วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

HEART RHYTHM 4 : DIAGNOSIS


เมื่อเรามีอาการผิดปกติ  และเกิดความสงสัยว่า...
อาการนั้นเกี่ยวเนื่องกังโรคหัวใจ
แพทย์ เขาจะมีเทคนิคต่าง ๆ  ที่มีความสลับซับซ้อน
ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคของเราด้วยเครื่องมือที่เราส่วนใหญ่รู้กัน 
นั่นคือ  EKG machine

ในการตรวจด้วยเครื่องดังกล่าว  เราจะพบว่ามีสายหลาย
เส้น  ที่ปลายเป็น electrode แปะไว้ที่หน้าอก, แขน,  และ ขา
แล้วต่อเข้ากับเครื่องมือดังกล่าว   เมื่อเครื่องมือ EKG กำลังทำงาน  มันจะทำการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้า  ที่วิ่งในกล้ามเนื้อหัวใจ  ซึ่งจะถูกพิมพ์ออกมาให้เราเห็นบนแผนกระดาษ (strip chart)

เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจดังกล่าว  จะมีประโยชน์มากที่สุด 
เมื่อ กระทำการตรวจในขณะหัวใจมีการเต้นผิดปกติ  
ถ้าความผิดปกติมันเกิดในระยะสั้น  หรือ นานครั้ง  จะเกิดขึ้นที  เราจะไม่ความผิดปกติ
นั่นเป็นการตรวจภายในโรงพยาบาล หรือ ตามคลีนิค

เนื่องจากการออกแรง  สามารกระตุ้นให้เกิดการเต้นที่ผิดปกติ  เกิดขึ้นได้
ดังนั้น  การตรวจ stress exercise test อาจเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทำการตรวจ
ภาวะที่หัวใจมีการเต้นทีผิดปกติ (arrhythmias)
หรือบางที  แพทย์จะทำการตรวจด้วยเครื่อง Helter monitors
ซึ่งเป็นเครื่อง EKG ที่ติดไว้กับตัวคนไข้ตลอดเวลา 24 – 48 ชั่วโมง
เป็นการตรวจ และบันทึกคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ  ซึ่งให้เครื่องทำการตรวจ
และบันทึกคลื่นหัวใจในชีวิตประจำวัน  หรือ ในขณะมีการออกแรง 
เป็นการตรวจหาการเต้นที่ผิดปกติ  ซึ่งอาจเกิดเมื่อใดก็ได้ 

การศึกษาเรื่อง “สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ"  จัดเป็นวิธีการที่ดีสำหรับการวินิจฉัย
ภาวะผิดปกติในการเต้นของหัวใจ  ตลอดรวมไปถึงประโยชน์ในแง่ของการรักษา
แต่ตามที่ปรากฏ  การตรวจดังกล่าว เป็นการตรวจพิเศษ  ที่มีประโยชน์อย่างมาก
แต่เรา (ในต่างจังหวัด) จะไมค่อยได้พบเห็นกัน

การตรวจกระทำได้โดยอาศัยภาพเอกซเรย์เป็นตัวช่วย
โดยแพทย์จะทำหน้าที่สอดใส่สาย “อีเลกโตรด” ผ่านทางท่อสาย catheter
ผ่านเส้นเลือดดำ (veins) ที่ใดที่หนึ่ง ในบริเวณแขน,  คอ, ไหล่ 
หรือ บริเวณขาหนีบ  ให้ปลายของ catheter ผ่านเข้าสู่หัวใจ
ซึ่ง เป็นตำแหน่งที่แพทย์เขาจะทำการศึกษารายละเอียดของ "สรีรวิทยาไฟฟ้า
ของหัวใจ"

จาก “อีเลกโตรด” แพทย์เขาสามารถเลียนแบบ “extra beats”ซึ่งมักจะเกิดในคนได้
ตามปกติ  แต่จากการเลียนแบบด้วยวิธีดังกล่าว  เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้น  ที่ผิดปกติ  ตลอดรวมไปถึงการประเมินประสิทธิภาพของการรักษา

การศึกษาทาง electrophysiology มักจะนำไปใช้ตรวจคนไข้ที่รอดพ้นจากความตาย
จากภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)  เพื่อพิจารณาหาแนวทางป้องกันไมให้มัน
เกิดขึ้นอีก...


DECIDING TO TREAT


ในการตัดสินใจว่า  จะรักษาคนไข้ที่มีการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจหรือไม่ 
จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากสุขภาพโดยรวมของคนไข้เอง, อายุ, วิถีชีวิต
ของคนไข้, ความสามารถทนต่อการใช้ยา  และ ชนิดของการเต้น ที่ผิด
ปกติของหัวใจ (arrhythmia) เป็นเกณฑ์
ซึ่งทั้งหมด  จะนำมาพิจารณาชั่งน้ำหนักดูว่า  ควรยารักษาหรือไม่ ?

จากข้อมูลต่าง ๆ ที่กล่าวมา  จึงทำให้คนไข้สองคนที่มีอาการของหัวใจ
ที่เต้นผิดปกติ  อาจได้รับการรักษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 
ซึ่ง มีคนไข้บางราย  ไม่จำเป็นต้องกินยาอะไรเลยก็สามารถมีชีวิตได้
ยืนยาว  ทั้ง ๆ หัวใจของเขามีจังหวะการเต้นีผิดปกติ (arrhythmia)
โดยมีความมั่นใจว่า  อาการผิดปกติจากการเต้นของหัวใจ 
จะไม่ร้ายแรงแลย

สำหรับเราที่ไม่ใช้แพทย์  ต้องเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า
อาการต่าง  ๆ  ที่เกิดขึ้น  ไม่ได้บอกความเป็นไปทั้งหมดของโรค
ดังนั้น  เมื่อใดที่ท่านมีอาการเตือนจากหัวใจเต้นผิดปกติ 
ท่านควรพบแพทย์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  น่าจะปลอดภัยกว่า

ในคนไข้บางราย  จำเป็นต้องได้รับการตรวจทาง  electrophysiology
ซึ่ง สามารถตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ
เช่น  อาการหน้ามืด เป็นลม  ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ pacemaker?

 
การให้ยา anti-arrhythmic drugs
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหัวใจ สามารถตรวจประสิทธิภาพของยาได้โดยตรง 
โดยไม่ต้องรอให้มีอาการของโรคเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นวิธีการให้ประโยชน์ในด้านความปลอดภัย  
ทั้งนี้เพราะ  ยาที่ใช้รักษาการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ  (anti-arrhythmic drugs)
จะไมได้ผลในคนไข้ทุก ๆ รายไป  และ ในบางสถานการณ์
ยาดังกล่าว  อาจทำให้การเต้นของหัวใจที่เต้นผิดปกติแทนที่จะดี
กลับมีอาการเต้นเลวลง

อ่านต่อ  กด > 5 : Anti-arrhythmic drugs & pacemaker

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น