วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

SUDDEN DEATH IN SPORT(continued): Coronary Artery Disease

Coronary artery disease
โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ)

โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary artery disease)
จัดเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในคนสูงอายุ
ซึ่งถือว่า โรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะป็นปัจจัยเสียงจะเพิ่มมากยี่งขึ้น
เมื่อคน ๆ นั้น มีอายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน หรือ ล่วงเข้าสู่วัยขรา ที่ตองออกกำลงกาย
หรือ เมื่อมีการออกกำลังกายเกินปกติ

ในระหว่างการออกกำลังกาย จะพบการเปลี่ยนทางกายภาพ และทางเมทตาบอลิซึม
ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มอันตรายได้ โดยเฉพาะคนสูงอายุ ที่มีโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ
แค่เป็น occult coronary atheroma ก็สามารถทำให้คนสูงอายุเสียชีวิตได้ทันที
และความตายที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการออกแรง เช่น วิ่ง, jogging,
หรือ การเล่นที่ต้องใช้แรงมาก อย่างเชน การเล่นรักบี้, ฟุตลอลล์, สคอว์ต เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการของโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ และ มักจะมีปัจจัยเสี่ยงด้วยเสมอ
รวมถึงประวัติการสูบบุหรี่ มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในขณะอายุต่ำกว่า 55,
โรคความดันโลหิตสูง, ระดับไขมัน Cholesterol ในกระแสเลือดสูง

คนที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าตัวเองมีสุขภาพสมบูรณ์ดี (fit)
และ อาจมีประวัติเป็นนักกีฬาแข่งขันอีกด้วย)

พยาธิสภาพ:
(pathology)

จากการศึกษาทางพยาธิวิทยา เรามักจะพบว่า
คนไข้มีหลอดเลือดแดงของหัวใจถูกอุดตัน (obstructive arheromatous...)
กล้ามเนื้อหัวใจอาจแสดงให้เห็นสภาพของกล้ามเนื้อตาย พร้อมกับการมีพังผืดเกิดขึ้น (healed infarcts)

การป้องกัน:
(prevention)

ในคนที่มีสุขภาพดี เป็นนักกีฬา ก็ไม่รอดพ้นจากการเป็นโรค ทีเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เช่น โรคหลอดเลือดตีบแข็ง (atherosclerosis)
หรือ รอดพ้นจากความตายชนิด เฉียบพลันได้หรอก
ดังนั้น ทุกคนควรเรียนรู้ ที่จะทราบถึงอาการเตือน (waring symptomes)จากโรคเส้นเลือดตีบแข็งให้ได้
เช่น อาการเจ็บหน้าอก (chest pain),ใจสั่นระรัว (palpitation),
และ หน้ามืดเป็นลมหมดสติ (syncope)

ดังนั้น สำหรับท่านที่มีอายุมากกว่า 40 ควรระมัดระวังให้มากเมื่อมีการออกกำลังกาย
โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง และต้อออกแรงเกินไป (severe exercise)

มีข้อสังเกต... การตรวจ Exercise stress test ในคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
อาจมีความจำกัดหลายประการ นอกจากนั้น เราจะพบข้อมูลบวกหลอก(false positive)
ในนักกีฬาได้ถึง 25 %

ระดับความเสี่ยง:
คนที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ อาจแบ่งเป็น 3 ระดับ: ระดับต่ำ (low)
ปานกลาง (moderate) และ สูง (high) ซึ่งเราสามารถประเมินได้จากการตรวจ
การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular function), ตรวจคัดกรอง
หาหลักฐานการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดชนิดชั่วคราว(reversible ischemia)
โดยเปรียบเทียบกับคนปกติทีอยู่ในวัยเดียวกัน

การตรวจ EKG- exercise stress test สามารถตรวจพบภาวะ ventricular
Arrhythmia หรือ การตอบสนองต่อการตรวจด้วยการมีความดันโลหิตลดลง

คนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (high risk) ได้แก่คนไข้ ที่มีระดับการทำงานของหัวใจ
ด้านล่างซ้ายทำงานลดลงในขณะที่มีการพักผ่อน

คนที่มีปัจจัยเสี่ยงพอประมาณ (moderate risk) คือ คนที่สมรรถภาพในการทำงานลดลง
โดยมีหลักฐานว่ามี reversible ischemia, ventricular tachycardia,
หรือ ระดับความดันตัวบน-systolic ลดลง

สำหรับคนมีปัจจัยเสี่ยงต่ำ ซึ่ง มีการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานในระดับปกติ
โดยไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด –reversible ischemia
ซึ่ง สามารถเข้าร่วมกับการออกกำลังกายชนิดความเข็มข้นต่ำ (low intensity)

ในคนไข้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการทำ coronary bypass grafting
ควรได้รับการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ


Continued 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น