วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

The Old And New To Treat Rheumatoid Arthritis (RA)

9/2/12

เมื่อเราเป็นโรคข้ออักเสบ (RA)ขึ้นมา
นอกจากจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดแล้ว  มันยังก่อให้เกิดความรำคาญอีกด้วย
ข้ออักเสบ  ที่สามารถให้มีการทำลายกระดุกข้อได้สูง  คือโรค “รูมาตอยด์”      
ซึ่งมักเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนในวัยหนุ่ม  และ คนวัยกลางคน


โรคข้ออักเสบ "รูมาตอยด์"....
มันสามารถเกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไปได้ประมาณ หนึ่งเปอร์เซ็น
และ  เกิดในผู้หญิงได้  ประมาณ  3 – 5 

ในอดีตที่ผ่านมา  ได้มีการผลิตยารักษาโรคดังกล่าว 
เรียกว่า biologic agents   โดยที่ยากลุ่มดังกล่าว  จะทำหน้าที่จัดการกับสารเคมีต่าง ๆ
ที่ถูกปล่อยจากเซลล์ที่เกิดการอักเสบ  เรียก “cytokines” 
ซึ่งเข้าใจว่า  มันทำให้เกิดการอักเสบของข้อโดยตรง 
และทำให้เกิดโรคไขข้อขึ้น


สารเคมี  Cytokine  มีสารเคมีตัวหนึ่ง  ชื่อ  Tumour necrosis factor (TNF) 
อาจเป็นตัวการสำคัญ  ที่ทำให้เกิดการอักเสบในโรคไขข้ออักเสบ “รูมาตอยด์” ...


หน่วยงานอาหาร  และยาของสหรัฐฯ (FDA)  เขาได้รับรองสารสามตัว (ยา)
ซึ่งถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ (rheumatoid  arthritis) 
โดยมีเป้าที่ Tumor necrosis  factor (TNF) 
ได้แก่:


Ø  adalimumab (Humira)
Ø  atanercept (Enbrel)  และ
Ø  infliximab (Remicade)


ยาทั้งสามตัวจะมีประสิทธิภาพมากกว่ายาที่เคยใช้ 
ได้ถูกนำมาใช้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  ที่มีความรุนแรง, 
ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่ใช้ตามปกติ   เป็นยาที่ต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
หรือเข้าเส้นเลือดดำ   และ  เป็นยาที่มีราคาแพงมากพอสมควร

ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้ยาตัวใหน   ยาทั้งสามมีความแตกต่างในการทำงานกันเพียงเล็กน้อย
และในการใช้ยาก็มีการใช้ในขนาดที่แตกต่างกัน  โดยการฉีดอาทิตย์ละสองครั้ง 
ถึงทุกแปดอาทิตย์   ส่วนผลข้างเคียง (side effects)  เท่าที่ปรากฏ  จะไม่แตกต่างกัน


แพทย์ที่ตัดสินใจจะใช้ยาในกลุ่มนี้....
จะต้องตัดสินใจว่า  จะใช้ร่วมกับยาตัวอื่นๆ (ยาเดิม)  หรือไม่ ?
ยกตัวอย่าง  Inflibimab  ได้รับการยอมรับให้ใช้ร่วมกับยา methotrexate ได้

โดย  Methotexate  เป็นยาที่เราใช้รักษาโรครูมาตอยด์กันเป็นประจำ
ซึ่งเราเข้าใจว่า  มัน (ยา)สามารถป้องกันไม่ในมีการสร้างภูมิต้านทาน(antibodies) 
ที่ลดประสิทธิภาพของสาร infliximab  ลง
ดังนั้น  การใช้ยาสองตัวร่วมกัน  ก็น่าจะสมเหตุสมผล


อย่างไรก็ตาม  มีคนไข้โรคข้อรูมาตอยด์จำนวนไม่น้อย... 
ยังคงได้รับยา  methotrexate  ร่วมกับการรักษาด้วย  adalimumab
( biologic therapy)  หรือ  etanercept  ต่อไป
ทั้งนี้เพราะมีคนไข้โรคข้ออักเสบ  เมื่อมีการเลิกใช้ยา methotrexate  จะทำให้
อาการของโรคเลวลงไป


ผลจากการศึกษาในปัจจุบัน  ยืนยันว่า  การใช้ยาร่วมกันระหว่างยาเก่า (methotrexate) 
และ  ยาใหม่ (biologic therapy)  จะมีประสิทธิภาพในการรักษาเหนือกว่า 
การใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงชนิดเดียว
และ  ยังแนะนำต่อไปอีกว่า  การให้ยาร่วมกันระหว่างยาใหม่  และยาเก่า
สามารถซ่อมแซมข้อที่เคยถูกทำลายไปแล้ว   ซึ่งเคยเข้าใจว่า 
มันไม่มีทางที่จะใช้ยาเก่ารักษาได้


มียาฉีดตัวใหม่ถูกผลิตออกมาเพิ่มอีกสองตัว 
และได้รบการยอมรับในปี 2006  ให้ใช้ทำการรักษาโรค rheumatoid arthritis ได้ 
ยาทั้งสองได้แก่:   Rituximab (Rituxan)  และ  abatacept  (Orncia)


Ø  Rituximab  จะออกฤทธิ์  โดยมีเป้าหมายไปที่ B cells  ซึ่งเป็นเซลล์ของ
ระบบภูมิคุ้มกัน  ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทาน  เพื่อทำลายเซลล์ของตนเอง
Ø  Abatacept  จะออกฤทธิ์  มีเป้าหมายไปที่การป้องกันไม่ให้ T-cells
ซึ่งเป็นเซลล์ของภูมิคุ้มกันอีกเชนกัน  โดยไม่ให้มันทำงานได้เต็มที่
  

จากการศึกษา  พบว่า  มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ยาทั้วสอง
ในคนไข้ที่มีอาการของโรครุนแรง    ประกอบกับคำโฆษณาชวนเชื่อ
ให้ใช้ยาใหม่กับคนไข้ทุกราย...จึงทำให้เรารู้สึกว่า 
 biologic therapy   อาจถูกนำไปใช้กับคนไข้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ทุกคน....
ไม่แน่ว่า  วันหนึ่งข้างหน้า  ยาดังกล่าว  อาจเป็นยามาตรฐานสำหรับรักษา
โรครูมาตอยด์ก็อาจเป็นได้


สำหรับคนไข้โรครูมาตอยด์  ซึ่งอาการไม่รุนแรง 
และสามารถควบคุมได้ด้วยยาตัวอื่น ๆ  หรือยาเดิม 9methotrexate) อยู่แล้ว  
ก็ไม่มีเหตุผลใด   ที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม anti-TNF


การรักษาด้วยยาอย่างอื่นๆ  เช่น  methotrexate, sulfasalazine, leflunomide, 
และ  hydroxychloroquine  ก็ปรากฏว่า   ได้ผลดีในการรักษาโรครูมาตอยด์ทั่วไป 
ดังนั้น  ถ้าคนไข้เป็นโรครูมาตอยด์  ที่มีอาการไม่รุนแรง   ข้อกระดูกไม่ถูกทำลาย
เราไม่จำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่ม anti-TNF  เลย


แต่ถ้าหากมีหลักฐานที่แน่ชัดว่า  คนไข้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีความรุนแรง
ข้ออาจถูกทำลายภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า...
การรักษาที่ดีที่สุด  คือการให้ยาเก่า (methotrexate)  บวก  ยาใหม่  (Biologics)  
แก่คนไข้โรคไขข้อดังกล่าวได้

ไม่ว่า  ท่านจะรักษาด้วยยาใดก็ตาม (เก่า  หรือ ใหม่) 
อย่าลืมปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการรักษา  ที่ท่านได้เลือกแล้ว
รวมถึงการใช้ anti-NTF  ซึ่งท่านจะต้องมีการตรวจเช็ดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าท่านรับทานยา methotrexate  ท่านต้องตรวจเลือดบ่อย ๆ (liver)


ถ้าท่านรับยาฉีด anti-TNF  ท่านต้องพบแพทย์เป็นระยะ, 
หากมีอาการผิดปกติใด ๆ   ต้องรายงานแพทย์  และ หากมีการอักเสบเกิดขึ้น 
 ท่านต้องหยุดยา...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น