วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

Sudden Death in Sport (continued): Hypertrophic cardimyopathy

โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต มักจะเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในนัก
กีฬาทีอยู่ในวันหนุ่ม (young athletes)

ความผิดปกติทางกายภาพ
Anatomical abnormalities


ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างด้านซ้ายมีขนาดโตขึ้น โดยที่หัวใจไม่ได้ขยาย
ขึ้นเลย และไมมีประวัติที่จะเป็นโรคหัวใจมาก่อน
ในคนไข้ที่เป็นโรคชนิดนี้ จะพบเห็นความผิดปกติดังต่อไปนี้ :- ห้องหัวใจห้องล่างซ้ายจะมีขนาด
เล็กลง แต่มัดกล้ามเนื้อหนาตัวขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการบรรจุเลือด
ในช่วงระหว่างการบีบตัว (diastolic filling)

ในบางครั้งเราจะพบว่า เลือดที่ถูกปั้มออกจากหัวใจห้องซ้ายจะถูกขัดขวาง
โดย เนื้อเยื่อบริเวณ sub-aortic septum หรือ mitral valve ที่อยู่ทางด้านหน้า
เกิดความหนาตัวขึ้น

นอกจากความผิดปกติดังกล่าว ยังปรากฎว่า มีภาวะอย่างอื่น ๆ อีก
เช่น supra-ventricular และ Ventricular arrhythmias
ในรายที่เป็น ventricular tachycardia อาจเปลี่ยนเป็นภาวะ ventricular fibrillation
ได้ในภายหลัง

สาเหตุ:
สาเหตุส่วนใหญ่ของกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น (hypertrophic…) จะเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม
(autosomal dominant) หากตรวจพบจากการตรวจคัดกรอง (screening)
ลูกของคนที่เป็นโรค (first degree relative)ควรได้รับการพิจารณาตรวจทุกราย

อาการ:
คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอก (chest pain), ใจสั่นระรัว(palpitation),
เป็นลมหน้ามือหมดสติ (fainting), หายใจหอบเหมือนปลาขาดน้ำ(shortness of breath)
หรือ อาจไม่มีอาการใด ๆ เลย

การตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) จะพบความผิดปกติ
ซึ่ง อาจไม่บอกความลักษณะเฉพาะ(non-specific), การตรวจทางเอกเรย์จะพบหัวใจโต ,
ตรวจ “อัลตราซาวด์” ของหัวใจ จะพบห้องหัวใจแคบลง การบรรจุเลือดระหว่างการบีบตัวของหัวใจ
จะมีปริมาณเลือดน้อยลง

ข้อควรระมัดระวัง- ในการออกกำลังกาย
ใครก็ตาม ที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจโตดังกล่าว ควรระมัดระวังการออกกำลังกาย
เขาจะต้องไม่ออกกำลังกาย ที่มีการออกแรงด้วยความเข็มข้นสูง (strenuous exercise) เป็นอัน ขาด
ไม่ว่าจะเป็นแบบมีการเคลื่อนไหว (dynamic) หรือแบบอยู่กับที่ (static)
แต่ควรเป็นการออกกำลังกายแบบที่มีการออกแรงด้วยความเข็มข้นต่ำ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า...นั่น คือหัวใจของนักกีฬา ?
เราจะพบว่า หัวใจห้องล่างด้านซ้ายของนักกีฬา มีกล้ามเนื้อมีการหนาตัวขึ้น (ventricular hypertrophy)
ซึ่งเป็นผลมาจากการสนองตอบต่อการออกกำลังกาย แต่ก็ไม่ควรหนาตัวเกิน 12 มิลลิเมตร
ในรายที่ตรวจพบว่า ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจเกิน 16 มิลลิเมตร
มักจะเป็นพวกที่เป็นโรค (hypertrophic cardiomyopathy)

ปัจจัยเสี่ยง ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการเสียชีวิตของคนที่เป็นโรค Hypertrophic
Cardiomyopathy ได้แก่:

• มีประวัติของคนในครอบครัว เสียชีวิตอย่างฉับพลัน (sudden death)

• มีหลักฐานว่าเป็นโรคการเต้นหัวใจเร็วผิดปกติชนิด ventricular tachycardia

• เริ่มอาการขอโรคหัวใจในขณะที่มีอายุยังน้อย

สาเหตุอย่างอื่น ที่นำไปสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลัน:

 Right ventricular dysplasia
เคยมีรายงานว่า คนไข้ที่เป็นโรค right ventricular cardiomyathy หรือ dysplasia
เกิดมีการตายอย่างฉับพลันขณะเล่นกีฬา โดยอาจมีปัญหาเฉพาะที่ภายในกล้ามเนื้อหัวใจ
เช่น มีพังผืด (fibrous) มีไขมันเกาะตัวในกล้ามเนื้อของหัวใจ (fatty replacement)
ซึ่ง เป็นเหตุทำให้หัวใจขยายตัวอย่างมาก (grossly dilated)

 Congenital coronary artery abnormalities
เป็นความผิดปกติติดตัวมาแต่กำเนิด คนไข้พวกนี้ อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอก (chest pain),
เป็นลมหน้ามืด ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการออกกำลังกาย หรือ อาจเกิดเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

การตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) หรือ การตรวจ “echogacridiogram” 2มิติ (2D)
สามารถบอกความผิดปกติใน lt. coronary artery ได้
นอกจากนั้น การตรวจด้วย exercise stress test ก็สามารถบอกให้
ทราบถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจได้

 Marfan’s syndrome
คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดนี้ จะพบลิ้นหัวใจผิดปกติชนิด mitral valve prolapsed
ซึง จะปรากฏความผิดปกติเช่นนี้ในคนไข้ทุกราย
เมื่อใดที่เกิดมีความสงสัยในโรคดังกล่าวจากการตรวจร่างกายตามปกติ หรือ จากประวัติครอบครัว
คนไข้ควรได้รับการตรวจ Echocardiography

ในคนไข้พวกนี้ ควรได้รับการพิจารณาให้ยากลุ่ม beta blocker เพื่อเป็นการชะลอ
ไม่ให้เกิดการพองตัว (dilate) ของหลอดเลือดแดงใหญ่ aortic root
หรือ อาจต้องให้ยาดังกล่าวในคนไข้ทุกราย ทีมี dilated aortic root
และ ในรายที่ได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือด aortic

 Aortic stenosis
คนไข้ที่มีความผิดปกติชนิดนี้ จะมาพบแพทย์ด้วยภาวะ หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว (Lt ventricular failure),
มีอาการหน้ามือเป็นลม หมดสติ หรืออาจเกิดมีอาการเจ็บหน้า (angina) ในระยะหลัง (late)

ในกรณีที่ลิ้นหัวใจ มีตีบตันน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate)
การออกกำลังกายด้วยการออกแรงขนาดเบา (low intensity) สามารถทำให้เกิดอาการขึ้นได้

 Mitral valve prolapse
ในด้านปฏิบัติ ในคนไข้ที่เป็นโรค mitral valve prolapse ที่ไม่มีอาการ
หรือ ไม่มีประวัติทางครอบครัวว่ามีใครเป็นโรคดังกล่าว สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ

ในกรณีที่มีอาการ เช่น ใจสั่นระริก, วิงเวียน, หรือ เกือบเป็นลมหมดสติ
จากการตรวจ exercise stress test หรือ การติดตั้งเครื่องตรวจที่ตัวคนไข้ (Holster monitoring)
สามารถบอกให้เราได้ทราบถึงอาการที่เกิดขึ้น

นอกเหนือไปจากนี้ ถ้าเมื่อใดคนไข้ที่เป็น mitral prolapsed แล้วตรวจพบ Prolong QT syndrome
หรือ มีประวัติว่า ครอบครัวของเขามีคนเสียชีวิตทันทีจากโรค mitral valve prolapsed...
ในกรณีเช่นนี้ เขาจะถูกห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการกีฬาทันที

 Valve replacement
ในคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยกรรมวิธี valvuloplasty ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาชนิดต้องมีการสัมผัสตัว
เพราะการสัมผัส หรือการกระแทกลำตัว (contact & non-contact)
สามารถทำให้สิ่งที่แพทย์ได้กระทำการรักษาไว้ เกิดการชำรุดได้

สำหรับนักกีฬาที่ได้ทำ หรือใส่ลิ้นหัวใจเทียม (prosthetic valve) และหัวใจของคนไข้ทำงานได้เป็นปกติ
อาจเล่นกิฬาชนิดเบา ๆ (low intensity sport) ได้

โดยสรุป:
ในการออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา นอกจากจะได้มาซึ่งการมีสุขภาพดี และสนุกกับการอออกกำลังกายแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุด ที่เราจำเป็นต้องกระทำ คือ เราต้องรู้ได้วยว่า เราไม่โรคประจำตัว
หรือ มีปัจจัยเสี่ยง ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของเราได้

ซึ่ งเราสามารถกระทำได้ง่าย ด้วยการให้แพทย์ตรวจสอบสภาพของหัวใจว่า ทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ
ไม่มีโรค หรือ มีปัจจัยเสี่ยงใดต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ..

เพียงแค่นี้ ก็สามารถทำให้เรามีโอกาสออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้อย่างสนุกสนาน
โดยไม่ต้องกังวลต่ออันตราย (sudden death)ตามที่กล่าว..

http://www.sportmedicine.ru/articles/sudden_deaths_in_sport.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น