วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

Exercise 2 : ประโยชน์ที่พึงได้จากการออกกำกำลังกาย

ผลจากการออกกำลังกาย ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ และ เส้นเลือดได้...
นั้น คือประโยชน์อย่างที่หนึ่ง

ถึงแม้ว่า การออกกำลังกายจะไม่เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่โรคหัวใจก็ตามที
แต่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยประสานประโยชน์
ให้แก่ร่างกาย โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่มีต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจ
เช่น ความเครียด, ความดันโลหิตสูง, ความอ้วน-น้ำหนักเกิน และ ไขมันในกระแสเลือดสูง

นอกเหนือไปจากนั้น จากการออกกำลังกาย ท่านจะสัมผัสกับสิ่งดี ๆ หลายอย่าง
เช่น: ทำให้ท่านอยากรับประทานอาหาร, ช่วยให้ท่านเลิกสูบบุหรี่ได้ง่าย
ทำให้ภาพลักษณ์ รวมไปถึงการควบคุมตนเอง (อารมณ์)ได้ดีขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น นอกจากจะทำให้ท่านมีอายุยืนยาวขึ้นแล้ว
ยังถือว่า เป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีได้อีกด้วย

เราจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อย่างไร ?
เมื่อกล่าวโดยรวม ในการออกกำลังกาย สามารถทำให้เกิดสิ่งดี ๆหลายอย่าง...
เป็นต้นว่า ทำให้ระบบหัวใจ และเส้นเลือดแข็งแรง และ เพิ่มความทนทาน
ทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ มีความยืดหยุ่น และมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง การออกกำลังกายเพื่อทำให้ระบบหัวใจและเส้นเลือดแข็งแรง
และ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจ
กับ การออกกำลังกาย เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน
พบว่า:

ในการออกกำลังกายด้วยความรนแรงแต่พอประมาณ (moderate intensity)
สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการเกิดโรคหัวใจได้ และ
การใช้พลังงานในการออกกำลังกาย ประมาณ 2,000 คาลอรี่
ก็เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้ว

สำหรับท่านที่นั่งโต๊ะ (sedentary) มีความสนใจในงานสถานเดียว
โดยไม่เคยสนใจต่อสุขภาพของตัวเองเท่าที่ควร
ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการออกกำลังกายบ้าง น่าจะเป็นการดีสำหรับท่าน...
โดยการเริ่มต้น ออกกำลังกายด้วยความรุนแรง ที่ไม่มากนัก (Low intensitiy)
จะให้ประโยชน์แก่ระบบหัวใจและเส้นเลือดของท่านได้มากขึ้น

ในการออกกำลังกาย มีสองรูปแบบ คือ aerobic และ anaerobic
ซึ่งเป็นการออกกำลังกายทีจำเป็นต้องใช้อออกซิเจน
และ ไม่ต้องใช้ออกซิเจน ตามลำดับ

Anaerobic exercise:
ได้แก่การออกกำลังกายในช่วงสั้น ๆ ด้วยการออกแรงที่มีความเข็มสูง
บางทีเราเรียกว่า Isometric exercise
เป็นการออกแรงของกล้ามเนื้อ มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยที่ไม่มีการหดสั้นเลย
เป็นการออกแรงที่ไม่ต้องใช้ออกวิเจน

ในการออกแรงในรูปแบบดังกล่าว ในระดับเข็มข้นพอประมาณ ถึงออก
แรงมากขึ้น จะทำให้เกิดความรู้สึกเมื่อยล้า และ อ่อนเพลีย
นั่นเป็นผลมาจากมีการสะสมของกรด lactic acid ในกล้ามเนื้อ
เราเรียก ภาวะดังกล่าวว่า เป็น “oxygen debt”
ซึ่งจะพบเห็นในการออกแรงด้วยการยกน้ำหนัก

การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก เป็นวิธีที่ดีสำหรับทำให้กล้ามเนื้อ
มีความแข็งแรง (muscular strength) เพื่มความทนทาน (endurance)
แต่ ไม่เหมาะ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจ และเส้นเลือดเลย

AEROBIC EXERCISE:
เป็นการออกกำลังกาย ที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน
เป็นการออกกำลังกาย ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของระบบหัวใจ และเส้นเลือด
คำ “aerobic” หมายถึงการใช้ออกซิเจน

ในการออกกำลังกายตามรูปแบบ "แอโรบิค" เพื่อ ให้เกิดประโยชน์ดังกล่าว
จำเป็นต้องให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ของร่างกาย
ได้ใช้ออกซิเจนได้เพียงพอเวลาต่อการออกกำลังกาย
และทำตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
จะทำให้ระบบหัวใจ-เส้นเลือดแข้งแรง มีความทนทานต่อการทำงานได้ดีขึ้น

ตัวอย่างของการออกกำลังแบบ “แอโรคบิค” ได้แก่:
การเดิน, การว่ายน้ำการวิ่งจอกกิ่ง, เต้น “แอโรบิคดานซ์”, ปั่นจักรยาน,
เต้นเชือก, พายเรื่อ, เล่นสกี และอื่น ๆ

อ่านต่อ กด 3 Exercise: อะไรเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น