว  isometric exercise เป็นผลจากการออกแรงโดยกล้ามเนื้อ
ของท่าน  โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ
ในระหว่างที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่นั้น  เส้นเลือดทั้งหลายจะมีการหด
เกร็ง (constricted)  ทำให้ความดันตัวล่าง-diastolic  เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม  เมื่อการหดเร็งผ่านพ้นไปแล้ว  ความดัน-diastolic จะลด
ต่ำลง

Chronic Adaptations
ในขณะที่ความดันตัวล่าง (diastolic pressure)  ที่ตอบสนองต่อการออก
กำลังกาย  จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่การออกกำลังกายตามปกติสามารถ
เปลี่ยนระดับความที่วัดได้ในขณะพักผ่อนได้

ในการออกกำลังกายตามโปรแกรม  จะกระตุ้นระบบหัวใจ และ เส้นเลือด
ให้มีสภาพดี  สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
 
โดยสรุป:
ในการออกกำลังกาย  สามารถทำให้ระดับความดันโลหิต ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย  ด้วยการเพิ่มระดับความดันขึ้น ทั้งตัวบน และตัวล่าง  แต่พอเลิกการออกกำลังกาย  มันจะลดลง
 ถ้าเมื่อใด  ในขณะการออกกำลังกาย  ความดันตัวล่างเพิ่มสูงมากกว่า 15 mm Hg
เมื่อใด  มันบอกให้ทราบว่าคน ๆ นั้น เป็นโรคเส้นเลือดแดงตีบแข็งซะแล้ว

Adapted from:
http://www.livestrong.com/article/524659-does-diastolic-blood-pressure-increase-with-exercise/#ixzz1piw8yl2h

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น