วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

Heart Rhythm (2): SYMPTOMS OF ARRHYTHMIAS

คนที่มีปัญหาในเรื่องการเต้นขอหัวใจผิดปกติ 
จะเป็นการเต้นที่ช้า  หรือเต้นเร็วก็ตามที 
อาการทีเกิดขึ้น  มีแตกต่างกันระหว่างคนที่เป็นโรค
โดยทั่วไป  อาการที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ 
จะประกอบไปด้วย อาการหัวใจสั่นระรัว, วิงเวียน,  เป็นลม,
เจ็บหน้าอก  และ หายใจถี่

มีคำถามว่า...คนไข้ ที่มีหัวใจเต้นผิดปกติ 
จำเป็นต้องมีอาการด้วยหรือ ?

บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ 
ทั้งๆ ที่เขามีภาวะการณ์เต้นที่ผิดปกติที่รุนแรงมาก

คนไข้ที่มีการเต้นของหัวใจขาดหายไป (skips beat) อาจมีอาการใจสั่นระรัว (palpitations); อาการอาจปรากฏเพียงครั้งเดียว   หรือ  หลาย ๆ ครั้ง
คนบางคน  สามารถสัมผัสรู้ได้ว่า  อาการมันจะเกิดตอนไหน 
เช่น  เกิดขึ้นในเวลาก่อนเข้านอน  หรือ เวลานอนลงทางด้านซ้าย

อาการใจสั่น...อาจไม่รบกวนคนไข้เลย 
ในกรณีที่หัวใจเต้นช้า  หรือเต้นเร็วไป 
อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นลมหมดสติไป
เช่น  หัวใจเต้นช้าลงน้อยกว่า 35 – 45 ครั้ง ต่อนาที
หรือ หัวใจมีการเต้นเร็วมากกว่า 150 ครั้ง ต่อนาที 
และการเต้นผิดปกติดังกล่าว  อาจมีต้นเหตุจจากสาเหตุอื่นก็อาจเป็นได้

ในกรณีที่คนไข้หมดสติจากการเต้นหัวใจผิดปกติ 
เป็นเพราะหัวใจเต้นผิดปกติ  หัวใจไม่สามารถบีบตัว 
มีเลือดไม่พอเพียงกับความต้องการของสมอง 

การเกิดอาการหมดสติ  ที่เกิดจากหัวใจผิดปกติ 
มักจะเริ่มต้นด้วยอาการวิงเวียนมากกว่าที่จะมีอาหารบ้านหมุน (vertigo)
ความรู้สึกแรกที่เกิด  อาจเป็นการหกล้ม หรือ เซ...
ซึ่ง  คนไข้อาจมีอาการฟื้นตัวสู่สภาพปกติโดยไม่หมดสติก็ได้ 
ในกรณีเช่นนี้  เราเรียกว่า Pre-syncope

บางรายมีอาการเป็นลม (syncope) โดยไมมีอาการเตือนล่วงหน้า
ซึ่ง เมื่อเกิดขึ้น  อาจก่อให้เกิดบาดเจ็บขึ้นได้
คนไข้ที่มีอาการหมดสติอย่างฉับพลัน  โดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน 
อาจเตือนให้เราได้ทราบว่า
เขาอาจเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ (arrhythmia)

อาการเจ็บหน้าอก (cheat pain) และ หายใจถี่ (shortness of breath)
อาจเกิดร่วมกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ 
โดยมันจะเกิดขึ้นในกรณีที่หัวใจมีการเต้นเร็ว  และเพิ่มงานให้แก่หัวใจมากเกินควร 
เป็นการทำให้หัวใจขาดออกซิเจน  ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก 
คนไข้อาจมีอาการคลื่นไส้ และ เหงื่อออก  
อาการเหล่านี้ จะพบได้ในคนสูงอายุได้มากกว่าคนหนุ่ม   
บางรายอาจมีความรู้สึกว่า  หัวใจเต้นกระแทกหน้าอก

SINUS BRADYCARDIA
SLOW HEART RHYTHMS
(BRADYCARDIAS)

แพทย์เขาให้คำอธิบายคำ sinus bradycardia ว่า 
เป็นจังหวะการเต้นของหัวใจ  ที่เต้นได้ช้ากว่า 60 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที 
โดยมีคลื่นกระแสไฟฟ้าออกจากปุ่มกำเนิดของมัน  ชื่อ sinus node 

สำหรับคนที่มีสุขภาพดี  เป็นนกกีฬา
อัตราการเต้นของหัวใจ  จะเต้นช้าในระดับ 30 – 40 ครั้ง ต่อนาที 
การปั้มเลือดของหัวใจแต่ละครั้ง  มีปริมาณของเลือดมากกว่าคนธรรมดา 
ดังนั้น  จึงไม่จำเป็นต้องเต้นเร็วเหมือนคนทั่วไป

เมื่อ หัวใจเต้นผิดปกติแบบช้า  อาจทำให้เกิดมีอาการขึ้นได้
ซึ่งเนื่องมาจาก  อวัยวะส่วนต่าง ๆ ไม่ได้รับเลือด และออกซิเจนได้เพียงพอ 
ดยอาการที่เกิด  จะมีตั้งแต่อาการเหนื่อยล้า จนกระทั้งถึงการหายใจหอบ...ถี่ 
ถึง  เกิดมีอาการเป็นลมหมดสติไป

ในการออกกำลังกายก็เช่นกัน ถ้าหัวใจไม่สามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
เพื่อปั้มเลือดให้เพียงพอกับความต้องการ ก็จะเกิดอาการดังกล่าวได้

การที่ปุ่ม sinus node ไม่สามารถให้กำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าได้เหมาะสม 
ซึ่งเราเรียกว่า sick sinus syndrome นั้น
อาจเป็นตัวการ  ที่ทำให้เกิดอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติได้

อายุของคนไข้  หรือ ตัวโรคเอง อาจเป็นตัวทำให้ปุ่ม  sinus node ถูกทำลาย,  
หรือ มีพังผืด  ซึ่งสามารถขัดขวางการกระจายตัวของคล่นกระแสไฟฟ้า 
หรือ  อาจมีความผิดปกติในระบบประสาทออโตโนมิค 
เป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของหัวใจได้ตามปกติ...
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้เช่นกัน

นอกจากนั้น  เรายังพบว่า  มียาจำนวนมากมาย
เช่น  anti-arrhythmic,  anti-hypertensive  และ ยาอย่างอื่น 
สามารถกระทบการทำงานของปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
เป็นเหตุให้มีการเตนของหัวใจผิดปกติไป

เมื่อไม่นานมานี้  แพทย์ได้พบว่า  เด็กเล็ก และ เด็กวัยรุ่น 
ที่เกิดมาพร้อมความพิการของหัวใจ  ซึ่งได้รับการผ่าตัดแก้ไขความพิการไปแล้ว
ต่อมาภายหลังพบว่า sinus node  ทำงานผิดปกติไป
ในกรณีดังกล่าว  อาจเป็นผลเนื่องมาจากแผลเป็น(scar) เกิดหลังการผ่าตัด
หรือ เป็นความผิดปกติภายในกล้ามเนื้อหัวใจเอง

HEART BLOCK

การที่คนไข้มีจังหวะการเต้นของหัวใจช้าลงไป 
อาจเป็นผลของความผิดปกติในการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้า ผ่าน  AV node
(atrio-ventricular node)  โดยที่ sinus node ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ
แพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า  Heart block

ระดับความผิดปกติในการ "ส่งผ่าน" คลื่นกระแสไฟฟ้า 
เราใช้ “ดีกรี” เป็นตัวกำหนด  เช่น first degree heart block
หมายถึงเวลาของการกระจายคลื่นกระแสไฟฟ้าผ่าน AV node ช้าลง 
โดยที่มีจังหวะ  และ อัตราการเต้นของหัวใจ  อยู่ในสภาพปกติ

Second –degree heart block  จะเกิดขึ้น เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบน
(atria)  ไม่สามารถเคลื่อนผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง 
เป็นผลให้เกิดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจหายไป (drop beats) 
ที่พบเห็นภาวะเช่นนี้ ได้แก่กลุ่มอาการ Wenckebach Phemomenon 
เป็นกลุ่มอาการของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง  ตอบสนองต่อคลื่นกระแสไฟฟ้าได้ช้า 
เป็นเหตุให้มีการหยุดการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง  เป็นพัก ๆ

Third degree heart block หรือ  complete AV block
มันจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบน  ผ่านสู่หัวใจห้องล่างได้

เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง  เป็นอิสระจากคลื่นของ SA node

โดยหัวใจห้องล่าง  จะผลิตคลื่นกระแสฟฟ้าขึ้นเอง

ทำให้การเต้นของหัวใจหัองล่างเต้นด้วยอัตรา 20 - 45 ครั้ง ต่อนาที

ซึ่งจะทำให้คนไข้หมดสติไป


สาเหตุที่ทำให้เกิดการสกัด (block)คลื่นหัวใจ 
ที่พบได้บ่อยที่สุด  คือ เกิดการอักเสบ  และมีพังผืดเกิดขึ้นในในกล้ามเนื้อหัวใจ 
ตรงบริเวณที่ทำหน้าทีให้คลื่นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนผ่าน 
ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแข็ง (coronary artery disease)
หรือโรคความดันโลหิตสูง  ร่วมกับภาวะการณ์เสื่อมสลาย
เป็นการเกิดตามเวลาที่ผ่านไป (wear and tear)
นอกจากนั้น  ยังเป็นผลมาจากการใช้ยา 
ซึ่งจะมีผลกระทลต่อการทำงานของ SA node  โดยตรง

การเกิดการสกัดทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (heart block) 
สามารถเกิดกับคนได้ทุกอายุ  แต่ส่วนใหญ่จะเกิดในคนสูงอายุ
ในกรณีที่เกิดในเด็ก  เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม  
หรือ เกิดจากมีข้อบกพร่องในเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่นำคลื่นกระแสไฟฟ้า 
หรือ มีก้อนเนื้องอกไปขัดขวางทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้า...
ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก  

อาการของคนเป็นโรค “ทางเดินคลื่นกระแสไฟฟ้าถูกสกัด” หรือ heart block
จะมีลักษณะเหมือนกับคนไข้  ทีมีความผิดปกติใน SA node 
และอาการที่เกิดจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค  และตำแหน่งที่คลื่นถูกบล็อก
สำหรับรายที่ถูกบล็อกไว้ทั้งหมด (complete block) คนไข้มีความเสี่ยงสูงต่อการ
เกิดอาการหมดสติ  และ เกิดหัวใจล้มเหลว และเสียเสียชีวิตได้

อ่านต่อ  กด  3 : HEART RHYTHM: Rapid Heart rhythm (Tachycardias)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น