วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART DISEASE IN ELDERLY (continued): Rhythm Disorders

RHYTHM DISORDERS AND
PACEMAKERS


ปัญหา หรือความผิดปกติ ในจังหวะการเต้นของหัวใจ
และระบบคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ สามารถพบได้ในคนทุกอายุ
แต่พบไดบ่อยในคนที่มีอายุเข้าวัยชรา

ความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ (rhythm abnormalities)
หรือที่เราเรียกว่า Arrhythmias คนไข้อาจไม่มีอาการใด ๆ เลย
หรือ อาจทำให้เจ้าตัว สัมผัสกับความรู้สึกหัวใจเต้นช้าลง,
บางขณะการเต้นของหัวใจหายไป, หรือ หัวใจอาจเต้นเร็ว
หรือ มีความรู้สึกใจสั่นระริก, เกิดมีความรู้สึกวิงเวียน
หรือ หน้ามืดเป็นลมหมดสติไป

การเต้นของหัวใจ หรือการบีบตัวของมัน อาจมีการเต้นช้าเกินไป (bradycardia)
หรือ มีการเต้นเร็วเกินไป (tachycardia)

SLOW RHYTHM DISORDERS

ในกลุ่มคนสูงอายุ จังหวะการเต้นของหัวใจ ที่เต้นช้าลง
ถือเป็นเรื่องใหญ่ในคนสูงอายุ
ระบบคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่ง ทำหน้าปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าตามปกตินั้น
อาจเกิดความผิดปกติที่จุดใดจุดหนึ่งในระบบ ที่ทำหน้าที่ให้คลื่นกระแสไฟฟ้า

ใน Sick sinus syndrome
เป็นการเต้นผิดปกติของหัวใจ พบเห็นในเด็กนั้น
สามารถพบได้ในคนสูงอายุได้บ่อยเช่นกัน
กลุ่มโรคพวกนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรงจมูก sinuses ในกะโหลกศีรษะ
แต่ เป็นกลุ่มอาการทีเกิดจากปุ่มเนื้อเยื่อพิเศษ เรียก “sinus node”
ทำหน้าที่เป็นตัวก่อกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจ (internal pacemaker)
ทำหน้าที่ผิดปกติไปเท่านั้นอง

เนื่องจากโรคเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อของหัวใจ หรือ จากเหตุผลที่เราไม่สามารถ
อธิบายได้ ทำให้การเต้นของหัวใจเกิดความผิดปกติ- มีจังหวะการเต้นช้าลง
ต่ำกว่า 35 – 40 ครั้ง ต่อนาที ซึ่ง จะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ถึง ระดับต่ำสุด
ทำให้เกิดอาการ เหนื่อยล้า เกิดอาการสับสน ปวดเมื่อยตามตัว
และ ตามด้วยอาหารหน้ามืดหมดความรู้สึก (fainting)

การให้ยารักษาโรคความดันโลหิตสง หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยกลุ่ม
beta blocker, หรือ calcium channel blockers
บางครั้งจะกระทำให้อาการจากการเต้นผิดปกติของหัวใจ เลวลงกว่าเดิม

คนไข้ที่เป็น Sick sinus syndromeอาจได้รับการรักษาด้วยการ
ใช้เครื่องกำเนิดคลื่นของหัวใจ (cardiac pacememer)
ซึ่งสามารถทำให้อาการของโรคดีขึ้น

ปัญหาด้านการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อาจปรากฏขึ้นที่ส่วนอื่นของระบบ
คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจได้ โดยการเสื่อมสลายของระบบที่นำคลื่นกระแส
ไฟฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นตามอายุที่ผ่านไป สามารถทำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า
Heart Mock ถือป็นความล้มเหลวของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ อย่างหนึ่ง
ทำให้คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ เคลื่อนจากหัวใจห้องบน ลงสู่หัวใจห้องล่าง
ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง อาจถูกกระตุ้นได้ไม่สม่ำเสมอ
หรือไม่ถูกระตุ้นให้มีการบีบตัว (contraction)เลย
ซึ่งยังผลให้คนที่เป็นโรคดังกล่าว เกิดมีอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติไป

อาการของคลื่นหัวใจถูกสกัด ชนิดม่รุนแรง (minor type)
ทำให้คนเราดำเนินชีวิตต่อไปหลายปี โดยไม่มีอาการใด ๆ
แต่ ถ้าหากเป็นชนิดที่มีความรุนแรง อาจทำให้คนไข้ มีอาการหมดสติได้
ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ เครื่องกำเนิดคลื่นไฟฟ้า (pacemaker)

ในปัจจุบัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า pacemakers ได้มีการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการเต้นของหัวใจ ได้หลายรูปแบบ

การใส่ pacemaker ในคนสูงอายุ โดยทั่วไป ถือว่า เป็นวิธีที่มีอันตรายน้อย
สามารถกระทำได้ภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น

FAST RHYTHM DISORDERSThe Atria หรือ หัวใจสองห้องบนจำนวนสองห้อง อาจเต้นด้วยจงหวะที่เร็ว
และไม่สม่ำเสมอได้ เรียกว่า atrial fibrillation
เป็นโรคอีกชนิดหนึ่ง ทีเกิดในคนสูงอายุได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มันจะไม่เป็นอันตรายเท่าใดนัก
สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา (medication)

บางครั้ง คนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยภาวะดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา ด้วยวิธีที่เรียกว่า cardioversion-
ซึ่งเป็นการกระตุกหัวใจด้วยคลื่นกระแสไฟฟ้า เพื่อแก้ไขการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เป็นการกระทำภายใต้การดมยาสลบในระยะสั้น ๆ

การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว สามารถแก้ไขการเต้นที่ผิดปกติ
ให้กลับสู่สภาพปกติได้ แต่อยู่ได้ไม่นาน
คนไข้ที่มีหัวใจเต้นผิดปกติ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมีก้อนเลือดภายในหัวใจ
และก้อนเลือดที่เกิดขึ้น อาจเคลื่อนตัวไปตามกระแสเลือด ไปอุดตันเส้น
เลือดทีสำคัญ ๆ เช่น ในสมอง ทำให้สมองขาดเลือด
เกิดภาวะที่เรียกว่า brain attack หรือ stroke

เพือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ stroke ในคนสูงอายุ
แพทย์ชอบที่จะสั่งยา Anticoagulant หรือ aspirin
ให้แก่คนไข้ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกัน

หัวใจสองห้องล่างติดผิดปกติแบบเต้นเร็ว
ซึ่งเรียกว่า ventricular arrhythmia
มักจะเกิดตามหลังภาวะหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด (heart attack)
หรือเกิดขึ้นตามหลังการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure)
แต่จะว่าไปแล้ว การที่หัวใจสองห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดนี้
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงเดี๋ยวเดียว ส่วนที่เกิดนานหน่อย
อาจทำให้คนไข้เกิดอาการวิงเวียน หรือมีอาการเป็นลม หมดสติ
และบางครั้ง อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

ในรายทีมีความรุนแรง เช่น ventricular tachycardia
อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา anti-arrhythmia drugs
หรือที่มากกว่านั้น อาจจำเป็นต้องฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ภายในร่างกาย
เพื่อกระตุก (shock) การเต้นผิดปกติ ของหัวใจ
เรียกว่าอุปกรณ์ชนิดนั้นว่า cardioverter defibrillator

Continued > Cardiac Diagnosis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น