วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Aplastic anemia : Diagnosis & Treatment 2

9/11/12

continued….

การวินิจฉัย (Diagnosis)

Go to link... http://ordo-yukbelajar.blogspot.com/

แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติของการเกิดโรค  และบอกให้ท่านอธิบาย
อาการของท่านว่า  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  เช่น:

§  ท่านอาศัยอยู่ในที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ  หรือมีสารกัมมันตภาพรังสีหรือไม่ ?
§  ท่านรับยาอะไร ?
§  ท่านมีประวัติของคนในครอบครัว  เป็นโรคโลหิตจาง aplastic anemia หรือไม่ ?  

บางครั้ง  การเกิดโรคโลหิตจาง Aplastic anemia  อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการ
เกิดมะเร็งเลือด Leukemia  รูปใดรูปหนึ่ง

จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจ  ด้วยการมองหาอาการแสดงของโรค  Aplastic
Anemia  จากนั้น  จะมีการตรวจเลือดดูระดับของเม็ดเลือดแดง,
เม็ดเลือดขาว  และเกล็ดเลือด

เมื่อใดก็ตามที่พบว่า  เม็ดเลือดทั้งสามชนิดมีระดับต่ำ 
เราจะสงสัยว่า  มันเป็นโรคโลหิตจาง Aplastic anemia  แต่เซลล์ยังมีรูปร่างเป็นปกติ
การตรวจเพื่อยืนยันว่า  คนไข้เป็นโรคโลหิตจางหรือไม่  คือ 
การตรวไขกระดูก  ด้วยการเจาะเอาไขกระดูกมาทำการตรวจ (bone marrow biopsy)

ในการทำการเจาะไขกระดูกมาตรวจ  สามารถกระทำได้ด้วยการเจาะเอาไขกระดูก
จากกระดูกเชิงกราน  หรือ กระดูกสันหลัง จากนั้น 
แพทย์ทางพยาธิวิทยาจะนำเอา ไขกระดูกไปทำการตรวจในห้องปฏิบัติการณ์
ผลที่ได้จะยืนยันคำวินิจฉัยโรค

Expected Duration

เมื่อโรคโลหิตจาง aplastic anemia ….
เกิดขึ้นแล้ว  จะกินเวลานานเท่าใด  มันย่อมขึ้นกับความรุนแรงของโรค, อายุของคนไข้  
รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษา  ยกตัวอย่าง   คนที่เป็น  Aplastic anemia 
ที่เกิดจากการใช้ยา, จากการตั้งครรภ์,  จาก infectious mononucleosis  
หรือ การถูกรังสีขนาดน้อย ๆ   จะใช้เวลาไม่นานก็หายแล้ว 

แต่หากโรคที่เกิดไม่ทราบต้นตอของโรค  หรือรายที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ B, 
ถูกพิษของสารบางอย่าง  เช่น benzene, ยาฆ่าแมลง,  ยาบางตัว,  ถูกรังสีที่มีขนาดสูง 
หรือเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน (autoimmune disease) การรักษาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ซึ่งต้องใช้เวลา

การป้องกัน (Prevention)

ท่านสามารถป้องกันโรคโลหิตจางบางชนิดได้ 
ด้วยการหลีกเลี่ยงไปสัมผัสสารพิต่าง ๆ,  หลีกเลี่ยงจากสารกัมมันตภาพรังสี, 
และยาต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคได้  ให้หลีกเลี่ยงจากการเกิดอักเสบของไวรัสในตับ   ซึ่งท่านสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการฉีดวัคซีน hepatis B และ  HIV และ hepatitis B  โดยท่านสามารถป้องกันได้ด้วยการระมัดระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
และหลีกเลี่ยงจากการใช้ยาฉีดเข้าเส้น



การรักษา (Treatment)


การรักษาโรค aplastic anemia  จะรักษาอย่างใด  ย่อมขึ้นกับสาเหตุ
และความรุนแรงของโรคเป็นสำคัญ   ถ้าเป็นโรคที่เกิดในระยะสั้น 
เช่น  เกิดจากยา, ตั้งครรภ์, ถูกรังสีต่ำ ๆ, 
หรือกจาการอักเสบ infectious mononucleosis….

ในกรณีเหล่านี้  เราอาจไม่ต้องทำอะไร  เพราะโรคมันหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา
อย่างไรก็ตาม  เราสามารถรักษาอาการที่เกิดขึ้นได้ 
เช่น  เสียเลือด...ให้เลือด  และเกล็ดเลือด, 
หากเกิดการอักเสบ...  ให้ยาปฏิชีวนะ 

สำหรับสตรีที่เกิดโรค aplastic anemia  ชนิดไม่รุนแรง (mild forms)….
อาจะให้ยาคุมกำเนิดรับทาน (oral contraceptives) 
ซึ่งทำให้ประจำเดือนออกไม่มาก

ในกรณีที่เป็นโรคโลหิตจาง aplastic anemia  ที่รุนแรง  และเป็นโรคที่กินเวลา
ยาวนาน  การรักษาหลักได้แก่  การปลูกถ่ายไขกระดูก  และให้ยายับยั้งภูมิคุ้มกัน
(bone marrow transplantation & immunosuppressive therapies)

ในการรักษาโรค aplastic anemia โดยได้รับยาหลายตัว 
ซึ่งจะทำลายการทำงานของระดับภูมิคุ้นกันไปนั้น  จะทำให้คนไข้ตกอยู่ภายใต้
ความเสี่ยงต่อการเกิดอักเสบติดเชื้อ....ชนิดไม่ธรรมดาเสียด้วย
และ การอักเสบที่เกิด  อาจเกิดก่อนที่ไขกระดูก (ใหม่) จะมีโอกาสฟื้นตัว 
และสามารถตอสู้กับการอักเสบได้

การปลูกถ่ายไขกระดูก  เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมาก
แต่สำหรับคนสูงอายุที่เป็นโรคดังกล่าว  มีโอกาสตายจากการรักษาด้วยวิธีการ
ปลูกถ่ายไขกระดูกได้  ดังนั้น  จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับรักษาในเด็ก, เด็กวัย
รุ่น  และ คนหนุ่ม  นอกจากนั้น  หากคนไข้ได้รับไขกระดูกจากพี่น้องของเขา
ยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น

ในบางราย  ผู้บริจาคไขกระดูกสามารถเข้ากับผู้รับได้พอดี...
อย่างไรก็ตาม  จะพบว่า  อัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการปลูกถ่ายจะสูงใน
คนไข้ที่ไม่ได้รับไขกระดูกจากพี่น้องของเขา

มีคนไข้บางราย  แทนที่จะรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก  แต่ได้รับการรักษา
ด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive medications)
โดยมียาถูกนำมาใช้  ได้แก่:

Ø  Anti-thymocte globulin (Thyoglobulin) เรามักเรียกว่า ATG
Ø  Antilymphocyteglobulin (ALG)
Ø  Prednisone
Ø  Cyclosporine

นอกจากนั้น  เรามียาสำหรับกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเลือด (blood cell production)
ซึ่งสามารถกระตุ้นได้ด้วย:

Ø  Erythropoietin
Ø  Granulocyte colony-stimulating factor (G-CSF)
Ø  Granulocyte-macrophage colony-stimulatingmfactor (GM-CSF) หรือ
Ø  Other hematopoietic growth factor medications

อนาคตของคนเป็นโรคโลหิตจาง aplastic anemia จะเป็นอย่างไร 
ย่อมขึ้นกับสาเหตุหรือความรุนแรงของโรคเป็นสำคัญ

คนไข้ที่เกิดจากยาบางอย่าง (Medications), ตั้งครรภ์,  รังสีที่ขนาดต่ำ ๆ
หรือ  การอักเสบติดเชื้อ-infectious mononucleosis  จะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ
และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เลือดจาง, เลือดออก, มีแนวโน้มเกิดการอักเสบ
ซึ่งพวกนี้สามารถรักษาได้

สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์  แล้วเกิดเป็นโรคโลหิตจาง aplastic anemia
พวกนี้อาจมีปัญหาอีกครั้งในการตั้งครรภ์คราวต่อไป

โรคโลหิตจาง Aplastic anemia  สามารถนำไปสู่ความตายได้
ถ้าโรคนั้นเป็นเป็นนาน  และมีความรุนแรง
ในการรักษาคนไข้กลุ่มนี้  ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก
ประมาณ 70 % ถึง  90 %  ซึ่งได้รับไขกระดูกจากพี่น้องของเขา (siblings) 



ในกรณีที่เราไม่สามารถรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก...
ประมาณว่า  50 % ของคนไข้จะสนองตอบต่อ immunosuppressive therapy
เพียงอย่างเดียว  แต่หากได้รับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวในระยะยาว  คนไข้
มีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งขึ้น  โดยเฉพาะมะเร็งเลือด Leukemia 
ซึ่งสามารถเกิดได้อย่างเฉียบพลัน

สำหรับคนไข้ที่เป็นโรค aplastic anemia  ซึ่งเป็นรายที่รุนแรง 
และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีที่เรามี  พบว่า  80 % มีโอกาสเสียชีวิตภาย
ในเวลา  18  ถึง  24  เดือน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น